บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

มรดกบาปที่เขาพระวิหาร

มรดกบาปที่เขาพระวิหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรในระยะนี้ พูดได้ว่ากำลังเสื่อมโทรมตกต่ำลงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก็สืบเนื่องมาจากการเอาปราสาทพระวิหารที่ตั้งอยู่บนเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั่นเอง ภายใต้ความเห็นดีเห็นชอบของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ผู้เป็นหุ่นเชิดของ ทักษิณ ชินวัตร โดยนายนพดล ปัทมะ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น เป็นผู้ไปลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมกับเขมร ยินยอมให้เขมรนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้เพียงฝ่ายเดียว

ลำพังการขึ้นทะเบียนดังกล่าวคงจะไม่เป็นเรื่องบานปลายออกไปมากขึ้นอย่างทุกวันนี้ ถ้าไม่มีเรื่องการไปทำความตกลงร่วมระหว่างไทยกับเขมรที่เรียกว่า เอ็มโอยู 2543 ซึ่งรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ดำเนินการ โดยปล่อยให้มีการใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นเครื่องใช้ในการพิจารณาเส้นเขตแดนของสองฝ่าย นำมาซึ่งปัญหาการที่จะต้องเสียดินแดนไทยไปไม่น้อยกว่า 1.8 แสนไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งกำลังจะเป็นพื้นที่ในการบริหารจัดการขององค์การยูเนสโกเกี่ยวกับการเป็นมรดกโลกต่อไปในเดือนมิถุนายน ศกนี้

ทั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของ ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ต่างก็เป็นต้นเหตุสำคัญของมรดกบาปครั้งนี้ ให้ไว้กับประเทศทั้งสอง

โดยเฉพาะ ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของเหตุนี้ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยยกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไปประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเขมรที่เมืองพนมเปญเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 มีวาระการประชุมสำคัญอยู่ที่การพัฒนาเขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในขณะที่มีวาระแฝงของ ทักษิณ ในการหาประโยชน์ด้านพลังงานในทะเลไทยเขมร ที่มีมูลค่ามหาศาลจากก๊าซและน้ำมัน

เป็นวาระแฝงที่ตรงใจนายฮุนเซ็น ซึ่งกำลังเตรียมการให้สัมปทานในการขุดค้นก๊าซและน้ำมันกับต่างประเทศ มาเป็นประโยชน์ของตน

วิน - วิน ทั้งสองฝ่าย

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นมาอันเป็นเหตุสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ที่นายนพดล ปัทมะ ลูกน้อง ทักษิณ ไปออกคำแถลงการณ์ร่วมไทยเขมร ยินยอมให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวในครั้งนั้น

ความพยายามที่จะผลักดันให้มีการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้น ความจริงแล้เวมิได้มีเฉพาะเขมรกับไทยเท่านั้น ถ้าได้ศึกษาการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก ตั้งแต่ครั้งที่ 31 พ.ศ.2550 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ จนถึงครั้งที่ 33 ในปัจจุบัน จะพบว่ามีประเทศต่างๆซึ่งมีบทบาทสูงอยู่ในคณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น ซึ่งประเทศดังกล่าวเหล่านี้เป็นที่ทราบดีทั่วไปว่า เป็นกลุ่มประเทศหลักที่ได้รับสัมปทานการลงทุนด้านธุรกิจวัฒนธรรมรายใหญ่ในเขมร ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการผลักดันให้ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนโดยเร็วที่สุด และไม่คำนึงถึงเรื่องปัญหาเขตแดนที่กำลังเป็นปัญหาอยู่

มติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ตั้งแต่ครั้งที่ 31 เป็นต้นมานั้น ได้กำหนดขั้นตอนในการใช้บังคับแก่ประเทศภาคีซึ่งมีไทยอยู่ด้วยไว้เรียบร้อยแล้วว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ประเทศไทยต้องเดินตามทุกอย่าง

การอนุมัติให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยปราศจากพื้นที่กันชนและพื้นที่บริหารจัดการที่ชัดเจน ได้นำมาสู่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรอยู่ในขณะนี้ ถึงขั้นมีการปะทะกันแล้ว บาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย รวมถึงราษฎรในบริเวณใกล้เคียง และสร้างผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงกว้างขวาง

แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกก็ยังคงดึงดันเดินหน้าต่อไปที่จะจัดให้มีการบริหารจัดการต่อไปให้ได้ ทั้งยังละเมิดต่อ "แนวทางดำเนินงานตามอนุสัญญามรดกโลก" อันเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ต้องยึดถือ เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีการติดตามสภาพการอนุรักษ์ทรัพย์สินที่เป็นมรดกโลกเอาไว้อย่างชัดเจน

ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ต้องลบชื่อออกจากบัญชีมรดกโลก เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกทำให้เสื่อมสภาพ จนถึงขนาดที่จะสูญเสียคุณสมบัติ ซึ่งได้รับการบันทึกไว้แล้ว และพื้นที่ของมรดกโลกถูกคุกคามจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

แต่ขณะนี้ทั้งเขมรและยูเนสโกก็ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ยังคงตั้งหน้าตั้งตาจะดำเนินการต่อไปให้ได้เพื่อประโยชน์ตนที่จะได้รับ ไม่ว่าเขมรหรือประเทศต่างๆที่เป็นภาคีมรดกโลก ซึ่งเบื้องหลังแท้จริงต้องการอะไรก็ได้พูดมาให้ฟังแล้ว

ข้อเรียกร้อง 3 ประการของประชาชนในนามของ "กลุ่มพันธิมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งกำลังชุมนุมกันอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา รวม 3 ข้อ คือให้รัฐบาลยกเลิกข้อตกลง เอ็มโอยู 2543 ให้ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก และให้ผลักดันกองกำลังและคนเขมรที่บุกรุกเข้ามาอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร นั้นจึงเป็นข้อเรียกร้องที่ถูกต้อง เป็นผลประโยชน์แห่งชาติโดยแท้

แต่จนถึงขณะนี้รัฐบาลนี้ก็ยังเมินเฉย

ยัดเยียดมรดกบาปนี้ให้ประชาชนต่อไปเพียงพื่อ "มรดกบุญ" ที่คนบางคนในรัฐบาลชุดนี้จะได้รับจากเขมรต่อไปเท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง