บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของการที่ข้าราชการ ก.ต่างประเทศ ไปยอมรับแผนที่ 1:200,000 เป็นครั้งแรกใน MOU 2543 โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม

ที่มาของการที่ข้าราชการ ก.ต่างประเทศ ไปยอมรับแผนที่ 1:200,000 เป็นครั้งแรกใน MOU 2543
โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม

"..ก่อนหน้าที่ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้เขียนได้มีโอกาสประชุมหลายครั้งร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหลายคนเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และ MOU 2543 เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศดังกล่าวทั้งหมดไม่เคยเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในการประชุมครั้งใดๆ เลย

แต่หลังที่ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งประชุมร่วมกับประธานกรรมการและกรรมการของ JBC (ฝ่ายไทย) หลายครั้ง โดยผู้เขียนได้สอบถามว่าทำไมกระทรวงการต่างประเทศจึงดำเนินการทำ MOU 2543 โดยไปยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่จัดทำโดยฝรั่งเศสฝ่ายเดียว ว่าเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งนายวศิน ธีรเวชญาณ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นประธานของ JBC (ฝ่ายไทย) ในขณะนั้น และนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งเป็นกรรมาธิการของ JBC (ฝ่ายไทย) ให้เหตุผลว่า

เนื่องจากประเทศกัมพูชาเป็นผู้เสนอให้มีการระบุแผนที่ดังกล่าวใน MOU 2543 ด้วย หากประเทศไทยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวก็จะทำให้ไม่สามารถตกลงจัดทำ MOU 2543 ได้ นอกจากนี้บุคคลดังกล่าวทั้งหมดยังยืนยันด้วยว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร ทั้งๆ ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมิได้มีคำพิพากษาดังกล่าวตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชาก็ยืนยันมาตลอดเช่นกันว่า แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ดังกล่าวเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนและมีผลบังคับใช้ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร รวมทั้งเส้นเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่ดังกล่าว

การที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งประธานและกรรมาธิการบางคนของ JBC (ฝ่ายไทย) มีความเห็นเช่นนี้ซึ่งสอดรับกับฝ่ายกัมพูชา จะทำให้การดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกัมพูชาของ JBC (ฝ่ายไทย) ตาม MOU 2543 อาจจะเกิดความเสียหายต่ออาณาเขตดินแดนและอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยได้.."

ยกข้อความมาจาก
"เอกสารข้อมูลประกอบการพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา  รวม 3 ฉบับ"
โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม
 ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษา บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รวม 3 ฉบับ

บทความฉบับเต็ม ๑
<http://www.facebook.com/note.php?note_id=169693773064343>
บทความฉบับเต็ม ๒
<http://www.facebook.com/note.php?note_id=169694163064304>
บทความฉบับเต็ม ๓
<http://www.facebook.com/note.php?note_id=169694336397620>
บทความฉบับเต็ม ๔
<http://www.facebook.com/note.php?note_id=169694763064244>

ที่มา : ตอบโต้บทความของนายกฯ โดย Thepmontri Limpaphayom ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2010
 <http://www.facebook.com/note.php?note_id=169690179731369>

ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม


วศิน ธีรเวชญาณ


ประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง