ความขัดแย้ง ไทย - กัมพูชา
โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 10 มีนาคม 2011 เวลา 17:49 น.
เมื่อ พ.ศ. 2550 ประเทศกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสเชิร์ช นิวซีแลนด์ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ประเทศไทยมีปัญหาว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายว่าเป็นอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นได้ขีดเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในบริเวณทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน และได้ขีดเส้นเขตแดนประเทศล้ำเข้ามาในฝั่งไทย
เมื่อทราบดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงหารือกับทางกัมพูชา เพื่อให้ร่วมกับฝ่ายไทย จดทะเบียนโบราณสถานอื่นในเขตไทยและพระวิหารของกัมพูชาร่วมกันในทีเดียว เพื่อความสมบูรณ์ของบริเวณพระวิหาร และให้กัมพูชาเปลี่ยนแผนที่ให้ไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทยและพื้นที่ทับซ้อน และได้ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป
มกราคม พ.ศ. 2551 สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ฝ่ายกองทัพได้แสดงท่าทีวิตกว่าอาจเกิดความรุนแรงในบริเวณชายแดนได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้หารือร่วมกับนายสก อาน ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา
ทางกัมพูชาส่งแผนฟังที่ปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่า แผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก และทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหาร กลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการ ของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่าสิบชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
เวลา 2.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นอีก 4 แห่ง
วันที่ 22-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ราชอาณาจักรสเปน ประเทศไทย มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมรดกโลก ว่าไม่เป็นไปตามธรรมนูญของสหประชาชาติ
เหตุคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุม พ.ศ. 2554
บทความนี้ต้องการคำอธิบายที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ คุณสามารถเขียนอธิบายความสำคัญของเนื้อหา และหากคุณเห็นว่าบทความนี้ไม่มีความเหมาะสม อาจแจ้งลบหรือติดป้ายอื่นตามเหมาะสม
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ประกอบด้วยวีระ สมความคิด, กิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี, ร้อยตรีแซมดิน เลิศบุศย์, ตายแน่ มุ่งมาจน, นฤมล จิตรวะรัตนา และราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้วได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ได้ถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำเปนย์ ซาร์ นอกกรุงพนมเปญด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว ฝ่ายทนายความเตรียมยื่นขอประกันตัวทันทีที่มีการพิจารณาคดี
การเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาดังกล่าว มีรายงานว่า พนิชได้รับมอบหมายจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการยืนยันว่าทหารกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทย แต่การกระทำดังกล่าวปราศจากการประสานความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชา จึงทำให้ถูกจับกุมในที่สุด ส่วนทางด้านประธานคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รัฐสภา ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งพนิชและคณะลงพื้นที่
ทางกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เดินทางมายังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย โดยมีการเผาโลงศพที่มีภาพฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดอยู่ที่ฝาโลง พร้อมกับพวงหรีด เป็นการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคณะทั้งหมด โดยขั้นต่อไปอาจชุมนุมประท้วงต่อที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดเผยเอกสารสิทธิ์ที่ดินของเบ พูลสุข แสดงบริเวณที่บุคคลทั้งหมดถูกจับกุมตัว เป็นน.ส.3 ก ที่ออกโดยกรมที่ดิน ระบุวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ขณะที่ทางการกัมพูชานำวิดีโอหลักฐานมาเปิดดูปรากฏว่าคณะดังกล่าวรุกเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า พนิชและคณะได้รุกล้ำอาณาเขตกัมพูชาจริง แต่ไม่น่าจะมีเจตนา โดยเป็นการกระทำจากความประมาท พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพนิช เนื่องจากอาจทำให้ทางกัมพูชาไม่พอใจ และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ
ส่วนทางด้านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พนิชเดินทางไปยังพื้นที่ทับซ้อนโดยไม่มีการประสานงานกับกัมพูชาก่อนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาชี้แจงการกระทำดังกล่าวถึงสาเหตุและที่มาของการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และแสดงความเป็นห่วงที่วีระ สมความคิดถูกจับกุมไปด้วย เกรงว่าอาจมีการปลุกกระแสทำให้ปัญหาบานปลาย สุนัย จุลพงศธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เปิดเผยว่า ตนพร้อมจะนำประเด็นดังกล่าวมาหยิบยกเป็นหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งไปจริง ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบด้วย
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสหประชาชาติให้เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าคณะเป็นคนไทย หากกระทำความผิดก็ต้องขึ้นศาลไทย เป็นการรุกรานและคุกคามสิทธิพลเมืองของชาติที่มีปัญหาชายแดนระหว่างกัน ขัดต่อข้อตกลงเจนีวา (พ.ศ. 2492)พร้อมทั้งแถลงข่าวว่า พื้นที่ที่ 7 คนไทยถูกจับอยู่ในเขตที่ดินของเบ พูลสุข ราษฎรชาวไทย เป็นพื้นที่ของไทยไม่ใช่ของเขมร ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเคยจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อเหตุการณ์สงบชาวกัมพูชาก็ไม่ยอมอพยพออกไปจากพื้นที่ วันเดียวกัน ทางกลุ่มมีแผนจะนำหลักฐานมาแถลงข่าวยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมประกาศจะนำมวลชนไปยังบริเวณที่คณะถูกจับกุมในวันที่ 3 มกราคม
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 มีการรายงานว่า ภรรยาพนิช วิกิตเศรษฐ์ และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ได้เข้าเยี่ยมคนไทยที่ถูกจับกุมทั้งเจ็ดคนแล้ว เพื่อดูแลเรื่องอาหารและเสื้อผ้า
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554 ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ศาลกัมพูชานัดไต่สวนคนไทยทั้งเจ็ดคนในวันรุ่งขึ้น เวลา 8.00 น. ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกัน ด้านพลตรีนพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ไปวัดพิกัดกำหนดจุดที่ถูกจับกุม ผลการวัดพบว่า คณะคนไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ 55 เมตร ด้านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทราบอีกด้วยว่าคณะคนไทยดังกล่าวเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงอยากให้ออกมาแสดงความยอมรับผิด
วันที่ 7 มกราคม พนิชให้การต่อศาลว่าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อพบชาวบ้านที่อ้างว่าชาวกัมพูชาย้ายหลักหมุดบนดินแดนของไทย พร้อมกับให้การว่าเป็นการเดินทางเข้าไปโดยอุบัติเหตุ แต่เหมือนจะขัดแย้งกับคำกล่าวของพนิชในหลักฐานคลิปวิดีโอ ที่พนิชให้ผู้ติดตามเรียนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คณะได้ข้ามมาในฝั่งกัมพูชาแล้ว ด้านทนายความเตรียมยื่นประกันตัวในวันที่ 10 มกราคม เพราะศาลกัมพูชายังคงปิดทำการในวันหยุดราชการ โดยคณะคนไทยทั้งเจ็ดถูกนำตัวกลับไปคุมขัง
วันที่ 13 มกราคม มีรายงานว่า ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนฤมล จิตรวะรัตนา โดยยังคงอยู่ระหว่างสู้คดีในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเข้าไปในเขตทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนคนไทยที่เหลือยังไม่ได้รับการประกันตัว เงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ วางเงินประกันคนละ 1 ล้านเรียล (10,000 บาท) และต้องไปรายงานตัวตามนัดเรียก โดยขณะนี้ทั้งสองยังพำนักอยู่ที่สถานทูตไทย] ด้าน ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารสนเทศ ระบุว่า ศาลกัมพูชาไม่ได้ให้เหตุผลที่ยอมให้ประกันตัวทั้งสอง แต่เห็นว่า น่าจะเป็นเพราะปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทั้งสองป่วยเป็นโรคความดันโหลิตสูงและโรคไทรอยต์ตามลำดับ ส่วนคนไทยที่เหลือ ทนายความยื่นอุทธรณ์แล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม
วันที่ 19 มกราคม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวคนไทยเพิ่มอีก 4 คน เหลือเพียงวีระ สมความคิดเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวีระถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกัมพูชา] วันที่ 21 มกราคม ศาลกัมพูชาได้พิจารณาตัดสินคดี ซึ่งกำหนดเดิมคือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 19.35 น. ศาลกัมพูชาได้ตัดสินว่าคนไทยทั้ง 5 คน ได้แก่ พนิช กิชพลธรณ์ ร.ต.แซมดิน ตายแน่ และนฤมล มีความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยให้จำคุกคนละ 9 เดือน แต่ให้ลดเหลือ 8 เดือน และให้รอลงอาญาไว้ก่อน หลังจากการตัดสินดังกล่าว ทำให้คนไทยทั้ง 5 คนสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ระหว่างการปะทะกันนานถึง 4-5 ชั่วโมง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2-3 นาย ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงเพื่อให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากเนื้อหานำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ทำให้เกิดความเอนเอียงของข้อมูล คุณสามารถเพิ่มมุมมองอื่นพร้อมกับเพิ่มอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ หรือร่วมอภิปรายสรุปแนวทางแก้ปัญหา โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าการอภิปรายจะได้ข้อสรุป
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม. ปูพรมไปทั่วแดนกัมพูชา ถนนและฐานทหารเสียหายมากมาย รถถังและรถหุ้มเกราะกัมพูชาเสียหายใช้การไม่ได้กว่าสามสิบคัน ส่วนรายชื่อผู้เสียชีวิตของทหารกัมพูชายังมิอาจประเมินได้เนื่องจากพื้นที่ไฟไหม้ แต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่าหกร้อยนาย
เวลา 14.00 น. ได้เกิดเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ในพื้นที่ชายแดน ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารทั้งสองฝ่ายได้ใช้อาวุธปืนขนาดเล็กซึ่งเป็นปืนประจำกายยิงตอบโต้กัน เป็นเวลากว่า 15 นาที จึงสงบลง โดยไม่พบว่ามีทหารไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
เวลา 18.30 น. ได้เกิดเหตุปะทะขึ้นอีกบริเวณชายแดนในพื้นที่ภูมะเขือ และบ้านโดนเอาว์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารกัมพูชาได้ใช้จรวด BM-21 ยิงเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้บ้านพักของประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย ขณะที่ทหารไทยได้ใช้ปืนใหญ่ยิงตอบโต้ โดยการปะทะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการเจรจาสงบศึกโดยผู้คุมกำลังทั้งสองฝ่าย
ทางการมีการประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ด้าน พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป
รอยเตอร์ รายงานว่า ลูกชายของฮุน เซนได้หายสาบสูญไปในการโต้กลับของไทยครั้งนี้ อาจจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหนัก ประชาชนชาวกัมพูชาได้ออกมารวมตัวประท้วงรัฐบาลที่ออกมาทำสงครามกับไทยโดยไม่ดูกำลังของฝ่ายตัวเอง คาดว่าจะมีการก่อจลาจลครั้งใหญ่กลางกรุงพนมเปญ BBC รายงานว่า ทหารบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลอาจจะก่อการรัฐประหาร ด้วยสาเหตุว่ากัมพูชาไม่มีกำลังรบที่จะไปต่อกรกับราชอาณาจักรไทยได้ แต่ผู้นำฝืนที่จะคุกคามไทย ทำให้ก่อความเสียหายอย่างหนักอีกทั้งเสียขวัญอย่างมาก และจะขอเจรจากับรัฐบาลไทยว่า ทหารบางส่วนจะขอยอมแพ้ แต่ทางไทยยังคงเงียบและตอบโต้ทางกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง
8 กุมภาพันธ์ 2554: ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ลงความเห็นปฏิเสธข้อเรียกร้องของสมเด็นฮุน เชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการให้จัดประชุมฉุกเฉินประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ชาติและส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบในพื้นที่พิพาท โดยระบุควรแก้ไขปัญหากันเองในระดับภูมิภาค[41] วันเดียวกัน ไม่มีเหตุปะทะกันเพิ่มเติม แต่มีรายงานว่าทหารกัมพูชาได้ใช้ช่วงที่ยังหยุดยิงกันอยู่นี้ขุดที่ตั้งใหม่และจัดตั้งกระสอบทรายเพิ่มเติม ทหารไทยนายหนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่เมื่อวันที่ 6 เสียชีวิตเนื่องจากพิษบาดแผลที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
เมื่อทราบดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงหารือกับทางกัมพูชา เพื่อให้ร่วมกับฝ่ายไทย จดทะเบียนโบราณสถานอื่นในเขตไทยและพระวิหารของกัมพูชาร่วมกันในทีเดียว เพื่อความสมบูรณ์ของบริเวณพระวิหาร และให้กัมพูชาเปลี่ยนแผนที่ให้ไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทยและพื้นที่ทับซ้อน และได้ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป
มกราคม พ.ศ. 2551 สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ฝ่ายกองทัพได้แสดงท่าทีวิตกว่าอาจเกิดความรุนแรงในบริเวณชายแดนได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้หารือร่วมกับนายสก อาน ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา
ทางกัมพูชาส่งแผนฟังที่ปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่า แผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก และทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหาร กลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการ ของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่าสิบชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
- ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
- เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
- ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
- มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก
เวลา 2.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นอีก 4 แห่ง
วันที่ 22-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ราชอาณาจักรสเปน ประเทศไทย มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมรดกโลก ว่าไม่เป็นไปตามธรรมนูญของสหประชาชาติ
เหตุคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุม พ.ศ. 2554
บทความนี้ต้องการคำอธิบายที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ คุณสามารถเขียนอธิบายความสำคัญของเนื้อหา และหากคุณเห็นว่าบทความนี้ไม่มีความเหมาะสม อาจแจ้งลบหรือติดป้ายอื่นตามเหมาะสม
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ประกอบด้วยวีระ สมความคิด, กิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี, ร้อยตรีแซมดิน เลิศบุศย์, ตายแน่ มุ่งมาจน, นฤมล จิตรวะรัตนา และราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้วได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ได้ถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำเปนย์ ซาร์ นอกกรุงพนมเปญด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว ฝ่ายทนายความเตรียมยื่นขอประกันตัวทันทีที่มีการพิจารณาคดี
การเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาดังกล่าว มีรายงานว่า พนิชได้รับมอบหมายจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการยืนยันว่าทหารกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทย แต่การกระทำดังกล่าวปราศจากการประสานความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชา จึงทำให้ถูกจับกุมในที่สุด ส่วนทางด้านประธานคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รัฐสภา ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งพนิชและคณะลงพื้นที่
ทางกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เดินทางมายังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย โดยมีการเผาโลงศพที่มีภาพฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดอยู่ที่ฝาโลง พร้อมกับพวงหรีด เป็นการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคณะทั้งหมด โดยขั้นต่อไปอาจชุมนุมประท้วงต่อที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดเผยเอกสารสิทธิ์ที่ดินของเบ พูลสุข แสดงบริเวณที่บุคคลทั้งหมดถูกจับกุมตัว เป็นน.ส.3 ก ที่ออกโดยกรมที่ดิน ระบุวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ขณะที่ทางการกัมพูชานำวิดีโอหลักฐานมาเปิดดูปรากฏว่าคณะดังกล่าวรุกเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า พนิชและคณะได้รุกล้ำอาณาเขตกัมพูชาจริง แต่ไม่น่าจะมีเจตนา โดยเป็นการกระทำจากความประมาท พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพนิช เนื่องจากอาจทำให้ทางกัมพูชาไม่พอใจ และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ
ส่วนทางด้านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พนิชเดินทางไปยังพื้นที่ทับซ้อนโดยไม่มีการประสานงานกับกัมพูชาก่อนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาชี้แจงการกระทำดังกล่าวถึงสาเหตุและที่มาของการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และแสดงความเป็นห่วงที่วีระ สมความคิดถูกจับกุมไปด้วย เกรงว่าอาจมีการปลุกกระแสทำให้ปัญหาบานปลาย สุนัย จุลพงศธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เปิดเผยว่า ตนพร้อมจะนำประเด็นดังกล่าวมาหยิบยกเป็นหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งไปจริง ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบด้วย
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสหประชาชาติให้เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าคณะเป็นคนไทย หากกระทำความผิดก็ต้องขึ้นศาลไทย เป็นการรุกรานและคุกคามสิทธิพลเมืองของชาติที่มีปัญหาชายแดนระหว่างกัน ขัดต่อข้อตกลงเจนีวา (พ.ศ. 2492)พร้อมทั้งแถลงข่าวว่า พื้นที่ที่ 7 คนไทยถูกจับอยู่ในเขตที่ดินของเบ พูลสุข ราษฎรชาวไทย เป็นพื้นที่ของไทยไม่ใช่ของเขมร ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเคยจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อเหตุการณ์สงบชาวกัมพูชาก็ไม่ยอมอพยพออกไปจากพื้นที่ วันเดียวกัน ทางกลุ่มมีแผนจะนำหลักฐานมาแถลงข่าวยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมประกาศจะนำมวลชนไปยังบริเวณที่คณะถูกจับกุมในวันที่ 3 มกราคม
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 มีการรายงานว่า ภรรยาพนิช วิกิตเศรษฐ์ และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ได้เข้าเยี่ยมคนไทยที่ถูกจับกุมทั้งเจ็ดคนแล้ว เพื่อดูแลเรื่องอาหารและเสื้อผ้า
วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554 ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ศาลกัมพูชานัดไต่สวนคนไทยทั้งเจ็ดคนในวันรุ่งขึ้น เวลา 8.00 น. ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกัน ด้านพลตรีนพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ไปวัดพิกัดกำหนดจุดที่ถูกจับกุม ผลการวัดพบว่า คณะคนไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ 55 เมตร ด้านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทราบอีกด้วยว่าคณะคนไทยดังกล่าวเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงอยากให้ออกมาแสดงความยอมรับผิด
วันที่ 7 มกราคม พนิชให้การต่อศาลว่าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อพบชาวบ้านที่อ้างว่าชาวกัมพูชาย้ายหลักหมุดบนดินแดนของไทย พร้อมกับให้การว่าเป็นการเดินทางเข้าไปโดยอุบัติเหตุ แต่เหมือนจะขัดแย้งกับคำกล่าวของพนิชในหลักฐานคลิปวิดีโอ ที่พนิชให้ผู้ติดตามเรียนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คณะได้ข้ามมาในฝั่งกัมพูชาแล้ว ด้านทนายความเตรียมยื่นประกันตัวในวันที่ 10 มกราคม เพราะศาลกัมพูชายังคงปิดทำการในวันหยุดราชการ โดยคณะคนไทยทั้งเจ็ดถูกนำตัวกลับไปคุมขัง
วันที่ 13 มกราคม มีรายงานว่า ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนฤมล จิตรวะรัตนา โดยยังคงอยู่ระหว่างสู้คดีในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเข้าไปในเขตทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนคนไทยที่เหลือยังไม่ได้รับการประกันตัว เงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ วางเงินประกันคนละ 1 ล้านเรียล (10,000 บาท) และต้องไปรายงานตัวตามนัดเรียก โดยขณะนี้ทั้งสองยังพำนักอยู่ที่สถานทูตไทย] ด้าน ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารสนเทศ ระบุว่า ศาลกัมพูชาไม่ได้ให้เหตุผลที่ยอมให้ประกันตัวทั้งสอง แต่เห็นว่า น่าจะเป็นเพราะปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทั้งสองป่วยเป็นโรคความดันโหลิตสูงและโรคไทรอยต์ตามลำดับ ส่วนคนไทยที่เหลือ ทนายความยื่นอุทธรณ์แล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม
วันที่ 19 มกราคม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวคนไทยเพิ่มอีก 4 คน เหลือเพียงวีระ สมความคิดเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวีระถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกัมพูชา] วันที่ 21 มกราคม ศาลกัมพูชาได้พิจารณาตัดสินคดี ซึ่งกำหนดเดิมคือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 19.35 น. ศาลกัมพูชาได้ตัดสินว่าคนไทยทั้ง 5 คน ได้แก่ พนิช กิชพลธรณ์ ร.ต.แซมดิน ตายแน่ และนฤมล มีความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยให้จำคุกคนละ 9 เดือน แต่ให้ลดเหลือ 8 เดือน และให้รอลงอาญาไว้ก่อน หลังจากการตัดสินดังกล่าว ทำให้คนไทยทั้ง 5 คนสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ระหว่างการปะทะกันนานถึง 4-5 ชั่วโมง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2-3 นาย ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงเพื่อให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากเนื้อหานำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ทำให้เกิดความเอนเอียงของข้อมูล คุณสามารถเพิ่มมุมมองอื่นพร้อมกับเพิ่มอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ หรือร่วมอภิปรายสรุปแนวทางแก้ปัญหา โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าการอภิปรายจะได้ข้อสรุป
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม. ปูพรมไปทั่วแดนกัมพูชา ถนนและฐานทหารเสียหายมากมาย รถถังและรถหุ้มเกราะกัมพูชาเสียหายใช้การไม่ได้กว่าสามสิบคัน ส่วนรายชื่อผู้เสียชีวิตของทหารกัมพูชายังมิอาจประเมินได้เนื่องจากพื้นที่ไฟไหม้ แต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่าหกร้อยนาย
เวลา 14.00 น. ได้เกิดเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ในพื้นที่ชายแดน ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารทั้งสองฝ่ายได้ใช้อาวุธปืนขนาดเล็กซึ่งเป็นปืนประจำกายยิงตอบโต้กัน เป็นเวลากว่า 15 นาที จึงสงบลง โดยไม่พบว่ามีทหารไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
เวลา 18.30 น. ได้เกิดเหตุปะทะขึ้นอีกบริเวณชายแดนในพื้นที่ภูมะเขือ และบ้านโดนเอาว์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารกัมพูชาได้ใช้จรวด BM-21 ยิงเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้บ้านพักของประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย ขณะที่ทหารไทยได้ใช้ปืนใหญ่ยิงตอบโต้ โดยการปะทะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการเจรจาสงบศึกโดยผู้คุมกำลังทั้งสองฝ่าย
ทางการมีการประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ด้าน พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป
รอยเตอร์ รายงานว่า ลูกชายของฮุน เซนได้หายสาบสูญไปในการโต้กลับของไทยครั้งนี้ อาจจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหนัก ประชาชนชาวกัมพูชาได้ออกมารวมตัวประท้วงรัฐบาลที่ออกมาทำสงครามกับไทยโดยไม่ดูกำลังของฝ่ายตัวเอง คาดว่าจะมีการก่อจลาจลครั้งใหญ่กลางกรุงพนมเปญ BBC รายงานว่า ทหารบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลอาจจะก่อการรัฐประหาร ด้วยสาเหตุว่ากัมพูชาไม่มีกำลังรบที่จะไปต่อกรกับราชอาณาจักรไทยได้ แต่ผู้นำฝืนที่จะคุกคามไทย ทำให้ก่อความเสียหายอย่างหนักอีกทั้งเสียขวัญอย่างมาก และจะขอเจรจากับรัฐบาลไทยว่า ทหารบางส่วนจะขอยอมแพ้ แต่ทางไทยยังคงเงียบและตอบโต้ทางกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง
8 กุมภาพันธ์ 2554: ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ลงความเห็นปฏิเสธข้อเรียกร้องของสมเด็นฮุน เชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการให้จัดประชุมฉุกเฉินประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ชาติและส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบในพื้นที่พิพาท โดยระบุควรแก้ไขปัญหากันเองในระดับภูมิภาค[41] วันเดียวกัน ไม่มีเหตุปะทะกันเพิ่มเติม แต่มีรายงานว่าทหารกัมพูชาได้ใช้ช่วงที่ยังหยุดยิงกันอยู่นี้ขุดที่ตั้งใหม่และจัดตั้งกระสอบทรายเพิ่มเติม ทหารไทยนายหนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่เมื่อวันที่ 6 เสียชีวิตเนื่องจากพิษบาดแผลที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น