บันทึกการประชุมเจบีซี ทำไมสมาชิกรัฐสภาจะต้องรับรองตามความต้องการของกัมพูชา??
โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 13 มีนาคม 2011 เวลา 17:39 น.
โดย ASTV
ทำไมสมาชิกรัฐสภาจะต้องรับรองตามความต้องการของกัมพูชา??
ก็ในเมื่อกัมพูชาโดยสมเด็จฮุนเซนเขาพูดชัดเจนว่าจะไม่เข้าประชุม JBC ครั้งต่อไป หากรัฐสภาไทยยังไม่รับรองบันทึกการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลไทยยุคนี้ - ในนามของกระบวนการสภา - มีหรือจะไม่เร่งรัด ข่าวว่าจะมีการประชุมร่วมของ 2 สภาในวันที่ 22 มีนาคม 2554 นี้
นี่คือศักดิ์ศรีของชาติและศักดิ์ศรีของรัฐสภาไทยที่สมาชิกทุกท่านต้องพิจารณากันให้ดี!
นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโฆษณาคุณสมบัติของการเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้ว่าจะสามารถปกป้องแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรไว้ได้ แต่แปลกไหมครับว่าทำไมกัมพูชาเองก็เร่งรัดกระบวนการนี้เช่นกัน ไม่เห็นเขาคัดค้านเลย ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันไม่เห็นเขาคัดค้านเลย
แสดงว่าการเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชาอย่างยิ่งที่เขาต้องการแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร!
คำถามง่ายๆ คือจะเป็นไปได้อย่างไรที่การเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้จะเป็นประโยชน์ต่อไทยด้วย?
ซ้ำอีกครั้งสั้นๆ ง่ายๆ นะครับว่าที่เราต้องคัดค้านบันทึก JBC มีอย่างน้อยที่สุด 3 กลุ่มประเด็น
1. คัดค้านการรับรองแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
2. คัดค้านการถอนทหารออกจากวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระและบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร
3. การปักปันเขตแดน (Delimitation) เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหาร คือจากช่องสะงำ ศรีสะเกษ ไปจนถึงช่องบก อุบลราชธานี ความยาว 195 กิโลเมตร เสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 103 ปีก่อน เป็นที่ยอมรับกันทั้งสยามและฝรั่งเศสว่ามีความชัดเจนตามธรรมชาติไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดน
ในกลุ่มประเด็นที่ 1 และกลุ่มประเด็นที่ 3 นั้น ร่างบันทึกข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร เอกสารแนบท้ายบันทึกการประชุมทั้ง 3 ครั้ง ได้เขียนไว้ในย่อหน้าที่ 3 ไปรับรองบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก 2543 หรือเอ็มโอยู 2543
ถ้าลงมติเห็นชอบไปก็เท่ากับมติรัฐสภาเห็นชอบในเอ็มโอยู 2543 - ที่ไม่เคยผ่านการรับรองจากรัฐสภามาก่อน - ซึ่งมีข้อ 1 (ค) ระบุให้นำแผนที่ 1 : 200,000 มาประกอบการพิจารณาจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่าง 2 ประเทศด้วย แม้ท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะบอกว่าข้อ 1 (ค) ดังกล่าวไม่ได้หมายรวมแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะกัมพูชาและไม่ได้คิดไม่ได้เชื่ออย่างนั้น
ถ้าลงมติไปก็เท่ากับว่าเห็นชอบให้จัดทำหลักเขตแดนใหม่บริเวณปราสาทพระวิหาร หรือตั้งแต่ช่องสะงำไปถึงช่องบกความยาว 195 กิโลเมตร - ซึ่งไม่เคยมีหลักเขตแดนมาก่อน - ด้วย
ซึ่งก็จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น และมีอัตราเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการในอนาคต ต่อเนื่องจากการสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติที่เสียต่อเนื่องมานับสิบปีนับจากกัมพูชารุกเข้ามาสร้างถนน สร้างวัด สร้างชุมชน
หลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งจัดทำเมื่อกว่า 100 ปีก่อนนั้น มีอยู่รวมทั้งสิ้น 73 หลัก เริ่มจากช่องสะงำ ศรีสะเกษ ไปจรดติดอ่าวไทยที่ตราด คำถามที่เราต้องถามต้องตอบตัวเองก็คือทำไมตรง 195 กิโลเมตรแรกจากช่องบกถึงช่องสะงำ ถึงไม่มีการจัดทำหลักเขตแดน
คำตอบก็มีง่ายๆ ว่าก็เพราะแต่เดิม ตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน มีความชัดเจนแล้วว่าเส้นเขตแดนตรงนั้นคือสันปันน้ำที่มีความชัดเจนในระดับหน้าผา และไทยก็ยึดถือมาตลอด แม้จะสูญเสียปราสาทพระวิหารไปโดยคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 เราก็ล้อมรั้วลวดหนามส่งมอบให้กัมพูชาเฉพาะตัวปราสาท และจำเป็นต้องพูดด้วยว่าจากปี 2505 จนถึงปี 2543 ที่มีการทำบันทึกความเข้าใจฯ 2543 เป็นเวลารวม 38 ปี กัมพูชาไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงไทยแต่ประการใด
การผลักดันให้ไทยเขียน “ข้อ 1 (ค)” ลงในบันทึกความเข้าใจฯ 2543 ในช่วงปี 2542 - 2543 จึงเป็นวาระแห่งชาติของกัมพูชาที่เป็นก้าวสำคัญในการทำตามเจตนารมณ์ปี 2502 - 2505 ให้สำเร็จ
คือการทำให้เส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรักเป็นเส้นเขตแดนที่แท้จริง
เพราะคำพิพากษาศาลโลก 2505 กัมพูชาได้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่ได้อาณาบริเวณโดยรอบ และศาลโลกไม่ได้พิพากษาให้เส้นเขตแดนยึดตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
อันที่จริงแม้เอ็มโอยู 2543 จะมีปัญหาในข้อ 1 (ค) แต่ในข้อ 2 (ก) ก็ระบุให้อนุกรรมาธิการเทคนิค “...พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลักซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ. 1909 และค.ศ. 1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมเพื่อพิจารณา” ซึ่งจนถึงบัดนี้ดูเหมือนการพิสูจน์ทราบก็พบเพียง 40 หลักเศษๆ เท่านั้น ภารกิจลำดับแรกยังไม่แล้วเสร็จ แต่เสียค่าโง่ไปเดินตามหมากของกัมพูชาที่วางล่อเอาไว้ให้มาเริ่มจัดทำหลักเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารก่อน โดยมาอ้างว่าตรงนั้นเป็นปัญหา มีการกระทบกระทั่งกันเนือง ๆ
ก็ต้องถามกันว่าเป็นปัญหาเพราะอะไร?
คำตอบก็คือไม่ใช่เพราะเขตแดนไม่ชัดเจน เป็นปัญหา เขตแดนมันชัดเจนอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน และชัดเจนรองลงมาก็ตั้งแต่เมื่อปี 2505 เมื่อเราล้อมรั้วคืนตัวปราสาทพระวิหารให้ มันเป็นปัญหาก็เพราะกัมพูชารุกล้ำดินแดนไทยอย่างมียุทธศาสตร์ มียุทธวิธี และด้วยหลายสาเหตุฝ่ายไทยปล่อยปละละเลยให้มีการรุกล้ำ ไม่ดำเนินการจัดการในทุกวิถีทาง แถมข้าราชการบางคนยังมีผลประโยชน์ร่วมกับการรุกล้ำนั้นเสียอีก นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังทำบันทึกความเข้าใจฯ 2543
การยอมรับว่าจะต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนใหม่บริเวณปราสาทพระวิหาร (และ 195 กิโลเมตรจากช่องสะงำไปจรดช่องบก) คือความพ่ายแพ้ขั้นที่ 1 ของชาติไทย
คือการเริ่มต้นเส้นทางสายที่จะนำไปสู่การเสียดินแดนอย่างเป็นทางการให้กัมพูชา
คือการล็อกตัวเองอยู่บนโต๊ะเจรจาและล็อกกัมพูชาที่รุกรานให้อยู่บนแผ่นดินไทยตลอดไป !
จากแต่เดิมที่เรามีสันปันน้ำชัดเจนเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ เป็นที่ยอมรับของ 2 ประเทศอยู่แล้ว เราไปสละข้อยอมรับนั้น แล้วยอมให้มีการจัดทำหลักเขตแดนตรงนั้นใหม่ ทั้งๆ ที่ไม่เคยต้องมีมาก่อน แถมยังยอมรับให้นำแผนแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรักมาประกอบการพิจารณาด้วย
ก็เท่ากับมี 2 เส้นเกิดขึ้น และมี 2 หลักการเกิดขึ้น คือหลักสันปันน้ำตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และหลักมั่วตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
ของเป็นของเราเต็ม 100 จู่ๆ ทำไมจะต้องทำให้เป็นปัญหามาให้ถกเถียงกันว่าเป็นเราหรือเป็นของเขา
นี่คือ “ความล้มเหลวรวมหมู่” และ “ความเน่าเฟะไร้สำนึกทางประวัติศาสตร์รวมหมู่” ของชาติไทยในรอบสิบกว่าปีมานี้นับแต่รัฐไปยอมจำนนเขียน “ข้อ 1 (ค)” ไว้ในบันทึกความเข้าใจฯ 2543 และจากนั้นจนบัดนี้ก็ยังสะกดคำว่า “แผ่นดินไทย” ไม่ถูกและพูดออกเสียงไม่เป็นในกรณีแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร
สมาชิกรัฐสภาทุกท่านอยากมีชื่อบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์อย่างไร การลงมติในวันที่ 22 มีนาคม 2554 จะเป็นเงื่อนไขสำคัญ!
ทำไมสมาชิกรัฐสภาจะต้องรับรองตามความต้องการของกัมพูชา??
ก็ในเมื่อกัมพูชาโดยสมเด็จฮุนเซนเขาพูดชัดเจนว่าจะไม่เข้าประชุม JBC ครั้งต่อไป หากรัฐสภาไทยยังไม่รับรองบันทึกการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลไทยยุคนี้ - ในนามของกระบวนการสภา - มีหรือจะไม่เร่งรัด ข่าวว่าจะมีการประชุมร่วมของ 2 สภาในวันที่ 22 มีนาคม 2554 นี้
นี่คือศักดิ์ศรีของชาติและศักดิ์ศรีของรัฐสภาไทยที่สมาชิกทุกท่านต้องพิจารณากันให้ดี!
นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโฆษณาคุณสมบัติของการเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้ว่าจะสามารถปกป้องแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตรไว้ได้ แต่แปลกไหมครับว่าทำไมกัมพูชาเองก็เร่งรัดกระบวนการนี้เช่นกัน ไม่เห็นเขาคัดค้านเลย ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันไม่เห็นเขาคัดค้านเลย
แสดงว่าการเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชาอย่างยิ่งที่เขาต้องการแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร!
คำถามง่ายๆ คือจะเป็นไปได้อย่างไรที่การเจรจาตามกรอบ MOU 2543 โดย JBC นี้จะเป็นประโยชน์ต่อไทยด้วย?
ซ้ำอีกครั้งสั้นๆ ง่ายๆ นะครับว่าที่เราต้องคัดค้านบันทึก JBC มีอย่างน้อยที่สุด 3 กลุ่มประเด็น
1. คัดค้านการรับรองแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
2. คัดค้านการถอนทหารออกจากวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระและบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร
3. การปักปันเขตแดน (Delimitation) เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหาร คือจากช่องสะงำ ศรีสะเกษ ไปจนถึงช่องบก อุบลราชธานี ความยาว 195 กิโลเมตร เสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 103 ปีก่อน เป็นที่ยอมรับกันทั้งสยามและฝรั่งเศสว่ามีความชัดเจนตามธรรมชาติไม่ต้องจัดทำหลักเขตแดน
ในกลุ่มประเด็นที่ 1 และกลุ่มประเด็นที่ 3 นั้น ร่างบันทึกข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร เอกสารแนบท้ายบันทึกการประชุมทั้ง 3 ครั้ง ได้เขียนไว้ในย่อหน้าที่ 3 ไปรับรองบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก 2543 หรือเอ็มโอยู 2543
ถ้าลงมติเห็นชอบไปก็เท่ากับมติรัฐสภาเห็นชอบในเอ็มโอยู 2543 - ที่ไม่เคยผ่านการรับรองจากรัฐสภามาก่อน - ซึ่งมีข้อ 1 (ค) ระบุให้นำแผนที่ 1 : 200,000 มาประกอบการพิจารณาจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่าง 2 ประเทศด้วย แม้ท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะบอกว่าข้อ 1 (ค) ดังกล่าวไม่ได้หมายรวมแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะกัมพูชาและไม่ได้คิดไม่ได้เชื่ออย่างนั้น
ถ้าลงมติไปก็เท่ากับว่าเห็นชอบให้จัดทำหลักเขตแดนใหม่บริเวณปราสาทพระวิหาร หรือตั้งแต่ช่องสะงำไปถึงช่องบกความยาว 195 กิโลเมตร - ซึ่งไม่เคยมีหลักเขตแดนมาก่อน - ด้วย
ซึ่งก็จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น และมีอัตราเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการในอนาคต ต่อเนื่องจากการสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติที่เสียต่อเนื่องมานับสิบปีนับจากกัมพูชารุกเข้ามาสร้างถนน สร้างวัด สร้างชุมชน
หลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งจัดทำเมื่อกว่า 100 ปีก่อนนั้น มีอยู่รวมทั้งสิ้น 73 หลัก เริ่มจากช่องสะงำ ศรีสะเกษ ไปจรดติดอ่าวไทยที่ตราด คำถามที่เราต้องถามต้องตอบตัวเองก็คือทำไมตรง 195 กิโลเมตรแรกจากช่องบกถึงช่องสะงำ ถึงไม่มีการจัดทำหลักเขตแดน
คำตอบก็มีง่ายๆ ว่าก็เพราะแต่เดิม ตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน มีความชัดเจนแล้วว่าเส้นเขตแดนตรงนั้นคือสันปันน้ำที่มีความชัดเจนในระดับหน้าผา และไทยก็ยึดถือมาตลอด แม้จะสูญเสียปราสาทพระวิหารไปโดยคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 เราก็ล้อมรั้วลวดหนามส่งมอบให้กัมพูชาเฉพาะตัวปราสาท และจำเป็นต้องพูดด้วยว่าจากปี 2505 จนถึงปี 2543 ที่มีการทำบันทึกความเข้าใจฯ 2543 เป็นเวลารวม 38 ปี กัมพูชาไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงไทยแต่ประการใด
การผลักดันให้ไทยเขียน “ข้อ 1 (ค)” ลงในบันทึกความเข้าใจฯ 2543 ในช่วงปี 2542 - 2543 จึงเป็นวาระแห่งชาติของกัมพูชาที่เป็นก้าวสำคัญในการทำตามเจตนารมณ์ปี 2502 - 2505 ให้สำเร็จ
คือการทำให้เส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรักเป็นเส้นเขตแดนที่แท้จริง
เพราะคำพิพากษาศาลโลก 2505 กัมพูชาได้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่ได้อาณาบริเวณโดยรอบ และศาลโลกไม่ได้พิพากษาให้เส้นเขตแดนยึดตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
อันที่จริงแม้เอ็มโอยู 2543 จะมีปัญหาในข้อ 1 (ค) แต่ในข้อ 2 (ก) ก็ระบุให้อนุกรรมาธิการเทคนิค “...พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลักซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ. 1909 และค.ศ. 1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมเพื่อพิจารณา” ซึ่งจนถึงบัดนี้ดูเหมือนการพิสูจน์ทราบก็พบเพียง 40 หลักเศษๆ เท่านั้น ภารกิจลำดับแรกยังไม่แล้วเสร็จ แต่เสียค่าโง่ไปเดินตามหมากของกัมพูชาที่วางล่อเอาไว้ให้มาเริ่มจัดทำหลักเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารก่อน โดยมาอ้างว่าตรงนั้นเป็นปัญหา มีการกระทบกระทั่งกันเนือง ๆ
ก็ต้องถามกันว่าเป็นปัญหาเพราะอะไร?
คำตอบก็คือไม่ใช่เพราะเขตแดนไม่ชัดเจน เป็นปัญหา เขตแดนมันชัดเจนอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน และชัดเจนรองลงมาก็ตั้งแต่เมื่อปี 2505 เมื่อเราล้อมรั้วคืนตัวปราสาทพระวิหารให้ มันเป็นปัญหาก็เพราะกัมพูชารุกล้ำดินแดนไทยอย่างมียุทธศาสตร์ มียุทธวิธี และด้วยหลายสาเหตุฝ่ายไทยปล่อยปละละเลยให้มีการรุกล้ำ ไม่ดำเนินการจัดการในทุกวิถีทาง แถมข้าราชการบางคนยังมีผลประโยชน์ร่วมกับการรุกล้ำนั้นเสียอีก นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังทำบันทึกความเข้าใจฯ 2543
การยอมรับว่าจะต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนใหม่บริเวณปราสาทพระวิหาร (และ 195 กิโลเมตรจากช่องสะงำไปจรดช่องบก) คือความพ่ายแพ้ขั้นที่ 1 ของชาติไทย
คือการเริ่มต้นเส้นทางสายที่จะนำไปสู่การเสียดินแดนอย่างเป็นทางการให้กัมพูชา
คือการล็อกตัวเองอยู่บนโต๊ะเจรจาและล็อกกัมพูชาที่รุกรานให้อยู่บนแผ่นดินไทยตลอดไป !
จากแต่เดิมที่เรามีสันปันน้ำชัดเจนเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ เป็นที่ยอมรับของ 2 ประเทศอยู่แล้ว เราไปสละข้อยอมรับนั้น แล้วยอมให้มีการจัดทำหลักเขตแดนตรงนั้นใหม่ ทั้งๆ ที่ไม่เคยต้องมีมาก่อน แถมยังยอมรับให้นำแผนแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรักมาประกอบการพิจารณาด้วย
ก็เท่ากับมี 2 เส้นเกิดขึ้น และมี 2 หลักการเกิดขึ้น คือหลักสันปันน้ำตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และหลักมั่วตามแผนที่ 1 : 200,000 ระวางดงรัก
ของเป็นของเราเต็ม 100 จู่ๆ ทำไมจะต้องทำให้เป็นปัญหามาให้ถกเถียงกันว่าเป็นเราหรือเป็นของเขา
นี่คือ “ความล้มเหลวรวมหมู่” และ “ความเน่าเฟะไร้สำนึกทางประวัติศาสตร์รวมหมู่” ของชาติไทยในรอบสิบกว่าปีมานี้นับแต่รัฐไปยอมจำนนเขียน “ข้อ 1 (ค)” ไว้ในบันทึกความเข้าใจฯ 2543 และจากนั้นจนบัดนี้ก็ยังสะกดคำว่า “แผ่นดินไทย” ไม่ถูกและพูดออกเสียงไม่เป็นในกรณีแผ่นดินไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร
สมาชิกรัฐสภาทุกท่านอยากมีชื่อบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์อย่างไร การลงมติในวันที่ 22 มีนาคม 2554 จะเป็นเงื่อนไขสำคัญ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น