บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"ปชป."จวก"เขมร"พลิกลิ้น! พร้อมกลับลำถก "จีบีซี" รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"

"ปชป."จวก"เขมร"พลิกลิ้น! พร้อมกลับลำถก "จีบีซี" รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"


ปชป.บี้ "บัวแก้ว"ประสาน ‘กัมพูชา’ ขอแผนคุมปราสาทพระวิหาร หากสัมพันธ์แน่น อัด ‘เขมร’ พลิกลิ้นพร้อมกลับลำถก ‘จีบีซี’ กับรัฐบาลใหม่
     ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ว่าที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ(กต.)ในรัฐบาลชุดใหม่ว่า  ภาระหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีมากมาย หวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ขณะนี้ยังค้างอยู่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถึงแม้จะมีการสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่มีการดำเนินการของทั้งสองฝ่าย จึงอยากรัฐบาลมีความระมัดระวังในการเจรจาเรื่องใดๆ กับทางกัมพูชา อย่าให้เรื่องการถอนทหารทำให้ไทยเสียเปรียบ โดยให้ดำเนินการปรึกษากับฝ่ายความมั่นคงเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ

     นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา แม้ขณะนี้ประเทศไทยได้ถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลกแล้ว แต่ขั้นตอนที่มีความสมบูรณ์ประเทศไทยต้องส่งจดหมายไปยังยูเนสโก จึงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีกระแสระบุว่ารัฐบาลมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา และจะมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ ดังนั้นขอให้รัฐบาลไปขอแผนบริหารจัดการของกัมพูชาที่ได้ส่งไปถึงยูเนสโก จากนั้นให้เปิดเผยต่อประชาชนให้เห็นแผนที่ฉบับนั้น ว่าจะเป็นแผนที่ที่ใช้ระวาง 1 ต่อ 2 แสน และกินพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาเป็นจำนวนมากใช่หรือไม่ เพราะสิ่งนี้คือกุญแจดอกสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของไทยและกัมพูชา
     “ถ้ารัฐบาลชุดนี้สามารถให้กัมพูชายกเลิกแผนที่ฉบับนั้นได้ ผมคิดว่าจะเป็นคุณูปการมหาศาล และถ้าการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยไม่ได้มีการนำผลประโยชน์ของประเทศไปแลกกับผลประโยชน์ส่วนตัว ผมก็จะลองติดตามเรื่องเหล่านี้ต่อไป” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า ส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาเปลี่ยนท่าทีเปิดทางพร้อมถกจีบีซีร่วมกับทหารไทยนั้น ก็เป็นความชัดเจนว่ากัมพูชาทำเพื่อการเมือง เพราะเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนรัฐบาล ทางกัมพูชาก็กลับมาบอกว่าจะดำเนินการตามแนวทางที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์วาง เอาไว้ในเรื่องกระบวนการจีบีซี ทั้งที่ผ่านทางกัมพูชาก็แสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด

จีนขยาย “อำนาจละมุน” เซ็นความตกลงร่วมมือกับ “ฮุนเซน” 29 ฉบับรวด



นายโจวหยงคาง (ที่ 3 จากซ้าย) และนายกรัฐมนตรีฮุนเซน (ที่ 3 จากขวา) ร่วมในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคี ในกรุงพนมเปญ กัมพูชา เมื่อวันที่ 20 ส.ค. -- Xinhua/Liu Weibing.
     
สำนักข่าวกัมพูชา - กัมพูชาและจีนบรรลุข้อตกลงด้านความร่วมมือ การลงทุน การค้าและความช่วยเหลือทั้งหมด 29 ฉบับ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางเยือนกัมพูชาของนายโจวหยงคาง สมาชิกกรรมการประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) และประธานคณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมาย คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์
     
       ข้อตกลงที่ลงนามร่วมกันมีขึ้นหลังนายจ้าวหยงคาง หารือกับนายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ของกัมพูชา เมื่อวันเสาร์ (20 ส.ค.)
     
       นายเอียงสุภเล็ธ ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายต่างให้คำมั่นที่จะสร้างเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศที่มีอย่าง ยาวนานให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
     
       นายโจวหยงคาง กล่าวว่า ความร่วมมือระดับทวิภาคีในภาคการเมือง การค้า เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ได้กล่าวตอบว่า การเดินทางเยือนของนายจ้าวหยงกังจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพระหว่างจีนและกัมพูชา ต่อไป
     
       นายเอียงสุภเล็ธ ระบุว่า กัมพูชา ยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นกับนโยบายจีนเดียว และรัฐบาลกัมพูชาจะกระตุ้นความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น และการเดินทางเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเมื่อปี 2553 นั้นนับเป็นยุคใหม่ของความสัมพันธ์ของสองประเทศ
     
       นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน ยังได้แสดงความรู้สึกขอบคุณจีนสำหรับความช่วยเหลือและการสนับสนุนเป็นจำนวน มาก และยาวนานต่อกัมพูชา และหวังให้กิจการของจีนเข้าลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น

นายโจวหยงคางขณะเข้าเฝ้ากษัตริย์นโรดมสีหมุนี ในกรุงพนมเปญ. -- Xinhua/Liu Weibing.
      

นาย โจวหยงคาง และนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เดินจับมือพูดคุยหลังพิธีลงนามข้อตกลง ในระหว่างการเดินทางเยือนกัมพูชาของนายจ้าวหยงกัง เพื่อกระชับความความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆระหว่างสองประเทศ. -- Xinhua/Liu Weibing.

รมว.กห.จ่อปรับกำลังส่ง ตร.คุม - ให้อิเหนาดูพระวิหาร แย้ม “ปู” ไปเขมรหลังถกจีบีซี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (แฟ้มภาพ)

“ยุทธศักดิ์” เตรียมปรับกำลังชายแดนเขมรตามคำสั่งศาลโลก เชื่อ หลังถกอาร์บีซีเสร็จจะกำหนดกรอบต่างๆ ในเวทีจีบีซีได้ จ่อคุยขอเอาตำรวจเข้าไปแทน พร้อมปล่อยอิเหนาเข้าพื้นที่ ยัน มทภ.2 หาที่พักให้แล้ว ปัดให้จุ้นกิจการภายใน อ้างแค่ทำตามคำสั่งศาล คาดนายกฯ ไปกัมพูชาหลังประชุมเสร็จ ยัน “นช.แม้ว” ไม่เคยยุ่ง
      
      
       วันนี้ (22 ส.ค.) ที่ กระทรวงกลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการถอนกำลังทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า เราไม่ใช้คำว่า ถอนทหาร แต่ใช้คำว่า ปรับกำลังในพื้นที่ ตามคำสั่งชั่วคราวของศาลตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งวันนี้ (22 ส.ค.) เวลา 10.00 น.จะมีการหารือกันอีกครั้ง เพื่อวางกรอบหัวข้อนำไปประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ โดยในวาระสุดท้ายจะเป็นเรื่องกรอบการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลก ว่า จะดำเนินการอย่างไรในกรอบของทหาร โดยให้อาร์บีซีตีกรอบ เพื่อใช้ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา(จีบีซี) ต่อไป และขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการจีบีซีฝ่ายไทยจะให้เลขานุการไปหารือกับฝ่ายกัมพูชา คิดว่า หลังจากที่การประชุมอาร์บีซีสิ้นสุด เลขานุการจะไปประสานงานในเรื่องวันเวลาที่จะประชุมจีบีซี รวมถึงกรอบการประชุม การปรับกำลัง การตั้งจุดตรวจร่วม การดำเนินการต่อผู้สังเกตุการณ์จะมีกี่ชุด เป็นต้น
      
       “หากมีการปรับกำลังทหารออก ทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันว่า จะเอากำลังส่วนไหนไปหนุน ขั้นแรกที่เราพูดคุยกับกัมพูชา คือ เมื่อนำกำลังทหารออก ควรนำกำลังตำรวจเข้าไปทดแทน และมากำหนดว่า จะเป็นตำรวจตระเวนชายแดน หรือตำรวจภูธร ซึ่งขณะนี้ ผบ.ตร.ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและเตรียมกำลังตำรวจเพื่อไปปรับกำลังแทนทหาร แต่ต้องคุยกันก่อนว่า จะปรับหรือถอนทหารอย่างไร และจะใช้ทหารพรานเข้าไปทดแทนได้หรือไม่ ถ้าเขาไม่ยอมรับทหารพราน เราก็จะใช้ตำรวจ ทั้งนี้เรามีจุดตรวจร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งต้องไปดูว่า จัดตรงไหน เพื่อดูความเรียบร้อยของการปรับกำลัง
      
       เมื่อถามว่า จะต้องส่งผู้สังเกตการณ์ลงไปในพื้นที่ด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ใช่ เพราะในคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกำหนดให้มีผู้สังเกตการณ์จาก อินโดนีเซียด้วย ตอนแรกอาจเข้าใจกันว่า จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลังจากที่ตนได้เดินทางลงพื้นที่ไปรับฟัง และรับทราบจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ คิดว่า ต้องมีผู้สังเกตการณ์ และเป็นความจำเป็นต้องมี เพราะการกล่าวอะไร หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ต้องมีพยาน ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์จะเป็นพยานที่ดีที่สุด ว่า ใครเป็นคนผิดก่อน หรือละเมิดกติกา หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะได้มีผู้สังเกตการณ์คอยอ้าง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยจะไม่เป็นผู้ที่เริ่มก่อน
      
       เมื่อถามว่า ผู้สังเกตการณ์อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อไปหากเกิดเหตุการณ์เขาจะเป็นพยานได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า ช่วงหนึ่งต้องกะระยะเวลาว่า แค่ไหน ถ้าเหตุการณ์ปกติจริงๆ การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก โปร่งใส ไม่เอาเปรียบกัน ภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจถ้าถึงช่วงนั้นต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้กองทัพภาคที่ 2 ได้ เตรียมที่พักให้กับผู้สังเกตการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้สังเกตการณ์จะเป็นพลเรือน แต่จะกำหนดกันอีกครั้งหลังจากการประชุมจีบีซี ว่า ผู้สังเกตการณ์จะแต่งกายอย่างไร คิดว่า ไม่ได้เป็นการให้ประเทศที่ 3 เข้ามาแทรกภายในกิจการของเรา เพราะเขามีหน้าที่รับทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดเดินทางไปพบสมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่นายกฯคงจะเดินทางหลังจากมีการประชุมจีบีซีเรียบร้อยแล้ว เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาก่อการร้าย มีส่วนช่วยประสานงานเรื่องกัมพูชาหรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ไม่มี ท่านไม่ได้ติดต่อ หรือพูดอะไรเลยที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชา และท่านไม่ได้ติดต่อมาด้ว

ทธศักดิ์ย้ำชัดปมเขมร จำต้องมี'ผู้สังเกตการณ์' เป็นพยานทำให้โปร่งใส ไม่ใช่ปท.ที่3แทรกแซง!


 
"ยุทธ ศักดิ์" เป็นปลื้ม "ทูลกระหม่อมฯ" ประทานดอกไม้ "เจ้าตัว" ยันจะทำงานเทิดทูนสถาบัน-รักษาราชบัลลังก์ด้วยชีวิต เผยปมเขมร ต้องมี "ผู้สังเกตการณ์" เพื่อเป็นพยานว่าใครผิด-ใครถูก ชี้ไม่ใช่เป็นการให้ "ประเทศที่ 3" เข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน คาด "ยิ่งลักษณ์-ฮุนเซน" เจอกันหลังถกจีบีซีเสร็จ
วันที่ 22 ส.ค. 2554 เวลา 09.00 น. ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นผู้แทนพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี อัญเชิญแจกันดอกไม้ประทานแก่พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ในโอกาสรับตำแหน่ง ในโอกาสนี้ ผู้แทนพระองค์ฯ ได้นำกระแสรับสั่งของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ความว่า "ขอให้ทำงานด้วยความอดทน มีความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่มีไว้อย่างมั่นคง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต"

จากนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าฯที่ท่านให้ความเมตตากรุณาต่อตน ซึ่งตนได้รับทราบจากผู้แทนพระองค์ว่า ท่านได้ติดตามผลงานของตนมาตลอดเวลา และการที่ได้เข้ามาเป็นรมว.กลาโหมครั้งนี้ ท่านขอให้กำลังใจและมีความอดทน ความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศชื่อเสียงอย่างที่เคยดำรงไว้ให้มั่นคงต่อไป ถือเป็นการให้กำลังใจที่ขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ และจะปฏิบัติโดยไม่ได้มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ตนได้รับพระราชทานสูงสุด ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเป็นกำลังใจมากสำหรับตนในการที่จะทำงานด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต และเพื่อประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ตนจะทำงานทุกอย่างเพื่อเทิดทูนสถาบัน ราชบัลลังก์ด้วยชีวิต

รม ว.กลาโหม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการถอนกำลังทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาว่า คงไม่ใช่การถอนทหาร แต่เป็นการปรับกำลังในพื้นที่ ตามคำสั่งชั่วคราวของศาลตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งวันนี้ (22ส.ค.) จะมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อวางกรอบหัวข้อนำไปประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วน ภูมิภาคไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ โดยในวาระสุดท้ายจะเป็นเรื่องกรอบการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลกว่า จะดำเนินการอย่างไรในส่วนของทหาร โดยให้อาร์บีซีตีกรอบ เพื่อใช้ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ต่อไปขณะเดียวกันคณะกรรมการจีบีซีฝ่ายไทยจะให้เลขานุการไปหารือกับกัมพูชา คิดว่าหลังประชุมอาร์บีซีสิ้นสุด เลานุการจะประสานงานในเรื่องวันเวลาที่จะประชุมจีบีซี รวมถึงกรอบการประชุม การปรับกำลัง การตั้งจุดตรวจร่วม การดำเนินการต่อผู้สังเกตุการณ์จะมีกี่ชุด เป็นต้น

"หากมีการปรับกำลังทหารออก ทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันว่า จะเอากำลังส่วนไหนไปหนุน ขั้นแรกที่เราพูดคุยกับกัมพูชาคือ เมื่อนำกำลังทหารออก ควรนำกำลังตำรวจเข้าไปทดแทน และมากำหนดว่า จะเป็นตำรวจตระเวนชายแดน หรือตำรวจภูธร หรือทหารพราน ซึ่งขณะนี้ผบ.ตร.ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและเตรียมกำลังตำรวจเพื่อไปปรับ กำลังแทนทหาร แต่เรามีจุดตรวจร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งต้องไปดูว่า จัดตรงไหน เพื่อดูความเรียบร้อยของการปรับกำลัง"พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าว

เมื่อ ถามว่า จะต้องส่งผู้สังเกตการณ์ลงไปในพื้นที่ด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ใช่ เพราะในคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กำหนดให้มีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียด้วย ตอนแรกอาจเข้าใจกันว่า จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลังจากที่ตนได้เดินทางลงพื้นที่ไปรับฟังและรับทราบจากผู้ปฏิบัติใน พื้นที่ คิดว่าต้องมีผู้สังเกตการณ์ และเป็นความจำเป็นต้องมี เพราะการกล่าวอะไร หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นต้องมีพยาน ผู้สังเกตการณ์จะเป็นพยานที่ดีที่สุด

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้สังเกตการณ์อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อไปหากเกิดเหตุการณ์เขาจะเป็นพยานได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า "ช่วงหนึ่ง" ต้องกะระยะเวลาว่า แค่ไหน ถ้าเหตุการณ์ปกติจริง ๆ การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก โปร่งใส ไม่เอาเปรียบกัน ภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจถ้าถึงช่วงนั้นต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้กองทัพภาคที่ 2 ได้เตรียมที่พักให้กับผู้สังเกตุการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้สังเกตุการณ์จะเป็นพลเรือน แต่จะกำหนดกันอีกครั้งหลังจากการประชุมจีบีซีว่า ผู้สังเกตุการณ์จะแต่งกายอย่างไร คิดว่า ไม่ได้เป็นการให้ประเทศที่ 3 เข้ามาแทรกภายในกิจการของเรา เพราะเขามีหน้าที่รับทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามขณะนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดเดินทางไปพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่อาจหลังจากมีการประชุมจีบีซีเรียบร้อยแล้ว

thaiinsider

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง