บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ยื่น written observation หรือ โครงร่างข้อสังเกตให้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

15thmove
Sermsuk Kasitipradit
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ยื่น written observation หรือ โครงร่างข้อสังเกตให้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เมื่อช่วงห้าโมงเย็นวันนี้ตามเวลาในไทย (11.00 น.เวลาที่เนเธอร์แลนด์) ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคำร้องของกัมพูชาที่ยื่นศาลเมื่อ28 เมษายน ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาศาลเมื่อปี2505 โดยทางกพช.เสนอให้ศาลวินิจฉัยถือตามเส้นเขตแดนที่กำหนดไว้ในแผนที่ของฝรั่งเศสอัตราส่วน1/200000 หากศาลชี้ตามที่กพช.เสนอจะทำให้พื้นที่4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา

ในโครงร่างข้อสังเกตมีทั้งหมด300 หน้า พร้อมเอกสารประกอบกว่า700 หน้า เป็นคำชี้แจงอย่างละเอียดต่อองค์คณะผู้พิพากษา ทำความเข้าใจต่อคำร้องกัมพูชา

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงคนหนึ่งระบุว่าในโครงร่างข้อสังเกต ได้กล่าวถึงข้อขัดแย้งบนเขาพระวิหาร ก่อนที่กัมพูชาจะนำเรื่องขึ้นศาลโลก/ ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 ที่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเส้นเขตแดน / การปฏิบัติตามคำพิพากษาของฝ่ายไทยปรับกำลังออกจาพท.รอบตัวปราสาท / ไม่มีข้อขัดแย้งกับกัมพูชาในการปฏิบัติตามคำตัดสินของฝ่ายไทย / และเห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้เป็นการสร้างสถานการณ์ของฝ่ายกพช. เพื่อสร้างเงื่อนไขให้ศาลโลกรับตีความคำพิพากษา ตามคำร้องของกพช.

ในโครงร่างได้ย้ำจุดยืนของฝ่ายไทยที่เห็นว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของกพช. นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชาปี 2543 หรือ MOU 2543 เพื่อให้ศาลเห็นถึงปัญหาในเรื่องเขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทยตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกที่จะแก้ปัญหาขัดแย้งเรื่องเขตแดนด้วยการเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งขัดแย้งกับคำร้องของกัมพูชาที่ระบุว่าแนวเขตแดนบนเขาพระวิหารได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตามแผนที่อัตราส่วน1/200,000 ของฝรั่งเศส

มีรายงานยืนยันว่าในโครงร่างได้แนบเอกสารสำคัญของหน่วยงานด้านชายแดนระหว่างประเทศ เพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของแผนที่ของฝรั่งเศส ระวางดงรัก

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ คาดว่าหลังการยื่นโครงร่างข้อสังเกต ศาลโลกอาจให้ทางกัมพูชายื่นเอกสารเพื่อชี้แจงโครงร่างข้อสังเกตของฝ่ายไทย เรียกว่า written explanation ก่อนให้ฝ่ายไทยชี้แจงสรุปอีกรอบ จากนั้นจึงนัดทั้งสองฝ่ายมาชี้แจงในศาลก่อนมีคำพิพากษาซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นช่วงปลายปีหน้า....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง