วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เขมรฝึกทบทวนปืนครก ปรส. ปตอ.
เขมรฝึกทบทวนปืนครก ปรส. ปตอ.
Posted on 6 June 2011 by n/e - 21:32 น.
ฟิฟที นมูฟ — เขมรฝึกทบทวนการใช้ปืนครก ปรส. และ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ที่โรงเรียนพลทหารที่ ๔ มิตรภาพกัมพูชา-เวียดนาม มีทหารกองพลในสังกัดภูมิภาคที่ ๔ เข้าร่วม ๓๕๐ นาย ใช้เวลาฝึกทั้งสิ้น ๔๕ วัน มี กุน กีม เจีย ดารา เจีย มอน และทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วม
การฝึกทบทวนการใช้อาวุธปืนครก ปรส.และ ปตอ. ที่โรงเรียนพลทหารที่ ๔ มิตรภาพกัมพูชา-เวียดนาม เมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่และศู
ศาลโลกกับคดีปราสาทพระวิหาร ภายหลัง ๓๐-๓๑ พ.ค. ๒๕๕๔ โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
แฟ้มภาพ: ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ ทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕
ศาลโลกกับคดีปราสาทพระวิหาร
ภายหลังวันที่ ๓๐ และ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ในฐานะคนไทยที่ได้ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศและผลงานของศาลยุติธรรมระหว่าง
ประเทศอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสตั้งข้อสังเกตและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ภายหลังวันที่ ๓๐ และ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ข้อโต้แย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
ในชั้นนี้ซึ่งเพิ่งเป็นการเริ่มกระบวนการตามคำร้องขอของกัมพูชาให้ศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในคดีปราสาทพระวิหาร วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ข้อโต้แย้งและเหตุผลของไทยที่อ้างว่าศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่งเกี่ยวกับ มาตรการคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของกัมพูชานั้น ยังขาดเหตุผลอันเป็นสาระสำคัญ คือ
๑. ข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยมิได้รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยบังคับ เป็นการล่วงหน้าโดยปฏิญญา การรับอำนาจดังกล่าวมิได้มีการต่ออายุมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ (ค.ศ. ๑๙๔๙) และหมดอายุไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙) ไม่กี่เดือนหลังจากที่กัมพูชายื่นคำร้องเพื่อฟ้องไทยในคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕
๒. คำแถลงสรุปผลการเจรจาของคณะผู้แทนไทยหลังจากเดินทางกลับกรุงเฮกนั้น มีความคล้ายคลึงกับหนังสือของ ฯพณฯ ถนัด คอมัตร์ ในข้อที่ว่า ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติซึ่งมีพันธกรณีตามข้อ ๙๔ ของกฏบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ ทั้งๆ ที่ไทยมีความเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวขาดความชอบธรรมเนื่องจากขัดต่อ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญากับพิธีสาร ค.ศ. ๑๙๐๗
๓. ในครั้งนั้นเป็นขั้นตอนที่ศาลฯ ได้วินิจฉัยแล้วว่า ศาลฯ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาโดยบังคับเนื่องจากไทยได้มีปฏิญญารับอำนาจศาลฯ แล้วเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ขาดอายุ ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง เมื่อกัมพูชาขอขยายคำฟ้องอีก ๒ ข้อ กล่าวคือ ข้อ (๑) สถานภาพของแผนที่ผนวกหนึ่ง มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ และ (๒) ความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามแผนที่ผนวกหนึ่ง ซึ่งทั้ง ๒ ข้อนี้ ศาลฯ ได้ระบุชัดเจนว่าปฏิเสธและไม่พิจารณา
๔. ถึงกระนั้นก็ตาม บัดนี้ กัมพูชาก็ยังอ้างว่าศาลฯ ให้ความเห็นชอบ ข้อ (๑) กับ (๒) ซึ่งไม่เป็นความจริง
๕. สิ่งที่น่าวิตกคือ ฝ่ายไทยยังไม่เข้าใจข้อแอบอ้างของกัมพูชาอันเป็นเท็จ
มหันตภัยของความสับสน
กัมพูชากำลังฉวยโอกาสที่ไทยโต้แย้งอย่างสับสนและไม่ชัดเจนโดยมิได้ศึกษาข้อ เท็จจริงอย่างละเอียดและรอบคอบ นอกจากนั้น ยังสำคัญผิดคิดว่าได้โต้แย้งไปแล้วอย่างครบถ้วนและพอเพียง
แท้ที่จริงนั้น ศาลฯ อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยมิได้คัดค้านอำนาจศาลฯ โดยตรง เพราะไทยเพียงแต่อ้างว่าศาลฯ ไม่มีอำนาจพิจารณาคำขอของกัมพูชา ทั้งยังขอให้ศาลฯ สั่งจำหน่ายคดีโดยมิได้ยื่นคำคัดค้านอำนาจศาลฯ และมิได้แม้แต่อ้างข้อสงวนของฝ่ายไทยตามหนังสือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศไทย ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่มีไปถึงเลขาธิการสหประชาชาติ
ฉะนั้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้คือ การที่ไทยจะส่งหลักฐานความเสียหายจากการปะทะกับกัมพูชาไปให้ศาลฯ ซึ่งศาลฯ อาจเข้าใจว่าไทยสละสิทธิ์ในการคัดค้านอำนาจศาลฯ ทั้งนี้เพราะไทยได้แถลงอย่างอ้อมค้อมว่าศาลฯ ไม่มีเขตอำนาจพิจารณา แทนที่จะอ้างอย่างชัดเจนตามกฎหมายว่า ไทยคัดค้านอำนาจพิจารณาของศาลฯ เบื้องต้น (Preliminary objection to the jurisdiction) ไทยต้องยืนยันอย่างชัดเจนตั้งแต่บัดนี้ ก่อนที่จะสายจนเกินแก้ เพราะศาลฯ อาจสันนิษฐานว่าการที่ไทยได้เดินทางไปให้การโดยมิได้ยื่นคำคัดค้านอำนาจของ ศาลฯ อย่างชัดเจนเป็นทางการ อีกทั้งยินยอมส่งหลักฐานให้ศาลฯ ตามคำขอของศาลฯ นั้น เป็นการยอมรับอำนาจศาลฯ โดยปริยาย ทั้งเป็นการเสี่ยงที่จะถูกศาลฯ สั่งว่า ในเมื่อไทยมีโอกาสคัดค้าน เหตุใดจึงประพฤติปฏิบัติเสมือนไม่คัดค้านอำนาจศาลฯ ซึ่งศาลฯ อาจใช้กฏหมายปิดปากไทยอีกเช่นในอดีต ฉะนั้น ไทยชอบที่จะใช้เหตุผลที่ข้าพเจ้าได้ให้ข้อคิดเห็นไปแล้ว กล่าวคือ
ก. แถลงการของศาลฯ ใน press release ได้ระบุว่าคดีนี้เป็น คดีใหม่ ไทยควรที่จะยืนยันว่า ศาลฯ ขาดอำนาจพิจารณาพิพากษาโดยบังคับ เพราะไทยมิได้ต่ออายุคำรับอำนาจศาลฯ ซึ่งขาดอายุไปแล้วกว่า ๕๐ ปี
ข. หากศาลฯ จะอ้างว่าเป็น คดีเดิม คือเป็นเพียงขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ไทยก็ชอบที่จะโต้แย้งว่า ในหลายคดีที่ผ่านมาดังปรากฏในรายงานของศาลฯ การขอให้ศาลฯ ตีความ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดควรกระทำการร้องขอโดยไม่ชักช้า ซึ่งในทางปฎิบัติไม่เคยเกิน ๒ ปี
ค. การที่กัมพูชามิได้ร้องขอให้มีการตีความภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เนื่องจากไทยได้ปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างถูกต้องโดยกัมพูชามิได้โต้แย้งแต่ ประการใด ไทยต่างหากที่เป็นฝ่ายประท้วงและตั้งข้อสงวนไว้ และมอบหมายให้ผู้แทนฝ่ายไทยในคณะกรรมการกฏหมาย (กรรมการที่หก) ชี้แจงและให้เหตุผลว่าศาลฯ ตัดสินผิดต่อสนธิสัญญา ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และผิดต่อหลักความยุติธรรม ดังปรากฎในรายงานสรุปของคณะกรรมการที่หก ของสมัชชาสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ ๑๗ ค.ศ.๑๙๖๒ เป็นที่น่าเสียดายที่ฝ่ายไทยมิได้เคยนำเรื่องนี้มาใช้ในการโต้แย้งในกรณี ปัจจุบัน
การต่อสู้ครั้งนี้ ไทยจำเป็นต้องศึกษาจุดยืนของเราเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และแม่นยำ ยึดมั่นกับจุดยืนของตนโดยไม่หวั่นไหวกับคำให้การของคู่กรณีอันก่อให้เกิด ความสับสนและสำคัญผิดในเนื้อหาและข้อเท็จจริง
จุดสำคัญที่พึงกระทำในชั้นนี้คือ ไทยต้องคัดค้านอำนาจศาลฯ ในโอกาสแรกที่สามารถทำได้ การ กล่าวแต่เพียงว่าเขตอำนาจของศาลฯ ไม่ครอบคลุมถึงคำขอของกัมพูชานั้นยังไม่เพียงพอ ไทยต้องยืนยันอย่างเป็นทางการว่าไทยคัดค้านอำนาจศาลฯ เพราะไทยมิได้ยินยอมรับอำนาจศาลฯ อีกเลยหลังจากขาดอายุไปแล้วเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี การไปปรากฏตัวที่ศาลฯ แต่ละครั้ง ก็ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียวคือ คัดค้านอำนาจศาลฯ มิใช่เพียงโต้แย้งว่าคำขอของกัมพูชาไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณา
ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
หนังสือสงวนสิทธิของประเทศไทย เกี่ยวกับ ปราสาทพระวิหารโดย นายถนัด คอมันตร์ รมต.ว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในสมัยนั้น
หมายเหตุ
ย่อคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ใจความคำพิพากษา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยคดีนี้แค่เรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรือไทยเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ใน กัมพูชาหรือไทย. ศาลสรุปว่าคดีนี้เกิดจากการตกลงเขตแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส ซึ่งกัมพูชาสืบสิทธิฝรั่งเศสต่อมาภายหลัง ดังนั้นกฎหมายที่ศาลใช้วินิจฉัยก็คือ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ ค.ศ. ๑๙๐๔ ซึ่งเป็นข้อตกลงเขตแดนต่างๆซึ่งรวมถึงบริเวณที่ปราสาทฯตั้งอยู่
ศาลวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ดังนั้นไทยจึงต้องถอนกำลังออกจากปราสาทฯหรือบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯบนอาณาเขตของกัมพูชา.
ศาลย้ำว่าเรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย.
อ้างอิงจากฉบับเต็ม https://6533210983389550588- a-1802744773732722657-s-sites.googlegroups.com/site/verapat/temple/คำแปล คำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหาร2505.pdf?attachauth=ANoY7cpIIL31Vm03aQZJ8B9vvoq35l1Hy7ZTL_GTa- GhmlURjb8eotJWB7f6Rhprm7dlY-BtqzOWi
ข้อมูลทั้งหมดได้รับผ่าน Annie Handicraft
ขอบคุณครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)