จริยธรรมเป็นแขนงหนึ่งในวิชาปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความดีงามของมนุษย์ที่จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด จริยธรรมจึงหมายถึงการแยกสิ่งถูกจากผิด แยกความดีออกจากความชั่ว ความหมายในพจนานุกรมไทยระบุไว้ว่า จริยธรรมนั้นหมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติที่มีศีลธรรมอันดีงาม
วิชาชีพแต่ละสาขามักจะมีการกำหนดความหมายของจริยธรรมในแต่ละอาชีพไว้กำกับการทำหน้าที่ของบุคคลแต่ละสาขาอาชีพซึ่งรวมทั้งนักการเมืองด้วย จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดที่ผ่านการรับรองของสภาเมื่อปี 2550 ตามมาตรา 279 ได้บัญญัติไว้ว่า มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ได้กำหนดขึ้น
หลังจากนั้นได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง ปี 2551 ออกมาบังคับใช้โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมาซึ่งระเบียบดังกล่าวนี้นอกจากกำหนดค่านิยมหลักของนักการเมืองไว้ว่าต้องมีจิตสำนึกที่ดีแล้วยังกำหนดว่าต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน
ทั้งต้องวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนและยื่นเรื่องต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
ในต่างประเทศนั้นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมักจะมีจริยธรรมสูง ถ้าหากเขามีการกระทำผิดแล้วนักการเมืองในประเทศที่เจริญจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบด้วยการลาออกโดยทันทีซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการกระทำที่มีมาตรฐานทางจริยธรรมทางการเมืองที่มีน้ำใจที่ดีงามในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ และคงเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมในทางการเมืองของสังคมที่พัฒนาแล้ว
วิชาชีพแต่ละสาขามักจะมีการกำหนดความหมายของจริยธรรมในแต่ละอาชีพไว้กำกับการทำหน้าที่ของบุคคลแต่ละสาขาอาชีพซึ่งรวมทั้งนักการเมืองด้วย จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดที่ผ่านการรับรองของสภาเมื่อปี 2550 ตามมาตรา 279 ได้บัญญัติไว้ว่า มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ได้กำหนดขึ้น
หลังจากนั้นได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง ปี 2551 ออกมาบังคับใช้โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมาซึ่งระเบียบดังกล่าวนี้นอกจากกำหนดค่านิยมหลักของนักการเมืองไว้ว่าต้องมีจิตสำนึกที่ดีแล้วยังกำหนดว่าต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน
ทั้งต้องวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนและยื่นเรื่องต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
ในต่างประเทศนั้นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมักจะมีจริยธรรมสูง ถ้าหากเขามีการกระทำผิดแล้วนักการเมืองในประเทศที่เจริญจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบด้วยการลาออกโดยทันทีซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการกระทำที่มีมาตรฐานทางจริยธรรมทางการเมืองที่มีน้ำใจที่ดีงามในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ และคงเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมในทางการเมืองของสังคมที่พัฒนาแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น