บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ" กับปัญหาไทยกับกัมพูชา

ข่าวโดย Nation Channel วันที่ 24 สิงหาคม 2554





ครม.เครียดถกปมจีบีซี.'ไทย-เขมร'



"ครม." เครียดถกปมจีบีซี."ไทย-เขมร" เผยที่ประชุมเสียงแตก 3 กลุ่ม "รมว.กลาโหม"แจงกลางที่ประชุม ส่งจม.น้อยของ "ผบ.สส." ย้ำชัดหากครม.ไม่มีมติ ก็จะไม่มีคนไปประชุม

           18ต.ค.2554 แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ใช้เวลาในการหารือกันว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้เสนอวาระจร เพื่อขอให้ ครม.ให้ความเห็น กรณีที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเจรจากับทางการกัมพูชา เพื่อหารือถึงกรอบการเจรจาคณะกรรมการเขตแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา (จีบีซี)  ซึ่งเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งทำให้รัฐมนตรีในที่ประชุม ครม.แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายทันที
           โดยฝ่ายแรกเป็นส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ นำโดยนายสุรพงษ์ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่ยืนยันว่าครม.จะควรมีมติให้ชัดเจนในท่าทีที่มีต่อการวางกรอบการเจรจา หรือดำเนินการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ฝ่ายที่สอง เป็นกลุ่มของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ และนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข ที่ไม่เห็นด้วยกับการให้ ครม.มีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอ แต่สนับสนุนให้รัฐบาลนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
           นายปลอดประสพและนายต่อพงษ์ ระบุว่าจะได้เป็นเวทีสำหรับการแฉพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นฝ่ายสร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา ส่วนฝ่ายที่สาม คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เห็นว่า ครม.ไม่ควรมีมติ และไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียงการเดินทางไปหารือเพื่อวางกรอบการเจรจาเท่านั้น  ไม่ได้เป็นการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ จึงไม่น่าจะเข้าข้อกำหนดตามมาตรา 190
           แหล่งข่าวระบุว่า ระหว่างที่รัฐมนตรีทั้ง 3 กลุ่มกำลังถกเถียงกันนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า “ผมได้รับจดหมายน้อยมาจากบุคคลสำคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นมาว่า หาก ไม่มีมติครม. ไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ก็จะไม่เดินทางไปเจรจากับทางการกัมพูชา” ทำให้ที่ประชุม ครม.ถึงกับตะลึงและส่งเสียงฮือขึ้นมาทันที จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สอบถามความเห็นจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า กรณีดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย 2 ข้อ คือ มาตรา 190 และมาตรา 179 ที่นายกรัฐมนตรี มีสิทธินำเรื่องเข้าหารือกับรัฐสภา เพื่อฟังความคิดเห็นโดยไม่ต้องลงมติ แต่กรณีการหารือกรอบการเจรจาจีบีซีนั้นไม่เข้ากรอบดังกล่าว จึงไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้      
           แหล่งข่าวระบุว่า จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงตัดสินใจว่า “เรื่องนี้ไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา และไม่จำเป็นต้องมีมติ ครม. เพื่อแสดงท่าทีและวางกรอบในการเดินทางไปเจรจาครั้งนี้ และขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเจรจาครั้งนี้เดินทางไปเจรจาอย่างสบายใจ หากใครไม่ยอมเดินทางก็ให้เจ้ากระทรวงต้นสังกัดมาหารืออีกครั้งหนึ่ง”

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง