บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

คำแปล หนังสือคัดค้านอินโดนีเซียส่งทหารเข้ามาสังเกตการณ์ในราชอาณาจักรไทย

หนังสือคัดค้านอินโดนีเซียส่งทหารเข้ามาสังเกตการณ์ในราชอาณาจักรไทย
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2554

เรื่อง ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา

เรียน ฯพณฯท่านเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนิเซียประจำประเทศไทย


อ้างถึง 1. ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนที่กรุงจากาตาร์ อินโดนิเซีย เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554)

2. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ( พ.ศ. 2447)

3. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จะรเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ( พ.ศ. 2450)

4. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505

ตามที่สาธารณรัฐอินโดนิเซียกำลังเตรียมการที่จะจัดส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ตามอ้างถึงข้อ1นั้น คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย(ส่งผู้แทนบางส่วนมารวมตัวกันที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์-ข้างทำเนียบรัฐบาล) ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่เขตแดนไทย

ทั้งนี้คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย ขอเรียนชี้แจงให้ทราบดังนี้

ตามอ้างถึงข้อ2.และข้อ3.นั้น เป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนพื้นที่แผ่นดินระหว่างสยามกับฝรั่งเศสและในหนังสือทั้งอนุสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1907ต่างก็ระบุชัดเจนว่า เส้นเขตแดนตามแนวเขาดงรัก(ที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร)ให้ใช้”สันปันน้ำ”เป็นเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส และมีการตั้งคณะกรรมการผสมจากตัวแทนฝ่ายสยามและฝ่ายฝรั่งเศสขึ้นมา2ชุด คือ คณะกรรมการผสมชุดที่1 ที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญาตามอ้างถึงข้อ 1 (ค.ศ.1904) และคณะกรรมการผสมชุดที่2 ที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญาตามอ้างถึงข้อ 2 (ค.ศ.1907) เพื่อสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกทั้ง 2 ช่วงเวลา

1.1 ผลการทำงานของคณะกรรมการผสมชุดที่1 (ค.ศ.1904)

วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ภายหลังจากการประชุมของคณะกรรมการผสมชุดที่หนึ่ง ซึ่งดำเนินการประชุมไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ในครั้งนั้น อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสในกรุงปารีสว่า ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากพันเอก แบนารด์ซึ่งประธานคณะกรรมการผสมของฝรั่งเศสว่า ”การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นและว่า ได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้ว นอกจากในอาณาบริเวณเสียมราฐ”

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ประธานฝรั่งเศสคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสได้รายงานไปยังรัฐบาลฝรั่งเศสว่า “ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขง การกำหนดเขตแดนไม่ได้ประสบความยุ่งยากใดๆเลย”

พันเอก แบร์นารด์ กรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมฝ่ายฝรั่งเศส ได้กล่าวบรรยายที่กรุงปารีสเกี่ยวกับงานปักปันเขตแดน 3 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ.1905 ถึง ค.ศ.1907 มีความตอนหนึ่งว่า “แทบทุกหนทุกแห่ง สันปันน้ำประกอบเป็นเส้นพรมแดน และจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ ก็แต่เพียงที่เกี่ยวกับจุดปลายสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น”

1.2 ผลการทำงานของคณะกรรมการผสมชุดที่2 ( ค.ศ.1907)

คณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสชุดที่ 2 มีบันทึกรายงานของ พันเอก มองกิเอร์ ประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมสยามกับฝรั่งเศส ชุดที่ 2 ได้ยืนยันตามผลงานการสำรวจและปักปันเขตแดนของคณะกรรมการชุดที่1 ว่า

“เส้นเขตแดนเดินไปตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งอยู่ที่หน้าผา เห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก”

ดังนั้นผลการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดคือ ชุดที่1ปี ค.ศ.1904 และชุดที่2ปี ค.ศ.1907 ให้คำตอบที่แน่ชัดว่า ทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับใช้ “สันปันน้ำ ซึ่งก็คือขอบหน้าผาของเขาดงรัก”เป็นเส้นเขตแดน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904”


1.3 รายละเอียดในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ได้ระบุในคำตัดสินว่า:

“ในประการสุดท้าย เมื่อพิจารณาถึงคำแถลงสรุปที่คู่ความได้ยื่นต่อศาลเมื่อตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจา ศาลมีความเห็นดังเหตุผลที่ได้บ่งไว้ในตอนต้นของคำพิพากษานี้ ว่าคำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดในเรื่องสภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 (แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000) และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา” (ตามอ้างถึง 4)

ดังนั้นแผนที่ (แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000)นั้น ไม่ได้รับรองสถานะของแผนที่ ฉบับที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าเป็นแผนที่ที่เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันผสมสยามกับฝรั่งเศส(แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000) และไม่ได้รับรองสถานะของเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ฉบับนี้ว่าเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้องระหว่างไทยกับกัมพูชา

1.4 ประเทศไทยได้ยินยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยการถอนกำลังทหาร ตำรวจ ออกจากตัวปราสาทพระวิหารและส่งคืนตัวปราสาทพระวิหาร และได้กำหนดบริเวณให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น และได้สงวนสิทธิ์ที่เรียกร้องทวงคืนปราสาทพระวิหารไว้แล้ว


ดังนั้นพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่เป็นกรณีพิพาทอยู่ในขณะนี้และฝ่ายกัมพูชาได้ใช้กำลังทหารยึดครองโดยอ้างอิงเส้นเขตแดนที่กำหนดในแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 กัมพูชายังได้เจตนาละเมิดผิดข้อตกลงตามมาตรา 5 ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 2543) โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่เขตแดนถึง 123 ครั้ง ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงย่อมต้องถูกพิจารณา “เป็นการยึดครองแผ่นดินของไทย”

2. คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยให้ความสำคัญต่อการเจรจาแบบทวิภาคีตามบทบัญญัติของกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 2 วรรค7และ ข้อ33รวมทั้งกฎบัตรอาเซียนข้อ 2 (F) และมีความเห็นว่า การที่กองกำลังทหารอินโดนิเซียจะเข้ามาปฏิบัติการตามผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนที่กรุงจากาตาร์ อินโดนิเซีย เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554)นั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารของต่างชาติที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงานของกองทัพไทยในการปกป้องแผ่นดินไทย ที่เข้าลักษณะการแทรกแซงการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี นอกจากนี้แล้วยังเป็นการกระทำที่ผิดมารยาท ซึ่งมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทหารที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนานควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรกระทำ


3. การเดินทางเข้ามาของกำลังทหารอินโดนิเซียในครั้งนี้ ต้องมีการทำเอกสารตกลงกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ (Term of Reference) แม้จะอ้างว่าเข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรายงานหรือตำบลที่ในการวางกำลังของทหารอินโดนิเซียทั้งในส่วนของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ล้วนแต่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของฝ่ายไทยหรือมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งสิ้น

ดังนั้นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดการปฏิบัติในการเดินเข้ามาของกำลังทหารอินโดเซียในครั้งนี้ จึงสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยและการทำประชาพิจารณ์ และในการปฏิบัติการของกำลังทหารอินโดนิเซียนั้น หากมีการกระทำที่ทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียดินแดนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งความสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับอินโดนิเซีย


4. ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย จึงขอคัดค้านการส่งกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดนิเซียเข้ามาในพื้นที่เขตแดนไทย เพื่อมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากรณีพิพาทเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา

จึงเรียนมาเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการตามที่คณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยเสนอในข้อ 4.

ขอแสดงความนับถือ


พลตรีจำลอง ศรีเมือง

พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ

พลเรือโทประทีป ชื่นอารมย์

พลอากาศเอกเทิดศักดิ์ สัจจรักษ์

นายประพันธุ์ คูณมี

นายเทิดภูมิ ใจดี

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง