บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดเห็นในภาพรวมต่อ คำตัดสินของศาลโลก ปี ๒๕๐๕

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 เวลา 12:47 น.


กรณี ศาลโลก นั้นมีความฉ้อฉล ขัดหลักข้อเท็จจริง ขัดหลักกฏหมาย และแท้จริงเป็นเครื่องมือมหาอำนาจ ในการช่วยเขมร (ตามอุดมการณ์ผลประโยชน์เพื่อชาติตนเอง) <http://www.facebook.com/note.php?note_id=137971756244175>

ดัง นั้น แนวทางการต่อสู้คือไม่สู้ในยุทธภูมิที่ไม่มีวันชนะ หรือในทางกฏหมาย คือ ไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล (ซึ่งไทยไม่อยู่ในปัจจุบัน) หรือตัดฟ้อง ไม่ใช่ตกหลุมพรางไปต่อสู้ ซึงจะติดกับดัก และถูกปล้นเหมือนเดิมแน่นอน

ขอยกตัวอย่างความฉ้อฉล ดังนี้ (ประเด็นกฏหมายที่ลึกซึ้งดูได้จากข้อสงวนสิทธิทวงคืนปราสาท ของ ดร.ถนัด คอมันตร์ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311)

๑ นักกฏหมายบางท่านบอกเป็นหลักกฏหมายทางแพ่ง ของอังกฤษ ชาติเดียว ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในเรื่องเกี่ยวกับอธิปไตยและเขตแดนได้ เพราะเกี่ยวกับชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนทั้งชาติ ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล ผิดหลักทางแพ่ง

๒ นักกฏหมายบางท่านก็บอกว่า ศาลโลกส่อเจตนาว่าฉ้อฉล เพราะยกมาใช้กับไทย กรณีนี้ครั้งเดียว เพราะไม่เป็นสากล อีกทั้งผู้พิพากษาที่เห็นแย้ง ในภายหลังเป็นประธานศาลโลกคนต่อมา ก็ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้

๓ สมมติใช้หลักกฏหมายปิดปาก ฝ่ายไทยก็อ้่างได้หนักแน่นกว่าว่า ไทยใช้อำนาจปกครองเหนือพื้นที่ตั้งของตัวปราสาท (อธิปไตยทางการบริหาร) มาก่อนฝรั่งเศสทำแผนที่ ส่วนผมเพิ่มให้อีกว่า แม้จะนับหลังจาก ทำแผนที่แล้ว รวมระยะเวลาถึงก่อนวันฟ้อง ไทยก็ใช้อำนาจอธิปไตย เหนือพื้นที่ตั้งตัวปราสาทมาตลอด ตามการปักปันเขตแดนที่เสร็จสิ้นและแบ่งเขตแดนกันชัดเจนอยู่แล้ว

ทำไมศาลไม่ใช้หลักกฏหมายปิดปากกับกรณีอำนาจปกครองเหนือตัวปราสาทนี้บ้าง ?

๔ สมมติ ว่าไทยยอมรับแผนที่ (ซึ่งข้อเท็จจริง ผมเชื่อว่า ไม่ใช่ผลงานคณะกรรมการปักปันทางนิตินัย จึงถือเป็นหลักฐานเท็จในทางกฏหมาย http://www.facebook.com/note.php?note_id=169169269791090) หลักในการตัดสินเขตแดน ไทยได้อ้่าง มาตรา ๒๙ สนธิสัญญาแวร์ซายล์ ซึ่งกำหนดว่า กรณีขัดแย้ง ให้ยึดตัวบทในสนธิสัญญา เหนือกว่าแผนที่ <1>

สรุป ได้ว่าศาลโลกฉ้อฉล เชื่อถือไม่ได้ในทุกกรณี ดังนั้นกลยุทธ์ “ตัดฟ้อง” จึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติ

อ้างอิง
<1>
มาตรา ๒๙ สัญญาแวร์ซาย ค.ศ.๑๙๑๙ เป็นบรรทัดฐานอ้างอิงกำหนดให้ใช้ตัวบท(text) สำคัญเหนือกว่าแผนที่ ในการตัดสินเขตแดนระหว่างชาติ
ARTICLE 29.
The boundaries as described above are drawn in red on a one-in-a-million map which is annexed to the present Treaty (MapNo. 1). [See Introduction.] In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final.
http://bit.ly/aaNfQp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง