บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เจีย ดารา โวไทยจัดชุดใหญ่เขมรโต้ชุดใหญ่-สื่อเผยเขมรพร้อมรับศึกรอบใหม่


พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายฟิฟทีนมูฟ – พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา ในฐานะผู้นำทหารและสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชา ตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ทหาร สภาพพื้นที่และการป้องกัน ในพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือน กุน กีม ระบุไทยตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคสร้างศัตรูไปทั่ว เขมรเป็นประเทศเล็กแต่ไม่กลัวไทย ส่วนเจีย ดาราแพล่มให้ยุติเอาปัญหาชายแดนผูกการเมือง ฟุ้งคนเขมร ๑๔ ล้านเป็นทหารทั้งหมด บอกถ้าไทยรุกรานชุดเล็กก็โต้ชุดเล็ก ถ้าไทยจัดชุดใหญ่ก็โต้ชุดใหญ่ ส่วนแหล่งข่าวทหารชายแดนรายงานได้รับคำสั่งเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับศึก
ตามรายงานของศูนย์ข่าวนครวัต (๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔) หลังพิธีรำลึกครบรอบครั้งที่ ๖๐ วันก่อตั้งพรรคประชาชนกัมพูชา พล.อ.กุน กีม สมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรคฯ และเป็นประธานคณะทำงานช่วยเหลือ จ.อุดรมีชัย รวมทั้งเป็นรองผู้บัญชาการและเสนาธิการร่วมในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา และ พล.อ.เจีย ดารา สมาชิกคณะกรรมการพรรคฯ ได้นำตัวแทนพรรคฯ จ.อุดรมีชัย เดินทางเยี่ยมนายทหารและพลทหาร ที่ประจำการพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย และพื้นที่ทมอดูน อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย พร้อมตรวจสอบสภาพทางภูมิศาสตร์และการเตรียมการป้องกัน

พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายพล.อ.กุน กีม กล่าวกับทหารว่า เนื่องจากไทยพ่ายแพ้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงปารีส ไทยข่มขู่ว่า​ตนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากถอนตัวออกจากองค์การยูเนสโก แล้วมาก่อสงครามที่ชายแดนกับกัมพูชา เปรียบเหมือนเป็นประเทศที่ไม่รู้และไม่เกรงกฎหมาย กระหายสงคราม ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ไทยโจมตีทำสงครามกับเขมรหลายครั้งนั้น ทั้งผู้นำ ทั้งพวกหลงประวัติศาสตร์ กำลังแสดงอำนาจตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และสร้างความเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับกัมพูชาเป็นเพียงประเทศเล็ก ประเทศกำลังพัฒนา หลังถูกทำลายด้วยสงคราม (หมายถึงสงครามกลางเมืองภายใน) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกลัวไทย รัฐบาลกัมพูชาที่มีสมเด็จฯ ฮุน เซน ได้บัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นกลศึกสงครามรุกรานของไทย และความต้องการที่จะครอบครองปราสาทพระวิหารร่วมกับกัมพูชา ซึ่งไม่อาจทำได้เลยเพราะไม่มีส่วนไหนที่ไทยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายขณะ ที่ พล.อ.เจีย ดารา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ขอให้ผู้นำไทยยุติการเอาปัญหาชายแดนกัมพูชา การเอาดินแดนกัมพูชา โดยเฉพาะปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ไปเป็นหมากรุกเป็นเล่ห์ พาตนออกจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศของตน ประเทศไทยกำลังมีการเลือกตั้งทั่วไป แต่กลายเป็นว่าได้เคลื่อนระเบิดเคลื่อนทหารมาที่ชายแดน ไม่เพียงเท่านั้น ยังใช้ภาษาข่มขู่ว่าจะก่อสงครามกับกัมพูชาอีกด้วย พล.อ.เจีย ดารา กล่าวต่อว่า กัมพูชามีประชาชน ๑๔ ล้านคน กัมพูชาก็มีทหาร ๑๔ ล้านคน หมายความว่าประชาชนทุกคนเป็นทหาร ปัจจุบันกองทัพของสมเด็จเดโชได้เตรียมตัวพร้อมแล้ว มีขีดความสามารถและสมรรถภาพ ทั้งด้านกำลังและเครื่องนุ่งห่ม ถ้าไทยเข้ามารุกรานดินแดนกัมพูชาขนานเล็ก เราก็ต้อนรับขนานเล็ก ถ้าไทยรุกรานขนานใหญ่เราก็ต้อนรับขนานใหญ่
พล.อ.กุน กีม และ พล.อ.เจีย ดารา นำคณะตรวจสนามเพลาะพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือนและตาควายขณะ ที่รายงานของวิทยุเอเชียเสรี วันเดียวกัน อ้างทหารกัมพูชาที่ประจำการตามแนวชายแดน ตั้งแต่พื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ไปจนถึงพื้นที่ปราสาทตาควาย ใน ต.โคกคปั๊ว (โคกสูง) อ.บันเตียอำปึล เปิดเผยว่า ทหารกัมพูชามีการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อม สำหรับการสู้รบรอบใหม่ในช่วงสองวันที่ผ่านมา นับจากที่มีข่าวลือว่าไทยเตรียมการใช้กำลังทหารโจมตีกัมพูชาอีกครั้ง ในเรื่องความขัดแย้งพรมแดน
ทหารกัมพูชารายหนึ่งที่ประจำการชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ผู้บัญชาการทหารกัมพูชาที่ประจำจุดที่มีความขัดแย้งพรมแดนหลายครั้ง ได้สั่งการให้ทหารเพิ่มความระมัดระวังระวังและเตรียมพร้อมสู้รบ หากมีการเริ่มโจมตีก่อนอีกรอบจากทหารไทย ขณะที่ทหารอีกราย ที่ประจำการด้านปราสาทตาควาย จ.อุดรมีชัย เปิดเผยว่า พวกตนได้รับคำสั่งให้ระวังและเตรียมพร้อมสู้รบ แต่สถานการณ์เผชิญหน้าในพื้นที่ยังเป็นปกติ ไม่มีสิ่งผิดปกติจากทหารไทย ที่จะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น

การบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีผลแล้ว


สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโกฟิฟทีนมูฟ – หลังคืนวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ตามเวลาในประเทศไทย ที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ได้แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศถอนตัวหรือบอกเลิกจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ และได้มอบหนังสือราชการตราครุฑให้กับตัวแทนขององค์การยูเนสโก ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการ นั้น ได้มีการแสดงทัศนะจากหลายภาคส่วน รวมถึงบุคคลของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี ทั้งในแง่มุมของกฎหมาย ขั้นนตอนปฏิบัติ และประการอื่น นำมาสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สับสนในหมู่ประชาชน
เบื้องต้น ขอแสดงความขอบคุณและชื่นชมไปถึงนายสุวิทย์ คุณกิตติ แม้จะมีทัศนะที่ต่างในประเด็นการเลื่อนการพิจารณาแผนฯ และแนวคิดการขึ้นทะเบียนข้ามแดน (ขึ้นทะเบียนร่วม) แต่ได้ทำหน้าที่ของคนไทย ซึ่งองค์การยูเนสโก ศูนย์มรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลก ผู้ถือตามอนุสัญญานี้ ได้ล่วงละเมิด ลบล้างและประพฤติอย่างเลวที่สุดในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ดังที่เอกสารบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ในนามรัฐบาลไทย ได้สะท้อนความจริงข้อนี้ไว้อย่างชัดเจน

เมื่อศึกษาอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๗๒ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สอบทานจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอนุสัญญาฉบับนี้ และในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก อย่างถี่ถ้วน และรอบด้าน มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
ประการแรก อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ. ๑๙๗๒ หรือเรียกอย่างย่อว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นอนุสัญญาที่เขียนไว้อย่างหลวมที่สุดในบรรดาหนังสือสัญญา อนุสัญญา สนธิสัญญา ข้อผูกพันหรือการรับภาระของรัฐภาคีต่ออนุสัญญานี้จึงเป็นไปอย่างหลวม ๆ
ประการที่สอง ถ้อยความที่เขียนไว้อย่างหลวมในหมวดที่ ๘ (หมวดสุดท้าย) ข้อ ๓๕ (Article 35) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบอกเลิก ระบุว่า
     ๑. แต่ละรัฐภาคีของอนุสัญญานี้สามารถจะบอกเลิก (denounce) อนุสัญญา
     ๒. การบอกเลิก (denunciation) จะต้องได้รับแจ้งโดยเอกสารลายลักษณ์อักษร (instrument in writing) ส่งถึงผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
     ๓. การบอกเลิกมีผล ๑๒ เดือน หลังการได้รับเอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) ซึ่งต้องไม่กระทบภาระผูกพันทางการเงินของรัฐผู้บอกเลิก กระทั่งวันที่ซึ่งการถอนตัว (withdrawal) มีผล
     ขณะความในข้อ ๓๖ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง ระบุให้ผู้อำนายการฯ แจ้งรัฐสมาชิกและรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกขององค์กร ในการบอกเลิกตามข้อ ๓๕ ฉะนั้น การบอกเลิกจึงกระทำได้โดยง่าย ไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ที่รัดกุมเข้มงวด นอกจากนี้ รัฐภาคีมีสิทธิ์เต็มในการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี หรือบอกเลิก กรณีการบอกเลิกไม่จำเป็นต้องถูกรับรองซ้ำโดยรัฐภาคีหรือองค์กรอื่นใด
สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะแถลงบอกเลิกในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกประการที่สาม นายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ได้รับการมอบอำนาจ (Credentials) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary) ในการประชุม ดังปรากฏใน ที่ว่า “โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่กล่าวถึงข้างต้น และการมอบอำนาจโดยรัฐบาลไทย..” ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีทั้งก่อนหน้าและหลังการบอกเลิก ได้ยืนยันความมีอำนาจในข้อนี้
     ดังนั้น นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงมีอำนาจเต็มในฐานะผู้แทนของรัฐ ทั้งในการตัดสินใจและการดำเนินการ และมีผลผูกพันต่อรัฐ การบอกเลิกของนายสุวิทย์จึงมีผลในทันทีที่ได้แสดงการบอกเลิก
ประการที่สี่ พฤติการณ์ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในฐานะตัวแทนของรัฐ (๑) ได้แถลงด้วยวาจาอย่างเป็นทางการในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (๒) ได้ยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโก
     การแถลงในที่ประชุมเป็นการประกาศให้รัฐภาคีทั้งหมดรับทราบโดยทั่วกัน และอย่างชัดแจ้งถึงการบอกเลิกของประเทศไทย มีผลทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย และมีผลยิ่งกว่าการทำหนังสือแจ้งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พฤติการณ์ทั้ง ๒ ข้อ จึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงการแจ้งเจตจำนงค์เบื้องต้น แม้ในหนังสือที่ส่งถึงผู้อำนวยการยูเนสโกจะมีข้อความระบุในตอนท้ายว่า “เอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) จะถูกส่งถึงท่านในกำหนดเวลา” ส่วนนี้เป็นแต่เพียงการส่งหนังสือยืนยันสำทับอีก ครั้งเท่านั้น ซึ่งกระทำได้โดยนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่านสภาฯ แต่ประการใด โดยหลักที่ว่าการบอกเลิกเป็นการยกเลิก ไม่รับภาระ ขณะที่การให้สัตยาบันเป็นการรับภาระจึงต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ ฉะนั้น รัฐบาลสามารถส่งหนังสือยืนยันสำทับได้ทันที แต่จะกระทำหรือไม่ก็ได้ เพราะการบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ มีผลแล้ว อนึ่ง การส่งหนังสือโดยผู้อำนวยการยูเนสโกขอให้ไทยทบทวนก็ยืนยันในข้อนี้
การบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ โดยการแถลงด้วยวาจาในที่ประชุม และการยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการยูเนสโก มีผลบังคับแล้ว คือไทยพ้นจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทั้งโดยพฤตินัย นิตินัย โดยสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทุกประการ แต่จะขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อ ๑๒ เดือนให้หลัง นับจาก ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป และระหว่างนี้ ความผูกพันใด ๆ ของประเทศไทยต่ออนุสัญญา ขึ้นกับการตัดสินใจของไทยว่าจะกระทำตามหรือไม่ประการใด

ไทยถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล


ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ๒ สมัยการ ที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัว ตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด

ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะ กรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนส โก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาล โลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุก ภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลง ให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการ พิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยู เนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง