บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

“MOU 43 แล ะMOU 44 จุดเริ่มต้นและการยอมรับ” ตอนที่1 และ 2


โดย Annie Handicraft เมื่อ 14 กันยายน 2011 เวลา 18:55 น.
  ตอนที่ 1    

จาก การศึกษาเรื่อง MOU 43 และ MOU 44 โดยละเอียดกับทั้งหนังสือต้นร่างที่มีการประชุมตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เราอาจมองเห็นภาพความต่อเนื่องกันของการทำ MOU 43 และ MOU 44 โดยที่ MOU ทั้งสองฉบับนี้ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) กับไม่ใส่ใจที่จะนำเรื่องนี้ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามที่ตราไว้ในบท บัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช 2540 ผมจึงถือว่า MOU ดังกล่าว เป็น MOU เถื่อนทั้ง 2 ฉบับ

       แต่อย่างไรก็ดี MOU ต่างถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นไทยหรือกัมพูชา มากกว่าที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม

        MOU 43 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำเขตแดนทางบก ส่วน MOU 44 เป็นเรื่องการแบ่งพื้นที่ทะเลและมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการแล้วต้องจัดการกับเขตแดนทางบกให้จบเสียก่อน ก่อนที่จะจัดการผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเล อย่างไรก็ดี การจัดทำ MOU ทั้งสองฉบับมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ทางฝ่ายกัมพูชาแทบทั้งสิ้น

        MOU (Memorandum of Understanding) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บันทึกความเข้าใจ” ฉบับที่จะกล่าวถึงก่อนได้แก่

        1. MOU 43 “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก” ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายวาร์ คิม ฮง ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หนังสือต้นร่างที่ระบุถึงเรื่องนี้ได้แก่

        หนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นรายงานผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอันเป็นที่ มาของการจัดทำ MOU 43 โดยสาระสำคัญในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ก็คือ

        1. เป็นการนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ให้อนุมัติเพื่อดำเนินการจัดทำ MOU

        2. เป็นการรายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543

        3. เป็นการไปหยิบเอาแผนที่เก๊ 11 ระวาง ที่อ้างว่าจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามอินโดจีน (เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา) มาเป็นเอกสารที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ

        4. เป็นจุดเริ่มต้นของ TOR 46 ที่เน้นย้ำแผนที่เก๊ทั้ง 11 ระวางว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก อันเป็นผลทำให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและแนว ชายแดนไทย-กัมพูชาโดยรัฐบาลและทหารไทยนิ่งเฉย

        5. เป็นที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาและคณะอนุกรรมาธิการเทคนิค ร่วม ที่มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด TOR (ซึ่งเป็นที่มาของ TOR 46 ซึ่งทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และทำการพิสูจน์หลักเขตแดนรวมถึงการกำหนดเขตแดนร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลงานที่มีปัญหาคือ รายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ฉบับที่ยังไม่ผ่านที่ประชุมของรัฐสภา

จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000112961


อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม

ขอบคุณภาพจาก อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม


ตอนที่ 2

เป็น ที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทั้ง MOU43 และMOU44  ไม่ได้ผ่านขบวนการเห็นชอบจากรัฐสภาแต่เป็นอำนาจเผด็จการทั้งรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและรัฐบาลของดร.ทักษิณ  ชินวัตร  ที่ดอดไปทำ MOU กับรัฐบาลสมเด็จฮุนเซน   ซึ่งเป็นการขัดกับหลักนิติรัฐและนิติธรรมอย่างไม่เป็นที่สงสัย (และถ้ารัฐบาลปัจจุบันจะเถียงว่าไม่จริงก็ขอให้นำMOU ทั้ง 2 ฉบับนี้เข้าสู่ขบวนการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ) 

ปัญหา สำคัญคือ MOU43และMOU44  มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะในวันที่ทำMOU44 นั้น ได้มีการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมเพิ่มเติมไปด้วยว่า เมื่อจัดทำหลักเขตแดนทางบก(MOU43) เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะหันมาพิจารณาพื้นที่ที่เรียกว่าเขตทับซ้อนทางทะเล อันเป็นเนื้อหาของ MOU44 ล้วนๆ  แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าการไปยอมรับสิ่งที่เขมรได้กระทำไปนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องขาดหลักความยุติธรรม

MOU44 แม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ดีแต่ผิดหลักการในการทำ MOUและการไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดที่เขมรได้ทำขึ้น ข้อสังเกตก็คือ การประกาศเขตพื้นที่ของเขมรได้ประกาศขอบเขตเส้นไหล่ทวีปเมื่อปี  2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
ก.จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปยังไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน

ข.เส้นไหล่ทวีปที่ลากผ่านเกาะกูดของไทยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ

ค.เส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้กำหนดจากเกาะของฝ่ายกัมพูชา โดยไม่คำนึงถึงเกาะของฝ่ายไทย

การ ไปทำMOU44  คือการที่ไปยอมรับเส้นที่เขมรสร้างขึ้นตามพิกัดบริเวณอ่าวไทยซึ่งส่วนใหญ่ แล้วเป็นของไทย  แต่ MOU44 ไปสร้างหลักการแบ่งตามที่เขมรอ้างสิทธิ์

สำหรับประเทศไทยเราแล้ว เราก็ได้ประกาศเส้นไหล่ทวีปบริเวณอ่าวไทยในปี พ.ศ.2516 เหมือนกันและมีหลักการแบ่งที่ถูกต้องตามหลักสากลดังนี้
ก.จุดเริ่มของเส้นไหล่ทวีปยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอนเช่นกัน

ข.เส้นช่วงแรกใช้แนวแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยกับเกาะกงของกัมพูชา

ค.ส่วนที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับเขมรโดยใช้หลักการของเส้นมัธยะ (Equidistance   line)ตามหลักสากล


ดังนั้นหากเราพิจารณาสถานะภาพของ MOU 44  แล้ว จะพบว่า
๑.เป็นMOU เถื่อน เพราะไม่ผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถือว่าเป็นโมฆะ

๒. เป็น MOU เถื่อนที่ไปยอมรับความผิดพลาดของเขมร

๓. ถ้าไม่ยกเลิก MOU ฉบับนี้แสดงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมรู้เห็นเป็นใจต่อการกระทำที่ฉ้อฉล  และมุ่งผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง   สมควรที่จะมีการทบทวนและยกเลิก

ผม คิดว่าโดยหลักการแล้ว MOU43 และ MOU44 เป็น MOU เถื่อน และเป็น MOUที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ขัดต่อหลักนิติธรรมและนิติรัฐ   อีกทั้งยังขัดแย้งต่ออนุสัญญา ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1907 กับขัดต่อกฏหมายทางทะเล  ซึ่งเป็นหลักกฏหมายสากลโดยทั่วไป

จากhttps://www.facebook.com/notes/thepmontri-limpaphayom/mou43-และ-mou44-จุดเริ่มต้นและการยอมรับ-2-แก้ไขใหม่/258325587534494


ไทยไปยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดของเขมร ใน MOU44 (ขอบคุณภาพจาก อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม)

จิต กร บุษบา...นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจที่จะลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับพื้นที่อื่นๆ ด้วย ภายในเดือนตุลาคมนี้ // ลงพื้นที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหารกับชายแดนด้านปราสาทตาเมือนธมด้วยนะ อย่าพลิ้ว!! อ.เทพมนตรี ิมปพยอม

ฟื้นMOUอ่าวไทย รัฐบาลดิ้นแบ่งเค้กพลังงาน

ไทยโพสต์


  "ทักษิณ” เดินทางเข้ากัมพูชา 16 ก.ย. "ฮุน เซน” ปัดหารือพลังงานในอ่าวไทย อ้างแค่เชิญเป็นวิทยากร "ปู” บังเอิญหรือตั้งใจ! บินเยือนก่อนพี่ชายเพียงหนึ่งวัน ขณะที่รัฐบาลไทยแบไต๋อ้าซ่าเตรียมฟื้นเอ็มโอยู 44 เจรจาแบ่งเค้กทรัพยากรธรรมชาติกับเขมร "ปชป.” จี้บัวแก้วล่าผู้ร้ายข้ามแดน
 การ เดินทางเข้าประเทศกัมพูชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 กันยายนนี้ ถูกจับตามองจากหลายฝ่ายว่าอาจจะมีวาระการเจรจากับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย
 ล่า สุด เมื่อวันจันทร์ สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ได้กล่าวระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรแก่นักศึกษาจำนวน 4,100 คน ของมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งชาติว่า อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมายังกัมพูชาในวันที่ 16 กันยายน เพื่อบรรยายในการประชุมเรื่องอนาคตเศรษฐกิจของเอเชีย ไม่ใช่มาเจรจาเรื่องน้ำมันและก๊าซกับกัมพูชา
 "แผนการเยือนกัมพูชาของ ทักษิณได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่ก่อนที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะกำหนดแผนการเยือนในวันที่ 15 กันยายนแล้ว ทักษิณจะมาที่กัมพูชาระหว่างวันที่ 16-24 กันยายน เพื่อบรรยายในการประชุมซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถานของกัมพูชา ไม่ใช่มาเจรจาเรื่องก๊าซและน้ำมันกับกัมพูชา" ผู้นำพนมเปญกล่าว "ทักษิณไม่มีหน้าที่ที่จะเจรจาเรื่องข้อตกลงน้ำมันและก๊าซ หรือประเด็นอื่นๆ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทย ไม่ใช่ของทักษิณ"
 สำนักข่าวซินหัวรายงาน ว่า ไทยกับกัมพูชาได้ทำบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ในเรื่องพื้นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลในเขตไหล่ทวีปเมื่อเดือน มิถุนายน 2544 โดยกำหนดพื้นที่ที่จะต้องเจรจาปักปันและพัฒนาร่วมกัน แต่การเจรจาไม่มีความคืบหน้าในสมัยของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โดย ฮุน เซน กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้กัมพูชากับไทยยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงเรื่องน้ำมันและก๊าซ และว่าระหว่างการเยือน ทักษิณจะบรรยายเรื่องเศรษฐกิจของเอเชียในวันที่ 17 กันยายน ณ พระราชวังสันติภาพ ต่อจากนั้นตนจะต้อนรับเขาอย่างเป็นทางการที่พระราชวังสันติภาพ และหารือกันในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ และในวันที่ 18 ตนจะออกรอบตีกอล์ฟกับทักษิณ ท้ายที่สุดในวันเสาร์ที่ 24 สมาชิกสภาฯ ของไทยกับกัมพูชา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง จะลงเตะฟุตบอลกันที่สนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงพนมเปญ
 นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางไปประเทศกัมพูชาของพ.ต.ท.ทักษิณ ประมาณวันที่ 19 ก.ย. เพื่อพูดในเรื่องเศรษฐกิจเอเชียกับเศรษฐกิจโลก ยืนยันว่าจะไม่มีการพบปะกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์แน่นอน ที่จะมีกำหนดเดินทางไปกัมพูชาประมาณวันที่ 14 ก.ย. เพราะช่วงเวลาเดินทางไป ที่ต่างกัน และไม่มีเหตุผลที่จะต้องเจอกัน
 "อนาคตทั้งสองคนจะเจอกันหรือ ไม่ ตนไม่สามารถทราบได้ บอกได้เพียงว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีกำหนดการพบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะท่านทราบสถานการณ์ดี จึงไม่อยากทำให้รัฐบาลลำบากใจ" นายนพดลกล่าว
         เมื่อถามว่า เหตุที่ไม่เจอกันเพราะสถานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีคดีติดตัว ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์อยู่ในฐานะรัฐบาล นายนพดลย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีกำหนดจะพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ในช่วงนี้ ส่วนเรื่องคดีความนั้นก็เป็นสิ่งที่ได้อธิบายแล้วว่าเป็นคดีการเมือง ที่รัฐบาลที่แล้วใช้เป็นเหตุผลในการไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีม ส.ส.เพื่อไทยกับรัฐบาลกัมพูชาในวันที่ 24 ก.ย.นั้น พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่อยู่รอแข่งฟุตบอลในวันที่ 24 ก.ย.
 รายงานข่าวจากพรรค เพื่อไทยแจ้งว่า คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค ที่มีแกนนำของพรรคเป็นบ้านเลขที่ 111 และ 109 ร่วมเป็นคณะทำงาน ได้หารือถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นทางการในช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งตรงกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางมากัมพูชาพอดี ทำให้ที่ประชุมมีความเห็นหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้พบ พ.ต.ท.ทักษิณที่กัมพูชาจะไม่เหมาะสม และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะสถานะของนายกฯ หากเจอหน้าพี่ชายที่ติดคดีอาญาจำคุก แต่ไม่ประสานงานให้จับกุมมาดำเนินคดีในประเทศไทย อาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
 "ดังนั้นจึงต้องประสานงานไม่ ให้จังหวะเวลาที่ไปกัมพูชาตรงกัน เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปวันที่ 16 ก.ย. ต้องให้เดินทางออกจากกัมพูชาก่อน พ.ต.ท.ทักษิณจึงจะเดินทางเข้ากัมพูชาได้”
 นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ที่ดูแล้วไม่เหมาะสมจนอาจตกเป็นเป้าถูกโจมตีได้ เรื่องนี้จะหารือกันอีกรอบว่าจะต้องยกเลิกการแข่งขันดังกล่าวหรือไม่
 น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ บน.6 หลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศอินโดนีเซีย ถึงกรณีที่ฝ่ายค้านทวงถามการจับกุม พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะเดินทางเข้าประเทศกัมพูชาว่า วันนี้ตนยังไม่ทราบ เพราะทำหน้าที่ในส่วนของรัฐบาล ในการทำงานยังไม่ทราบกำหนดการเดินทางของท่าน
 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกำหนดการเดินทางเยือนประเทศกัมพูชา คือวันที่ 15 กันยายนนี้
 วัน เดียวกัน ที่รัฐสภามีการประชุมวุฒิสภา โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม โดยที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามด่วนของนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เรื่องกรอบการเจรจากับกัมพูชา ในการร่วมลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าว ไทย  
 โดยนายคำนูณกล่าวว่า ขอสอบถามความชัดเจนจากรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้ และจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการเจรจา ในเมื่อรัฐบาลชุดที่แล้วมีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน พ.ศ.2544 ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 พ.ย.52
 "ยอมรับว่าปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-กัมพูชานั้นมีมานาน และควรหาแนวทางเพื่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็นระบบ ดังนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อนำองค์ความรู้จากประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขของรัฐบาลหรือเห็น ต่าง มาทำเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ได้แก่ เขตแดนทางบก, เขตแดนทางทะเล, การแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย" นายคำนูณกล่าว
         นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทยและรองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้ตอบกระทู้แทน โดยชี้แจงว่ารัฐบาลยึดถือตามแนวทางของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ที่กำหนดให้รัฐที่มีฝั่งทะเลตรงข้ามหรือประชิดกัน กำหนดเขตทางทะเลด้วยการตกลงระหว่างกันเพื่อให้บรรลุผลเที่ยงธรรม และหากไม่สามารถบรรลุผลการตกลงระหว่างกันได้ จะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มีข้อตกลงชั่วคราวร่วมกันสำหรับใช้ปฏิบัติ โดยจะต้องไม่กระทบต่อการกำหนดเขตแดนทางทะเลในขั้นสุดท้าย
          "ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปและเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2515-2516 โดยมีการเจรจามานานกว่า 30 ปีแต่ยังไม่ได้ข้อยุติ รัฐบาลทั้งสองประเทศจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อปี 2544 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเจรจาแบ่งเขตแดนระหว่างกันให้ชัดเจน และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับเอ็มโอยู 2544” นายยงยุทธกล่าว
    นายยงยุทธกล่าวด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาข้อดีข้อเสียและขั้นตอนแนวทางการเจรจาเอาไว้แล้ว ยืนยันว่ารัฐบาลจะยึดประโยชน์ของประเทศ และจะเสนอกรอบการเจรจาให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
 เขา บอกว่า ตอนนี้มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์อ้างสิทธิ์อธิปไตยของตัวเอง ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ไม่ยอมเสียสิทธิ์อ้างเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างกัน แต่ปัญหาพื้นที่ทางทะเลจะต้องแก้ไขด้วยการเจรจา เหมือนกับที่เคยใช้แนวทางนี้กับประเทศมาเลเซียจนเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2522 ดังนั้นการเจรจาจะต้องไม่กระทบสิทธิ์ของแต่ละประเทศ
 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางไปกัมพูชา หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางกลับแล้วว่า เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกับจับตาดู ว่ามีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีในเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจของพ.ต.ท.ทักษิณที่เกี่ยว ข้องกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
 เมื่อถามว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณไปอยู่ที่กัมพูชา ทางกระทรวงการต่างประเทศควรจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศก็คงที่จะต้องทำหนังสือขอตัวไป และควรทำตามหน้าที่ การที่แกนนำคนเสื้อแดงที่มีคดีอยู่ออกมายื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศนั้น ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณา.


เชฟรอน เขตทับซ้อน ผลประโยชน์ทับซ้อน


สัมพันธภาพอันชื่นมื่นระหว่าง ทักษิณ - ฮุนเซน
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กัมพูชาวาดหวังสองชาติรื้อฟื้นการเจรจาการพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ เขตทับซ้อนในอ่าวไทยในโอกาส “ยิ่งลักษณ์” เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ 15 ก.ย.นี้ ก่อน “ทักษิณ” บินร่วมสัมมนาอนาคตเศรษฐกิจเอเชียที่กรุงพนมเปญในวันถัดไป ขณะที่เชฟรอนยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานสัญชาติอเมริกันหยิบชิ้นปลามันยึดครอง สัมปทานของทั้งสองฝั่งไว้ในมือ
      
       กำหนดการเยือนกัมพูชาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ในวันที่ 15 กันยายน 2554 แม้จะเป็นการเยือนในวาระโอกาสที่ขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ด้วยปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาที่ค้างคามาตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายต่างคาดหมายว่าจะมีการหยิบยกเรื่องที่เป็น ประเด็นสำคัญขึ้นมาหารือ
      
       ทางฝ่ายไทยนั้น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บอกว่า นายกรัฐมนตรีของไทย อาจมีการเจรจาเรื่องการขอให้ปล่อยตัว วีระ สมความคิด และ ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ แกนนำกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ที่ถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำที่กรุงพนมเปญ
      
       อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นอื่นที่ยังค้างคาทั้งปัญหาเขตแดนทางบก โดยเฉพาะกรณีปราสาทพระวิหาร การถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารของทั้งสองฝ่าย และการอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามายังบริเวณพื้นที่พระวิหารตามคำสั่งศาล โลก รวมทั้งการเจรจาเรื่องการแบ่งเขตทางทะเลและการพัฒนาพื้นที่ร่วม ซึ่งต้องมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อน ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าคณะผู้นำของไทยจะหยิบยกเรื่องต่างๆ ดังกล่าวขึ้นมาหารือหรือไม่
      
       ขณะที่ฟากฝั่งกัมพูชา สำนักข่าวซินหัวของจีน และสื่อของกัมพูชา อ้างคำแถลงและการให้สัมภาษณ์ของ ซก อาน รองนายกรัฐมมนตรีกัมพูชา ว่า ปัญหาที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วน คือ บริเวณพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งแน่นอนว่า ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกฯ ของไทย กับทางสมเด็จฮุนเซน จะหยิบยกมาเป็นวาระในที่ประชุม
      
       ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในฐานะประธานการปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ยังยืนยันว่า ไทย-กัมพูชาควรรื้อฟื้นการเจรจาเรื่องการร่วมพัฒนาทรัพยากรน้ำมันในพื้นที่ ทับซ้อนในอ่าวไทย ซึ่งในระหว่างการมาเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีของไทย จะมีการหยิบยกเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยขึ้นมาหารือ เพราะเชื่อว่าบริเวณนั้นเป็นแหล่งที่อุดมด้วยน้ำมันดิบและแหล่งสำรองแก๊ส ธรรมชาติ “เราจะไม่เก็บทองคำสีดำไว้ เราต้องการนำออกมากลั่น”
      
       นายซก อาน กล่าวว่า เขากำลังรอที่จะพูดคุยกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ในเชิงเพิ่มผลผลิตและการพูดคุยครั้งนี้จะมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ
      
       การไปเยือนกัมพูชาของ ยิ่งลักษณ์ มีขึ้นในวันที่ 15 กันยายน 2554 ในวันถัดไป พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย พี่ชายของ ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดเดินทางไปร่วมสัมมนาเรื่องอนาคตของเอเชียในด้านเศรษฐกิจ ที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 16-24 กันยายน 2554
      
       สมเด็จฮุนเซน บอกว่า กำหนดการของพ.ต.ท.ทักษิณ กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนที่นายกรัฐมนตรีของไทยจะไปเยือนกัมพูชา และยืนยันว่าไม่ได้มีการหารือเรื่องน้ำมันหรือก๊าซฯ ใดๆ เพราะทักษิณ ไม่ได้มีหน้าที่มาเจรจาในเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทย
      
       แม้จะมีความคลุมเครือในประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาหารือของนายก รัฐมนตรีทั้งสองประเทศ แต่จากการให้สัมภาษณ์ของ ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เป็นที่ชัดเจนว่า กัมพูชาเตรียมการหารือกับไทยในเรื่องสำคัญทั้งเรื่องเขตแดนทางบกและเขตแดน ทางทะเลซึ่งเรื่องทางทะเลนั้นมีประเด็นหลักอยู่ที่เรื่องการพัฒนาพื้นที่ ร่วม ไม่เฉพาะแต่ ซก อาน เท่านั้นที่รอการหารือกับยิ่งลักษณ์ ทางสมเด็จฮุนเซน ก็ไม่ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่าจะไม่มีการเจรจาเรื่องนี้กับรัฐบาลไทย
      
       การเตรียมการเจรจาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ร่วม ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงประจวบเหมาะในระหว่างที่ ยิ่งลักษณ์ - ทักษิณ เดินทางไปเยือนกัมพูชานั้น เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะก่อให้เกิดข้อกังขาจากสังคม แม้ว่าฝ่ายที่สงสัยถึงการเข้าไปมีผลประโยชน์ในธุรกิจพลังงานของ ทักษิณ ในเขตพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา นับตั้งแต่ช่วงที่เขายังเรืองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งมีการจัดทำบันทึกความเข้าใจไทย - กัมพูชาเรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย หรือ MOU 2544 และในฐานะที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของกัมพูชาก่อนหน้านี้จะยังคลุมเครืออยู่ จนถึงวันนี้ก็ตาม
      
       ในขณะที่ผู้นำสองชาติและอดีตผู้นำของไทย มีโอกาสพบปะเจรจากันนั้น ในอีกด้านหนึ่งก็เมื่อมีข่าวจากสื่อของกัมพูชาและสื่อต่างชาติ รายงานว่า Steve Glick ประธานของกลุ่ม Chevron ได้บินตรงจากสหรัฐฯ เข้าไปปฏิบัติภารกิจในกัมพูชาเป็นกรณีพิเศษในนับแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจคราวนี้เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน โดยกลุ่มเชฟรอน แถลงยืนยันถึงการเดินหน้าสำรวจ ขุดค้นน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเลอ่าวไทย
      
       ความน่าสนใจในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเชฟรอนครั้งนี้ แม้ประธานของกลุ่มเชฟรอน จะไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลงทุนและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ รับการลงทุน แต่ที่ผ่านมาถือได้ว่า กลุ่มเชฟรอน เป็นกลุ่มธุรกิจพลังงานหลักที่มีความเคลื่อนไหวในการลงทุนในกัมพูชามากที่ สุด โดยกลุ่มเชฟรอน ได้เริ่มสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซในเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา มาตั้งแต่ปี 2545
      
       ทั้งนี้ จากรายงานผลการดำเนินประจำปี 2553 ของกลุ่มบริษัทเชฟรอน ได้ระบุการลงทุนในกัมพูชาว่า เชฟรอน ได้เข้าดำเนินการสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่ 1.2 ล้านเอเคอร์ (4,709 ตารางกิโลเมตร) ในบล็อก เอ ในอ่าวไทย ซึ่งเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการขุดเจาะในพื้นที่บล็อก เอ ดังกล่าว และคาดว่ารัฐบาลกัมพูชา จะอนุมัติสัมปทานระยะเวลา 30 ปีภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 เชฟรอน ยังระบุว่า การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการลงทุนในการพัฒนาแท่นขุดเจาะและคลังเก็บ ลอยน้ำคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2554 ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้บริหารของเชฟรอนจะบินเข้า-ออกกัมพูชาเพื่อให้ ภารกิจนี้บรรลุผล
      
       นอกจากการได้สัมปทานสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่บล็อก เอ ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งกัมพูชาแล้ว กลุ่มเชฟรอน ยังถือครองสัมปทานสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยระหว่างไทยกับ กัมพูชา โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานแก่กลุ่มเชฟรอนและผู้ร่วมทุน ครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมด นับจาก บล็อก 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 และ 13 ส่วนกัมพูชา ซึ่งแบ่งพื้นที่เขตทับซ้อนกับไทย ออกเป็น 4 แปลง ได้ให้สัมปทานแก่บริษัทต่างชาติครอบคลุมทุกแปลงเช่นเดียวกันกับไทย (ดูรายละเอียดในตาราง)
      
       ตาราง การให้สัมปทานพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
       ----------------------------------------------------------------------------------------------
       พื้นที่ทับซ้อน                    ประเทศไทย                               ประเทศกัมพูชา
       ----------------------------------------------------------------------------------------------
       พื้นที่ 1                          ไทยแลนด์ บล็อก 5 และ 6 LLC(20)     โคโนโค(57)
       บล็อก5 และ6                   อิเดนมิตซึ ออยล์แอนด์แก๊ส(50)          อิเดนมิตซึ (33)
                                         เชฟรอน ไทยแลนด์ อีแอนด์พี(20)
                                         ยูโนแคล(เชฟรอน) บล็อก5และ6(10)
      
       พื้นที่ 2                           บริติช แก๊ส เอเชีย(50)                    โคโนโค(67)
       บล็อก 7, 8 และ 9               เชฟรอน โอเวอร์ซีส์ฯ(33.33)            อิเดนมิตซึ(33)
                                          ปิโตรเลียม รีซอส (16.67)
      
       พื้นที่ 3                            เชฟรอน(60)                              เอ็นเตอร์ไพรส(50)
       บล็อก 10, 11                    โมอีโค(40)                               บีเอชพี(50)
      
       พื้นที่4                             เชฟรอน(60)                              บีเอชพี(50)
       บล็อก 12, 13                    โมอีโค(40)                               อินเพ็ก(50)
      
       ----------------------------------------------------------------------------------------------
       แหล่งข้อมูล : 6th PPM Cambodia Case Study Workshop Siem Reap, Cambodia February 21-25, 2006
       
       เมื่อพิจารณาถึงการถือครองสัมปทานปิโตรเลียมของกลุ่มเชฟรอน ที่อยู่ในมือทั้งสองฝั่งแล้ว หากรัฐบาลไทยและกัมพูชาสามารถเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่พัฒนาร่วมลง ตัว จะทำให้ทั้งไทย กัมพูชา และบริษัทพลังงานข้ามชาติต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์ ฝ่ายไทยจะมีแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติมาป้อนความต้องการภายในประเทศ ฝ่ายกัมพูชาก็จะได้นำ "ทองคำสีดำ" ขึ้นมาพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะที่บริษัทข้ามชาติก็จะร่ำรวยมั่งคั่งจากขุมพลังงานที่มีการประเมินเบื้อง ต้นว่ามีมูลค่ามหาศาลถึง 5 ล้านล้านบาท

ฮวยเซงป้องเพื่อนเหลี่ยม จัดหนักจรกา-มาร์คดอดเจรจาลับน้ำมัน

ฮุน เซน ระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรที่เกาะเพชร ๑๒ ก.ย.๕๔ฟิฟทีนมูฟ – ฮุน เซน ป้องเพื่อนรักหน้าเหลี่ยม บอกไม่มีหน้าที่เจรจาผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล จัดหนักสุเทพ-อภิสิทธิ์ เปิดหมดเจรจาลับน้ำมันเริ่มที่บ้านพักตาเคมา จ.กัณดาล ใครหอบเอกสารแผนที่บล็อคน้ำมันไปหาที่บ้าน ใครได้รู้ได้เห็นบ้าง บอกอภิสิทธิ์ไม่รู้เรื่องก็อย่าพูดหรือว่าต้องให้สอนซ้ำอีก ยุใช้มาตรา ๑๙๐ ตรวจสอบเจรจาลับ
หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ วานนี้ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๔) หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพและเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา วันนี้ (๑๓ กันยายน ๒๕๕๔) รายงานคำกล่าวของ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยการจัดการ ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าเกาะเพชร วานนี้ หนึ่งวันให้หลังการเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และกรณีกล่าวโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เรื่องการเจรจาลับแบ่งผลประโยชน์น้ำมันในพื้นที่อ่าวไทย

ฮุน เซน กล่าวถึงการให้การต้อนรับทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการหลบหนีโทษจำคุก ว่า “ผมจะเปิดสำนักนายกรัฐมนตรีต้อนรับ ผมรับทักษิณอย่างเป็นทางการ รับในนามเป็นมิตรแท้อย่างหนึ่ง และจะรับในฐานะวิทยากรคนหนึ่งสำหรับการสัมมนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเชีย แล้วขออย่ามาสั่งให้ผมจับทักษิณ ไม่ว่าพรรคฝ่ายค้านไทย ไม่ว่ารัฐบาลไทย คือไม่ได้เลย เพราะนี่เป็นดินแดนเขมร ที่เป็นสิทธิของผม” ฮุน เซน กล่าวต่อว่า “ทักษิณมาตามคำเชิญในการสัมมนาที่เตรียมการโดยราชบัณฑิตยสภากัมพูชา1 ที่มีพรรคประชาธิปไตยนิยมกลางสากล2 เข้าร่วมด้วย หรือกล่าวคือเขามาเป็นวิทยากรที่กัมพูชา ผมเป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ผมจะไม่รับเขาที่บ้านของผม ผมจะรับเขาที่สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วจะมีการเลี้ยงรับรองที่สำนักนายกรัฐมนตรี”
นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า จะมีการประดับเหรียญเกียรติยศแก่ผู้ทรงเกียรติจำนวนหนึ่ง ที่ได้เริ่มต้นก่อตั้งการประชุมนานาชาติพรรคการเมืองเอเชีย (ICAPP) ซึ่ง ดร.ทักษิณ จะได้รับเหรียญด้วย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย (นพดล ปัทมะ) ก็ได้รับด้วย พร้อมกับนักการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง ผู้ได้รับเชิญร่วมประดับเหรียญคือ อดีตประธานสภาฟิลิปปินส์ และรองประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย
ต่อกระแสข่าวที่ว่าทักษิณ ชินวัตร เดินทางเยือนกัมพูชาเพื่อเจรจาเรื่องผลประโยชน์น้ำมันในอ่าวไทย บนพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน นั้น ฮุน เซน กล่าวว่า “ผมมีข้อห้าม ผมไม่คุยกับทักษิณเรื่องปัญหาผลประโยชน์ในประเทศทั้งสอง แล้วทักษิณก็มีข้อห้ามด้วย เราดึงทักษิณมาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจจากเขา ส่วนภารกิจเจรจาเป็นภารกิจของรัฐบาลไทย ก่อนหน้าคือรัฐบาลอภิสิทธิ์ ปัจจุบันนี้คือรัฐบาลยิ่งลักษณ์” ฮุน เซน กล่าวต่อว่า “ผมขอยืนยันว่า ทักษิณไม่มีภารกิจที่จะเจรจาในเรื่องใดทั้งสิ้น ในเรื่องผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องระหว่างกัมพูชา-ไทย เพราะนี่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทย ไม่ใช่หน้าที่ของ ฯพณฯ ทักษิณ”
นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวถึงกรณี เมื่อปลายเดือนสิงหาคม ที่เปิดเผยข้อมูลการเจรจาลับระหว่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เรื่องผลประโยชน์น้ำมัน ว่า เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านไทยยกประเด็นขึ้นมา ต่อมาองค์การปิโตรเลียมกัมพูชาได้ประกาศข่าวเกี่ยวกับการเจรจาลับ มีสมาชิกสภาฯ พรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์ พร้อมกับคนอีกจำนวนหนึ่ง โจมตีทักษิณว่า ทักษิณเจรจามีผลประโยชน์กับกัมพูชา ในยุคทักษิณได้เปิดการเจรจาอย่างเปิดเผย โดยมีคณะกรรมการร่วม ๒ คณะ คือ คณะหนึ่งสำหรับกำหนดเขตแดน และอีกคณะเกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วม การเจรจานั้นจนมาถึงเวลานี้ ไม่ว่ากับรัฐบาลไหนก็ตาม ยังไม่มีความเห็นชอบอะไรทั้งสิ้น ในนั้นมีการแบ่งส่วนออกเป็น ๓ โซน ตรงกลางแบ่ง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ที่อยู่ใกล้ไทยกว่า ตอนแรกแบ่ง ๑๐-๙๐ ต่อมาเอา ๒๐-๘๐ ส่วนพื้นที่ข้างกัมพูชา ๘๐-๒๐ ส่วนกัมพูชาเสนอกลับไปว่าให้แบ่งเป็นบล็อค ๆ แล้วจับฉลากเลือก
ฮุน เซน กล่าวว่า “สิ่งที่เราต้องการยืนยันในที่นี้คือ ไม่ว่าจะมีการเจรจาเปิดเผยหรือเจรจาลับ แต่การเจรจาทั้งหมดยังไม่เกิดเป็นผลแต่อย่างใด แล้วก็ไม่สามารถมีเรื่องผลประโยชน์ซ่อนเร้นอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยกขึ้นกล่าวหาได้” แล้วต่อว่า “ผมต้องแจ้งเรื่องนี้ให้ฝ่ายไทยได้ทราบ ผู้ใดเปิดการเจรจาลับ?” ฮุน เซน กล่าวอีกว่า “ในยุคของทักษิณ การเจรจาก็ทำอย่างเปิดเผย ส่วนสมัคร สุนทรเวช มากรุงพนมเปญก็พูดกับผมเปิดเผยในการเจรจา หากแต่ต่างจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เขาว่าเป็นรัฐบาลโปร่งใส ผมไม่ได้เตรียมตัวหารือกับสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบฝ่ายความมั่นคงของไทย และรัฐมนตรีกว่าการกระทรวงกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณ แต่อย่างใด”
นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวย้อนความจำไปถึงสุเทพ เทือกสุบรรณ ว่า “นายสุเทพมากัมพูชาสามครั้ง เขาคงลืมไป ครั้งแรกในเดือนเมษา ตอนนั้นมาไกล่เกลี่ยเพื่อรับรองให้ผมไปพัทยาร่วมการประชุมอาเซียน หลังจากมีเรื่องในสภาไทยที่กษิต ภิรมย์ เรียกผมว่าเป็นนักเลง ต่อมาก็มีทำหนังสือขอโทษ ภายหลังนายสุเทพก็มากัมพูชาอีกพร้อมกับรัฐมนตรีกลาโหม  แล้วก็ได้มีการหารือเรื่องนั้นเรื่องนี้ โดยไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำมันเลย วันที่ ๒๗ มิถุนายน ภริยาผมทำอาหารเลี้ยงส่วนตัวคือทำแกงเลียง3 ให้เขารับประทาน หากแต่เรื่องที่แปลกคือ นายสุเทพได้เอาเอกสารแผนที่เกี่ยวกับบล็อคน้ำมันในทะเลมาด้วย แล้วเขาได้แจ้งว่า อภิสิทธิ์ได้แต่งตั้งเขาให้มาเจรจากับสมเด็จฯ ให้เสร็จภายในสมัยของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ดังนั้น เขาไม่ต้องการเจรจากับรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน เขาต้องการเป็นคู่เจรจากับ ฮุน เซน เท่านั้น” ฮุน เซน กล่าวต่อว่า “ผมได้แจ้งกลับไปว่า ผมมีรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเจรจาเรื่องนี้ ไม่สามารถเป็นคู่เจรจากับ ฯพณฯ ได้” พร้อมกล่าวต่อว่า “สุเทพต้องการยกตัวให้เสมอกับฮุน เซน เรื่องการเจรจาบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งการเจรจาเบื้องต้นได้เกิดขึ้นที่ตาเคมา45 จ.กัณดาล6 ที่ตอนนั้น เราได้ต้อนรับเขาด้วยแกงเลียง แล้วก็ขณะที่มาพบนั้นไม่มีประเด็นอื่นอีก การเจรจาลับเริ่มต้นจากตาเคมา ส่วนการเจรจาที่ฮ่องกงและที่คุนหมิง ประเทศจีน เป็นเรื่องถัดมา”
ฮุน เซน กล่าวพาดพิงถึงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่า “อภิสิทธิ์ ถ้าไม่ชัดเจนก็อย่าพูด นำคนต่อต้าน ผมไม่ต้องการพูดถึง หรือว่าผมต้องสอนอภิสิทธิ์อีก เมื่อตอนที่เป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนกัน ผมก็สอนแล้วสอนอีก ตอนนี้ผมยังต้องสอนอีกหรือ ผมขอแนะนำไปถึงอภิสิทธิ์และสุเทพที่กรุงเทพฯ ว่า ใครคนไหนหอบเอาเอกสารมาที่บ้านผมที่ตาเคมา สุเทพรับรู้เรื่องนี้” และกล่าวต่อว่า “ใครคนไหนหอบเอาเอกสารไปที่ตาเคมา ผมไม่รับรู้ด้วย ดังนั้น ขอให้ฝ่ายไทยไปดูไปตรวจสอบให้ถูกต้องถึงมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญไทย เรื่องที่มาลักลอบเจรจาลับอย่างนั้น ”
นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวอีกว่า “ตอนนี้ ตั้งแต่ออกจากตำแหน่ง อภิสิทธิ์ก็มาโจมตีว่าเนื่องจากรัฐบาลไทย (ยุคอภิสิทธิ์) ไม่สนองผลประโยชน์ของกัมพูชาทำให้ไม่ถูกกัน ผมก็จะแจ้งกลับไปที่อภิสิทธิ์ว่า ถ้ารัฐบาลก่อนไม่ถูกกันแล้ว ใครคนไหนที่ส่งคนมาเจรจาลับ ไอ้ที่ลับเป็นอะไร?” แล้วกล่าวต่อว่า “เขาต้องการรู้เรื่องลับนี้ไหม ถ้าต้องการรู้ว่าลับหรือไม่ลับ ต้องเริ่มต้นที่ตาเคมา จ.กัณดาล ฟังให้ชัด..ผู้นำเอกสารมา คือ ประวิตร วงษ์สุวรรณ เตีย บัญ ลี ยงพัต และคำปูน ซท7 ได้เห็นเอกสารนี้”
นอกจากนี้ ฮุน เซน พูดถึงกำหนดการของ ทักษิณ ชินวัตร ว่า จะไปถึงกัมพูชาวันที่ ๑๖ กันยายน โดยจะเข้าร่วมการบรรยายเกี่ยวกับอนาคตเศรษฐกิจเอเซียในวันที่ ๑๗ กันยายน ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ ส่วนวันที่ ๑๘ อาจจะร่วมเล่นกอล์ฟกับฮุน เซน ช่วงเช้าวันที่ ๑๙ ทักษิณจะร่วมบรรยายในการสัมมนาที่อาคารมิตรภาพกับวิทยาการอื่น ๆ และในช่วงบ่าย จะเข้าร่วมในพิธีประดับเหรียญผู้ทรงเกียรติซึ่งพรรคประชาธิปไตยนิยมกลางสากล จัดขึ้น จากนั้นในวันที่ ๒๐ กันยายน ทักษิณจะเดินทางไปยังจังหวัดเสียมราฐ ส่วนการเตะฟุตบอลกระชับมิตรนั้น ฮุน เซน เปิดเผยว่าทีมของฝ่ายกัมพูชาได้เริ่มฝึกซ้อมมาตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน แล้ว

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง