บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศ.ดร.สมปอง กรณีถอนตัวมรดกโลก 15thmove

29 / 06/ 54

“มทภ.2” บอกชาวศรีสะเกษมั่นใจได้ ทหารไทยพร้อมเต็มที่ - โวเหนือกว่าเขมร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2554 18:30 น.

พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร มทภ.2
       ศรีสะเกษ- “มทภ.2” ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจทหารไทยชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ พร้อมรับทราบสถานการณ์ล่าสุด เผยทหารไทยพร้อมรักษาอธิปไตยเต็มที่ บอกให้ชาวศรีสะเกษมั่นใจได้ ชี้ทหารเขมรเคลื่อนไหวเพิ่มกำลังไม่ใช่ปัญหา โวทหารไทยมีประสิทธิภาพเชี่ยวชาญการรบและอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยมากกว่า
      
       วันนี้ (29 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สนามหน้าโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพภาคที่ 2 ได้เดินทางกลับลงมาจากบริเวณเขาพระวิหาร เพื่อขึ้นเฮลิคอปเตอร์เดินทางกลับไปยังกองทัพภาคที่ 2 โดยมี พ.อ.วุฒิ แสงจักร รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี พร้อมด้วย พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผบ.หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 นำคณะนายทหาร มาให้การต้อนรับ
      
       พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางกลับ ว่า เดินทางมาในวันนี้ เพื่อมาเยี่ยมปลอบขวัญให้กำลังใจทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณชายแดนเขาพระ วิหาร อีกทั้งเพื่อเป็นการตรวจความพร้อมของทหารไทยทุกนายที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณ เขาพระวิหาร และรับทราบข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันบริเวณเขาพระวิหารด้วย ซึ่งทหารไทยทุกนายมีขวัญกำลังใจที่ดีเยี่ยม และพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติไทยที่บริเวณเขาพระวิหารอย่างเต็มที่
      
       ขณะนี้ทหารกัมพูชามีการเคลื่อนไหวบริเวณเขาพระวิหาร แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีปัญหา ปล่อยให้ทหารกัมพูชาเคลื่อนไหวกำลังทหารต่อไป เนื่องจากทหารไทยมีกำลังพลที่มีประสิทธิภาพเชี่ยวชาญในการรบและมีอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยมากกว่า อยากฝากไปถึงประชาชนชาว จ.ศรีสะเกษ ทุกคนขอให้มั่นใจว่าทหารไทยเรารักษาอธิปไตยได้อยู่แล้ว แต่หากมีกระสุนปืนใหญ่เข้ามาในเขตแดนไทย ขอให้ระมัดระวัง และปฏิบัติตามที่ทหารได้เข้าไปฝึกซ้อมเอาไว้ และขอให้ชายไทยที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมกันป้องกันหมู่บ้านร่วมกับทหาร และตำรวจ ซึ่งทหารกองทัพภาคที่ 2 พร้อมปกป้องอธิปไตยของชาติไทยอย่างเต็มที่

คำพิพากษาของศาลโลก

คำพิพากษาของศาลโลก

Boon Wattanna

คำพิพากษาของศาลโลก ในคดีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร
มีความยาวทั้งสิ้น ๑๔๖ หน้าเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่า
ละเอียด เริ่มตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้่าย ในกรณีพิพาทคดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่
หน้า ๑ ถึงหน้า ๑๔๖ เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษา
แย้งและคำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์
อนึ่ง การแถลงหรืออ้างอิงเอกสารอย่างไม่ครบถ้วน หรือยกเว้นไม่กล่าวถึงข้อความบางตอน
อาจเป็นการส่อเจตนาว่าจงใจ ปกปิด บิดเบือน กล่าวเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความเข้าใจที่

คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาเฉพาะประเด็นคำฟ้องตามคำแถลงสรุปของกัมพูชาข้อ ๓,๔ และ ๕ ดังนี้
(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา
(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ที่กัมพูชายื่นฟ้อง

ประเด็นในแถลงสรุปคำขอของกัมพูชา
ที่ศาลฯ ไม่พิจารณา

เนื่องจากศาลฯ ไม่เห็นความจำเป็นตามแถลงสรุปคำขอของกัมพูชาที่ขอให้ศาลวินิจฉัยสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือเส้นเขตแดนที่กำหนดในแผนที่ฉบับนั้นตามคำแถลง สรุปคำขอข้อ ๑ และ ๒ ของกัมพูชา จึง"งดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา" รวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ มิได้ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูช

จุดยืนของไทย

ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่าศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบและได้ตัดสินขัดต่อสนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ทั้งขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฏหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติวันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบกันทั่วหน้าว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฏบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจนว่า " ไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเินินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1309259817&grpid&catid=02&subcatid=0207

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เจีย ดารา โวไทยจัดชุดใหญ่เขมรโต้ชุดใหญ่-สื่อเผยเขมรพร้อมรับศึกรอบใหม่


พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายฟิฟทีนมูฟ – พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา ในฐานะผู้นำทหารและสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชา ตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ทหาร สภาพพื้นที่และการป้องกัน ในพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือน กุน กีม ระบุไทยตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคสร้างศัตรูไปทั่ว เขมรเป็นประเทศเล็กแต่ไม่กลัวไทย ส่วนเจีย ดาราแพล่มให้ยุติเอาปัญหาชายแดนผูกการเมือง ฟุ้งคนเขมร ๑๔ ล้านเป็นทหารทั้งหมด บอกถ้าไทยรุกรานชุดเล็กก็โต้ชุดเล็ก ถ้าไทยจัดชุดใหญ่ก็โต้ชุดใหญ่ ส่วนแหล่งข่าวทหารชายแดนรายงานได้รับคำสั่งเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับศึก
ตามรายงานของศูนย์ข่าวนครวัต (๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔) หลังพิธีรำลึกครบรอบครั้งที่ ๖๐ วันก่อตั้งพรรคประชาชนกัมพูชา พล.อ.กุน กีม สมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรคฯ และเป็นประธานคณะทำงานช่วยเหลือ จ.อุดรมีชัย รวมทั้งเป็นรองผู้บัญชาการและเสนาธิการร่วมในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา และ พล.อ.เจีย ดารา สมาชิกคณะกรรมการพรรคฯ ได้นำตัวแทนพรรคฯ จ.อุดรมีชัย เดินทางเยี่ยมนายทหารและพลทหาร ที่ประจำการพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย และพื้นที่ทมอดูน อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย พร้อมตรวจสอบสภาพทางภูมิศาสตร์และการเตรียมการป้องกัน

พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายพล.อ.กุน กีม กล่าวกับทหารว่า เนื่องจากไทยพ่ายแพ้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส ไทยข่มขู่ว่า​ตนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากถอนตัวออกจากองค์การยูเนสโก แล้วมาก่อสงครามที่ชายแดนกับกัมพูชา เปรียบเหมือนเป็นประเทศที่ไม่รู้และไม่เกรงกฎหมาย กระหายสงคราม ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ไทยโจมตีทำสงครามกับเขมรหลายครั้งนั้น ทั้งผู้นำ ทั้งพวกหลงประวัติศาสตร์ กำลังแสดงอำนาจตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และสร้างความเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับกัมพูชาเป็นเพียงประเทศเล็ก ประเทศกำลังพัฒนา หลังถูกทำลายด้วยสงคราม (หมายถึงสงครามกลางเมืองภายใน) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกลัวไทย รัฐบาลกัมพูชาที่มีสมเด็จฯ ฮุน เซน ได้บัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นกลศึกสงครามรุกรานของไทย และความต้องการที่จะครอบครองปราสาทพระวิหารร่วมกับกัมพูชา ซึ่งไม่อาจทำได้เลยเพราะไม่มีส่วนไหนที่ไทยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายขณะ ที่ พล.อ.เจีย ดารา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ขอให้ผู้นำไทยยุติการเอาปัญหาชายแดนกัมพูชา การเอาดินแดนกัมพูชา โดยเฉพาะปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ไปเป็นหมากรุกเป็นเล่ห์ พาตนออกจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศของตน ประเทศไทยกำลังมีการเลือกตั้งทั่วไป แต่กลายเป็นว่าได้เคลื่อนระเบิดเคลื่อนทหารมาที่ชายแดน ไม่เพียงเท่านั้น ยังใช้ภาษาข่มขู่ว่าจะก่อสงครามกับกัมพูชาอีกด้วย พล.อ.เจีย ดารา กล่าวต่อว่า กัมพูชามีประชาชน ๑๔ ล้านคน กัมพูชาก็มีทหาร ๑๔ ล้านคน หมายความว่าประชาชนทุกคนเป็นทหาร ปัจจุบันกองทัพของสมเด็จเดโชได้เตรียมตัวพร้อมแล้ว มีขีดความสามารถและสมรรถภาพ ทั้งด้านกำลังและเครื่องนุ่งห่ม ถ้าไทยเข้ามารุกรานดินแดนกัมพูชาขนานเล็ก เราก็ต้อนรับขนานเล็ก ถ้าไทยรุกรานขนานใหญ่เราก็ต้อนรับขนานใหญ่
พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายขณะ ที่รายงานของวิทยุเอเชียเสรี วันเดียวกัน อ้างทหารกัมพูชาที่ประจำการตามแนวชายแดน ตั้งแต่พื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ไปจนถึงพื้นที่ปราสาทตาควาย ใน ต.โคกคปั๊ว (โคกสูง) อ.บันเตียอำปึล เปิดเผยว่า ทหารกัมพูชามีการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อม สำหรับการสู้รบรอบใหม่ในช่วงสองวันที่ผ่านมา นับจากที่มีข่าวลือว่าไทยเตรียมการใช้กำลังทหารโจมตีกัมพูชาอีกครั้ง ในเรื่องความขัดแย้งพรมแดน
ทหารกัมพูชารายหนึ่งที่ประจำการชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ผู้บัญชาการทหารกัมพูชาที่ประจำจุดที่มีความขัดแย้งพรมแดนหลายครั้ง ได้สั่งการให้ทหารเพิ่มความระมัดระวังระวังและเตรียมพร้อมสู้รบ หากมีการเริ่มโจมตีก่อนอีกรอบจากทหารไทย ขณะที่ทหารอีกราย ที่ประจำการด้านปราสาทตาควาย จ.อุดรมีชัย เปิดเผยว่า พวกตนได้รับคำสั่งให้ระวังและเตรียมพร้อมสู้รบ แต่สถานการณ์เผชิญหน้าในพื้นที่ยังเป็นปกติ ไม่มีสิ่งผิดปกติจากทหารไทย ที่จะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น

การบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีผลแล้ว


สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโกฟิฟทีนมูฟ – หลังคืนวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ตามเวลาในประเทศไทย ที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ได้แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศถอนตัวหรือบอกเลิกจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ และได้มอบหนังสือราชการตราครุฑให้กับตัวแทนขององค์การยูเนสโก ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการ นั้น ได้มีการแสดงทัศนะจากหลายภาคส่วน รวมถึงบุคคลของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี ทั้งในแง่มุมของกฎหมาย ขั้นนตอนปฏิบัติ และประการอื่น นำมาสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สับสนในหมู่ประชาชน
เบื้องต้น ขอแสดงความขอบคุณและชื่นชมไปถึงนายสุวิทย์ คุณกิตติ แม้จะมีทัศนะที่ต่างในประเด็นการเลื่อนการพิจารณาแผนฯ และแนวคิดการขึ้นทะเบียนข้ามแดน (ขึ้นทะเบียนร่วม) แต่ได้ทำหน้าที่ของคนไทย ซึ่งองค์การยูเนสโก ศูนย์มรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลก ผู้ถือตามอนุสัญญานี้ ได้ล่วงละเมิด ลบล้างและประพฤติอย่างเลวที่สุดในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ดังที่เอกสารบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ในนามรัฐบาลไทย ได้สะท้อนความจริงข้อนี้ไว้อย่างชัดเจน

เมื่อศึกษาอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๗๒ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สอบทานจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอนุสัญญาฉบับนี้ และในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก อย่างถี่ถ้วน และรอบด้าน มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
ประการแรก อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ. ๑๙๗๒ หรือเรียกอย่างย่อว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นอนุสัญญาที่เขียนไว้อย่างหลวมที่สุดในบรรดาหนังสือสัญญา อนุสัญญา สนธิสัญญา ข้อผูกพันหรือการรับภาระของรัฐภาคีต่ออนุสัญญานี้จึงเป็นไปอย่างหลวม ๆ
ประการที่สอง ถ้อยความที่เขียนไว้อย่างหลวมในหมวดที่ ๘ (หมวดสุดท้าย) ข้อ ๓๕ (Article 35) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบอกเลิก ระบุว่า
     ๑. แต่ละรัฐภาคีของอนุสัญญานี้สามารถจะบอกเลิก (denounce) อนุสัญญา
     ๒. การบอกเลิก (denunciation) จะต้องได้รับแจ้งโดยเอกสารลายลักษณ์อักษร (instrument in writing) ส่งถึงผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
     ๓. การบอกเลิกมีผล ๑๒ เดือน หลังการได้รับเอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) ซึ่งต้องไม่กระทบภาระผูกพันทางการเงินของรัฐผู้บอกเลิก กระทั่งวันที่ซึ่งการถอนตัว (withdrawal) มีผล
     ขณะความในข้อ ๓๖ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง ระบุให้ผู้อำนายการฯ แจ้งรัฐสมาชิกและรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกขององค์กร ในการบอกเลิกตามข้อ ๓๕ ฉะนั้น การบอกเลิกจึงกระทำได้โดยง่าย ไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ที่รัดกุมเข้มงวด นอกจากนี้ รัฐภาคีมีสิทธิ์เต็มในการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี หรือบอกเลิก กรณีการบอกเลิกไม่จำเป็นต้องถูกรับรองซ้ำโดยรัฐภาคีหรือองค์กรอื่นใด
สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะแถลงบอกเลิกในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกประการที่สาม นายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ได้รับการมอบอำนาจ (Credentials) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary) ในการประชุม ดังปรากฏใน ที่ว่า “โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่กล่าวถึงข้างต้น และการมอบอำนาจโดยรัฐบาลไทย..” ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีทั้งก่อนหน้าและหลังการบอกเลิก ได้ยืนยันความมีอำนาจในข้อนี้
     ดังนั้น นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงมีอำนาจเต็มในฐานะผู้แทนของรัฐ ทั้งในการตัดสินใจและการดำเนินการ และมีผลผูกพันต่อรัฐ การบอกเลิกของนายสุวิทย์จึงมีผลในทันทีที่ได้แสดงการบอกเลิก
ประการที่สี่ พฤติการณ์ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในฐานะตัวแทนของรัฐ (๑) ได้แถลงด้วยวาจาอย่างเป็นทางการในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (๒) ได้ยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโก
     การแถลงในที่ประชุมเป็นการประกาศให้รัฐภาคีทั้งหมดรับทราบโดยทั่วกัน และอย่างชัดแจ้งถึงการบอกเลิกของประเทศไทย มีผลทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย และมีผลยิ่งกว่าการทำหนังสือแจ้งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พฤติการณ์ทั้ง ๒ ข้อ จึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงการแจ้งเจตจำนงค์เบื้องต้น แม้ในหนังสือที่ส่งถึงผู้อำนวยการยูเนสโกจะมีข้อความระบุในตอนท้ายว่า “เอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) จะถูกส่งถึงท่านในกำหนดเวลา” ส่วนนี้เป็นแต่เพียงการส่งหนังสือยืนยันสำทับอีก ครั้งเท่านั้น ซึ่งกระทำได้โดยนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่านสภาฯ แต่ประการใด โดยหลักที่ว่าการบอกเลิกเป็นการยกเลิก ไม่รับภาระ ขณะที่การให้สัตยาบันเป็นการรับภาระจึงต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ ฉะนั้น รัฐบาลสามารถส่งหนังสือยืนยันสำทับได้ทันที แต่จะกระทำหรือไม่ก็ได้ เพราะการบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ มีผลแล้ว อนึ่ง การส่งหนังสือโดยผู้อำนวยการยูเนสโกขอให้ไทยทบทวนก็ยืนยันในข้อนี้
การบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ โดยการแถลงด้วยวาจาในที่ประชุม และการยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการยูเนสโก มีผลบังคับแล้ว คือไทยพ้นจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทั้งโดยพฤตินัย นิตินัย โดยสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทุกประการ แต่จะขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อ ๑๒ เดือนให้หลัง นับจาก ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป และระหว่างนี้ ความผูกพันใด ๆ ของประเทศไทยต่ออนุสัญญา ขึ้นกับการตัดสินใจของไทยว่าจะกระทำตามหรือไม่ประการใด

ไทยถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล


ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ๒ สมัยการ ที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัว ตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด

ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะ กรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนส โก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาล โลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุก ภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลง ให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการ พิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยู เนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อยู่ไปทำไม UNESCO ไสหัวออกไป

ก.ข.ค.การเมือง
อยู่ไปทำไม UNESCO ไสหัวออกไป
 "Since wars begin in the minds of men, it is in the minds of men that the defenses of peace must be constructed." 

 "ในเมื่อสงครามเริ่มเกิดที่ในใจของมนุษย์ก่อน ดังนั้นการปกป้องสันติภาพจึงต้องสร้างขึ้นในใจมนุษย์เช่นเดียวกัน" 

 อารัมภบทในกฎบัตรของยูเนสโก 

......................................................


 ท่านผู้อ่านที่เคารพ ผู้เขียนไม่ทราบจะยินดีหรือยินร้ายกันแน่กั บข่าวที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนในนำประเทศไทย ถอนตัวออกจากสมาชิกภาพของคณะกรรมการมรดกโลก 

 แต่ที่ทราบก็คือ นายสุวิทย์ถูกเกลี้ยกล่อมโดยรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรีหรือใครก็ไม่แจ้งว่าอย่าเพิ่งถอนตัวเลย สู้คอยต่อสู้อยู่ข้างใน เพื่อใช้จิตวิญญาณของ MOU 2543 ของพรรคประชาธิปัตย์นำสันติภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยเสียก่อนดีกว่า หรืออย่างน้อยก็รอหลังเลือกตั้งให้มันรู้ดำรู้แดงกันเสียก่อนว่า ระหว่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ใครจะปกป้องผลประ โยชน์และดินแดนของชาติได้ดีกว่ากัน ทั้งๆที่เวลานี้มันเหลวเป๋วไปแล้วด้วยความไร้ฝีมือและไร้สำนึกในความเป็นไทยของทั้งคู่ 

 เมื่อตอนยูเนสโกตั้งใหม่เมื่อปี 1945 นั้น มีประเทศผู้ก่อตั้งอยู่ 20 ประเทศ และวัตถุประสงค์ของยูเนสโกก็เพื่อจะธำรงสันติภาพของโลกและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โดยใช้การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ 

 แต่ยังไม่ทันไร ยูเนสโกซึ่งเหมือนทารกยังไม่ทันหย่าน้ำนม ก็โกหกชาวโลกและลูบหัวประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่เก่าแก่มาหลายร้อยปีในสุวรรณภูมิโดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ยูเนสโกเอาไทยไปเทียบกับประเทศเกิดใหม่ ยังไม่มีมนุษย์ที่ไหนรู้จักหรือได้ยินชื่อ โดยอวดอ้างคุณูปการของยูเนสโกว่า ยูเนสโกยึดมั่นในการแสวงหาสัจธรรม โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เพื่อจะให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้กันอย่างเสรี 

 (the unrestricted pursuit of objective truth and the free exchange of ideas and knowledge.") 

 และในการกระทำดังกล่าว ยูเนสโกก็ประสบความสำเร็จมิใช่ย่อย ด้วยการสอนให้ชาวนาประเทศมาลีอ่านออกเขียนได้ และสร้าง โรงเรียนประถมหลายแห่งในป่าของประเทศไทย(UNESCO taught farmers in Mali how to spell, built grammar schools in the jungles of Thailand ) 

 ไม่ทราบว่าในนามของรัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันได้กราบทบเท้าขอบพระคุณยูเนสโกไปหรือยัง ถ้ายัง รัฐบาลประชาธิปัตย์ควรรีบทำเสีย เพื่อยูเนสโกจะได้ช่วยให้สัจธรรมความจริงว่าด้วยเขาพระวิหารให้กับประเทศใบ้ไทยแลนด์ด้วย มิฉะนั้นเกรงว่าชาวโลกจะหูแตกได้ยินแต่สัจธรรมของเขมรฮุนเซ็นอยู่แต่ฝ่ายเดียว 

 เมื่อตอนพันธมิตรประท้วงยูเนสโกเรื่องเอ็มโอยูและเขาพระวิหารใหม่ๆนั้น ศาสตราจารย์ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะผู้แทนไทยในคณะกรรมการมรดกโลกได้เสนอให้รัฐบาลไทยลาออกจากคณะกรรมการไปตั้งนานแล้ว เพราะเห็นว่าคณะกรรมการเอาเปรียบไทยอย่างไม่ลดละทุกเรื่อง จะอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ 

 แต่ตำนานของสหประชาชาติ ยูเนสโก และมรดกโลกกับประเทศไทยนี้ช่างเหมือนกับเรื่องมหาเศรษฐีกับขอทานเหลือเกิน 

 ยาจกจากประเทศไทยแสนจะซาบซึ้งในบุญคูณอันหาที่เปรียบมิได้ขององค์กรใหญ่ องค์กรรองและองค์กรย่อยทั้งสาม ปานประหนึ่งว่าถ้าขาดพระคุณอุ่นเกล้าจากสามองค์กรนี้แล้วประเทศไทยจะล่มจมเสียชื่ออับอายจนจะดูหน้าชาวโลกเขาไม่ได้ 

 แม้กระทั่งคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองที่เห็นว่า แถลงการณ์ร่วมของนายนพดล ปัทมะ เป็นโมฆะ จนป่านนี้กระทรวงต่างประเทศยังเก็บใส่ลิ้นชักไว้ ไม่กล้าส่งไปให้ยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกทราบ เพราะเกรงว่าคุณพ่อจะกระเทือนใจ 

 ผู้เขียนเคยเสนอว่า การแก้ปัญหามรดกและเขาพระวิหารง่ายนิดเดียว เพียงรัฐบาลเขียนจดหมายบอกไปว่า คำสั่งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร และบัดนี้ชาวไทยได้แตกแยกกันยกใหญ่ อย่าว่าแต่ไทยและเขมรเลย เพราะฉะนั้นยูเนสโกและกรรมการมรดกโลก อย่าได้ทำตัวเป็นต้นเหตุต่อไปเลย เพราะมันเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมเสรีภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนบ้านแท้ๆ สู้ปล่อยให้ลิ้นกระทบฟันไปตามธรรมชาติดีกว่า อีกหน่อยก็รู้กันเองว่าใครเป็นหมู่เป็นจ่า 

 แต่กระทรวงประเทศก็หาได้แยแสไม่ แถมผู้เขียนขอร้องให้กระทรวงต่างประเทศช่วยบอกประชาชนชาวไทยให้ทราบข้อเท็จจริงว่ายูเนสโกนี่จะเป็นพระเจ้าซึ่งผู้ใดแตะต้องมิได้ก็หาใช่ไม่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแม้กระทั่งกระจิ๋วสิงคโปร ต่างก็เคยลาออกจากยูเนสโกมาแล้วทั้งสิ้น ทำไมไทยจะออกบ้างไม่ได้ 

 จนแล้วจนรอดกระทรวงต่างประเทศก็ยังเงียบเป็นป่าสาก แถมพูดจาสั่งสอนให้คนไทยเคารพยำเกรงสหประชาชาติและยูเนสโกปานประหนึ่งพระเจ้า 

 ฉบับหน้าผู้เขียนจะแปลเหตุผลที่อเมริกาลาออกจากยูเนสโกให้ฟัง หรือจะให้ดีท่านผู้อ่านดาวกระจายไปใช้กระทรวงต่างประเทศทำงานรับใช้ประชาชนไทยดูซะบ้าง 

 เชิญอ่านครับ 

 The State Department's announcement of this country's intention said the decision was made by President Reagan "on the recommendation of the secretary of state." 

 "That recommendation is based upon our experience that UNESCO: 

 "* Has extraneously politicized virtually every subject it deals with; 

 "* Has exhibited a hostility toward the basic institutions of a free society, especially a free market and a free press; and 

 "* Has demonstrated unrestrained budgetary expansion." 

 A West German spokesman said his country agrees with many of the U.S. criticisms of UNESCO but it would remain a member and try to change the agency through "intensive participation." 

 To that, a State Department official responded: 

 "UNESCO policies, for several years, have served anti-U.S. political ends. The Reagan administration has frequently advised UNESCO of the limits of U.S. toleration: for its misguided policies, its tendentious programs and its extravagant mismanagement. 

 "For nearly three years now, the administration has applied to UNESCO the same priorities that guide our relations to all multilateral organizations but UNESCO alone, among the U.N. system organizations, has not responded." 

 ขอโทษ ครับ วันนี้ไม่มีเวลาแปลให้จริงๆ ผู้เขียนจะรีบไปฟังพันธมิตรด่าคณะกรรมการมรดกโลกก่อน/*****

จดหมายลาออกจากมรดกโลก

เบื้องหลังไทยถอนตัวจากมรดกโลก จาก "เทพมนตรี ลิปพยอม"

สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศลาออกจากกรรมการและภาคีสมาชิกกลางที่ประชุม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา
       
       หลังจากที่ไม่สามารถโน้มน้าวให้ภาคีสมาชิกเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ที่ประเทศกัมพูชาได้นำดินแดนของประเทศไทยเข้าไปรวมด้วยออกไปได้
       
       งานนี้จึงขอถือโอกาสไปพูดคุยกับ เทพมนตรี ลิมปพยอม ตัวแทนคณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทย ในฐานะของผู้ที่เข้าไปอยู่ร่วมเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นว่า อะไรที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังของการลาออกครั้งนี้กันแน่
       
       อยากทราบก่อนว่า บทบาทของคุณในการประชุมครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง
       
       ผมไปสังเกตการณ์ว่า คณะกรรมการมรดกโลกและคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปว่าความเป็นอย่างไร และผลสรุปที่ได้เป็นอย่างไร ซึ่งคุณสุวิทย์เองก็เห็นด้วยที่มีผมเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และอาจจะเข้ามาช่วยในเรื่องข้อมูลให้เขา คุณสุวิทย์ก็เลยอนุญาตให้ผมเข้าไปนั่งในห้องประชุมได้ แต่ผมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เองก็มีเป้าหมายอยู่แล้วว่า อยากให้คุณสุวิทย์ลาออกจากภาคีของมรดกโลก
       
       จากการสังเกตการณ์ เห็นบรรยากาศภายในห้องประชุมเป็นอย่างไรบ้าง
       
       ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของประชุมหลายอย่างนะ อย่างครั้งนี้ก็จะมี 40 ประเทศเสนอแหล่งมรดกโลก 42 แห่งเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็จะมีการต่อรองกัน ล็อบบี้กัน และก็มีหลายประเทศที่เข้ามาล็อบบี้ฝ่ายไทยให้ช่วยสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งเป็นการอนุมัติวงเงินสำหรับการดูแลรักษา บูรณปฏิสังขรณ์หรือนำเงินไปเพื่อพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ของมรดกโลก นอกจากนี้ก็มีเรื่องของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่มีลักษณะเป็นอันตรายหรือสมควรที่จะถูกลบชื่อออกไป ก็จะเกิดขึ้นในเวทีนี้
       
       แต่สำหรับของคนไทย คุณสุวิทย์เองก็ต่อสู้อย่างแข็งขัน ส่วนผมก็อย่างที่ทราบกันว่า คนในคณะก็มีหลายคนที่ไม่ชอบผม ก็ถูกกีดกันบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ผมก็พยายามคุยกับคุณสุวิทย์และผู้ใหญ่ในทีมที่มาว่า ทำไมเราถึงจำเป็นต้องลาออก เพราะแผนบริหารจัดการที่เขมรเสนอกับที่ประชุม มันรุกล้ำอธิปไตย เราจะยอมเสียดินแดนไปแบบนี้ไม่ได้
       
       แต่เท่าที่สังเกตมา ผมคิดว่าทีมนี้ส่วนหนึ่งก็คงไม่อยากให้ลาออกหรอก บางคนก็ไม่พอใจมากที่คุณสุวิทย์จะลาออก แต่เขาก็เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยทำให้ไม่สามารถแสดงออกได้
       
       อย่างนี้แสดงว่าทีมงานของฝ่ายไทยเองก็มีความขัดแย้งกันสูงเหมือนกัน
       
       ความขัดแย้งของเขาเป็นขัดแย้งในที เพราะไม่กล้าแสดงออก และคุณสุวิทย์เองก็เป็น
       หัวหน้าคณะ เป็นรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มา แต่ที่ขัดแย้งหนักน่าจะเป็นขัดแย้งกับผม (หัวเราะ) เพราะบางคนก็มีแค้นเก่าอยู่ ตั้งแต่สมัยเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถาน หรือการลักลอบค้าโบราณวัตถุที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับกรมศิลปากร ซึ่งคนกรมศิลป์ซึ่งมาที่นี่ เขาก็ไม่ค่อยพอใจผมสักเท่าไหร่หรอก เพราะถือว่าเป็นศัตรูของกรม แล้วคงกลัวว่าผมจะไปบอกให้คุณสุวิทย์ลาออก ดังนั้นพอเห็นผมมาก็เลยพยายามบอกว่า ไม่น่าให้ผมมาอยู่ตรงนี้ อะไรแบบนี้
       
       แต่ผมก็เชื่อว่า คุณสุวิทย์เองก็คงมีธงอยู่ในใจ อย่างเช่นแรกเริ่มมาก็ต้องการให้เลื่อนไปเป็นปีหน้า แล้วท่านนายกฯ เองก็มีลักษณะเป็นเช่นนั้น แต่พอมาถึงที่นี่ กัมพูชาก็ไม่ยอมเลื่อน อยากจะให้แผนปฏิบัติการ โหวตลงมติไปเลย ซึ่งเราก็ทราบอยู่แล้วว่า หากโหวตกันจริง เราก็ต้องแพ้ คุณสุวิทย์เองก็เลยพยายามจะล็อบบี้ประเทศที่น่าสนับสนุน รวมไปถึงฝรั่งในศูนย์มรดกโลก
       
       พอเปิดเผยได้ไหมว่า ประเทศไหนที่เราเข้าไปล็อบบี้
       
       หลายประเทศเลย เช่น มาลี แล้วก็ยังมีอีกหลายประเทศที่สนับสนุนอยู่ แต่ประเทศที่ไม่สนับสนุนตอนนี้ก็คือ บาห์เรน ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม คือเดิมเขาสนับสนุนไทย แต่ตอนนี้รู้สึกจะเฉยเมยมาก เราก็เลยขาดผู้สนับสนุนหลักไป ประกอบกับเขมรเองก็เป็นรองประธานในที่ประชุมด้วย มันก็เลยทำให้หลายๆ ประเทศที่เขาเสนอมรดกโลกเข้ามาเลยเกรงใจ เนื่องจากต้องยอมรับว่าการเสนอมรดกโลกเข้ามาต้องมีเสียงสนับสนุนจาก 24 ประเทศ อย่างประเทศเราก็มีหลายๆ ประเทศที่เข้ามาล็อบบี้ เพราะแม้แต่วินาทีสุดท้ายก่อนที่คุณสุวิทย์จะลาออก ผมก็ยังเห็นประเทศออสเตรเลีย บราซิล และฝรั่งเศสเองก็เข้ามาคุยกับคุณสุวิทย์
       
       เขามาคุยเรื่องอะไร
       
       ผมไม่ทราบรายละเอียด แต่น่าจะเป็นเรื่องการที่เรายอมรับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้
       
       แล้วประเด็นไหนที่ถือว่าจุดแตกหักของเรื่องนี้
       
       คงเป็นเรื่องการบูรณะ กับการเข้าไปยอมรับว่าจะต้องอนุรักษ์จะต้องดูแล ซึ่งพอถึงเวลากลายเป็นว่า เขมรไม่ยอมทั้งหมด ไม่ใช่ไทยไม่ยอม ของเราก็แค่เอาไปปรับเปลี่ยนข้อความให้เรายอมรับได้ แต่เขมรมาตู้มเดียว ไม่ยอมเลย เพราะเขามีธงอยู่แล้วว่าจะเอาเข้าที่ประชุมให้โหวต
       
       ที่ผ่านมาพอเห็นท่าทีของคุณสุวิทย์บ้างไหมว่า จะตัดสินใจลาออก
       
       ก็พอเห็น เพราะเราคุยกันตลอด ตั้งแต่ก่อนเดินทาง ตอนนั้นเราพบกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งผมก็บอกว่าในบั้นปลายของเรื่องนี้ คุณสุวิทย์ต้องลาออก เพราะอย่างน้อยๆ เราก็ไม่อยากเสียดินแดนไป โดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งเป็นปีมหามงคลด้วย หากเราทำอะไรไปก็ต้องทำภายใต้พระปรมาภิไธยของในหลวง ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำอะไรที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ยิ่งถ้าเห็นว่าเสียดินแดนจริง ก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องอยู่ต่อ เพราะถึงเราจะลาออกไป แต่พอเราจัดการเรื่องเขตแดนกับเขมรได้ ก็สามารถกลับมาเป็นสมาชิกได้
       
       และอย่างเมื่อที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ผมก็เอาจดหมายลาออกที่ผมร่างแล้วก็แปลเป็นภาษาอังกฤษให้คุณสุวิทย์ถือเอาไว้ ถ้าคุณสุวิทย์เห็นด้วยกับจดหมายนี้ก็ดำเนินการได้ เขายังมีแซวผมเลยว่า จดหมายฉบับนี้มันแรงไป แล้วเขากำลังร่างใหม่กับทีมงาน ซึ่งแสดงว่าเขามีแนวโน้มที่จะลาออก พูดง่ายๆ คือจะเลื่อนนั้นแหละ แต่พอเลื่อนไม่ได้ก็เลยลาออก
       
       แล้วในทีมล่ะ เขาเห็นในทิศทางเดียวกับคุณสุวิทย์หรือเปล่า
       
       ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะผมถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปนั่งฟังด้วย เพราะเขาคงเริ่มรู้แกวว่า ผมคงไปไซโค (เล่นจิตวิทยา) คุณสุวิทย์ให้ลาออก (หัวเราะ) แต่ที่ผมทราบ กลุ่มที่ไม่อยากให้ลาออกก็เช่นส่วนที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการลาออกก็คือ การเสียผลประโยชน์ขององค์กร ซึ่งผมเข้าใจว่า เขาคงคิดถึงหน้าตาประเทศ กลัวต่างชาติจะว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ของคนไทย คือกลัวเสียหน้า แต่ผมคิดว่า เสียแผ่นดินมันหนักกว่าเสียหน้า ดังนั้นเสียหน้าไปเถอะ แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่สนับสนุน โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือกลุ่มที่เห็นแล้วว่าร่างมติมันแย่มาก
       
       ซึ่งพอลาออกแล้วก็ถือว่ามีผลมากๆ เพราะตอนที่คุณสุวิทย์ประกาศ วงแตกเลยนะครับ ฝรั่งเดินออกมา แล้วตอนหลังเขาก็พยายามจะล็อบบี้ให้เรากลับไป แต่คุณสุวิทย์ไม่ยอม
       
       แสดงว่าเราก็มีโอกาสต่อรองให้คณะกรรมการมรดกโลกมีมติกลับมาเข้าข้างเรา
       
       ไม่มีหรอกครับ คือผมว่าตอนนี้เหมือนเป็นการแสดงละคร พยายามตะล่อมให้เรากลับไป แต่เอาจริงๆ แล้วก็ยังเข้าข้างเขมรเหมือนเดิม คือพยายามให้เราไปยอมรับเขมรให้ได้
       
       และที่สำคัญประธานครั้งนี้เป็นราชนิกูลของบาห์เรน เป็นชนชั้นสูง ดังนั้นเขาจึงเสียหน้ามาก ที่จู่ๆ ก็มีสมาชิกลาออกในที่ประชุม แล้วมันก็จะส่งผลต่อการประชุมคราวต่อไปว่าจะไปทำที่ไหน ซึ่งบาห์เรนก็อยากจะเป็นเจ้าภาพ แต่ผมคิดว่าตอนนี้คงไม่ได้หรอก เพราะพอมีกรณีแบบนี้ก็เลยเหมือนว่า เขาขาดประสิทธิภาพในการควบคุมการประชุม
       
       พอทราบไหมว่า ณ วันนี้คุณสุวิทย์และทีมงานมีแผนจะทำอะไรต่อบ้าง
       
       คงไม่มีมั้ง คุณสุวิทย์เองก็คงต้องไปตั้งหน้าตั้งตาหาเสียงเลือกตั้ง ก็อยู่ที่ประชาชนจะให้เขากลับมาหรือเปล่า (หัวเราะ) ส่วนคณะกรรมการมรดกโลกก็ถือว่าสลายตัวไป เพราะโดยนัยพอเราลาออก เมื่อขอรับหนังสือ ก็ต้องรอผลตอบกลับภายใน 1 ปี แต่ในประเทศเราก็คงทำอะไรไม่ได้แล้ว เพราะถ้าทำก็มีสิทธิถูกฟ้องอีก เพราะถ้ากลับไปก็เหมือนไปรับมติเขา ซึ่งเท่ากับคุณก็ไปยืนยอมให้เราเสียดินแดน พูดง่ายๆ ก็ทำผิดกฎหมายอาญาในประเทศ
       
       อย่างนี้กลัวไหมว่า พอประเทศได้รัฐบาลใหม่ อาจจะมีการทบทวนเรื่องลาออกหรือกลับลำไปรับมติ
       
       ตอนนี้เราก็ทำดีที่สุดแล้ว คือปลดพันธนาการออกไป แต่ถ้ารัฐบาลหน้าจะกลับเข้าสู่พันธนาการใหม่ก็คงต้องมาว่ากันอีกที
       
       แล้วในส่วนของคุณกับพันธมิตรฯ ล่ะ ถึงตอนนี้ มีแผนจะทำอะไรต่อไป
       
       ผมว่าเราต้องจัดการเรื่องยูเนสโกด้วย เพราะตัวผู้อำนวยการใหญ่ (อิรินา โบโกวา) ก็ลำเอียงเข้าข้างกัมพูชา เพราะฉะนั้นเราจะต้องกดดันยูเนสโกเมืองไทย เพราะถือเป็นสาขาในภูมิภาคแปซิฟิกที่ใหญ่ที่สุด และมีความสำคัญกับยูเนสโก ดังนั้นเราต้องประท้วง กดดันให้อิรินาพ้นจากตำแหน่ง เพราะเขาเป็นคนสนับสนุนให้กัมพูชามารุกล้ำดินแดนของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากตามกฎบัตรสหประชาชาติที่ไม่อนุญาตให้ยูเนสโกยกดินแดนให้ใคร
       
       นอกจากนี้เราก็มีแผนจะให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยตีความเอ็มโอยู 43 ให้ได้ ซึ่งอาจจะต้องพึ่งหน่วยงานอิสระอย่างสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะพลเมืองให้ส่งไป ซึ่งหากทำได้ โอกาสที่จะชนะก็มีสูงมาก เพราะมันผิดอยู่แล้ว
       >>>>>>>>>>
       ……….
       เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
       ภาพ : ธนารักษ์ คุณทน

นักวิชาการ เห็นด้วยกับการถอนตัวจากมรดกโลก

“สุวิทย์” แจง ยูเนสโกหมกเม็ด เสนอแผนซ่อมแซมปราสาทพระวิหารเปิดช่องส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไป สุ่มเสี่ยงละเมิดอธิปไตยไทย นักวิชาการเห็นด้วยถอนตัวจากมรดกโลก เพราะยูเนสโกเอาแต่เล่นการเมือง ไม่เคารพกฎหมายไทย ละเมิดกฎเกณฑ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
       
      
       
       นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก กล่าวในรายการ “คมชัดลึก” ถึงการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก ระบุว่าเรื่องการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกคราวก่อนที่บราซิล ทางกัมพูชาได้เสนอแผนต่อศูนย์มรดกโลก แต่ไม่ได้เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งนี้ที่ปารีสจึงควรมีการเสนอแผนให้คณะกรรมการมรดกโลก แต่ปรากฏว่าไม่มีการพิจารณาแผนบริหารจัดการในการประชุมคราวนี้ โดยนายสุวิทย์กล่าวว่าถ้าไม่พิจารณาในคราวนี้ก็จะต้องบอกว่าเอกสารจะถูกพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป แต่เขียนอย่างนี้ไม่ชัดเจน ไม่ได้เขียนในร่างข้อมติ เขาบอกว่าไม่พิจารณา และเอกสารยังไม่ได้แจกให้กรรมการท่านอื่นๆ เลย
       
       เอกสารในข้อมติเขียนว่า แผนบริหารจัดการยังไม่พิจารณา แต่จะพิจารณาเรื่องการเรื่องอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งนักกฎหมายบอกว่า อันนี้คืออนุญาตให้กัมพูชา หรือยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการดำเนินการ ซึ่งมีความหมายกว้างจนน่ากลัวมาก เราบอกเขาว่าการจะส่งคนขึ้นไปในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ของไทยบริเวณรอบๆ ปราสาท จะต้องไม่ละเมิดอธิปไตยของไทย ต้องขอความเห็นชอบจากเราก่อน ซึ่งเรารับเรื่องนี้ไม่ได้
       
       ส่วนเรื่องการประกาศถอนตัว เราได้ดูความเป็นไปได้ในทุกๆ ทาง ในการประชุมคราวนี้ไม่ได้เจรจาสองฝ่ายกับทางกัมพูชา แต่ทางศูนย์มรดกโลกได้เจรจากับแต่ละฝ่าย และเอาความเห็นสรุปขึ้นมาเป็นร่างอีกร่างหนึ่ง (ซึ่งมีการเสนอให้บูรณะซ่อมแซมปราสาท) การที่เราประกาศถอนตัว เพราะไม่ยอมรับผลการประชุมที่จะออกมา เราไม่ร่วมพิจารณาร่างมติดังกล่าว เราไม่เห็นด้วย ซึ่งได้เราส่งหนังสือประท้วงมาตลอดว่าเราไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารตั้งแต่การประชุมที่สเปน และที่บราซิล มาถึงตอนนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องทำเอกสารแจ้งไปตามเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินการ วันนี้หนังสือที่ไทยยื่นถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบทุกคนแล้ว
       
       นายเดโช สวนานนท์ นายกศิลปากรสมาคม และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้ เนื่องจากเราได้ต่อสู้ในหลักการมานานแล้วแต่ทางยูเนสโกไม่ฟัง และละเมิดกฎเกณฑ์สำคัญของยูเนสโก ที่ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบยินยอมจากอีกประเทศหนึ่งก่อนถึงจะขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งมีทางออกอย่างเดียวคือต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งนอกจากถอนจากคณะกรรมการฯแล้ว เราควรจะถอนตัวจากยูเนสโกด้วย ตอนนี้เรายังเป็นกรรมการยูเนสโกอยู่ เพราะเรายอมเสียดินแดนไม่ได้ แต่เราให้ความร่วมมือได้ ขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ได้
       
       นางวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก เพราะศูนย์มรดกโลกไม่เคารพกฎหมายไทย ใตอนนั้นที่นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเซ็นยอมให้กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เราได้ร้องศาลให้ตีความว่านายนพดลทำผิดกฎหมายตามมาตรา 190 เพราะไม่ได้เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เราได้แจ้งให้ศูนย์มรดกโลกทราบ และได้ขอให้การกระทำนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งทางยูเนสโกควรจะให้ความเคารพกฎหมายของทุกประเทศ แต่เขาก็ยังเดินหน้าต่อไป ถ้ากรณีนี้เกิดกับอังกฤษกับอเมริกา ศูนย์มรดกโลกจะยอมรับกฎหมายเขาหรือไม่ ดังนั้นจะเห็นว่าการชี้แจงต่อมรดกโลกมันไร้ผลมาหลายครั้ง เราหวังว่ายูเนสโกจะเข้าใจ และแก้ปัญหา แต่ทำไมยูเนสโกไม่พยายามช่วยให้สองประเทศอยู่กันอย่างสันติ ประเทศเรามีเขตแดนติดกัน มีผลประโยชน์ร่วมกันทำไมไม่ขึ้นทะเบียนร่วมกัน
       
       ดร.รัชดา ธนาดิเรก กรรมาธิการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้เช่นกัน ที่ผ่านมากรรมาธิการต่างประเทศ อยากให้ชี้แจงข้อมูลต่อยูเนสโกให้ถึงที่สุด ถ้าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สมบูรณ์ได้จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างสองประเทศ เรื่องการถอนตัวทำไม่ยาก เมื่อเราเห็นว่าเขาไม่ให้ความเป็นธรรม เมื่อถึงวันนี้กรรมการมรดกโลกไม่ให้ความสำคัญกับข้อพิพาทพรมแดน ไม่ให้น้ำหนักที่เราชี้ การถอนตัวก็สมควรแล้ว วันนี้เขาไม่ฟังเรา เราก็ถอนตัวออกมา ในอนาคตถ้าจะถอนตัวจากยูเนสโกก็ทำได้ แต่วันนี้เกิดขึ้นในตอนรัฐบาลรักษาการ ไม่สามารถยกระดับปัญหาขึ้นไป ตอนนี้ก็แก้ปัญหาระหว่างไทยกับคณะกรรมการมรดกโลก แต่ไทยกับยูเนสโกก็ยังมีความร่วมมือเรื่องอื่นๆอีก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องวิทยาศาสตร์
       
       ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก และสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ เราก็ไม่กลับเข้าไปอีก วันนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่ เรื่องการถอนตัวให้มีผลทางกฎหมาย ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ควรรับลูกแล้วเดินหน้าต่อไป
       
       สำหรับข้อเสียที่ออกจากมรดกโลก นายเดโชกล่าวว่า เราทำคุณค่าโบราณสถานของเรามาก่อนมีมรดกโลกเสียอีก เราได้ความช่วยเหลือจากยูเนสโกก็ได้บ้าง เช่น ประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์ มีเครื่องหมายของมรดกโลก แต่การทำประชาสัมพันธ์ เราก็ทำเป็น ข้อดีของการเป็นมรดกโลกคือเป็นการแสดงความเป็นอารยะ ให้ทั่วโลกมาชื่นชม เป็นการแสดงออกทางภาพลักษณ์ว่าเราเป็นสมบัติของโลก เราทำตามเขาทุกขั้นตอน
       
       นางวิมลพรรณกล่าวถึงการจดทะเบียนมรดกโลกร่วมกันว่า ทำไมยูเนสโกจึงไม่ให้จดทะเบียนร่วมกัน ถ้าทางยูเนสโกคิดว่าเป็นของกัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว แล้วมาขอความเห็นชอบจากเราทำไม ที่ผ่านมามีหลายแห่งที่ให้ทำร่วมกัน ถ้าร่วมกันได้ จะนำไปสู่การยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ถ้ายูเนสโกไม่เล่นการเมืองก็อธิบายด้วยเหตุผลได้ แต่ยูเนสโกเล่นการเมือง เราไม่คิดว่าองค์กรแบบนี้จะเล่นการเมือง
       
       ที่ผ่านมา หลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้จริงจัง เราประมาทเกินไป ไม่คิดว่าฝรั่งเศสมาช่วยกัมพูชา และเอาชาติอื่นที่พูดภาษาฝรั่งเศสมาช่วยด้วย ใครจะไปนึกว่ายูเนสโกละเมิดกติกาของตนเองทุกเรื่อง ให้จดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่หมกเม็ดเรื่องแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบ การเป็นมรดกโลกจะต้องสง่างาม ต้องครบถ้วน ตัวปราสาทพระวิหารอย่างเดียวมันไม่ครบถ้วน การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนร่วม เขายืนยันที่เขาทำ เราก็ต้องยืนหยัดในหลักการ ยึดความถูกต้องเป็นธรรม อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกัมพูชา เมื่อไม่มีความเป็นธรรม เราก็ไม่ร่วมมือด้วย ซึ่งเป็นปัญหาขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกโลก
       
       ดร.รัชดากล่าวว่า การถอนตัวไม่ได้เสียหายอะไร หากเราเสนอสถานที่เป็นมรดกโลกก็มีตราแสตมป์มรดกโลก แต่โจทย์คือ เราต้องปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีให้ได้ การจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีทำไม่ยาก เขาอยากได้อะไรก็ยกให้เขาไป แต่เราต้องการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีด้วย

สุวิทย์แจงยูเนสโก หมกเม็ด

“สุวิทย์” แจง ยูเนสโกหมกเม็ด เสนอแผนซ่อมแซมปราสาทพระวิหารเปิดช่องส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไป สุ่มเสี่ยงละเมิดอธิปไตยไทย นักวิชาการเห็นด้วยถอนตัวจากมรดกโลก เพราะยูเนสโกเอาแต่เล่นการเมือง ไม่เคารพกฎหมายไทย ละเมิดกฎเกณฑ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา                                นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก กล่าวในรายการ “คมชัดลึก” ถึงการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก ระบุว่าเรื่องการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกคราวก่อนที่บราซิล ทางกัมพูชาได้เสนอแผนต่อศูนย์มรดกโลก แต่ไม่ได้เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งนี้ที่ปารีสจึงควรมีการเสนอแผนให้คณะกรรมการมรดกโลก แต่ปรากฏว่าไม่มีการพิจารณาแผนบริหารจัดการในการประชุมคราวนี้ โดยนายสุวิทย์กล่าวว่าถ้าไม่พิจารณาในคราวนี้ก็จะต้องบอกว่าเอกสารจะถูกพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป แต่เขียนอย่างนี้ไม่ชัดเจน ไม่ได้เขียนในร่างข้อมติ เขาบอกว่าไม่พิจารณา และเอกสารยังไม่ได้แจกให้กรรมการท่านอื่นๆ เลย                เอกสารในข้อมติเขียนว่า แผนบริหารจัดการยังไม่พิจารณา แต่จะพิจารณาเรื่องการเรื่องอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งนักกฎหมายบอกว่า อันนี้คืออนุญาตให้กัมพูชา หรือยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการดำเนินการ ซึ่งมีความหมายกว้างจนน่ากลัวมาก เราบอกเขาว่าการจะส่งคนขึ้นไปในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ของไทยบริเวณรอบๆ ปราสาท จะต้องไม่ละเมิดอธิปไตยของไทย ต้องขอความเห็นชอบจากเราก่อน ซึ่งเรารับเรื่องนี้ไม่ได้                ส่วนเรื่องการประกาศถอนตัว เราได้ดูความเป็นไปได้ในทุกๆ ทาง ในการประชุมคราวนี้ไม่ได้เจรจาสองฝ่ายกับทางกัมพูชา แต่ทางศูนย์มรดกโลกได้เจรจากับแต่ละฝ่าย และเอาความเห็นสรุปขึ้นมาเป็นร่างอีกร่างหนึ่ง (ซึ่งมีการเสนอให้บูรณะซ่อมแซมปราสาท) การที่เราประกาศถอนตัว เพราะไม่ยอมรับผลการประชุมที่จะออกมา เราไม่ร่วมพิจารณาร่างมติดังกล่าว เราไม่เห็นด้วย ซึ่งได้เราส่งหนังสือประท้วงมาตลอดว่าเราไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารตั้งแต่การประชุมที่สเปน และที่บราซิล มาถึงตอนนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องทำเอกสารแจ้งไปตามเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินการ วันนี้หนังสือที่ไทยยื่นถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบทุกคนแล้ว                นายเดโช สวนานนท์ นายกศิลปากรสมาคม และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้ เนื่องจากเราได้ต่อสู้ในหลักการมานานแล้วแต่ทางยูเนสโกไม่ฟัง และละเมิดกฎเกณฑ์สำคัญของยูเนสโก ที่ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบยินยอมจากอีกประเทศหนึ่งก่อนถึงจะขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งมีทางออกอย่างเดียวคือต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งนอกจากถอนจากคณะกรรมการฯแล้ว เราควรจะถอนตัวจากยูเนสโกด้วย ตอนนี้เรายังเป็นกรรมการยูเนสโกอยู่ เพราะเรายอมเสียดินแดนไม่ได้ แต่เราให้ความร่วมมือได้ ขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ได้                นางวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก เพราะศูนย์มรดกโลกไม่เคารพกฎหมายไทย ใตอนนั้นที่นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเซ็นยอมให้กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เราได้ร้องศาลให้ตีความว่านายนพดลทำผิดกฎหมายตามมาตรา 190 เพราะไม่ได้เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เราได้แจ้งให้ศูนย์มรดกโลกทราบ และได้ขอให้การกระทำนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งทางยูเนสโกควรจะให้ความเคารพกฎหมายของทุกประเทศ แต่เขาก็ยังเดินหน้าต่อไป ถ้ากรณีนี้เกิดกับอังกฤษกับอเมริกา ศูนย์มรดกโลกจะยอมรับกฎหมายเขาหรือไม่ ดังนั้นจะเห็นว่าการชี้แจงต่อมรดกโลกมันไร้ผลมาหลายครั้ง เราหวังว่ายูเนสโกจะเข้าใจ และแก้ปัญหา แต่ทำไมยูเนสโกไม่พยายามช่วยให้สองประเทศอยู่กันอย่างสันติ ประเทศเรามีเขตแดนติดกัน มีผลประโยชน์ร่วมกันทำไมไม่ขึ้นทะเบียนร่วมกัน                ดร.รัชดา ธนาดิเรก กรรมาธิการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้เช่นกัน ที่ผ่านมากรรมาธิการต่างประเทศ อยากให้ชี้แจงข้อมูลต่อยูเนสโกให้ถึงที่สุด ถ้าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สมบูรณ์ได้จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างสองประเทศ เรื่องการถอนตัวทำไม่ยาก เมื่อเราเห็นว่าเขาไม่ให้ความเป็นธรรม เมื่อถึงวันนี้กรรมการมรดกโลกไม่ให้ความสำคัญกับข้อพิพาทพรมแดน ไม่ให้น้ำหนักที่เราชี้ การถอนตัวก็สมควรแล้ว วันนี้เขาไม่ฟังเรา เราก็ถอนตัวออกมา ในอนาคตถ้าจะถอนตัวจากยูเนสโกก็ทำได้ แต่วันนี้เกิดขึ้นในตอนรัฐบาลรักษาการ ไม่สามารถยกระดับปัญหาขึ้นไป ตอนนี้ก็แก้ปัญหาระหว่างไทยกับคณะกรรมการมรดกโลก แต่ไทยกับยูเนสโกก็ยังมีความร่วมมือเรื่องอื่นๆอีก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องวิทยาศาสตร์                ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก และสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ เราก็ไม่กลับเข้าไปอีก วันนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่ เรื่องการถอนตัวให้มีผลทางกฎหมาย ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ควรรับลูกแล้วเดินหน้าต่อไป                สำหรับข้อเสียที่ออกจากมรดกโลก นายเดโชกล่าวว่า เราทำคุณค่าโบราณสถานของเรามาก่อนมีมรดกโลกเสียอีก เราได้ความช่วยเหลือจากยูเนสโกก็ได้บ้าง เช่น ประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์ มีเครื่องหมายของมรดกโลก แต่การทำประชาสัมพันธ์ เราก็ทำเป็น ข้อดีของการเป็นมรดกโลกคือเป็นการแสดงความเป็นอารยะ ให้ทั่วโลกมาชื่นชม เป็นการแสดงออกทางภาพลักษณ์ว่าเราเป็นสมบัติของโลก เราทำตามเขาทุกขั้นตอน                นางวิมลพรรณกล่าวถึงการจดทะเบียนมรดกโลกร่วมกันว่า ทำไมยูเนสโกจึงไม่ให้จดทะเบียนร่วมกัน ถ้าทางยูเนสโกคิดว่าเป็นของกัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว แล้วมาขอความเห็นชอบจากเราทำไม ที่ผ่านมามีหลายแห่งที่ให้ทำร่วมกัน ถ้าร่วมกันได้ จะนำไปสู่การยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ถ้ายูเนสโกไม่เล่นการเมืองก็อธิบายด้วยเหตุผลได้ แต่ยูเนสโกเล่นการเมือง เราไม่คิดว่าองค์กรแบบนี้จะเล่นการเมือง                ที่ผ่านมา หลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้จริงจัง เราประมาทเกินไป ไม่คิดว่าฝรั่งเศสมาช่วยกัมพูชา และเอาชาติอื่นที่พูดภาษาฝรั่งเศสมาช่วยด้วย ใครจะไปนึกว่ายูเนสโกละเมิดกติกาของตนเองทุกเรื่อง ให้จดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่หมกเม็ดเรื่องแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบ การเป็นมรดกโลกจะต้องสง่างาม ต้องครบถ้วน ตัวปราสาทพระวิหารอย่างเดียวมันไม่ครบถ้วน การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนร่วม เขายืนยันที่เขาทำ เราก็ต้องยืนหยัดในหลักการ ยึดความถูกต้องเป็นธรรม อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกัมพูชา เมื่อไม่มีความเป็นธรรม เราก็ไม่ร่วมมือด้วย ซึ่งเป็นปัญหาขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกโลก                ดร.รัชดากล่าวว่า การถอนตัวไม่ได้เสียหายอะไร หากเราเสนอสถานที่เป็นมรดกโลกก็มีตราแสตมป์มรดกโลก แต่โจทย์คือ เราต้องปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีให้ได้ การจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีทำไม่ยาก เขาอยากได้อะไรก็ยกให้เขาไป แต่เราต้องการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีด้วย

ปานเทพจี้ สุวิทย์โชว์หนังสือมรดกโลกเขียนอะไรไว้

วันนี้ (27 มิ.ย.)“ปานเทพ” จี้ “สุวิทย์” โชว์หนังสือถอนตัวมรดกโลกเขียนอะไรไว้ ไม่รับมติที่ประชุม หรือแค่ลาออก มีผลเมื่อไหร่ พร้อมประณามยูเนสโกลุแก่อำนาจเดินหน้าอนุมัติแผนเขมร จี้ทหารไล่ผู้รุกรานพ้นดินแดน หวั่นเกิดเป็นพื้นที่มรดกโลกเสียเปรียบอีก จี้ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลกด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พร้อมด้วย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยนายปานเทพกล่าวเรียกร้องให้นายสุวิทย์ "เปิดเผยหนังสือที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่า การลาออกนั้นมีถ้อยคำและใช้ข้อความว่าอย่างไร ซึ่งจะมีนัยที่สำคัญว่าไทยอยู่ในสถานภาพที่ไม่รับมติที่ประชุม หรืออยู่ในระดับการลาออกต่อมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอให้ชี้แจงทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงว่ามีผลทันทีหรือไม่ และจะมีผลทันที หรือว่ามีผลในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ขอให้เปิดคำชี้แจงในประเด็นนี้ให้เกิดความชัดเจนด้วย" ขณะที่หลังจากที่ได้ถอนตัวออกมาแล้วปรากฏว่าคณะกรรมการมรดกโลกยังคงมีการประชุมต่อไป และยังมีการลงมติอนุมัติแผนบริหารจัดการ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา ต่อกรณีดังกล่าวนั้นเราขอประณามคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ที่ยังคงลุแก่อำนาจ แม้ว่าไทยจะถอนตัวแล้วแต่ก็ยังดำเนินการอนุมัติแผนบริหารจัดการให้เป็นของกัมพูชาต่อไป ต้องถือว่าประเทศไทยและประชาชนชาวไทยไม่รับมติดังกล่าว เพราะได้ถอนตัวออกมาแล้ว ดังนั้น ยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลกจะไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารได้ เพราะถือว่าอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย และประเทศไทยไม่ยินยอมตามมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ได้ลงไป นายปานเทพกล่าว่าต่อว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้ถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเดินหน้าอนุมัติแผนบริหารจัดการให้กับกัมพูชาต่อไป ฝ่ายไทยจะต้องดำเนินการทันทีในการผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ไม่เช่นนั้นแล้วพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่นำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดเป็นพื้นที่มรดกโลกของกัมพูชาในทางปฏิบัติอีก ก็จะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบโดยทันที ทำให้การลาออกของนายสุวิทย์สูญเปล่า และที่ต้องระวังอย่างมากก็คือ กรณีของศาลโลก ที่ประเทศไทยยังรับอำนาจศาลโลกอยู่ ยังไม่ถึงขั้นประกาศว่าเราไม่รับอำนาจศาลโลก หรือชี้แจงต่อศาลโลกว่าศาลโลกไม่มีอำนาจและไทยไม่รับคำตัดสินใดๆ ตรงนี้จะเป็นอันตรายต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในระยะสั้นใกล้ที่สุดก็คือ มาตรการคุ้มครองชั่วคราว ที่ศาลโลกกำลังจะพิจารณาให้กับกัมพูชาหรือไม่ ถ้าศาลโลกพิจารณาให้กับกัมพูชา ไทยก็จะเสียเปรียบทันที ในทำนองเดียวกันถ้าศาลไม่คุ้มครองชั่วคราวกัมพูชาและไทยหลงกระโจนเข้าไปรับอำนาจศาลโลก ก็จะต้องถูกตีความในคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในการขยายขอบเขตเกินกว่าตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งหากไทยรับอำนาจศาลโลกแล้วยังมีการตัดสินให้เป็นโทษต่อประเทศไทยแล้ว ก็จะหมายความว่าการดำเนินการในการถอนตัวออกจากมรดกโลกนั้นสูญเปล่า ทำให้สิ่งที่คณะกรรมการมรดกโลกได้อนุมัติไปสามารถเดินหน้าได้ต่อไป โดยทั้งมติคณะกรรมการมรดกโลกและอาศัยยืมมือศาลโลกในชั้นต่อไปด้วย “การลาออกของนายสุวิทย์จะสูญเปล่าทันทีถ้าไทยไม่ถอน ไม่มีการผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย และไม่ดำเนินการประกาศว่าเราไม่รับอำนาจศาลโลก และเลิกเข้าสู่กระบวนการศาลโลก และชี้แจงไปเลยว่าประเทศไทยได้ถอนตัวออกจากการประกาศปฏิญญาการประกาศรับอำนาจศาลโลกมาแล้วหลังจากคดีปราสาทพระวิหาร และได้ตั้งข้อสงวนเอาไว้กรณีคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ. 2505 กรณีปราสาทพระวิหารเอาไว้แล้ว ดังนั้นไม่ควรจะมีการดำเนินการที่จะไปรับอำนาจศาลโลกอีกครั้งหนึ่ง” นายปานเทพกล่าว ด้าน พล.ต.จำลองกล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยถอนตัวออกจากมรดกโลก สื่อมวลชนให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ ถ้าสื่อมวลชนได้สนใจเรื่องเสียดินแดนอย่างนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว ตนเห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้อีก ส่วนกรณีนายสุวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องตัดสินใจประกาศให้ประเทศไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก เพื่อเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ที่จริงควรจะตัดมาก่อนหน้านนี้นานแล้ว เพราะพันธมิตรฯ ได้รณรงค์เรื่องนี้มานานว่าเราสามารถถอนตัวจากภาคีมรดกโลกเมื่อไหร่ก็ได้แล้วควรจะรีบทำ แต่ก็ยังดีที่ทำในตอนท้าย ดีกว่าไม่ทำเลย http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000078260 ***************************************** ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ - การที่คณะกรรมการมรดกโลกเดินหน้าอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารโดยที่ไทยถอนตัวมติดังกล่าวจึงสูญเปล่าหากไทยไม่ยินยอม ในขณะที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลกแต่ถ้าหากไม่ผลักดันกัมพูชาออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารและปล่อยให้ยูเนสโกและเขมรปรับปรุงพื้นที่ บูรณปฏิสังขรณ์ และลงมือบริหารจัดการ การถอนตัวของไทยก็สูญเปล่าทันที - ในทำนองเดียวกันหากไทยถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้วยังไปรับอำนาจศาลโลก และศาลโลกเกิดคุ้มครองชั่วคราวให้กัมพูชา ไทยก็เสียหาย หรือศาลโลกไม่คุ้มครองชั่วคราวให้เขมรแต่ไทยยอมรับก็เท่ากับถลำลึกรับอำนาจศาลโลกให้กลับมาตีความขยายผลคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ได้ ดังนั้นถ้าศาลโลกตีความให้ไทยแพ้โดยไทยไปรับอำนาจศาลโลก มรดกโลกทึ่อนุมัติไปแล้วก็เดินหน้าต่อเพราะเป็นของเขมร และการถอนตัวจากมรดกโลกของไทยก็สูญเปล่า Via Facebook

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อดีตกก.มรดกโลกชี้ ถอนตัวภาคี ไม่กระทบเสนอมรดกโลก

Pic_181979

"อดุล" เผย "สุวิทย์" ขอปรึกษาก่อนตัดสินใจถอนตัวภาคีมรดกโลก ย้ำไม่กระทบเสนอชื่อแหล่งมรดกโลก แต่ก็ไม่ควรเสนอแล้ว ยัน"สุวิทย์" ไม่ผิดมติครม....


ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ กล่าวว่า ก่อนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ครั้งที่ 35 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มาพบตนและหารือเรื่องแผนบริหารจัดการรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้เสนอแนวคิดและสนับสนุนให้ไทยได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีสมาชิก อนุสัญญามรดกโลก เพราะอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ หากที่ประชุมมีมติไม่ยอมเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารจัดการรอบปราสาทพระ วิหาร ที่ฝ่ายกัมพูชาเสนอ ซึ่งที่ผ่านมา กรรมการมรดกโลกพยายามเกื้อกูลกัมพูชามาโดยตลอด ที่สำคัญไทยไม่เคยยอมรับแผนบริหารจัดการดังกล่าวเลย

ศ.ดร.อดุล กล่าวว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีประเทศใดถอนตัวออกจากภาคีสมาชิก ไทยเป็นประเทศแรกที่ลาออก ซึ่งการถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกนั้น จะไม่กระทบต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก และจะไม่ถูกถอดถอน และจะไม่เสียฐานะยังคงเป็นอยู่ต่อไป ส่วนที่ว่าหากไทย จะขอกลับไปเป็นภาคีสมาชิกอีกครั้งทำได้หรือไม่ ตนมองว่าในเมื่อไทยตัดสินใจลาออกมาแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรต้องกลับไปอีก ที่ผ่านมาที่ไทยยอมเป็นภาคีมรดกโลก เนื่องจากตอนนั้นการพิจารณามรดกโลกเป็นไปอย่างเคร่งครัด แต่มาภายหลังไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน

อดีตคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่า การที่ไทยถอนตัวไม่เป็นภาคีมรดกโลกแล้ว จะสามารถเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้เป็นมรดกโลกได้หรือไม่ ตามหลักสากล หรือในข้อกำหนดของยูเนสโก ไม่ได้เขียนระบุไว้ว่า หากถอนตัวแล้วจะไม่สามารถเสนอขอเป็นมรดกโลก แต่โดยหลักการแล้ว ในเมื่อเราปฏิเสธกลไกดังกล่าวไปแล้ว เราก็ไม่ควรเสนอเป็นมรดกโลก ซึ่งตนมองว่าไม่มีความจำเป็น และไม่เห็นต้องอาศัยชื่อความเป็นมรดกโลก เพราะไม่ได้ทำให้พื้นที่ของประเทศไทยดีขึ้น เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางชื่อเท่านั้น ส่วนประเด็นที่สุวิทย์ถอนตัว โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจจะผิดกฎหมายนั้น เท่าที่ทราบแม้จะไม่มีการขอมติ ครม. แต่ก็ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีมาก่อนหน้านี้ แล้วจึงไม่น่ามีปัญหา

เรื่องสำคัญ ๔สำเนาจดหมายลาออกที่ผมให้คุณสุวิทย์เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔

เรื่องสำคัญ ๔

โดย Thepmontri Limpaphayom เมื่อ 27 มิถุนายน 2011 เวลา 4:47 น.
     ปล. สำเนาจดหมายลาออกที่ผมให้คุณสุวิทย์เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณสุวิทย์อ่านแล้วมาบอกผมวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ว่า "ผมอ่านแล้วจดหมายของอาจารย์แรงไป  กำลังร่างอันใหม่และจะไปยื่น"  (คุณสุวิทย์พูดจริงตามนี้ครับ)แต่ฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับที่คุณสุวิทย์นำไปยื่น ต่อมาดามโบโกว่า ผอ.ใหญ่ ยูเนสโกครับ
Thailand  National  Committee  on  the                                  
 World Heritage  Convention  Office  of 
 Natural  Resources and  Environment                     
 Policy  and Planning   60/1 Soi
 Phibulwattana7 RamaVI
  Rd  Phayathai , Bangkok 10400 Thailand
(เพิ่มเติม)  ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก

                     His Majesty’s Government of the Kingdom of Thailand had made an express reservation regarding whatever rights Thailand had, or may have in the future, to recover the Temple of Preah Vihear from Cambodia since the 6th day of July 1962 A.D. and registered a protest against the unjustified decision of the International Court of Justiceawarding the Temple of Preah Vihear to Cambodia by estoppels. Such letter was issued on behalf of His Majesty’s Government and was signed by H.E. Thanat Khoman, then Minister of Foreign Affairs of Thailand and addressed to H.E. U Thant, then Acting Secretary-General of the United Nations. The intention that I, Mr.Suwit Khunkitti, as Head of the World Heritage Committee of Thailand, made reference to the said letter was to bring forward to the 35th World Heritage Committee (WHC) Meeting and expecting the total understanding on the part of WHC and UNESCO regarding the issue between the State Party of Thailand and the State Party of Cambodia, provoked by the inscription of the Temple of Preah Vihear and the Management Plan which violated Thailand sovereignty.
            Since the 31st Meeting to this 35th Meeting, the State Party of Cambodia has   persistently invaded and encroached Thai territory particularly all along the Cambodia-Thailand borderline. I, as a Royal Thai Government representative and on behalf of the Thai people, express grave concern on the action of the State Party of Cambodia deploying military troops as well as encouraging civilians to encroach the territory of Thailand.
            The past 4 WHC resolutions have caused a tremendous rupture between the two State Parties relations that leads the conflict to the international stage and disunion amongst each allied countries. There have been several clashes resulted in many casualties and a massive unprecedented Thais evacuation. It takes away the right to work and to pursue their livings from those who live around the area that the WHC has designated as the Managed Area including residents near the Preah Vihear Temple since it has become the weaponry storage and a fierce battlefield. Rockets and artilleries were used in the exchange of fire.
            The State Party of Thailand has been exceptionally patient and tolerant with numerous acts of the State Party of Cambodia. Thailand has responded to these acts in civilized manner such as submitting hundreds of official protest letters, promulgating explanation statements to the international community, namely UNESCO member countries, ASEAN, UNSC and even the International Court of Justice. The State Party of Thailand wishes to explain in detail the intent of the resignation letter from being a State Party as follows;
  1. The demarcation of the Thai-Cambodia boundary had already been done, according to the Convention 1904 A.D. and the Treaty 1907 A.D. leaving only the Temple area that used the watershed as borderline. Consequently, this watershed bound the Temple of Preah Vihear in Thai territory.
  2. The World Heritage Committee has violated Section II of the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage on both national and international levels, Article 4 (Cultural Heritage must be situated on its territory and belongs primarily to that State) , Article 5 (World Cultural Heritage must be situated in its sovereign territory of the State Party), and Article 6 (Fully respecting the sovereignty of the States on whose territory the cultural and natural heritage mentioned in Articles 1 and 2 is situated). The WHC and the State Party of Cambodia both violated the 3 cited Articles of the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage,   through the encroachment of the territory of the State Party of Thailand and through the support of the State Party of Cambodia’s inscription of the Temple of Preah Vihear. Since the surrounding areas of the Temple belong to Thailand who had exercised her sovereign rights over the territory by designated it as National Park of Khao Phra Viharn since 2000 A.D. without any objection whatsoever from the State Party of Cambodia. Furthermore, the 32nd WHC resolution had solely inscribed the Temple, excluding the surrounding areas of the Temple which according to the Thai Administrative Court and the Thai Constitutional Court rulings remained under Thai sovereignty. The decision of the WHC clearly violates the State Party on the basis of invasion by granting the territory of the State Party of Thailand to the State Party of Cambodia in the inscription of the Temple of Preah Vihear and the Management Plan as well as adding it into the Agenda of the 35th WHC Meeting.     
  3. The International Court of Justice (ICJ) ruling on the Temple of Preah Vihear case only granted the sovereign rights to Cambodia over the Temple, not on the surrounding areas of the Temple. Furthermore, the ICJ neither ruled on the Map, nor on the acceptance of the Map ratio 1:200000 that the State Party of Cambodia has applied as criteria in drafting the Management Plan and the Temple of Preah Vihear inscription. The State Party of Thailand has in vain trying to illuminate the WHC with explanation about the consequences of the inscription of the Temple of Preah Vihear as a World Cultural Heritage. I, as Head of the World Heritage Committee of Thailand, the Royal Thai Government representative, and on behalf of Thai people, have reckoned that the WHC decision was not justified. Therefore, I, hereby, tend my resignation from a State Party to the Convention, in accordance with Article 35 (Each State Party to this Convention may denounce the Convention.), and with reasons given earlier in order to maintain the sovereignty and the territorial integrity of the Kingdom of Thailand.
  4. The Kingdom of Thailand has her own Constitution under the democratic regime with His Majesty the King as the Head of State. “King” or what most Thai people refer to “the Owner of the Land”. The King is the owner of the Land with full executive, legislative, and judiciary power. The present King is a King with divine virtue; He is regarded as “the Great” honored in the international community owing to his everlasting devotion for the well-being of the people of Thailand. In 2011, His Majesty will turn 84 and it would be inappropriate that Thai territory will be segregated during his reign. Even though Thailand is a responsible State Party, we, on behalf of the Thai people, cannot accept the WHC decision.
                         (เพิ่มเติมเอานะครับ)
                                                                 ( ลงนาม)

จดหมายลาออกจากภาคีมรดกโลกแปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่ อ.เทพมนตรี นำเสนอให้สุวิทย์ คุณกิตติ

โดย T-na Lertwanarin เมื่อ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 0:59 น.

(นี่ เป็นเนื้อความของจดหมายลาออกจากภาคีมรดกโลก ฉบับภาษาอังกฤษ ที่ อ.เทพมนตรี นำเสนอให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 2554  แต่ไม่ใช่จดหมายลาออกตัวจริงที่สุวิทย์ยื่นวันนี้ 25 มิ.ย. 2554 นะครับ)

                His Majesty’s Government of the Kingdom of Thailand had made an express reservation regarding whatever rights Thailand had, or may have in the future, to recover the Temple of Preah Vihear from Cambodia since the 6th day of July 1962 A.D. and registered a protest against the unjustified decision of the International Court of Justice
awarding the Temple of Preah Vihear to Cambodia by estoppels. Such letter was issued on behalf of His Majesty’s Government and was signed by H.E. Thanat Khoman, then Minister of Foreign Affairs of Thailand and addressed to H.E. U Thant, then Acting Secretary-General of the United Nations. The intention that I, Mr.Suwit Khunkitti, as Head of the World Heritage Committee of Thailand, made reference to the said letter was to bring forward to the 35th World Heritage Committee (WHC) Meeting and expecting the total understanding on the part of WHC and UNESCO regarding the issue between the State Party of Thailand and the State Party of Cambodia, provoked by the inscription of the Temple of Preah Vihear and the Management Plan which violated Thailand sovereignty.
            Since the 31st Meeting to this 35th Meeting, the State Party of Cambodia has   persistently invaded and encroached Thai territory particularly all along the Cambodia-Thailand borderline. I, as a Royal Thai Government representative and on behalf of the Thai people, express grave concern on the action of the State Party of Cambodia deploying military troops as well as encouraging civilians to encroach the territory of Thailand.
            The past 4 WHC resolutions have caused a tremendous rupture between the two State Parties relations that leads the conflict to the international stage and disunion amongst each allied countries. There have been several clashes resulted in many casualties and a massive unprecedented Thais evacuation. It takes away the right to work and to pursue their livings from those who live around the area that the WHC has designated as the Managed Area including residents near the Preah Vihear Temple since it has become the weaponry storage and a fierce battlefield. Rockets and artilleries were used in the exchange of fire.
            The State Party of Thailand has been exceptionally patient and tolerant with numerous acts of the State Party of Cambodia. Thailand has responded to these acts in civilized manner such as submitting hundreds of official protest letters, promulgating explanation statements to the international community, namely UNESCO member countries, ASEAN, UNSC and even the International Court of Justice. The State Party of Thailand wishes to explain in detail the intent of the resignation letter from being a State Party as follows;
  1. The demarcation of the Thai-Cambodia boundary had already been done, according to the Convention 1904 A.D. and the Treaty 1907 A.D. leaving only the Temple area that used the watershed as borderline. Consequently, this watershed bound the Temple of Preah Vihear in Thai territory.
  2. The World Heritage Committee has violated Section II of the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage on both national and international levels, Article 4 (Cultural Heritage must be situated on its territory and belongs primarily to that State) , Article 5 (World Cultural Heritage must be situated in its sovereign territory of the State Party), and Article 6 (Fully respecting the sovereignty of the States on whose territory the cultural and natural heritage mentioned in Articles 1 and 2 is situated). The WHC and the State Party of Cambodia both violated the 3 cited Articles of the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage,   through the encroachment of the territory of the State Party of Thailand and through the support of the State Party of Cambodia’s inscription of the Temple of Preah Vihear. Since the surrounding areas of the Temple belong to Thailand who had exercised her sovereign rights over the territory by designated it as National Park of Khao Phra Viharn since 2000 A.D. without any objection whatsoever from the State Party of Cambodia. Furthermore, the 32nd WHC resolution had solely inscribed the Temple, excluding the surrounding areas of the Temple which according to the Thai Administrative Court and the Thai Constitutional Court rulings remained under Thai sovereignty. The decision of the WHC clearly violates the State Party on the basis of invasion by granting the territory of the State Party of Thailand to the State Party of Cambodia in the inscription of the Temple of Preah Vihear and the Management Plan as well as adding it into the Agenda of the 35th WHC Meeting.     
  3. The International Court of Justice (ICJ) ruling on the Temple of Preah Vihear case only granted the sovereign rights to Cambodia over the Temple, not on the surrounding areas of the Temple. Furthermore, the ICJ neither ruled on the Map, nor on the acceptance of the Map ratio 1:200000 that the State Party of Cambodia has applied as criteria in drafting the Management Plan and the Temple of Preah Vihear inscription. The State Party of Thailand has in vain trying to illuminate the WHC with explanation about the consequences of the inscription of the Temple of Preah Vihear as a World Cultural Heritage. I, as Head of the World Heritage Committee of Thailand, the Royal Thai Government representative, and on behalf of Thai people, have reckoned that the WHC decision was not justified. Therefore, I, hereby, tend my resignation from a State Party to the Convention, in accordance with Article 35 (Each State Party to this Convention may denounce the Convention.), and with reasons given earlier in order to maintain the sovereignty and the territorial integrity of the Kingdom of Thailand.
  4. The Kingdom of Thailand has her own Constitution under the democratic regime with His Majesty the King as the Head of State. “King” or what most Thai people refer to “the Owner of the Land”. The King is the owner of the Land with full executive, legislative, and judiciary power. The present King is a King with divine virtue; He is regarded as “the Great” honored in the international community owing to his everlasting devotion for the well-being of the people of Thailand. In 2011, His Majesty will turn 84 and it would be inappropriate that Thai territory will be segregated during his reign. Even though Thailand is a responsible State Party, we, on behalf of the Thai people, cannot accept the WHC decision.

อาจารย์เทพมนตรีโพสบนเฟชบุ๊ค หลังมีบทความคุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ออกมา

โดย Thepmontri Limpaphayom เมื่อ 27 มิถุนายน 2011 เวลา 3:31 น.

ถ้า ไม่พอใจในการลาออก เดี๋ยวผมกลับกรุงเทพฯให้รัฐบาลทำหนังสือขอกลับเข้าไปเป็นสมาชิกยังทันจะเอา แบบนั้นใช่ไหม เพราะ ๑๒ เดือน ก็ยังมีเวลายกแผ่นดินให้เขมรไปเลย ผมไม่ทราบพวกคุณต้องการอะไรกันแน่ ตอนที่ยังไม่ลาออกก็ไม่เห็นไปช่วยฟ้องยูเนสโกเลย ทีตอนนี้ออกมากันใหญ่ ถ้าต้องการบอกผมมา เดี๋ยวผมจัดให้ เอาให้ซะใจให้ประเทศพังไปเลย ยังไม่เห็นเอกสารอะไรก็ตีโพยตีพายกันไปใหญ่ ลาออกมันเป็นผลไปแล้ว คุณรู้กันไหมว่าฝรั่งตกใจออกมาล๊อบบี้กันใหญ่ ถ้าไม่เป็นผลมันจะแคร์ทำไม ต่อไปมันอยู่ที่ว่ารัฐบาลและทหารจะจัดการกันอย่างไร ทำไมไม่ไปร้องเรียกให้ทหารออกมาทำหน้าที่เอาดินแดนคืนมา ผลักดันเขมรออกไป เราสามารถปลดล๊อกมรดกโลกได้แล้ว แทนที่จะช่วยกันมุ่งหน้าต่อ กับใช้วิชาการมาเหนี่ยวรั้งคนอื่น ในโลกสากลเขาล๊อบบี้กันมากกว่าวิชาการนะครับ ผมไม่เห็นมันใช้วิชาการกันสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ตอแหลกันนานาชาติ




· · แบ่งปัน

  • Pekkykob Shi และอีก 20 คนถูกใจสิ่งนี้
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง อาจารย์ทำได้ดีที่สุดเท่าที่คนไทยรักชาติอย่างเราจะทำได้แล้วครับ เพราะที่ทำได้มากกว่าอาจารย์มันมีแต่พวกไม่รักชาติ มันเลยไม่ทำอะไรกัน
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ผมจะให้เขาไปเป็นสมาชิกมรดกโลกใหม่ คงจะซะใจดี
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง อย่าเลยครับอาจารย์ มันสะใจก็จริง แต่มันจะทำให้คนที่อาจารย์รักต้องเจ็บปวดนะครับ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 4 คน
    • Kanchanok Kip-Maturod No way kaaa.
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Thepmontri Limpaphayom ทำไมต้องมาขอร้องผม ไม่เห็นไปว่าคนที่ไม่รู้เรื่องเลย
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 4 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง คนที่อาจารย์แขวนไว้ที่คอสนะครับ ถ้าอาจารย์ท้อแท้ เจ็บปวดกับไอ้พวกไม่รักชาติ อาจารย์นึกถึงสร้อยอาจารย์สิครับ แล้วพวกเราที่มัฆวานอีก
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • Pekkykob Shi อาจาร์ยคะ เดินหน้ารักษาแผ่นดินกัต่อไปนะคะ ขอบพระคุณมากๆๆค่ะ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ผมตรงไปตรงมานะ กว่าเราจะได้วันนี้มันไม่ใช่ง่ายๆ พอมีบทความออกมาสักบทหนึ่งตื่นเต้นตีโพยตีพายไปได้ เอาแบบที่ผมว่านั่นแหละ แล้วให้เจ้าประคุณทูลกระหม่อมคนนั้นไปแก้ปัญหาเอง
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 8 คน
    • Jmee Sup อย่าไปฟังพวกมันค่ะ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ก็มันพวกเรานะซิ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง บทความใช่ไหมครับ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Thepmontri Limpaphayom ให้คุณชวนนท์ไปสมัครสมาชิกใหม่ดีกว่า
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ตอนนี้ยังไม่นอนนี่เอาคุณชวนนท์ไปสมัครใหม่ได้เลย
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 3 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง ผมเคารพการตัดสินใจของอาจารย์ครับ และเชื่อมั่นอาจารย์เสมอ ดังนั้นถ้าอาจารย์ว่าสมัครใหม่แล้วดี ผมก็ยังเชื่อมั่นครับ ว่าอาจารย์ทำถูกต้อง
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • KobPhuket Vote No แหม ถ้า "มัน" คือพวกเราก็เขกกบาลมันแล้วให้อภัยกันเถอะครับ อจ. คิดซะว่าลูกศิษย์มันขี้เกียจละกัน แต่ที่มั่้นคงก็คืออุดมการณ์ร่วมกันยังไงถ้าเป็นพวกเราก็คือพวกเราแหละครับ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • Ratima Suntharanurak อาจารย์ อย่าหวั่นไหวกับคนชั่วขายชาติเลยคะ ในหัวใจ ขอให้มีในหลวงเป็นธงนำ คนอื่นมองข้ามหัวมันไปเลยคะ ขอบคุณแทนลูกหลานด้วยคะ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 3 คน
    • Calbeross Act เรายึดมั่นให้หลักความคิดเราครับว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ และผมก็เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำมันดี ถึงใครจะวิจารณ์ยังไงถึงจะเป็นพ่อเป็นแม่ผม ผมไม่ยอมให้ดินแดนผมเสียไปแน่นอน ผมคิดว่าการตัดสินใจครั้งนี้ยอดเยี่ยมครับ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • KobPhuket Vote No
      ก่อนจะเข้าใจผิดกันใหญ่ ผมขออนุญาต อ เทพมนตรีอธิบายใ้ห้เพื่อนๆฟังตรงนี้นะครับว่า มี บทความโดย อ วีรพัฒน์ ซึ่งเป็นนักกฏหมายเขียนวิเคราะห์ถึงการลาออกของคุณสุวิทย์ว่ามีผลจริงหรือไม่ แต่พอเอามาโพสต์ คนโพสต์ก็เข้าใจผิดไปว่ามีนัยยะในด้านลบต่อการล...ดูเพิ่มเติม
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 3 คน
    • Kanchanok Kip-Maturod เรามาวางแผนเอาปราสาทพระวิหาวของเรบคืนมากันดีกว่าค่ะอาจารย์ แต่ก่อนอื่นต้องช่วยกันกำจัดนางตัวร้าย MOU43กันก่อนค่ะดีไหมค่ะ!! สู้ๆค่ะ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • Songsak เราจะสู้เพื่อในหลวง ถ้าไม่มีอาจารย์ตามไปประกบล่ะก็ป่านนี้เสร็จโจรไปแล้ว..องค์พระพิฆเนศร์และพวกเรากำลังรอต้อนรับการกลับมาของพระเอกตัวจริง(ตัวประกอบช่างมันครับ..ก็บอกเองนี่ว่าตัวใครตัวมัน ฮ่าฮ่า)
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 5 คน
    • อัครมหาเสนาบดี ฮุนมาสิด เวทนาชีวิต คนเขียนบทความ เขาเป็นพวกเราจริงๆเหรอครับอาจารย์ ตัวผมผมเห็นบทความนี้ถูกแชร์เยอะแต่ผมไม่ได้คลิกอ่านก็เลยไม่สามารถวิเคราะห์"ด้อะครับเพราะผมไม่ได้มีความสงสัยอะไรแล้วอะครับตอนก่อนหน้านี้ยอมรับครับว่าไม่เชื่อใจคุณวุสิทย์เลยจริงๆว่าแกจะกล้าทำแต่พอเห็นแกกล้าทำแล้วผมก็ยกย่องแกอะครับ
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 2 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง
      ‎...
      มรดกโลกถอนตัวออกมาแล้ว
      ไยพี่แก้วหน้านิ่วคิ้วขมวด
      เวลาผ่านมาแม้ยาวนาน
      ยังไม่ปวดร้าวรานเหมือนวันนี้
      ...ดูเพิ่มเติม
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · · 1 คน
    • Kanchanok Kip-Maturod งอลลลลอีกแล้ว
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Kanchanok Kip-Maturod ‎{*^____^*}
      ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    • Thepmontri Limpaphayom ไม่ได้งอนอะไรเลยครับ ไม่ได้น้อยใจอะไรด้วย อยากจะทำอะไรก็เชิญ ผมมีปัญญาแค่นี้ ต่อไปมีแผนการอะไรก็ไม่ต้องรู้จะได้ไม่ต้องสงสัย ทำให้เป็นเรื่องลับเหมือนข้าราชการต้องการ เอาไว้ไปรู้ตอนที่มันเสร็จแล้วก็แล้วกันครับ
      58 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Kanchanok Kip-Maturod อาจารย์ค่ะ สค่แซวอาจารย์น่ะค่ะ ไม่อยากให้อาจารย์คิดมากไปใจเย็นค่ะ อย่าพึ่งคิดไปไกลเกินค่ะ.
      55 นาทีที่แล้ว ·
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง ที่มีทุกวันนี้ก็ด้วยข้อมูลของอาจารย์ ถ้าไม่ได้อาจารย์ไม่มีอาจารย์ป่านนี้เราก็คงเสียดินแดนไปแล้ว และข้อมูลภาคประชาชนก็คงไม่แข็งแกร่งขนาดนี้ อาจารย์จะทำแบบนั้นลงจริง ๆหรือครับ
      54 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ไม่หรอกผมไม่ทำอะไรโง่ๆแบบนั้นหรอก จะเขียนอะไรจะว่าอะไร ก็แล้วแต่ กลับไปแล้วจะไปยึดพื้นที่คืนให้ได้
      50 นาทีที่แล้ว · · 6 คน
    • อัครมหาเสนาบดี ฮุนมาสิด เวทนาชีวิต
      ใช่ครับอาจารย์ใจเย็นๆนะครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวสารหน้าเพจอาจารย์มาตลอดเลยตั้งแต่จารย์ไปประชุมมรดกโลกครั้งนี้ อะจารย์จะอัพเดทข่าวสารให้พวกเรารู้ไวมาก ต้องขอบคุณอาจารย์ครับ อาจารย์ไม่ได้มีปัญญาแค่นี้หรอกครับ สิ่งที่อาจารย์ทำมันยิ่งใหญ...ดูเพิ่มเติม
      50 นาทีที่แล้ว · · 2 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง นี่สิครับอาจารย์เทพมนตรีของผม ไม่ใช่สิของพวกเราทุกคน อาจารย์รีบกลับมาโหวตโน แล้วมาฮาเฮด้วยกันนะครับ พวกเราทุกคนรอวันที่อาจาย์จะกลับมาอยู่นะครับ อยู่ที่โน่นอาจารย์รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
      46 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • อัครมหาเสนาบดี ฮุนมาสิด เวทนาชีวิต ตอนนี้ทหารหลายส่วนเห็นด้วยและแอบดีใจเล็กๆที่ถอนตัวจากมรดกโลกเหมือนได้ปลดล็อคไปหนึ่งเปราะแต่ยังเหลือ MOU43 ที่มัดทหารอยู่อีกส่วนหนึ่งถ้าเราจัดการตรงนี้ได้ทหารจะมีความสามารถในการทำงานได้เต็มที่กว่านี้แน่นอนครับ
      45 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • KobPhuket Vote No อจ กลับมาก็อย่าลืมเขกหัว "มัน" ด้วยนะ แถมเขกหัวผมด้วย อิอิอิ
      43 นาทีที่แล้ว ·
    • Rungnapha Nateetaveesak นิ้ว มือ ยังมีตั้งหลายนิ้ว แต่ละนิ้วยังไม่เท่ากัน เช่านเดียวกับความคิด ย่อมมีแตกต่างกัน อจ คิดว่านิ้วไหนร้าย อจ ก็ตัดนิ้วนั้นทิ้งไป อจยังไม่ได้กลับมา คนที่ฟังก็ยังฟังไม่ต่อเนื่อง หรือถ้าเขาไม่พอใจ อจ จะไปแคร์ทำไม ยังมีคนอีกมากมายที่เข้าใจ อจ และ เมื่อคืน อจ ปานเทพก็ออกมา อิธบายอีกครั้ง ทุกคนคงเข้าใจ คุณสุวิทย์มากขึ้น ขอบคุณอจ ที่ช่วยเหลือประเทศฃาตอ ขอบคุณคุณสุึวิทย์ที่เลือกประเทศชาติ
      42 นาทีที่แล้ว ·
    • Thepmontri Limpaphayom คนในคณะของคุณสุวิทย์มีหลายคนไม่พอใจที่เห็นผมที่นั่น มันวุ่นวายหลายเรื่อง กดดันผมตลอด ผมอาศัยลูกอดทนทำเป็นไม่สนใจ แต่ปมคิดว่า หากจะมีคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหม่ในอนาคต มากกว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ต้องเปลี่ยนครับ บอดตามตรงไม่มีใครคิดจะออกหรอกมีแต่พยายามจะเลื่อน โชคดีที่คนมีอำนาจตัดสินใจกล้าที่จะลาออก ผมมีเป้าสำคัญคือต้องลาออก ก็อย่างที่เห็นกลับไปดูข่าวตั้งแต่ต้นซิครับ
      38 นาทีที่แล้ว · · 5 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง ที่พวกผมเป็นห่วงกันก็คือกลัวอาจารย์จะเครียดนะครับ เพราะไปอยู่ท่ามกลางคนแบบนั้น แล้วเห็นบทความนี้ของอาจารย์ยิ่งกังวลไปใหญ่ เพราะอาจารย์อยู่ไกลตั้งฝรั่งเศส ยังไงก็อดห่วงไม่ได้นะครับ
      35 นาทีที่แล้ว ·
    • Dara Supa มัน คือ ใคร ที่คนในคณะคุณสุวิทย์ไม่พอใจอาจารย์เพราะพวกเขาไม่อยากให้ลาออกใช่ไหม อยากแค่เลื่อนแล้วหมกปัญหาไว้เหมือนเดิม ใช่ไหมคะ
      34 นาทีที่แล้ว ·
    • AThai Thailand ผมเข้าใจว่าอาจารย์มีจุดยืนที่ชัดเจน แต่ก็อาจรำคาญไปกับสิ่งที่เข้ามากวนใจบ้าง สุดท้ายก็จบด้วยการ "กลับไปแล้วจะไปยึดพื้นที่คืนให้ได้" ขอบคุณแทนทุกๆ คนครับ
      34 นาทีที่แล้ว ·
    • อัครมหาเสนาบดี ฮุนมาสิด เวทนาชีวิต
      คนไม่พอใจอาจารย์ในคณะมีเยอะมากครับคุณ Dara เคยได้ยินคุณสุวัฒทนายพันธมิตรก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ก็โดนกดดันมากๆเลยถึงขนาดดูถูกอาจารย์ว่าเป็นใครมาจากไหน มีธุระอะไรมีสิทธิ์อะไรถึงมาในครั้งนี้ มันเหมือนเป็นการดูถูกอาจารย์มากๆเลยครับ ผมก็เลยเข้า...ดูเพิ่มเติม
      28 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง ผมด้วยพร้อมคนในครอบครัวอีก ๔ คนก็พร้อมเป็นกำลังใจให้อาจารย์เสมอ
      26 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Alongkorn Poochanasri คนพวกนี้มันสวะครับอาจารย์ อย่าไปสนใจคนไร้ค่าพวกนี้ ความรู้มันท่วมหัวแต่เอามาใช้ประโยชน์อะไรให้ประเทศชาติไม่ได้
      22 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom แต่ผมไม่ได้นั่งชั้นประหยัดนะครับผมนั่งชั้นธุรกิจ
      21 นาทีที่แล้ว · · 3 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ยุติแล้ว ครับอย่าไปว่าเขาเลย เพราะเขาก็พวกเรา
      21 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Thepmontri Limpaphayom ผมแค่เตือนเท่านั้นครับ
      20 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • Alongkorn Poochanasri เป้าสูงสุดของเราคือไม่เสียอธิปไตย เรื่องปลีกย่อยอื่นๆไม่ต้องคิดมาก เอาไว้หลังจากรักษาแผ่นดินเราไว้ได้
      19 นาทีที่แล้ว ·
    • TaRnz TaRnzo รักในหลวง ครับผม จะรออาจารย์กลับมาจัดรายการย้อนรอยอารยธรรมนะครับ
      18 นาทีที่แล้ว · · 1 คน
    • AThai Thailand คนพวกนี้ความจำไม่ค่อยดี อาจารย์คงต้องเตือนบ่อยๆ ถูกต้องแล้วครับ
      18 นาทีที่แล้ว · · 2 คน
    • Zohann Dwee ขอบพระคุณในทุกสิ่งที่ อ.เทพมนตรี ได้ทุ่มเททั้งกาย
      และใจในการทำงานเพื่อชาติ ผมขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์เดินหน้าต่อไป
      ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่น
      13 นาทีที่แล้ว ·
    • Rushnee Chen ใครๆก็ทราบดีว่าทั้งกระทรวงต่างประเทศและนางอัปรีย์สิทธิ์ต่างต้องการจะเลื่อนกันทั้งนั้น จึงได้ออกข่าวว่าเลื่อน เมื่อคุณสุวิทย์ได้ลาออก จะดูว่านางอัปรีย์สิทธิ์จะเล่นบทไหนและแหลอย่างไรต่อไป?
      7 นาทีที่แล้ว ·

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง