บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สำนวนเขมรกรณีปราสาทพระวิหารที่ส่งไปยังศาลโลก


โดย เทพมนตรี ลิมปพะยอม


หลังจากเขมรได้ยื่นคำขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ใหม่อีกครั้งหนึ่งต่อประเด็นพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ศาลได้ออกคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวออกมาให้สองประเทศได้ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยให้มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ 17.3 ตารางกิโลเมตร (ตามที่เขมรได้ส่งแผนผังการคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลโลก) แต่ในขณะนี้ทั้งสองประเทศยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอย่างใด สำนวนของเขมรที่ส่งไปยังศาลโลกนั้นมีความสำคัญต่อการต่อสู้คดีในชั้นศาลเป็นอันมาก สมควรจะได้นำมาวิเคราะห์พิจารณากัน

“ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ การตัดสินของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 แม้ศาลโลกจะไม่ตัดสินตามคำขอของฝ่ายกัมพูชาตามข้อ 2 ที่กล่าวถึงสถานะของแผนที่ 1:200,000 ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส และข้อ 3 เส้นเขตแดนที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ 1:200,000 นั้น มีความถูกต้อง แต่ศาลได้ใช้แผนที่ 1:200,000 ที่เราได้เสนอเป็นหลักฐานสำคัญนั้นเป็นมูลฐานแห่งคดีอันนำไปสู่การตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาต้องตามคำฟ้องข้อ 1 และต้องไม่ลืมว่าต่อมาหลังคำตัดสินเพียง 34 ปี รัฐบาลไทยกลับปฎิบัติต่อแผนที่ 1:200,000 ดังนี้

1. รัฐไทยได้ทำการปักปันเขตแดนไทย-ลาวจนเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยบันทึกความตกลงไทย-ลาวซึ่งลงนามเมื่อ พ.ศ. 2539 และได้ใช้แผนที่ 1:200,000 ที่ศาลโลกมิได้พิจารณานั้นให้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งยังส่งผลให้มีผลจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้รัฐไทยยังยอมรับว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส อันทำให้เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมของรัฐไทยได้ยอมรับแผนที่นั้นแล้วอย่างเห็นได้ชัด

2. ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2543 รัฐไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พฤติกรรมรัฐไทยก็ยังคงยอมรับแผนที่ 1:200,000 อันเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส และมีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ

โดยพฤติกรรมของรัฐไทยได้แสดงให้ศาลเห็นแล้วว่าได้ยอมรับว่าแผนที่1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ข้าฯแต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยมักแสดงการกล่าวอ้างว่าไม่เคยยอมรับแผนที่ดังกล่าวจนศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 หลงเชื่อและไม่ได้ตัดสินตามข้อ 2-3 ที่กัมพูชาได้ร้องขอ จึงก่อให้เกิดปัญหาเส้นเขตแดนขึ้นตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐไทยไม่เคยปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างครบถ้วน แต่อาศัยช่องว่างที่มีอำนาจทางการทหารที่เหนือกว่าดำเนินการจัดการปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยลำพัง ฝ่ายกัมพูชาไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวเลย
ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ ตามที่รัฐกัมพูชาได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าพฤติกรรมรัฐไทยได้ยอมรับแผนที่ 1:200,000 ทุกระวาง และรวมไปถึงระวางดงรักที่รัฐไทยเคยปฏิเสธอย่างแข็งขันในการสู้คดีปราสาทพระวิหารเมื่อ ค.ศ. 1962 ความตกลงไทย-ลาวเมื่อ ค.ศ. 1996 ที่รัฐไทยกระทำกับรัฐลาวเพื่อปักปันเขตแดนกันใหม่ โดยรัฐไทยยืนยันอยู่หลายจุดในเรื่องของแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน-ฝรั่งเศส

แม้ว่าในบางตอนของการปักปันเขตแดนรัฐลาวจะโต้แย้งว่าแผนที่มาตราส่วน1:200,000 นั้น ไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ แต่อย่างใด รัฐไทยกลับยืนยันต่อรัฐลาวว่าแผนที่ชุดนี้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ อย่างแน่นอนและยังกล่าวอีกว่ารัฐลาวอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศสจึงอยู่ในสภาพการบังคับใช้แผนที่นี้

เมื่อรัฐไทยทำบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU43) ค.ศ. 2000 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รัฐไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ว่า แผนที่ 1:200,000 มีผลผูกพันตามกฎหมายระว่างประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐกัมพูชา พฤติกรรมของรัฐไทยไม่ได้ปฏิเสธแผนที่เหมือนที่เคยกระทำการอย่างฉ้อฉลและบิดเบือนไว้เมื่อ ค.ศ. 1962

ข้าฯ แต่ศาล พฤติกรรมของรัฐไทยยังปรากฏว่าได้มีการประชุมกันที่จังหวัดอุบลราชธานีในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติการ การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนหรือที่เรียกกันว่า TOR 2003 ในโอกาสนี้แทนที่รัฐไทยจะปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หากแต่กลับตอกย้ำและยอมรับว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ทุกระวางเป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ และยังให้ความสำคัญต่อแผนที่อย่างยิ่งยวด พฤติกรรมของรัฐไทยย่อมทำให้ศาลเห็นว่า รัฐไทยไม่เคยปฏิเสธเรื่องแผนที่ชุดนี้อีกเลย แม้รัฐไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดรัฐธรรมนูญของตัวเอง แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนของรัฐไทยจะนำเอาความตกลงไทย-ลาว และ MOU 43 หรือ TOR 46 ไปดำเนินการตามกฎหมายเลย แม้มีกลุ่มประชาชนชาวไทยในนามคนเสื้อเหลืองหรือกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องให้รัฐบาลของรัฐไทยนำบันทึก MOU 43 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรอิสระตีความ รัฐบาลของรัฐไทยก็ไม่เคยยอมทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว

นั่นก็เป็นเพราะรัฐบาลของรัฐไทยได้ตระหนักดีแล้วว่าแผนที่ 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันฯ จริงอย่างไม่ต้องสงสัย และทั้งนี้ก็ย่อมเข้าใจตรงกับรัฐบาลของรัฐกัมพูชาแล้วว่า ตลอดแนวพรมแดนด้านตะวันออกทั้งหมดตั้งแต่ประเทศลาว และกัมพูชา รัฐไทยยอมรับสถานะของแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งตามอรรถคดีที่รัฐกัมพูชาได้แสดงให้ศาลได้เห็นตั้งแต่ ค.ศ. 1962 แล้ว และบัดนี้รัฐไทยได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดและความเข้าใจผิดต่อแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนฯ อย่างเห็นได้ชัด

เส้นเขตแดนตรงบริเวณปราสาทพระวิหารตามแผนที่ระวางดงรักหรือแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งได้ปันให้ปราสาทพระวิหาร และบริเวณโดยรอบเป็นของรัฐกัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย และรัฐไทยพยายามผลักดันประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐกัมพูชามีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทำให้รัฐไทยต้องถอยร่นออกไปจนประชิดแค่เขตแดน และเหตุนี้แม่ทัพภาคที่ 2 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐกัมพูชาได้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้จึงสั่งการไม่ให้ทหารไทยต่อสู้หรือรุกล้ำดินแดนของรัฐกัมพูชาเข้ามาอีกเพราะตระหนักดีเรื่องเส้นเขตแดน

ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐไทยได้บังอาจนำดินแดนของกัมพูชาไปขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติอยู่หลายปี แต่รัฐกัมพูชาได้ส่งกองทัพไปรักษาอธิปไตยและเส้นเขตแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งที่ภูมะเขือและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ดี รัฐกัมพูชาประสงค์จะให้ศาลตีความคำพิพากษาในคดีนี้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1:200,000 ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชาขอเสนอข้อมูลอันสำคัญที่ทำให้เห็นว่ารัฐไทยมิได้สนใจต่อการกระทำของกัมพูชาบนดินแดนของกัมพูชาด้านปราสาทพระวิหาร รัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอความเห็นมายังรัฐบาลกัมพูชาว่า ปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะเป็นสถานที่สำคัญสวยงามเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว

กัมพูชาได้จัดทำแผนและร่างโครงการที่จะนำเสนอปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2006 ซึ่งรัฐบาลของรัฐไทยไม่เคยประท้วงทวงติงรัฐกัมพูชา และยังให้การสนับสนุนในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอย่างเป็นทางการ ตามรายงานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 2007 ซึ่งตรงกันกับรัฐบาลคณะปฏิวัติ

และในเวลาต่อมา เมื่อ ค.ศ. 2008 รัฐบาลของรัฐที่มาจากการเลือกตั้งภายในประเทศได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีของรัฐไทย ได้แสดงความประสงค์และสนับสนุนให้รัฐกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยได้ทำคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐทั้งสอง รัฐกัมพูชารู้สึกยินดีที่รัฐไทยได้ตระหนักถึงขอบเขตและบูรณาภาพแห่งดินแดนของรัฐกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหาร รัฐกัมพูชาได้แสดงความเห็นไปยังศูนย์กลางมรดกโลก ณ กรุงปารีส โดยขอให้นำเรื่องที่รัฐไทยและกัมพูชาได้ตกลงกันไว้ในแถลงการณ์ร่วมบรรจุในวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดา และทำการจัดตั้งองค์กรแห่งชาติปราสาทพระวิหาร

โดยรัฐกัมพูชาได้ให้หน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการนครวัดคือ องค์กรอัปสราได้จัดทำแผนบริหารการจัดการโดยได้รับความร่วมมือจากประเทศอินเดียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม รวมถึงรัฐไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ว่าด้วยการอนุรักษ์เข้าร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดรัฐกัมพูชาและรัฐไทยได้ตกลงร่วมกันว่าจะมีการจัดตั้งองค์การแห่งชาติปราสาทพระวิหารร่วมกัน และรัฐไทยจะเข้าร่วมบริหารจัดการในฐานะรัฐภาคีสมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลก ต่อมารัฐไทยได้ทำการฉ้อฉลตระบัดสัตย์ในสิ่งที่ได้ตกลงกันเอาไว้ นับตั้งแต่การประชุมที่บราซิลเมื่อ ค.ศ. 2010 ซึ่งไทยยอมรับในเบื้องต้นต่อเอกสารที่กัมพูชาได้เสนอ มีการลงนามโดยประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย ต่อมามีการประชุมกันที่ปารีสเมื่อ ค.ศ.2011 รัฐไทยกลับไม่สนใจถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีมายาวนานและถือโอกาสแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ

จนในที่สุด เมื่อไม่สามารถทัดทานหลักฐานที่ถูกต้องของรัฐกัมพูชาที่ได้นำเสนอต่อผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกได้ รัฐไทยจึงดำเนินการลาออกตามเอกสารที่รัฐกัมพูชาได้เสนอให้ศาลไปแล้วตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2011 หลักฐานที่กัมพูชานำเสนอได้รับการรับรองจากรัฐฝรั่งเศสและรัฐอเมริกา รวมถึงกลุ่มนักวิชาการคนไทยที่ได้ทำรายงานตามทุนอุดหนุนกระทรวงการต่างประเทศของรัฐไทยนั่นเอง

ข้าฯ ศาลที่เคารพ อย่างที่รัฐกัมพูชาได้กล่าวมาตั้งแต่เบื้องต้นแล้วว่า พฤติกรรมของรัฐไทยทำการกลับไปกลับมาและมิได้เป็นเฉพาะรัฐกัมพูชาเท่านั้น หากแต่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ก็ถูกรัฐไทยเอารัดเอาเปรียบอยู่เป็นประจำ รัฐไทยได้เคยแสดงให้ประชาคมอาเซียนเห็นว่ารัฐไทยได้รุกรานประเทศเพื่อนบ้าน และยึดเอาดินแดนไปอย่างไม่แยแสโดยไม่เคยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นรัฐลาวและไม่เว้นแม้แต่รัฐพม่าที่รัฐไทยได้ยึดเอาดินแดนไปเป็นจำนวนมากบริเวณด่านเจดีย์สามองค์

ข้าฯ แต่ศาลที่เคารพ รัฐกัมพูชายังไม่ได้กล่าวถึงการโจมตีการรุกล้ำอธิปไตยของทหารไทยจำนวนมาก ทำให้ทหารกัมพูชาต้องต่อสู้อย่างสมศักดิ์ศรี เอกสารการรุกล้ำอธิปไตยของรัฐไทยกัมพูชาได้ส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้นำเสนอตัวบุคคลที่จะส่งเอกสารประกอบในโอกาสต่อไป และรัฐกัมพูชาโดยคณะประธานคณะกรรมการมรดกโลกของรัฐกัมพูชาได้เสนอเอกสารหลักฐานทั้งหมดไปยังองค์การยูเนสโก และศูนย์กลางมรดกโลกที่ปารีส รวมถึงอาเซียน





วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ พื้นที่รุกล้ำที่เขมรยึดครองเบ็ดเสร็จ


วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ

นับ ไปไม่เนิ่นนานการประชุมคณะทำงานร่วม (JWG) ระหว่างไทยกับเขมรคงจะเริ่มขึ้น ซึ่งเนื้อหาสาระหลักมีเพียงเรื่องเดียวคือการถอนทหาร เพื่อน้อมไปตามมาตรการชั่วคราวของศาลที่กรุงเฮก ซึ่งเป็นศาล “การเมือง” ระหว่างประเทศ ตามที่ฝ่ายเขมรร่ำร้องขอ “เปิดคดีใหม่” ตีความคำตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ให้กว้างไกลกินความเกินกว่าขอบเขตการพิจารณาและคำตัดสินในคดีเดิม ซึ่งช้านานเกินกว่าจะขอตีความและประเทศไทยก็มิได้อยู่ภายใต้การรับอำนาจศาล มากว่า ๕๐ ปี ขณะที่ศาลโลกมากด้วยน้ำใจต่อเขมรจนเหลือประมาณนั้น ฝ่ายรัฐบาลไทยก็เปี่ยมไปด้วยความอ่อนน้อมไม่กล้าอ้าปากงัดง้างว่าศาลโลกไม่ มีซึ่งอำนาจ สมยอมให้สมสู่คดีกันไปตามกระบวนการ
จะเป็นว่าเมื่อ ๕๐ ปีก่อนเคยมั่วไปหยิบเอากฎหมายปิดปากของอังกฤษมาทำมึนตัดสินยกปราสาทให้เขมร เพราะหาเหตุที่ชอบด้วยหลักเหตุผลไม่ได้ ปลายปีนี้หรือปีหน้า ศาลโลกก็คงหน้ามึนเหมือนเดิม อย่างไรอย่างนั้น มิใช่จะมองโลกในแง่ร้าย แต่เมื่อมองหลายองค์ประกอบประกอบเข้าด้วยกัน ก็พอจะประมาณได้ว่าประเทศไทยคงเสียหายหนักหนาสาหัสกว่าเก่า ซึ่งรัฐบาลคงไม่ว่าอะไร และคนไทยส่วนใหญ่ก็คงไม่ว่ากระไรเพราะมิใช่แผ่นดินบนโฉนดที่ตนถือ ส่วนพื้นที่อีกหลักแสนไร่ที่เคยว่า ๆ กัน ก็รอวันได้รับผลกระทบจากแผนที่อันฉ้อฉลของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส แต่กว่าความเดือดร้อนจะปรากฎจริงคงใช้เวลาอีกพอประมาณ ณ ขณะนี้โคคอกนั้นยังมิทันหาย

หนึ่งในประเด็นที่ยังถกเถียงกันไม่จบจนการถอนทหารยังไม่เกิดในขณะนี้ คือเรื่องจุดตรวจ ที่ฝ่ายไทยกำหนดไปสามที่ คือ ช่องบันไดหัก บันไดทางขึ้นปราสาทและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ส่วนทางสายใหม่หลังวัดแก้วฯ ก็ปล่อยโล่งโจ้งให้สะดวกเขมร
สิ่งปลูกสร้างอำนาวยความสะดวกนักท่องเที่ยวของเขมรหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท บ้านเรือนชาวเขมรรอบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระที่เพิ่มขึ้นอย่างหนาตาในปัจจุบัน
(ซ้าย) สิ่งปลูกสร้างอำนาวยความสะดวกนักท่องเที่ยวของเขมรหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท (ขวา) บ้านเรือนชาวเขมรรอบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระที่เพิ่มขึ้นอย่างหนาตาในปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ วัดแห่งนี้เขมรได้สร้างรุกล้ำบนแผ่นดินไทย ๔.๖ ตร.กม. ค่อย ๆ เติมค่อย ๆ ต่อ ส่วนฝ่ายไทยก็รื้อทำลายวัดด้วยหนังสือประท้วงทางการทูต จนกระทั่งกลายเป็นวัดถาวรมีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีอาคารหลายหลัง ดังที่เห็นในปัจจุบัน มี “ธงงานวัด” ประดับประดาสวยงาม มีชุมชนห้อมล้อมร้อยกว่าหลังคาเรือน แม้วัดจะถูกสร้างเมื่อราวปี ๔๐ กว่า ๆ แต่เป็นที่รู้จักอย่างจริงจังในสังคมไทยก็เมื่อหลังเหตุการณ์ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ที่ พล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ บุกพังประตูห้วยตานี นำกำลังขึ้นช่วยคนไทยที่ถูกทหารเขมรจับตัว แล้วประจำการทหารไทยเต็มพื้นที่บนวัดแห่งนั้น แต่ต่อมาภายหลังก็มีการปรับลดกำลัง ลดสิบ ลดห้า ตามลำดับจนไม่เหลือทหารไทยหลังเหตุการณ์ปะทะ ๔-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งเข้าใจได้ คงไม่มีใครต้องการให้ทหารกลับขึ้นไปเสี่ยง เห็นใจและเข้าใจ เพราะแม้มิใช่ญาติพี่น้องแต่ก็เป็นทหารของคนไทย เว้นแต่ว่าผู้บังคับบัญชาระดับบนเห็นควรประจำการเต็มกำลังหนึ่งหมวดหนึ่งกอง ร้อยหรือตามสมควร เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้เพราะนายทหารระดับสูงได้ลั่นคำไว้หลายต่อ หลายครั้งแล้วว่าสัมพันธ์ที่ดีมีค่าเหนืออื่นใด
นับตั้งแต่การปะทะเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วสงบลง สถานการณ์ในพื้นที่เข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มมีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ชาวเขมรก็ขึ้นมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้น ทางการกัมพูชาเร่งปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณปราสาทมากยิ่งขึ้น และล่าสุดเมื่อช่วงปีใหม่ หลังคณะทำงานระดับชาติพื้นที่พระวิหารของเขมรเข้าไล่ที่บ้านสวายจรุมแล้วส่ง ต่อพื้นที่ให้กับองค์การพระวิหาร เพื่อพัฒนาตามแผนบริหารจัดการ ส่วนใหญ่เป็นบ้านของทหารหรือครอบครัวทหารที่ประจำการอยู่บนปราสาท นอกจากนี้ พ่อค้าแม่ขายที่อยู่บนตลาดหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท ถ้าไม่ใช่ครอบครัวทหารก็เป็นทหารหญิงของกัมพูชาเสียเอง ที่มีดาวหลายดวงแทบทั้งสิ้น หมายความว่า ปัจจุบัน บนพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. หลังประตูเหล็กข้ามห้วยตานีขึ้นไป อันเป็นแผ่นดินภายใต้อธิปไตยของไทย มีแต่คนเขมรอยู่อาศัยครอบครอง จะอยู่ในสภาพชุดพลเรือนหรือชุดอื่นก็ล้วนเป็นทหารเขมรทั้งสิ้น
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เยี่ยมฐานปฏิบัติการทหารไทยที่พลาญยาว ทางตะวันตกของภูมะเขือ เมื่อ ๒๕ ม.ค. ๕๕ (ภาพจาก หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ ๒๓) ทหารไทยที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ เมื่อ ๑๗ ก.ค. ๕๑
(ซ้าย) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. เยี่ยมฐานปฏิบัติการทหารไทยที่พลาญยาว ทางตะวันตกของภูมะเขือ เมื่อ ๒๕ ม.ค. ๕๕ ภาพจาก หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ ๒๓ (ขวา) ทหารไทยที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ เมื่อ ๑๗ ก.ค. ๕๑
เมื่อวันที่ หลายฝ่ายชื่นใจที่นายทหารระดับสูงผู้นี้ใส่ใจลงพื้นที่ด้วยตัวเอง และเดินทางไปที่พลาญยาว ไม่ใช่เฉียดไปแค่ที่ผามออีแดงเหมือนคณะอื่น ๆ แต่ก็อดเสียดายไม่ได้ ที่ไม่ว่า ผบ.สส. ผู้นี้หรือคณะไหน ก็ไม่มีใครขึ้นไปเยี่ยม “แผ่นดินไทย” ที่วัดแก้วฯ ฝั่งตะวันตกของตัวปราสาท ตลาด ชุมชนเขมร และที่ยอดภูมะเขือ เลยแม้แต่คณะเดียว เพื่อเป็นความชื่นใจของคนไทยว่าพื้นที่เหล่านั้นยังเป็นของเรา แม้ขณะนี้จะถูกสรุปรวบเอาว่าเป็นพื้นที่ “พิพาท” ระหว่างรอศาลโลกให้ความเห็น แต่ก็เป็นพื้นที่พิพาทที่ประหลาดที่สุด คือถูกเขมรยึดครองเบ็ดเสร็จแต่ฝ่ายเดียว และที่ขำไม่ได้ร้องไห้ไม่ออก คือฝ่ายที่ยึดครองแผ่นดินเขาไปร้องขอศาลโลกตัดสินยกแผ่นดินนั้นให้ตนเอง ขณะเจ้าบ้านไม่หืออือแม้แต่น้อยเดียว

 

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

เขมรสั่งทูตทั่วโลก จับตาศาลโลกตีความปราสาทพระวิหาร



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


รอง นายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ ฮอนัมฮอง ประชุมพบปะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ รวม 32 นายจากทั่วโลกในวันศุกร์ 20 ม.ค.2555 พร้อมมอบนโยบายสำคัญ 3 ข้อ เร่งด่วนที่สุดคือให้ช่วยกันติดตามผลการตีความปราสาทพระวิการกับพื้นที่โดย รอบในเดือนข้างหน้านี้ โดยไม่ได้อธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงต้องจับตาเรื่องนี้อย่างเป็นพิเศษ.-- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา/Chim Nary.
      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นายฮอนัมฮอง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาได้สั่งให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ที่ประจำใน ประเทศและดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ช่วยกันจับตาการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเตรียมรับมือแผลพวงที่จะติดตามมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในนโยบายต่างประเทศสำหรับปีนี้ และ ในขณะที่กัมพูชากำลังจะสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน ปีหน้า
      
       นายฮองให้นโยบายดังกล่าวระหว่างการประชุมบรรดาเอกอัครราชทูตกัมพูชา 26 คนกับกงสุลใหญ่อีก 8 คนจากทั่วโลก และกงสุลใหญ่กัมพูชา โดยให้ถือเป็นภารกิจที่ “ท้าทายที่สุด” ขณะที่ศาลระหว่างประเทศกำลังจะแจ้งผลการตีความคำพิพากษาปี 2505 เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งทุกฝ่ายต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
      
       ภารกิจอันดับ 2 คือ กัมพูชากำลังจะสมัครเป็นสมาชิกประเภทหมุนเวียนของคณะมนตรีความมั่นคงหรือ UNSC (United Nation Security Council) ประจำปี 2556-2557 ซึ่งจะต้องรณรงค์ระดมการสนับสนุนจากประเทศสมาชิก และ ภารกิจอันดับ 3 คือ กัมพูชากำลังทำหน้าที่ประธานกลุ่มอาเซียนในปีนี้ สำนักข่าวกัมพูชากล่าว
      
       ไม่มีรายงานในรายละเอียดว่า เพราะเหตุใดนายฮองจึงให้บรรดานักการทูตต้องให้ความใส่ใจกรณีปราสาทพระวิหาร กับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรอย่างเป็นพิเศษ ในขณะที่ศาลโลกกำลังตีนัดฟังผลการตีความในเร็วๆ นี้ ตามการร้องขอของกัมพูชาในเดือน เม.ย.2554
       .

นายก รัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนโชว์เอกสารให้ผู้สื่อข่าวดู ในภาพวันที่ 22 ก.ค.2554 ระหว่างแถลงข่าว ผู้นำกัมพูชาเสนอให้ไทยร่วมมือถอนทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันทีตาม คำสั่งของศาลโลก แต่จนถึงบัดนี้สองฝ่ายยังไม่ได้ถอนทหารอย่างเป็นทางการ และศาลระหว่างประเทศของสหประชาชาติในกรุงเฮกกำลังจะอ่านผลการตีความคำตัดสิน ปี 2505 ในเดือนข้างหน้านี้. -- REUTERS/Samrang Pring.
       .
      
       ศาลโลกในกรุงเฮกออกคำสั่งในเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว ให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงและถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทรอบๆ ปราสาทพระวิหาร ที่ถูกประกาศรวมอยู่ใน เขตปลอดทหารชั่วคราว" และให้กองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียนเข้าประจำในพื้นที่ ขณะรอฟังผลการตีความที่คาดว่าจะออกมาในเดือน ก.พ.ศกนี้
      
       อุทกภัยครั้งใหญ่ในสองประเทศเมื่อปีที่แล้ว ได้ทำให้การดำเนินการต่างๆ มีอุปสรรค และจนถึงปัจจุบันไทยและกัมพูชายังไม่ได้ถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเป็น ทางการ
      
       คณะกรรมการชายแดนทั่วไปของไทย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ได้นำคณะไปร่วมประชุมกับฝ่ายกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว และตกลงให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมสองประเทศขึ้นมาเพื่อดำเนินการถอนทหาร
      
       พล.อ.เตียบัญ รมว.กลาโหมกัมพูชา ให้สัมภาษณ์สัปดาห์ที่แล้วว่า ฝ่ายกัมพูชากำลังรอนัดหมายจากฝ่ายไทยเพื่อจัดประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งแรก ในประเทศไทย.

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

คาดศาลโลกตัดสินพระวิหารเร็วสุดสิ้นปี ชี้รบ.ถกจีบีซีไม่ผ่านสภาขัดรธน.


ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม
1.   คำสั่งศาลโลกที่เกินขอบเขตอำนาจศาลและล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย   
       ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”)  ได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว  ก่อนการพิจารณาตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2554  โดยสั่งให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่ศาลได้กำหนด
       รวมทั้งให้ไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยัง ปราสาทพระวิหาร  ให้ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามในกรอบอาเซียนรวมทั้ง ต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าไปยัง PDZ  และให้ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเกิดมากขึ้น  ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
                 คำสั่งที่ศาลโลกให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจาก PDZ  ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่พิพาทที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับ ซ้อนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของแต่ละฝ่ายซึ่งไม่ได้เป็น พื้นที่พิพาทแต่อย่างใดนั้น  เป็นคำสั่งที่เกินขอบเขตอำนาจของศาลโลกและเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของ ทั้งไทยและกัมพูชา  ดังที่ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย 5 คนซึ่งมีประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยได้ให้ความเห็นแย้งไว้
                 คำสั่งของศาลโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว ล้ำเข้าไปในดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐคู่กรณี  โดยที่ดินแดนนั้นไม่ได้เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาข้อพิพาทแต่อย่างใด
                 ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ  รัฐทุกรัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด  ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจอธิปไตยของรัฐ  และไม่มีหน่วยงานใดที่อยู่เหนือกว่ารัฐอีก  รัฐจึงไม่อยู่ภายใต้กฎข้อบังคับใดๆ  นอกจากสิ่งนั้นรัฐยินยอมที่จะปฏิบัติเอง
                 สิ่งใดที่รัฐไม่ได้ให้ความยินยอม  จึงไม่สามารถที่จะผูกพันรัฐนั้นได้  แม้กระทั้งศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีระหว่างรัฐคู่กรณีใด  นอกจากรัฐคู่กรณีนั้นได้ให้ความยินยอมรับอำนาจศาล  ดังที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลโลก  มาตรา 36
                 ไทยยอมรับอำนาจศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารก็เฉพาะสิ่งที่เป็นข้อพิพาทกับ กัมพูชา  ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจสั่งไทยให้ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ข้อพิพาทดังกล่าว  ในกรณีนี้คือ การสั่งให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทกับกัมพูชาแต่อย่างใด
                 ไทยจึงมีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในส่วนที่เป็นการการล่วงล้ำอำนาจ อธิปไตยของไทย  และควรต้องแย้งต่อศาลโลก    อาจมีผู้โต้แย้งได้ว่า  คำพิพากษา (Judgment) ของศาลโลกถือเป็นที่สุดและอุทธรณ์ไม่ได้ตามธรรมนูญศาลโลก  มาตรา 60  แต่ในกรณีนี้เป็นแค่คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (Indication of Provisional Measures) ไม่ใช่คำพิพากษา
                 ไทยจึงมีสิทธิโต้แย้งคำสั่งศาลได้สำหรับส่วนที่เกินขอบเขตอำนาจศาล  ยิ่งไปกว่านั้นมีกรณีตัวอย่างมาแล้วในอดีตหลายคดีที่รัฐคู่กรณีไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
      
       2.   ประเด็นที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของ ค.ร.ม. และ GBC   
                 ค.ร.ม. ทั้งชุดปัจจุบันและชุดที่แล้วไม่ได้โต้แย้งและยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลโลก  โดยไม่มีการพิจารณาประเด็นคำสั่งศาลในส่วนที่เป็นการการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตย ของไทยแต่อย่างใด  ทั้งนี้ ค.ร.ม. ชุดปัจจุบันได้มีมติเมื่อวันที่  18 ต.ค. 2554  ให้ความเห็นชอบให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
                 ต่อมาที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีการเปิดการอภิปรายทั่วไปเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2554  ตามที่ ค.ร.ม. เสนอ  เพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179          
                 ในการประชุมดังกล่าวได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่าเรื่องนี้ต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบตามรัฐ ธรรมนูญ  มาตรา 190  หรือไม่  ซึ่ง ค.ร.ม. เห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 190   แต่สมาชิกรัฐสภาหลายคนเห็นตรงข้าม  แต่เนื่องจากเป็นการประชุมโดยไม่มีการลงมติ  จึงไม่มีข้อสรุปใดๆ
                 ในวันที่ 16 พ.ย. 2554  พล.อ. ยุทธศักดิ์  ศศิประภา  ร.ม.ว. กระทรวงกลาโหมได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า  ไทยพร้อมเจรจาโดยจะนำกรอบการเจรจาที่ได้จากการประชุมดังกล่าวไปหารือกับ กัมพูชาในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) ที่จะจัดให้มีขึ้น  เพื่อให้ได้ข้อยุติใน 5 ข้อดังนี้    ข้อ 1 การปรับกำลัง  ข้อ 2 การปฏิบัติต่อผู้สังเกตการณ์   ข้อ 3 การจัดจุดตรวจ   ข้อ 4 การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่ยูเนสโก  ข้อ 5 การดำเนินการต่อประชาชนที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา    
                 ต่อมาในวันที่ 21 ธ.ค. 2554 หลังเสร็จสิ้นการประชุม GBC ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยมีส่วนที่สำคัญพอสรุปได้ว่า  ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยต้องโปร่งใส  เสมอภาค  และชัดเจนแน่นอน  ภายใต้การตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์ร่วมสามฝ่าย ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย  พร้อมตั้งคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อหารือรายละเอียดการปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลโลกใน PDZ ที่ยังไม่ได้มีข้อยุติ  (ซึ่งเดิมมีทั้งสิ้น 5 ข้อตามที่กล่าวแล้วข้างต้น)
                 การที่ ค.ร.ม. เคารพคำสั่งศาลโลกและดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ภายใต้กฎ บัตรสหประชาชาตินั้นเป็นเรื่องที่มีเหตุผลรับฟังได้  เพราะการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอาจทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อไทย  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาคดีของศาลโลกและต่อความเชื่อถือและความร่วม มือของนานาประเทศ
                 แต่การดำเนินการของ ค.ร.ม. รวมทั้ง GBC ในเรื่องนี้ต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยว ข้อง  รวมทั้งต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ
                 โดยที่รัฐธรรมนูญ  มาตรา 77 บัญญัติให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐดัง นั้นการดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกในส่วนที่สั่งเกินขอบเขตอำนาจ ศาลและเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทยดังกล่าว  ค.ร.ม. และ GBC จึงต้องพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อให้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญในมาตรานี้  แต่ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการโดยไม่มีการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวแต่อย่าง ใด
                 ยิ่งไปกว่านั้นรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 บัญญัติให้หนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย  หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา  โดยก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญาดังกล่าว  ค.ร.ม. ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  และต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
                 สำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกนั้น  เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ไทยและกัมพูชาจะต้องจัดทำ ข้อตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรในรายละเอียดที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้   อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจมีขึ้น
                 ข้อตกลงร่วมดังกล่าวไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอะไร  ย่อมเข้าข่ายหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190   ทั้งนี้เพราะหนังสือสัญญาดังกล่าวถึงแม้อาจไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย ตามที่ ค.ร.ม. กล่าวอ้าง  แต่ย่อมมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากในหลายจังหวัดรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารออกจาก PDZ
                 การที่ ค.ร.ม. ให้  GBC  จัดการประชุมเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก  และ GBC ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวแล้วข้างต้น  ซึ่งการประชุม GBC นั้นถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  ยิ่งไปกว่านั้นแถลงการณ์ร่วมของ GBC น่าจะเข้าข่ายหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  อีกด้วย
                 แต่ ค.ร.ม. ยังไม่มีการให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  รวมทั้งไม่มีการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบแต่อย่างใด  จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190   อย่างชัดเจน
                 นอกจากนี้การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกโดยต้องยินยอมอย่างเป็นทางการให้ตลาด วัด และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไปได้  รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในพื้นที่ พิพาทดังกล่าวนั้น  เป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ. 2504  ที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาตามมาในปี พ.ศ. 2541 กำหนดให้ป่าเขาพระวิหาร ในท้องที่ ต.เสาธงชัย  ต.ภูผาหมอก   อ.กันทรลักษ์  จ.ศรีสะเกษ  เป็นอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่พิพาทรวมทั้ง PDZ บางส่วนด้วย
                 จึงขอเรียกร้องให้ ค.ร.ม. และ GBC  ดำเนินการในเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  และหากยังดึงดันที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่แก้ไขให้ถูกต้อง  ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง สภาได้ร่วมกันเสนอเรื่องตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190   วรรคหก  ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการดำเนินการของ ครม. และ GBC ดังกล่าวที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยเร็วด้วย

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

กต. ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา

กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา

เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีบางฝ่ายมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจไม่ทราบพัฒนาการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าตรวจดูปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญประเทศต่าง ๆ และเหตุการณ์ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ดังนี้

๑. การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของผู้เชี่ยวชาญเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลกัมพูชาเป็นผู้จัดและได้มีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ รวมถึงยูเนสโกและประเทศไทย อย่างไรก็ดี โดยที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังไม่ได้มีคำตัดสินในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี ๒๕๐๕ ฝ่ายไทยจึงไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการตรวจพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ จากการประสานกับเจ้าหน้าที่ยูเนสโกประจำประเทศไทยได้รับการยืนยันว่าการตรวจพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบของยูเนสโก โดยเจ้าหน้าที่ของยูเนสโกประจำกัมพูชาและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมตามคำเชิญของรัฐบาลกัมพูชา และขอเรียนว่าไทยยืนยันท่าทีเดิมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ โดยเห็นว่า ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในการหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจขัดกับคำสั่งของศาลฯ โดยเฉพาะที่ระบุ “ให้ทั้งสองฝ่ายงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลฯ ทวีความร้ายแรงหรือแก้ไขยากขึ้น” ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแจ้งกัมพูชาให้ทราบท่าทีของไทยดังกล่าวด้วยแล้วเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

๒. เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐบาลต่อกรณีทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือที่ถูกกองกำลังฝ่ายกัมพูชายิงใส่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ของกัมพูชา เพื่อขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการประสานแจ้งล่วงหน้าตามแนวปฏิบัติและกองกำลังในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและฝ่ายกัมพูชารับที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยฝ่ายกัมพูชาได้แสดงความเสียใจและแจ้งว่าเกิดปัญหาในการสื่อสารไปยังกองกำลังในพื้นที่ของกัมพูชาจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดและยืนยันว่าจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยยืนยันว่าเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือดังกล่าวไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา พร้อมทั้งแสดงความผิดหวังที่กองกำลังของกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทยและขอให้ฝ่ายกัมพูชาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็ว

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้หารือกันอย่างใกล้ชิดและดำเนินการในเรื่องนี้ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมากรณีเกิดเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทยเพื่อรักษาอธิปไตยของไทย อย่างไรก็ดี การดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมีความละเอียดอ่อนจึงไม่ประสงค์ที่จะให้นำไปเป็นประเด็นทางการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในภาพรวม


************************************


๔ มกราคม ๒๕๕๕



วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ค้านคำสั่งศาลโลก

วันนี้(9ม.ค.2555) ปชช.5 จว.อีสานตอนใต้ บุกชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ แสดงพลังปกป้องดินแดนไทย เมินคำตัดสินของศาลโลก พร้อมยืนยันค้านถอนกำลังทหารไทยออกจากเขาพระวิหาร

ประชาชน เครือข่าย 5 จังหวัดอีสานตอนใต้ ในนามกลุ่มรวมพลังปกป้องดินแดนไทยจังหวัดอีสานใต้ นำโดย นายปราโมทย์ หอยมุก มารวมตัวกันกว่า 100 คน เพื่อแสดงพลังปกป้องแผ่นดินไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และคัดค้านการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นบริเวณ 17.3 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร

พร้อมกันนี้ได้นำสิ่งของอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง มามอบให้แก่ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 ซึ่งเป็นตัวแทนทหารกองกำลังสุรนารี (กกล.สุรนารี) กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) เพื่อนำไปมอบต่อให้ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติที่ บริเวณเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ทหารไทย

ขณะเดียวกัน ได้มีประชาชนชาวศรีสะเกษโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว อ.กันทรลักษ์ ได้พากันเดินทางมาสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนในการแสดงพลังไม่ยอมรับคำสั่งของศาลโลก และยืนยันคัดค้านการถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชาด้านเขาพระวิหาร โดยจะมีการเคลื่อนขบวนไปแสดงพลังและร่วมกันประกอบพิธีปกป้องแผ่นดินไทย ที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ


วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

มภ.2 ปัด เขมรยังไม่ประท้วงไทยประดิษฐานพระพุทธรูปหน้าแนวภูมะเขือ


Pic_228933 ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ยืนยัน ยังไม่เห็นหนังสือประท้วงไม่พอใจของกัมพูชา กรณี ไทยเตรียมประดิษฐานพระพุทธรูป หน้าแนวภูมะเขือ ชี้ ไม่เห็นเกี่ยวเรื่องเขตแดน ยัน เดินหน้าวันที่ 9 ม.ค.เหมือนเดิม

วัน ที่ 8 ม.ค. พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ กรณีสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กำหนดทำพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปที่หน้าแนวในพื้นที่ภูมะเขือของไทย พร้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุซึ่งประดิษฐานที่พลาญยาว ทางทิศตะวันตกของภูมะเขือ ในช่วงเช้าวันที่ 9 ม.ค. นี้  โดยมีสมเด็จพระวันรัตน เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมด้วย พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ ๒ และข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เข้าร่วมพิธี โดยยอมรับว่า ในวันที่ 9 ม.ค.นี้ จะมีการทำพิธีดังกล่าวจริง ซึ่งจนถึงขณะนี้ ส่วนตัวก็ยังไม่เห็น และไม่ได้มีการส่งหนังสือประท้วงไม่พอใจการกระทำของไทยอย่างเป็นทางการที่มา จากกัมพูชาแต่อย่างใด และทางไทยเราก็ยังจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่ได้มีการตกลงไว้ก่อนหน้าในการ ทำพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปในวันดังกล่าวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

"ทั้ง นี้มันไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเขตแดนอะไร เพราะลูกน้องผมในพื้นที่มีความศรัทธา และเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความศักดิ์สิทธิ์ก็แค่นั้น รวมทั้งก็นับถือศาสนาพุทธ  แล้วจนถึงตอนนี้เองก็ยังไม่เห็นมีอะไร ถ้ามีลูกน้องคงรายงานเข้ามาให้ผมทราบแล้ว  ความจริงกัมพูชาที่ผ่านมาก็มีการตั้งอะไรในพื้นที่ได้ ก็ไม่น่าเป็นปัญหา" พล.ท.ธวัชชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม่ทัพภาคที่ 2 ยังฝากไปถึง สื่อมวลชนของไทยที่เสนอข่าวนี้ด้วยว่า ความจริงไม่ควรนำเสนอข่าวอย่างนี้เพราะอาจกลายเป็นการยั่วยุฝ่ายตรงข้ามได้ ดังนั้นควรเห็นแก่ประเทศชาติบางข่าวไม่ควรนำเสนอ.


ไทยรัฐ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

อีกไม่เกิน 60 วัน ไทยกำลังจะแพ้ศาลโลกรอบที่สองในรอบ 50 ปี !?

ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อคดีการวินิจฉัยตีความคำพิพากษาของศาลโลกกรณีพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารความตอนหนึ่งว่า:
      
       “จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์ และเพื่อไม่ให้คดีดังกล่าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์กันว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา ซึ่งรัฐบาลไทยคงได้ยื่นคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว ส่วนการจะไปให้ถ้อยแถลงด้วยวาจา ก็มีความสำคัญ ต้องมีการเตรียมตัวให้ดี มีการซักซ้อม ดำเนินการให้เป็นเอกภาพ”
      
       หากเป็นไปตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คาดการณ์เอาไว้ ศาลโลกจะวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ก็แปลว่าเรามีเวลาเหลืออยู่อีกเพียงไม่ถึง 60 วันเท่านั้น ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง:
      
       ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 50 แล้วที่ศาลโลกได้เคยตัดสินคดีนี้ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ลงความเห็นด้วยข้อความว่า:
      
        “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”
      
       สำหรับ ข้อเรียกร้องในข้อ 1 ของกัมพูชาว่าให้ศาลพิพากษาและชี้ขาดสถานภาพของแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว (แผนที่ภาคผนวก 1) และข้อเรียกร้องในข้อ 2 ของกัมพูชาที่ขอให้พิพากษาและชี้ขาดเส้นเขตแนวระหว่างไทย-กัมพูชาตามแผนที่ มาตราส่วน 1: 200,000 (แผนที่ภาคผนวก 1) นั้น ศาลไม่ตัดสินเป็นบทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยให้เหตุผลในคำพิพากษาในครั้ง นั้นว่า:
      
        “คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดใน เรื่องสถานภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ในทางตรงกันข้าม ศาลเห็นว่าประเทศไทยนั้นหลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้องของตนเกี่ยวกับ อธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลงสรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่ เพียงการโต้แย้งและปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ของคู่ความฝ่ายตรงข้ามเท่า นั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นเหมาะสมซึ่งคำพิพากษาอาศัยเป็นมูลฐาน”
      
       แม้คำพิพากษาจะมีความชัดเจนว่าไม่ได้ตัดสินสถานภาพของแผนที่และเส้น เขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 แต่เราก็จะวางใจไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะสิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องปีที่แล้วต่อศาลโลกนั้นได้ให้ช่วยตีความใน คำพิพากษาในการตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในประเด็นที่มีการลงคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ว่า:
      
        “ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา”
      
       และสิ่งที่กัมพูชาให้ตีความนั้นก็คือคำว่า การถอยทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” คือบริเวณไหน?
      
       โดยกัมพูชามุ่งหมายจะให้ศาลโลกตีความเพื่อหวังว่า บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชานั้นหมายถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 หรือไม่?
      
       ทั้งนี้เพราะแม้กัมพูชาจะรู้ว่า แผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 จะไม่ใช่บทปฏิบัติการของคำพิพากษาโดยตรง แต่กัมพูชาอาศัยช่องเล็กๆที่แผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ศาลโลกอ้างกฎหมายปิดปากที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ ฉบับนี้ในการใช้เป็น “มูลฐาน” ในการแสดงเหตุผลเพื่อตัดสิน “บทปฏิบัติการ” ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ในการใช้เป็นประโยชน์ในการส่งศาลโลกตีความในครั้งนี้ด้วย
      
       เพราะเมื่อ “มูลฐาน” จากกฎหมายปิดปากในเรื่องแผนที่ภาคผนวก 1 ใช้ถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินบทปฏิบัติการในประเด็น อำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทแล้ว ก็ย่อมต้องส่งผลต่อบทปฏิบัติการในการให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ด้วยเช่นกัน
      
       มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า อำนาจอธิปไตยเหนือตัวซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” ฉันใด
      
       มูลฐาน “กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว” ก็ย่อมส่งผลต่อบทปฏิบัติการว่า ให้ทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาและผู้ดูแล ออกจาก “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” ฉันนั้น
      
       ไทยจึงย่อมตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่า หากปล่อยให้มีการตีความบทปฏิบัติการของคำพิพากษานี้ !!

      
       ทั้งนี้การใช้กฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ปฏิเสธแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้กลายเป็น “มูลฐาน” ในการตัดสิน “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” ทั้งนี้ได้มีการบรรยายมูลฐานในการตัดสินครั้งนั้นด้วยข้อความว่า:
      
        “อย่างไรก็ดี ศาลมีความเห็นว่าประเทศไทยใน ค.ศ. 1908 – 1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่า เป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ศาลมีความเห็นต่อไปว่าเมื่อพิจารณาโดยทั่วไป การกระทำต่อๆมาของไทยมีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่าการกระทำขอบงไทยในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน”
      
       ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงได้ทำการประท้วง คัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินที่อยุติธรรม ที่แม้ว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามคำพิพากษา แต่ก็ยังได้ตั้งข้อสงวนที่จะทวงคืนในอนาคตหากกฎหมายมีการพัฒนาไปมากกว่านี้ โดยปราศจากการคัดค้าน และทักท้วงจากทุกประเทศในหมู่มวลสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
      
       ข้อสำคัญแม้แต่กัมพูชา ก็พอใจกับการปฏิบัติกั้นแนวรั้วรอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายไทยและไม่เคยคัด ค้านหรือเรียกร้องใดๆจากองค์การสหประชาชาติเป็นเวลากว่า 40 ปี
      
       เพราะความจริงมีอยู่ว่าศาลโลกในขณะนั้นไม่ได้หักล้างเหตุผลของฝ่าย ไทยที่หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ในหลายประเด็น ทั้งในเรื่อง หลักฐานผลงานของผู้เชี่ยวชาญการการสำรวจตรวจตราภูมิประเทศในบริเวณเขาพระ วิหาร หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ฝ่ายฝรั่งเศสมีบันทึกระบุว่าสันปันน้ำบริเวณทิว เขาดงรักอยู่ที่หน้าผามองเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก และหลักฐานที่ว่าแผนที่นี้สร้างขึ้นผิดจากความเป็นจริงแห่งภูมิประเทศ ฯลฯ แต่ศาลโลกกลับเลือกกฎหมายปิดปากมาเป็นมูลฐานหลักโดยปราศจากการหักล้าง ไม่โต้แย้ง ไม่แม้กระทั่งกล่าวถึงเหตุผลของฝ่ายไทย
      
       ดังนั้นจึงถือว่าประเทศไทยในขณะนั้นไม่ได้คัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวน เฉพาะ “บทปฏิบัติการ”ของคำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น แต่ยังคัดค้านรุกไปถึง “มูลฐาน”ในการใช้เป็นเหตุผลตัดสินที่อยุติธรรมอีกด้วย
      
       คำแถลงคัดค้าน ประท้วง และตั้งข้อสงวนของไทยในยุคนั้น จึงมีความหมายอย่างยิ่ง เมื่อรวมกับการที่ประเทศไทยไม่ได้ต่ออายุปฏิญญาการประกาศยอมรับอำนาจศาลโลก โดยบังคับมา 50 ปีแล้ว ย่อมหมายความว่าเราไม่ควรกลับไปยอมรับอำนาจศาลโลกในการตีความที่มาจาก “มูลฐาน” ที่อยุติธรรมของศาลโลกอีก

      
       และถ้าไทยยังไปยอมรับการตีความ “บทปฏิบัติการของคำพิพากษา” บน “มูลฐาน”ที่อยุติธรรมแล้ว เท่ากับว่าประเทศไทยได้สละการคัดค้าน ประท้วง ตั้งข้อสงวนของฝ่ายไทยที่เคยมีมา และได้กลับไปรับอำนาจของศาลโลกอีกครั้งในรอบ 50 ปี และอาจถือเป็นการทรยศต่อภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่ได้ปกป้องแผ่นดินไทยเอา ไว้มาจนถึงวันนี้ ใช่หรือไม่?
      
       และอีกไม่เกิน 60 วัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่จะเสียดินแดนในเวทีศาลโลกครั้งที่สองในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา!!!

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

อุ่นเครื่องศาลโลก-เขาพระวิหาร


'อุ่นเครื่องเรื่องศาลโลก : ความคืบหน้าคดีปราสาทพระวิหาร' โดย 'วีรพัฒน์ ปริยวงศ์' นักกฎหมายอิสระ อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ข่าวที่กัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) “ตีความ” คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕ เริ่มกลับมาอุ่นตัวอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕ แต่เมื่อรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสื่อมวลชนดูจะยังไม่สร่างจากการพักปีใหม่ ผู้เขียนจึงจำต้องฝากข้อมูลให้ประชาชนเตรียมอุ่นเครื่องเรื่องศาลโลกไว้ ๓ ประเด็น ดังนี้


ประเด็นที่ ๑: ศาลโลกจะมีคำพิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์นี้จริงหรือ ?
เมื่อวันที่ ๓ มกราคมที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยหลายสำนักได้รายงานคำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำนองว่า เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และเพื่อไม่ให้การพิพากษาคดีคาบเกี่ยวกับช่วงการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ จึงคาดว่าศาลโลกจะมีคำพิพากษาภายในเดือนกุมภาพันธ์ (ดูข่าว เช่น http://bit.ly/yyofVV, http://bit.ly/umw72E , http://on.fb.me/tgYHAP, http://bit.ly/rtZARS)
ผู้เขียนเห็นว่ารายงานข่าวดังกล่าวเป็นการนำเสนอที่ผิดพลาดและหละหลวม เพราะข้อเท็จจริงปรากฎชัดเจนว่าศาลโลกจะยังไม่มีคำพิพากษาภายในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรก ศาลโลกได้แจ้งให้ทั้งไทยและกัมพูชาทราบแล้วว่า ศาลได้อนุญาตให้ไทยและกัมพูชายื่นบันทึกคำอธิบายเพิ่มเติม (further written explanations) โดยฝ่ายกัมพูชายื่นได้ภายในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ และฝ่ายไทยยื่นได้ภายในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ กระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้จะยังคงใช้เวลาอย่างน้อยไปถึงปลายปี ๒๕๕๕ หลังที่ไทยได้ยื่นเอกสารดังกล่าว (ซึ่งหลังจากนั้นทนายความอาจขอให้ศาลอนุญาตให้คู่ความแถลงชี้แจงเป็นวาจาต่อศาลอีกรอบก็เป็นได้)
ทั้งนี้ การที่ศาลอนุญาตให้มีการส่งเอกสารเพิ่มเติมดังกล่าว ถือเป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องตามระเบียบศาล (Rules of Court) ข้อที่ ๙๘ วรรคสี่ โดยศาลอาจอนุญาตเห็นว่ายังมีประเด็นที่คู่ความต้องโต้เถียงหักล้างกันต่อเนื่องจากบันทึกข้อสังเกต (written observations) ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว โดยฉบับของไทยมีรายละเอียดกว่าพันหน้า หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจเป็นความพยายามของคู่ความในการเพิ่มเวลาการเจรจานอกศาล เช่น เจรจาถอนคดีเพื่อลดความเสี่ยงของผลคำพิพากษาก็เป็นได้ ทั้งนี้ ศาลโลกได้ออกเอกสารข่าวดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ (http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16843.pdf)
ประการที่สอง เหตุผลของนายอภิสิทธิ์ (ตามรายงานข่าว) ที่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ก็เป็นเหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงเช่นกัน เพราะระเบียบวิธีพิจารณาของศาลโลกไม่มีเรื่อง “การเปลี่ยนองค์คณะ” ในเดือนกุมภาพันธ์ตามที่ข่าวอ้าง กล่าวคือ ผู้พิพากษาศาลโลกที่เข้ารับตำแหน่งตามวาระก็ต้องร่วมเป็นองค์คณะพิจารณาทุกคดีจนครบวาระเว้นมีเหตุเฉพาะ เช่น ถอนตัวจากคดี หรือ มีกระบวนพิจารณาเร่งด่วน (Chamber of Summary Procedure) ศาลโลกจึงแตกต่างจากศาลในประเทศที่อาจมีการจ่ายสำนวนให้ผู้พิพากษาสามคนจากหลายคนเป็น “องค์คณะ” ในคดีหนึ่งคดีใดเป็นการเฉพาะ
ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ตามระเบียบของศาลโลกก็คือ “การสิ้นวาระดำรงตำแหน่ง” ของผู้พิพากษาศาลโลกบางรายซึ่งไม่ได้เข้าออกจากตำแหน่งในศาลโลกพร้อมกัน กระนั้นก็ดี องค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการคัดเลือกผู้พิพากษาที่จะมีวาระดำรงตำแหน่งเริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๔ แล้ว (http://bit.ly/tNSTEF)
ทั้งนี้ ผู้พิพากษาที่ดำรงตำแหน่งครบวาระมีทั้งสิ้นห้าราย แต่มีสามรายในนั้นที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระ และมีสองรายที่พ้นจากวาระ (ทั้งสองรายเป็นฝ่ายเสียงข้างมากที่ลงมติให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารตามคำสั่งมาตรการชั่วคราว) อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญศาลโลก ข้อ ๑๓ วรรคสาม ประกอบกับระเบียบศาลข้อที่ ๓๓ โดยทั่วไปก็เปิดช่องให้ผู้พิพากษารายเดิมที่พิจารณาคดีค้างอยู่สามารถนั่งพิจารณาจนช่วงคดีเสร็จสิ้นแม้ตนจะพ้นวาระไปแล้วก็ตาม
ประการที่สาม แม้หากจะไม่พิเคราะห์ให้ลึกซึ้งถึงเหตุผลสองประการที่กล่าวมา บุคคลธรรมดาที่แม้จะไม่ได้เป็นนักการเมืองหรือสื่อมวลชน หากสำรวจตรรกะเบื้องต้นให้ดีสักครู่ ก็จะพบว่าการที่ศาลจะเร่งพิจารณาคดีของศาลให้เสร็จภายในไม่กี่เดือนเพื่อให้คดีจบทันการสิ้นวาระของผู้พิพากษานั้น ฟังจะขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่า ปัจจุบันมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยศาลโลกอยู่ไม่น้อยกว่าสิบคดี และแต่ละคดีใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองถึงสามปี ดังนั้น ตรรกะที่ว่าศาลจะพยายามทำให้ทุกคดีเสร็จสิ้นภายในเวลาอีกไม่กี่เดือนได้นั้นย่อมน่าเคลือบแคลงยิ่งนัก
จากเหตุผลสามประการที่กล่าวมา หากนายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ตรงตามข่าวจริง คงต้องเห็นใจที่ปรึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศของนายอภิสิทธิ์ที่หละหลวมจนทำให้บุคคลระดับผู้นำฝ่ายค้านและอดีตผู้นำประเทศ “ปล่อยไก่” ต้อนรับปีใหม่มาทั้งเล้า อย่าลืมว่านายอภิสิทธิ์คนเดียวกันนี้เคยได้ให้สัมภาษณ์เรื่อง “การถอนตัวภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ” ไปก่อนการเลือกตั้ง แต่หลังเลือกตั้งพอน้ำท่วมมรดกโลกที่อยุธยากลับปรากฎว่าไทยไม่เคยถอนตัวดังที่หลายคนเข้าใจ (http://on.fb.me/mJX3b2 )
ส่วนที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาลเองก็น่าเห็นใจเช่นกัน เพราะดูท่าจะยังไล่ไก่เข้าเล้าไม่ทัน เห็นได้จากการที่ นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาตอบโต้คำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ โดยเน้นโจมตีแต่เรื่องรัฐบาลชุดเก่า แต่กลับไม่มีรายงานว่านางฐิติมาได้แก้ไขข้อมูลคลาดเคลื่อนชุดใหม่ให้ประชาชนเข้าใจให้ถูกต้องหรือไม่ (เช่น http://bit.ly/A3mgyP และ http://bit.ly/yLhnj7) ยิ่งหากจะมีข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่กลับสงวนเนื้อสงวนคำหรือไม่มีการประสานงานระหว่างกันจนปล่อยให้โฆษกรัฐบาลทำงานอย่างไร้ข้อมูล ก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย
ยังมิพักที่ต้องเห็นใจสื่อมวลชนไทยที่ทำข่าวเหนื่อยมาตลอดช่วงปลายปี ยังไม่ทันสร่างจากพักปีใหม่ ก็พลาดท่าไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาข่าวย้อนหลังจนรายงานข่าวขัดแย้งให้ประชาชนสับสนแต่ต้นปี
ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนโปรดอุ่นเครื่องและรู้ให้ลึกยิ่งกว่านักการเมืองและสื่อมวลชนไทยว่า ศาลโลกจะยังไม่พิพากษาคดีในเดือนกุมภาพันธ์นี้อย่างแน่นอน
ประเด็นที่ ๒: ไทยยังมีข้อพิพาทอยู่กับกัมพูชาในศาลโลกจริงหรือ ?
คำถามนี้อาจฟังดูแล้วน่าฉงน แต่ขอฝากให้บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ตลอดจนสื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ทั้งหลายนำไปอุ่นเครื่องเตรียมการกล่าวอ้างให้ระมัดระวังว่า ในทางกฎหมายนั้น หากจะกล่าวอ้างให้ถูกต้องตรงกับสิ่งที่ไทยได้แถลงต่อศาลไปก่อนหน้านี้ ย่อมต้องถือว่าไทยไม่มีข้อพิพาทกับกัมพูชาที่เกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา พ.ศ. ๒๕๐๕ แต่อย่างใด เพราะสำหรับไทยแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวมีความชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้องกับเส้นเขตแดน และไทยก็เห็นว่ากัมพูชาได้รับทราบและเข้าใจคำพิพากษาชัดเจนต้องตรงกัน และอยู่ร่วมกันมาอย่างสงบโดยยึดแนวรั้วลวดหนามรอบปราสาทมากว่าสี่สิบปี แต่ฝ่ายกัมพูชากลับมาตีประเด็นให้ศาลหลงเข้าใจว่าไทยและกัมพูชาอ่านคำพิพากษาคนละแบบมาตลอด ซึ่งไทยย่อมปฎิเสธว่าไม่เป็นความจริง
ผู้เขียนย้ำว่า แม้คำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลเมื่อวันที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔ ย่อหน้าที่ ๓๑ จะสรุปประเด็นการตีความคำพิพากษา “ที่มีมูล” (appears to exist) ไว้สามประเด็น คือ (๑) เรื่องบริเวณใกล้เคียงรอบตัวปราสาท (vicinity) (๒) เรื่องความต่อเนื่องของพันธกรณีในการถอนทหารและเคารพอธิปไตย และ (๓) เรื่องสถานะของแผนที่และเส้นเขตแดน แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้ศาลยังคงสามารถปฎิเสธที่จะรับตีความประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือทั้งหมดได้ หากศาลพบว่าแท้จริงแล้วคู่ความได้มีความเข้าใจคำพิพากษาตรงกัน หรือประเด็นที่กัมพูชาขอให้ตีความนั้นเกินเลยไปจากขอบเขตของคำพิพากษาเดิม
ดังนั้น หากผู้ใดต้องการจะร่วมสงวนท่าทีของไทยให้สอดคล้องกับข้อต่อสู้ที่ไทยแถลงไปต่อศาลโลก แทนที่จะไปกล่าวหรือรายงานว่าไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษา หรือเห็นไม่ตรงกันจนทำให้ศาลโลกต้องกลับมาตีความ ก็ควรจะเปลี่ยนเสียใหม่เป็นว่า ไทยเห็นว่าไทยกับกัมพูชาเข้าใจขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาตรงกันมาโดยตลอด แต่กัมพูชามากลับลำตีประเด็นเรื่องเขตแดนภายหลัง ดังนั้น เมื่อไทยกับกัมพูชาเข้าใจขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาตรงกัน อีกเรื่องเขตแดนยังเกินเลยขอบเขตของคำพิพากาษเดิม ศาลโลกย่อมไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตีความคำพิพากษาได้
ประเด็นที่ ๓: การถอนกำลังทหารให้เป็นไปตามคำสั่งศาลโลกละเมิดอธิปไตยไทยจริงหรือ ?
เมื่อมีข่าวว่าไทยและกัมพูชาพร้อมจะร่วมมือกันปฏิบัติตาม “คำสั่งมาตรการชั่วคราว” ของศาลโลก โดยการถอน (หรือ “ปรับ”) กำลังทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ก็มีผู้ห่วงใยเริ่มทักท้วงว่าหากไทยปฏิบัติตาม ย่อมถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยเพราะการถอนทหารกินบริเวณมาในเขตของไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีผู้ห่วงใยท้วงติงว่า ก่อนที่รัฐบาลจะไปดำเนินการตกลงกับกัมพูชาเพื่อถอนหรือปรับกำลังทหารนั้น รัฐบาลจะต้องดำเนินการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาและรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เสียก่อน
ผู้เขียนเกรงว่าความห่วงใยและหวังดีดังกล่าวอาจไม่ได้ตั้งอยู่บนความแตกฉานในข้อกฎหมาย ดังนี้
ประการแรก การปฏิบัติตามคำสั่งศาลเพื่อเคารพเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าว เป็นเพียงเรื่องมาตรการชั่วคราวที่มุ่งป้องกันการปะทะกันด้วยอาวุธ ซึ่งไทยและกัมพูชามีสิทธิขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลจำเป็น ที่สำคัญ พิกัดที่ศาลใช้กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าว มิได้มีผลทางกฎหมายต่อเขตแดนแต่อย่างใด ดังที่ศาลได้ย้ำอย่างชัดเจนในคำสั่งหลายครั้ง (เช่น ย่อหน้าที่ ๒๑, ๓๘ และ ๖๑) ว่าการพิจารณาออกคำสั่งครั้งนี้ ศาลย่อมไม่ก้าวเข้าไปวินิจฉัยประเด็นที่กัมพูชาอ้างว่าดินแดนส่วนใดเป็นของใครหรือเขตแดนจะต้องเป็นไปตามเส้นหรือแผนที่ใด (ประเด็นที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลก โปรดดู http://on.fb.me/ovWF6a) นอกจากนี้ เพียงการที่ทหารไทยยืนหรือไม่ยืนอยู่ ณ จุดใด มิได้เป็นเครื่องวัดว่าไทยมีอธิปไตยเหนือพื้นที่นั้นหรือไม่แต่อย่างใด
ประการที่สอง รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีการปฎิบัติตามคำสั่งศาลโลก และแม้จะมีผู้ตีความว่าไทยและกัมพูชาจะถอนหรือปรับกำลังตามข้อตกลงระหว่างสองประเทศก็ดี แต่หากการดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อประสานงานในทางบริหารเป็นการชั่วคราว โดยการอาศัยอำนาจของฝ่ายบริหารโดยแท้ เช่น การควบคุมเคลื่อนย้ายกำลังพล การดังกล่าวก็มิต้องด้วยกรณีของมาตรา ๑๙๐ ในทางกลับกัน การพยายามยัดเยียดให้อำนาจของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะการใช้อำนาจที่เป็นของฝ่ายบริหารโดยแท้ เช่น การควบคุมเคลื่อนย้ายกำลังพลทหาร ตกอยู่ภายใต้อำนาจนิติบัญญัติหรือตุลาการตามมาตรา ๑๙๐ จะกลับกลายเป็นการทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจและความรับผิดชอบในทางประชาธิปไตย และชักนำให้เกิดภาวะความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินในที่สุด
ประการที่สาม การยก “อำนาจอธิปไตย” ขึ้นอ้างอย่างพร่ำเพรื่อโดยที่ผู้อ้างไม่เข้าใจถึงความหมายของคำดังกล่าวย่อมเป็นกับดักที่อันตรายยิ่งนัก ในโลกปัจจุบันแทบจะไม่มี “อำนาจอธิปไตยเด็ดขาด” หลงเหลืออีกแล้ว มีแต่เพียง “อำนาจอธิปไตย” ภายใต้กฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศ การที่ไทยและกัมพูชายอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลโลกก็ไม่ใช่เพราะถูกบังคับหรือเพื่อสมยอมแก่ใคร แต่เพื่อยินยอมให้เจ้าของ “อำนาจอธิปไตย” ทุกหมู่เหล่าอยู่ร่วมบนโลกใบนี้ได้อย่างสงบสุข ตามที่ไทยและกัมพูชาได้ตกลงผูกพันทางกฎหมายไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ การที่ไทยเข้าทำสนธิสัญญาดังกล่าวเสียอีก กลับเป็นเครื่องยืนยันว่าไทยพร้อมที่จะใช้ “อำนาจอธิปไตย” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อรักษา “อำนาจอธิปไตย” ของไทยไว้ให้คงอยู่ร่วมกับ “อำนาจอธิปไตย” ของผู้อื่น อย่างเสมอภาค ยุติธรรมและไม่เบียดเบียนกัน (รายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย และมาตรา ๑๙๐ โปรดดู http://bit.ly/AbacnL)
หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร ศึกษาได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple



คมชัดลึก

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ปราสาทพระวิหารกับศาลโลกและมรดกโลกเหตุผลที่ไทยต้องเสียดินแดน

เทพมนตรี ลิปพยอม

ปัญหาสำคัญกรณีปราสาทพระวิหารที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ามีสองเรื่อง เรื่องแรกคือเรื่องมรดกโลก และเรื่องที่สองคือเรื่องศาลโลก ทั้งสองเรื่องนี้ต่างสอดคล้องกันมีผลต่อเนื่องซึ่งกันและกัน เรื่องมรดกโลกเป็นที่ทราบกันดีว่าการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย มีเหตุผลข้อใหญ่ก็คือ แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่เข้าสู่ที่ประชุมทำให้เราอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ลุกขึ้นแสดงเหตุผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารการจัดการออกไปก่อน แต่ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ปารีสเมื่อกลางปีที่ผ่านมา “ไม่เลื่อน”

คุณสุวิทย์จึงแถลงลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกโดยอ่านจดหมายลาออกกลางที่ประชุม การลาออกของคุณสุวิทย์ในเวลานั้น ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของสมาชิกและมีบางประเทศถึงกับตกใจเดินเข้ามาขอให้คุณสุวิทย์อย่าลาออก ประเทศภาคีสมาชิกส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกจะกล้าลาออก การลาออกในวันนั้นได้ส่งผลให้คณะกรรมการยังไม่พิจารณาแผนบริหารจัดการ แต่ผ่านการตรวจสอบรับรองแบบไม่เป็นทางการ ต่อมานางอิรีน่า โบโกว่า ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก จึงส่งหนังสือตามหลังคุณสุวิทย์มายังเมืองไทย โดยย้ำว่าการลาออกของประเทศไทยจะยังไม่สมบูรณ์ (จนกว่าจ่ายเงินที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น) ต้องมีจดหมายจากนายกรัฐมนตรีและการลาออกจะมีผล 1 ปีถัดไป

คุณสุวิทย์ลาออกเพราะเหตุผลที่ว่า แผนบริหารการจัดการได้รุกล้ำดินแดนประเทศไทยอันอาจให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนไปในอนาคต (และแม้วันนี้เราก็ได้สูญเสียดินแดนไปด้วยการปล่อยให้กัมพูชาเข้ามายึดครองพื้นที่) การลาออกด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงชวนให้คิดได้ว่ารัฐบาลของคุณปู ยิ่งลักษณ์ จะต้องตอบคำถามก่อนการกลับเข้าไปขอคืนสถานภาพที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาใบลาออกของคุณสุวิทย์นั้น “ประเทศไทยจะไม่สูญเสียดินแดนแล้วใช่ไหม

ประเทศไทยในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะไม่มีการสูญเสียดินแดนอีกแล้วใช่หรือไม่” การประชุมมรดกโลกในปีหน้าจะกระทำกันราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555 หัวข้อของคณะกรรมการในวาระแรกเป็นการขอแสดงความยินดีที่รัฐภาคีสมาชิกอย่างประเทศไทยจะกลับมาร่วมทำสังฆกรรมกันอีก เสียเงินค่าสมาชิกจำนวนเป็นสิบๆ ล้าน และในที่สุดเราอาจต้องเข้าร่วมแผนบริหารจัดการกับเขมรหรือถูกคณะกรรมการมรดกโลกออกมติให้ไทยรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของเขมรเพื่อสันติภาพตามหลักการของยูเนสโกและเหตุผลการกำเนิดของมรดกโลก “สันติภาพและสันติสุขจะดำรงอยู่อย่างกลมเกลียวในหมู่มวลสมาชิก”

สำหรับเรื่องศาลโลกแล้ว ประเทศไทยไม่เคยยอมรับอำนาจของศาลโลกอีกภายหลังจากคดีปราสาทพระวิหารที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาท คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ตัดสินตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา ข้อความที่สำคัญซึ่งเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบันคือ

1. ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 2. ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจและยามรักษาการณ์ออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ปัญหาของคำตัดสินสองข้อนี้ก็คือ จะตีความคำพิพากษาอย่างไร ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทั้งๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน และมีการตั้งข้อสงวนสิทธิ์เพื่อเรียกคืนตัวปราสาท

อย่างไรก็ตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้นำไปสู่การปฏิบัติตามคำพิพากษา กล่าวคือ เรื่องอำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาทและการกำหนดเขตบริเวณพื้นที่ด้วยการไปทำรั้วลวดหนามรูปสี่เหลี่ยมคางหมูครอบตัวปราสาท (หากแต่คงปล่อยให้กัมพูชาขึ้นมาใช้อำนาจอธิปไตยที่ตัวปราสาททางช่องบันไดหัก) แม้ในเวลานั้นจอมพลถนอม กิตติขจรได้แสดงทัศนะผ่านสื่อมวลชนด้วยบทสัมภาษณ์ที่ว่า “ก็คืนเฉพาะพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น ส่วนว่าจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนในบริเวณตัวปราสาทพระวิหารเราไม่รับทราบเป็นเรื่องของเขมรเอง”

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ย้ำให้เห็นว่าการจะให้กัมพูชาเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยที่ปราสาทพระวิหารนั้น จะต้องให้ประเทศไทยเสียพื้นที่น้อยที่สุด “พื้นที่ที่เราจะปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นคือพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทเท่านั้น” และส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่นั้นก็ควรหมายถึงพื้นที่ที่รองรับตัวปราสาทนั่นเอง หาได้ใช่พื้นที่บริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่เป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ไม่

ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในรายงานของคุณจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร เจ้าหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาฯ ในเวลานั้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ขึ้นไปที่ตัวปราสาทพร้อมออกคำสั่งให้ยกเสาธงโดยไม่ลดผืนธงลงมา แล้วนำธงและเสาธงมาตั้งอยู่บริเวณที่เราเรียกว่าผามออีแดงในปัจจุบัน ตำบลตรงนั้นจึงเรียกว่าตำบลเสาธงชัยจนถึงปัจจุบัน

มีผู้กล่าวกันว่าเมื่อเรากั้นรั้วลวดหนามโอบล้อมรอบตัวปราสาท มีการตั้งประตูเหล็กที่เชิงบันไดนาค ห่างจากบันไดลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นบันไดสิงห์มา 20 เมตร จอมพลประภาสได้ออกคำสั่งปิดประตูเหล็กนั้นแบบ “ปิดประตูตาย” ออกคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่ของไทยเข้าออกและไม่ยอมให้เขมรเข้ามาอีกหากเข้ามาก็จัดการขั้นเด็ดขาดได้ ประเทศไทยได้จัดส่งรายงานและแผนผังการล้อมรั้วอาณาบริเวณไปยังองค์การสหประชาชาติและศาลโลกว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว

การออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ด้วยการยึดแผนผังจากฝ่ายกัมพูชาได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 17 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นพื้นที่ของฝ่ายไทย ส่วนฝ่ายกัมพูชาเสียพื้นที่เพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นชะง่อนผาและพื้นที่สูงชัน มีข้อน่าสังเกตว่าการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในครั้งนี้ ประกาศบนแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชา จึงเป็นอะไรที่ประเทศไทยของเราเสียเปรียบอย่างมาก

ศาลโลกไม่ได้มีอำนาจที่จะสั่งการกับประเทศไทยหรือว่าสั่งได้แล้ว ครั้งหนึ่งอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ทำหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ รายงานว่าการตีความในคดีปราสาทพระวิหารไม่สามารถกระทำได้แล้ว รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งตัวแทนประเทศไทยไปขึ้นศาลโลก ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต่อปฏิญาณการยอมรับอำนาจศาลโลกมาตั้งนานแล้ว หรือว่าเรายอมรับอำนาจศาลโลกไปแล้วจริง ผมเองก็งงๆ กับเหตุการณ์ครั้งนี้ ศาลโลกคณะปัจจุบันมีอำนาจตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีนี้ได้จริงหรือ ทำไมระดับอธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมายจึงมีทัศนะที่แตกต่างกันแม้ข้อกฎหมายเหมือนกัน แต่การดำรงตำแหน่งต่างปีกัน

นอกจากนี้ศาลโลกชุดปัจจุบันไปหยิบยกแผนผังที่กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาจัดส่งมาให้เป็นเอกสารประกอบการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวได้อย่างไร แล้วแบบนี้จะเชื่อได้ว่าศาลโลกจะตีความคำพิพากษาได้อย่างยุติธรรมจริงหรือ

ศาลโลกชุดปัจจุบันจะหมดวาระเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ศาลโลกชุดนี้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกินขอบเขตที่ศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ตัดสิน และออกตามที่กัมพูชาต้องการเพราะเป็นพื้นที่ตรงตามแผนบริหารการจัดการของสองโซน (ตัวปราสาทพื้นที่โดยรอบที่ห่อหุ้ม) ทำไมศาลจึงทำเช่นนั้น? เพราะศาลโลกเป็นเพียงศาลการเมืองระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นศาลสั่งได้

บทสรุปของเรื่องนี้มันจึงอยู่ที่ว่า หากประเทศไทยทำตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวด้วยการถอนกำลังทหารให้คงเหลือเป็นตำรวจตระเวนชายแดน อาจส่งผลให้กัมพูชาสมประโยชน์ และหากประเทศไทยยืนยันที่จะกลับไปเป็นรัฐภาคีแฟรนไชส์อีก ประเทศไทยของเราก็จะเสียประโยชน์ เสียประโยชน์ทั้งทำตามที่ศาลโลก (มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ) สั่งตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และในเวทีมรดกโลกที่จะเกิดขึ้นประมาณกลางปีหน้า


หากเรากลับเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ ลืมเรื่องการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ลืมความบาดหมางของทหารผู้เสียชีวิต ลืมการเสียชีวิตของพี่น้องประชาชน ประเทศไทยของเราต้องเสียดินแดนอย่างแน่นอน เสียดินแดนแบบง่ายๆ เหมือนกินกล้วยเข้าปาก ประวัติศาสตร์ต้องจารึกการกระทำของคนไทยใน พ.ศ.นี้ว่าเราเสียดินแดนโดยไม่ต้องรบ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง