บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปคำ ต่อคำ จากห้องข่าวศาลโลก เรื่องกัมพูชา จากคุณ เสริมสุข กสิติประดิษฐ์ และ คลิป อาจารย์ เทพมนตรี ต่อกรณีดังกล่าว



สรุปคำ ต่อคำ จากห้องข่าวศาลโลก เรื่องกัมพูชา จากคุณ เสริมสุข กสิติประดิษฐ์

โดย Natthamon Viboolpanth เมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 เวลา 17:56 น.
http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=218484571516961&id=100000662582889
Sermsuk Kasitipradit
ลงทะเบียนonline มาที่ ICJ's PEACE PALACE
ที่ประชุมศาลดลก นัดประวัติศาตร์ เร่มในอีกสิบนาที ห้องpress ที่นี่เยียมยอดจริงๆ
SK:ฮอร์นำฮง นำทีมฝ่ายกพช. ตามด้วยวาร์คิมฮง ฝ่ายไทยนำโดยท่านทูต วีรชัย เร่มชี้แจงข้อกล่าวหาจากฝายกพช.
ท้าวความถึงคำพิพากษาปี 2505 แต่ไทยไม่ได้ฏิบัติตาม ที่ศาลสั่ง
S K: ผู้พิพากษาองค์คระ 17 คน ผลัดกันอ่านคำร้องของกพช. กล่าวหาไทย
Navin Inarn มานก็ช่างกล้าพูดได้หน้าตาเฉยเลยนะครับว่าเราไม่ทำตาม เราต้องโต้กลับไปว่าหากคุณว่าเราไม่ทำตามทำไมคุณมรึงไม่ร้องตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว ทำไมถึงพึ่งมาร้องแรกแหกกระเชิงตอนนี้
SK: กพช.เสนอให้ออกมาตราการชั่วคราว สาเหตุเพราะมีเหตุสุ้รบร้ายแรงในพื้นที่เขตแดนสร้างความเสียหายต่อกพช.
การสู้รบยังมีอยู่ขระยื่นเรื่องให้ส ไทยต้องรับผิดชอบต่อเหตุร้ายที่เกิดขค้น เพื่อหลีกหเลี่ยงความเสียหายต้องออกมาตรากาชั่วคราว
SK: ศาลสลับอ่านเป็นอังกฤษฝรั่งเศส
SK: ให้ยุติปฏิบัติการทหาร ถอนทหาร และกระทำการใดๆ ไม่กระทบสิทธิของกพช.
SK:ฮอร์นำฮง ขึ้นอ่านคำร้องเรียน
SK:อานเป็นภาษาฝรั่งเศส โอ้มายก๊อด
SK:ขอทำงานก่อนเด้อ เด๋วรายงานสรุป
58 minutes ago
SK: ออร์นำฮง ใช้เวลาสามสิบห้านาที ทนายคนแรกขึ้นต่อ ฮงย้ำต้องมีมาตราการชั่วคราวเพื่อยุติปัญหากระทบกระทั่งที่ชายแดน มีการอ้างแผนที่1/200000 ว่าเป็นเส้นเขตแดน การที่ทหารไทยมาอยุ่ในพท.รอบปราสนาท อยู่ในเขตอธิปไตยของไทย 32 minutes ago ·
SK:อธิปไตยของเขมร เขียนผิด
SK:ทนายคนที่สองพยายามชี้ให้เห็นว่าทั้งไทยแะลเขมร ยอมรับแผนที่1/200000 เป็นเส้นเขตแดน 25 minutes ago ·
SK:การที่เขมรเสนอตีความตามมาตรา60 เป็นเรื่องชอบธรรมและศาลต้องมีคำวินิจฉียในเรื่องคำร้องให้ตีความ 14 minutes ago ·
SK: ทนายคนที่สองพยายามลากเรื่องแผนที่1/200000 annex 1 เนื่องจากศาลโกลปปี 2505 เอามาใช้ยกปราสนาทให้เขมร
SK:ทนาย คนทมี่สองใช้เวลาสี่สิบนาที ย้ำเน้นเรื่องแผนที่1/200000 ตลอด ว่าการมาฟ้องร้องครั้งนี้จำเป็นเพื่อให้ได้ส้งที่ยังไม่ได้รับจากคำพิพากษา เมื่อปี 1962 เป้าหมายชัดเจนให้ตีความให้จชัเเจนเรื่องเส้นเขตแดน พัก 15 นาที coffee brake
 -------------------------------------------------------------
(เริ่ม อย่างนี้ ก็เข้าทางไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว อย่างที่ บนเวทีพธม คุณเทพมนตรี/ปานเทพ/ประพันธ์ ฯลฯ รวมถึง ศ.ดร.สมปอง ท่านกล่าวไว้หลายครั้งว่าจะไปทำไม ก็ยังไปให้เขาย้ำ อีกนะคะ--->ข้าพเจ้าเอง)
-------------------------------------------------------------
SK: ตามดูบรรยาการป้องประชุมของศาลโลก peace palace ข่าวห้าโมงเย็น ระบบส่งภาพ ห้องpress สุดยอด ไม่นีักว่าจะส่งภาพได้ทันข่าวห้าโมง รายงานสด
------------------------------------------------------------
ต่อ SK: ทนายคนที่สาม professor กฏหมายตากฝรั่งเศส jean marc sorel มาสนับสนุนคำร้องทำไมต้องมี มาตราการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา คำร้องมีเหตุผล เพราะสถานการณ์ตึงเครียดชายแดน คำร้องจะช่วยรักษาสถานภาพที่เป้นอยู่ไม่ให้สู่รบกัน
(อ่านแล้วเป็นไง ยอมรับให้กองทัพเขมรอยู่บนพื้นที่ชายแดนไทย ฉลุย แล้ว ----->ข้าพเจ้าเอง)
-----------------------------------------------------------
Sermsuk Kasitipradit ขณะนีั้เป็นการให้คำชี้แจงของทนายคนที่สองต้่อจากฮอรนำฮง ช่วงสามทุ่มเวลาไทยทูตวีรชัยจะขึุ้นชี้แจงหักล้างข้อกล่าวหาของกพช. 20 minutes ago
SK: รมว.กษิต บอกไม่แปลกใจกับข้อกล่าวหาด้านเดียวของฝ่ายกพช. คาดการณ์มาแล้วว่าจะมีการนำเสนอลักษระเช่นนี้ ไม่หนักใจพร้อมชี้แจงในช่วงเย็น คณะทำงานเดินทางกลับไปที่รร.ที่พักเตรียมการณ์ก่อนกลับมาอีกทีเวลา สี่โมงเย็นที่นี่ สามทุ่มบ้านเรา ในช่วงบ่ายจะชี้แจงในส่วนที่ไทยเห็นว่าไม่มีึความจำเป็นต้องมีมาตราการชั่ว คราว และศาลไม่มีอำนาจพิจารณาในเรื่องเขตแดน อย่างที่ฝ่ายกัมพุชาเสนอ  16 minutes ago
SK: ทนายฝรั่งเศสของกพช. พูดได้แสบกระดองใจมากว่าสร้างวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระมาตั้งนานจากปี 2542 แต่ไม่เคยได้รับยการท้ักท้วงจากฝ่ายไทยเลย แล้วจะมาบอกว่าเป็นพท.ของไทยได้อย่างไร ฟังแล้วจึ๊กกืยเลย...เข้าใจว่ากต.ไทยจะทำหนังสือประท้วง ในเรื่องนี้ไว้คงมีการใช้่ชี้แจงตอบโต้
a few seconds ago
  • Sermsuk Kasitipradit
    สรุป จากช่วงเช้า..พยายามชี้ให้เห็นว่าไทยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา2505 เป้นเหตุให้เกิดการสุ้รบชายแดนเพราะไทยลำแดน แม้จะม่ีการหยุดยิงแต่ก็เป้นลักษณะ precarious ceasefire ที่ล่อแหลมพร้อมเกิดเหตุได้ตบอดเวลา จำเป็นต้อวมีัมาตราการชั่วคราว ทนายกพช.เปิดประเด็นเรื่องแผนที่1/200000 และความชอบธรรมในการตีความตามที่กพช.ร้องขอ บอกเป้นแผนที่ที่ศาลบ
    โลกใช เตัดสาินยกตัวปราสาทให้กพช. ย้ำพท. 4.6 ตร.กม. อยุ่ในเขตอธิปไตจของกพช. ภายใต้แผนที่ฝรั่งเศส และการมาศาลบดลกครั้งนี้เพื่อสห้ช่วยยุติปัยหาขัดแย้งไทยกัมพูชา  9 minutes ago · 
  •  Hong Hongnaajaa คุณเสริมสุขคะ คือจำได้ว่าเคยได้ยินเวที พธม. บอกว่าวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ มีหลักฐานว่าสร้างในปี 2546 ซึ่งหากสร้างในปี 2546 จริง ก็พิสูจน์ได้ว่ากพช.ละเมิดข้อตกลง MOU 2543 ที่ทำไว้กับไทยใช่ไหมคะ a few seconds ago
    SK: เป็นประเด็นที่ไทยจะชี้แจงในช่วงดึกครับว่ามีการบะ เมิดข้อตกลงกันอย่างไร ทั้งๆที่ทัี้งสองฝ่ายเป็นคู่สัญญาแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม เอกสารการประท้วงทั้งหมดที่มีจะมีการส่งให้ศาลโลกเพื่อรับรู้ในเรื่องนี้ว่า มันมีปัญหาเขตแดนร่วมกัน การมาให้ออกมาตราการชั่วคราวจะไม่น่่ากระทำได้เพราะไม่รุ้่แนวเขตที่ชัดเจนอ ยุ่ตรงไหน jbc ยังไม่ได้ทำงาน เป็นแนวของการชี้แจงไทย จะบอกด้วยว่าหลังศาลโลกตัดสินแล้วทำไอะไร ไป มีการถอนคนออกจากรอบปราสาท มีมติครมง.ตีเส้น ทั ได้ทำตามมที่ศาลโลก วินิจฉัย ทนายไทยทัี้งหมดมีสามคนครับ จะชี้แจงหักล้วางในส่ิงที่กพชงเสนอ ไม่มีอำนาจตีความ สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายต่อมีมาตราการชั่วคราว อย่างที่ขอ หลังครม.ตีเส้นแนวเขตรอบปราสาทเขมรไม่เคยทักท้วสงเลย ห้าสิบปีให้หลังมาท้วง
  • SK: ไทยชี้แจงจากสามทุ่มถึงห้าทุ่มเวลาไทย เวลากรุงเฮก สี่โมงเย็นถึงหกโมงเย็นครับ
    SK: ข่าวทุ่มไทยพีบีเอสจะมีสรุปภาพรวมพร้อมภาพเด้ดจากศาลโลก เปิดดูไม่เสียงตังค์ครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
Sermsuk Kasitipradit
การ ชี้แจงทั้งสองฝ่ายในวันนี้และพรุ่งนี้จะเป็นเรื่องที่กพช.ขอให้ออกมาตราการ ชั่วคราว ให้ถอนทหารออกจากพท.รอบปราสาท หยุดปฏิบัติการทางทหาร ส่วนประเด็นตีความคำพิพากษาเข้าใจว่าน่าจะใช้เวลาอีกหนึ่งปีจากนี้ไป ส่วนมาตราการชั่วคราวกลางดือนหน้าน่าจะออกคำวินิจฉัยได้ ประเด็นที่พูดกันจะเป็นเรื่องทำไมต้องออก ไทยจะค้านว่าทำไมต้องไม่ออกศาลมีอำนาจไหม มาออกอย่างนี้ขณะที่มีปัยหาเขตแดน บอกว่าสถานการณ์เร่งด่วนต้งอรีบออก ฝ่ายไทยจะบอกว่าไม่ได้รีบด่วนอะพไร สถานการณ์ขณะนี้สงบนิ่ง ไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาคุ้มครอง อีกชม.ครึ้่ง ฝ่ายไทยขึ้นหักล้างคำชี้แจงของกพช.
12 minutes ago

--------------------------**
** ด้านล่างนี้เป็นลิงค์เสริมเพื่ออ่านส่วนอื่น ประกอบเรื่องนี้
จาก 15thmove
  • เน แมวแมว
    ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของฝ่ายไทยในคดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร
    http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=27436www.mfa.go.th
  •   เน แมวแมว
    กระทรวงการต่างประเทศเตรียมความพร้อมในการชี้แจงต่อศาลโลกhttp://www.mfa.go.th/web/200.php?id=2743918 minutes ago ·
แบ่งปัน

  • ถูกใจ Chaiyong Tamorn รักในหลวง
    • Natthamon Viboolpanth
      ที่ฟัง พธม ขึ้นเวทีมาตลอด ทาง อินเตอร์เน็ต เมเนเจอร์ ออนไลน์ ทุกท่านบนเวที ได้ พูดไว้ล่วงหน้ามาหมดแล้วทุกประเด็นที่ กัมพูชาจะกล่าวอ้าง ดังนั้น การได้เห็นคำร้องศาลโลกครั้งนี้ เราก็รู้กันล่วงหน้าอยู่แล้วว่า ต้องเป็นตามนี้ และ พวก ศาลโลก ก็จะ...ดูเพิ่มเติม
      5 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Natthamon Viboolpanth
      ก็ บอกมาแต่ต้นเป็นปี ๆ กันแล้ว ว่า เขาแหย่ตีมาปุ๊บ / ถอยชาวบ้านปั๊บ /พื้นที่ว่างเขาก็รุกเข้า/ ไทยก็ ถอนทหารออกมา ยกเว้นทหารที่เขาอยุ่ในพื้นที่จริง ๆ ที่เขาไม่ยอมให้เข้ามาเด็ดขาด เขายอมตายป้องกันเขตแดน ทำไม พันธมิตรถึงต้องออกมาต่อสุ้ ทำไม คนไ...ดูเพิ่มเติม
      5 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • ชะโลม โลม กุรัมย์ จะให้ทำอย่างไร หนอ...เวรกรรม
      4 ชั่วโมงที่แล้ว
    • Annie Handicraft
      ‎- จากปีพศ. 2505 กพช.ถือแผนที่1:200,000ก็จริง แต่ICJ เมื่อปีพศ.๒๕๐๕ วินิจฉัยคดีแค่เรื่องเดียว คือใครเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.

      ศาลวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย

      - หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลก พร้อมแผนที่ แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง
      ข้อสำคัญคือ ไม่เคยมีการประท้วงจากกพช.เลยว่าบันทึกที่ไทยส่งไปนั้น ทำผิด

      จนกระทั่งมี MOU 43 ซึ่งระบุถึง แผนที่ 1:200,000ของกพช. ไทยมีการเซ็นยอมรับยืนยันเอกสารอันนี้จากนายกชวน จึงทำให้เขมรมีความชอบธรรมที่จะสามารถอ้างแผนที่ 1:200,000 เป็นหลักฐานในการฟ้องไทยได้งัยล่ะ..... โอ้ยเหนื่อย
      เขมรไม่ได้ระบุ MOU43ในคำฟ้อง แต่ถ้าไม่มีการเซ็นรับ MOU มันจะยกแผนที่ขึ้นมาอ้างได้มั้ย ว่าไทยรับว่าแผนที่อันนี้ถูกต้อง....
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Annie Handicraft ‎- จะเห็นได้ว่าเห็นว่า เขมรนำเอาเรืองแผนที่ 1:200,000 มาใช้ประโยชน์มากที่สุด เพราะนี่คือจุดอ่อนของไทย
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • Annie Handicraft
      ถ้าเขมรมันบอกว่า ตรูละเมิดตรงไหน เพราะพท. 1:200,000 เป็นของตรูตามแผนที่ล่ะ ถ้าไม่ใช่แผ่นดินตรู ทำใมทหารไทยรบ.ไทยถึงให้มีตลาด ชุมชน วัด ทหารกพช. ในบริเวณนั้นได้ ทำใมทหารไทยไม่ไล่ออกไปล่ะ ตรูอยู่มาตั้งกี่ปี ก็ขนาดรถแบ๊คโฮของไทยทำท่าทางเหมือนจ...ดูเพิ่มเติม
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 2 คน
    • ชะโลม โลม กุรัมย์ ผมก็คนหนึ่งที่งงคือกัน....ไม่รู้จะถามใคร และไม่รู้ใครจะตอบได้ ใครตอบได้บอก ทหารพรานมออีแดงหน่อยค้าบ ได้โปรด....
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • Natthamon Viboolpanth คุณแอนนี่ ดูคอมเม้นต์ก่อนสุดท้ายของคุณ เสริมสุข จะเห็นว่า เขาจี๊ดจ๊าดกับคำแถลงดังว่าของเขมร และ เราก็เลยเขียนไว้ที่นี่ ดังกระทู้ตอบข้างบนนี้ค่ะ
      4 ชั่วโมงที่แล้ว · 1 คน
    • Natthamon Viboolpanth คุณ ชะโลม ในวาระนี้ ต้องทำใจ 50/50 ไว้นะคะ ความหวังของไทยเราอาจริบหรี่ เพราะท่านอาจารย์ ศ.ดร.สมปอง ท่านก็ท้วงติง แล้วว่า ไม่ให้ไปขึ้นศาล รบ นี้ก็ยังไป ดังนั้น โอกาสพ่ายครั้งนี้ มีถึง 80-90% ทีเดียวเชียวค่ะ แต่พันธมิตรคงจะต้องเหนื่อยต่อสู้ กับเรื่องนี้ต่อไปอีกนาน
      4 ชั่วโมงที่แล้ว


โฆษกเลี้ยงแกะออกโรงอีก ป้ายสีซ้ำไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหาร ศาลโลกเริ่มไต่สวน

โฆษกเลี้ยงแกะออกโรงอีก ป้ายสีซ้ำไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหาร ศาลโลกเริ่มไต่สวน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  30 พฤษภาคม 2554 11:07 น.


ทหาร ไทยให้สัญญาณและ "แพ็ตตั้น" เร่งเครื่องจนควันโขมง ส่งเสียงคำรามประกาศอาณาเขตที่บริเวณชายแดนด้านปราสาทพระวิหารวันที่ 9 ก.พ. ขณะที่กัมพูชาพยายามปั่นสถานการณ์ให้การปะทะบริเวณชายแดนกลายเป็น "สงคราม" ในสายตาของชาวโลก และเรียกร้องให้ยูเอ็นส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปประจำ ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าหากไทยตั้งใจจะยิงทำลาย ด้วยรถถังคันนี้ก็สามารถทำให้ปราสาทอายุ 1,000 ปีพังทะลายราบได้ กัมพูชากำลังออกโรงโกหกชาวโลกอีกรอบ ขณะศาลโลกเริ่มไต่สวนเพื่อคุ้มครองปราสาทมรดกโลกเร่งด่วนตามคำขอ. -- REUTERS/Sukree Sukplang.
      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองงานโฆษกรัฐบาลกัมพูชาเริ่มการโฆษณาชวนเชื่ออีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวหาซ้ำๆ ว่าไทยตั้งใจยิ่งถล่มปราสาทพระวิหารในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ปราสาทได้รับความเสียหาย และยังตอบโต้การให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งย้ำอีกครั้งเช่นกันว่า ทหารไทยไม่ได้กระทำเช่นนั้น
      
      
      
       การรณรงค์ของโฆษกกัมพูชาครั้งใหม่ยังมีขึ้นขณะที่ศาลระหว่างประเทศ ได้เปิดการไต่สวนตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งคุ้มครองปราสาทเก่าแก่
      
       กัมพูชากล่าวหาว่า ไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหารด้วยปืนใหญ่และปืนครกกว่า 400 นัด และ ได้นำคณะทูตานุทูตขึ้นไปดูความเสียหาย ซึ่งบริเวณบันไดนาคทางขึ้นกับบริเวณโคปะรุชั้นนอก ที่ปรากฏเป็นรอยกะเทาะในบางจุด โดยอาจจะเกิดจากวัตถุเคลื่อนที่เร็ว เช่น สะเก็ดระเบิด หรือสะเก็ดจากกระสุนปืนชนิดต่างๆ
      
       นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนแถลงในช่วงเดียวกันว่า ปราสาทได้พังลงไปส่วนหนึ่ง ซึ่งทราบกันในเวลาต่อมาว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร
      
       “ผู้นำในรัฐบาลของไทยจะต้องตระหนักว่าทั้งโลกมีความทรงจำที่ดี ในต้นเดือนมีนาคม 2554 รัฐบาลไทยได้คัดค้านอย่างแข็งขันเมื่อกัมพูชาจัดคณะทูตทหารจาก 12 ประเทศไปดูด้วยตาของตัวเองความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่ปืนครกของไทยกว่า 400 นัด รวมทั้งกระสุนลูกหว่านที่ยิงขึ้นไประหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์”
      
       สำนักตอบโต้เร็ว กองโฆษกรัฐบาลระบุดังกล่าว ในบทความเห็นลงวันที่ 27 พ.ค. 2554 ที่เผยแพร่ผ่านสำนักข่าวกัมพูชา
      
       แต่ฝ่ายทหารของไทยกล่าวว่า ทหารพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นที่หลบ และใช้เป็นที่ตั้งอาวุธหนักยิงเข้าใส่ฝ่ายไทย ทำให้ต้องยิงตอบโต้ตามหลักปฏิบัติทั่วไป “ยิงจากจุดใด ยิงสวนไปที่จุดนั้น” และเวลาต่อมาฝ่ายไทยได้จัดคณะทูตานุทูตไปดูความเสียหายที่ไทยได้รับจากการ ยิงโดยไม่จำแนกเป้าหมายของฝ่ายกัมพูชาที่ชายแดนด้านนั้น
      
       หลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ถ้าหากฝ่ายไทยยิงอย่างตั้งใจเพื่อทำลายปราสาทมรดกโลกด้วยกระสุนปืนใหญ่กับ ปืนครกจำนวนกว่า 400 นัด ตามที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวหา ปราสาทหินเก่าแก่อายุ 1,000 ปี ก็น่าจะทลายราบลงไม่มีชิ้นดี เพราะเป็นเป้าหมายที่โดดเด่นและอยู่ในรัศมีการยิง แม้กระทั่งยิงด้วยปืนจากรถถังเพียงไม่กี่นัด
      

       
โกหกแบบเดิมๆ


ทหาร กัมพูชาจัดเรียงกระสุนปืนกลหนักที่ปราสาทพระวิหาร ภาพวันที่ 5 ก.พ.2554 ขณะการปะทะชายแดนด้านนี้กำลังระอุร้อน และ โฆษกพยายามโกหกชาวโลกว่าที่ปราสาทไม่มีทหารและไม่มีอาวุธ มีเพียงตำรวจถืออาวุธเบารักษาความสงบ ภาพเหล่านี้ทำให้การโกหกของกัมพูชาไร้น้ำหนัก แต่อาจจะได้ผลกับกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปและไม่มีข้อมูลเพียงพอ ขณะที่ศาลระหว่างประเทศกำลังพิจารณาการคุ้มครองปราสาทเร่งด่วนตามที่กัมพูชา ร้องขอ. -- REUTERS/Pheara.
       
2


ภาพ เก่านำมาเล่าใหม่ ทหารกัมพูชาขนกระสุนปืนใหญ่จากรถปิ๊กอัพที่ปราสาทพระวิหารวันที่ 8 ก.พ.2554 ขณะการปะทะที่ชายแดนด้านนั้นดำเนินมาหลายวัน ฝ่ายกัมพูชาออกโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารและอาวุธที่ปราสาท มีเพียงตำรวจติดอาวุธเบารักษาความ กัมพูชากำลังรณรงค์อีกรอบเพื่อป้ายสีไทย ขณะที่ศาลโลกเริ่มพิจารณาไต่สวนคุ้มครองปราสาทมรดกโลกตามคำร้องขอ. -- REUTERS/Damir Sagolj.
       
3


ภาพ วันที่ 8 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาตั้งบังเกอร์บนปราสาทพระวิหารยิงสู้กับฝ่ายไทย ขณะโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารในบริเวณปราสาท ทั้งป้ายสีอีกว่าไทยยิงถล่มกกว่า 400 นัด ทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก นายกฯ ฮุนเซนโกหกเองถึงขนาดว่า "ปราสาทพังไปปีกหนึ่ง" โฆษกกัมพูชากำลังรณรงค์โกหกอีกครั้ง ขณะศาลโลกเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองปราสาทมรดกโลกตามที่เขมรร้องขอ. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
4

       แต่โฆษกรัฐบาลกัมพูชาได้บิดเบือนเรื่องนี้ไม่หยุดโดยมีเจตนาสร้าง ความไขว้เขวให้แก่ฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ไกลจากเหตุการณ์และไร้ข้อมูลเพียงพอ
      
       ภาพจากสำนักข่าวเอเอฟพี และรอยเตอร์ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ ล้วนแสดงให้เห็นทหารกัมพูชาจำนวนมากหลบพักพิงอยู่ภายในโคปะรุชั้นต่างๆ รวมทั้งในพระวิหารชั้นในสุดด้วย
      
       นอกจากนั้น หลายภาพยังแสดงให้เห็นทหารเขมรขนกระสุนปืนใหญ่ และติดตั้งปืนกลหนักอยู่ภายในปราสาทแห่งนี้ ผู้สื่อข่าวของเอพีระบุอย่างชัดเจนว่ามีทหารกัมพูชา 200-300 นายอยู่ในปราสาทพระวิหารในช่วงที่เกิดการปะทะ
      
       ฝ่ายกัมพูชาออกรณรงค์เรื่องนี้อย่างหนักในเดือน ก.พ.-มี.ค. ในความพยามทำให้สถานการณ์ปะทะที่ชายแดนมีความรุนแรงใหญ่โตถึงขั้นสงคราม ขณะเดียวกันก็ออกเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติส่งกองกำลัง รักษาสันติภาพเข้าประจำชายแดนสองประเทศ ซึ่งกัมพูชาไม่ประสบความสำเร็จ
      
       โฆษกกัมพูชารณรงค์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในขณะที่ศาลระหว่างประเทศ เริ่มเปิดการไต่สวนในวันที่จันทร์ 30 พ.ค.ศกนี้ ตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งเร่งด่วนปกป้องคุ้มครองปราสาทพระวิหาร
      
       การปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทตาเมือน-ตาควายซึ่งอยู่ห่างจากพระวิหาร ออกไปกว่า 100 กม.ทางทิศตะวันตก ปะทุขึ้นในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาเดินทางไปยังกรุงเฮก ยื่นคำร้องต่อศาลโลกขอให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 ที่ยกปราสาทให้เป็นของฝ่ายเขมรขณะที่สองฝ่ายยังกล่าวอ้างสิทธิเหนือดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยรอบ
      
       พร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำพร้องให้ศาลโลกมีคำสั่งปกป้องคุ้มครอง ปราสาทที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือน ก.ค.2551 เป็นการเร่งด่วนโดยอ้างว่าฝ่ายไทยก้าวร้าวรุกรานต่อกัมพูชาตลอดมาและยังยิง ทำลายปราสาทให้ได้รับความเสียหายอีกด้วย.
      
       
ยิงจากทิศไหนสวนกลับไปทางนั้น


ภาพ วันที่ 8 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาเดินผ่านซากสิ่งปลูกสร้างที่เคยเป็นเพิ่งพักในบริเวณปราสาทพระ วิหาร ซึ่งถูกฝ่ายไทยยิงถล่มราบ กัมพูชากล่าวหาว่าไทยเจตนายิงถล่มปราสาทพระวิหารกว่า 400 นัดด้วยปืนใหญ่และปืนครก ทำให้ปราสาทเสียหายหนัก โฆษกกัมพูชากำลังออกโรงโกหกอีกขณะศาลโลกเริ่มไต่สวนเพิ่อคุ้มทครองปราสาท มรดกโลกตามที่กัมพูชาร้องขอ. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
5


ช่าง ภาพกัมพูชาถ่ายรูปรอยแตกบนเสาหินทางเข้าโคปุระแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตกกระทบของวัตถุเคลื่อนที่เร็ว อาจจะเป็นสะเก็ดจากกระสุนปืนใหญ่ ปืน ค.หรือสะเก็ดระเบิดทั่วไป "ยิงมาจากไหนยิงกลับไปที่นั่น" เป็นหลักปฏิบัติการทั่วไปในการยิงตอบโต้ แต่กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารที่ปราสาททั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
6


ทหาร กัมพูชาชี้ให้ดูรอยแตกบนเชิงชายทางเข้าโคปุระแห่งหนึ่ง ที่เกิดจากการตกกระทบของวัตถุเคลื่อนที่เร็ว อาจจะเป็นสะเก็ดจากกระสุนปืนใหญ่ ปืน ค.หรือสะเก็ดระเบิดทั่วไป "ยิงมาจากไหนยิงกลับไปที่นั่น" เป็นหลักปฏิบัติการทั่วไปในการยิงตอบโต้ แต่กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารที่ปราสาททั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
7


เหนื่อย ก็พัก-- ทหารกัมพูชาพร้อม "ลูกเบ" หรือ ระเบิดอาร์พีจี B40 ใช้โคปุระแห่งหนึ่งของปราสาทพระวิหาร เป็นที่หลบพัก ในเหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนวันที่ 8 ก.พ.2554 กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารอยู่ที่นั่น ทั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
8


เหนื่อย ก็พัก-- ทหารกัมพูชากลุ่มใหญ่อาศัยโคปุระแห่งหนึ่งของปราสาทพระวิหารเป็นที่หลบพัก ในเหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนวันที่ 8 ก.พ.2554 กัมพูชาโกหกว่าไม่ทหารอยู่ที่นั่น ทั้งป้ายสีว่าไทยตั้งใจยิงถล่มทำให้ปราสาทมรดกโลกเสียหายหนัก. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
9


ภาพ วันที่ 5 ก.พ.2554 เป็นซากเศษเหลือซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นกระสุนปืนครกจากการยิงของฝ่ายไทยที่ บริเวณปราสาทพระวิหารขณะการปะทะเริ่มรุนแรง กัมพูชาโกหกชาวโลกว่าไม่มีทหารที่นั่น และป้ายสีว่าไทยมีเจตนายิงถล่มปราสาทมรดกโลกด้วยปืนใหญ่และปืน ค.กว่า 400 นัด โฆษกกัมพูชาออกรณรงค์โกหกอีกรอบ ขณะศาลโลกเปิดไต่สวนในสัปดาหนี้เพื่อคุ้มครองเร่งด่วนปราสาทตามที่กัมพูชา ร้องขอ. -- AFP PHOTO.
       
10


ภาพ วันที่ 6 ก.พ.2554 ทหารกัมพูชาจัดเตรียมปืนไร้แรงสะท้อนในที่ตั้งมั่นใกล้ปราสาทพระวิหารเพื่อ ยิงเข้าใส่ฝ่ายไทย สิ่งปลูกสร้างที่มองเห็นอยู่เบื้องหลังเข้าใจว่าจะเป็นบริเวณวัดแก้วสิขา คีรีสวาระ ฝ่ายกัมพูชาออกโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่มีทหารตั้งอยู่ที่บริเวณวัด แต่วัดได้รับความเสียหายจากการยิงถล่มของฝ่ายไทย ขณะที่ฝ่ายไทยกล่าวว่ายิงมาจากทิศใด-ยิงสวนกลับไปตามทางนั้นตามวิธีปฏิบัติ. -- REUTERS/Pheara.
       
11


ทหาร กัมพูชาเตรียมจรวด BM21 ไว้ที่ชายแดนปราสาทพระวิหารวันที่ 7 ก.พ.2554 ขณะการปะทะเริ่มรุนแรง และรัฐบาลฮุนเซนพยายามปั่นสถานการณ์ให้ดูเป็น "สงครามชายแดน" ในสายตาของชาวโลก จรวดหมู่ออกแบบมาเพื่อยิงทำลายทหารราบที่ชุมนุมกันในสนามรบ การยิงที่ไม่มีระบบนำวิถีทำให้คลาดเคลื่อนไม่โดนเป้าหมาย สร้างความเสียหายให้เป้าหมายทางพลเรือนบ่อยๆ. -- AFP PHOTO

ซกถึงพนมเปญเผย ๓ ประเด็นไทยยกเจรจา


ฟิฟทีนมูฟ – ซก อาน กลับถึงพนมเปญเช้านี้ ประชุมไม่ได้ผลแต่ยูเนสโกเห็นการปกปิดของไทย เผยไทยคุย ๓ ประเด็น คือ ขวางผู้เชี่ยวชาญ ขอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการฯ และให้การเจรจาที่จะมีต่อไปเป็นทวิภาคีโดยไม่มียูเนสโกเข้าร่วม ไม่พูดถึงการคุยนอกรอบอีกครั้งแต่ย้ำจะนำปัญหาความเสียหายปราสาทขึ้นหารือใน การประชุมเดือน มิ.ย. ที่จะถึง
นายซก อาน หัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกของกัมพูชา ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒๙ พ.ค. ๕๔
แฟ้มภาพ: นายซก อาน หัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกกัมพูชา ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒๙ พ.ค. ๕๔

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔) นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางกลับจากการประชุมมรดกโลกที่องค์การยูเนสโก ถึงกรุงพนมเปญ ตามรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา นายซก อาน ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า การประชุมที่กรุงปารีสไม่ได้รับผลอันใด แต่เป็นการประชุมที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า ด้วยการประชุมนี้ องค์การยูเนสโกได้เห็นชัดถึงความต้องการของไทยในการปิดบังความผิดของตน
นายซก อาน กล่าวต่ออีกว่า ในการประชุมนี้ ไทยได้ยกขึ้นมา ๓ ประเด็น คือ ๑. ไทยขัดขวางไม่ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาความเสียหายของปราสาทพระวิหาร ๒.ไทยต้องการให้เลื่อนคำร้องการพัฒนาและบริหารปราสาทพระวิหาร1 ที่ได้เสร็จสิ้นแล้วในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ประเทศบราซิล2 และ ๓. ไทยต้องการให้มีการเจรจาทวิภาคี โดยไม่ให้มีการเข้าร่วมของยูเนสโก
รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวในตอนท้ายว่า กัมพูชาจะยกปัญหาความเสียหายของปราสาทพระวิหาร ขึ้นหารือในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส ในเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้

เขมรต่างแดนร่อนจม.ชวนประท้วงไทยหน้าศาลโลก-กต.แนะไปหน้าสถานทูต

Posted on by n/e - 21:59 น.

ฟิฟทีนมูฟ  — เขมรต่างแดนร่อนหนังสือชวนประท้วงไทยหน้าศาลโลก เรียกไทยว่าโจรสยาม ศัตรูผู้รุกราน กล่าวหาว่าก่อสงครามกลืนกินดินแดนเขมรและรังแกชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ เรียกร้องให้ยุติสงครามรุกรานในทันที ขณะที่ กต.เขมรแนะให้ไปหน้าสถานทูตไทย เพื่อแสดงความเจ็บปวดของเขมรที่ถูกไทยรุกราน
ภาพการชุมนุมประท้วงของชาวเขมรต่างแดนหน้าศาลโลก ๒๘ พฤษภาคม ตามรายงานของวิทยุฝรั่งเศสสากล ภาคเขมร
ภาพการชุมนุมประท้วงของชาวเขมรต่างแดนหน้าศาลโลก ๒๘ พฤษภาคม ตามรายงานของวิทยุฝรั่งเศสสากล ภาคเขมร
ชาวเขมรต่างแดนออกเอกสารร่อนทั่วอินเตอร์เน็ต เรียกร้องให้เขมรต่างแดนในทุกประเทศ ไปรวมตัวกันประท้วงไทยที่หน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก เพื่อกล่าวโทษไทยที่ได้รุกรานแผ่นดินกัมพูชา พร้อมทั้งยิงปืนใหญ่กว่า ๔๐๐ ลูก เข้าใส่ปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวซีอีเอ็น เมื่อช่วงเย็นวันนี้ (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔)

โดยเอกสารเรียกร้องกล่าวต่อไปว่า ไทยได้ก่อการรุกรานแผ่นดินกัมพูชา โดยเฉพาะที่ปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือน ในจังหวัดอุดรมีชัย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ถึง ๓ พฤษภาคม โดยไทยได้ยิงปืนใหญ่จำนวนมากมาบนแผ่นดินกัมพูชา และราษฎรชาวเขมรในพื้นที่นั้น ซึ่งยืนยันให้เห็นว่าพวกโจรสยามมีความปรารถนาต้องการกลืนกินแผ่นดินของเขมร และรังแกราษฎรชาวเขมรผู้บริสุทธิ์อีกด้วย และเอกสารเรียกร้องระบุว่า นี่เป็นมูลเหตุที่ชาวเขมรทำการประท้วงหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ในวันที่ ๒๘-๓๐ พฤษภาคม นี้ นี่เป็นเวลาที่ชาวเขมรที่อยู่ทั่วโลกมารวมตัวกันประท้วงต่อต้านศัตรูผู้ รุกราน คือ สยาม
เอกสารดังกล่าว เรียกร้องว่า ๑. เรียกร้องให้พวกสยามยุติการรุกรานแผ่นดินกัมพูชาในทันที ๒. เรียกร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก กล่าวโทษประเทศไทย ที่ได้ละเมิดบูรณภาพดินแดนกัมพูชาและก่อสงครามรุกรานกัมพูชา และทำความเสียหายให้กับปราสาทพระวิหารของเขมร ๓. ยินดีและเร่งให้รัฐบาลกัมพูชาแก้ปัญหาพรมแดนโดยเข้าร่วมกับองค์กรระหว่าง ประเทศ ซึ่งหลังจากการประกาศข้อเรียกร้องที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม เวลา ๑๒.๓๐ น. – ๑๒.๕๐ น. ชาวเขมรต่างแดนระบุว่าจะเคลื่อนขบวนไปหน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามรุกรานกัมพูชาในทันทีก่อนสลายตัว
ขณะที่ นายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า ชาวเขมรนอกประเทศที่รวมตัวกันที่กรุงเฮก เพื่อทำการประท้วงกล่าวโทษสยามที่รุกรานดินแดนกัมพูชานั้น ควรไปรวมตัวกันทำการประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อแสดงให้เห็นอย่างเป็นทางการถึงความเจ็บปวดของชาวเขมร ต่อการรุกรานของสยามบนดินแดนกัมพูชา และกล่าวต่อว่า ชาวเขมรควรเปิดโอกาสให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก มีบรรยากาศที่สงบในการพิจารณาคดี
​นอกจากนี้ นายโกย กวง กล่าวต่อว่า การที่ชาวเขมรจากประเทศต่าง ๆ มารวมตัวที่กรุงเฮก เป็นการแสดงจากจิตใจรักดินแดนรักปราสาท เป็นมรดกของชาติและโลก โดยเฉพาะร่วมกันป้องกันดินแดนไม่ให้สูญหาย และเรียกร้องให้สยามยุติการรุกรานกัมพูชา

ข้อคิดเห็นในภาพรวมต่อ คำตัดสินของศาลโลก ปี ๒๕๐๕

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 เวลา 12:47 น.


กรณี ศาลโลก นั้นมีความฉ้อฉล ขัดหลักข้อเท็จจริง ขัดหลักกฏหมาย และแท้จริงเป็นเครื่องมือมหาอำนาจ ในการช่วยเขมร (ตามอุดมการณ์ผลประโยชน์เพื่อชาติตนเอง) <http://www.facebook.com/note.php?note_id=137971756244175>

ดัง นั้น แนวทางการต่อสู้คือไม่สู้ในยุทธภูมิที่ไม่มีวันชนะ หรือในทางกฏหมาย คือ ไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล (ซึ่งไทยไม่อยู่ในปัจจุบัน) หรือตัดฟ้อง ไม่ใช่ตกหลุมพรางไปต่อสู้ ซึงจะติดกับดัก และถูกปล้นเหมือนเดิมแน่นอน

ขอยกตัวอย่างความฉ้อฉล ดังนี้ (ประเด็นกฏหมายที่ลึกซึ้งดูได้จากข้อสงวนสิทธิทวงคืนปราสาท ของ ดร.ถนัด คอมันตร์ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311)

๑ นักกฏหมายบางท่านบอกเป็นหลักกฏหมายทางแพ่ง ของอังกฤษ ชาติเดียว ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในเรื่องเกี่ยวกับอธิปไตยและเขตแดนได้ เพราะเกี่ยวกับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนทั้งชาติ ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล ผิดหลักทางแพ่ง

๒ นักกฏหมายบางท่านก็บอกว่า ศาลโลกส่อเจตนาว่าฉ้อฉล เพราะยกมาใช้กับไทย กรณีนี้ครั้งเดียว เพราะไม่เป็นสากล อีกทั้งผู้พิพากษาที่เห็นแย้ง ในภายหลังเป็นประธานศาลโลกคนต่อมา ก็ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้

๓ สมมติใช้หลักกฏหมายปิดปาก ฝ่ายไทยก็อ้่างได้หนักแน่นกว่าว่า ไทยใช้อำนาจปกครองเหนือพื้นที่ตั้งของตัวปราสาท (อธิปไตยทางการบริหาร) มาก่อนฝรั่งเศสทำแผนที่ ส่วนผมเพิ่มให้อีกว่า แม้จะนับหลังจาก ทำแผนที่แล้ว รวมระยะเวลาถึงก่อนวันฟ้อง ไทยก็ใช้อำนาจอธิปไตย เหนือพื้นที่ตั้งตัวปราสาทมาตลอด ตามการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นและแบ่งเขตแดนกันชัดเจนอยู่แล้ว

ทำไมศาลไม่ใช้หลักกฏหมายปิดปากกับกรณีอำนาจปกครองเหนือตัวปราสาทนี้บ้าง ?

๔ สมมติ ว่าไทยยอมรับแผนที่ (ซึ่งข้อเท็จจริง ผมเชื่อว่า ไม่ใช่ผลงานคณะกรรมการปักปันทางนิตินัย จึงถือเป็นหลักฐานเท็จในทางกฏหมาย http://www.facebook.com/note.php?note_id=169169269791090) หลักในการตัดสินเขตแดน ไทยได้อ้่าง มาตรา ๒๙ สนธิสัญญาแวร์ซายล์ ซึ่งกำหนดว่า กรณีขัดแย้ง ให้ยึดตัวบทในสนธิสัญญา เหนือกว่าแผนที่ <1>

สรุป ได้ว่าศาลโลกฉ้อฉล เชื่อถือไม่ได้ในทุกกรณี ดังนั้นกลยุทธ์ “ตัดฟ้อง” จึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติ

อ้างอิง
<1>
มาตรา ๒๙ สัญญาแวร์ซาย ค.ศ.๑๙๑๙ เป็นบรรทัดฐานอ้างอิงกำหนดให้ใช้ตัวบท(text) สำคัญเหนือกว่าแผนที่ ในการตัดสินเขตแดนระหว่างชาติ
ARTICLE 29.
The boundaries as described above are drawn in red on a one-in-a-million map which is annexed to the present Treaty (MapNo. 1). [See Introduction.] In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final.
http://bit.ly/aaNfQp

ศาลโลกตัดสินให้ พื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทเป็นของใคร ? (ตีความคำตัดสิน ศาลโลก ปี ๒๕๐๕)

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 เวลา 13:02 น.

อ้างอิง คำตัดสินของศาลโลก (โดย ดร.สมปอง สุจริตกุล)
===============================
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาดังนี้

(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระ วิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา

(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำ แถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗

แหล่งข้อมูล : http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=114

Original in English :

"In its Judgment on the merits the Court, by nine votes to three, found that the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia and, in consequence, that Thailand was under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory.

By seven votes to five, the Court found that Thailand was under an obligation to restore to Cambodia any sculptures, stelae, fragments of monuments, sandstone model and ancient pottery which might, since the date of the occupation of the Temple by Thailand in 1954, have been removed from the Temple or the Temple area by the Thai authorities."

Source : http://www.icj-cij.org/docket/index.php?sum=284&code=ct&p1=3&p2=3&case=45&k=46&p3=5
===============================
ประเด็นแรก ตีความคำตัดสินของศาลโลกด้วยเจตนา :

ถ้า ผมแปลเอง กรณีศาลเจตนาตัดสินว่า ปราสาทตั้งอยู่ในเขตแดนของกัมพูชา ก็ควรเขียนว่า Temple of Preah Vihear was situated in the boundary of Cambodia. หรือ Temple of Preah Vihear was situated in the territory of Cambodia. ไปตรงๆเลย

มากกว่าจะต้องไปเขียนโดยใช้ถ้อยคำฟุ มเฟือยเกินเจตนาว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา" (the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia) ซึ่งแปลว่าเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา ผมจึงตีความว่าศาลมีเจตนาตัดสินให้ เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้น

ประเด็น ที่สอง กรณีที่นักวิชาการบางกลุ่ม ไปตีความตรงคำว่า Vicinity หมายถึงศาลโลกให้พื้นที่ 4.6 รอบปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เป็นการตีความผิดโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลดังนี้

อ้าง อิงคำตัดสินศาลโลก เฉพาะในส่วนคะแนน 9:3 เพราะมีความสับสนกันหลายกรณี "In its Judgment on the merits the Court, by nine votes to three,

found that the Temple of Preah Vihear was situated in territory under the sovereignty of Cambodia and, in consequence,

that Thailand was under an obligation to withdraw any military or police forces, or other guards or keepers, stationed by her at the Temple, or in its vicinity on Cambodian territory."

จะเห็นว่า vicinity อยู่ในคำตัดสิน clause ที่ 2 คือ ไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระ วิหารหรือ"บริเวณใกล้เคียง" (vicinity)ที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา

ดังนั้นต้องตีความให้ถูกต้องโดยใช้บริบททั้งหมด โดยผมจะแปลให้เข้าใจง่ายๆ คือ

๑ เฉพาะตัวปราสาท ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้น

๒ ต่อเนื่องจากข้อ ๑ ศาลสั่งให้ไทยเอาเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ประจำการอยู่ ออกไปจากตัวปราสาท หรือ ในบริเวณตัวปราสาท (its vicinity คือ Temple's vicinity) โดยแปลคำว่า vicinity ว่าบริเวณ 

ซึ่งใน ภาษาไทย บริเวณแปลว่า พื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่นบริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง (แปลตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี๒๕๔๒)
===============================

อ่านเพิ่มเติม

๔.๖ ตารางกิโลเมตรไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
 http://www.15thmove.net/article/sompong-46-not-overlaped-disputed-area/

ปราสาท พระวิหาร โดย ดร.สมปอง สุจริตกุล (ทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕) ลงวันที่ 31 ส.ค. 2552
 http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=94&Itemid=114 

“ปานเทพ” ประจานนายกฯ เหลวถกเลื่อนมรดกโลก จี้เปิดแผนต่อสู้คดีศาลโลก

โฆษกพันธมิตรฯ ถลกหนัง “มาร์ค” ล้มเหลวถกเลื่อนมรดกโลกไม่สำเร็จ เหตุยูเนสโกไม่เล่นด้วย จี้ รบ.เปิดเผยแนวทางต่อสู้ คำร้องเขมรยื่นศาลโลกตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหาร ย้ำ ปชช.ต้องร่วมโหวตโน สกัดแผนนิโรทษกรรม ช่วย “นช.แม้ว” กลับประเทศ ด้าน “ประพันธ์” จวกนักการเมืองมุ่งแสวงหาอำนาจ ไม่เสนอนโยบายแก้ปัญหาชาติ ย้ำ “โหวตโน” ถ่วงดุลนักการเมือง

    
    

       วันนี้ (29 พ.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยรายละเอียดการให้ข้อมูล และแนวทางการต่อสู้คดีในชั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องให้ตีความคำพิพากษา กรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 อีกครั้ง รวมไปถึงกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องเพิ่มเติมให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ที่จะมีการพิจารณาในระหว่างวันที่ 30-31 พ.ค.นี้ เพราะถือเป็นความชอบธรรมของประชาชนที่จะรับรู้ถึงความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับที่รัฐบาลกัมพูชาไม่เคยปิดบังข้อมูลกับประชาชน
    
       โฆษกพันธมิตรฯ ยังได้ด้วยว่าการที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้เจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ยอมรับว่าการประชุมเจรจาทวิภาคีถึงปัญหามรดกโลก ระหว่างคณะผู้แทนไทยกับกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส ยังไม่มีข้อยุติตามที่ไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาท พระวิหารครั้งที่ 35 ที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย.นั้น ถือเป็นการประจานนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เคยอ้างว่าองค์การยูเนสโกเห็นด้วยกับการเลื่อนประชุมออกไป
    
       นายปานเทพยังกล่าวถึงกระแสการออกกฎหมายนิรโทษกรรมภายหลังการเลือก ตั้ง ว่า พรรคเพื่อไทยแสดงความปราถนาที่จะชนะเกมส์ในระบอบรัฐสภา เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนไม่ควรยอมจำนนและต้องสงวนสิทธิลงคะแนนใน ช่องไม่ประสงค์เลือกใครหรือโหวตโน เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนมีอำนาจในการต่อรองหากระบอบทักษิณฟื้นคืนชีพ
    
       ด้าน นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวเสริมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ละพรรคการเมืองให้ความสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าการประกาศนโยบายที่ จะใช้แก้ปัญหาของบ้านเมือง แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแสวงหาอำนาจมากกว่าเป็นห่วงความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชน หรือแม้กระทั่งละเลยผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งแต่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ดังนั้นการร่วมกันโหวตโนจึงถือเป็นหลักประกันให้ประชาชนคัดค้านการกระทำของ พรรคการเมืองและนักการเมืองที่จะไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ และยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง