บทวิเคราะห์เบื้องต้น บันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ
เทพมนตรี ลิมปพยอม
บทนำ
หนึ่งร้อยกับอีกห้าหน้าของรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission-JBC ) ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ อันได้แก่
๑. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราษฎ์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๓. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ท่ามกลางปัญหาที่ยังคาราคาซังเกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร (๔.๖ ตร.กม.) และปัญหาสภาพบังคับใช้ระหว่างคู่ภาคีที่เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐)
เมื่อได้ทำการศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระที่จะมุ่งพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร และมีนัยยะสำคัญสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน กล่าวคืออำนาจของJBC สามารถดำเนินการเกี่ยวข้องกับเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จภายในคณะกรรมการได้ และโดยพื้นที่ตอนที่ ๖ คือตอนที่เกี่ยวกับ “ภูมะเขือ” “ปราสาทพระวิหาร”และ”สัตตะโสม” มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตและขัดต่อการกำหนดเส้นเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ ซึ่งมีการปักปันเสร็จสิ้นไปแล้วภายใต้คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ชุดที่ ๑ (หม่อมชาติ+แบร์นารด์) และ อาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมาแต่เดิม ตามที่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ในการท้วงคืนปราสาทพระวิหารคืนในอนาคตเอาไว้
กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก (ไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทหากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่) นักวิชาการ และประชาชนที่ติดตามกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร จึงขอนำเสนอบทวิเคราะห์ บันทึกข้อตกลง ๓ ฉบับนี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำไปสู่หนทางการแก้ไขปัญหาและไม่ตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบกับเงื่อนไขที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือส่งผลไปสู่อนาคต
อนึ่งในหน้าที่ ๑ ของรายงานเอกสารฯฉบับนี้ ได้กล่าวเกริ่นนำเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission-JBC ) มีถ้อยคำที่ไปสอดคล้องกับการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๓ ที่เมื่อ เซบิย่า ประเทศสเปนดังนี้ “ทั้งนี้ บันทึกการประชุมทั้งสามฉบับที่ลงนามแล้วนี้ ยังไม่มีผลจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะยืนยันผ่านช่องทางการทูตว่าได้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายภายในครบถ้วนแล้ว” มติของคณะกรรมการมรดกโลกที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลก หรือศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) สนใจต่อผลการประชุมทั้งสามฉบับ เฉพาะฉบับที่ ๒และฉบับที่ ๓ พร้อมร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาท (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)
ในเบื้องต้นอาจกล่าวได้ว่า มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงซึ่งถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ “เรื่องพิจารณา” (ในภาคผนวก ๕ หน้า ๑๐๒) ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทย หากแต่เป็นดินแดนที่เกิดการพิพาท (ทั้งๆที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทยยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าคือพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และการเสด็จพระดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาลและบุคคลสำคัญชาวกัมพูชา ประชาชนและสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่ยอดเสาในตัวปราสาทพระวิหาร) ในขนาดที่ฝ่ายกัมพูชายืนยันว่าพื้นที่ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารคือดินแดนของกัมพูชา ตามแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ อันปรากฏอยู่ใน MOU 43 และTOR 46
อีกประการหนึ่งที่จะต้องชี้ให้เห็นก็คือ มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓ ทั้งๆที่ มรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ รวมไปถึงการชักชวนให้ไทยซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร (นัยยะตรงนี้หมายความว่า ไทยจะยินดียกดินแดนในบริเวณนี้ให้กัมพูชาครอบครองและเป็นเจ้าของมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว)
นอกจากนี้ ในการเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน โดยอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ภายใต้สนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑
การเกริ่นนำ ของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆคือ ข้อที่ ๕.๓ , ๕.๔และ๕.๕ (หน้า ๒) กล่าวคือ
ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตะโสม) ซึ่งโดยหลักการแล้วควรดำเนินการไปสำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้องเสียก่อน แต่ทำไมจึงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
ข้อ ๕.๕ ไม่ควรเน้นเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ สำหรับประเด็นหารือทางข้อกฎหมายควรดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา การเลือกเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ แสดงให้เห็นว่าเป็นความตั้งใจที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้สมบูรณ์โดยเร็ว (ตามมติมรดกโลกครั้งที่ ๓๓) ในทางกลับกันหากฝ่ายไทยต้องการยืดเยื้อก็สมควรให้พิจารณาเรื่องข้อกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรกก่อนที่จะให้กรรมาธิการเทคนิคร่วมลงมือดำเนินการสำรวจฯ
ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ ... (หน้า ๒) ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ และภาคประชาชน กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่อย่างมากและหลายประเด็น โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม การอ่านบันทึกวาจา หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง ดังเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆทั้งๆที่ในคณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุนี้จึงน่าที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมกันปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางก่อนจะดำเนินการไปเจรจา
๑. บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
ณ เมืองเสียมราฐ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราฐวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีข้อน่าสังเกตว่า การดำเนินการของJBC พยายามที่จะไปรองรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก อาทิ เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศประชุมกันเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งภายหลังจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒ สัปดาห์ และการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยมีคำสั่งให้ชุดสำรวจร่วม JST ระงับภารกิจประจำทันทีแล้วย้ายไปยังพื้นที่ตอนที่ ๖ (เขาสัตตะโสม/พนมเสทิสมถึงหลักเขตแดนที่ ๑) (หน้า ๒๐) ซึ่งอยู่อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและเป็นพื้นที่เป้าหมายของกัมพูชาในการที่นำไปจะผนวกเพื่อให้การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทมีความสมบูรณ์สอดรับกับมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑และต่อมาครั้งที่ ๓๒ และ๓๓ รวมทั้งยังได้พิจารณาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับแรก (หน้าที่ ๒๑) ที่ต่อมามีพัฒนาการมาอีก ๒ ครั้งตามบันทึกการประชุม นอกจากนี้ยังมี คำปราศรัย (หน้า ๒๕) โดยฯพณฯนายวศิน ธีรเวชญาณ กล่าวว่า “แน่นอนว่าปัญหาที่เราได้รับมอบหมายให้แก้ไขนั้นมีความสลับซับซ้อนและสำคัญยิ่ง แต่ก็เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งผมมั่นใจว่าในท้ายที่สุดทั้ง ๒ ฝ่ายจะสามารถหาทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศได้ (อ้างอิงต้นร่างMOU43 หนังสือวันที่๙,๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและบันทึกข้อความของอ.วรากรณ์ ที่มีไปถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น)
คำปราศรัยของนายวศินได้ทำการเสนอแผนการทำงานของJBC ในสองประเด็น
ประเด็นแรก ได้ทำการเร่งรัดประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารและเน้นว่า “ผมขอแนะนำให้พิจารณาพื้นที่ตอนนี้ กล่าวคือ ตอนที่ ๖ โดยเฉพาะปราสาทเป็นอันดับแรก” (น่าประหลาดใจและขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ในการวิจารณ์ภายหลัง)
ประเด็นที่สอง นายวศิน พยายามพูดถึงข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะทำให้ JBC มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเตรียมพื้นที่รอบปราสาทให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจร่วม (ดูเหมือนอยากได้อำนาจการตัดสินใจเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นพิเศษเพื่อจะได้ใช้อำนาจนั้นในการตีความอนุสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ และเมื่อตีความแล้ว นำกลับเข้าสู่สภาก็ถือว่ามีผลบริบูรณ์ในเรื่องดินแดน ได้หรือเสีย อันนี้ต้องตั้งคำถาม) ในตอนท้ายของคำปราศรัย มีถ้อยคำที่สุ่มเสี่ยงต่อความเข้าใจในเรื่องการปักปันเขตแดนที่ปักปันเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ “ เพื่อบรรลุทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจสำหรับการปักปันและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศของเรา” (หน้า๒๖) (ซึ่งทำให้มองเห็นว่าการปราศรัยใหม่อีกครั้งหนี่งในนามประธาน JBC (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับเทคนิค) โดยมีความหมายและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าถ้าร่างข้อตกลงนี้แล้วเสร็จ เขาจะมีอำนาจตัดสินใจในการเตรียมพื้นที่) อนึ่ง บริเวณปราสาทพระวิหารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓ หน่วยงาน คือ ๑.กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ประกาศกฎอัยการศึก ๒.กรมศิลปากร มี พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุฯ เพราะขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว ยังไม่มีการถอนทะเบียน ๓. อุทยานแห่งชาติ ที่ถือ พ.ร.บ.อุทยานฯ และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่ ๓ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยเฉพาะไม่เคยนำไปใช้กับชาวกัมพูชา แต่ใช้กับประชาชนคนไทยได้ (เพราะมี JBC อยู่ตาม TOR๔๖ และตาม MOU43)
ส่วนคำปราศรัยของ ฯ พณฯวาร์ คิม ฮง ประธาน JBC กัมพูชาซึ่งมีหลายเรื่องหลายตอนเป็นทั้งข้อน่าสังเกตและการวิเคราะห์ ดังนี้
๑. วาร์คิมฮง เน้นเรื่อง การปฏิบัติตามข้อ ๕ ของMOU๔๓ แต่ต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชากลับไปละเมิดอย่างหนักเสียเอง จนเกิดสภาพการรุกล้ำดินแดนเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด และบันทึกการประชุมทั้งสามฉบับไม่มีถ้อยคำของฝ่ายไทยที่ทักท้วงการกระทำของฝ่ายกัมพูชา หลุดออกมาจากปากของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณเลย วาร์คิมฮงยังย้ำเรื่องการหาหลักเขตที่ ๗๓ ที่แท้จริงโดยมีถ้อยคำในบันทึกว่า “คณะเทคนิคร่วมมีแผนที่จะค้นหาตำแหน่งที่ตั้งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนที่ ๗๓ ที่จามเยี่ยม (Cham Yeam) เกาะกง” (หน้า๒๘)
อนึ่งวิธีการปราศรัยของวาร์ คิม ฮง ยังแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงเอกสารหลักฐานต่างๆ ในสำนวนภาษาทางกฎหมายซึ่งอาจมีผลประโยชน์ต่อฝ่ายกัมพูชา
๒. เรื่องที่ยอมรับไม่ได้และบันทึกการประชุมฉบับนี้เราเสียเปรียบคือเรื่องที่วาร์ คิม ฮง กล่าวว่า “ ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ รวมถึงปัจจุบัน เพื่อนชาวไทยได้ส่งกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่ชายแดนและในบางโอกาสกำลังเหล่านี้ได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา อย่างไรก็ตามกัมพูชายึดมั่นที่จะใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุดเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติและฉัตรมิตร” ข้อความนี้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ประธาน JBC ฝ่ายไทยไม่ทักท้วง เพราะไม่เป็นความจริง การรบกัน ณ บริเวณภูมะเขือซึ่งอยู่ในเขตไทยเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ อันนี้เป็นดินแดนของไทยแต่กลับปล่อยให้ วาร์คิม ฮง บันทึกไว้ในรายงานการประชุมฉบับนี้ได้ สอดคล้องกับการที่กัมพูชาได้รายงานสถานการณ์บริเวณปราสาทพระวิหารจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของมติ คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน และคณะกรรมการฯยังอนุมัติเงินช่วยเหลือจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันเป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ เพราะฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำดินแดนกัมพูชา นอกจากนี้ฝ่ายกัมพูชายังรายงานถึงการรุกล้ำดินแดนในจุดอื่นๆของฝ่ายไทยอีกด้วย วาร์ คิม ฮง ยังเรียกร้องให้ฝ่ายไทยทำตามกลไกของJBC สอดรับกับคำปราศรัยของนายวศิน ธีรเวชญาณ และที่สำคัญนายวศิน ธีรเวชญาณไม่เคยกล่าวถึงการรุกล้ำอธิปไตยของไทยจากทหารกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารและภูมะเขือเลย
ฝ่ายกัมพูชายังพยายามเร่งรัดให้ฝ่ายไทย “รับรองและยอมรับบันทึกการประชุมทุกฉบับของคณะเทคนิคร่วมเกี่ยวกับการค้นหาตำแหน่งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนเก่า เพื่อให้บันทึกการประชุมเหล่านั้นสามารถได้รับการลงนามโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” (เป้าหมายคือเคลื่อนหลักที่ ๗๓ โดยใช้บันทึกวาจา)
บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๔
ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๑.ให้ชุดสำรวจร่วมที่มีอยู่ปฏิบัติงานจากหลักเขตแดนที่ ๑ ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาสัตตะโสม/พนมเสทิสม หรือบริเวณปราสาทพระวิหารและให้จัดตั้งชุดสำรวจอีกชุดหนึ่งเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๑ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตแดนที่ ๒๓ (หน้า๕๔)
ข้อสังเกต พยายามเร่งรัดดำเนินการจนเป็นที่ผิดสังเกต การประชุม ๒ ครั้งเน้นไปที่พื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นความต้องการของฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราวกันต่อ
๒.คำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณในครั้งนี้ไม่มีอะไรมาก แต่ยังย้ำเรื่องที่ต้องการเร่งงานเดิมที่ค้างอยู่ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่สำหรับคำปราศรัยของวาร์ คิม ฮง มีถ้อยคำที่ไม่ควรยอมรับให้มีการบันทึก “ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ การละเมิดมาตรา ๕ ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยทหารไทยในพื้นที่ดงรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน ปราสาทตากราเบ็ย ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ที่ประเด็นยังคงค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังยึดมั่นที่จะอดกลั้นที่สุดเพื่อให้มีการแก้ไจปัญหาโดยสันติวิธีและฉันมิตร” (หน้า๖๕) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นวาร์ คิม ฮง ต้องการบันทึกถ้อยคำของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เป็นหลักฐานโดยการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดน ที่น่าสังเกตคือ ฯพณฯวศิน กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในท้ายคำปราศรัยของวาร์คิม ฮง ยังเน้นให้เคารพบันทึกความเข้าใจฯ MOU๔๓ ซึ่งต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกล้ำดินแดนไทยและละเมิดข้อตกลง มาตรา ๕ นอกจากนี้ยังเริ่มที่จะเน้น TOR ๔๖
๓. บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
ณ กรุงพนมเปญ วันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ในหน้า ๘๓-๘๕ เป็นคำกล่าวปราศรัยของฯพณฯวาร์ คิม ฮง ซึ่งเป็นภาษาเขมร แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ยอมแปลตรงตามข้อความ บันทึกการประชุมฉบับนี้ถือว่าเป็นบันทึกการประชุมที่สำคัญที่สุด อาจถือได้ว่าเป็นบทสรุปของการประชุมที่แล้วมา ๒ ครั้งก็เป็นได้ ที่น่าสนใจก็คือระเบียบวาระการประชุมคราวนี้มีเรื่องที่จะต้อง”พิจารณา” นั่นก็คือ 3.1 หารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราว มีข้อน่าสังเกตที่ควรจดจำไว้ดังนี้
ในข้อที่ ๗ (หน้า๙๒) มีถ้อยคำในบันทึกการประชุมครั้งนี้ว่า “ทั้งสองฝ่ายได้ยุติในข้อบทของบันทึกการประชุม (ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา) และได้รับการลงนามแล้วโดยประธานร่วม โดยต้องได้รับการยืนยันผ่านทางช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้สำหรับการมีผลบังคับใช้บันทึกการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว” จะเห็นได้ว่าJBC ทั้งสองประเทศพยายามรวบรัด ในการที่จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่จะต้องตระหนักถึงปัญหาการยอมรับว่าทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลไม่แต่จะทำให้บันทึกรายงานการประชุมเป็นคุณเฉพาะกัมพูชาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่กัมพูชากล่าวหาฝ่ายไทยก็เป็นจริงตามนั้นด้วยโดยที่ไทยมิได้ปฏิเสธ หรือมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ซึ่งกล่าวถึงการที่มีการปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา จนในที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกโดยการแทรกแซงของฝรั่งเศสได้สนับสนุนงบประมาณซ้อมแซมสถานที่ที่ถูกทหารไทยยิงถล่มไป เช่นตลาด และบ้านเรือนทหารซึ่งแท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทย
ข้อที่ ๑๕ (หน้า๙๓) ว่าด้วยเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตอนที่ ๕และ๖ มีการเร่งรัดให้ดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งต่อมาภายหลังเราก็ทราบดีว่า ฝ่ายไทยเห็นชอบที่กัมพูชาจะเร่งรัดในการดำเนินงานและกำหนดว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ ตรงจุดนี้ก็เพื่อจะได้ทันต่อการนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการมรดกโลก
สำหรับเรื่องการกล่าวคำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณ มีถ้อยคำที่มีข้อน่าสังเกตอย่างมาก ความว่า “ การจัดการประชุมในวันนี้มีขึ้นหลังจากการประชุมครั้งก่อนพียง ๒ เดือน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหารและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง......และเราจะได้สรุปร่างข้อตกลงชั่วคราวในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร เมื่อสำเร็จแล้วจะได้มีการลงนามบันทึกการประชุมทั้งสองครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐและกรุงเทพฯซึ่งจำให้เราดำเนินการตามสิ่งต่างๆที่เราได้เห็นชอบร่วมกัน” น่าเสียดายที่ประธานJBC ไม่พูดถึงเรื่องการรุกล้ำของทหารไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชากล่าวหา และรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของเรา และการผลักดันเขมรออกจากพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร ในการปราศรัยตอนท้ายๆของการประชุม (หน้า๑๐๐) ฯพณฯวศิน ยังแสดงทีท่าว่าการดำรงไว้ซึ่ง ”สันติระหว่างประเทศและเพื่อที่จะให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาด้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว” ท่าทีเช่นนี้มีความหมายว่า ฝ่ายไทยจะไม่ใช้กำลังกับฝ่ายกัมพูชา (หน้า ๑๐๐)
ในความเห็นส่วนตัวของ กระผมนายเทพมนตรี ลิมปพยอม ในฐานะ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการชุดนี้ จึงขอแสดงทัศนะส่วนตัวว่าถ้าร่างข้อตกลงฉบับนี้กับบันทึกการประชุมผ่านรัฐสภา เราจะสูญเสียดินแดนและ อธิปไตย และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ ได้เลย
อนึ่งจากการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ผมมีความห่วงใหญ่ต่อสถานการณ์ไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดนของสองประเทศ เพราะพบว่า ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบต่อประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยและดินแดน ดังปรากฏเป็นตัวอย่างเช่น พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารที่รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์รุกล้ำเข้ามายังดินแดนของไทย (ซึ่งและดูเหมือนว่าจะส่งผลกระทบในลักษณะนี้ต่อพื้นที่ตามแนวเขตชายแดนด้านอื่นๆด้วย) และต่อกรณีการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชา ซึ่งยังคงเป็นปัญหายืดเยื้อจนมาถึงปัจจุบัน
ด้วยการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีบทบัญญัติถึงหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคนในการธำรงรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและด้วยความเป็นห่วงใยเรื่องของดินแดน จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง
๑. อย่าผ่าน บันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ ที่ปรากฏในรายการเอกสารเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และยกเลิกกรอบการเจรจาที่ผ่านรัฐสภาเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๑
๒. เสนอให้รัฐบาลดำเนินการหาแนวทางให้มีการถอดถอน ปราสาทพระวิหาร ออกจากบัญชีรายชื่อมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากศูนย์กลางมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลก องค์การยูเนสโก
๓.พิจารณายกเลิก บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ฉบับลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ (ค.ศ.2000) หรือ MOU43
๔.ให้รัฐบาลดำเนินการให้ฝ่ายกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่รอบอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารภายใน ๗ วัน และคืนสภาพแวดล้อมบริเวณบันไดทางขึ้น ดำเนินการล้อมรั้วลวดหนาม และจัดกำลังทหารไทยออกลาดตะเวนโดยรอบปราสาทพระวิหารและชะง่อนหน้าผา “เปยตาดี” หรือตลอด “แนวสันปันน้ำ” อันเป็นดินแดนประเทศไทย และดำเนินการต่อสหประชาชาติในการใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่ได้ทำไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕
เทพมนตรี ลิมปพยอม
บทนำ
หนึ่งร้อยกับอีกห้าหน้าของรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission-JBC ) ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ อันได้แก่
๑. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราษฎ์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๓. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ท่ามกลางปัญหาที่ยังคาราคาซังเกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร (๔.๖ ตร.กม.) และปัญหาสภาพบังคับใช้ระหว่างคู่ภาคีที่เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐)
เมื่อได้ทำการศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระที่จะมุ่งพิจารณาพื้นที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร และมีนัยยะสำคัญสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน กล่าวคืออำนาจของJBC สามารถดำเนินการเกี่ยวข้องกับเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์เบ็ดเสร็จภายในคณะกรรมการได้ และโดยพื้นที่ตอนที่ ๖ คือตอนที่เกี่ยวกับ “ภูมะเขือ” “ปราสาทพระวิหาร”และ”สัตตะโสม” มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตและขัดต่อการกำหนดเส้นเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ ซึ่งมีการปักปันเสร็จสิ้นไปแล้วภายใต้คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ชุดที่ ๑ (หม่อมชาติ+แบร์นารด์) และ อาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมาแต่เดิม ตามที่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ในการท้วงคืนปราสาทพระวิหารคืนในอนาคตเอาไว้
กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก (ไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทหากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่) นักวิชาการ และประชาชนที่ติดตามกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร จึงขอนำเสนอบทวิเคราะห์ บันทึกข้อตกลง ๓ ฉบับนี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำไปสู่หนทางการแก้ไขปัญหาและไม่ตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบกับเงื่อนไขที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือส่งผลไปสู่อนาคต
อนึ่งในหน้าที่ ๑ ของรายงานเอกสารฯฉบับนี้ ได้กล่าวเกริ่นนำเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission-JBC ) มีถ้อยคำที่ไปสอดคล้องกับการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๓ ที่เมื่อ เซบิย่า ประเทศสเปนดังนี้ “ทั้งนี้ บันทึกการประชุมทั้งสามฉบับที่ลงนามแล้วนี้ ยังไม่มีผลจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะยืนยันผ่านช่องทางการทูตว่าได้มีการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายภายในครบถ้วนแล้ว” มติของคณะกรรมการมรดกโลกที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลก หรือศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) สนใจต่อผลการประชุมทั้งสามฉบับ เฉพาะฉบับที่ ๒และฉบับที่ ๓ พร้อมร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย-ปราสาท (กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)
ในเบื้องต้นอาจกล่าวได้ว่า มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงซึ่งถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ “เรื่องพิจารณา” (ในภาคผนวก ๕ หน้า ๑๐๒) ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทย หากแต่เป็นดินแดนที่เกิดการพิพาท (ทั้งๆที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทยยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าคือพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และการเสด็จพระดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาลและบุคคลสำคัญชาวกัมพูชา ประชาชนและสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่ยอดเสาในตัวปราสาทพระวิหาร) ในขนาดที่ฝ่ายกัมพูชายืนยันว่าพื้นที่ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารคือดินแดนของกัมพูชา ตามแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ อันปรากฏอยู่ใน MOU 43 และTOR 46
อีกประการหนึ่งที่จะต้องชี้ให้เห็นก็คือ มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓ ทั้งๆที่ มรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ รวมไปถึงการชักชวนให้ไทยซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร (นัยยะตรงนี้หมายความว่า ไทยจะยินดียกดินแดนในบริเวณนี้ให้กัมพูชาครอบครองและเป็นเจ้าของมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว)
นอกจากนี้ ในการเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน โดยอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ภายใต้สนธิสัญญาฉบับ ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑
การเกริ่นนำ ของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆคือ ข้อที่ ๕.๓ , ๕.๔และ๕.๕ (หน้า ๒) กล่าวคือ
ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตะโสม) ซึ่งโดยหลักการแล้วควรดำเนินการไปสำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้องเสียก่อน แต่ทำไมจึงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
ข้อ ๕.๕ ไม่ควรเน้นเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ สำหรับประเด็นหารือทางข้อกฎหมายควรดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา การเลือกเฉพาะพื้นที่ตอนที่ ๖ แสดงให้เห็นว่าเป็นความตั้งใจที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้สมบูรณ์โดยเร็ว (ตามมติมรดกโลกครั้งที่ ๓๓) ในทางกลับกันหากฝ่ายไทยต้องการยืดเยื้อก็สมควรให้พิจารณาเรื่องข้อกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรกก่อนที่จะให้กรรมาธิการเทคนิคร่วมลงมือดำเนินการสำรวจฯ
ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ ... (หน้า ๒) ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ และภาคประชาชน กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่อย่างมากและหลายประเด็น โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม การอ่านบันทึกวาจา หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง ดังเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆทั้งๆที่ในคณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุนี้จึงน่าที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมกันปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางก่อนจะดำเนินการไปเจรจา
๑. บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
ณ เมืองเสียมราฐ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราฐวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีข้อน่าสังเกตว่า การดำเนินการของJBC พยายามที่จะไปรองรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก อาทิ เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศประชุมกันเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งภายหลังจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒ สัปดาห์ และการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยมีคำสั่งให้ชุดสำรวจร่วม JST ระงับภารกิจประจำทันทีแล้วย้ายไปยังพื้นที่ตอนที่ ๖ (เขาสัตตะโสม/พนมเสทิสมถึงหลักเขตแดนที่ ๑) (หน้า ๒๐) ซึ่งอยู่อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและเป็นพื้นที่เป้าหมายของกัมพูชาในการที่นำไปจะผนวกเพื่อให้การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทมีความสมบูรณ์สอดรับกับมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑และต่อมาครั้งที่ ๓๒ และ๓๓ รวมทั้งยังได้พิจารณาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับแรก (หน้าที่ ๒๑) ที่ต่อมามีพัฒนาการมาอีก ๒ ครั้งตามบันทึกการประชุม นอกจากนี้ยังมี คำปราศรัย (หน้า ๒๕) โดยฯพณฯนายวศิน ธีรเวชญาณ กล่าวว่า “แน่นอนว่าปัญหาที่เราได้รับมอบหมายให้แก้ไขนั้นมีความสลับซับซ้อนและสำคัญยิ่ง แต่ก็เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งผมมั่นใจว่าในท้ายที่สุดทั้ง ๒ ฝ่ายจะสามารถหาทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศได้ (อ้างอิงต้นร่างMOU43 หนังสือวันที่๙,๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและบันทึกข้อความของอ.วรากรณ์ ที่มีไปถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น)
คำปราศรัยของนายวศินได้ทำการเสนอแผนการทำงานของJBC ในสองประเด็น
ประเด็นแรก ได้ทำการเร่งรัดประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารและเน้นว่า “ผมขอแนะนำให้พิจารณาพื้นที่ตอนนี้ กล่าวคือ ตอนที่ ๖ โดยเฉพาะปราสาทเป็นอันดับแรก” (น่าประหลาดใจและขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ในการวิจารณ์ภายหลัง)
ประเด็นที่สอง นายวศิน พยายามพูดถึงข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะทำให้ JBC มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเตรียมพื้นที่รอบปราสาทให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจร่วม (ดูเหมือนอยากได้อำนาจการตัดสินใจเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นพิเศษเพื่อจะได้ใช้อำนาจนั้นในการตีความอนุสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๔ และเมื่อตีความแล้ว นำกลับเข้าสู่สภาก็ถือว่ามีผลบริบูรณ์ในเรื่องดินแดน ได้หรือเสีย อันนี้ต้องตั้งคำถาม) ในตอนท้ายของคำปราศรัย มีถ้อยคำที่สุ่มเสี่ยงต่อความเข้าใจในเรื่องการปักปันเขตแดนที่ปักปันเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ “ เพื่อบรรลุทางแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจสำหรับการปักปันและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศของเรา” (หน้า๒๖) (ซึ่งทำให้มองเห็นว่าการปราศรัยใหม่อีกครั้งหนี่งในนามประธาน JBC (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับเทคนิค) โดยมีความหมายและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าถ้าร่างข้อตกลงนี้แล้วเสร็จ เขาจะมีอำนาจตัดสินใจในการเตรียมพื้นที่) อนึ่ง บริเวณปราสาทพระวิหารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓ หน่วยงาน คือ ๑.กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ประกาศกฎอัยการศึก ๒.กรมศิลปากร มี พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุฯ เพราะขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว ยังไม่มีการถอนทะเบียน ๓. อุทยานแห่งชาติ ที่ถือ พ.ร.บ.อุทยานฯ และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่ ๓ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยเฉพาะไม่เคยนำไปใช้กับชาวกัมพูชา แต่ใช้กับประชาชนคนไทยได้ (เพราะมี JBC อยู่ตาม TOR๔๖ และตาม MOU43)
ส่วนคำปราศรัยของ ฯ พณฯวาร์ คิม ฮง ประธาน JBC กัมพูชาซึ่งมีหลายเรื่องหลายตอนเป็นทั้งข้อน่าสังเกตและการวิเคราะห์ ดังนี้
๑. วาร์คิมฮง เน้นเรื่อง การปฏิบัติตามข้อ ๕ ของMOU๔๓ แต่ต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชากลับไปละเมิดอย่างหนักเสียเอง จนเกิดสภาพการรุกล้ำดินแดนเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด และบันทึกการประชุมทั้งสามฉบับไม่มีถ้อยคำของฝ่ายไทยที่ทักท้วงการกระทำของฝ่ายกัมพูชา หลุดออกมาจากปากของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณเลย วาร์คิมฮงยังย้ำเรื่องการหาหลักเขตที่ ๗๓ ที่แท้จริงโดยมีถ้อยคำในบันทึกว่า “คณะเทคนิคร่วมมีแผนที่จะค้นหาตำแหน่งที่ตั้งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนที่ ๗๓ ที่จามเยี่ยม (Cham Yeam) เกาะกง” (หน้า๒๘)
อนึ่งวิธีการปราศรัยของวาร์ คิม ฮง ยังแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงเอกสารหลักฐานต่างๆ ในสำนวนภาษาทางกฎหมายซึ่งอาจมีผลประโยชน์ต่อฝ่ายกัมพูชา
๒. เรื่องที่ยอมรับไม่ได้และบันทึกการประชุมฉบับนี้เราเสียเปรียบคือเรื่องที่วาร์ คิม ฮง กล่าวว่า “ ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆนี้ รวมถึงปัจจุบัน เพื่อนชาวไทยได้ส่งกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่ชายแดนและในบางโอกาสกำลังเหล่านี้ได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา อย่างไรก็ตามกัมพูชายึดมั่นที่จะใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุดเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติและฉัตรมิตร” ข้อความนี้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ประธาน JBC ฝ่ายไทยไม่ทักท้วง เพราะไม่เป็นความจริง การรบกัน ณ บริเวณภูมะเขือซึ่งอยู่ในเขตไทยเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ อันนี้เป็นดินแดนของไทยแต่กลับปล่อยให้ วาร์คิม ฮง บันทึกไว้ในรายงานการประชุมฉบับนี้ได้ สอดคล้องกับการที่กัมพูชาได้รายงานสถานการณ์บริเวณปราสาทพระวิหารจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของมติ คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ที่เมืองเซบิย่า ประเทศสเปน และคณะกรรมการฯยังอนุมัติเงินช่วยเหลือจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันเป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ เพราะฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำดินแดนกัมพูชา นอกจากนี้ฝ่ายกัมพูชายังรายงานถึงการรุกล้ำดินแดนในจุดอื่นๆของฝ่ายไทยอีกด้วย วาร์ คิม ฮง ยังเรียกร้องให้ฝ่ายไทยทำตามกลไกของJBC สอดรับกับคำปราศรัยของนายวศิน ธีรเวชญาณ และที่สำคัญนายวศิน ธีรเวชญาณไม่เคยกล่าวถึงการรุกล้ำอธิปไตยของไทยจากทหารกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหารและภูมะเขือเลย
ฝ่ายกัมพูชายังพยายามเร่งรัดให้ฝ่ายไทย “รับรองและยอมรับบันทึกการประชุมทุกฉบับของคณะเทคนิคร่วมเกี่ยวกับการค้นหาตำแหน่งที่ถูกต้องของหลักเขตแดนเก่า เพื่อให้บันทึกการประชุมเหล่านั้นสามารถได้รับการลงนามโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” (เป้าหมายคือเคลื่อนหลักที่ ๗๓ โดยใช้บันทึกวาจา)
บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๔
ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๑.ให้ชุดสำรวจร่วมที่มีอยู่ปฏิบัติงานจากหลักเขตแดนที่ ๑ ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาสัตตะโสม/พนมเสทิสม หรือบริเวณปราสาทพระวิหารและให้จัดตั้งชุดสำรวจอีกชุดหนึ่งเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๑ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตแดนที่ ๒๓ (หน้า๕๔)
ข้อสังเกต พยายามเร่งรัดดำเนินการจนเป็นที่ผิดสังเกต การประชุม ๒ ครั้งเน้นไปที่พื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นความต้องการของฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราวกันต่อ
๒.คำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณในครั้งนี้ไม่มีอะไรมาก แต่ยังย้ำเรื่องที่ต้องการเร่งงานเดิมที่ค้างอยู่ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่สำหรับคำปราศรัยของวาร์ คิม ฮง มีถ้อยคำที่ไม่ควรยอมรับให้มีการบันทึก “ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ การละเมิดมาตรา ๕ ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยทหารไทยในพื้นที่ดงรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน ปราสาทตากราเบ็ย ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ที่ประเด็นยังคงค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังยึดมั่นที่จะอดกลั้นที่สุดเพื่อให้มีการแก้ไจปัญหาโดยสันติวิธีและฉันมิตร” (หน้า๖๕) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นวาร์ คิม ฮง ต้องการบันทึกถ้อยคำของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เป็นหลักฐานโดยการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดน ที่น่าสังเกตคือ ฯพณฯวศิน กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในท้ายคำปราศรัยของวาร์คิม ฮง ยังเน้นให้เคารพบันทึกความเข้าใจฯ MOU๔๓ ซึ่งต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกล้ำดินแดนไทยและละเมิดข้อตกลง มาตรา ๕ นอกจากนี้ยังเริ่มที่จะเน้น TOR ๔๖
๓. บทวิเคราะห์ : บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ
ณ กรุงพนมเปญ วันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ในหน้า ๘๓-๘๕ เป็นคำกล่าวปราศรัยของฯพณฯวาร์ คิม ฮง ซึ่งเป็นภาษาเขมร แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ยอมแปลตรงตามข้อความ บันทึกการประชุมฉบับนี้ถือว่าเป็นบันทึกการประชุมที่สำคัญที่สุด อาจถือได้ว่าเป็นบทสรุปของการประชุมที่แล้วมา ๒ ครั้งก็เป็นได้ ที่น่าสนใจก็คือระเบียบวาระการประชุมคราวนี้มีเรื่องที่จะต้อง”พิจารณา” นั่นก็คือ 3.1 หารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราว มีข้อน่าสังเกตที่ควรจดจำไว้ดังนี้
ในข้อที่ ๗ (หน้า๙๒) มีถ้อยคำในบันทึกการประชุมครั้งนี้ว่า “ทั้งสองฝ่ายได้ยุติในข้อบทของบันทึกการประชุม (ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา) และได้รับการลงนามแล้วโดยประธานร่วม โดยต้องได้รับการยืนยันผ่านทางช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้สำหรับการมีผลบังคับใช้บันทึกการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว” จะเห็นได้ว่าJBC ทั้งสองประเทศพยายามรวบรัด ในการที่จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่จะต้องตระหนักถึงปัญหาการยอมรับว่าทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลไม่แต่จะทำให้บันทึกรายงานการประชุมเป็นคุณเฉพาะกัมพูชาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่กัมพูชากล่าวหาฝ่ายไทยก็เป็นจริงตามนั้นด้วยโดยที่ไทยมิได้ปฏิเสธ หรือมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ซึ่งกล่าวถึงการที่มีการปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา จนในที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกโดยการแทรกแซงของฝรั่งเศสได้สนับสนุนงบประมาณซ้อมแซมสถานที่ที่ถูกทหารไทยยิงถล่มไป เช่นตลาด และบ้านเรือนทหารซึ่งแท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทย
ข้อที่ ๑๕ (หน้า๙๓) ว่าด้วยเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตอนที่ ๕และ๖ มีการเร่งรัดให้ดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งต่อมาภายหลังเราก็ทราบดีว่า ฝ่ายไทยเห็นชอบที่กัมพูชาจะเร่งรัดในการดำเนินงานและกำหนดว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ ตรงจุดนี้ก็เพื่อจะได้ทันต่อการนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการมรดกโลก
สำหรับเรื่องการกล่าวคำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณ มีถ้อยคำที่มีข้อน่าสังเกตอย่างมาก ความว่า “ การจัดการประชุมในวันนี้มีขึ้นหลังจากการประชุมครั้งก่อนพียง ๒ เดือน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหารและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง......และเราจะได้สรุปร่างข้อตกลงชั่วคราวในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร เมื่อสำเร็จแล้วจะได้มีการลงนามบันทึกการประชุมทั้งสองครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐและกรุงเทพฯซึ่งจำให้เราดำเนินการตามสิ่งต่างๆที่เราได้เห็นชอบร่วมกัน” น่าเสียดายที่ประธานJBC ไม่พูดถึงเรื่องการรุกล้ำของทหารไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชากล่าวหา และรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของเรา และการผลักดันเขมรออกจากพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร ในการปราศรัยตอนท้ายๆของการประชุม (หน้า๑๐๐) ฯพณฯวศิน ยังแสดงทีท่าว่าการดำรงไว้ซึ่ง ”สันติระหว่างประเทศและเพื่อที่จะให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาด้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว” ท่าทีเช่นนี้มีความหมายว่า ฝ่ายไทยจะไม่ใช้กำลังกับฝ่ายกัมพูชา (หน้า ๑๐๐)
ในความเห็นส่วนตัวของ กระผมนายเทพมนตรี ลิมปพยอม ในฐานะ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการชุดนี้ จึงขอแสดงทัศนะส่วนตัวว่าถ้าร่างข้อตกลงฉบับนี้กับบันทึกการประชุมผ่านรัฐสภา เราจะสูญเสียดินแดนและ อธิปไตย และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ ได้เลย
อนึ่งจากการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ผมมีความห่วงใหญ่ต่อสถานการณ์ไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารและเขตแดนของสองประเทศ เพราะพบว่า ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบต่อประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยและดินแดน ดังปรากฏเป็นตัวอย่างเช่น พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารที่รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์รุกล้ำเข้ามายังดินแดนของไทย (ซึ่งและดูเหมือนว่าจะส่งผลกระทบในลักษณะนี้ต่อพื้นที่ตามแนวเขตชายแดนด้านอื่นๆด้วย) และต่อกรณีการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชา ซึ่งยังคงเป็นปัญหายืดเยื้อจนมาถึงปัจจุบัน
ด้วยการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีบทบัญญัติถึงหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคนในการธำรงรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและด้วยความเป็นห่วงใยเรื่องของดินแดน จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง
๑. อย่าผ่าน บันทึกการประชุม JBC ๓ ฉบับ ที่ปรากฏในรายการเอกสารเรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และยกเลิกกรอบการเจรจาที่ผ่านรัฐสภาเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๑
๒. เสนอให้รัฐบาลดำเนินการหาแนวทางให้มีการถอดถอน ปราสาทพระวิหาร ออกจากบัญชีรายชื่อมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากศูนย์กลางมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลก องค์การยูเนสโก
๓.พิจารณายกเลิก บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ฉบับลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ (ค.ศ.2000) หรือ MOU43
๔.ให้รัฐบาลดำเนินการให้ฝ่ายกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่รอบอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารภายใน ๗ วัน และคืนสภาพแวดล้อมบริเวณบันไดทางขึ้น ดำเนินการล้อมรั้วลวดหนาม และจัดกำลังทหารไทยออกลาดตะเวนโดยรอบปราสาทพระวิหารและชะง่อนหน้าผา “เปยตาดี” หรือตลอด “แนวสันปันน้ำ” อันเป็นดินแดนประเทศไทย และดำเนินการต่อสหประชาชาติในการใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่ได้ทำไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น