รัตนพิมพวงศ์กับการไขปริศนาของลาวและพม่าโดย ประทีป ชุมพล
โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 15 มีนาคม 2011 เวลา 18:13 น.
เจ้าพระยาจักรีนำพระแก้วมรกตจากประเทศลาวมาไว้ ณ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นับเป็นการสร้างความร้าวฉานอย่างรุนแรงให้กับลาวและไทย เพราะลาวอ้างว่าพระแก้วมรกตเป็นของลาวมาแต่เดิม แต่ไทยแย้งว่าเป็นของไทยมาก่อน เพียงแต่นำกลับมาไว้ที่เดิมเท่านั้น
ปัญหาที่แท้จริงแล้วพระแก้วมรกตนั้นเป็นสมบัติของใครระหว่างลาวกับไทย
ซึ่งแท้จริงแล้ว ตำนานรัตนพิมพวงศ์ เป็นหนังสือที่ตอบคำถามได้อยู่ดี แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็ยังตอบไม่ได้เช่นกันว่าพระแก้วมรกตควรเป็นของใครกันแน่
รัตนพิมพวงศ์แต่งขึ้นในสมัยที่ล้านนายังเป็นรัฐเอกราช พระพรหมราชปัญญาเป็นผู้แต่งเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. 1972 และพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า ตำนานพระแก้วมรกต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2456
ตามตำนานกล่าวว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่เมืองเชียงราย เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่างดงามและมีค่ามาก จึงถูกนำไปบรรจุในเจดีย์ แต่ต่อมาได้ถูกฟ้าผ่าและพังลงมา ทำให้ทุกคนเห็นองค์พระแก้วมรกตประทับอยู่ในเจดีย์องค์นั้น ภายหลังได้ถูกอัญเชิญไปไว้ตามเมืองต่างๆ ของรัฐล้านนา จนในที่สุดก็ได้มาประทับที่เมืองเชียงใหม่
จนเมื่อรัฐล้านนาขาดรัชทายาทที่เป็นผู้ชายปกครองรัฐ ทำให้ต้องอัญเชิญกษัตริย์ของรัฐล้านช้าง (รัฐลาว) ขึ้นไปปกครองระยะหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จกลับบ้านก็ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาด้วย ต่อมาพระยาจักรีตีเวียงจันทน์ได้ จึงได้นำพระแก้วมรกตกลับมายังสยาม แม้ภายหลังจะถูกลาวขอทวงคืน แต่ไทยอ้างว่าเป็นของสยามมาแต่เดิม
ความจริงแล้วลาวล้านนา ล้านช้างเป็นรัฐที่มีความสัมพันธ์กันทั้งทางการเมือง และทางเชื้อสาย อีกทั้งไทยหรือสยามก็เช่นกันมีพื้นฐานเป็นชาวลาวมาก่อน ดังนั้นสามรัฐนี้จึงเป็นประเทศอันเดียวกัน แต่ภายหลังได้แตกแยกกัน โดยที่ลาวเชียงใหม่ผนวกรวมกับลาวสยาม แต่มีลาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางที่แยกออกจากกันเป็นคนละประเทศ
สาเหตุไม่สามารถระบุได้ว่าพระแก้วมรกตควรจะประดิษฐานที่ใด แต่ใคร่ขอแนะนำซึ่งเป็นการสร้างความสมานไมตรีทั้งสามนคร ควรที่จะกำหนดให้พระแก้วมรกตไปจำพรรษาในนครต่างๆ จำนวนห้าปี คือ ให้ประดิษฐานในกรุงเทพมหานครห้าปี แล้วเสด็จไปจำพรรษาที่นครเวียงจันทน์ห้าปี จากนั้นประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ห้าปี แล้ววนกลับมาเช่นเดิมอีก ถ้าทำได้ก็จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสามนครนั้นอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน เพราะพระแก้วมรกต คือ สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
ส่วนนครใดไม่มีพระแก้วมรกตประทับก็ให้สร้างองค์จำลองประดิษฐานแทนไปก่อนก็ไม่แปลกอันใด ถ้าต้องการสร้างมิตรไมตรีอย่างแท้จริงระหว่าง ไทย ลาว ล้านช้าง และลาวล้านนา
ต่อมาเป็นเรื่องของพม่า ที่ปัจจุบันรัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมียนมาร์ แต่เราเรียกว่าพม่าเช่นเดิม
คำว่า พม่า หรือ เมียนมาร์ นั้นมีที่มาอย่างไร หลายคนใคร่รู้
ในรัตนพิมพวงศ์ เรียกอาณาจักรของพระเจ้าอนุรุทธว่า มลานนคร ซึ่งพระองค์เป็นกษัตริย์ผู้พิชิตอาณาจักรมอญสุธรรมวดีเมื่อ พ.ศ. 1593
เป็นที่รับรู้กันว่าพระเจ้าอนุรุทธในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพม่า และพระองค์ได้ยกทัพเข้ามายึดเมืองต่างๆ ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย
ดังนั้น มลานนคร คือ พม่านั่นเอง
มลานนคร มีที่มาอย่างไร
ชาวอาระกัน (ยะไข่) เรียกพม่า แต่ดั้งเดิมว่า มรัน แต่บางเผ่าพันธุ์ออกเสียง ร ไม่ได้ เช่น ชาวล้านนา ออกเสียง ร เป็น ฮ หรือ ย จึงออกเสียง มรัน เป็น มยัน เช่นเดียวกับเมือง ร่างกุ้ง ออกเสียงเป็น ย่างกุ้ง และในตำนานของไทย เรียกพม่าว่า ม่าน มีพื้นฐานมาจาก มรัน นั่นเอง นอกจากนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่าในหนังสือศิลาจารึกที่ปราสาทพระขันมีชื่อเมืองว่า มฺรัญ คือ มรัญ น่าจะหมายถึงพม่า มากกว่ามอญ
แต่นักปราชญ์คนดัง คือ ท่านศาสตราจารย์เซเดส์ชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า ข้อความในศิลาจารึกพระขันของพระชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต คำว่า มฺรัญ หมายถึง มอญ มิใช่ พม่า
พิจารณาจากรัตนพิมพวงศ์ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกว่า มรมฺมเทศ อ่านออกเสียงว่า มรันมา หรือ มยันมา
ซึ่ง มยันมา ก็คือ พม่า นั่นเอง และในตำนานบางเล่มเรียกพม่าว่า รามัญประเทศ ซึ่งน่าจะมีพื้นฐานมาจากคำว่า มรันมา ดังนั้น คำว่า รามัญ มิได้หมายถึง มอญ อย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
พม่าในเอกสารไทยเรียก มรมฺมเทศ มลานนคร แลรามัญมาแต่เดิม
เมื่อในปัจจุบันพม่าเรียกตัวเองใหม่ว่า เมียนมาร์ สามารถตรวจสอบที่มาของคำว่า มรัญ นั่นเอง
เห็นได้ว่าพม่าได้บัญญัติคำใหม่ดังนี้ แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามเปลี่ยนนามจากสยามประเทศเป็นไทยแลนด์ บอกตรงๆ ว่าน่าเกลียดมาก อีกทั้งไม่มีที่มาอย่างใดเลย นอกจากความโลภอยากจะเป็นมหาอำนาจ
ปัญหาที่แท้จริงแล้วพระแก้วมรกตนั้นเป็นสมบัติของใครระหว่างลาวกับไทย
ซึ่งแท้จริงแล้ว ตำนานรัตนพิมพวงศ์ เป็นหนังสือที่ตอบคำถามได้อยู่ดี แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็ยังตอบไม่ได้เช่นกันว่าพระแก้วมรกตควรเป็นของใครกันแน่
รัตนพิมพวงศ์แต่งขึ้นในสมัยที่ล้านนายังเป็นรัฐเอกราช พระพรหมราชปัญญาเป็นผู้แต่งเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. 1972 และพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า ตำนานพระแก้วมรกต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2456
ตามตำนานกล่าวว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่เมืองเชียงราย เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่างดงามและมีค่ามาก จึงถูกนำไปบรรจุในเจดีย์ แต่ต่อมาได้ถูกฟ้าผ่าและพังลงมา ทำให้ทุกคนเห็นองค์พระแก้วมรกตประทับอยู่ในเจดีย์องค์นั้น ภายหลังได้ถูกอัญเชิญไปไว้ตามเมืองต่างๆ ของรัฐล้านนา จนในที่สุดก็ได้มาประทับที่เมืองเชียงใหม่
จนเมื่อรัฐล้านนาขาดรัชทายาทที่เป็นผู้ชายปกครองรัฐ ทำให้ต้องอัญเชิญกษัตริย์ของรัฐล้านช้าง (รัฐลาว) ขึ้นไปปกครองระยะหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จกลับบ้านก็ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาด้วย ต่อมาพระยาจักรีตีเวียงจันทน์ได้ จึงได้นำพระแก้วมรกตกลับมายังสยาม แม้ภายหลังจะถูกลาวขอทวงคืน แต่ไทยอ้างว่าเป็นของสยามมาแต่เดิม
ความจริงแล้วลาวล้านนา ล้านช้างเป็นรัฐที่มีความสัมพันธ์กันทั้งทางการเมือง และทางเชื้อสาย อีกทั้งไทยหรือสยามก็เช่นกันมีพื้นฐานเป็นชาวลาวมาก่อน ดังนั้นสามรัฐนี้จึงเป็นประเทศอันเดียวกัน แต่ภายหลังได้แตกแยกกัน โดยที่ลาวเชียงใหม่ผนวกรวมกับลาวสยาม แต่มีลาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางที่แยกออกจากกันเป็นคนละประเทศ
สาเหตุไม่สามารถระบุได้ว่าพระแก้วมรกตควรจะประดิษฐานที่ใด แต่ใคร่ขอแนะนำซึ่งเป็นการสร้างความสมานไมตรีทั้งสามนคร ควรที่จะกำหนดให้พระแก้วมรกตไปจำพรรษาในนครต่างๆ จำนวนห้าปี คือ ให้ประดิษฐานในกรุงเทพมหานครห้าปี แล้วเสด็จไปจำพรรษาที่นครเวียงจันทน์ห้าปี จากนั้นประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ห้าปี แล้ววนกลับมาเช่นเดิมอีก ถ้าทำได้ก็จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสามนครนั้นอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน เพราะพระแก้วมรกต คือ สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
ส่วนนครใดไม่มีพระแก้วมรกตประทับก็ให้สร้างองค์จำลองประดิษฐานแทนไปก่อนก็ไม่แปลกอันใด ถ้าต้องการสร้างมิตรไมตรีอย่างแท้จริงระหว่าง ไทย ลาว ล้านช้าง และลาวล้านนา
ต่อมาเป็นเรื่องของพม่า ที่ปัจจุบันรัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมียนมาร์ แต่เราเรียกว่าพม่าเช่นเดิม
คำว่า พม่า หรือ เมียนมาร์ นั้นมีที่มาอย่างไร หลายคนใคร่รู้
ในรัตนพิมพวงศ์ เรียกอาณาจักรของพระเจ้าอนุรุทธว่า มลานนคร ซึ่งพระองค์เป็นกษัตริย์ผู้พิชิตอาณาจักรมอญสุธรรมวดีเมื่อ พ.ศ. 1593
เป็นที่รับรู้กันว่าพระเจ้าอนุรุทธในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพม่า และพระองค์ได้ยกทัพเข้ามายึดเมืองต่างๆ ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย
ดังนั้น มลานนคร คือ พม่านั่นเอง
มลานนคร มีที่มาอย่างไร
ชาวอาระกัน (ยะไข่) เรียกพม่า แต่ดั้งเดิมว่า มรัน แต่บางเผ่าพันธุ์ออกเสียง ร ไม่ได้ เช่น ชาวล้านนา ออกเสียง ร เป็น ฮ หรือ ย จึงออกเสียง มรัน เป็น มยัน เช่นเดียวกับเมือง ร่างกุ้ง ออกเสียงเป็น ย่างกุ้ง และในตำนานของไทย เรียกพม่าว่า ม่าน มีพื้นฐานมาจาก มรัน นั่นเอง นอกจากนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่าในหนังสือศิลาจารึกที่ปราสาทพระขันมีชื่อเมืองว่า มฺรัญ คือ มรัญ น่าจะหมายถึงพม่า มากกว่ามอญ
แต่นักปราชญ์คนดัง คือ ท่านศาสตราจารย์เซเดส์ชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า ข้อความในศิลาจารึกพระขันของพระชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต คำว่า มฺรัญ หมายถึง มอญ มิใช่ พม่า
พิจารณาจากรัตนพิมพวงศ์ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกว่า มรมฺมเทศ อ่านออกเสียงว่า มรันมา หรือ มยันมา
ซึ่ง มยันมา ก็คือ พม่า นั่นเอง และในตำนานบางเล่มเรียกพม่าว่า รามัญประเทศ ซึ่งน่าจะมีพื้นฐานมาจากคำว่า มรันมา ดังนั้น คำว่า รามัญ มิได้หมายถึง มอญ อย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
พม่าในเอกสารไทยเรียก มรมฺมเทศ มลานนคร แลรามัญมาแต่เดิม
เมื่อในปัจจุบันพม่าเรียกตัวเองใหม่ว่า เมียนมาร์ สามารถตรวจสอบที่มาของคำว่า มรัญ นั่นเอง
เห็นได้ว่าพม่าได้บัญญัติคำใหม่ดังนี้ แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามเปลี่ยนนามจากสยามประเทศเป็นไทยแลนด์ บอกตรงๆ ว่าน่าเกลียดมาก อีกทั้งไม่มีที่มาอย่างใดเลย นอกจากความโลภอยากจะเป็นมหาอำนาจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น