คำพิพากษาของศาลโลก
คำพิพากษาของศาลโลก
Boon Wattanna
คำพิพากษาของศาลโลก ในคดีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร
มีความยาวทั้งสิ้น ๑๔๖ หน้าเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่าง
ละเอียด เริ่มตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้่าย ในกรณีพิพาทคดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่
หน้า ๑ ถึงหน้า ๑๔๖ เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษา
แย้งและคำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์
อนึ่ง การแถลงหรืออ้างอิงเอกสารอย่างไม่ครบถ้วน หรือยกเว้นไม่กล่าวถึงข้อความบางตอน
อาจเป็นการส่อเจตนาว่าจงใจ ปกปิด บิดเบือน กล่าวเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความเข้าใจที่
คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาเฉพาะประเด็นคำฟ้องตามคำแถลงสรุปของกัมพูชาข้อ ๓,๔ และ ๕ ดังนี้
(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา
(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ที่กัมพูชายื่นฟ้อง
ประเด็นในแถลงสรุปคำขอของกัมพูชา
ที่ศาลฯ ไม่พิจารณา
เนื่องจากศาลฯ ไม่เห็นความจำเป็นตามแถลงสรุปคำขอของกัมพูชาที่ขอให้ศาลวินิจฉัยสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือเส้นเขตแดนที่กำหนดในแผนที่ฉบับนั้นตามคำแถลง สรุปคำขอข้อ ๑ และ ๒ ของกัมพูชา จึง"งดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา" รวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ มิได้ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
จุดยืนของไทย
ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่าศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบและได้ตัดสินขัดต่อสนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ทั้งขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฏหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติวันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบกันทั่วหน้าว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฏบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจนว่า " ไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเินินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1309259817&grpid&catid=02&subcatid=0207
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น