โดย Annie Handicraft เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011 เวลา 19:14 น.
ตาม ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ในการพิจารณาคดี ตีความหมายคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2505 โดยมีการกำหนดเขตปลอดทหาร ห้ามไทยและกัมพูชาทำกิจกรรมทางทหารในพื้นที่ที่กำหนด และห้ามไทยขัดขวางการเข้าไปยังปราสาทพระวิหารการของกัมพูชา ตลอดจนห้ามไทยขัดขวางการส่งกำลังบำรุงให้แก่บุคคลการที่ไม่ใช่ทหาร นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขอชี้แจงจุดยืนต่อทหารดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 77 บัญญัติเอาไว้ว่า “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์เอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ”
2. ปัจจุบันกองทัพไทยได้ถูกจัดอันดับในด้านแสนยานุภาพจากลำดับที่ 28 ของโลกในปีที่แล้ว มาอยู่ในลำดับที่ 19 ของโลกในปีนี้ เป็น ลำดับที่ 6 ของทวีปเอเชีย และเป็นลำดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการพัฒนากองทัพในรอบหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงมีศักยภาพทางทหารสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างไม่สามารถจะ เปรียบเทียบได้
3. เมื่อทหารมีหน้าที่ในการปกป้องแผ่นดินและอธิปไตยของชาติตามรัฐธรรมนูญ ใน ขณะที่ศักยภาพของกองทัพมีความแข็งแกร่งด้วยงบประมาณมหาศาล แต่กลับเป็นยุคที่ประเทศไทยกลับอ่อนแอถูกรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยโดยต่าง ชาติมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ทั้งนี้การที่ทหาร ได้อ้างนโยบายของรัฐบาล แล้วปล่อยให้ชุมชนและทหารกัมพูชามารุกรานยึดครองแผ่นดินไทยทั้งบริเวณ วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา, ภูมะเขือ, พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร, บ้านหนองจาน ปราสาทตาควาย ฯลฯ นั้น ทำให้กัมพูชาสามารถเข้ายึดจุดสูงข่มทางทหารซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญได้ สำเร็จ จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญดำเนินการสร้างสถานการณ์ยิงอาวุธสงครามทำร้ายราษฎรไทย เพื่อทำให้ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาถูกหยิบยกมาเป็นเรื่องการเมืองระหว่าง ประเทศ โดยหวังที่จะให้มีชาติที่สามหรือองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาขัดขวางไม่ให้ ประเทศไทยผลักดันชุมชนกัมพูชาให้ออกจากแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก หรือ การเตรียมส่งผู้สังเกตการณ์ในการเข้ามาในดินแดนไทยในการเป็นสักขีพยานในการ ห้ามยิงปะทะกัน
การที่ฝ่ายทหารอ้างว่าไม่สามารถผลักดัน กัมพูชาโดยอ้างว่าต้องรอนโยบายและคำสั่งรัฐบาลนั้นจึงเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะหากไม่มีการปล่อยปละละเลยให้ชุมชนและทหารกัมพูชาเข้ามารุกรานและยึด ครองแผ่นดินไทย จะไม่เกิดแรงจูงใจในการที่กัมพูชาจะสร้างสถานการณ์เพื่อให้นานาชาติออก มาตรการให้ทหารไทยต้องออกจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว จึงถือเป็นความบกพร่องโดยตรงของกองทัพในการที่ปล่อยให้มีการรุกรานแผ่นดิน ไทย และปล่อยให้มีการละเมิด MOU 2543 ในทางปฏิบัติทั้งๆที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประท้วงกัมพูชามานับร้อยกว่า ครั้งแล้วก็ตาม
การปล่อยปละละเลยให้กัมพูชาขนชุมชนเข้ามา รุกรานยึดครองแผ่นดินไทย สร้างถนน สร้างวัด ปักธงชาติกัมพูชาในแผ่นดินไทย ทั้งๆที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเป็น “เขตประกาศกฎอัยการศึก” จึงย่อมถือเป็นอำนาจเต็มของกองทัพโดยตรงในการตัดสินใจในการักษาอธิปไตยของ ชาติ โดยที่ไม่สามารถจะกล่าวอ้างนโยบายของรัฐบาลได้
ทั้ง นี้ภายใต้พื้นที่ประกาศกฎอัยการศึกอันถือเป็นอำนาจเต็มของกองทัพที่จะผลัก ดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยแล้ว ยังปรากฏมีคำสั่งกระทรวงกลาโหม เลขที่ ก.ห.(เฉพาะ)ที่ 112/28 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เรื่องแนวทางการใช้อาวุธตามแนวชายแดน ข้อ 4.1 กองทัพบก กำหนด ข้อ 4.1.1 ว่า
“เมื่อ ปรากฏแน่ชัดว่ากำลังทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายตรงกันข้ามล่วงล้ำเขตแดน ไทยและการล่วงล้ำนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือหน่วยทหารของฝ่ายเรา หรือเมื่อมีการปะทะเกิดขึ้นแล้ว ให้เราใช้อาวุธเพื่อขัดขวางและสกัดกั้นการล่วงล้ำเข้ามาของฝ่ายตรงข้ามได้ ทันที”
การที่ทหารซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐ ธรรมนูญ และมีศักยภาพสูงในระดับโลก แต่กลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองจึงย่อมถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และถือเป็นการกระทำที่ทำให้ราชอาณาจักรหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตก อยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ ทำให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป อันถือเป็นการกระทำต่อกฎหมายบ้านเมืองอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ กองทัพกลับปล่อยให้ประชาชนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ทหารทำหน้าที่ ทั้งๆที่ประชาชนที่ออกมาชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและผู้สูงวัยเสริมด้วยนาย ทหารนอกราชการ แต่กองทัพและทหารประจำการก็ยังเพิกเฉยและไม่ทำหน้าที่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นเรื่องที่น่าอับอายและเสียศักดิ์ศรีของกองทัพเป็นที่สุดเท่าที่เคยมี มาในประวัติศาสตร์ของกองทัพไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพใช้งบประมาณจากภาษีของประชาชนเป็นจำนวนมากแต่กลับ ไม่สามารถทำอะไรได้กับการถูกรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยโดยชาติอื่น ประเทศไทยจึงมีสภาพเหมือนไม่รู้ว่าจะมีกองทัพเอาไว้เพื่อเหตุผลใด
ปี นี้เป็นปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่จะทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ทรงเป็นจอมทัพไทยและทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้วทหารซึ่งอยู่ภายใต้จอมทัพไทยและปฏิญาณตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล จะเทิดพระเกียรติโดยยอมให้ประเทศไทยถูกรุกรานยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างไร
เรา จึงขอเรียกร้องให้ทหารให้ทำหน้าที่ของตัวเอง โดยการไม่ถอนทหารออกจากแผ่นดินไทยตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก และทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และทำตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน ในการทวงคืนแผ่นดินไทยที่ถูกต่างชาติรุกรานให้กลับคืนมา
ด้วยจิตคารวะ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554