เหตุผลและหลักฐาน ที่ต้องยกเลิก MoU43
โดย Rattawoot Pratoomraj ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2010 เวลา 16:05 น.
เหตุผล(๑)
(๓.๑)
จากข้อความใน MOU ปี พ.ศ. 2543 "...จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้...
...(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส..." <http://bit.ly/c9cfuY>
(๓.๒)
หากย้อนไปดูบันทึกข้อความของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ที่นำไปสู่การทำ MOU 43
"..พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน.." <http://bit.ly/c760Ex>
ดังนั้น MoU43 จึงเปิดโอกาสให้กัมพูชา อ้างได้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ประเทศไทยได้ยืนยันยึดหลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดน (ตามตัวบทสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ มาโดยตลอด) อีกทั้งการปักปันเขตแดนได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วตามที่กำหนดใน "พิธีสารว่าด้วยการปักปันฯ"ที่แนบท้ายตัวสนธิสัญญา (๑๙๐๗) อีก 1 ฉบับ และ ในการปักปันหลักเขตแดนที่ 1- 73 นั้น ได้ทำเป็นแผนที่ 1:20,000 (หลายฉบับ)โดยแผนที่แต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ที่ปักปันประมาณ 2-3 หลักเขตแดน
เหตุผล(๒)
การปล่อยให้กัมพูชานำเสนอหลักฐาน เท็จ(แผนที่ ระวางดงรัก Annex I มาตราส่วน 1:200000) ซึ่งผิดจากความจริง<1> จะทำให้แผนที่ดังกล่าว มีความชอบธรรม ที่กัมพูชาจะนำไปใช้อ้างอิงการกำหนดเขตแดนทางทะเลต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาติมหาอำนาจ จึงสนับสนุนกัมพูชา บนเวที UNESCO ซึ่งแท้จริงต้องการผลประโยชน์จากแหล่งพลังงาน<2>ที่กัมพูชาเอื้อให้ <http://www.facebook.com/note.php?note_id=132401876801163>
เหตุผล(๓)
หากตัดคำพิพากษาของศาลโลกที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อปี 2505 ปมขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ก็น่าจะมีร่องรอยตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่ได้ไปลงนามตกลงกับกัมพูชาเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 2543 โดยเป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว <http://bit.ly/dh0TOE>
เหตุผล(๔)
กัมพูชาได้กระทำการรุกล้ำดินแดนไทย จึงเป็นการละเมิดข้อตกลง ข้อ ๕ ใน MoU43
๔-๑
MoU43
<http://www.oknation.net/blog/canthai/2010/07/31/entry-1>
๔-๒
“...ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือถึงกัมพูชาจะเสนอแค่ตัวปราสาท แต่ สภาพความเป็นจริง กัมพูชายังไม่ถอนทหาร หรือนำคนที่บุกรุกออกจากพื้นที่ฝั่งไทยประมาณ 800 คนที่มาตั้งชุมชนตั้งแต่ปี 2546 และทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ จะมีการจัดการอย่างไรกับการรุกล้ำของคนกลุ่มนี้ในฝั่งไทย…”กรุงเทพธุรกิจ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๑
http://www.bangkokbiznews.com/2008/06/20/news_268881.php
๔-๓
จากหลักฐานในอดีต จะเห็นได้ว่าเขมรได้เคยพยายามรุกเข้าดินแดนไทย ตามหลักฐานในปี ๒๕๔๓ (ปีที่ไทยทำ MoU2543 กับเขมร) อ้างอิงรูปซากเฮลิคอปเตอร์ของเขมร ที่โดนทหารไทยยิงตก เพราะรุกล้ำน่านฟ้าไทยในบริเวณใกล้ตัวปราสาทพระ วิหารจุดตกอยู่ตรงบริเวณรั้วลวด หนาม ก่อนถึงเป้ยตาดี (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2543)►ปัจจุบันบริเวณนี้ มีกองกำลังเขมร ยึดครองอยู่ ทหารไทยไปไม่ได้อีกแล้ว ทั้งที่เป็นเขตไทย http://bit.ly/buRhGC
๔-๔
แผนที่ แสดงการจัดการมรดกโลกร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา จัดทำเอกสารโดยกัมพูชา (ซึ่งอ้างอิงความสำคัญของแผนที่ ๑ ต่อ ๒แสนที่ระบุใน MoU43) แสดงให้เห็นว่าไทยต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดน 4.6 ตร.กม. อยู่ดีและจากเริ่มมากกว่านั้นไปอีกในไม่ช้า เพราะ จะมี 7 ชาติมาร่วมบริหารการจัดการแผ่นดินไทย <http://www.facebook.com/photo.php?pid=30734725&id=1437631173&subject=122567011117032&ref=mf>
๔-๕
หลักฐานการรุกล้ำเขตแดนไทย จากบันทึกลับของกองกำลังบูรพา
"“เทพมนตรี” เผยเอกสารลับชายแดนสระแก้ว พิสูจน์ชัด MOU43 ทำเขมรย่ามใจบุกรุกดินแดนไทย"
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000185099
เหตุผล(๕)
จากหลักการที่ว่า "สิ่งที่มิตรชอบ ศัตรูชัง ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อเรา" ต่อกรณี MoU43 ที่ภาคประชาชนให้ยกเลิก แต่ฮุนเซนประท้วงไม่ให้ยกเลิก ดังนั้นถ้ากัมพูชาไม่เห็นว่า MoU43 มีข้อได้เปรียบแล้ว ทำไมฮุนเซนจึงมีปฏิกิริยาประท้วงรุนแรงเช่นนี้ในเวทีระหว่างประเทศ ? อ้างอิง "..กรณี สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือถึงประธานการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ(ยูเอ็น)และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ประท้วงท่าทีของไทยที่จะยกเลิกเอ็มโอยู2543.." http://bit.ly/9OKoc5
เหตุผล(๖)
การทำข้อตกลง MoU43 ยังไม่ผ่านการรับรองของรัฐสภา จึงส่อว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาตรา ๒๒๔
อ้างอิง รัฐธรรมนูญ ฉบับบปี ๒๕๔๐ <รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ - วิกิซอร์ซ http://bit.ly/bV1sg1>
โดย Rattawoot Pratoomraj ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2010 เวลา 16:05 น.
เหตุผล(๑)
(๓.๑)
จากข้อความใน MOU ปี พ.ศ. 2543 "...จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้...
...(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส..." <http://bit.ly/c9cfuY>
(๓.๒)
หากย้อนไปดูบันทึกข้อความของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ที่นำไปสู่การทำ MOU 43
"..พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน.." <http://bit.ly/c760Ex>
ดังนั้น MoU43 จึงเปิดโอกาสให้กัมพูชา อ้างได้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ประเทศไทยได้ยืนยันยึดหลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดน (ตามตัวบทสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ มาโดยตลอด) อีกทั้งการปักปันเขตแดนได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วตามที่กำหนดใน "พิธีสารว่าด้วยการปักปันฯ"ที่แนบท้ายตัวสนธิสัญญา (๑๙๐๗) อีก 1 ฉบับ และ ในการปักปันหลักเขตแดนที่ 1- 73 นั้น ได้ทำเป็นแผนที่ 1:20,000 (หลายฉบับ)โดยแผนที่แต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ที่ปักปันประมาณ 2-3 หลักเขตแดน
เหตุผล(๒)
การปล่อยให้กัมพูชานำเสนอหลักฐาน เท็จ(แผนที่ ระวางดงรัก Annex I มาตราส่วน 1:200000) ซึ่งผิดจากความจริง<1> จะทำให้แผนที่ดังกล่าว มีความชอบธรรม ที่กัมพูชาจะนำไปใช้อ้างอิงการกำหนดเขตแดนทางทะเลต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาติมหาอำนาจ จึงสนับสนุนกัมพูชา บนเวที UNESCO ซึ่งแท้จริงต้องการผลประโยชน์จากแหล่งพลังงาน<2>ที่กัมพูชาเอื้อให้ <http://www.facebook.com/note.php?note_id=132401876801163>
เหตุผล(๓)
หากตัดคำพิพากษาของศาลโลกที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อปี 2505 ปมขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ก็น่าจะมีร่องรอยตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่ได้ไปลงนามตกลงกับกัมพูชาเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 2543 โดยเป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว <http://bit.ly/dh0TOE>
เหตุผล(๔)
กัมพูชาได้กระทำการรุกล้ำดินแดนไทย จึงเป็นการละเมิดข้อตกลง ข้อ ๕ ใน MoU43
๔-๑
MoU43
<http://www.oknation.net/blog/canthai/2010/07/31/entry-1>
๔-๒
“...ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือถึงกัมพูชาจะเสนอแค่ตัวปราสาท แต่ สภาพความเป็นจริง กัมพูชายังไม่ถอนทหาร หรือนำคนที่บุกรุกออกจากพื้นที่ฝั่งไทยประมาณ 800 คนที่มาตั้งชุมชนตั้งแต่ปี 2546 และทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ จะมีการจัดการอย่างไรกับการรุกล้ำของคนกลุ่มนี้ในฝั่งไทย…”กรุงเทพธุรกิจ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๑
http://www.bangkokbiznews.com/2008/06/20/news_268881.php
๔-๓
จากหลักฐานในอดีต จะเห็นได้ว่าเขมรได้เคยพยายามรุกเข้าดินแดนไทย ตามหลักฐานในปี ๒๕๔๓ (ปีที่ไทยทำ MoU2543 กับเขมร) อ้างอิงรูปซากเฮลิคอปเตอร์ของเขมร ที่โดนทหารไทยยิงตก เพราะรุกล้ำน่านฟ้าไทยในบริเวณใกล้ตัวปราสาทพระ วิหารจุดตกอยู่ตรงบริเวณรั้วลวด หนาม ก่อนถึงเป้ยตาดี (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2543)►ปัจจุบันบริเวณนี้ มีกองกำลังเขมร ยึดครองอยู่ ทหารไทยไปไม่ได้อีกแล้ว ทั้งที่เป็นเขตไทย http://bit.ly/buRhGC
๔-๔
แผนที่ แสดงการจัดการมรดกโลกร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา จัดทำเอกสารโดยกัมพูชา (ซึ่งอ้างอิงความสำคัญของแผนที่ ๑ ต่อ ๒แสนที่ระบุใน MoU43) แสดงให้เห็นว่าไทยต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดน 4.6 ตร.กม. อยู่ดีและจากเริ่มมากกว่านั้นไปอีกในไม่ช้า เพราะ จะมี 7 ชาติมาร่วมบริหารการจัดการแผ่นดินไทย <http://www.facebook.com/photo.php?pid=30734725&id=1437631173&subject=122567011117032&ref=mf>
๔-๕
หลักฐานการรุกล้ำเขตแดนไทย จากบันทึกลับของกองกำลังบูรพา
"“เทพมนตรี” เผยเอกสารลับชายแดนสระแก้ว พิสูจน์ชัด MOU43 ทำเขมรย่ามใจบุกรุกดินแดนไทย"
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000185099
เหตุผล(๕)
จากหลักการที่ว่า "สิ่งที่มิตรชอบ ศัตรูชัง ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อเรา" ต่อกรณี MoU43 ที่ภาคประชาชนให้ยกเลิก แต่ฮุนเซนประท้วงไม่ให้ยกเลิก ดังนั้นถ้ากัมพูชาไม่เห็นว่า MoU43 มีข้อได้เปรียบแล้ว ทำไมฮุนเซนจึงมีปฏิกิริยาประท้วงรุนแรงเช่นนี้ในเวทีระหว่างประเทศ ? อ้างอิง "..กรณี สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือถึงประธานการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ(ยูเอ็น)และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็น)ประท้วงท่าทีของไทยที่จะยกเลิกเอ็มโอยู2543.." http://bit.ly/9OKoc5
เหตุผล(๖)
การทำข้อตกลง MoU43 ยังไม่ผ่านการรับรองของรัฐสภา จึงส่อว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาตรา ๒๒๔
อ้างอิง รัฐธรรมนูญ ฉบับบปี ๒๕๔๐ <รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ - วิกิซอร์ซ http://bit.ly/bV1sg1>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น