บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทธศักดิ์ย้ำชัดปมเขมร จำต้องมี'ผู้สังเกตการณ์' เป็นพยานทำให้โปร่งใส ไม่ใช่ปท.ที่3แทรกแซง!


 
"ยุทธ ศักดิ์" เป็นปลื้ม "ทูลกระหม่อมฯ" ประทานดอกไม้ "เจ้าตัว" ยันจะทำงานเทิดทูนสถาบัน-รักษาราชบัลลังก์ด้วยชีวิต เผยปมเขมร ต้องมี "ผู้สังเกตการณ์" เพื่อเป็นพยานว่าใครผิด-ใครถูก ชี้ไม่ใช่เป็นการให้ "ประเทศที่ 3" เข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน คาด "ยิ่งลักษณ์-ฮุนเซน" เจอกันหลังถกจีบีซีเสร็จ
วันที่ 22 ส.ค. 2554 เวลา 09.00 น. ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นผู้แทนพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี อัญเชิญแจกันดอกไม้ประทานแก่พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ในโอกาสรับตำแหน่ง ในโอกาสนี้ ผู้แทนพระองค์ฯ ได้นำกระแสรับสั่งของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ความว่า "ขอให้ทำงานด้วยความอดทน มีความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่มีไว้อย่างมั่นคง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต"

จากนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าฯที่ท่านให้ความเมตตากรุณาต่อตน ซึ่งตนได้รับทราบจากผู้แทนพระองค์ว่า ท่านได้ติดตามผลงานของตนมาตลอดเวลา และการที่ได้เข้ามาเป็นรมว.กลาโหมครั้งนี้ ท่านขอให้กำลังใจและมีความอดทน ความตั้งใจ และรักษาเกียรติยศชื่อเสียงอย่างที่เคยดำรงไว้ให้มั่นคงต่อไป ถือเป็นการให้กำลังใจที่ขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ และจะปฏิบัติโดยไม่ได้มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ตนได้รับพระราชทานสูงสุด ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเป็นกำลังใจมากสำหรับตนในการที่จะทำงานด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต และเพื่อประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ตนจะทำงานทุกอย่างเพื่อเทิดทูนสถาบัน ราชบัลลังก์ด้วยชีวิต

รม ว.กลาโหม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการถอนกำลังทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาว่า คงไม่ใช่การถอนทหาร แต่เป็นการปรับกำลังในพื้นที่ ตามคำสั่งชั่วคราวของศาลตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งวันนี้ (22ส.ค.) จะมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อวางกรอบหัวข้อนำไปประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วน ภูมิภาคไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ โดยในวาระสุดท้ายจะเป็นเรื่องกรอบการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลกว่า จะดำเนินการอย่างไรในส่วนของทหาร โดยให้อาร์บีซีตีกรอบ เพื่อใช้ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ต่อไปขณะเดียวกันคณะกรรมการจีบีซีฝ่ายไทยจะให้เลขานุการไปหารือกับกัมพูชา คิดว่าหลังประชุมอาร์บีซีสิ้นสุด เลานุการจะประสานงานในเรื่องวันเวลาที่จะประชุมจีบีซี รวมถึงกรอบการประชุม การปรับกำลัง การตั้งจุดตรวจร่วม การดำเนินการต่อผู้สังเกตุการณ์จะมีกี่ชุด เป็นต้น

"หากมีการปรับกำลังทหารออก ทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันว่า จะเอากำลังส่วนไหนไปหนุน ขั้นแรกที่เราพูดคุยกับกัมพูชาคือ เมื่อนำกำลังทหารออก ควรนำกำลังตำรวจเข้าไปทดแทน และมากำหนดว่า จะเป็นตำรวจตระเวนชายแดน หรือตำรวจภูธร หรือทหารพราน ซึ่งขณะนี้ผบ.ตร.ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและเตรียมกำลังตำรวจเพื่อไปปรับ กำลังแทนทหาร แต่เรามีจุดตรวจร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งต้องไปดูว่า จัดตรงไหน เพื่อดูความเรียบร้อยของการปรับกำลัง"พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าว

เมื่อ ถามว่า จะต้องส่งผู้สังเกตการณ์ลงไปในพื้นที่ด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ใช่ เพราะในคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กำหนดให้มีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียด้วย ตอนแรกอาจเข้าใจกันว่า จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลังจากที่ตนได้เดินทางลงพื้นที่ไปรับฟังและรับทราบจากผู้ปฏิบัติใน พื้นที่ คิดว่าต้องมีผู้สังเกตการณ์ และเป็นความจำเป็นต้องมี เพราะการกล่าวอะไร หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นต้องมีพยาน ผู้สังเกตการณ์จะเป็นพยานที่ดีที่สุด

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้สังเกตการณ์อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อไปหากเกิดเหตุการณ์เขาจะเป็นพยานได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า "ช่วงหนึ่ง" ต้องกะระยะเวลาว่า แค่ไหน ถ้าเหตุการณ์ปกติจริง ๆ การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก โปร่งใส ไม่เอาเปรียบกัน ภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจถ้าถึงช่วงนั้นต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนี้กองทัพภาคที่ 2 ได้เตรียมที่พักให้กับผู้สังเกตุการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้สังเกตุการณ์จะเป็นพลเรือน แต่จะกำหนดกันอีกครั้งหลังจากการประชุมจีบีซีว่า ผู้สังเกตุการณ์จะแต่งกายอย่างไร คิดว่า ไม่ได้เป็นการให้ประเทศที่ 3 เข้ามาแทรกภายในกิจการของเรา เพราะเขามีหน้าที่รับทราบ และปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามขณะนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดเดินทางไปพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่อาจหลังจากมีการประชุมจีบีซีเรียบร้อยแล้ว

thaiinsider

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง