บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้ออ่อนและการสู้ความแบบแก้ตัวที่ศาลโลก


ฟิฟทีนมูฟ — ต่อการแถลงด้วยวาจาในการเปิดรับฟังมาตรการชั่วคราว ตามคำร้องของกัมพูชาที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา ในฐานะคนไทยก็อดไม่ได้ที่จะเอาใจช่วย ให้คณะผู้แทนไทยทำหน้าที่ได้อย่างดีที่สุด ไม่ใช่การส่งแรงใจเฉพาะต่อบุคคล หากแต่การสู้ความเมืองครั้งนี้เดิมพันใหญ่คือแผ่นดิน อันเป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษของเราคนไทยทุกคน
ในเบื้องต้นอาจกล่าวได้ว่า คณะผู้แทนไทยทำหน้าที่ได้อย่างดี มีความครอบคลุมในบางระดับ และควรได้รับคำชื่นชม ทั้งได้แสดงจุดยืนอย่างเข้มแข็งที่ยืนยันให้ศาลฯ จำหน่ายคำร้องของกัมพูชาออกจากสารบบ เป็นจุดยืนที่ชัดเจนและถูกควร หากแต่เมื่อได้พิจารณาในเนื้อหาการยกขึ้นว่าของทั้งสองฝ่ายตลอดทั้งสองวัน อย่างลึกซึ้ง จุดยืนที่หนักแน่นของคณะทนายฝ่ายไทยมีประเด็นให้ชวนกังวลอยู่หลายประการ
ประการแรก การตีโต้ของฝ่ายไทยที่ยกประเด็นความไม่มีอำนาจของศาลฯ โดยยืนยันในสองเรื่อง คือ ๑.ไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลฯ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ อย่างครบถ้วน และ ๒. เวลาได้ล่วงเลยมากว่า ๕๐ ปี ที่ทั้งพ้นกำหนดระยะเวลาการรื้อฟื้น และการปฏิบัติตามคำตัดสินนั้น กัมพูชายอมรับโดยไม่เคยมีข้อโต้แย้งมาเนิ่นนาน การให้เหตุผลในส่วนหลังถูกต้อง แต่การให้เหตุผลในส่วนแรกเป็นจุดอ่อนและคลาดเคลื่อนที่จะทำความเสียหายกับ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
หากยอมรับได้ว่า ท่าทีอันเป็นปัจจุบันของคนกระทรวงการต่างประเทศรุ่นหลัง คือ เชื่อไปว่า “ไทยยอมรับและปฏิบัติตาม” คำตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ก็เรื่องหนึ่ง หากแต่ความจริงที่ถูกต้องคือ ไทยไม่ยอมรับคำตัดสินและเคยได้แจกแจงว่าคำตัดสินนั้นผิดและละเมิดต่อกฎหมายอย่างไร การปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนนั้น เหตุผลประการเดียวคือการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ

การที่ไปสู้ว่าไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตาม ส่งผลแต่ทางเสียหาย ส่วนแรกคือลบล้างความจริงในอดีต (ที่ไทยยืนยันหนักแน่นว่าศาลฯ ตัดสินผิดและไทยไม่ยอมรับ) ส่วนต่อมาคือให้การสนับสนุนว่าการตัดสินที่ผิด ๆ ในอดีตนั้น ถูกต้องและไทยให้การยอมรับ ส่วนที่สามคือการส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจของสาธารณะในปัจจุบัน และต่อผู้พิพากษา ทั้งไปเสริมน้ำหนักให้ข้อโต้แย้งของกัมพูชา
สิ่งที่ควร คือ การไปเน้นย้ำการตัดสินที่ผิด ๆ นั้นอีกครั้ง ประกาศให้ชัดและย้ำให้หนักแน่นว่า ผิด ไทยไม่ยอมรับ แล้วแจกแจงต่อไปโดยยกอ้างหนังสือข้อสงวนของ ดร.ถนัด คอมันตร์ ที่มีไปถึงเลขาธิการสหประชาชาติ และถ้อยแถลงของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในที่คณะกรรมาธิการกฎหมายของสหประชาชาติ
ประการที่สอง การคัดค้านอำนาจศาลของทนายชาวต่างชาตินั้น แม้มีน้ำหนักแต่ละทิ้งประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ การที่ไทยไม่รับอำนาจศาลฯ
นับแต่คำรับอำนาจศาลฯ โดยเข้าใจผิดของ นายวรการบัญชา รัฐมนตรีต่างประเทศ สิบปีก่อนหน้าที่กัมพูชานำคดีขึ้นศาลโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิ้นอายุลง ไทยไม่เคยรับอำนาจศาลอีกเลย ซึ่งเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี และแม้ว่าไทยจะ เป็นสมาชิกศาลโลกโดยปริยายเนื่องจากเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แต่ศาลฯ ไม่มีขอบเขตอำนาจจะบังคับกับไทย เพราะไทยไม่ได้ยอมรับอำนาจศาลโดยบังคับ คือไม่มีปฎิญญาประกาศรับอำนาจศาล หมายความว่า ศาลฯ ไม่มีอำนาจจะออกมาตรการชั่วคราวบังคับกับไทย ไม่สามารถรับพิจารณาคดีโดยเป็นการเปิดคดีใหม่ (ตามเอกสารข่าวแจกของศาล) ไทยต้องยกประเด็นนี้ขึ้นปฏิเสธอำนาจศาลฯ โดยสิ้นเชิง
การละทิ้งเรื่องสำคัญนี้ อาจมองได้ว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศจงใจและต้องการให้ศาลโลก เป็นตัว “ตัดสินชี้ขาด” ปัญหาพิพาทเขตแดนไทย-เขมร ซึ่งประเด็นนี้มีร่องรอยจากการให้สัมภาษณ์ในหลายโอกาสของรัฐมนตรีเจ้า กระทรวง รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคน ในบางมุมมอง มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นความพยายามของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาล รวมหัวกันที่จะโยนภาระการรับผิด ปกปิดความผิดพลาดและการกระทำเสียหายของตนไปให้ศาลฯ หรือหากมองอย่างพยายามเข้าใจอย่างที่สุด ก็อาจมองได้ว่านี่เป็นความเขลาและไม่รู้ของคณะทำงานของกระทรวงฯ ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนกับคณะทนายได้
ถึงแม้จะพลาดและช้าแต่ยังไม่สายเกินไปนัก หากในขั้นภาคคำคู่ความเป็นลายลักษณ์อักษร (written proceedings) ที่ศาลฯ จะสั่งให้กัมพูชายื่นคำฟ้อง (Memorial) และให้ไทยยื่นเอกสารแก้คำฟ้อง (Counter Memorial) นั้น แต่แทนที่ไทยจะยื่นคำแก้คำฟ้อง ไทยต้องยื่นคัดค้านอำนาจศาลฯ แทน ซึ่งในชั้นนี้ การดำเนินการของศาลฯ จะยุติลงชั่วคราวและจะพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาลฯ แทน
อีกประการ ในขั้นของการส่งรายงานความเสียหายจากการปะทะ ที่จะต้องกระทำภายในต้นสัปดาห์นี้ ไทยต้องย้ำไปพร้อมกันด้วยว่านี่ไม่ใช่การรับอำนาจศาล
ประการที่สาม การยก MOU43 ขึ้นอ้างในศาลฯ นั้น เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนไปพร้อมกัน เพราะว่า  ๑. MOU43 กินความเพียงแค่ที่กัมพูชายกขึ้นโต้ว่ามีหน้าที่แต่เพียง “จัดทำหลักเขต” ไม่ใช่การ “ปักปัน” เขตแดน ขณะที่รัฐบาลไทยถือเอา MOU43 เป็นเอกสารหลักยึดในการปักปันเขตแดน ๒.  MOU43 ให้การยอมรับความมีอยู่และความชอบในฐานะเป็นเอกสารทางกฎหมายของแผนที่ภาค ผนวก ๑ ระวางดงรัก  ประเด็นนี้จึงมองได้ว่าในเรื่องเดียวกันนี้ “ไทยกอดเอ็มโอยู ส่วนเขมรกอดแผนที่
ประการที่สี่ ความพยายามโต้ของไทยต่อข้อกล่าวหาของกัมพูชาที่ว่าใครเป็นผู้เริ่มก่อน และใครไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีนั้น ไทยพูดได้แต่เพียงสาธยายอย่างแผ่วเบาว่าได้ร่วมมืออย่างไรบ้าง ขณะที่กัมพูชาสามารถแย้งได้อย่างมีน้ำหนัก เพราะพฤติการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดของรัฐบาลไทย ไม่เคยชัดเจนในจุดยืน คือ “ชักเข้า-ชักออก” ตลอดเวลา วันหนึ่งบอกรับผู้สังเกตการณ์ กลับถึงบ้านบอกไม่รับ ต่าง ๆ นานา
และในประเด็นนี้ ที่ส่งผลตามมา คือ อาการหน้ามืดของนายกษิต ภิรมย์ ที่ลนลานรีบรับชุดทางออก ทีมล่วงหน้า และผู้สังเกตการณ์ รวมถึงขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งที่ก่อนหน้าได้พยายามบ่ายเบี่ยง ปิดเงียบ จนเวลาล่วงเลยมาร่วมเดือนนับจากที่ไปตกปากรับคำเมื่อ ๙ พฤษภาคม ถึงเวลานี้ก็จะยอมแก้ผ้าแก้ผ่อนทุกอย่างเพื่อเอาหน้าให้รอดพ้นไปเฉพาะที แต่ความเสียหายตกแต่ประเทศโดยรวมแบบเต็ม ๆ และแม้ว่ารัฐมนตรีกลาโหมของไทยจะประกาศเสียงแข็งว่า ไม่ว่าศาลฯ มีมาตรการชั่วคราวออกมาอย่างไร ทหารไทยก็ไม่ยอมถอน แต่เชื่อได้ว่าแข็งอยู่ได้ก็ครู่ ๆ เพราะเมื่อคราวก่อนที่ปฏิเสธกร้าวไม่รับผู้สังเกตการณ์ บัดนี้ก็เสียงอ่อนเสียงแผ่วลงตามลำดับ ในห้วงเวลาที่คล้อยหลังไม่กี่ขวบเดือน
ท่าทีในภายหลัง จากคำให้สัมภาษณ์ล่าสุดของนายกษิต ภิรมย์ ก็สะท้อนความเป็นกษิตที่ชัดเจน คือ “โง่ วู่วาม และปากพล่อย”  ทั้งการให้สัมภาษณ์ว่าไทยรับอำนาจศาลเพราะเป็นสมาชิกของยูเอ็น หรือหากศาลตัดสินมาอย่างไรก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม รวมถึงการพูดถึงประตูหลังและอื่น ๆ
ประการที่ห้า จากกระบวนทั้งหมด การว่าความและการจัดเตรียมทีม สะท้อนความอ่อนด้อยของกระทรวงการต่างประเทศอย่างชัดเจน ไม่รู้จัก “ยุทธจักรนักฎหมายระหว่างประเทศ” ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และไม่เข้าใจศาลโลก คือ “ฝรั่งเศส-สหรัฐ”  (ในชั้นนี้ การพูดถึงตัวบุคคลของคณะฝ่ายไทย ขอยกไว้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป) ก่อนหน้านี้เคยรู้สึกเบาใจครั้งหนึ่ง ที่กระทรวงฯ เคยแสดงท่าทีทาบทามผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งเป็นระดับ “ผู้เฒ่า” และ “ปรมาจารย์” ของวงการนักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ประธานศาลโลกก็เป็นรุ่นน้องที่ก็เกรงกัน และบรรดาผู้พิพากษาก็เป็นรุ่นน้องรุ่นศิษย์ ที่ผู้ใหญ่ท่านนี้ “เอ็ด” ได้ ทำนองเดียวกับสมัยที่สหรัฐฯ เตะสกัดขาไทยและส่ง ดีน แอจิสัน กระบี่มือหนึ่งที่ผู้พิพากษายำเกรงไปช่วยเขมรในคดีพระวิหาร พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๐๕ ก็ได้แต่รู้สึกสลดแทนโอกาสของประเทศไทย
ประการสุดท้าย ถึงที่สุดแล้ว มุมมองของเราต่อการดำเนินการของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และกระทรวงการต่างประเทศในศาลฯ คราวนี้ เป็นแต่เพียงการ “แก้ตัว” กับศาลฯ ไม่แตกต่างจากพฤติกรรมและนโยบายการทูตที่กระทำซ้ำ ๆ ทั้งที่คณะมนตรีความมั่นคง ที่ยูเนสโก หรือเวทีอาเซียน ทั้งหมดไปในทางเดียวกันและพิมพ์เดียวกันไม่ผิดเพี้ยน และก็ไม่ยากเกินคาดเดาว่า เมื่อถึงที่สุด การเดิมพันด้วยแผ่นดินครั้งนี้ผลจะออกมาอย่า

"ฮุนเซน" ยอมอ่อน เสนอไทย-กัมพูชา ทำธุรกิจร่วมพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม

.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มิถุนายน 2554 11:03 น.


สมเด็จฮุน เซน

นายทหารคนสนิท "บิ๊กจิ๋ว" เผย "ฮุน เซน" เสนอไทย-กัมพูชา ทำธุรกิจร่วมพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม. พร้อมเสนอ 3 ข้อ สองฝ่ายถอนกำลังทหารกลับที่ตั้ง "พล.อ.วิชิต" อ้างห่วงไทยพลาดพลั้งศาลโลก
      
       วันนี้(4 มิ.ย.) พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก และนายทหารที่ใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า โดยส่วนตัวในฐานะที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชามาเกือบ 30 ปี รู้สึกเป็นห่วงอย่างมาก สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะเท่าที่ทราบ ฝ่ายกัมพูชา มีความปราถนาดี กับฝ่ายไทย เพราะนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาเองก็พูดหลายครั้งว่า ไทยและกัมพูชา มีแผ่นดินอยู่ติดกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีสิทธิยกแผ่นดินแยกออกจากกันได้ เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะใช้วิธีการเจรจาในการแก้ไขปัญหา
      
       พล.อ.วิชิต กล่าวอีกว่า เท่าที่ตนเองรับทราบ หลังจากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ก็คือผู้นำกัมพูชาได้เสนอเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาพิพาทที่เกิด ขึ้น 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้ไทยและกัมพูชา ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาทกลับไปอยู่ที่ตั้งปกติ 2.ให้ไทยและกัมพูชา ทำธุรกิจร่วมกันในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ของปราสาทพระวิหาร โดยตัวนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เอง ก็พร้อมที่จะไปจับมือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย หากยินยอมรับข้อเสนอนี้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศได้ไปมาหาสู่กันด้วย และ3.ส่วนปัญหาการปักปันเขตแดนนั้น ทั้งสองประเทศจะต้องให้คณะกรรมการปักปันเขตแดนไปตกลงกันเอง ซึ่งข้อเสนอทั้ง 3 ข้อนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่า น่าจะยอมรับกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย
      
       "โดยส่วนตัวมีความเป็นห่วงสถานการณ์ความตึงเครียด ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันระหว่างทั้งสองประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยหากยังปล่อยให้ความขัดแย้งระหว่างผู้นำและผู้นำไปเป็นความขัดแย้งระหว่าง กองกำลังต่อกองกำลัง และลำดับสุดท้ายที่น่ากลัวที่สุดก็คือ พัฒนากลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งตนเองไม่อยากจะเห็นเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น ทั้งนี้ ตนเองอยากให้ผู้มีอำนาจดูแลปัญหาดังกล่าว เร่งแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี เพราะยิ่งดึงขึ้นสู่เวทีโลกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นว่าฝ่ายไทยจะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ" นายทหารคนสนิทพล.อ.ชวลิต ระบุ

ทูตพม่าหนุนท่าทีเขมร-เตียบัญรับไม่ได้ไทยอยากยึดดินแดนเขมร


ฟิฟทีนมูฟ — ทูตพม่าประจำเขมรเข้าพบเตีย บัญ สนับสนุนจุดยืนเขมร ระบุไทยแสดงท่าทีที่ไม่ดีที่ขวางผู้สังเกตการณ์ ซึ่งอาจเกิดการปะทะกันได้อีกและส่งผลถึงอาเซียน ส่วนเตีย เผยเขมรยืนยันหาช่องทางสันติวิธีแก้ปัญหา ส่วนฝ่ายไทยยืนยันจะเอาปราสาทพระวิหารและดินแดนเขมร ซึ่งเขมรรับไม่ได้
พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา
แฟ้มภาพ: พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา
ตามรายงานของบายนทีวีของกัมพูชาเมื่อช่วงเที่ยง (๔ มิถุนายน ๒๕๕๔) ในระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ของเอกอัครราชทูตพม่าประจำกัมพูชา ที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชา เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตพม่าได้แสดงความสนับสนุนต่อความพยายามของกัมพูชา ที่ต้องการยุติปัญหาความขัดแย้งพรมแดนที่ต่อเนื่องยาวนานกับประเทศไทย

นายอูโช ตัน อุง (U.Cho Htun Aung​) เอกอัครราชทูตพม่าประจำกัมพูชา กล่าวว่าการต่อต้านขัดขวางไม่รับผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียของฝ่ายทางการไทย เป็นท่าทีที่เป็นลบส่งผลให้เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธกันได้อีก ที่จะทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อประเทศต่าง ๆ ภูมิภาค อย่างเช่นสมาคมอาเซียน และยังกล่าวต่อว่า ต่อการที่รัฐมนตรีกลาโหมของประเทศทั้งสองเห็นชอบร่วมกันให้มีทีมสำรวจเข้ามา ในพื้นที่ขัดแย้ง เป็นเรื่องที่ส่งผลดีที่จะก้าวไปสู่การหาช่องทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตพม่าประจำกัมพูชา ได้เล่าเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งพรมแดนที่ผ่านมาระหว่างพม่ากับไทยว่า พม่าและไทยมีสถานการณ์พรมแดนกับไทยมายาวนาน แต่ความไม่ลงรอยทั้งหมดนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันแก้ปัญหา โดยการเข้าร่วมของคณะกรรมการแก้ไขความขัดแย้ง
พล.อ.เตีย บัญ ได้แสดงความชื่นชมต่อจุดยืนของพม่า และกล่าวว่า สำหรับฝ่ายกัมพูชารับประกันอย่างหนักแน่นมาโดยตลอดในการแสวงหาช่องทางแก้ ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี พร้อมทั้งพยายามป้องกันทุกอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นและทำให้เกิดการปะทะกัน ด้วยอาวุธอีก นอกจากนี้ พล.อ.เตีย บัญ กล่าวต่อว่าเป็นฝ่ายไทยที่ยืนยันความตั้งใจที่จะยึดเอาปราสาทพระวิหารและ แผ่นดินของเขมร ซึ่งเงื่อนไขนี้เป็นเรื่องที่เขมรไม่อาจรับได้

นักวิชาการไทย ขี้ข้า กัมพูชา

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
27 พฤษภาคม 2554

1) สมัย ร.5 ปราสาทพระวิหารเป็นของฝรั่งเศส

พ.ศ. 2447 รัฐบาลสยามสมัย ร. 5 ทำสนธิสัญญาเรื่องเขตแดนกับฝรั่งเศส (ฉบับ 13 กุมภาพันธ์ 1904) ซึ่งมีพันธะให้ต้องยอมรับแผนที่แนบท้ายที่มีปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชา ของฝรั่งเศส

เมื่อฝรั่งเศสยอมลงนามในสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 นี้ จึงเป็นครั้งแรกที่สยามได้อธิปไตยที่แน่ชัด (หรือที่มหาอำนาจรับรอง) บนดินแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

รัฐบาลสมัย ร. 5 น่าจะเห็นว่าเป็น “ความสำเร็จ” ที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่ง เพราะขณะนั้นยังไม่แน่ชัดว่ามหาอำนาจโดยเฉพาะฝรั่งเศสยอมรับการมีอยู่ของ ประเทศสยามแค่ไหน (เช่น ที่ราบสูงโคราชทั้งหมดเป็นของสยาม หรือเป็นดินแดนที่ยังต้องเจรจาต่อรองกันก่อน)

เมื่อแผนที่แนบท้ายมี เส้นเขตแดนที่ลัดเลาะเลียบแม่น้ำโขง และเทือกเขาพนมดงเร็ก มีความชัดเจนแน่นอน และประกันความปลอดภัยของสยาม เป็นอันหมดกังวลเสียทีกับความเปราะบางของอธิปไตยสยามทางด้านนี้

ดัง นั้น ย่อมมีความสำคัญกว่ากันอย่างเทียบไม่ได้กับปราสาทพระวิหาร ซึ่งขณะนั้นแทบจะไม่มีใครรู้จักเลย แผนที่แนบท้ายที่สยามให้คำรับรองไว้จะบิดเบี้ยวไปจากสันปันน้ำอย่างไร จึงไม่มีความสำคัญนัก

ขณะนั้น พ.ศ. 2447 ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรี, ตราด, และเกาะในอ่าวไทยด้านตะวันออกไว้ทั้งหมด ด้วยข้ออ้างว่าเป็นหลักประกันใช้บังคับสยามให้ยอมทำตามสัญญา ร.ศ. 112 พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)

2) สมเด็จฯ เสด็จปราสาทพระวิหารของฝรั่งเศส

พ.ศ. 2472 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จ “ตรวจโบราณวัตถุสถาน” มณฑลนครราชสีมา และเสด็จเลยไปถึงปราสาทพระวิหาร

สมเด็จฯ เสด็จยืนรับการถวายการต้อนรับ และคงจะทอดพระเนตรเห็นธงฝรั่งเศสซึ่งชักขึ้นเหนือเสาบนปราสาทอย่างชัดเจน นอกจากทรง “ตรวจ” โบราณวัตถุสถานบนปราสาทพระวิหารแล้ว ยังได้เสด็จประทับค้างแรมข้างบนนั้นอีกหนึ่งคืนด้วย

สมเด็จฯ ทรงทราบอยู่แล้วว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตปกครองของอินโดจีนฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาซึ่งสยามและฝรั่งเศสทำขึ้นใน พ.ศ. 2447 ซึ่งถูกกำหนดรายละเอียดด้วยแผนที่แนบท้ายซึ่งสยามและฝรั่งเศสร่วมกันทำ (ตามความในสนธิสัญญา ม.3) และสยามได้ให้คำรับรองทั้งในทางปฏิบัติและอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2450

ทุกอย่างเป็นที่พอใจของชนชั้นนำขณะนั้นทุกคน

3) เริ่มแย่งปราสาทพระวิหาร

พ.ศ. 2483 นายกรัฐมนตรี พลตรี ป. พิบูลสงคราม เริ่มปลุกระดมให้ชนชั้นกลางเรียกร้องดินแดนคืนจากมหาอำนาจ และนำไปสู่การทำสงครามกับฝรั่งเศส จนได้ดินแดนในประเทศกัมพูชาและลาวปัจจุบันมาอยู่ใต้การปกครองของไทย

ปราสาท พระวิหารกลับตกเป็นของไทย เพราะสงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส (ขึ้นอยู่ในจังหวัดนครจำปาศักดิ์) แต่เป็นการได้ที่ไม่มีมหาอำนาจใดรับรองนอกจากญี่ปุ่น

ครั้นสิ้น สงครามไทยก็ต้องจำยอมประกาศสละดินแดนที่ยึดมาได้เหล่านี้คืนมหาอำนาจผู้ชนะ สงครามหมด เหลือแต่ปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่เรามุบมิบเอาไว้

เราไม่ อาจตัดสินการกระทำหรือความคิดของคนแต่ก่อนด้วยเงื่อนไขของปัจจุบันได้ เพราะเขาทำและคิดขึ้นจากเงื่อนไขในสมัยของเขา ซึ่งมาในภายหลังอาจเห็นได้ว่าผิดหรือถูกก็ตาม แต่อย่างน้อยก็มีเหตุผลรองรับ ทั้งเป็นเหตุผลที่มีประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วย

ต่างจากการนำเรื่องปราสาทพระวิหารกลับมาใหม่ในสมัยปัจจุบัน เพราะกลายเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะตน หรือเฉพาะกลุ่มไปเสียหมด

4) เขมรฟ้องศาลโลก

พ.ศ. 2502 กัมพูชาฟ้องศาลโลก กล่าวหาไทยว่าส่งทหารเข้ายึดครองปราสาทพระวิหารของกัมพูชา

5) ศาลโลกตัดสิน

พ.ศ. 2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 (1904) และตามแผนที่ พ.ศ. 2451 (1908) ที่มีปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตกัมพูชาของฝรั่งเศส และฝ่ายไทยไม่ทักท้วงตลอดเวลา 50 กว่าปี หลังลงนามในสนธิสัญญา

คำตัดสินตอนหนึ่งของศาลโลกมีอ้างถึงสมเด็จฯ ว่า

ค.ศ. 1930 (ในวันที่ 30-31 มกราคม 2472) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและคณะได้เสด็จชมปราสาทพระวิหาร ผู้ว่าราชการเมืองกำปงธม ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส แต่งเครื่องแบบเต็มยศ มารับเสด็จที่ตีนบันไดขึ้นปราสาทพระวิหาร ด้านหลังมีธงชาติฝรั่งเศส มีการฉายพระรูป ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงส่งรูปถ่ายดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการเมืองกำปงธม และขอบใจที่เขาต้อนรับเป็นอย่างดี โดยมิได้ทักท้วงเรื่องฝรั่งเศสปักธงชาติฝรั่งเศสไว้ที่ปราสาทพระวิหาร

6) ปราสาทพระวิหาร มรดกโลก

พ.ศ. 2551 (2 กรกฎาคม 2008) คณะกรรมการมรดกโลกลงมติรับรองปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามข้อเสนอของกัมพูชา

ปราสาทพระวิหารกลายเป็น “มรดกโลก” ไทยเองก็มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกับประเทศอื่นๆด้วย แต่เป็นเจ้าของในเชิงวัฒนธรรม ไม่ใช่การเมือง

7) ประชาคมอาเซียน

“อธิปไตย” ของประเทศที่ตั้งอยู่บนบุรณภาพทางดินแดนได้เปลี่ยนไปแล้ว อย่างน้อยๆ ก็อย่างช้าๆ เพราะองค์กรเหนือรัฐในทุกรูปแบบมีอำนาจและบทบาทเข้ามากำกับอำนาจอธิปไตยของ รัฐต่างๆ มากขึ้น ไม่แต่เพียงองค์กรโลกอย่างสหประชาชาติเท่านั้น (ซึ่งเมื่อตั้งขึ้นก็ยังยึดถืออธิปไตยแบบเก่าอย่างมาก) แต่รวมถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอื่นๆ อีกมาก

อาเซียน พัฒนามาถึงความฝันเรื่อง “ประชาคม” อาเซียน แม้ยังไม่มีรูปธรรมมากนัก แต่อย่างน้อยก็กลายเป็นความฝันที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธอย่างเปิดเผยได้อีก ต่อไป

เห็นได้ชัดว่าเส้นเขตแดนในกลุ่มอาเซียนซึ่งหาความชัดเจนแน่นอน ไม่ค่อยได้ในทุกประเทศ กำลังต้องถอยร่นให้แก่ความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง แม้แต่ปราสาทพระวิหารเอง

8 ) ปราสาทพระวิหาร ของ ประชาคมอาเซียน

ปราสาทพระวิหารกำลัง “กลับ” มาเป็นของเราอีก แต่เราในที่นี้หมายถึงเราในฐานะสมาชิกอาเซียนที่มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปราสาทพระวิหารจะมีทั้งคุณค่าและมูลค่าแก่เราผ่านความเป็นประชาคมของอาเซียน ไม่ใช่แสนยานุภาพของกองทัพ

• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •

ปรับ ปรุงแล้วเพิ่มเติมบางตอนขึ้นใหม่จากข้อเขียน เรื่อง อดีตและอนาคตของปราสาทพระวิหาร ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 13-19 พฤษภาษคม 2554 หน้า 30-31


คำนิยมต่อบทความ "ปราสาทพระวิหารในอดีตและอนาคต"
โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ



ดี มาก ถือได้ว่าเป็นนัก นสพ นักคิด-นักเขียน กวี ที่รับผิดชอบ ตามทันต่อสถานการณ์ และข้อมูลที่ช่วยสร้างความกระจ่างให้สังคมไทยของเราซึ่งถูกปิดบังข้อมูล ให้เชื่อผิดๆ หลงผิดๆ (ตามแนวอำนาจ/ทหารนิยมของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และอนุรักษ์นิยมของเสนีย์ ปราโมช มาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ) ที่ทำให้เราๆ ท่านๆเกลียดชัง และเข้าใจผิดๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน (ทั้งกัมพูชาและลาว)

สิ่ง ที่นัก นสพ นักคิด/นักเขียน กวี รวมทั้งนักวิชาการจะต้องติดตาม รับรู้ และเท่าทันกับข้อมูล ณ ตอนนี้ก็คือ การที่กัมพูชา ให้ศาลโลก ICJ/Peace Palace ณ กรุงเฮก ตีความคำพิพากษา ข้อ 2 (ปี 2505/1962)ที่ว่า

"ประเทศ ไทย มีพันธะ ที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษา หรือผู้ดูแล ซึ่งประเทศไทย ส่งไปประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือ ในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา" นั้น กินใจความและพื้นที่แค่ไหน

เรา จะได้ไม่ถูก "ผู้กุมอำนาจรัฐ (ไทย)" ไม่ว่าจะเป็น "เสนาธิปไตย-อำมาตยาธิปไตย" (เวอร์ชั่นสฤษดิ์/เสนีย์) ทำให้หลงผิดๆ เชื่อผิดๆ อีกต่อไป อีกครึ่งศตวรรษ

รักชาติ รักสันติภาพ
รักชาติ ชังสงคราม
รักชาติ ผูกมิตรเพื่อนบ้าน
รักชาติ ไม่สร้างศัตรู (ให้ชาวสยามประเทศไทย ครับ)

Make Love not War (with Cambodia and Loas)

ด้วยความนับถือ
อาจารย์ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ปราสาทพระวิหารมรดกโลกหรือมรดกเลือด

สุวิทย์ คุณกิตติ
ก่อนหน้าที่จะมีการขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหาร นักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ ยังคงสามารถไปท่องเที่ยวได้โดยไม่มีปัญหาอะไร และตั้งแต่เราต้องสูญเสียปราสาทพระวิหาร ตามที่เขมรฟ้องร้องดำเนินการเรียกร้องเขา พระวิหาร และศาลโลกได้ตัดสินให้เขมรชนะคดีแล้วได้เฉพาะปราสาทพระวิหารไปเมื่อปี 2505 ก็ไม่ได้มีปัญหาการเผชิญหน้าสู้รบจนบาดเจ็บ และเสียชีวิตของไทยและเขมรเหมือนกับที่เกิดขึ้น หลังจากที่ นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ของไทยได้เปลี่ยนนโยบายใหม่ให้การสนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ทั้งที่นโยบายของกระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการมรดกโลกของไทยคัดค้านมา ตลอดระยะเวลาหลายปีตั้งแต่เขมรเริ่มดำเนินการขอขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการ มรดกโลก
ในที่สุดวันนี้ก็ปรากฏชัดแล้วว่า การ สนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดและการ ปะทะกันจน บาดเจ็บและเสียชีวิตของกำลังทหารทั้งสองฝ่าย จนต้องปิดปราสาทพระวิหารห้ามไม่ให้ใครเข้าไปท่องเที่ยวได้เช่นก่อนหน้าที่จะ ขึ้นทะเบียน
ในที่สุดปัญหาเรื่องเขาพระวิหารก็กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทย และเขมรอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เราต้องเสียปราสาทพระวิหารไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ พ.ศ. 2505 และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นอีก หลังจากที่คณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติที่จะรับขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพราะรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว. ต่างประเทศ ได้นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมไทยเขมรกรณีขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระจรเพื่อขอความเห็นชอบพร้อมแผ่นที่แนบท้าย ซึ่งเป็นแผนที่ของเขมรที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยไปรับรอง โดยไม่มีเส้นแบ่งเขตแดนโดยชัดแจ้ง ในแผนที่ดังกล่าวและน่าจะเป็นแผนที่ฉบับฝรั่งเศสที่เขมรใช้ในการต่อสู้กับ ไทยในศาลโลกแล้วทำให้เราต้องเสียอธิปไตยและดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารด้วย ซ้ำไป
ผมเองได้ให้ความเห็นแย้งเพราะไม่เห็นด้วยไว้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและจะเป็นปัญหาต่อไปในวันข้างหน้า เพราะแผนที่ที่เสนอมาไม่ชัดเจนเป็นแผนที่ลายเส้นที่ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย ขนาดผมเป็นคนที่อ่านแผนที่เป็นยังดูไม่รู้เรื่อง แล้วคนที่อ่าน แผนที่ไม่เป็นจะรู้เรื่องและเข้าใจได้อย่างไรกัน
นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ปรารภในที่ประชุมว่ากลัวอะไร
ผมบอกว่าไม่กลัวอะไรเพราะหากเห็นว่าจะมีปัญหาแล้วไม่ป้องกันไว้ก่อนก็จะทำ ให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมืองได้ แล้วนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ยังบอกด้วยว่า ฮุนเซนจะเลือกตั้งอีกไม่กี่วันแล้ว และในที่สุดนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ก็ยืนยันว่า ยินดีรับข้อสังเกตของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนั้นไปและเชื่อว่าจะไม่มี ปัญหาอะไร
นายกรัฐมนตรีจึงให้มีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสนอเพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนและลับ ทั้งที่เรื่องนี้มีข้อมูลรายละเอียดและการดำเนินการที่ผ่านมา เช่น การที่กระทรวงการต่างประเทศเคยให้ความเห็นค้านไว้เช่นเดียวกับคณะกรรมการ มรดกโลกของประเทศไทยที่ ศ.ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ก็เคยต่อสู้ในเรื่องนี้กับเขมรตลอดมา รวมทั้งกรณีเขตแดนที่ยังไม่เคยมีการดำเนินการเจรจาตกลงกันว่าพรมแดนอยู่ตรง ไหนอย่างไร
ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นเหตุให้มีการยิงกันจนทหารไทยและเขมรบาดเจ็บด้วย กันทั้งคู่เมื่อไม่กี่วันมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศใหม่ต้องเดินทางไปทำความรู้จักและแนะนำ ตัวกับผู้นำและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนตาม ธรรมเนียมก็ยังถูกเขมรขู่ให้ถอนทหารไทยออกนอกพื้นที่อีก
โดยที่เรื่องนี้มาปรากฏในภายหลังว่าเป็นเรื่องที่นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีเขมร ใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงที่ผ่านมาและต้องตรวจสอบดูว่าที่นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรี ต่างประเทศของไทยรีบมาผลักดันและนำเป็นวาระจรลับที่สุดเพื่อให้คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบเพื่อให้ทันกับการเลือกตั้งของเขมรและการพิจารณาของคณะ กรรมการมรดกโลกที่แคนาดา ทั้งนี้จะเป็นเพื่อเอาใจหรือแลกเปลี่ยนอะไรก็ไม่อาจทราบจริงหรือไม่ เพราะวันนี้ได้ทำให้เราอยู่ในฐานะที่เดือดร้อนและจะเป็นสาเหตุ ที่จะต้องเผชิญหน้ากันระหว่างไทยและเขมร ซึ่งหากไม่ใส่ใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ จบทันทีโดยไม่ปล่อยทิ้งไว้เช่นที่ผ่านมาก็จะไม่มีใครสนใจและพูดถึงอีก
จนกระทั่งมีการยิงกันที่ชายแดนเชิงเขา พระวิหารและกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่ถูกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศเขมรและนายกรัฐมนตรีเขมร ต่อว่าและกดดันมา
เรื่องการเผชิญหน้าทางทหารที่ชายแดนไทยเขมรที่บริเวณเขาพระวิหารนั้นเป็น ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะเราก็เห็นแล้วว่ามีการเผชิญหน้าและกดดันทางทหารบริเวณเขตแดนโดยเฉพาะ ปราสาทอื่นอีกด้วย เพราะหากเขมรเห็นว่าเมื่อเรายอมรับรองแผนที่ที่เขมรเสนอมาตามที่แนบท้ายใน แถลงการณ์ร่วมแล้วก็คงจะใช้แผนที่ดังกล่าวในการดำเนินการแบ่งเขตแดนกับไทย ต่อไป หากมีปัญหาก็จะนำไปฟ้องศาลโลกเช่นที่เคยฟ้องไทยกรณีปราสาทพระวิหารจนไทยต้อง แพ้คดีสูญเสียอธิปไตยและปราสาทพระวิหารให้เขมรไปในที่สุด
ปัญหาการเผชิญหน้าทางทหารนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหากจะมาแก้กันที่ปลายเหตุ อย่างนี้ก็ไม่จบและปัญหาจะต้องขยายเป็นเรื่องใหญ่โตกว่านี้ เมื่อเขมรจะต้องเชิญไทยและประเทศอื่นอีก 6 ประเทศมาประชุมกันเพื่อหาข้อยุติเรื่องพื้นที่กันชนหรือที่เรียกกันว่า BUFFER ZONE ตามกติกาและเงื่อนไขที่อยู่ในกระบวนการการพิจารณาการขึ้นทะเบียนที่คณะ กรรมการมรดกโลกต้องนำมาพิจารณาในภาพรวมทั้งหมดก่อนลงมติตัดสินใจ แต่คณะกรรมการก็ไม่ได้ดำเนินการตามกฎกติกาดังกล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน เพราะมีการล็อบบี้กันมาก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจถือได้ว่ากระบวนการยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการ อีกหลายเรื่อง หากปล่อยให้มีการประชุมดังกล่าวแล้วก็เชื่อแน่ว่าเขมรจะยืมมือประเทศอื่นอีก 6 ประเทศกดดันไทยในเรื่องพื้นที่กันชนซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ยังมีปัญหาและ ยังไม่อาจตกลงกับเขมรได้ ซึ่งเขมรกำลังข่มขู่และใช้กำลังทหารเข้ามากดดันและยิงถล่มกันกับทหารไทย เพื่อที่จะยึดพื้นที่ทับซ้อนซึ่งจริงแล้วเป็นของไทยให้ได้
ทางแก้ที่ดีที่สุดคือแก้ที่ต้นเหตุ
ประการแรก เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้วว่าแถลงการณ์ร่วมเรื่องนี้ไม่ชอบด้วยรัฐ ธรรมนูญ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนิน การแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ซึ่งได้ตรวจสอบกับกระทรวงการต่างประเทศแล้วว่าได้ยกเลิกและไม่ถือว่ามี แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวอีกต่อไป ซึ่งทางเขมรก็ได้ยืนยันมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเขมรยังจะคงใช้แผนที่ที่นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ รับรองไว้ได้อยู่หรือไม่
ประการที่สอง คณะกรรมการมรดกโลกของไทยและกระทรวงการต่างประเทศจะต้องรีบประชุมหาข้อยุติ และรีบทำการประท้วงคณะกรรมการมรดกโลกที่ได้มีการประชุมที่แคนาดา เพื่อขอให้ยกเลิกมติการขึ้นทะเบียนมรดกโลกตามคำขอของเขมร เพราะการขึ้นทะเบียนไม่ชอบขัดกับเงื่อนไขข้อกำหนดของคณะกรรมการมรดกโลกเอง ที่ยังต้องนำมาประกอบการพิจารณาอีกหลายข้อรวมทั้งเรื่องพื้นที่กันชนซึ่งก็ คือพื้นที่ทับซ้อนที่กำลังยิงถล่มกันอยู่และประเด็นอื่นที่ยังคงค้างการ พิจารณา ซึ่งที่ ประชุมที่แคนาดาได้มีมติมอบหมายให้เขมร เชิญประเทศไทยและประเทศอื่นอีกไม่เกิน 7 ประเทศไปร่วมประชุมเพื่อหาข้อสรุปการบริหารจัดการและเรื่องพื้นที่ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นของไทยที่ยังไม่มีการกำหนดเขตพรมแดนที่ ชัดเจนเสนอคณะกรรมการภายในเดือน ก.พ. ที่จะถึงนี้ หากเรายังปล่อยให้มีการประชุมจะทำให้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างเขมรกับไทยจะ ยิ่งบานปลายไปกว่านี้แน่นอน
ประการที่สาม ที่ทางกระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการมรดกโลกของไทยต้องทำเรื่องประท้วง ไปที่ UNESCO ด้วยเพราะการดำเนินการของคณะกรรมการมรดกโลกนั้นขัดกับธรรมนูญว่าด้วยการจัด ตั้ง UNESCO ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า การจัดตั้ง UNESCO เพื่อทำให้เกิดสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งป้องกันและยุติปัญหาความหวาดระแวงและความเข้าใจผิดที่จะนำไปสู่การ สู้รบทำลายชีวิตและทรัพย์สินของมวลมนุษยชาติ ซึ่งวันนี้ก็ปรากฏชัดเจนว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลกทำลงไปนั้นทำให้เกิดการ สู้รบกันระหว่างเขมรกับไทยหากไม่ยกเลิกมติดังกล่าวการสู้รบอาจบานปลายไปจน กระทบกระเทือนต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
ประการสุดท้ายที่ต้องทำหากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ยอมดำเนินการยกเลิกการขึ้น ทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ประเทศไทยก็ต้องถอนตัวจากการเป็นสมาชิก ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีผลกระทบอะไร เพราะในเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกไม่รักษาหลักการและปฏิบัติตาม กฎกติกาและธรรมนูญของ UNESCO จนทำ ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศจน ต่อสู้รบกันเช่นนี้ เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไร ที่เราจะต้องไปเกรงใจใครและทำให้เห็นว่า คณะกรรมการมรดกโลกและ UNESCO ไม่ ควรนำเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้องกับเรื่องวัฒนธรรม
อย่าให้ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดและการเมืองภายในประเทศมาทำให้เราต้องสูญ เสียเลือดเนื้อชีวิตของทหารและคนไทยตามแนวชายแดนรวมทั้งอธิปไตยและผืนแผ่น ดินไทย
รีบทำให้จบโดยเร็วเถอะครับ ก่อนจะทำให้การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกกลายเป็นมรดกเลือดจาก สมรภูมิชายแดนไทยเขมรที่กำลังสู้รบกันอยู่วันนี้เลย–จบ–

เตรียมข้อมูลไทย-เขมรปะทะส่งศาลโลก


 

คมชัดลึก :"มทภ. 2" มั่นใจข้อมูลเหตุปะทะชายแดนของไทยส่งให้ศาลโลก เผยเอกสารหนัก 10 กิโลฯ เตรียมทำเป็น “วิดีโอ” ยันเป็นข้อมูลจริง ไทยถูกโจมตีก่อน ผบ.ทบ.ให้ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ลั่นหากยิงมา พร้อมสวนกลับ

(3มิ.ย.) พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงการเตรียมข้อมูลการปะทะบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อ ยื่นต่อศาลโลกในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ ว่า    เรามีข้อมูลหลักฐาน ครบอยู่แล้ว กำลังทำให้กระชับขึ้น ที่ได้เตรียมการและนำไปชี้แจงต่อยูเนสโก้ก่อนหน้านี้ เป็นหลักฐานหนัก 10 กิโลกรัม ซึ่งไม่สามารถดูได้ทัน ก็จะทำเป็นวิดีโอคลิป บางส่วนมีการแปลภาษาแล้ว และบางส่วนยังไม่ได้มีการแปล จากข้อมูลที่มีอยู่ตนมั่นใจ อีกทั้งประธานยูเนสโก้ ก็เห็นด้วยกับไทยบางประเด็น เพราะข้อมูลที่เราให้ไปเป็นของจริง ไม่ได้โกหก ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน มีการโจมตีพื้นที่พลเรือนของไทย แต่อีกฝ่ายเขาจะโกหกหรือไม่ ก็คงต้องนำสืบดูด้วย 
 เมื่อถามว่า เกรงว่ากัมพูชาจะแสดงหลักฐานเท็จหรือไม่ พล.ท.ธวัชชัย กล่าวว่า ก็ต้องพิสูจน์กัน จากตรงนี้คงต้องเหนื่อยคนอื่น เพราะปีนี้ก็เป็นปีที่  3  แล้ว ได้ไปขอร้องให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการมาหลายครั้งแล้ว ไม่เป็นไร คงต้องสู้กันไป
 ส่วนสถานการณ์ชายแดนด้าน จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์นั้น พล.ท.ธวัชชัย กล่าวว่า กัมพูชามีการดัดแปลงฐานที่มั่น แต่ยืนยันว่าไทยไม่ได้ยิงก่อน ถ้าเขายิงก่อนเราก็สวนเท่านั้นเอง ก็ไม่มีปัญหา ซึ่งเรื่องดังกล่าว ผบ.ทบ.ก็ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง