บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร! โดยดร.ไก่ Tanond

จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร! โดยดร.ไก่ Tanond

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 23 มีนาคม 2011 เวลา 1:38 น.
จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร!

หากเราได้ย้อนกลับไปเกือบ80ปี ที่คนไทยและประเทศไทยเราได้เริ่มใช้คำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ Constitutional Monarchyนั้น พวกเราได้เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลมาแล้วเกือบ 60 คณะ มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 27 คน โดยที่ประชาชนทั้งปวง มิเคยได้รับมอบอำนาจขององค์รัชกาลที่7 ที่ได้ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อการนี้

กอปรกับการเลือกตั้งตลอดเกือบ 80 ปีที่ผ่านมา รุปแบบการปกครองชาติบ้านเมือง ก็หาได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยนี้ไม่ เพระาเมื่อครั้งที่เริ่มต้น คณะราษฎร์ผู้ทำการเปลี่ยนแปลง ก็ได้เปิดศึกแย่งชิงอำนาจกันเองภายใน ด้วยการกวาดต้อนข้าราชการ และพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นตามมา เข้ามาเป็นพวกพ้องของตน จนทำให้แปรเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยนี้ ไปเป็นระบอบอำมาตยา คณาธิปไตย เป็นใหญ่กันครองเมือง จวบจนเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติโดยประชาชน 2516 และเหตุความรุนแรงทางการเมือง 2519 กลุ่มทุนได้รุกเข้ามาสนับสนุนกลุ่มอำมาตยา คณาธิปไตย เพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในทางอ้อม เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบธนาธิปไตย

เริ่มต้นปี2544 คนไทยเราได้ร่วมใจกันเข้าคูหาเลือกตั้ง เลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามา นับจากวันนั้นผ่านเลยมาถึงวันนี้ ระบอบธนาธิปไตยได้ก้าวไกล ผ่านเลยจากการมีกลุ่มทุนสนับสนุน มาเป็นการมีกลุ่มทุนเข้าร่วมทางการเมืองในทางตรง เพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้โดยตรง จนระบบการเมืองทั้งระบบในตกเข้าสู่วงจรของทุนสามานย์ กลายเป็นธุรกิจการเมืองอย่างเต็มตัว พรรคการเมืองขั้วสำคัญๆได้ผันระบบการเมือง ได้แปลงวัฒนธรรมทางการเมือง ให้เป็นไปในรูปแบบของธุรกิจ ที่อิงกำไร อิงผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง มองข้ามมองผ่านหลักการสำคัญของความเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน ก้าวข้ามการกินดีอยู่ดีของประชาชน มาเป็นความร่ำรวยของตนเองและพวกพ้อง

เช่นนี้แล้วเมื่อมาถึงวันนี้ เมื่อกลไกหลักในทางการเมืองได้ปักหลักอยู่กับการลงทุน การหาทุนคืนบวกก้อนกำไร การเมืองข้างหน้าจึงหนีไม่พ้น จะมีลักษณะของโจรครองเมือง หรือ โจราธิปไตย Kleptocracy ที่ไม่มีชาติบ้านเมืองใดเขาต้อนรับ ทว่ามักถูกบีบบังคับ กดดันให้ยอมรับจากผู้ปกครองประเทศตนที่เป็นเผด็จการอย่างรุนแรง ที่ทว่าในวันนี้ก็ได้เริ่มมีการแปลกแยก ขัดขืนต่อสู้จากประชาชนการในกลุ่มประเทศอัฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง จนถึงวันนี้มีจำนวนมากมายเป็นสิบๆประเทศไล่เรียงกันไป

ในวันนี้ จึงเป็นโอกาสที่เราจำต้องตัดสินใจปฏิเสธมิให้วงจรอุบาทว์ ทางการเมืองนี้ให้ดำรงอยู่อีกต่อไป โดยควรพร้อมใจกัน มองไปที่เหตุและผลของความเสื่อมสลายทางการเมือง ความชั่วร้ายต่างๆนาๆที่ได้ถูกเปิดโปง โดยภาคประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ความเลวร้าย ชั่วร้ายที่นับวันจะยิ่งรุนแรงใหญ่โตเหล่านี้ กำลังเป็นที่รับรู้กันดีโดยประชาชนผู้ตื่นรู้ทางการเมือง แล้วพี่น้องร่วมชาติท่านอื่นๆจะไม่ลองเปิดใจ ให้ความสำคัญกับความต้องการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้บ้างเชียวหรือ? เปิดใจรับฟังเพื่อให้ได้ยินกันบ้าง ว่าที่ท่านเห็นว่าดีกับที่ภาคประชาชนเห็นว่าเลว มันเป็นเช่นไร? จะไม่เห็นพ้องต้องกันแต่ก็ขออย่าได้ขัด เพราะคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลง จะเป็นที่ประจักษ์แก่ตัวท่านและประชาชนโดยรวม โดยมีประเทศชาติเป็นที่ตั้งและประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ไฟกำลังไหม้ประเทศ (ตาโป๋เป่าปี่)

ไฟกำลังไหม้ประเทศ (ตาโป๋เป่าปี่)

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 22 มีนาคม 2011 เวลา 22:17 น.
 ถ้าประเทศไทยเปรียบเหมือนบ้าน ก็ต้องกล่าวได้ว่าบ้านหลังนี้กำลังถูกไฟไหม้ ถ้าไม่ช่วยกันรีบดับก็คงจะวอดลงทั้งหลังในไม่ช้านี้

ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจเท่าที่ควรกับการเล่นไม้ขีดไฟของเด็กในบ้าน นึกว่าเด็กคนนี้ท่าทางเรียบร้อยหน้าตาหล่อเหลา คงไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร อยากทำอะไรก็ไม่ว่ากล่าวห้ามปรามจนเด็กเคยตัวจุดไม้ขีดไฟเล่นกับเพื่อนๆซึ่งเป็นเด็กด้วยกันในบ้านด้วยความสนุกสนาน บ้านหลังนี้ก็คงต้องวอดลงทั้งหลัง ถ้าดับกันไม่ทัน

ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาพนี้

ตลอดเวลากว่าสองปีที่ประเทศไทยมีเด็กเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า "กฎเด็ก" ที่วางไว้แต่ละข้อล้วนแล้วแต่เป็นกฎของการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ปรากฏการกระทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันอะไรกับบ้านเมืองวันๆ เอาแต่พูด และเมื่อพูดแล้วก็จำไม่ได้เสียว่าเคยพูดไว้อย่างไรบ้าง

ไม่มีความกล้าหาญในการต่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาเผชิญหน้า นอกจากหลบเลี่ยงไปทางโน้นทีทางนี้ที แม้กระทั่งปัญหาของแผ่นดินที่สืบเนื่องมาจากการสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการยินยอมให้เขมรขยายเขตดินแดนอย่างไม่ถูกต้องชอบธรรม อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ด้านเขาพระวิหาร เด็กคนนี้ก็ทำได้แค่แบ๊ะๆ สนุกอยู่กับถุงยางอนามัยที่นำมาครอบหัวเท่านั้น

บ้านเมืองขณะนี้มีความวิกฤติหนักที่สุด

สาหัสรุนแรงยิ่งกว่ายุคใดที่ผ่านมา

ตั้งแต่ระดับสูงสุดลงถึงระดับรากหญ้า ซึ่งจำแนกให้เห็นได้ดังต่อไปนี้

1. การบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

ภายใต้ความไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ของกลไกรัฐบางส่วน นักการเมืองจำนวนหนึ่ง นักวิชาการจำนวนหนึ่ง สื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ร่วมกันขับเคลื่อนปลุกระดมให้เกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงขั้นอาฆาตมาดร้ายหวังโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ พฤติกรรมดังกล่าวขยายตัวมากขึ้นทุกวันถึงขั้นยุยงชาวบ้านหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงไม่ให้ติดรูปไว้ในบ้าน

มีการใช้สื่อ โดยเฉพาะเว็บไซต์ ใช้แผ่นซีดีเอกสารและแผ่นปลิว รวมทั้งการพ่นสีตามกำแพงหรือที่สาธารณะ ใช้วิทยุชุมชนอย่างแยบยลเพื่อบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบละเลยหรือจัดการแบบเสียไม่ได้

2. ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ

ยุคนี้ พ.ศ.นี้เป็นยุคที่ผู้คนในชาติบ้านเมืองเกิดความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะผู้คนในขบวนการหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น "รัฐไทยใหม่" ซึ่งมีความหมายที่แอบแฝงไว้อย่างมีนัยที่สำคัญในรูปแบบที่ไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กับผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้น ปราศจากนักการเมืองทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่ประพฤติปฏิบัติตน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ตน ไม่ใช่ประโยชน์ของส่วนรวมในประเทศชาติ ขบวนการของคนกลุ่มนี้มีความต้องการอย่างแรงกล้าในการพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกำลังถูกบ่อนทำลายอย่างหนักในขณะนี้

ทั้งสองกลุ่มเดินไปด้วยกันไม่ได้

ถ้าพวกหนึ่งถือความสามัคคีในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และอีกพวกหนึ่งถือความสามัคคีเพื่อพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสองพวกดังกล่าวไม่มีหนทางจะสามัคคีกันได้ แม้จะมีนักการเมืองในรัฐบาลชุดนี้จะพยายามเรื่องปรองดอง

วาทกรรมปรองดองได้ยินบ่อยขึ้น

เป็นวาทกรรมในลักษณะให้ยอมๆกันบ้าง ให้อภัยซึ่งกันและกัน แม้กระทั่งการยกโทษให้ นิรโทษให้ก็มี

ความปรองดองเป็นสิ่งที่ดี แต่จะปรองดองในเรื่องอะไร ปรองดองกับใคร เป็นสิ่งที่ต้องแยกแยะ เพราะความถูกกับความผิดนั้นจะปรองดองกันไม่ได้ ถ้าความผิดกับความถูกปรองดองกันได้แล้ว ต่อไปนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีคุกตะรางไว้ขังคนทำผิดให้หลาบจำ และตราบใดที่ยังไม่มีการลงโทษและสำนึกผิด ตราบนั้นกฎหมายก็จะไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป ต้องเลิกพูดกันว่าจะทำให้เป็นนิติรัฐ

การแก้ไขปัญหาความแตกแยกของคนในชาติแบบนี้ ไม่ใช่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์โดยรวมของบ้านเมืองแต่อย่างใด

นักการเมืองบ้านเรายุคนี้เป็นนักการเมืองที่มีความต้องการพ้นผิดจากสิ่งที่เคยถูกต้องห้าม ถ้าต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญก็คิดอ่านกันแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สิ่งต้องห้ามนั้นหมดไป แม้กระทั่งการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาที่นักการเมืองประสบในการทำงานหรือการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไป ก็สามัคคีปรองดองกันแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ให้เป็นไปในทิศทางที่ตนต้องการ อย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้

ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ผู้ถือธรรมนำหน้าเท่านั้นจะเป็นฝ่ายชนะจากการต่อสู้ และจะเป็นการชนะที่ถาวรไม่ใช่ชนะเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเหมือนพวกอธรรม

3. ปัญหาระหว่างไทยกับเขมร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศเขมรขณะนี้ สืบเนื่องมาจากการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งฝ่ายไทยสมับรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ไปออกคำแถลงการณ์ร่วมกันกับเขมร ยินยอมให้เขมรเป็นผู้ขอจดทะเบียนได้ฝ่ายเดียว และกำลังจะมีการจัดให้มีการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2,800 ไร่ หรือ 4.6 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของ

พื้นที่ดังกล่าวนี่ปรากฎว่าได้มีกำลังทหารเขมร และประชาชนชาวเขมรเข้ามาตั้งค่าย ตั้งชุมชน สร้างวัด ตัดถนนรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยเป็นระยะเวลานานมาแล้วหลายปี จากผลที่สืบเนื่องมาจากการไปทำบันทึกข้อตลลงร่วมกับเขมร ที่เรียกว่า เอ็มโอยู 2543 ซึ่งรัฐบาลไทยโดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำใขณะนั้นเป็นผู้ทำขึ้นกับเขมร

ข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียวโดยฝ่ายไทยไม่ยอมรับมาก่อน จากแผนที่ดังกล่าวนี้แหละที่จะทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนให้เขมรตามแนวชายแดนโดยตลอด เป็นเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านไร่ รวมเนื้อที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร

ความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในปลายปี 2553 ที่คนไทย 7 คนถูกทหารเขมรจับกุมระหว่างเดินทางไปดูพื้นที่ที่บริเวณบ้านหนองจาน ตำบลโนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งชาวบ้านผู้มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องจากทางราชการไทย ได้ร้องเรียนว่ามีพวกเขมรเข้ามายึดครองอยู่

รัฐบาลไทยนอกจากไม่ดำเนินการในสิ่งที่ควรจะทำ เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ถูกจับในเขตไทยแล้ว ยังมีรัฐมนตรีหลายคนในคณะรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ว่าคนไทยทั้ง 7 ถูกจับในเขตเขมร จนทำให้เขมรนำตัวไปขึ้นศาลเขมรพิพากษาและยังติดคุกอยู่ในเขมรขณะนี้สองคน

ความไม่พอใจของประชาชนคนไทยที่มีต่อเขมรและต่อรัฐบาลไทย ได้ปะทุขึ้นอย่างรุนแรง รวมตัวชุมนุมด่าว่าทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลเขมร ติดต่อกันมาเป็นแรมเดือนในขณะนี้ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกข้อตกลง เอ็มโอยู 2543 ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก และให้ผลักดันทหารเขมรและคนเขมรออกไปจากชายแดน

ในขณะที่รัฐบาลไทยดูจะเก้ๆกังๆในการปกป้องคนไทยที่ถูกจับกุม ซึ่งเท่ากับยิมยอมให้ศาลเขมรมีอำนาจเหนือดินแดนไทย ไม่แยแสกับหลักฐานที่นำมาแสดงสิทธิ์ในพื้นที่ทำกินของตน ไม่ใส่ใจกับการที่มีทหารเขมรและคนเขมรบุกรุกเข้ามาอยู่ในเขตไทย ปล่อยให้เขมรไปฟ้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ทั้งการทูตและการกระทำเป็นรองเขมรมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดเรื่อง มาจนกระทั่งขณะนี้ เป็นเรื่องใหญ่ที่จะขยายตัวไปสู่ความรุนแรงได้ทุกเมื่อ

4. ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปัญหาความไม่สงบที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ โดยเฉพาะในจังหวะยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นั้น นับวันจะเป็นปัญหาที่คุกคามความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติและประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่นมากขึ้น และไม่มีท่าทีว่าจะสงบลงได้ ภายใต้การทำงานของรัฐบาลที่ยังยุ่งอยู่กับปัญหาความอยู่รอดของตน

แม้จะมีการนำ พรบ.ว่าด้วยการบริหารในภาวะฉุกเฉิกมาบังคับใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ก็ตาม สถานการณ์รุนแรงก็มิได้ลดน้อยลง ซ้ำกลับทวีรูปแบบแห่งการต่อสู้ และการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่นั่นมากขึ้น

ผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พัฒนารูปแบบในการต่อสู้ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ คล้ายคลึงกับการก่อการร้ายที่มีอยู่ในประเทศต่างๆหลายแห่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างสูงในเรื่องการได้รับความช่วยเหลือจากขบวนการก่อการร้ายบางขบวนการ ซึ่งปฎิบัติการอยู่ในประเทศบางประเทศขณะนี้

มูลเหตุสำคัญอันเป็นแรงจูงใจให้เกิดความไม่สงบ หรือการก่อการร้าย จนสามารถทำให้มีผู้มาเข้าร่วมขบวนการด้วยความสมัครใจ สามารถอุทิศชีวิตของตนเพื่อผลสำเร็จตามอุดมคติ หรือเป้าหมายนั้น มีที่มาจากหลายสาเหตุ อันเป็นแรงจูงใจให้มีความกล้าหาญพอที่จะจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปกติแล้วมีกำลังเหนือกว่า

อาจมีที่มาจากพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของชนชาติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อถือ หรือมีที่มาจากการกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายอำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง จนต้องออกมาต่อสู้กับเจ้าหน้าที่

รัฐบาลชุดนี้ค่อนข้างขาดความเอาใจใส่และจริงจังในการแก้ไขปัญหา ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลาจากระดับสูง ขาดการประเมินสถานการณ์ตามระยะเวลา ยังคงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่แก้ไขกันเอง

เป็นกองไฟกองใหญ่ที่สุมไหม้อย่างต่อเนื่อง จนยากที่จะดับได้ง่ายๆจากการบริหารจัดการของรัฐบาลชุดนี้
  5. ปัญหานักการเมืองไร้คุณภาพ

การเมืองจะดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับนักการเมืองเป็นสำคัญ ไม่ว่านักการเมืองนั้นจะอยู่ในฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะนักการเมืองดังกล่าวมีหน้าที่สำคัญในการบริหารจัดการประโยชน์สาธารณะ ซึ่งมีผลโดยตรงกับประชาชน

บ้านเมืองขณะนี้มีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ที่ไร้ประสิทธิภาพของนักการเมืองส่วนใหญ่ ความสงบสุขโดยรวมก็ดี ความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองมีปัญหาทุกด้าน ทั้งจากภายนอกและภายใน สืบเนื่องมาจากการทำงานของนักการเมืองที่ไม่เข้าใจปัญหา และยุ่งอยู่กับเรื่องของตัวเองมากกว่าเรื่องของส่วนรวม

ความทุจริตคดโกงที่เกิดจากการกระทำของนักการเมืองส่วนใหญ่ในยุคนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ผู้นำทางการเมืองหลายพรรคเป็นบุคคลที่สังคมขาดความเชื่อถือในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

กรอบกติกาทางการเมืองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญในการปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้นไม่บรรลุผลตามต้องการ แม้จะได้มีการวางกฎเกณฑ์ต่างๆไว้อย่างดีก็ตาม แต่นักการเมืองจำนวนไม่น้อยก็แหกกฎด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อเข้ามาเป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง

นักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีหิริโอตตัปปะ แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะมีความซื่อตรงในการทำงาน และประชาชนที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ต่างก็ต้องตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองเหล่านี้

สำหรับประชาชนนั้นจะเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะต้องตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองพวกนี้ โดยเฉพาะประชาชนที่ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร หรือยังยากจนมีความเดือดร้อนในการครองชีพ คนเหล่านี้จะเป็นสะพานให้นักการเมืองไม่ดีเหล่านั้นเดินข้ามเข้าสู่อำนาจได้ง่ายๆ อย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้จากนักการเมืองประเภทนี้ที่มีชื่อเรียกกันในความหมายว่า บุญทุ่ม บุญเลี้ยง บุญเยี่ยม และ บุญถม เป็นต้น

บุญทุ่ม คือคนทุ่มไม่อั้นในการหาเสียง

บุญเลี้ยง คือคนชอบจัดเลี้ยงหาคะแนน

บุญเยี่ยม คือคนที่ขยันผิดปกติไปพบปะ

บุญถม คือคนที่โถมทุกอย่างเพื่อคะแนน

เทศกาลเลือกตั้งแต่ละครั้งจะพบนักการเมืองในตระกูล "บุญ" มากหน้าหลายตาในชุมชนหรือหมู่บ้านต่างๆ แม้ในชนบทห่างไกลทุรกันดารก็ต้องดั้นด้นออกไปประกาศบุญ

การซื้อเสียงในยุคนี้จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรุนแรงยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมา ซื้อทั้งตัวผู้จะลงรับการเลือกตั้งและผู้มีคะแนนเสียง เพื่อให้พรรคการเมืองของตนชนะการเลือกตั้ง มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล แล้วก็สุมหัวกันหาประโยชน์ตน

ปัญหานักการเมืองไร้คุณภาพ จึงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศชาติบ้านเมืองขณะนี้เป็นอย่างมาก ถ้าไม่สามารถยับยั้งนักการเมืองอย่างนี้เพื่อมิให้ได้เข้ามามีอำนาจรัฐ ก็เป็นอันหวังได้ว่าประเทศชาติบ้านเมืองของเราย่อมถึงกาลวินาศและโอกาสสิ้นชาติในที่สุดก็ย่อมเป็นไปได้เช่นเดียวกันอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ

การเลือกตั้งจึงไม่ใช่คำตอบ

แม้จะได้มีการพูดกันว่าในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งก็ตาม เพราะตราบใดที่การเลือกตั้งยังเต็มไปด้วยการซื้อเสียงอย่างเช่นในขณะนี้ ตราบนั้นความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งย่อมเกิดขึ้น ความเป็นประชาธิปไตยแท้จริงจึงไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่นักเลือกตั้งทั้งหลายชอบกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่จะเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมที่ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับบ้านเมือง

รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่ประกอบไปด้วยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นการเลือกตั้งที่พูดกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่าได้มีการใช้เงินใช้ทองกันมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจอะไรที่การบริหารบ้านเมืองของนักการเมืองพวกนี้จะเต็มไปด้วยเรื่องอื้อฉาวของความทุจริตคดโกง

เป็นความทุจริตคดโกงที่มากกว่ายุคก่อนๆ

ที่สำคัญก็คือ แกนนำบางคนในพรรคหลักของรัฐบาล มีอดีตความเป็นมาที่สังคมไม่ได้ให้ความเชื่อถือในด้านความสัตย์ซื่อ การบริหารงานไม่เป็นไปในแบบนิติรัฐ ความสกปรกเลอะเทอะทั้งหลายถูกซุกไว้ใต้พรม

นักการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติก็เช่นเดียวกัน ไม่ทำหน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมกับหน้าที่ ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางเสื่อมเสียทั้งการพูดและการกระทำ ดังจะเห็นได้บ่อยๆ ในการใช้กิริยาวาจาด่าทอกันด้วยคำหยาบคาย เตะถีบชกต่อยกันให้เห็นในสภาบ่อยครั้ง แม้กระทั่งการโกหกมดเท็จกลางสภา

นี่คือสภาพความวิกฤติทางการเมือง ที่เกิดจากนักการเมืองที่ไร้คุณภาพ สร้างความล้มเหลวให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองทุกด้าน ไม่ผิดอะไรกับไฟที่กำลังลุกไหม้ประเทศของเราอยู่ในขณะนี้ ถ้าดับไม่ทันหรือไม่รีบดับ ไม่ว่าใครก็อยู่ไม่ได้

 6. ปัญหาความล้มเหลวของราชการ

ตลอดเวลาสิบปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปัญหาการทำงานตามหน้าที่ของข้าราชการแทบทุกฝ่าย ได้ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสืบเนื่องมาจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ไร้คุณธรรม จริยธรรมนำมาซึ่งความไม่ถูกต้องชอบธรรม สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วหน้า

บ้านเมืองปัจจุบันต้องเป็นอย่างนี้มาร่วมสิบปี ก็เพราะคนถืออำนาจรัฐในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้อำนาจหน้าที่ไปในทิศทางที่ตนจะได้ประโยชน์ทุกอย่างๆ ตามที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านการเมือง ด้วยการเข้าไปครอบงำ บงการทุกอย่างให้เป็นไปตามความต้องการ ระบบราชการถูกแทรกแซงด้วยการแต่งตั้งโยกย้าย สับเปลี่ยนตัวบุคคลในแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่าพลเรือน ตำรวจ หรือทหาร เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นทำงานในอำนาจหน้าที่เป็นไปตามที่ ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้

เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเละเทะในระบบราชการ ไม่เอื้อประโยชน์แก่ส่วนรวมมาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงขณะนี้

ข้าราชการทุกฝ่ายถูกใช้เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมือง ทำงานให้นักการเมืองตามที่นักการเมืองต้องการ แม้จะไม่ถูกต้องกับอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับจากนักการเมืองเหล่านั้น

เป็นเกราะกำบังให้นักการเมืองอีกด้วย ถ้านักการเมืองเหล่านั้น ตกอยู่ในภาวะอันตราย เดือดร้อน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายทหาร ที่ได้ดิบได้ดีในตำแหน่งหน้าที่การงานจากนักการเมือง

บ้านเมืองทุกวันนี้จึงเดือดร้อนไปทั่ว

โดยเฉพาะตำรวจ และทหารได้ตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างหนักจากสังคมขณะนี้ เพราะตำรวจหรือทหารบางคนไม่ทำหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นอกจากคอยช่วยเหลือหรือเป็นเกราะกำบังให้

ชื่อเสียงโดยรวมของตำรวจและทหารจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งๆ ที่ตำรวจและทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ไม่เป็นผลดีต่อความสมัครสมานสามัคคีในการรักษาความสงบเรียบร้อย และการปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ

ความพยายามของนักการเมืองบางคน บางฝ่ายบางพวก ที่ดึงเอาตำรวจหรือทหารเข้าไปเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของตน จึงเท่ากับการเข้าไปแบ่งกลุ่ม แยกพวก ในหมู่ตำรวจและทหาร ไม่ว่าความพยายามที่ว่านี้จะกระทำด้วยรูปแบบใด เช่น การสนับสนุนหรือแอบสนับสนุนอย่างลับๆ แก่ตำรวจหรือทหารบางคนบางกลุ่มบางพวก แบ่งปันผลประโยชน์ทั้งทางด้านตำแหน่งหน้าที่และการเงินการทอง การกระทำของนักการเมืองดังกล่าวจึงเป็นการทำลายตำรวจและทหารทั้งทางตรงและทางอ้อม นำมาซึ่งความเสียหายใหญ่หลวงต่อระบบราชการ ซึ่งกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

เพราะนำไปสู่การเผชิญหน้ากันได้ง่าย

อำนาจเพียงตัวเดียวที่ระบายจิตใจของคนบางคน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือทหาร ให้ดำมืดลงเรื่อยๆ เกิดความทะยานอย่างไร้ขอบเขตอย่างที่กำลังเห็นอยู่ในขณะนี้

โดยเฉพาะทหารในกองทัพ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่การงานในความรับผิดชอบสูงในบ้านเมือง ถ้าทหารในกองทัพ โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับสูงยอมตนรับใช้นักการเมืองเลวๆ เห็นแก่ประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ทำหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้ว ก็เท่ากับร่วมมือกันเผาบ้านเผาเมืองอย่างน่าละอายที่สุด

อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้

ละเลยไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ประการ ตามมาตรา 77 สรุปได้คือ

1. ปกป้องพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

2. ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชน

3. รักษาเอกราชอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติ

4. ช่วยพัฒนาประเทศ

กองทัพมีหน้าที่หลัก 4 ประการ ดังกล่าวนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกองทัพในการทำงานอย่างชัดเจน กองทัพจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องมีใครร้องขอ หรือสั่งการ

การไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ จะจงใจหรือไม่ใส่ใจก็ตาม ความผิดย่อมเกิดขึ้นตามมาเช่นเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดไว้แล้ว

มรดกบาปที่เขาพระวิหาร

มรดกบาปที่เขาพระวิหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรในระยะนี้ พูดได้ว่ากำลังเสื่อมโทรมตกต่ำลงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก็สืบเนื่องมาจากการเอาปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่บนเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั่นเอง ภายใต้ความเห็นดีเห็นชอบของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ผู้เป็นหุ่นเชิดของ ทักษิณ ชินวัตร โดยนายนพดล ปัทมะ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น เป็นผู้ไปลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมกับเขมร ยินยอมให้เขมรนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้เพียงฝ่ายเดียว

ลำพังการขึ้นทะเบียนดังกล่าวคงจะไม่เป็นเรื่องบานปลายออกไปมากขึ้นอย่างทุกวันนี้ ถ้าไม่มีเรื่องการไปทำความตกลงร่วมระหว่างไทยกับเขมรที่เรียกว่า เอ็มโอยู 2543 ซึ่งรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ดำเนินการ โดยปล่อยให้มีการใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นเครื่องใช้ในการพิจารณาเส้นเขตแดนของสองฝ่าย นำมาซึ่งปัญหาการที่จะต้องเสียดินแดนไทยไปไม่น้อยกว่า 1.8 แสนไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งกำลังจะเป็นพื้นที่ในการบริหารจัดการขององค์การยูเนสโกเกี่ยวกับการเป็นมรดกโลกต่อไปในเดือนมิถุนายน ศกนี้

ทั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของ ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ต่างก็เป็นต้นเหตุสำคัญของมรดกบาปครั้งนี้ ให้ไว้กับประเทศทั้งสอง

โดยเฉพาะ ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของเหตุนี้ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยยกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไปประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเขมรที่เมืองพนมเปญเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 มีวาระการประชุมสำคัญอยู่ที่การพัฒนาเขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในขณะที่มีวาระแฝงของ ทักษิณ ในการหาประโยชน์ด้านพลังงานในทะเลไทยเขมร ที่มีมูลค่ามหาศาลจากก๊าซและน้ำมัน

เป็นวาระแฝงที่ตรงใจนายฮุนเซ็น ซึ่งกำลังเตรียมการให้สัมปทานในการขุดค้นก๊าซและน้ำมันกับต่างประเทศ มาเป็นประโยชน์ของตน

วิน - วิน ทั้งสองฝ่าย

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นมาอันเป็นเหตุสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ที่นายนพดล ปัทมะ ลูกน้อง ทักษิณ ไปออกคำแถลงการณ์ร่วมไทยเขมร ยินยอมให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวในครั้งนั้น

ความพยายามที่จะผลักดันให้มีการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้น ความจริงแล้เวมิได้มีเฉพาะเขมรกับไทยเท่านั้น ถ้าได้ศึกษาการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก ตั้งแต่ครั้งที่ 31 พ.ศ.2550 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ จนถึงครั้งที่ 33 ในปัจจุบัน จะพบว่ามีประเทศต่างๆซึ่งมีบทบาทสูงอยู่ในคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น ซึ่งประเทศดังกล่าวเหล่านี้เป็นที่ทราบดีทั่วไปว่า เป็นกลุ่มประเทศหลักที่ได้รับสัมปทานการลงทุนด้านธุรกิจวัฒนธรรมรายใหญ่ในเขมร ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการผลักดันให้ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนโดยเร็วที่สุด และไม่คำนึงถึงเรื่องปัญหาเขตแดนที่กำลังเป็นปัญหาอยู่

มติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ตั้งแต่ครั้งที่ 31 เป็นต้นมานั้น ได้กำหนดขั้นตอนในการใช้บังคับแก่ประเทศภาคีซึ่งมีไทยอยู่ด้วยไว้เรียบร้อยแล้วว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ประเทศไทยต้องเดินตามทุกอย่าง

การอนุมัติให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยปราศจากพื้นที่กันชนและพื้นที่บริหารจัดการที่ชัดเจน ได้นำมาสู่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรอยู่ในขณะนี้ ถึงขั้นมีการปะทะกันแล้ว บาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย รวมถึงราษฎรในบริเวณใกล้เคียง และสร้างผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงกว้างขวาง

แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกก็ยังคงดึงดันเดินหน้าต่อไปที่จะจัดให้มีการบริหารจัดการต่อไปให้ได้ ทั้งยังละเมิดต่อ "แนวทางดำเนินงานตามอนุสัญญามรดกโลก" อันเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ต้องยึดถือ เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีการติดตามสภาพการอนุรักษ์ทรัพย์สินที่เป็นมรดกโลกเอาไว้อย่างชัดเจน

ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ต้องลบชื่อออกจากบัญชีมรดกโลก เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกทำให้เสื่อมสภาพ จนถึงขนาดที่จะสูญเสียคุณสมบัติ ซึ่งได้รับการบันทึกไว้แล้ว และพื้นที่ของมรดกโลกถูกคุกคามจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

แต่ขณะนี้ทั้งเขมรและยูเนสโกก็ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ยังคงตั้งหน้าตั้งตาจะดำเนินการต่อไปให้ได้เพื่อประโยชน์ตนที่จะได้รับ ไม่ว่าเขมรหรือประเทศต่างๆที่เป็นภาคีมรดกโลก ซึ่งเบื้องหลังแท้จริงต้องการอะไรก็ได้พูดมาให้ฟังแล้ว

ข้อเรียกร้อง 3 ประการของประชาชนในนามของ "กลุ่มพันธิมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งกำลังชุมนุมกันอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา รวม 3 ข้อ คือให้รัฐบาลยกเลิกข้อตกลง เอ็มโอยู 2543 ให้ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก และให้ผลักดันกองกำลังและคนเขมรที่บุกรุกเข้ามาอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร นั้นจึงเป็นข้อเรียกร้องที่ถูกต้อง เป็นผลประโยชน์แห่งชาติโดยแท้

แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลนี้ก็ยังเมินเฉย

ยัดเยียดมรดกบาปนี้ให้ประชาชนต่อไปเพียงพื่อ "มรดกบุญ" ที่คนบางคนในรัฐบาลชุดนี้จะได้รับจากเขมรต่อไปเท่านั้นเอง

จริยะธรรมนักการเมือง

จริยธรรมเป็นแขนงหนึ่งในวิชาปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความดีงามของมนุษย์ที่จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด จริยธรรมจึงหมายถึงการแยกสิ่งถูกจากผิด แยกความดีออกจากความชั่ว ความหมายในพจนานุกรมไทยระบุไว้ว่า จริยธรรมนั้นหมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติที่มีศีลธรรมอันดีงาม

วิชาชีพแต่ละสาขามักจะมีการกำหนดความหมายของจริยธรรมในแต่ละอาชีพไว้กำกับการทำหน้าที่ของบุคคลแต่ละสาขาอาชีพซึ่งรวมทั้งนักการเมืองด้วย จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดที่ผ่านการรับรองของสภาเมื่อปี 2550 ตามมาตรา 279 ได้บัญญัติไว้ว่า มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ได้กำหนดขึ้น

หลังจากนั้นได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง ปี 2551 ออกมาบังคับใช้โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมาซึ่งระเบียบดังกล่าวนี้นอกจากกำหนดค่านิยมหลักของนักการเมืองไว้ว่าต้องมีจิตสำนึกที่ดีแล้วยังกำหนดว่าต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน

ทั้งต้องวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนและยื่นเรื่องต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ในต่างประเทศนั้นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมักจะมีจริยธรรมสูง ถ้าหากเขามีการกระทำผิดแล้วนักการเมืองในประเทศที่เจริญจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบด้วยการลาออกโดยทันทีซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการกระทำที่มีมาตรฐานทางจริยธรรมทางการเมืองที่มีน้ำใจที่ดีงามในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ และคงเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมในทางการเมืองของสังคมที่พัฒนาแล้ว

หายนะบันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ

หายนะบันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ
โดย Thepmontri Limpaphayom เมื่อ 22 มีนาคม 2011 เวลา 0:18 น.

ช่วยกันหยุดบันทึกรายงานการประชุม JBC  ๓ ฉบับ
ที่ทำให้ประเทศไทยของเราสูญเสียดินแดน

               ผมหวังว่าเอกสารทั้ง ๒ หน้านี้จะทำให้ประชาชนคนไทยได้ตื่นจากความฝันที่ประเทศไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนอีกแล้ว  นับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ประเทศของเราไม่เคยตกอยู่ในสภาพย่ำแย่แบบนี้เลย  ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ๓ ฉบับ หรือที่ต่อแต่นี้ไปจะเรียกอย่างสั้นๆว่า  เจบีซี ๓ ฉบับ   ผมได้ใช้เวลาในการศึกษารายงานการประชุมเจบีซีทั้ง  ๓  ฉบับแล้วพบว่า ประเทศชาติอันเป็นที่รักของเรากำลังจะสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช   เป็นการสูญเสียดินแดนที่เกิดจากความบกพร่องและความไม่เข้าใจของนักการเมืองและรัฐบาลหลายต่อหลายรัฐบาล   ความเข้าใจที่สับสนคิดว่า   ๑. พรมแดนไทยกัมพูชายังมิได้ปักปันเขตแดนแต่ประการใด   ๒.เป็นความเข้าใจอย่างร้ายกาจที่คิดว่าแผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ทั้งๆที่แผนที่ชุดดังกล่าวมีความสมบูรณ์และเป็นแผนที่เก๊ทุกระวาง (คือมิได้นำแผนที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการผสมและประธานของทั้งสองฝ่ายมิได้ลงนามรับรอง)  หลายๆคนอาจได้ยินคำว่า MOU43 ซึ่งก็คือ  “บันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก”  ซึ่งเป็น MOU ที่มิได้ผ่านรัฐสภา อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๒๒๔  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และมิได้ผ่านขัดตอนของการเสนอเรื่องตามลำดับขั้น โดยเฉพาะไม่ได้นำเสนอผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
                MOU43 `จึงเป็นบันทึกความเข้าใจฯ “เถื่อน”และใช้แผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เก๊ทุกระวาง  แต่ความดือดึงและการหวังประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องอย่างหน้ามืดตามั่วย่อมส่งผลให้ประเทศไทยต้องยอมรับเอาแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐  ซึ่งมีอข้อผูกพันทางกฏหมายระหว่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกเสียใหม่ทั้งๆที่ได้มีการจัดทำหลักเขตแดนเสร็จสิ้นไปแล้ว   และแน่นอนที่สุดว่าคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ก็ยอมรับเงื่อนไขของแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐๐  ที่จะมาประกอบการพิจารณาเช่นกัน
                  ตัว MOU43 แม้มิได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก  หากแต่ MOU43 เป็นที่มาของข้อกำหนดตามแผนแม่บทอำนาจหน้าที่ ซึ่งเราเรียกว่า TOR46แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐๐  จึงถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในระดับปฏิบัติการภาคสนาม ซึ่งส่งผลให้เขตแดนของทั้งสองประเทศเกิดการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่าย  โดยเฉพาะฝ่ายกัมพูชาได้ต้องสูญเสียดินแดนโดยพฤตินัยจากฝ่ายกัมพูชานับเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าย่อมเกี่ยวข้องกับบันทึกรายงานการประชุมทั้ง ๓ ฉบับ ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย
             ในรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา  (Joint  Boundary   Commission-JBC )  ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา  เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ  อันได้แก่
     ๑. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน  ๒๕๕๑
     ๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๒       
     ๓. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ  เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
<span>ข้อวิเคราะห์</span><span></span>
๑.ที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา     เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐) ซึ่งมีความเห็นว่า ตัวบันทึกความเข้าใจฯดังกล่าว ยังไม่ผ่านขั้นตอนของรัฐสภาและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐  มาตรา ๒๒๔ที่มาที่ไปของคณะกรรมาธิการฯชุดนี้จึงมิชอบ  ดังนั้นเมื่อนำบันทึกรายงานการประชุมเข้ามาพิจารณาจึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย
๒.    เมื่อได้ทำการศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า  บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระสุ่มเสี่ยงต่อสูญเสียดินแดนโดยเฉพาะเขตพื้นที่ประกาศกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ครอบคลุมเนื้อที่บริเวณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร  และอาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมา กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก  (ซึ่งไทยได้ไปตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทหากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่)และอาจเป็นไปได้ว่าเราจะไม่สามารถเรียกคืนตัวปราสาทกลับมาเป็นของไทยได้อีกเลย  หากปล่อยให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่แล้วนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารการจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหาร
 ๓.เฉพาะบันทึกฉบับที่ ๒และฉบับที่ ๓  ซึ่งมีการแนบ ร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาท (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย) ซึ่งในเบื้องต้นสามารถมองเห็นได้ว่า    มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงซึ่งถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ “เรื่องพิจารณา” (ในภาคผนวก  ๕ หน้า ๑๐๒)  ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทยแต่ฝ่ายเดียว   หากแต่เป็นดินแดนที่พิพาท  (ทั้งๆที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทยยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าคือพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และการเสด็จพระดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาลและบุคคลสำคัญชาวกัมพูชา  ประชาชนและสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่เสาในตัวปราสาทพระวิหาร)   อีกประการหนึ่งคณะกรรมการ มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓  ทั้งๆที่ มรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ  รวมไปถึงการชักชวนให้ไทยซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
            การเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นอันตรายคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑)   ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาภายใต้พื้นฐานสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑
        ๔. การเกริ่นนำ ของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ    ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆคือ ข้อที่ ๕.๓ , ๕.๔และ๕.๕  (หน้า ๒) กล่าวคือ ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔    เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตโสม)  ซึ่งโดยหลักการแล้วควรมีหลักเขตแดนให้แน่ชัดเสียก่อน โดยการไปสำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง ทำไมจึงต้อง ไปเริ่มต้นกันใหม่
                       ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ ... (หน้า ๒)  ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ และภาคประชาชน  กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC  ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่อย่างมากและหลายประเด็น  โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม  การอ่านบันทึกวาจา  หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง  ดังเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆทั้งๆที่ในคณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราฎรและวุฒิสภา  โดยมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดรากฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่อกรณีปราสาทพระวิหาร  ด้วยเหตุนี้จึงน่าที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมกันปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางก่อนจะดำเนินการไปเจรจา

               ๕.  ในการศึกษาของกรรมาธิการฯ ยังไม่สามารถสรุปหรือลงมติใดๆได้เพราะเอกสารที่ใช้ในการประกอบการศึกษาและการตัดสินใจยังไม่เพียงพอ  เอกสารสำคัญๆเมื่อร้องขอไปแล้วยังไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ  กรมแผนที่ทหาร  ทั้งๆที่ได้มีตัวแทนเข้ามานั่งประชุมอยู่ด้วยทุกครั้ง  ถือเป็นการบังคับให้ต้องลงมติโดยปราศจากข้อมูล
               ๖. เนื้อหาในบันทึกการชุมมีเนื้อหาที่บ่งชี้ว่าฝ่ายไทยเสียเปรียบฝ่ายกัมพูชาหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นการย้ายพื้นที่มาดำเนินการในพื้นที่ตอนที่ ๖ ก่อนหรือแม้กระทั่งคำปราศรัยของนายวาร์ คิม ฮอง ประธานกรรมาธิการเขตแดนฯฝ่ายกัมพูชา  ที่กล่าวว่าไทยได้ส่งกองกำลังทหารรุกล้ำเข้าไปยังดินแดนของกัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร  ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม
                ดังนั้นการการพิจารณาของรัฐสภาไทยเพื่อผ่านรายงานบันทึกการประชุม JBC ทั้ง ๓ ฉบับนี้ย่อมทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร  ปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือนธม  และถือเป็นการเริ่มต้นของการสูญเสียดินแดนครั้งใหม่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

เทพมนตรี  ลิมปพยอม
๒๒ มีนาคม

ทำไมการเมือง กับ ภาคประชาชน ถึงขัดแย้งกันร่ำไป? ดร.ไก่

ทฤษฎีการพัฒนาการเมืองและการผุกร่อนทางการเมือง (Political Development And Political Decay) Samuel Huntington  ศาสตราจารย์ แซมมูเอล ฮันติงตัน  นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด  เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังสือเรื่อง “Political Order in Changing Societies   ที่เขียนขึ้นในปีค.ศ.1968  ด้วยการนำเสนอทฤษฎี “ Clash Of Civilizations” ที่แม้จะเป็นทฤษฎีที่เสนอมากว่าสี่ทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้กับสภาพการเมืองภายในประเทศ ทั้งของไทยและประเทศอื่นๆได้เป็นอย่างดี
Samuel Huntington กล่าวว่า “social mobilization หรือ การขยับชั้นทางสังคมนั้น เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น  เปลี่ยนจากเกษตรไปสู่กึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม  และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น  การพัฒนาการศึกษา  สื่อมวลชน  การเกิดชุมชนเมืองมากขึ้น  จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ นั่นคือความตื่นตัวทางการเมือง และการเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน  สภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในส่วนนี้เรียกว่าความจำเริญทางการเมือง (political modernization)[1]
เมื่อ ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นเนื่องจากการขยับตัวของสังคม  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสถาบันทางการเมือง และกระบวนการที่สามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง  หรือตอบสนองต่อความเป็นพลวัตในมิติทางการเมืองดังกล่าว  การสร้าง สถาบันดังกล่าวนี้ได้แก่  การมีรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม  มีกระบวนการเลือกตั้งโดยมีกฎหมายเลือกตั้ง   และการจัดตั้ง 
พรรค การเมืองได้โดยสะดวก  การแสดงประชาพิจารณ์  การแสดงความคิดเห็น  การคัดและการค้าน การต่อสู้เพื่อความถูกต้อง  การกระจายอำนาจ  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การจัดตั้งสถาบันทางการเมือง เพื่อรองรับความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อันเกิดจากความตื่นตัวทางการเมือง  ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ในทางเศรษฐกิจ  และค่านิยม  เป็นความจำเป็นที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การพัฒนาทางการเมือง (political development)
เมื่อใดก็ตาม ที่ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว  ในขณะที่การพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะพัฒนา ในอัตราที่รวดเร็วเท่าเทียมกับความจำเริญทางการเมืองได้  ก็จะนำ ไปสู่ความ เสียดุลของทั้งสองมิติ  การเสียดุลดังกล่าวจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองการ เมือง (political violence) กดดันระบบและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  จนอาจจะถึงขั้นนองเลือดดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 รวมตลอดทั้งเหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535  และ19 กันยายน 2549 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในขอบเขตที่กว้างขวางและลุ่มลึก  แต่การพัฒนาการเมืองยังล้าหลังทั้งในแง่ของโครงสร้าง  และในแง่ของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังไม่ได้ให้ความไว้วางใจ  รวมตลอดทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมภายในและสังคมโลก ทำให้เกิดการเสียดุลอย่างหนัก และนี่คือทฤษฎีที่ยังสามารถจะนำมาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้
ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในรูปของการประท้วงหรือการใช้ความรุนแรงก็ดี  การลอบสังหารทางการเมืองก็ดี  การเรียกร้องอย่างไร้เหตุไร้ผลก็ดี  เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้มาตรการปราบปรามโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายก็ดี  การตีความตะแบงกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมืองก็ดี  ฯลฯ  ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความด้อยพัฒนาในด้านการเมือง ในขณะที่ความจำเริญทางการเมือง ได้พัฒนาสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในบริบทของการเมืองภายในและ ต่างประเทศ  การเสียดุลดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การสะดุดของการพัฒนาระบบการเมืองแบบเปิด  และถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจนำ ไปสู่สภาวะของอนาธิปไตย  ทำให้ระบบการเมืองเสียความชอบธรรมจนประชาชนเสื่อมศรัทธาในระบบ  ถ้าถึงจุดดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องที่อันตราย
 แต่โชคดีที่ประเทศไทยได้ พัฒนามาถึงจุดที่สำคัญคือ  สังคมไทยได้มีข้อสรุปแล้วว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงเป็นระบบการเมืองที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้  จึงจำต้องช่วยกันจรรโลงรักษากันต่อไป  ส่วนข้อบกพร่องต่างๆ ก็ต้องทำการแก้ไขเพื่อปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นกว่าเก่า  ดังนั้น  จุดสำคัญที่สุดในขณะนี้ก็คือการทำให้เกิด ความสมดุลระหว่างความจำเริญทางการเมืองและการพัฒนาทางการเมืองในสังคมไทย
ทฤษฎี ดังกล่าว ได้ถูกนำมาเตือนเจ้าหน้าที่ของจีนก่อนกรณีเหตุการณ์สำคัญในประเทศจีน โดยได้มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชนที่ปักกิ่งและได้มีการยกทฤษฎีของแซม มูเอล ฮันติงตัน มาเป็นตัวอย่าง ขณะนั้นจีนกำลังมีขบวนการสี่ทันสมัย อันได้แก่  อุตสาหกรรม  เกษตร  ป้องกันประเทศ  และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งนโยบายเปิดประตูประเทศ  มีการส่งนักศึกษาจีนไปศึกษายังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก  ขณะเดียวกันนักวิชาการชาวจีน และนักศึกษาชาวจีนก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกผ่านทางการสื่อสาร  โทรทัศน์  และอินเตอร์เน็ต  และสื่อมวลชนของจีนซึ่งมีความอิสระมากขึ้น  สภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามาใช้ จนทำให้เกิดชนชั้นที่มีเงินและเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  การไหลบ่าเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติย่อมนำมาซึ่งความคิดและค่านิยมที่ประเทศ สังคมนิยมแบบจีนไม่เคยได้สัมผัส  ดังนั้น  ถึงจุดๆหนึ่งก็จะมีการเรียกร้องให้มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าเดิม  ทั้งในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ  ซึ่งดูเหมือนว่าจีนจะอนุญาตให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจและในทางสังคม  ซึ่งได้แก่  การดำรงชีวิตตามที่ตนต้องการในขอบเขตที่กำหนด  แต่เสรีภาพในทางการเมืองยังอยู่ภายใต้กรอบของพรรคคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม เมื่อเป็นเช่นนี้ความเสียดุลย่อมเกิดขึ้นระหว่างความจำเริญทางการเมืองและ การพัฒนาทางการเมือง และผลสุดท้ายการเรียกร้องให้ระบบเปิดกว้างขึ้นก็จะตาม มา และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่จะต้องตัดสินระหว่างการ เปลี่ยนแปลงระบบหรือใช้กำลังปราบปราม  อันจะสะท้อนถึงการผุกร่อนทางการเมืองตามทฤษฎีที่ได้กล่าวมาแล้ว
ประมาณ 6 เดือนหลังจากที่มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชน ก็เกิดกรณีนองเลือดที่ เทียนอันเหมิน  เนื่องจากผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีระบบเสรีในทางเศรษฐกิจ  แต่ที่สำคัญเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  มีการเลือกตั้ง  ผู้นำจีนในสมัยนั้นมีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ยอมเปลี่ยนแปลงตามที่เรียกร้องซึ่งอาจจะนำไปสู่กลียุคทางการเมือง  หรือ ใช้วิธีการปราบปรามด้วยวิธีการซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว และนี่คือกรณี ตัวอย่างของการผุกร่อนทางการเมือง ที่ได้มีการทำนายไว้เมื่อสิบกว่าปีว่า  จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเมืองจีน วันหนึ่งจะต้องมีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านโดยประชาชน  เพื่อดูแลการบริหารในหมู่บ้านนั้น  และบัดนี้ก็ได้มีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ   สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าอาจจะประมาณสิบปี  การบริหารเมืองใหญ่ๆ ในมณฑลต่างๆ อาจจะมีการเลือกตั้งสภาของเมืองและนายกเทศมนตรี เช่นเดียวกับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ  โดยสมาชิกสภารวมทั้งนายกเทศมนตรีอาจไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทุกคน  การเปลี่ยนแปลงที่ทำนายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อความจำเริญทางการเมือง  ซึ่งจะมีขอบข่ายที่กว้างขึ้นและเข้มข้นขึ้น เมื่อสังคมจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นด้วยการติดต่อกับโลกภายนอก  คงไม่เป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะกล่าวว่าสภาวการณ์ดังกล่าวมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
 จีนเป็นประเทศใหญ่  มณฑลบางมณฑลเปรียบได้กับหนึ่งประเทศ  ในแง่หนึ่งจีนคือ     มหาอาณาจักรซึ่งประกอบด้วย 30 กว่าประเทศ  ภายใต้การปกครองจากรัฐบาลกลาง  ความจำเป็นในการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ที่สำคัญประเทศจีน ขณะนี้มีสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่ฮ่องกงและมาเก๊า  และที่สำคัญที่สุดไต้หวันซึ่งจีนถือเป็นมณฑลหนึ่งของจีน ก็มีระบบเศรษฐกิจเสรีและมีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง  รวมทั้งประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง  นี่คือหนามยอกอกที่จีนไม่สามารถจะบ่งออกได้  และวันหนึ่งอาจจะเป็นชนวน ทำให้เกิดการเรียกร้องขึ้นทั่วทั้งประเทศโดยคนรุ่นใหม่  และเมื่อถึงเวลานั้นระดับความจำเริญทางการเมือง ก็คงจะถึงจุดสุดขีดจนความจำเป็น ในการพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะถูกปฏิเสธได้อีกต่อไป[2]

แบบจำลอง เพื่อใช้อธิบายการเกิดการเสียดุลระหว่างความจำเริญทางการเมือง (political modernization)  กับการพัฒนาการเมือง ( political development) จะนำไปสู่ความผุกร่อนและความวุ่นวายทางการเมือง (political decay and turmoil )[3]

    ความจำเริญทางการเมือง   +   +   +           ความผุกร่อน 
                                                                หรือ 
      การพัฒนาการเมือง        +    -    -           ความวุ่นวายทางการเมือง


[1] Samuel P. Huntington , ลิขิต ธีรเวคิน. <span>ผู้จัดการรายวัน</span> (23 พฤษภาคม 2546).

จุดยืนที่เหนือกว่า โดย ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล

จุดยืนที่เหนือกว่า โดย ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 18 มีนาคม 2011 เวลา 18:02 น.
<!-- .entry-meta -->
 ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล เขียนบทความ “จุดยืนที่เหนือกว่า” เตือนรัฐสภาก่อนลงมติรับรองผ่านบันทึกข้อตกลงเจบีซี ๓ ฉบับ  ขณะ MOU43 ซุกแผนที่ ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่จะเป็นมหันตภัยใหญ่หลวงนำไปสู่การเสียดินแดน ย้ำไทยกับเขมรปักปันเขตเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ ๑๐๓ ปีก่อน แผนที่ฯ ไม่ถูกต้องและศาลโลกไม่เคยรับรอง พื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. เป็นของไทย ไม่มีส่วนใดทั้งทางบกและทะเลที่จะเรียกว่าพื้นที่พิพาทได้ และเจบีซี-จีบีซีมีหน้าที่เพียงตรวจสอบหลักเขตไม่ใช่คณะกรรมการปักปัน

<span>ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ทนายประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕</span>
——————————————————
จุดยืนที่เหนือกว่า
ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งฝ่ายบริหารกำลังจะเสนอรายงานของ JBC ไทย-กัมพูชา เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่รัฐสภาไทยรับรองให้ความเห็นชอบนั้น  ข้าพเจ้าขอตั้งข้อสังเกตว่า เอกสารดังกล่าวได้ซ่อนเงื่อนงำอันจะนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างร้ายแรงของประเทศชาติ  โดยสุ่มเสี่ยงต่อการหยิบยื่นดินแดนไทยทั้งหมดในบริเวณเขาบรรทัดซึ่งกำหนดให้เส้นสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตธรรมชาติตามความตกลงระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และได้มีการยืนยันโดยสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗
ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่าการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น  ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วทุกขั้นตอนโดยคณะกรรมการปักปัน เขตแดน ๒ ชุด  ในการประชุมกรรมการชุดแรกในปี ค.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๐๖  และในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ กรรมการชุดที่สองได้ปักหลักเขตไว้เป็นที่เรียบร้อย  โดยฝ่ายไทยได้เสียดินแดนเพิ่มเติม  จากเดิมที่ทะเลสาบเป็นของไทยตั้งแต่แม่น้ำโรลูออส (สตรึง โรลูออส) และครึ่งหนึ่งของทะเลสาบ  รวมทั้งเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ คณะกรรมการชุดที่สองได้ยืนยันเขตแดนธรรมชาติโดยใช้สันปันน้ำตามที่ได้ตกลงกันเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๔ ตลอดแนวทิวเขาบรรทัด (เขาดงรัก)  ๑๙๕ กิโลเมตร  ตั้งแต่ช่องบกถึงช่องสะงำ และได้ปักหลักเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่หลักที่ ๑ ที่ช่องสะงำจนถึงหลัก ๗๓ ที่หาดเล็ก   เดิมใช้หลักไม้ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหลักหินเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๘  รวมทั้งสิ้น ๗๓ หลัก เป็นระยะทาง ๖๐๓ กิโลเมตรโดยประมาณ  กับบริเวณสันปันน้ำ ๑๙๕ กิโลเมตรซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติที่ไม่จำเป็นต้องปักหลัก  รวมทั้งสิ้น ๗๙๘ กิโลเมตร
หลัก ๗๓ ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   คณะกรรมการปักปันได้ยึดถือตามพิกัดที่เล็งจากยอดเขาสูงสุดที่เกาะกูดมายังชายทะเลในอ่าวไทยทางทิศตะวันออกเป็นหลักเขตที่ ๗๓  ตามรายงานปรากฏว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้ขอให้เลื่อนไปอีกเล็กน้อยเนื่องจากหลักที่ ๗๓ ซึ่งกำหนดไว้เดิมอยู่กลางหมู่บ้านของชาวกัมพูชา ไทยก็อนุโลมโดยขยับหลักที่ ๗๓ พอให้พ้นบริเวณดังกล่าว  ฉะนั้น การปักปันเขตแดนและปักหลักเขตที่แน่นอน (demarcation) จึงแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๐๘
เพราะฉะนั้น เมื่อเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก่อนที่จะเป็นประเทศกัมพูชา  แล้วเสร็จมากว่า ๑๐๓ ปีแล้ว  จึงไม่มีปัญหาเรื่องการปักปันหลงเหลืออยู่อีกต่อไป  คณะกรรมการ JBC และ GBC ก็ไม่ใช่ “กรรมการปักปันเขตแดน” แต่เป็นเพียงคณะกรรมการ “ตรวจสอบ” หลักเขตแดนที่อาจชำรุดหรือสูญหายไปตามกาลเวลา  อนึ่ง ในบริเวณ ๑๙๕ กิโลเมตรที่ใช้สันเขาหรือสันปันน้ำเป็นเครื่องแสดงเขตแดนนั้น  เนื่องจากสันปันน้ำเป็นหินธรรมชาติที่ชัดเจนและไม่มีวันเสื่อมสลาย  จึงไม่มีปัญหาหรือข้อสงสัยหลงเหลืออยู่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งฝรั่งเศสหรือผู้สืบสิทธิ์คือกัมพูชา
ปัญหาที่ตามมาคือ MOU 43 ซึ่งเป็นมหันตโทษต่อประเทศชาติ  เนื่องจากเอกสารดังกล่าวมีเงื่อนงำซ่อนเร้นและหมกเม็ดแผนที่ระวางดงรัก ๑: ๒๐๐,๐๐๐  จัดทำโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ในนามคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสโดยไทยมิได้มีส่วนร่วม   ฝรั่งเศสได้รวมดินแดนในมลฑลบูรพา กล่าวคือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ไว้ล่วงหน้าในแผนที่ดังกล่าว และจัดพิมพ์ขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๘ ก่อนที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองปักหลักเขตแดนแล้วเสร็จ  แผนที่ฉบับนี้เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสด้วยวิธีการลากเส้นเขตแดนตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและข้อบทแห่งสนธิสัญญา  จึงผิดเพี้ยนจากเส้นเขตแดนที่แท้จริงและขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง
อนึ่ง แผนที่ระวาง ๑:๒๐๐,๐๐๐ นั้น  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารมิได้วินิจฉัยความถูกต้อง  เนื่องจากเป็นประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิมของกัมพูชาซึ่งจำกัดเฉพาะตัวปราสาทและพื้นที่ที่ตั้งของปราสาท  แผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ เป็นเพียงแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา  เมื่อกัมพูชาพยายามขยายคำฟ้องโดยร้องขอให้ศาลพิจารณาสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ และความถูกต้องของเส้นเขตแดนบนแผนที่ดังกล่าว  ศาลจึงไม่พิจารณา  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้พิพากษา ๓ ท่านยังได้วินิฉัยในคำพิพากษาแย้ง และอีก ๑ ท่านในคำพิพากษาเอกเทศว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์  คำพิพากษาแย้งและเอกเทศนั้น ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา  หาใช่เพียงความเห็นดังที่หลายท่านเข้าใจ  และเป็นการยืนยันว่าแผนที่นั้นผิด  ไทยน่าจะใช้ความผิดพลาดของแผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ ให้เป็นประโยชน์โดยเปิดเผยและตอกย้ำให้เป็นที่ทราบทั่วกันในทุกเวทีทั้งในและนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ไม่ว่าโดยเสียดินแดนทางบกเพิ่มเติมอีกกี่ล้านไร่  หากหลักเขตที่ ๗๓ ยังคงเดิม ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอน  ความผิดพลาดของแผนที่ทางบกหาได้กระทบกระเทือนเขตแดนทางทะเลแต่ประการใด  เขตแดนทางทะเลของไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา  เพราะเส้นเขตแดนที่กัมพูชากำหนดขึ้นโดยลากเส้นจากหลักเขตที่ ๗๓ ผ่านเกาะกูดนั้น  เป็นเส้นที่ปราศจากหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย   ปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยจึงไม่มี  ไทยมิบังควรยอมรับเส้นเขตแดนไม่ว่าทางบกหรือทางทะเลที่กัมพูชาลากขึ้นโดยพลการ  เพราะการกระทำดังกล่าวจะเป็นการหยิบยื่นแผ่นดินไทยให้ผู้รุกรานโดยปราศจากการต่อสู้ทั้ง ๆ ที่หลักฐาน ข้อเท็จจริงและอำนาจต่อรองทั้งหมด รวมทั้งกำลังทหารที่เหนือกว่าอยู่ในมือ

ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔

บทวิเคราะห์เบื้องต้น บันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ

บทวิเคราะห์เบื้องต้น  บันทึกการประชุม JBC  ๓ ฉบับ
เทพมนตรี  ลิมปพยอม

บทนำ

           หนึ่งร้อยกับอีกห้าหน้าของรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา  (Joint  Boundary   Commission-JBC )  ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา  เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ  อันได้แก่

     ๑. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราษฎ์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน  ๒๕๕๑
     ๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๒        
     ๓. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ  เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒

          ท่ามกลางปัญหาที่ยังคาราคาซังเกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร (๔.๖ ตร.กม.) และปัญหาสภาพบังคับใช้ระหว่างคู่ภาคีที่เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐)
    
          เมื่อได้ทำการศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า  บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระที่จะมุ่งพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร  และมีนัยยะสำคัญสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน กล่าวคืออำนาจของJBC สามารถดำเนินการเกี่ยวข้องกับเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จภายในคณะกรรมการได้     และโดยพื้นที่ตอนที่ ๖ คือตอนที่เกี่ยวกับ “ภูมะเขือ” “ปราสาทพระวิหาร”และ”สัตตะโสม” มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตและขัดต่อการกำหนดเส้นเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ ซึ่งมีการปักปันเสร็จสิ้นไปแล้วภายใต้คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ชุดที่ ๑  (หม่อมชาติ+แบร์นารด์) และ อาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมาแต่เดิม ตามที่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ในการท้วงคืนปราสาทพระวิหารคืนในอนาคตเอาไว้ 

          กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก  (ไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทหากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่)     นักวิชาการ และประชาชนที่ติดตามกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร จึงขอนำเสนอบทวิเคราะห์ บันทึกข้อตกลง ๓ ฉบับนี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำไปสู่หนทางการแก้ไขปัญหาและไม่ตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบกับเงื่อนไขที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือส่งผลไปสู่อนาคต

            อนึ่งในหน้าที่ ๑ ของรายงานเอกสารฯฉบับนี้ ได้กล่าวเกริ่นนำเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา  (Joint  Boundary   Commission-JBC )  มีถ้อยคำที่ไปสอดคล้องกับการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๓ ที่เมื่อ เซบิย่า ประเทศสเปนดังนี้   “ทั้งนี้ บันทึกการประชุมทั้งสามฉบับที่ลงนามแล้วนี้  ยังไม่มีผลจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะยืนยันผ่านช่องทางการทูตว่าได้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายภายในครบถ้วนแล้ว”  มติของคณะกรรมการมรดกโลกที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน   ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลก หรือศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) สนใจต่อผลการประชุมทั้งสามฉบับ เฉพาะฉบับที่ ๒และฉบับที่ ๓  พร้อมร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาท (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)

            ในเบื้องต้นอาจกล่าวได้ว่า    มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงซึ่งถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ “เรื่องพิจารณา” (ในภาคผนวก  ๕ หน้า ๑๐๒)  ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทย หากแต่เป็นดินแดนที่เกิดการพิพาท  (ทั้งๆที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทยยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าคือพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และการเสด็จพระดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาลและบุคคลสำคัญชาวกัมพูชา  ประชาชนและสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่ยอดเสาในตัวปราสาทพระวิหาร)  ในขนาดที่ฝ่ายกัมพูชายืนยันว่าพื้นที่ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารคือดินแดนของกัมพูชา ตามแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐  อันปรากฏอยู่ใน MOU 43 และTOR 46

              อีกประการหนึ่งที่จะต้องชี้ให้เห็นก็คือ  มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓  ทั้งๆที่ มรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ  รวมไปถึงการชักชวนให้ไทยซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร  (นัยยะตรงนี้หมายความว่า ไทยจะยินดียกดินแดนในบริเวณนี้ให้กัมพูชาครอบครองและเป็นเจ้าของมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว)

              นอกจากนี้ ในการเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑)   ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน  โดยอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ภายใต้สนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑

               การเกริ่นนำ ของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ    ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆคือ ข้อที่ ๕.๓ , ๕.๔และ๕.๕  (หน้า ๒) กล่าวคือ

                       ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔    เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตะโสม)  ซึ่งโดยหลักการแล้วควรดำเนินการไปสำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้องเสียก่อน แต่ทำไมจึงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่

                        ข้อ ๕.๕ ไม่ควรเน้นเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ สำหรับประเด็นหารือทางข้อกฎหมายควรดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  การเลือกเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ แสดงให้เห็นว่าเป็นความตั้งใจที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้สมบูรณ์โดยเร็ว  (ตามมติมรดกโลกครั้งที่ ๓๓) ในทางกลับกันหากฝ่ายไทยต้องการยืดเยื้อก็สมควรให้พิจารณาเรื่องข้อกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรกก่อนที่จะให้กรรมาธิการเทคนิคร่วมลงมือดำเนินการสำรวจฯ

                         ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ ... (หน้า ๒)  ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ และภาคประชาชน  กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC  ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่อย่างมากและหลายประเด็น  โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม  การอ่านบันทึกวาจา  หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง  ดังเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆทั้งๆที่ในคณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร  ด้วยเหตุนี้จึงน่าที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมกันปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางก่อนจะดำเนินการไปเจรจา


๑.  บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
     ณ เมืองเสียมราฐ  วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

             บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราฐวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีข้อน่าสังเกตว่า  การดำเนินการของJBC พยายามที่จะไปรองรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก  อาทิ  เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศประชุมกันเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งภายหลังจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒ สัปดาห์ และการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑  โดยมีคำสั่งให้ชุดสำรวจร่วม JST ระงับภารกิจประจำทันทีแล้วย้ายไปยังพื้นที่ตอนที่ ๖   (เขาสัตตะโสม/พนมเสทิสมถึงหลักเขตแดนที่ ๑)  (หน้า ๒๐)  ซึ่งอยู่อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและเป็นพื้นที่เป้าหมายของกัมพูชาในการที่นำไปจะผนวกเพื่อให้การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทมีความสมบูรณ์สอดรับกับมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑และต่อมาครั้งที่ ๓๒ และ๓๓   รวมทั้งยังได้พิจารณาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับแรก  (หน้าที่ ๒๑)  ที่ต่อมามีพัฒนาการมาอีก ๒ ครั้งตามบันทึกการประชุม   นอกจากนี้ยังมี  คำปราศรัย  (หน้า ๒๕) โดยฯพณฯนายวศิน ธีรเวชญาณ  กล่าวว่า “แน่นอนว่าปัญหาที่เราได้รับมอบหมายให้แก้ไขนั้นมีความสลับซับซ้อนและสำคัญยิ่ง  แต่ก็เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งผมมั่นใจว่าในท้ายที่สุดทั้ง ๒ ฝ่ายจะสามารถหาทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศได้  (อ้างอิงต้นร่างMOU43 หนังสือวันที่๙,๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและบันทึกข้อความของอ.วรากรณ์ ที่มีไปถึงนายชวน หลีกภัย  นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น)  
            
              คำปราศรัยของนายวศินได้ทำการเสนอแผนการทำงานของJBC ในสองประเด็น

             ประเด็นแรก  ได้ทำการเร่งรัดประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารและเน้นว่า “ผมขอแนะนำให้พิจารณาพื้นที่ตอนนี้ กล่าวคือ ตอนที่ ๖ โดยเฉพาะปราสาทเป็นอันดับแรก”   (น่าประหลาดใจและขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ในการวิจารณ์ภายหลัง)

              ประเด็นที่สอง  นายวศิน พยายามพูดถึงข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะทำให้ JBC มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเตรียมพื้นที่รอบปราสาทให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจร่วม (ดูเหมือนอยากได้อำนาจการตัดสินใจเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นพิเศษเพื่อจะได้ใช้อำนาจนั้นในการตีความอนุสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔  และเมื่อตีความแล้ว นำกลับเข้าสู่สภาก็ถือว่ามีผลบริบูรณ์ในเรื่องดินแดน ได้หรือเสีย อันนี้ต้องตั้งคำถาม)   ในตอนท้ายของคำปราศรัย  มีถ้อยคำที่สุ่มเสี่ยงต่อความเข้าใจในเรื่องการปักปันเขตแดนที่ปักปันเสร็จสิ้นไปแล้ว   ดังนี้ “ เพื่อบรรลุทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจสำหรับการปักปันและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศของเรา” (หน้า๒๖) (ซึ่งทำให้มองเห็นว่าการปราศรัยใหม่อีกครั้งหนี่งในนามประธาน JBC (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับเทคนิค) โดยมีความหมายและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าถ้าร่างข้อตกลงนี้แล้วเสร็จ เขาจะมีอำนาจตัดสินใจในการเตรียมพื้นที่)  อนึ่ง  บริเวณปราสาทพระวิหารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓ หน่วยงาน คือ ๑.กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ประกาศกฎอัยการศึก  ๒.กรมศิลปากร มี พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุฯ เพราะขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว  ยังไม่มีการถอนทะเบียน  ๓. อุทยานแห่งชาติ ที่ถือ พ.ร.บ.อุทยานฯ และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติปราสาทพระวิหารไปแล้ว       แต่ ๓ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้  โดยเฉพาะไม่เคยนำไปใช้กับชาวกัมพูชา แต่ใช้กับประชาชนคนไทยได้  (เพราะมี JBC อยู่ตาม TOR๔๖ และตาม MOU43)

                ส่วนคำปราศรัยของ ฯ พณฯวาร์ คิม ฮง ประธาน JBC กัมพูชาซึ่งมีหลายเรื่องหลายตอนเป็นทั้งข้อน่าสังเกตและการวิเคราะห์ ดังนี้

                   ๑. วาร์คิมฮง เน้นเรื่อง การปฏิบัติตามข้อ ๕ ของMOU๔๓   แต่ต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชากลับไปละเมิดอย่างหนักเสียเอง  จนเกิดสภาพการรุกล้ำดินแดนเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด และบันทึกการประชุมทั้งสามฉบับไม่มีถ้อยคำของฝ่ายไทยที่ทักท้วงการกระทำของฝ่ายกัมพูชา หลุดออกมาจากปากของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณเลย  วาร์คิมฮงยังย้ำเรื่องการหาหลักเขตที่ ๗๓ ที่แท้จริงโดยมีถ้อยคำในบันทึกว่า “คณะเทคนิคร่วมมีแผนที่จะค้นหาตำแหน่งที่ตั้งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนที่ ๗๓ ที่จามเยี่ยม (Cham Yeam)  เกาะกง” (หน้า๒๘)
                 อนึ่งวิธีการปราศรัยของวาร์ คิม ฮง ยังแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงเอกสารหลักฐานต่างๆ ในสำนวนภาษาทางกฎหมายซึ่งอาจมีผลประโยชน์ต่อฝ่ายกัมพูชา

                    ๒. เรื่องที่ยอมรับไม่ได้และบันทึกการประชุมฉบับนี้เราเสียเปรียบคือเรื่องที่วาร์ คิม ฮง กล่าวว่า “ ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ รวมถึงปัจจุบัน  เพื่อนชาวไทยได้ส่งกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่ชายแดนและในบางโอกาสกำลังเหล่านี้ได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา  อย่างไรก็ตามกัมพูชายึดมั่นที่จะใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุดเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติและฉัตรมิตร”  ข้อความนี้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ประธาน JBC ฝ่ายไทยไม่ทักท้วง  เพราะไม่เป็นความจริง  การรบกัน ณ บริเวณภูมะเขือซึ่งอยู่ในเขตไทยเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ อันนี้เป็นดินแดนของไทยแต่กลับปล่อยให้ วาร์คิม ฮง บันทึกไว้ในรายงานการประชุมฉบับนี้ได้    สอดคล้องกับการที่กัมพูชาได้รายงานสถานการณ์บริเวณปราสาทพระวิหารจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของมติ คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน และคณะกรรมการฯยังอนุมัติเงินช่วยเหลือจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันเป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ  เพราะฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำดินแดนกัมพูชา   นอกจากนี้ฝ่ายกัมพูชายังรายงานถึงการรุกล้ำดินแดนในจุดอื่นๆของฝ่ายไทยอีกด้วย     วาร์ คิม ฮง ยังเรียกร้องให้ฝ่ายไทยทำตามกลไกของJBC สอดรับกับคำปราศรัยของนายวศิน ธีรเวชญาณ และที่สำคัญนายวศิน ธีรเวชญาณไม่เคยกล่าวถึงการรุกล้ำอธิปไตยของไทยจากทหารกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารและภูมะเขือเลย              

                        ฝ่ายกัมพูชายังพยายามเร่งรัดให้ฝ่ายไทย “รับรองและยอมรับบันทึกการประชุมทุกฉบับของคณะเทคนิคร่วมเกี่ยวกับการค้นหาตำแหน่งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนเก่า เพื่อให้บันทึกการประชุมเหล่านั้นสามารถได้รับการลงนามโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”  (เป้าหมายคือเคลื่อนหลักที่ ๗๓ โดยใช้บันทึกวาจา)

บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา   ครั้งที่ ๔
                      ณ กรุงเทพมหานคร  วันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

             ๑.ให้ชุดสำรวจร่วมที่มีอยู่ปฏิบัติงานจากหลักเขตแดนที่ ๑  ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาสัตตะโสม/พนมเสทิสม หรือบริเวณปราสาทพระวิหารและให้จัดตั้งชุดสำรวจอีกชุดหนึ่งเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๑ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตแดนที่ ๒๓ (หน้า๕๔)
    ข้อสังเกต  พยายามเร่งรัดดำเนินการจนเป็นที่ผิดสังเกต  การประชุม ๒ ครั้งเน้นไปที่พื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นความต้องการของฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราวกันต่อ

            ๒.คำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณในครั้งนี้ไม่มีอะไรมาก แต่ยังย้ำเรื่องที่ต้องการเร่งงานเดิมที่ค้างอยู่ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น   แต่สำหรับคำปราศรัยของวาร์ คิม ฮง  มีถ้อยคำที่ไม่ควรยอมรับให้มีการบันทึก  “ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ การละเมิดมาตรา ๕ ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยทหารไทยในพื้นที่ดงรัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปราสาทพระวิหาร  ปราสาทตาเมือน ปราสาทตากราเบ็ย ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ที่ประเด็นยังคงค้างอยู่  อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังยึดมั่นที่จะอดกลั้นที่สุดเพื่อให้มีการแก้ไจปัญหาโดยสันติวิธีและฉันมิตร” (หน้า๖๕) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นวาร์ คิม ฮง ต้องการบันทึกถ้อยคำของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เป็นหลักฐานโดยการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดน  ที่น่าสังเกตคือ  ฯพณฯวศิน  กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  ในท้ายคำปราศรัยของวาร์คิม ฮง ยังเน้นให้เคารพบันทึกความเข้าใจฯ MOU๔๓   ซึ่งต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกล้ำดินแดนไทยและละเมิดข้อตกลง มาตรา ๕ นอกจากนี้ยังเริ่มที่จะเน้น TOR ๔๖
 
๓.  บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
                             ณ กรุงพนมเปญ  วันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒

               ในหน้า ๘๓-๘๕  เป็นคำกล่าวปราศรัยของฯพณฯวาร์ คิม ฮง ซึ่งเป็นภาษาเขมร แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ยอมแปลตรงตามข้อความ บันทึกการประชุมฉบับนี้ถือว่าเป็นบันทึกการประชุมที่สำคัญที่สุด อาจถือได้ว่าเป็นบทสรุปของการประชุมที่แล้วมา ๒ ครั้งก็เป็นได้  ที่น่าสนใจก็คือระเบียบวาระการประชุมคราวนี้มีเรื่องที่จะต้อง”พิจารณา” นั่นก็คือ 3.1 หารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราว   มีข้อน่าสังเกตที่ควรจดจำไว้ดังนี้

                   ในข้อที่ ๗ (หน้า๙๒) มีถ้อยคำในบันทึกการประชุมครั้งนี้ว่า “ทั้งสองฝ่ายได้ยุติในข้อบทของบันทึกการประชุม (ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา)  และได้รับการลงนามแล้วโดยประธานร่วม โดยต้องได้รับการยืนยันผ่านทางช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้สำหรับการมีผลบังคับใช้บันทึกการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว”   จะเห็นได้ว่าJBC ทั้งสองประเทศพยายามรวบรัด ในการที่จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่จะต้องตระหนักถึงปัญหาการยอมรับว่าทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลไม่แต่จะทำให้บันทึกรายงานการประชุมเป็นคุณเฉพาะกัมพูชาเท่านั้น   หากแต่สิ่งที่กัมพูชากล่าวหาฝ่ายไทยก็เป็นจริงตามนั้นด้วยโดยที่ไทยมิได้ปฏิเสธ  หรือมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ซึ่งกล่าวถึงการที่มีการปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา จนในที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกโดยการแทรกแซงของฝรั่งเศสได้สนับสนุนงบประมาณซ้อมแซมสถานที่ที่ถูกทหารไทยยิงถล่มไป  เช่นตลาด และบ้านเรือนทหารซึ่งแท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทย

                   ข้อที่ ๑๕ (หน้า๙๓)  ว่าด้วยเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตอนที่ ๕และ๖  มีการเร่งรัดให้ดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งต่อมาภายหลังเราก็ทราบดีว่า ฝ่ายไทยเห็นชอบที่กัมพูชาจะเร่งรัดในการดำเนินงานและกำหนดว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒   ตรงจุดนี้ก็เพื่อจะได้ทันต่อการนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการมรดกโลก

                   สำหรับเรื่องการกล่าวคำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน  ธีรเวชญาณ มีถ้อยคำที่มีข้อน่าสังเกตอย่างมาก ความว่า “ การจัดการประชุมในวันนี้มีขึ้นหลังจากการประชุมครั้งก่อนพียง ๒ เดือน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหารและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง......และเราจะได้สรุปร่างข้อตกลงชั่วคราวในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร  เมื่อสำเร็จแล้วจะได้มีการลงนามบันทึกการประชุมทั้งสองครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐและกรุงเทพฯซึ่งจำให้เราดำเนินการตามสิ่งต่างๆที่เราได้เห็นชอบร่วมกัน”  น่าเสียดายที่ประธานJBC  ไม่พูดถึงเรื่องการรุกล้ำของทหารไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชากล่าวหา  และรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของเรา และการผลักดันเขมรออกจากพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร  ในการปราศรัยตอนท้ายๆของการประชุม (หน้า๑๐๐)  ฯพณฯวศิน  ยังแสดงทีท่าว่าการดำรงไว้ซึ่ง ”สันติระหว่างประเทศและเพื่อที่จะให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาด้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว”  ท่าทีเช่นนี้มีความหมายว่า ฝ่ายไทยจะไม่ใช้กำลังกับฝ่ายกัมพูชา   (หน้า ๑๐๐)

                ในความเห็นส่วนตัวของ กระผมนายเทพมนตรี  ลิมปพยอม ในฐานะ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการชุดนี้ จึงขอแสดงทัศนะส่วนตัวว่าถ้าร่างข้อตกลงฉบับนี้กับบันทึกการประชุมผ่านรัฐสภา เราจะสูญเสียดินแดนและ อธิปไตย และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ ได้เลย
                 
                  อนึ่งจากการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน  ผมมีความห่วงใหญ่ต่อสถานการณ์ไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดนของสองประเทศ  เพราะพบว่า ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบต่อประเทศกัมพูชา  โดยเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยและดินแดน   ดังปรากฏเป็นตัวอย่างเช่น พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารที่รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์รุกล้ำเข้ามายังดินแดนของไทย  (ซึ่งและดูเหมือนว่าจะส่งผลกระทบในลักษณะนี้ต่อพื้นที่ตามแนวเขตชายแดนด้านอื่นๆด้วย)  และต่อกรณีการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชา  ซึ่งยังคงเป็นปัญหายืดเยื้อจนมาถึงปัจจุบัน
                           ด้วยการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีบทบัญญัติถึงหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคนในการธำรงรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและด้วยความเป็นห่วงใยเรื่องของดินแดน  จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง
                              ๑.  อย่าผ่าน บันทึกการประชุม  JBC   ๓ ฉบับ  ที่ปรากฏในรายการเอกสารเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และยกเลิกกรอบการเจรจาที่ผ่านรัฐสภาเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๑

                              ๒. เสนอให้รัฐบาลดำเนินการหาแนวทางให้มีการถอดถอน ปราสาทพระวิหาร ออกจากบัญชีรายชื่อมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากศูนย์กลางมรดกโลก  คณะกรรมการมรดกโลก  องค์การยูเนสโก

                                ๓.พิจารณายกเลิก บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ฉบับลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ (ค.ศ.2000) หรือ MOU43

                                 ๔.ให้รัฐบาลดำเนินการให้ฝ่ายกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่รอบอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารภายใน ๗ วัน และคืนสภาพแวดล้อมบริเวณบันไดทางขึ้น  ดำเนินการล้อมรั้วลวดหนาม และจัดกำลังทหารไทยออกลาดตะเวนโดยรอบปราสาทพระวิหารและชะง่อนหน้าผา “เปยตาดี”  หรือตลอด “แนวสันปันน้ำ”  อันเป็นดินแดนประเทศไทย  และดำเนินการต่อสหประชาชาติในการใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่ได้ทำไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕

คนไทยทุกคนควรได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เรื่องปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา

คนไทยทุกคนควรได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เรื่องปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 16 มีนาคม 2011 เวลา 3:39 น.
สรุปความเป็นมาที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาเส้นเขตแดน ระหว่างไทยกัมพูชา มีดังนี้

       1.หนังสือสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ลงวันที่ 13  ก.พ.  ค.ศ. 1904  ในข้อที่ 1  ได้กล่าวถึงเรื่องเขตแดนตอนหนึ่งว่า “…. ทิศเหนือขึ้นไปจนบันจบถึงภูเขาพนมดงรัก ต่อไปนั้นเขตแดนเนื่องไปตามแนวยอดภูเขาปันน้ำ ในระหว่างดินแดนน้ำตก น้ำเสน และดินแดนน้ำตกแม่น้ำ ของอีกฝ่ายหนึ่ง จนบันจบภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้….” ซึ่งเป็นการระบุว่าเส้นเขตแดนบนภูเขาพนมดงรักนั้นใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
-ในข้อ 4 และ 5 ไทยต้องยอมยกหลวงพระบางให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจันทบุรีที่ฝรั่งเศสยึดเอาไว้

        2. หนังสือสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสลงวันที่ 23  มี.ค. ค.ศ. 1907  ในข้อ  1 และ 2  ไทย ยินยอมยกเมือง พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย และตราด ในข้อ 4  ให้มีคณะกรรมการปักปันเขตแดน ทำหน้าที่ปักปันเขตแดนทั้งปวงตามที่ได้ตกลงกันใหม่นี้
         รวมทั้งมีหนังสือสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนต่อท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มี.ค. 1907
ในข้อ 1 ได้กล่าวถึงเรื่องเขตแดนตอนหนึ่งว่า  “… จะต้องปักปัน ให้มีทางเดินตรงไประหว่างเมืองอรัญกับช่องตะโกคงไว้ในเขตกรุงสยาม  ตั้งแต่เขาแดงแรกที่กล่าวมาข้างต้น เขตแดนต่อไปตามเขาปันน้ำ ที่ตกทะเลสาป และแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับที่ตกน้ำมูลอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วต่อไปจนตกแม่น้ำโขงใต้ปากมูล…”  ในข้อ 1 นี้ได้แนบแผนที่ ซึ่งเขียนเส้นเขตแดนประเมินเอาไว้ด้วย  ซึ่งดูจากแผนที่จะเห็นเส้นเขตแดนลากผ่านเทือกเขาพนมดงรัก แม้ไม่สามารถเห็นชัดเจนว่า ผ่านจุดใดบนเทือกเขาเพราะ แผนที่เล็กเกินไป แต่ก็สามารถนำมาประกอบกับข้อความในข้อ 1  สรุปว่า บริเวณนี้ใช้สันปันน้ำ เป็นเส้นเขตแดน
           ในข้อ 3  ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า  “ … จะต้องทำการปักปันหมายเขตลงไว้ในพื้นที่ตามเขตแดนที่ว่าไว้ในข้อ 1 … การที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง จะต้องทำไม่ให้เป็นที่ล่วงล้ำเสียประโยชน์ของรัฐบาลสยาม”

              3. ในเดือน มกราคม ค.ศ. 1907  อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพได้รายงานต่อกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสว่า การปักปันเขตแดนของคณะกรรมการผสมในการกำหนดเขตแดน (ตั้งขึ้นในข้อ 3  ของสัญญาปี ค.ศ. 1904 ) ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการจัดทำแผนที่  แต่ฝ่ายสยามยังไม่มีความรู้ และเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการผสมเมื่อ 29 พ.ย. ค.ศ. 1905 ฝ่ายสยามจึงขอให้ทางฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการ การจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 (ต่อมาเรียกว่าแผนที่ ผนวก 1  ANNEX I map)แล้วเสร็จในปลายปี 1907  และได้ส่งมอบให้ประเทศสยาม ในปี ค.ศ. 1908  ซึ่งรัฐบาลสยามก็ได้รับเอาไว้แม้จะมิได้มีการลงนามยินยอมรับว่าเป็นแผนที่ที่ถูกต้องแต่ก็มิได้มีการคัดค้านแต่ประการใด จึงเป็นสาเหตุที่ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาด้วยเหตุผลสำคัญว่าแผนที่ 1 : 200,000 เป็นแผนที่ที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายปิดปากเพราะไทยไม่เคยทักท้วงแผนที่นี้แต่อย่างใดเลยเป็นเวลา 50 ปีมาแล้ว (แผนที่  1 : 200,000 ได้ลากอ้อมแนวสันปันน้ำของเขาพนมดงรักเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนกัมพูชาตามแผนที่ฉบับนี้)
หมายเหตุ การปักปันเขตแดนเสร็จใน ม.ค. 1907 แต่หนังสือสัญญาสยามกับฝรั่งเศสที่มีการแลกเปลี่ยนดินแดน ลงวันที่ 23 มี.ค. 1907  จึงคาดเดาว่าคงจะไม่ได้มีการสำรวจแก้ไขการปักปันเขตแดนเพิ่มเติมในเวลาต่อมาเพราะไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับคณะทำงานการปักปันเขตเเดนอีกเลย

           4. สรุปเหตุผลในคำพิพากษาของศาลโลก (9 ต่อ 3)
                    4.1   ฝ่ายไทยมิได้ทำการทักท้วงแผนที่ 1: 200,000 มาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อได้รับแผนที่นี้มาจากฝรั่งเศส
                    4.2   ฝ่ายไทยมิได้มีการทักท้วงในเวลาต่อมาอีก  3  ครั้ง ซึ่ง 2 ครั้ง ในการประชุม เพื่อทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 2468  ( 1925 ) และ ปีพ.ศ.  2490  (1947) ช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  และ 2   ครั้งที่ 3  เมื่อฝ่ายไทยทำการสำรวจบริเวณที่เป็นข้อพิพาทเมื่อ พ.ศ. 2477-2478 (1934-1935) แต่ก็ไม่ได้ทักท้วงเช่นกัน
                    4.3   ศาลมีความเห็นว่าในปี พ.ศ. 2451-2452  ( 1908-1909) ไทยได้ยอมรับแผนที่ 1 : 200,000  ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน
                    4.4   ศาลมีความเห็นว่าฝ่ายไทยไม่อาจอ้างว่ามีความเข้าใจผิดโดยเชื่อว่า เส้นในแผนที่และสันปันน้ำเป็นเส้นเดียวกัน
                    4.5   ศาลมีความเห็นว่า การที่ฝ่ายไทยอ้างแผนที่แนบท้ายสัญญาไม่ถูกต้องนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต่างยึดประโยชน์ตามเส้นที่ลากในแผนที่แนบท้ายสัญญามาโดยตลอด
           ความคิดเห็นของผู้เขียน
          -ในสถานการณ์ขณะนั้น ไทยไม่กล้าที่จะประท้วงเพราะกลัวถูกยึดประเทศ ศาลโลกไม่ได้พิจารณาที่ต้นเหตุว่า การที่ไทยไม่ยอมรับแผนที่ 1 : 200,000  เพราะการจัดทำแผนที่ดังกล่าวนั้นไม่ตรงกับสนธิสัญญา และไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการจัดทำแผนที่ แต่ศาลโลกกลับพิจารณาที่ปลายเหตุไม่ว่าแผนที่จะลากเส้นเขตแดนพิสดารอย่างไร เมื่อฝ่ายไทยไม่คัดค้านถือว่าแผนที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตามปัจจุบันต้องถือว่า ประเทศไทยได้มีการคัดค้านแผนที่ 1:200,000  ไปแล้วตั้งแต่วันขึ้นศาลโลก
          -ไทยไม่ได้ยึดประโยชน์ตามเส้นที่ลากในแผ่นที่ตามศาลโลกอ้าง แต่ไทย ยึดสันปันน้ำจึงไปครอบครองปราสาทพระวิหาร

       5.สรุปข้อคิดเห็นของผู้พิพากษา 3  ประเทศ
                    5.1        อาร์เจนติน่า สารัตถะสำคัญที่ศาลควรจะตัดสินได้แก่ การตีความในข้อ 1  ของสนธิสัญญา ค.ศ.  1904  ซึ่งเป็นผลมาจากการพิจารณากำหนดสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน
                    5.2        จีน กัมพูชาไม่สามารถพิสูจน์ลักษณะผูกผันที่มาของการลากเส้นในแผนที่  1:200,000  นี้ได้ (เหตุผลว่าทำไมจึงลากเล้นแบบนี้) สำหรับการนิ่งเฉยของประเทศไทยแล้วถือว่าเป็นการยอมรับแผนที่ดังกล่าวนั้น ฟังไม่ได้ข้อเท็จจริง และไม่มีข้อสนับสนุนทางกฎหมาย
                    5.3         ออสเตรเลีย ในความเป็นจริงเส้นเขตแดนบนทิวเขานี้ คือสันปันน้ำ การที่ไปนำเอาเส้นอีกเส้นหนึ่งมาเป็นเส้นเขตแดนโดยอ้างหลักคิด ว่าการนิ่งเฉยเป็นการยอมรับนั้น ถือเป็นหลักคิดที่ผิด

        -ปัญหาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา คงจะไม่จบลงอย่างง่ายๆ และถือว่าเป็นปัญหายิ่งใหญ่ของชาติ คนไทยทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างรอบคอบโดยต้องหลีกเลี่ยงแนวทางที่จะทำให้เกิดสงครามขนาดใหญ่ควบคู่ไปด้วย เพราะจะทำให้เกิดปัญาอื่นๆตามมาอีกมากมาย แต่การป้องกันตัวเองของทหาร การรักษาผืนแผ่นดิน การเจรจาก็เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง
          ส่วนการที่ นายกษิต ภิรมย์ รมว.กต.  ได้ไปกล่าวในที่ประชุม  UNSC เมื่อ  14 ก.พ. 54 นั้นก็ยังมีจุดอ่อนที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการและสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง นายกษิต น่าจะใช้โอกาสนี้กล่าวทักท้วงว่าประเทศไทยไม่ได้รุกรานและไม่ยอมรับแผนที่ 1: 200,000  เนื่องจากไม่ได้จัดทำขึ้นตามสนธิสัญญาและไม่เป็นไปตามหลักสากล  พื้นที่ซึ่งมีการสู้รบนั้นยังอยู่ในเขตแดนไทย ดังนั้นการพิจารณาปัญหาสำคัญนี้จีงไม่ควรจะอยู่แค่ นรม. และรมว.กต. สองคน และไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น จำเป็นต้องพิจารณาเป็นองค์รวมทุกเรื่อง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้

         -เรื่องMOU 43 ในข้อที่ 1 ได้กล่าวถึงการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนนั้นให้เป็นไปตามเอกสารสำคัญ 3 เรื่อง คือ  1 ) อนุสัญญา  สยาม – ฝรั่งเศส  ค.ศ. 1904  2) สนธิสัญญา สยาม-ฝรั่งเศส  ค.ศ. 1907  และ 3)  แผนที่ 1: 200,000 ถือว่า MOU ข้อนี้ สร้างปัญหาหนักขึ้นไปอีกในเมื่อ ข้อ 1) และข้อ 2)  นั้นมันขัดกับข้อ 3)  ในเรื่องการลากเส้นเขตแดนที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นจะใช้ทั้ง 3 ข้อมาจัดทำหลักเขตแดนก็ไม่ได้
         -เรื่อง MOU 43  ในข้อ 5 นั้น เป็นข้อสำคัญโดยมีเจตนาที่จะมิให้ทั้ง 2 ประเทศ เข้าไปดำเนินการใดๆในพื้นที่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ยังมีการละเมิดข้อตกลงนี้บ่อยครั้ง แทบจะทำให้  MOU นี้หมดความหมาย และฝ่ายไทยจะนำมาเป็นข้ออ้างยกเลิก MOU ได้ แต่ก็ต้องดูผลได้ผลเสียว่า ทั้งเลิกและไม่เลิกประเทศไทยจะได้อะไรและเสียอะไร

        ข่าวการปะทะกันของทหารไทยกับกัมพูชา บริเวณชายแดนเมื่อ 15-16 ก.พ. 54 นั้น น่าเป็นห่วงทหารไทยในแนวหน้าขวัญจะเสีย  เนื่องจาก ทหารกัมพูชาใช้ยุทธวิธีการจัดชุด ลอบเข้ามาโจมตีโฉบฉวย ต่อทหารไทยในเวลากลางคืน ขณะที่นายทหารผู้ใหญ่ฝ่ายไทย ให้สัมภาษณ์ว่าทหารไทยจะทำการตอบโต้ตามความเหมาะสมนั้น แสดงว่าทหารไทยจะใช้ยุทธวิธีตั้งรับตามแนว อยู่กับที่ก็เหมือนกับเป็นเป้า คอยเวลาให้ทหารกัมพูชาโจมตีก่อนเพียงอย่างเดียว ยุทธวิธีแบบนี้ ฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้ต่อเวียตกงมาแล้วที่เดียนเบียนฟู
        ตราบใดที่รัฐบาลไทย ยังให้นายกษิต ภิรมย์ ซึ่งเคยด่านายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาอย่างรุนแรง เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ไปเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ย่อมไม่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
        สรุปเขมรฟ้องเรื่องปราสาทพระวิหาร ศาลโลกก็ตัดสินเฉพาะปราสาทพระวิหาร โดยพิจารณาว่าเส้นเขตเเดนของ 2 ประเทศเป็นไปตามเเผนที่ 1:200,000 ซึ่งศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตเเดน เเต่ก็เป็นข้ออ้างของกัมพูชาว่า เส้นเขตเเดนต้องเป็นไปตามเเผนที่ 1:200,000  เพราะผ่านการพิจารณาของศาลโลกมาเเล้ว ดังนั้นจึงคิดที่จะนำเรื่องเส้นเขตเเดนยื่นฟ้องต่อศาลโลกอีกครั้งหนึ่ง หากเป็นจริงเชื่อว่าสุดท้ายจะไม่มีใครยอมรับคำตัดสินของศาลโลกอย่างเเน่นอน

"ราชประชาสมาสัย" โดย พันเอกหญิง ชดาษา พนาเวศร์

จริง "ราชประชาสมาสัย" โดย พันเอกหญิง ชดาษา พนาเวศร์

รู้มา เล่าไป ขยายต่อ…..นับเป็นความโชคดีของคนไทย........โดยพันเอหญิงชดาษาพนาเวศร์
นับเป็นความโชคดีของคนไทย  ที่ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นหลายครั้งหลายหน ถึงขั้นวิกฤต  บ้านเมืองหาทางออกไม่ได้   ในที่สุด พระมหากษัตริย์ทรงใช้นิติราชประเพณีที่เคยมีมาในอดีต  มาปรับใช้กลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจอย่างหนึ่งส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆของบ้านเมืองให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี   ดังกรณี เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕  พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงใช้พระบารมี  พระเมตตา พระปรีชาญาณ ตลอดจนอาศัยความจงรักภักดีของประชาชน เข้าแก้ไขสถานการณ์ให้สงบเรียบร้อยลงได้  พระองค์พระราชทานพระราชดำรัสกับทุกฝ่าย ว่า  "…ขอให้ทุกฝ่ายทุกคนจงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้ง เพื่อให้ชาติบ้านเมืองคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว"    เหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นที่คนไทยปะทะกัน  มีการสูญเสียเลือดเนื้อ  แต่ทั้ง 2 ครั้งก็สงบลงได้เพราะพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ที่ได้สั่งสมความเชื่อมั่น ความเป็นประมุขที่แท้จริง ตามนิติราชประเพณี     ดังนั้นเมื่อบ้านเมืองมีสิ่งบอกเหตุว่า กำลังจะเกิดหรือมีเค้าลางว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งยากที่ผู้บริหารบ้านเมืองจะเป็นฝ่ายเข้ามาแก้ไข  คนไทยส่วนใหญ่จึงยังคงคาดหวังว่าพระมหากษัตริย์จะทรงปกป้องคุ้มกันและทำให้วิกฤตการณ์นั้นๆผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเช่นที่เคยเป็นมา
                วัฒนธรรมอำนาจแบบไทย ๆ เช่นนี้สามารถทำความเข้าใจร่วมกันได้จากนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และคนไทย กล่าวคือคนไทยทั้งประเทศมีความสำนึกร่วมกันว่า พระมหากษัตริย์ของไทยเกือบทุกพระองค์เป็นประดุจบิดาที่คอยปกป้องคุ้มครองชีวิตของตนเอง ความรู้สึกเช่นนี้ยังฝังแน่นอยู่ในสายเลือดของคนไทย จนเกิดความผูกพันอันแน่นแฟ้นที่คนไทยจะขาดเสียซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้   และที่น่าประทับใจยิ่งของปวงชนชาวไทย ก็คือ  นิติราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงถือเอาราษฎรเป็นสำคัญ  ได้เป็นมรดกตกทอดกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ถือเป็นหลักการปกครองราษฎรโดยไม่ได้ทรงยึดมั่นและผูกขาดอยู่ในพระราชอำนาจเด็ดขาดที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอยู่  ต้องยอมรับว่า นิติราชประเพณีที่ถือเอาราษฎรเป็นสำคัญนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เฉพาะในสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเท่านั้น
“ราชประชาสมาสัย” เป็นแบบอย่างและกลายเป็นสัญลักษณ์ของความใกล้ชิดผูกพันกันระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาชนได้เป็นอย่างดี    สืบเนื่องจากในห้วงต้นปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตจากโรคเรื้อน ซึ่งเป็นโรคติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข จนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคต่างๆ ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้ป่วยโรคเรื้อนและยังเป็นที่รังเกียจของสังคมทั่วไป  พระองค์ทรงเป็นห่วงพสกนิกรของพระองค์ท่านยิ่งนัก  จึงทรงมีพระราชดำริในการปราบโรคเรื้อนให้หมดไปจากประเทศไทย   แต่อุปสรรคสำคัญในขณะนั้นคือการขาดแคลนบุคลากร  เนื่องจากสมัยนั้นยังมีความรังเกียจและกลัวโรคนี้มาก ไม่มีใครสนใจทำงาน  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานเงินทุนอานันทมหิดล จำนวน ๑๗๕,๐๖๔.๗๕ บาท แก่กระทรวงสาธารณสุขเป็นทุนแรกเริ่มโครงการควบคุมโรคเรื้อนในประเทศไทย  อีกทั้งยังมีพระราชประสงค์ให้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยโรคเรื้อนอีกด้วย
ด้วยเงินพระราชทานจึงได้มีการดำเนินการก่อสร้างตึกในบริเวณสถานพยาบาลพระประแดง  ตามโครงการรวม ๔ อาคาร  ซึ่งรวมค่าใช่จ่ายก่อสร้างทั้งหมด ๑,๒๓๙,๒๐๐ บาท  เมื่อเริ่มก่อสร้างนั้นยังไม่มีเงินเต็มจำนวน  แต่ก็ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นทีละหลังตามกำลังเงินที่มีอยู่  จากนั้น  พระบรมวงศานุวงศ์  ประชาชน  สมาคม  และชาวต่างประเทศทั้งหลาย  ต่างมีความชื่นชมยินดีในพระราชดำริ  จึงพร้อมใจกันจัดงานหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนเงินเพิ่มเติมอีกมาก  เมื่อการก่อสร้างตามโครงการได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  กระทรวงสาธารณสุขได้ขอพระราชทานนามของสถาบันแห่งนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน “ราชประชาสมาสัย”   หมายถึง “พระมหากษัตริย์และประชาชนย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน” นับเป็นความหมายลึกซึ้งบ่งบอกถึงความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่มีมาช้านาน ในที่สุดประเทศไทยก็สามารถผ่านพ้นวิกฤต   โรคเรื้อนหายไปจากประเทศไทยนับแต่นั้น
ความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนแน่นแฟ้นประดุจพ่อปกครองลูก  ดังจะเห็นได้จากการถวายฎีการ้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์เป็นวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่สมัยสุโขทัย ผู้มีความทุกข์เดือดร้อนสามารถสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ได้ ต่อมาในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้วิธีแขวนกลองไว้ที่หน้าประตูพระบรมมหาราชวัง และทรงออกประกาศระเบียบในการร้องทุกข์โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาได้โดยตรงต่อพระองค์   ด้วยความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามนิติราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณนี้ แม้จะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ด้วยพระบรมเดชานุภาพ   ความศรัทธา   ความเลื่อมใสในองค์พระมหากษัตริย์ที่มีพระราชจริยาวัตร ให้ความคุ้มครองปกป้องดูแลประเทศชาติและประชาชนมาโดยตลอด เมื่อทรงใช้พระราชอำนาจในการแก้ไขวิกฤติการณ์ของประเทศ จึงเกิดสัมฤทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ยิ่ง
จะเห็นได้ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ตามแบบฉบับของประเทศไทย  นับเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ตกทอดสืบมาจนถึงปัจจุบัน  หามีชาติใดหรือเทศใดเสมอเหมือนได้  จึงไม่เกินเลยจากคำกล่าวที่ว่า “ประชาชนคนไทยโชคดี  ที่ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

รัตนพิมพวงศ์กับการไขปริศนาของลาวและพม่าโดย ประทีป ชุมพล

รัตนพิมพวงศ์กับการไขปริศนาของลาวและพม่าโดย ประทีป ชุมพล

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 15 มีนาคม 2011 เวลา 18:13 น.
เจ้าพระยาจักรีนำพระแก้วมรกตจากประเทศลาวมาไว้ ณ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นับเป็นการสร้างความร้าวฉานอย่างรุนแรงให้กับลาวและไทย เพราะลาวอ้างว่าพระแก้วมรกตเป็นของลาวมาแต่เดิม แต่ไทยแย้งว่าเป็นของไทยมาก่อน เพียงแต่นำกลับมาไว้ที่เดิมเท่านั้น
      
       ปัญหาที่แท้จริงแล้วพระแก้วมรกตนั้นเป็นสมบัติของใครระหว่างลาวกับไทย
      
       ซึ่งแท้จริงแล้ว ตำนานรัตนพิมพวงศ์ เป็นหนังสือที่ตอบคำถามได้อยู่ดี แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็ยังตอบไม่ได้เช่นกันว่าพระแก้วมรกตควรเป็นของใครกันแน่
      
       รัตนพิมพวงศ์แต่งขึ้นในสมัยที่ล้านนายังเป็นรัฐเอกราช พระพรหมราชปัญญาเป็นผู้แต่งเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. 1972 และพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า ตำนานพระแก้วมรกต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2456
      
       ตามตำนานกล่าวว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่เมืองเชียงราย เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่างดงามและมีค่ามาก จึงถูกนำไปบรรจุในเจดีย์ แต่ต่อมาได้ถูกฟ้าผ่าและพังลงมา ทำให้ทุกคนเห็นองค์พระแก้วมรกตประทับอยู่ในเจดีย์องค์นั้น ภายหลังได้ถูกอัญเชิญไปไว้ตามเมืองต่างๆ ของรัฐล้านนา จนในที่สุดก็ได้มาประทับที่เมืองเชียงใหม่
      
       จนเมื่อรัฐล้านนาขาดรัชทายาทที่เป็นผู้ชายปกครองรัฐ ทำให้ต้องอัญเชิญกษัตริย์ของรัฐล้านช้าง (รัฐลาว) ขึ้นไปปกครองระยะหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จกลับบ้านก็ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาด้วย ต่อมาพระยาจักรีตีเวียงจันทน์ได้ จึงได้นำพระแก้วมรกตกลับมายังสยาม แม้ภายหลังจะถูกลาวขอทวงคืน แต่ไทยอ้างว่าเป็นของสยามมาแต่เดิม
      
       ความจริงแล้วลาวล้านนา ล้านช้างเป็นรัฐที่มีความสัมพันธ์กันทั้งทางการเมือง และทางเชื้อสาย อีกทั้งไทยหรือสยามก็เช่นกันมีพื้นฐานเป็นชาวลาวมาก่อน ดังนั้นสามรัฐนี้จึงเป็นประเทศอันเดียวกัน แต่ภายหลังได้แตกแยกกัน โดยที่ลาวเชียงใหม่ผนวกรวมกับลาวสยาม แต่มีลาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางที่แยกออกจากกันเป็นคนละประเทศ
      
       สาเหตุไม่สามารถระบุได้ว่าพระแก้วมรกตควรจะประดิษฐานที่ใด แต่ใคร่ขอแนะนำซึ่งเป็นการสร้างความสมานไมตรีทั้งสามนคร ควรที่จะกำหนดให้พระแก้วมรกตไปจำพรรษาในนครต่างๆ จำนวนห้าปี คือ ให้ประดิษฐานในกรุงเทพมหานครห้าปี แล้วเสด็จไปจำพรรษาที่นครเวียงจันทน์ห้าปี จากนั้นประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ห้าปี แล้ววนกลับมาเช่นเดิมอีก ถ้าทำได้ก็จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสามนครนั้นอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน เพราะพระแก้วมรกต คือ สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
      
       ส่วนนครใดไม่มีพระแก้วมรกตประทับก็ให้สร้างองค์จำลองประดิษฐานแทนไปก่อนก็ไม่แปลกอันใด ถ้าต้องการสร้างมิตรไมตรีอย่างแท้จริงระหว่าง ไทย ลาว ล้านช้าง และลาวล้านนา
      
       ต่อมาเป็นเรื่องของพม่า ที่ปัจจุบันรัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมียนมาร์ แต่เราเรียกว่าพม่าเช่นเดิม
      
       คำว่า พม่า หรือ เมียนมาร์ นั้นมีที่มาอย่างไร หลายคนใคร่รู้
      
       ในรัตนพิมพวงศ์ เรียกอาณาจักรของพระเจ้าอนุรุทธว่า มลานนคร ซึ่งพระองค์เป็นกษัตริย์ผู้พิชิตอาณาจักรมอญสุธรรมวดีเมื่อ พ.ศ. 1593
      
       เป็นที่รับรู้กันว่าพระเจ้าอนุรุทธในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพม่า และพระองค์ได้ยกทัพเข้ามายึดเมืองต่างๆ ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย
      
       ดังนั้น มลานนคร คือ พม่านั่นเอง
      
       มลานนคร มีที่มาอย่างไร
      
       ชาวอาระกัน (ยะไข่) เรียกพม่า แต่ดั้งเดิมว่า มรัน แต่บางเผ่าพันธุ์ออกเสียง ไม่ได้ เช่น ชาวล้านนา ออกเสียง ร เป็น ฮ หรือ ย จึงออกเสียง มรัน เป็น มยัน เช่นเดียวกับเมือง ร่างกุ้ง ออกเสียงเป็น ย่างกุ้ง และในตำนานของไทย เรียกพม่าว่า ม่าน มีพื้นฐานมาจาก มรัน นั่นเอง นอกจากนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่าในหนังสือศิลาจารึกที่ปราสาทพระขันมีชื่อเมืองว่า มฺรัญ คือ มรัญ น่าจะหมายถึงพม่า มากกว่ามอญ
      
       แต่นักปราชญ์คนดัง คือ ท่านศาสตราจารย์เซเดส์ชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า ข้อความในศิลาจารึกพระขันของพระชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต คำว่า มฺรัญ หมายถึง มอญ มิใช่ พม่า
      
       พิจารณาจากรัตนพิมพวงศ์ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกว่า มรมฺมเทศ อ่านออกเสียงว่า มรันมา หรือ มยันมา
      
       ซึ่ง มยันมา ก็คือ พม่า นั่นเอง และในตำนานบางเล่มเรียกพม่าว่า รามัญประเทศ ซึ่งน่าจะมีพื้นฐานมาจากคำว่า มรันมา ดังนั้น คำว่า รามัญ มิได้หมายถึง มอญ อย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
      
       พม่าในเอกสารไทยเรียก มรมฺมเทศ มลานนคร แลรามัญมาแต่เดิม
      
       เมื่อในปัจจุบันพม่าเรียกตัวเองใหม่ว่า เมียนมาร์ สามารถตรวจสอบที่มาของคำว่า มรัญ นั่นเอง
      
       เห็นได้ว่าพม่าได้บัญญัติคำใหม่ดังนี้ แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามเปลี่ยนนามจากสยามประเทศเป็นไทยแลนด์ บอกตรงๆ ว่าน่าเกลียดมาก อีกทั้งไม่มีที่มาอย่างใดเลย นอกจากความโลภอยากจะเป็นมหาอำนาจ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง