บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

20022554ทัศนคติมุมมองต่อเรื่องอธิปไตยไทย-เขมร โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย

20022554ทัศนคติมุมมองต่อเรื่องอธิปไตยไทย-เขมร โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
โดย Chaiwat Suravichai ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 16:20 น.

1.เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เกิดมานาน ข้อมูลสับสน มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
ฝ่ายที่ถูกกระทบถูกกระทำ   คือ ฝ่ายไทยและฝ่ายเขมร
ผู้กระทำ                              คือ นักล่าอาณานิคม เช่น ฝรั่งเศส
ผู้ตัดสิน                               คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก )ในยุคนั้น 2505
ผู้พิจารณา(เสริม)                คือ คณะกรรมการมรดกโลก 2541
ผู้ที่มุ่งหวังผลประโยชน์         เช่น ประเทศตะวันตก ฯ
รวมทั้ง  กลุ่มผู้นำฯหลายรุ่นหลายสถานการณ์ของไทย และ เขมร
และเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติของผู้คนหลายฝ่าย
โดยเฉพาะเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

2. ปัญหาถัดมา คือ การแก้ปัญหาฯ
จำเป็นต้องการ คนรู้จริง รักความถูกต้องเป็นธรรม  มองรูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม
มองอดีต ปัจจุบันและอนาคต  เคารพประวัติศาสตร์ และปัจจุบัน (เรื่องนี้สำคัญมาก)
ประวัติศาสตร์ คือ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีต เราต้องเคารพ
แต่จะต้องรู้ถึงจุดจบ จุดสิ้นสุด ของแต่ละเรื่องของประวัติศาสตร์  ซึ่งหลายเรื่องเราเจ็บปวด
อย่าให้ความไม่พอใจในอดีตที่จบไปแล้ว เลือกนำมาใช้เพื่อสนองความคิดและอคติของตน
มองภาพรวม อย่าตัดตอน   มองให้ครบทุกฝ่าย ทั้ง 2 ด้าน  อย่างตรงไปตรงมา
อย่ามองว่า หากฝ่ายหนึ่งผิด  หมายความว่าอีกฝ่ายต้องถูก
เรื่องลักษณะนี้ มีถูกมีผิดทั้งสองด้าน  เช่น
มองว่าไทยผิด แต่มิใช่จะไปตีความว่า เขมรถูก หรือ มองว่า เขมรผิด แล้วไทยจะถูกหมด
พื้นที่เขตแดนไทย-เขมร ถูกแบ่งโดยไม่มีหลักยุติธรรม แต่เป็นหลักอำนาจอิทธิพลที่เหนือกว่า
การแก้ปัญหาในหลักการที่ถูกต้อง คือ ต้องให้ผู้ถูกกระทำฯ(ไทย-เขมร) มาเจรจาร่วมกัน
ในลักษณะทวิภาคี โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันพี่ระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่ายที่เป็นพี่น้องกัน
และความร่วมมือช่วยเหลือกันในช่วงอดีตที่ผ่านมา

การหวังให้ประเทศเจ้าอาณานิคม,ประเทศใหญ่ ซึ่งเคยกดขี่ข่มเหงเอาเปรียบในอดีต และหวัง
ผลประโยชน์จากทั้งสองประเทศในปัจจุบัน จะเป็นการทำผิดซ้ำและเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

3. การแสวงหาความจริง อย่าไปมีข้อสรุปหรือคำตอบล่วงหน้า มันจะกลายเป็นอคติ โดยไม่รู้ตัว
แต่ที่สำคัญกว่า: เรื่องนี้ไม่ง่ายที่จะด่วนสรุป โอกาสผิดมีมาก ละคอนยังยาว มีตัวละคอนอีกมาก
ที่เราไม่รู้จัก  ที่คิดว่ารู้ดี ก็อาจจะไม่ใช่และยังมีบางตัวละคอน ยังอยู่หลังเวทีไม่ได้โผล่มาให้เห็น

4. สำหรับเรื่องนี้  ผมยอมรับว่า ผมมีข้อมูลน้อย ไม่ครบถ้วน
ผมจึงไม่สรุปแบบที่หลายคนหลายฝ่ายจะพยายามจะโน้มน้าวใจ  ให้ผมสรุปชี้ขาดฟันธง
เรื่องนี้ ดูแค่บางส่วน บางเวลาอันสั้น ไม่ได้หรอก จะผิดพลาดได้ง่าย
เรื่องเกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปี จะใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี กี่วัน มาสรุปหาความถูกต้อง ยากมาก

5. การนำเสนอของผม  มีหลักการ คือ
พยายามรับฟังจากทุกฝ่ายฯ ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ (แต่ก็มีข้อจำกัด)
ในขณะที่ยังไม่สามารถหาความเป็นจริงความถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์
ต้องยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้งก่อน
และจะใช้การมองดูเจตนาและทัศนะที่แสดงออกของแต่ละฝ่ายประกอบฯ

6. ในปีกพธม. ผมเคารพและชื้นชมในเจตนาที่งดงาม  ที่มีความชัดเจน:
ในเรื่องเป้าหมาย คือ การยืนยันและการทวงสิทธิอธิปไตยไทยในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ฯ
และเรื่องการนำคุณวีระและคุณราตรีกลับมาอย่างผู้บริสุทธิ์(รวมทั้งอีก 5 คนไทย)
ส่วนในเรื่องวิธีการ ผมเสนอว่า :
วิธีการในการชุมนุมเรียกร้องให้ได้อธิปไตยกลับคืนมา ควรต้องให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
โดยในเรื่องของการเจรจาต่อรองกับฝ่ายเขมร ต้องอาศัยการร่วมมือกับรัฐบาล เพราะเป้นเรื่อง
ที่มีลักษณะประชาชาติ
ในเรื่องแนวทางที่ต่างกันระหว่างพธม.กับรัฐบาล  ต้องเป็นการเจรจาตกลงกัน ภายในประเทศ
 การชุมนุมใหญ่ฯ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้ชุมนุมฯ

7. ในปีกฝ่ายเห็นต่างหรือตรงกันข้ามฯ ผมได้ตรวจสอบในบางระดับ  มีข้อสังเกตุ ดังนี้
 เป็นการสรุปภาพรวม  บางคนมีมาก บางคนมีน้อย มีบางคนมีหลายข้อ บางคนมีบางข้อ ดังนี้:
 ก. ไม่พอใจรัฐไทย ในอดีตฯ เป็นชาติใหญ่รังแกชาติเล็ก ดูถูกเพื่อนบ้านเอาตัวเป็นใหญ่กว่า
 ข. ไม่พอใจสถาบันหลักฯ อยากจะเปลี่ยนแปลง อยากจะล้มฯ
 ค. ไม่พอใจเผด็จการทหาร กองทัพ
 ง.  เกลียด ประชาธิปัตย์
 จ. ไม่พอใจ พธม. ( รวมทั้ง กองทัพธรรม  คุณไชยวัฒน์ คุณวีระ ฯ )
 ฉ. ไม่พูดถึงหรือเสนอความผิดของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส  และความผิดของฝ่ายเขมร
        แต่ทัศนะที่แสดงออกมา ช่างใกล้เคียง และเป็นประโยชน์แก่เขมร อย่างน่าแปลกใจฯ
 ช. ถ้อยคำและประโยคฯที่ใช้กล่าวหาฝ่ายที่มีความคิดไม่เหมือนตนหรือตรงกันข้าม
     พูดเสียงเดียวกัน  ว่า “ คลั่งชาติ ชาตินิยมคับแคบ โง่เง่า เป็นตัวตลก ฯลฯ “
     มีลักษณะเหมือนมิใช่ครูบาอาจารย์และนักวิชาการ  แต่เหมือนกับคนโกรธ มีอคติ ฯ
     อีกด้านหนึ่งจะกล่าวหา ฝ่ายตรงข้ามฯใช้การสวมหมวกว่า“ขายชาติ,นักวิชาการ7.1ล้าน”
 อ. นำเอาทัศนะโลกภิวัฒน์ที่ไม่มีชาติ/เป้าหมายของสังคมอาเซียนไม่มีพรหมแดน มาสนับสนุน
     ให้ยกพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ให้เขมรฯ
 ฮ.  สนับสนุนทักษิณ ชอบแดง  (ไม่เคยกล่าวหาประณามการกระทำที่ผิดฯ)

8. การนำเรื่องเอกสารประวัติศาสตร์ ยุค ร.4 ร.5  มาอ้าง ว่า ได้ยอมรับเรื่องอธิปไตยเหนือพื้นที่
 ว่าเป็นของเขมรฯ   ทางกลุ่มนี้ฯ ต้องตอบว่า  เป็นการตัดสิน เกินกว่าทางศาลโลก ตัดสินหรือไม่


9. การออกมาแสดงทัศนะของฝ่ายนักวิชาการแดงในเวทีกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวมทั้งการ
 โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อฯ อย่งหนักผิดปกติ  ในช่วงที่มีปัญหาการพิพาทอย่างรุนแรง
 ระหว่างไทยกับกัมพูชา  เป็นเรื่องบังเอิญหรือเจตนา  เพราะมีผลเสียต่อไทย แต่มีผลดีต่อเขมรฯ

10.ผมและเพื่อนๆเจอการกระทำของเพื่อนมิตรบางคนฯ ตามในลักษณะข้อ 7.
     ที่พูดจาแสดงออกอย่างเปิดเผย และลับหลัง  แต่ด้วยเจตนาเดียวกัน
    มีโอกาสก็เตือนกัน  แต่กลับถูกกล่าวหากลับ ว่า
     เป็นพวกเจ้า เกลียดทักษิณ เชียร์พธม. เป็นพวกคลั่งชาติ ชาตินิยมคับแคบ
   เป็นตัวตลก  ตามโลกไม่ทัน เขาไปถึงยุคโลกาภิวัฒน์ แล้ว ยังโง่จมดักดานอีก

11.ผมยอมรับว่า ทางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการแดง  มีหลายคนใช้คำพูดที่รุนแรงตอบโต้
      ความรุนแรงฯ ซึ่งควรจะมีการแก้ไขทั้งสองฝ่าย  มิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
 โดยสรุป
 ก.      เรื่องการทวงสิทธิอธิปไตยไทย  ไทยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันไปในทางเดียวกันให้บรรลุผล
 ข.      ฝ่ายไทยที่มึความเห็นต่างกัน:ทั้งแบบตรงกันข้าม (นักวิชาการแดง) และเห็นต่างกันเฉพาะ
 เรื่องแนวทาง(พธม.)จะต้องเจรจากัน บนพื้นฐานที่สนับสนุนและไม่มีผลเสียต่อ ข้อ(ก) .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง