บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีผลแล้ว


สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโกฟิฟทีนมูฟ – หลังคืนวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ตามเวลาในประเทศไทย ที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ได้แถลงในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศถอนตัวหรือบอกเลิกจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ และได้มอบหนังสือราชการตราครุฑให้กับตัวแทนขององค์การยูเนสโก ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการ นั้น ได้มีการแสดงทัศนะจากหลายภาคส่วน รวมถึงบุคคลของรัฐบาล โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี ทั้งในแง่มุมของกฎหมาย ขั้นนตอนปฏิบัติ และประการอื่น นำมาสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สับสนในหมู่ประชาชน
เบื้องต้น ขอแสดงความขอบคุณและชื่นชมไปถึงนายสุวิทย์ คุณกิตติ แม้จะมีทัศนะที่ต่างในประเด็นการเลื่อนการพิจารณาแผนฯ และแนวคิดการขึ้นทะเบียนข้ามแดน (ขึ้นทะเบียนร่วม) แต่ได้ทำหน้าที่ของคนไทย ซึ่งองค์การยูเนสโก ศูนย์มรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลก ผู้ถือตามอนุสัญญานี้ ได้ล่วงละเมิด ลบล้างและประพฤติอย่างเลวที่สุดในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ดังที่เอกสารบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ในนามรัฐบาลไทย ได้สะท้อนความจริงข้อนี้ไว้อย่างชัดเจน

เมื่อศึกษาอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๗๒ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สอบทานจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอนุสัญญาฉบับนี้ และในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก อย่างถี่ถ้วน และรอบด้าน มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
ประการแรก อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ. ๑๙๗๒ หรือเรียกอย่างย่อว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เป็นอนุสัญญาที่เขียนไว้อย่างหลวมที่สุดในบรรดาหนังสือสัญญา อนุสัญญา สนธิสัญญา ข้อผูกพันหรือการรับภาระของรัฐภาคีต่ออนุสัญญานี้จึงเป็นไปอย่างหลวม ๆ
ประการที่สอง ถ้อยความที่เขียนไว้อย่างหลวมในหมวดที่ ๘ (หมวดสุดท้าย) ข้อ ๓๕ (Article 35) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบอกเลิก ระบุว่า
     ๑. แต่ละรัฐภาคีของอนุสัญญานี้สามารถจะบอกเลิก (denounce) อนุสัญญา
     ๒. การบอกเลิก (denunciation) จะต้องได้รับแจ้งโดยเอกสารลายลักษณ์อักษร (instrument in writing) ส่งถึงผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
     ๓. การบอกเลิกมีผล ๑๒ เดือน หลังการได้รับเอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) ซึ่งต้องไม่กระทบภาระผูกพันทางการเงินของรัฐผู้บอกเลิก กระทั่งวันที่ซึ่งการถอนตัว (withdrawal) มีผล
     ขณะความในข้อ ๓๖ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง ระบุให้ผู้อำนายการฯ แจ้งรัฐสมาชิกและรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกขององค์กร ในการบอกเลิกตามข้อ ๓๕ ฉะนั้น การบอกเลิกจึงกระทำได้โดยง่าย ไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ที่รัดกุมเข้มงวด นอกจากนี้ รัฐภาคีมีสิทธิ์เต็มในการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี หรือบอกเลิก กรณีการบอกเลิกไม่จำเป็นต้องถูกรับรองซ้ำโดยรัฐภาคีหรือองค์กรอื่นใด
สุวิทย์ คุณกิตติ ขณะแถลงบอกเลิกในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกประการที่สาม นายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เป็นผู้ได้รับการมอบอำนาจ (Credentials) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็ม (Plenipotentiary) ในการประชุม ดังปรากฏใน ที่ว่า “โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่กล่าวถึงข้างต้น และการมอบอำนาจโดยรัฐบาลไทย..” ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีทั้งก่อนหน้าและหลังการบอกเลิก ได้ยืนยันความมีอำนาจในข้อนี้
     ดังนั้น นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงมีอำนาจเต็มในฐานะผู้แทนของรัฐ ทั้งในการตัดสินใจและการดำเนินการ และมีผลผูกพันต่อรัฐ การบอกเลิกของนายสุวิทย์จึงมีผลในทันทีที่ได้แสดงการบอกเลิก
ประการที่สี่ พฤติการณ์ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ผู้ซึ่งมีอำนาจเต็มในฐานะตัวแทนของรัฐ (๑) ได้แถลงด้วยวาจาอย่างเป็นทางการในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (๒) ได้ยื่นหนังสือบอกเลิกถึงผู้อำนวยการยูเนสโก
     การแถลงในที่ประชุมเป็นการประกาศให้รัฐภาคีทั้งหมดรับทราบโดยทั่วกัน และอย่างชัดแจ้งถึงการบอกเลิกของประเทศไทย มีผลทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย และมีผลยิ่งกว่าการทำหนังสือแจ้งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พฤติการณ์ทั้ง ๒ ข้อ จึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงการแจ้งเจตจำนงค์เบื้องต้น แม้ในหนังสือที่ส่งถึงผู้อำนวยการยูเนสโกจะมีข้อความระบุในตอนท้ายว่า “เอกสารการบอกเลิก (instrument of denunciation) จะถูกส่งถึงท่านในกำหนดเวลา” ส่วนนี้เป็นแต่เพียงการส่งหนังสือยืนยันสำทับอีก ครั้งเท่านั้น ซึ่งกระทำได้โดยนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่านสภาฯ แต่ประการใด โดยหลักที่ว่าการบอกเลิกเป็นการยกเลิก ไม่รับภาระ ขณะที่การให้สัตยาบันเป็นการรับภาระจึงต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ ฉะนั้น รัฐบาลสามารถส่งหนังสือยืนยันสำทับได้ทันที แต่จะกระทำหรือไม่ก็ได้ เพราะการบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ มีผลแล้ว อนึ่ง การส่งหนังสือโดยผู้อำนวยการยูเนสโกขอให้ไทยทบทวนก็ยืนยันในข้อนี้
การบอกเลิกของนายสุวิทย์ คุณกิตติ โดยการแถลงด้วยวาจาในที่ประชุม และการยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการยูเนสโก มีผลบังคับแล้ว คือไทยพ้นจากการเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทั้งโดยพฤตินัย นิตินัย โดยสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทุกประการ แต่จะขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อ ๑๒ เดือนให้หลัง นับจาก ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป และระหว่างนี้ ความผูกพันใด ๆ ของประเทศไทยต่ออนุสัญญา ขึ้นกับการตัดสินใจของไทยว่าจะกระทำตามหรือไม่ประการใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง