โฆษกเลี้ยงแกะออกโรงอีก ป้ายสีซ้ำไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหาร ศาลโลกเริ่มไต่สวน |
|
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองงานโฆษกรัฐบาลกัมพูชาเริ่มการโฆษณาชวนเชื่ออีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวหาซ้ำๆ ว่าไทยตั้งใจยิ่งถล่มปราสาทพระวิหารในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ปราสาทได้รับความเสียหาย และยังตอบโต้การให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งย้ำอีกครั้งเช่นกันว่า ทหารไทยไม่ได้กระทำเช่นนั้น การรณรงค์ของโฆษกกัมพูชาครั้งใหม่ยังมีขึ้นขณะที่ศาลระหว่างประเทศ ได้เปิดการไต่สวนตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งคุ้มครองปราสาทเก่าแก่ กัมพูชากล่าวหาว่า ไทยยิงถล่มปราสาทพระวิหารด้วยปืนใหญ่และปืนครกกว่า 400 นัด และ ได้นำคณะทูตานุทูตขึ้นไปดูความเสียหาย ซึ่งบริเวณบันไดนาคทางขึ้นกับบริเวณโคปะรุชั้นนอก ที่ปรากฏเป็นรอยกะเทาะในบางจุด โดยอาจจะเกิดจากวัตถุเคลื่อนที่เร็ว เช่น สะเก็ดระเบิด หรือสะเก็ดจากกระสุนปืนชนิดต่างๆ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนแถลงในช่วงเดียวกันว่า ปราสาทได้พังลงไปส่วนหนึ่ง ซึ่งทราบกันในเวลาต่อมาว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร “ผู้นำในรัฐบาลของไทยจะต้องตระหนักว่าทั้งโลกมีความทรงจำที่ดี ในต้นเดือนมีนาคม 2554 รัฐบาลไทยได้คัดค้านอย่างแข็งขันเมื่อกัมพูชาจัดคณะทูตทหารจาก 12 ประเทศไปดูด้วยตาของตัวเองความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่ปืนครกของไทยกว่า 400 นัด รวมทั้งกระสุนลูกหว่านที่ยิงขึ้นไประหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์” สำนักตอบโต้เร็ว กองโฆษกรัฐบาลระบุดังกล่าว ในบทความเห็นลงวันที่ 27 พ.ค. 2554 ที่เผยแพร่ผ่านสำนักข่าวกัมพูชา แต่ฝ่ายทหารของไทยกล่าวว่า ทหารพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นที่หลบ และใช้เป็นที่ตั้งอาวุธหนักยิงเข้าใส่ฝ่ายไทย ทำให้ต้องยิงตอบโต้ตามหลักปฏิบัติทั่วไป “ยิงจากจุดใด ยิงสวนไปที่จุดนั้น” และเวลาต่อมาฝ่ายไทยได้จัดคณะทูตานุทูตไปดูความเสียหายที่ไทยได้รับจากการ ยิงโดยไม่จำแนกเป้าหมายของฝ่ายกัมพูชาที่ชายแดนด้านนั้น หลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ถ้าหากฝ่ายไทยยิงอย่างตั้งใจเพื่อทำลายปราสาทมรดกโลกด้วยกระสุนปืนใหญ่กับ ปืนครกจำนวนกว่า 400 นัด ตามที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวหา ปราสาทหินเก่าแก่อายุ 1,000 ปี ก็น่าจะทลายราบลงไม่มีชิ้นดี เพราะเป็นเป้าหมายที่โดดเด่นและอยู่ในรัศมีการยิง แม้กระทั่งยิงด้วยปืนจากรถถังเพียงไม่กี่นัด |
||||
|
||||
|
||||
แต่โฆษกรัฐบาลกัมพูชาได้บิดเบือนเรื่องนี้ไม่หยุดโดยมีเจตนาสร้าง ความไขว้เขวให้แก่ฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ไกลจากเหตุการณ์และไร้ข้อมูลเพียงพอ ภาพจากสำนักข่าวเอเอฟพี และรอยเตอร์ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ ล้วนแสดงให้เห็นทหารกัมพูชาจำนวนมากหลบพักพิงอยู่ภายในโคปะรุชั้นต่างๆ รวมทั้งในพระวิหารชั้นในสุดด้วย นอกจากนั้น หลายภาพยังแสดงให้เห็นทหารเขมรขนกระสุนปืนใหญ่ และติดตั้งปืนกลหนักอยู่ภายในปราสาทแห่งนี้ ผู้สื่อข่าวของเอพีระบุอย่างชัดเจนว่ามีทหารกัมพูชา 200-300 นายอยู่ในปราสาทพระวิหารในช่วงที่เกิดการปะทะ ฝ่ายกัมพูชาออกรณรงค์เรื่องนี้อย่างหนักในเดือน ก.พ.-มี.ค. ในความพยามทำให้สถานการณ์ปะทะที่ชายแดนมีความรุนแรงใหญ่โตถึงขั้นสงคราม ขณะเดียวกันก็ออกเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติส่งกองกำลัง รักษาสันติภาพเข้าประจำชายแดนสองประเทศ ซึ่งกัมพูชาไม่ประสบความสำเร็จ โฆษกกัมพูชารณรงค์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในขณะที่ศาลระหว่างประเทศ เริ่มเปิดการไต่สวนในวันที่จันทร์ 30 พ.ค.ศกนี้ ตามคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้มีคำสั่งเร่งด่วนปกป้องคุ้มครองปราสาทพระวิหาร การปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทตาเมือน-ตาควายซึ่งอยู่ห่างจากพระวิหาร ออกไปกว่า 100 กม.ทางทิศตะวันตก ปะทุขึ้นในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาเดินทางไปยังกรุงเฮก ยื่นคำร้องต่อศาลโลกขอให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 ที่ยกปราสาทให้เป็นของฝ่ายเขมรขณะที่สองฝ่ายยังกล่าวอ้างสิทธิเหนือดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยรอบ พร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำพร้องให้ศาลโลกมีคำสั่งปกป้องคุ้มครอง ปราสาทที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือน ก.ค.2551 เป็นการเร่งด่วนโดยอ้างว่าฝ่ายไทยก้าวร้าวรุกรานต่อกัมพูชาตลอดมาและยังยิง ทำลายปราสาทให้ได้รับความเสียหายอีกด้วย. |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น