จุดยืนที่เหนือกว่า โดย ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล
โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 18 มีนาคม 2011 เวลา 18:02 น.
<!-- .entry-meta -->
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล เขียนบทความ “จุดยืนที่เหนือกว่า” เตือนรัฐสภาก่อนลงมติรับรองผ่านบันทึกข้อตกลงเจบีซี ๓ ฉบับ ขณะ MOU43 ซุกแผนที่ ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่จะเป็นมหันตภัยใหญ่หลวงนำไปสู่การเสียดินแดน ย้ำไทยกับเขมรปักปันเขตเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ ๑๐๓ ปีก่อน แผนที่ฯ ไม่ถูกต้องและศาลโลกไม่เคยรับรอง พื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. เป็นของไทย ไม่มีส่วนใดทั้งทางบกและทะเลที่จะเรียกว่าพื้นที่พิพาทได้ และเจบีซี-จีบีซีมีหน้าที่เพียงตรวจสอบหลักเขตไม่ใช่คณะกรรมการปักปัน
<span>ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ทนายประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕</span>
——————————————————
จุดยืนที่เหนือกว่า
ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งฝ่ายบริหารกำลังจะเสนอรายงานของ JBC ไทย-กัมพูชา เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่รัฐสภาไทยรับรองให้ความเห็นชอบนั้น ข้าพเจ้าขอตั้งข้อสังเกตว่า เอกสารดังกล่าวได้ซ่อนเงื่อนงำอันจะนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างร้ายแรงของประเทศชาติ โดยสุ่มเสี่ยงต่อการหยิบยื่นดินแดนไทยทั้งหมดในบริเวณเขาบรรทัดซึ่งกำหนดให้เส้นสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตธรรมชาติตามความตกลงระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และได้มีการยืนยันโดยสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗
ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่าการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วทุกขั้นตอนโดยคณะกรรมการปักปัน เขตแดน ๒ ชุด ในการประชุมกรรมการชุดแรกในปี ค.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๐๖ และในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ กรรมการชุดที่สองได้ปักหลักเขตไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยฝ่ายไทยได้เสียดินแดนเพิ่มเติม จากเดิมที่ทะเลสาบเป็นของไทยตั้งแต่แม่น้ำโรลูออส (สตรึง โรลูออส) และครึ่งหนึ่งของทะเลสาบ รวมทั้งเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ คณะกรรมการชุดที่สองได้ยืนยันเขตแดนธรรมชาติโดยใช้สันปันน้ำตามที่ได้ตกลงกันเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๔ ตลอดแนวทิวเขาบรรทัด (เขาดงรัก) ๑๙๕ กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องบกถึงช่องสะงำ และได้ปักหลักเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่หลักที่ ๑ ที่ช่องสะงำจนถึงหลัก ๗๓ ที่หาดเล็ก เดิมใช้หลักไม้ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหลักหินเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๘ รวมทั้งสิ้น ๗๓ หลัก เป็นระยะทาง ๖๐๓ กิโลเมตรโดยประมาณ กับบริเวณสันปันน้ำ ๑๙๕ กิโลเมตรซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติที่ไม่จำเป็นต้องปักหลัก รวมทั้งสิ้น ๗๙๘ กิโลเมตร
หลัก ๗๓ ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการปักปันได้ยึดถือตามพิกัดที่เล็งจากยอดเขาสูงสุดที่เกาะกูดมายังชายทะเลในอ่าวไทยทางทิศตะวันออกเป็นหลักเขตที่ ๗๓ ตามรายงานปรากฏว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้ขอให้เลื่อนไปอีกเล็กน้อยเนื่องจากหลักที่ ๗๓ ซึ่งกำหนดไว้เดิมอยู่กลางหมู่บ้านของชาวกัมพูชา ไทยก็อนุโลมโดยขยับหลักที่ ๗๓ พอให้พ้นบริเวณดังกล่าว ฉะนั้น การปักปันเขตแดนและปักหลักเขตที่แน่นอน (demarcation) จึงแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๐๘
เพราะฉะนั้น เมื่อเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก่อนที่จะเป็นประเทศกัมพูชา แล้วเสร็จมากว่า ๑๐๓ ปีแล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องการปักปันหลงเหลืออยู่อีกต่อไป คณะกรรมการ JBC และ GBC ก็ไม่ใช่ “กรรมการปักปันเขตแดน” แต่เป็นเพียงคณะกรรมการ “ตรวจสอบ” หลักเขตแดนที่อาจชำรุดหรือสูญหายไปตามกาลเวลา อนึ่ง ในบริเวณ ๑๙๕ กิโลเมตรที่ใช้สันเขาหรือสันปันน้ำเป็นเครื่องแสดงเขตแดนนั้น เนื่องจากสันปันน้ำเป็นหินธรรมชาติที่ชัดเจนและไม่มีวันเสื่อมสลาย จึงไม่มีปัญหาหรือข้อสงสัยหลงเหลืออยู่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งฝรั่งเศสหรือผู้สืบสิทธิ์คือกัมพูชา
ปัญหาที่ตามมาคือ MOU 43 ซึ่งเป็นมหันตโทษต่อประเทศชาติ เนื่องจากเอกสารดังกล่าวมีเงื่อนงำซ่อนเร้นและหมกเม็ดแผนที่ระวางดงรัก ๑: ๒๐๐,๐๐๐ จัดทำโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ในนามคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสโดยไทยมิได้มีส่วนร่วม ฝรั่งเศสได้รวมดินแดนในมลฑลบูรพา กล่าวคือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ไว้ล่วงหน้าในแผนที่ดังกล่าว และจัดพิมพ์ขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๘ ก่อนที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองปักหลักเขตแดนแล้วเสร็จ แผนที่ฉบับนี้เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสด้วยวิธีการลากเส้นเขตแดนตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและข้อบทแห่งสนธิสัญญา จึงผิดเพี้ยนจากเส้นเขตแดนที่แท้จริงและขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง
อนึ่ง แผนที่ระวาง ๑:๒๐๐,๐๐๐ นั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารมิได้วินิจฉัยความถูกต้อง เนื่องจากเป็นประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิมของกัมพูชาซึ่งจำกัดเฉพาะตัวปราสาทและพื้นที่ที่ตั้งของปราสาท แผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ เป็นเพียงแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา เมื่อกัมพูชาพยายามขยายคำฟ้องโดยร้องขอให้ศาลพิจารณาสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ และความถูกต้องของเส้นเขตแดนบนแผนที่ดังกล่าว ศาลจึงไม่พิจารณา แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้พิพากษา ๓ ท่านยังได้วินิฉัยในคำพิพากษาแย้ง และอีก ๑ ท่านในคำพิพากษาเอกเทศว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ คำพิพากษาแย้งและเอกเทศนั้น ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา หาใช่เพียงความเห็นดังที่หลายท่านเข้าใจ และเป็นการยืนยันว่าแผนที่นั้นผิด ไทยน่าจะใช้ความผิดพลาดของแผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ ให้เป็นประโยชน์โดยเปิดเผยและตอกย้ำให้เป็นที่ทราบทั่วกันในทุกเวทีทั้งในและนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ไม่ว่าโดยเสียดินแดนทางบกเพิ่มเติมอีกกี่ล้านไร่ หากหลักเขตที่ ๗๓ ยังคงเดิม ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอน ความผิดพลาดของแผนที่ทางบกหาได้กระทบกระเทือนเขตแดนทางทะเลแต่ประการใด เขตแดนทางทะเลของไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตแดนที่กัมพูชากำหนดขึ้นโดยลากเส้นจากหลักเขตที่ ๗๓ ผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเส้นที่ปราศจากหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยจึงไม่มี ไทยมิบังควรยอมรับเส้นเขตแดนไม่ว่าทางบกหรือทางทะเลที่กัมพูชาลากขึ้นโดยพลการ เพราะการกระทำดังกล่าวจะเป็นการหยิบยื่นแผ่นดินไทยให้ผู้รุกรานโดยปราศจากการต่อสู้ทั้ง ๆ ที่หลักฐาน ข้อเท็จจริงและอำนาจต่อรองทั้งหมด รวมทั้งกำลังทหารที่เหนือกว่าอยู่ในมือ
ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล เขียนบทความ “จุดยืนที่เหนือกว่า” เตือนรัฐสภาก่อนลงมติรับรองผ่านบันทึกข้อตกลงเจบีซี ๓ ฉบับ ขณะ MOU43 ซุกแผนที่ ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่จะเป็นมหันตภัยใหญ่หลวงนำไปสู่การเสียดินแดน ย้ำไทยกับเขมรปักปันเขตเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ ๑๐๓ ปีก่อน แผนที่ฯ ไม่ถูกต้องและศาลโลกไม่เคยรับรอง พื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. เป็นของไทย ไม่มีส่วนใดทั้งทางบกและทะเลที่จะเรียกว่าพื้นที่พิพาทได้ และเจบีซี-จีบีซีมีหน้าที่เพียงตรวจสอบหลักเขตไม่ใช่คณะกรรมการปักปัน
<span>ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ทนายประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕</span>
——————————————————
จุดยืนที่เหนือกว่า
ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งฝ่ายบริหารกำลังจะเสนอรายงานของ JBC ไทย-กัมพูชา เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่รัฐสภาไทยรับรองให้ความเห็นชอบนั้น ข้าพเจ้าขอตั้งข้อสังเกตว่า เอกสารดังกล่าวได้ซ่อนเงื่อนงำอันจะนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างร้ายแรงของประเทศชาติ โดยสุ่มเสี่ยงต่อการหยิบยื่นดินแดนไทยทั้งหมดในบริเวณเขาบรรทัดซึ่งกำหนดให้เส้นสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตธรรมชาติตามความตกลงระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และได้มีการยืนยันโดยสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗
ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่าการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วทุกขั้นตอนโดยคณะกรรมการปักปัน เขตแดน ๒ ชุด ในการประชุมกรรมการชุดแรกในปี ค.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๐๖ และในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ กรรมการชุดที่สองได้ปักหลักเขตไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยฝ่ายไทยได้เสียดินแดนเพิ่มเติม จากเดิมที่ทะเลสาบเป็นของไทยตั้งแต่แม่น้ำโรลูออส (สตรึง โรลูออส) และครึ่งหนึ่งของทะเลสาบ รวมทั้งเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ คณะกรรมการชุดที่สองได้ยืนยันเขตแดนธรรมชาติโดยใช้สันปันน้ำตามที่ได้ตกลงกันเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๔ ตลอดแนวทิวเขาบรรทัด (เขาดงรัก) ๑๙๕ กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องบกถึงช่องสะงำ และได้ปักหลักเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่หลักที่ ๑ ที่ช่องสะงำจนถึงหลัก ๗๓ ที่หาดเล็ก เดิมใช้หลักไม้ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหลักหินเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๘ รวมทั้งสิ้น ๗๓ หลัก เป็นระยะทาง ๖๐๓ กิโลเมตรโดยประมาณ กับบริเวณสันปันน้ำ ๑๙๕ กิโลเมตรซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติที่ไม่จำเป็นต้องปักหลัก รวมทั้งสิ้น ๗๙๘ กิโลเมตร
หลัก ๗๓ ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการปักปันได้ยึดถือตามพิกัดที่เล็งจากยอดเขาสูงสุดที่เกาะกูดมายังชายทะเลในอ่าวไทยทางทิศตะวันออกเป็นหลักเขตที่ ๗๓ ตามรายงานปรากฏว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้ขอให้เลื่อนไปอีกเล็กน้อยเนื่องจากหลักที่ ๗๓ ซึ่งกำหนดไว้เดิมอยู่กลางหมู่บ้านของชาวกัมพูชา ไทยก็อนุโลมโดยขยับหลักที่ ๗๓ พอให้พ้นบริเวณดังกล่าว ฉะนั้น การปักปันเขตแดนและปักหลักเขตที่แน่นอน (demarcation) จึงแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๐๘
เพราะฉะนั้น เมื่อเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก่อนที่จะเป็นประเทศกัมพูชา แล้วเสร็จมากว่า ๑๐๓ ปีแล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องการปักปันหลงเหลืออยู่อีกต่อไป คณะกรรมการ JBC และ GBC ก็ไม่ใช่ “กรรมการปักปันเขตแดน” แต่เป็นเพียงคณะกรรมการ “ตรวจสอบ” หลักเขตแดนที่อาจชำรุดหรือสูญหายไปตามกาลเวลา อนึ่ง ในบริเวณ ๑๙๕ กิโลเมตรที่ใช้สันเขาหรือสันปันน้ำเป็นเครื่องแสดงเขตแดนนั้น เนื่องจากสันปันน้ำเป็นหินธรรมชาติที่ชัดเจนและไม่มีวันเสื่อมสลาย จึงไม่มีปัญหาหรือข้อสงสัยหลงเหลืออยู่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งฝรั่งเศสหรือผู้สืบสิทธิ์คือกัมพูชา
ปัญหาที่ตามมาคือ MOU 43 ซึ่งเป็นมหันตโทษต่อประเทศชาติ เนื่องจากเอกสารดังกล่าวมีเงื่อนงำซ่อนเร้นและหมกเม็ดแผนที่ระวางดงรัก ๑: ๒๐๐,๐๐๐ จัดทำโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ในนามคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสโดยไทยมิได้มีส่วนร่วม ฝรั่งเศสได้รวมดินแดนในมลฑลบูรพา กล่าวคือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ไว้ล่วงหน้าในแผนที่ดังกล่าว และจัดพิมพ์ขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๘ ก่อนที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองปักหลักเขตแดนแล้วเสร็จ แผนที่ฉบับนี้เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสด้วยวิธีการลากเส้นเขตแดนตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงและข้อบทแห่งสนธิสัญญา จึงผิดเพี้ยนจากเส้นเขตแดนที่แท้จริงและขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง
อนึ่ง แผนที่ระวาง ๑:๒๐๐,๐๐๐ นั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารมิได้วินิจฉัยความถูกต้อง เนื่องจากเป็นประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิมของกัมพูชาซึ่งจำกัดเฉพาะตัวปราสาทและพื้นที่ที่ตั้งของปราสาท แผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ เป็นเพียงแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา เมื่อกัมพูชาพยายามขยายคำฟ้องโดยร้องขอให้ศาลพิจารณาสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ และความถูกต้องของเส้นเขตแดนบนแผนที่ดังกล่าว ศาลจึงไม่พิจารณา แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้พิพากษา ๓ ท่านยังได้วินิฉัยในคำพิพากษาแย้ง และอีก ๑ ท่านในคำพิพากษาเอกเทศว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ คำพิพากษาแย้งและเอกเทศนั้น ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา หาใช่เพียงความเห็นดังที่หลายท่านเข้าใจ และเป็นการยืนยันว่าแผนที่นั้นผิด ไทยน่าจะใช้ความผิดพลาดของแผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ ให้เป็นประโยชน์โดยเปิดเผยและตอกย้ำให้เป็นที่ทราบทั่วกันในทุกเวทีทั้งในและนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ไม่ว่าโดยเสียดินแดนทางบกเพิ่มเติมอีกกี่ล้านไร่ หากหลักเขตที่ ๗๓ ยังคงเดิม ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอน ความผิดพลาดของแผนที่ทางบกหาได้กระทบกระเทือนเขตแดนทางทะเลแต่ประการใด เขตแดนทางทะเลของไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตแดนที่กัมพูชากำหนดขึ้นโดยลากเส้นจากหลักเขตที่ ๗๓ ผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเส้นที่ปราศจากหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยจึงไม่มี ไทยมิบังควรยอมรับเส้นเขตแดนไม่ว่าทางบกหรือทางทะเลที่กัมพูชาลากขึ้นโดยพลการ เพราะการกระทำดังกล่าวจะเป็นการหยิบยื่นแผ่นดินไทยให้ผู้รุกรานโดยปราศจากการต่อสู้ทั้ง ๆ ที่หลักฐาน ข้อเท็จจริงและอำนาจต่อรองทั้งหมด รวมทั้งกำลังทหารที่เหนือกว่าอยู่ในมือ
ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น