ทฤษฎีการพัฒนาการเมืองและการผุกร่อนทางการเมือง (Political Development And Political Decay) Samuel Huntington ศาสตราจารย์ แซมมูเอล ฮันติงตัน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังสือเรื่อง “Political Order in Changing Societies” ที่เขียนขึ้นในปีค.ศ.1968 ด้วยการนำเสนอทฤษฎี “ Clash Of Civilizations” ที่แม้จะเป็นทฤษฎีที่เสนอมากว่าสี่ทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้กับสภาพการเมืองภายในประเทศ ทั้งของไทยและประเทศอื่นๆได้เป็นอย่างดี
Samuel Huntington กล่าวว่า “social mobilization ” หรือ การขยับชั้นทางสังคมนั้น เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น เปลี่ยนจากเกษตรไปสู่กึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การพัฒนาการศึกษา สื่อมวลชน การเกิดชุมชนเมืองมากขึ้น จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ นั่นคือความตื่นตัวทางการเมือง และการเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในส่วนนี้เรียกว่าความจำเริญทางการเมือง (political modernization)[1]
เมื่อ ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นเนื่องจากการขยับตัวของสังคม จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสถาบันทางการเมือง และกระบวนการที่สามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง หรือตอบสนองต่อความเป็นพลวัตในมิติทางการเมืองดังกล่าว การสร้าง สถาบันดังกล่าวนี้ได้แก่ การมีรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีกระบวนการเลือกตั้งโดยมีกฎหมายเลือกตั้ง และการจัดตั้ง
พรรค การเมืองได้โดยสะดวก การแสดงประชาพิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น การคัดและการค้าน การต่อสู้เพื่อความถูกต้อง การกระจายอำนาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดตั้งสถาบันทางการเมือง เพื่อรองรับความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อันเกิดจากความตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในทางเศรษฐกิจ และค่านิยม เป็นความจำเป็นที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การพัฒนาทางการเมือง (political development)
เมื่อใดก็ตาม ที่ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในขณะที่การพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะพัฒนา ในอัตราที่รวดเร็วเท่าเทียมกับความจำเริญทางการเมืองได้ ก็จะนำ ไปสู่ความ เสียดุลของทั้งสองมิติ การเสียดุลดังกล่าวจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองการ เมือง (political violence) กดดันระบบและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนอาจจะถึงขั้นนองเลือดดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 รวมตลอดทั้งเหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535 และ19 กันยายน 2549 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในขอบเขตที่กว้างขวางและลุ่มลึก แต่การพัฒนาการเมืองยังล้าหลังทั้งในแง่ของโครงสร้าง และในแง่ของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังไม่ได้ให้ความไว้วางใจ รวมตลอดทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมภายในและสังคมโลก ทำให้เกิดการเสียดุลอย่างหนัก และนี่คือทฤษฎีที่ยังสามารถจะนำมาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้
ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในรูปของการประท้วงหรือการใช้ความรุนแรงก็ดี การลอบสังหารทางการเมืองก็ดี การเรียกร้องอย่างไร้เหตุไร้ผลก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้มาตรการปราบปรามโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายก็ดี การตีความตะแบงกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมืองก็ดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความด้อยพัฒนาในด้านการเมือง ในขณะที่ความจำเริญทางการเมือง ได้พัฒนาสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในบริบทของการเมืองภายในและ ต่างประเทศ การเสียดุลดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การสะดุดของการพัฒนาระบบการเมืองแบบเปิด และถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจนำ ไปสู่สภาวะของอนาธิปไตย ทำให้ระบบการเมืองเสียความชอบธรรมจนประชาชนเสื่อมศรัทธาในระบบ ถ้าถึงจุดดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องที่อันตราย
แต่โชคดีที่ประเทศไทยได้ พัฒนามาถึงจุดที่สำคัญคือ สังคมไทยได้มีข้อสรุปแล้วว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงเป็นระบบการเมืองที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ จึงจำต้องช่วยกันจรรโลงรักษากันต่อไป ส่วนข้อบกพร่องต่างๆ ก็ต้องทำการแก้ไขเพื่อปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นกว่าเก่า ดังนั้น จุดสำคัญที่สุดในขณะนี้ก็คือการทำให้เกิด ความสมดุลระหว่างความจำเริญทางการเมืองและการพัฒนาทางการเมืองในสังคมไทย
ทฤษฎี ดังกล่าว ได้ถูกนำมาเตือนเจ้าหน้าที่ของจีนก่อนกรณีเหตุการณ์สำคัญในประเทศจีน โดยได้มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชนที่ปักกิ่งและได้มีการยกทฤษฎีของแซม มูเอล ฮันติงตัน มาเป็นตัวอย่าง ขณะนั้นจีนกำลังมีขบวนการสี่ทันสมัย อันได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร ป้องกันประเทศ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายเปิดประตูประเทศ มีการส่งนักศึกษาจีนไปศึกษายังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันนักวิชาการชาวจีน และนักศึกษาชาวจีนก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกผ่านทางการสื่อสาร โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต และสื่อมวลชนของจีนซึ่งมีความอิสระมากขึ้น สภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามาใช้ จนทำให้เกิดชนชั้นที่มีเงินและเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การไหลบ่าเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติย่อมนำมาซึ่งความคิดและค่านิยมที่ประเทศ สังคมนิยมแบบจีนไม่เคยได้สัมผัส ดังนั้น ถึงจุดๆหนึ่งก็จะมีการเรียกร้องให้มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าเดิม ทั้งในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนว่าจีนจะอนุญาตให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจและในทางสังคม ซึ่งได้แก่ การดำรงชีวิตตามที่ตนต้องการในขอบเขตที่กำหนด แต่เสรีภาพในทางการเมืองยังอยู่ภายใต้กรอบของพรรคคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม เมื่อเป็นเช่นนี้ความเสียดุลย่อมเกิดขึ้นระหว่างความจำเริญทางการเมืองและ การพัฒนาทางการเมือง และผลสุดท้ายการเรียกร้องให้ระบบเปิดกว้างขึ้นก็จะตาม มา และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่จะต้องตัดสินระหว่างการ เปลี่ยนแปลงระบบหรือใช้กำลังปราบปราม อันจะสะท้อนถึงการผุกร่อนทางการเมืองตามทฤษฎีที่ได้กล่าวมาแล้ว
ประมาณ 6 เดือนหลังจากที่มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชน ก็เกิดกรณีนองเลือดที่ เทียนอันเหมิน เนื่องจากผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีระบบเสรีในทางเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง ผู้นำจีนในสมัยนั้นมีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ยอมเปลี่ยนแปลงตามที่เรียกร้องซึ่งอาจจะนำไปสู่กลียุคทางการเมือง หรือ ใช้วิธีการปราบปรามด้วยวิธีการซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว และนี่คือกรณี ตัวอย่างของการผุกร่อนทางการเมือง ที่ได้มีการทำนายไว้เมื่อสิบกว่าปีว่า จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเมืองจีน วันหนึ่งจะต้องมีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านโดยประชาชน เพื่อดูแลการบริหารในหมู่บ้านนั้น และบัดนี้ก็ได้มีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าอาจจะประมาณสิบปี การบริหารเมืองใหญ่ๆ ในมณฑลต่างๆ อาจจะมีการเลือกตั้งสภาของเมืองและนายกเทศมนตรี เช่นเดียวกับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ โดยสมาชิกสภารวมทั้งนายกเทศมนตรีอาจไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทุกคน การเปลี่ยนแปลงที่ทำนายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อความจำเริญทางการเมือง ซึ่งจะมีขอบข่ายที่กว้างขึ้นและเข้มข้นขึ้น เมื่อสังคมจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นด้วยการติดต่อกับโลกภายนอก คงไม่เป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะกล่าวว่าสภาวการณ์ดังกล่าวมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
จีนเป็นประเทศใหญ่ มณฑลบางมณฑลเปรียบได้กับหนึ่งประเทศ ในแง่หนึ่งจีนคือ มหาอาณาจักรซึ่งประกอบด้วย 30 กว่าประเทศ ภายใต้การปกครองจากรัฐบาลกลาง ความจำเป็นในการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญประเทศจีน ขณะนี้มีสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่ฮ่องกงและมาเก๊า และที่สำคัญที่สุดไต้หวันซึ่งจีนถือเป็นมณฑลหนึ่งของจีน ก็มีระบบเศรษฐกิจเสรีและมีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง นี่คือหนามยอกอกที่จีนไม่สามารถจะบ่งออกได้ และวันหนึ่งอาจจะเป็นชนวน ทำให้เกิดการเรียกร้องขึ้นทั่วทั้งประเทศโดยคนรุ่นใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้นระดับความจำเริญทางการเมือง ก็คงจะถึงจุดสุดขีดจนความจำเป็น ในการพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะถูกปฏิเสธได้อีกต่อไป[2]
แบบจำลอง – เพื่อใช้อธิบายการเกิดการเสียดุลระหว่างความจำเริญทางการเมือง (political modernization) กับการพัฒนาการเมือง ( political development) จะนำไปสู่ความผุกร่อนและความวุ่นวายทางการเมือง (political decay and turmoil )[3]
ความจำเริญทางการเมือง + + + ความผุกร่อน
หรือ
การพัฒนาการเมือง + - - ความวุ่นวายทางการเมือง
[1] Samuel P. Huntington , ลิขิต ธีรเวคิน. <span>ผู้จัดการรายวัน</span> (23 พฤษภาคม 2546).
Samuel Huntington กล่าวว่า “social mobilization ” หรือ การขยับชั้นทางสังคมนั้น เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น เปลี่ยนจากเกษตรไปสู่กึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การพัฒนาการศึกษา สื่อมวลชน การเกิดชุมชนเมืองมากขึ้น จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ นั่นคือความตื่นตัวทางการเมือง และการเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในส่วนนี้เรียกว่าความจำเริญทางการเมือง (political modernization)[1]
เมื่อ ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นเนื่องจากการขยับตัวของสังคม จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสถาบันทางการเมือง และกระบวนการที่สามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง หรือตอบสนองต่อความเป็นพลวัตในมิติทางการเมืองดังกล่าว การสร้าง สถาบันดังกล่าวนี้ได้แก่ การมีรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีกระบวนการเลือกตั้งโดยมีกฎหมายเลือกตั้ง และการจัดตั้ง
พรรค การเมืองได้โดยสะดวก การแสดงประชาพิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น การคัดและการค้าน การต่อสู้เพื่อความถูกต้อง การกระจายอำนาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดตั้งสถาบันทางการเมือง เพื่อรองรับความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อันเกิดจากความตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในทางเศรษฐกิจ และค่านิยม เป็นความจำเป็นที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การพัฒนาทางการเมือง (political development)
เมื่อใดก็ตาม ที่ความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในขณะที่การพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะพัฒนา ในอัตราที่รวดเร็วเท่าเทียมกับความจำเริญทางการเมืองได้ ก็จะนำ ไปสู่ความ เสียดุลของทั้งสองมิติ การเสียดุลดังกล่าวจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองการ เมือง (political violence) กดดันระบบและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนอาจจะถึงขั้นนองเลือดดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 รวมตลอดทั้งเหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535 และ19 กันยายน 2549 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในขอบเขตที่กว้างขวางและลุ่มลึก แต่การพัฒนาการเมืองยังล้าหลังทั้งในแง่ของโครงสร้าง และในแง่ของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังไม่ได้ให้ความไว้วางใจ รวมตลอดทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมภายในและสังคมโลก ทำให้เกิดการเสียดุลอย่างหนัก และนี่คือทฤษฎีที่ยังสามารถจะนำมาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้
ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในรูปของการประท้วงหรือการใช้ความรุนแรงก็ดี การลอบสังหารทางการเมืองก็ดี การเรียกร้องอย่างไร้เหตุไร้ผลก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้มาตรการปราบปรามโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายก็ดี การตีความตะแบงกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมืองก็ดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความด้อยพัฒนาในด้านการเมือง ในขณะที่ความจำเริญทางการเมือง ได้พัฒนาสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในบริบทของการเมืองภายในและ ต่างประเทศ การเสียดุลดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การสะดุดของการพัฒนาระบบการเมืองแบบเปิด และถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจนำ ไปสู่สภาวะของอนาธิปไตย ทำให้ระบบการเมืองเสียความชอบธรรมจนประชาชนเสื่อมศรัทธาในระบบ ถ้าถึงจุดดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องที่อันตราย
แต่โชคดีที่ประเทศไทยได้ พัฒนามาถึงจุดที่สำคัญคือ สังคมไทยได้มีข้อสรุปแล้วว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงเป็นระบบการเมืองที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ จึงจำต้องช่วยกันจรรโลงรักษากันต่อไป ส่วนข้อบกพร่องต่างๆ ก็ต้องทำการแก้ไขเพื่อปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นกว่าเก่า ดังนั้น จุดสำคัญที่สุดในขณะนี้ก็คือการทำให้เกิด ความสมดุลระหว่างความจำเริญทางการเมืองและการพัฒนาทางการเมืองในสังคมไทย
ทฤษฎี ดังกล่าว ได้ถูกนำมาเตือนเจ้าหน้าที่ของจีนก่อนกรณีเหตุการณ์สำคัญในประเทศจีน โดยได้มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชนที่ปักกิ่งและได้มีการยกทฤษฎีของแซม มูเอล ฮันติงตัน มาเป็นตัวอย่าง ขณะนั้นจีนกำลังมีขบวนการสี่ทันสมัย อันได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร ป้องกันประเทศ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายเปิดประตูประเทศ มีการส่งนักศึกษาจีนไปศึกษายังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันนักวิชาการชาวจีน และนักศึกษาชาวจีนก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกผ่านทางการสื่อสาร โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต และสื่อมวลชนของจีนซึ่งมีความอิสระมากขึ้น สภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามาใช้ จนทำให้เกิดชนชั้นที่มีเงินและเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การไหลบ่าเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติย่อมนำมาซึ่งความคิดและค่านิยมที่ประเทศ สังคมนิยมแบบจีนไม่เคยได้สัมผัส ดังนั้น ถึงจุดๆหนึ่งก็จะมีการเรียกร้องให้มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าเดิม ทั้งในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนว่าจีนจะอนุญาตให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจและในทางสังคม ซึ่งได้แก่ การดำรงชีวิตตามที่ตนต้องการในขอบเขตที่กำหนด แต่เสรีภาพในทางการเมืองยังอยู่ภายใต้กรอบของพรรคคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม เมื่อเป็นเช่นนี้ความเสียดุลย่อมเกิดขึ้นระหว่างความจำเริญทางการเมืองและ การพัฒนาทางการเมือง และผลสุดท้ายการเรียกร้องให้ระบบเปิดกว้างขึ้นก็จะตาม มา และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่จะต้องตัดสินระหว่างการ เปลี่ยนแปลงระบบหรือใช้กำลังปราบปราม อันจะสะท้อนถึงการผุกร่อนทางการเมืองตามทฤษฎีที่ได้กล่าวมาแล้ว
ประมาณ 6 เดือนหลังจากที่มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชน ก็เกิดกรณีนองเลือดที่ เทียนอันเหมิน เนื่องจากผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีระบบเสรีในทางเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง ผู้นำจีนในสมัยนั้นมีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ยอมเปลี่ยนแปลงตามที่เรียกร้องซึ่งอาจจะนำไปสู่กลียุคทางการเมือง หรือ ใช้วิธีการปราบปรามด้วยวิธีการซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว และนี่คือกรณี ตัวอย่างของการผุกร่อนทางการเมือง ที่ได้มีการทำนายไว้เมื่อสิบกว่าปีว่า จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเมืองจีน วันหนึ่งจะต้องมีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านโดยประชาชน เพื่อดูแลการบริหารในหมู่บ้านนั้น และบัดนี้ก็ได้มีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าอาจจะประมาณสิบปี การบริหารเมืองใหญ่ๆ ในมณฑลต่างๆ อาจจะมีการเลือกตั้งสภาของเมืองและนายกเทศมนตรี เช่นเดียวกับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ โดยสมาชิกสภารวมทั้งนายกเทศมนตรีอาจไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทุกคน การเปลี่ยนแปลงที่ทำนายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อความจำเริญทางการเมือง ซึ่งจะมีขอบข่ายที่กว้างขึ้นและเข้มข้นขึ้น เมื่อสังคมจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นด้วยการติดต่อกับโลกภายนอก คงไม่เป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะกล่าวว่าสภาวการณ์ดังกล่าวมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
จีนเป็นประเทศใหญ่ มณฑลบางมณฑลเปรียบได้กับหนึ่งประเทศ ในแง่หนึ่งจีนคือ มหาอาณาจักรซึ่งประกอบด้วย 30 กว่าประเทศ ภายใต้การปกครองจากรัฐบาลกลาง ความจำเป็นในการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญประเทศจีน ขณะนี้มีสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่ฮ่องกงและมาเก๊า และที่สำคัญที่สุดไต้หวันซึ่งจีนถือเป็นมณฑลหนึ่งของจีน ก็มีระบบเศรษฐกิจเสรีและมีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง นี่คือหนามยอกอกที่จีนไม่สามารถจะบ่งออกได้ และวันหนึ่งอาจจะเป็นชนวน ทำให้เกิดการเรียกร้องขึ้นทั่วทั้งประเทศโดยคนรุ่นใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้นระดับความจำเริญทางการเมือง ก็คงจะถึงจุดสุดขีดจนความจำเป็น ในการพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะถูกปฏิเสธได้อีกต่อไป[2]
แบบจำลอง – เพื่อใช้อธิบายการเกิดการเสียดุลระหว่างความจำเริญทางการเมือง (political modernization) กับการพัฒนาการเมือง ( political development) จะนำไปสู่ความผุกร่อนและความวุ่นวายทางการเมือง (political decay and turmoil )[3]
ความจำเริญทางการเมือง + + + ความผุกร่อน
หรือ
การพัฒนาการเมือง + - - ความวุ่นวายทางการเมือง
[1] Samuel P. Huntington , ลิขิต ธีรเวคิน. <span>ผู้จัดการรายวัน</span> (23 พฤษภาคม 2546).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น