บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี คุณสุวิทย์ ไม่เคยไปเซ็นตกลงอะไร โดย Annie Handicraft ·

   
 
เอกสารที่คุณสุวิทย์ ไปลงรายชื่อรับรอง

โดย Annie Handicraft ·
 
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาบอกว่าเขาได้เปรียบ เนื่องจาก นายสุวิทย์ ไปเซ็นร่างสัญญาข้อตกลงต่างๆ ไว้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี คุณสุวิทย์ ไม่เคยไปเซ็นตกลงอะไร เพราะเป็นมติของกรรมการ และวันนั้น เขาพยายามที่จะให้พิจารณาตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงพยายามที่จะพูดเพื่อผลักดันอีกทีหนึ่งในปีนี้ แต่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ชี้ชัดมากขึ้นว่าการเดินหน้าต่อจะทำให้มีปัญหามากขึ้น ทางกัมพูขาก็จะเล่นแบบนี้เหมือนโยกโย้// แล้วกระดาษข้างบนน่ะ อะไรเหรอพี่มาร์คขา


********************************
เพิ่มเติม

ในทางความเป็นจริงกัมพูชาได้รับชัยชนะในการประชุมสมัยที่ 34 เพราะคณะกรรมการได้มีมติ “พิจารณา” เอกสารที่กัมพูชาได้เสนออย่างเป็นทางการแล้ว คือเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3และผลของมันคือ คณะกรรมการได้ออกมติ 5 ข้อ ดังปรากฏในข้อมติที่ 34.COM.7B.66 ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ยอมรับและ ได้ลงนามรับรอง พร้อมกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยมี นาย โฮโอ ลูอิซ ซิลว่า เฟอริลล่า รัฐมนตรีวัฒนธรรมบราซิล ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกสมัยที่ 34 เป็นสักขีพยาน

ในข้อมติ 34.COM.7B.66 มีข้อความดังนี้
1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 เรียบร้อยแล้ว

2. อ้างอิงถึง ข้อมติที่ 31COM.8B.24, 32COM.8.B.102, และ 33COM.7B.65 ซึ่งได้มีผ่านการอนุมัติในการประชุมสมัยที่ 31 (ไครเชิส ปี 2007) สมัยที่ 32 (ควิเบก ปี 2008) สมัยที่ 33 (เซวิญา ปี 2009) ตามลำดับ

3. ให้บันทึกว่า คณะกรรมการมรดกโลก ได้รับเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีแล้ว

4. คณะกรรมการได้ให้การต้อนรับมาตราการที่รัฐภาคีได้จัดทำเพื่อการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อการฟื้นฟูปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน

5. มีมติให้มีการพิจารณาเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีในสมัยประชุมที่ 35 ในปี 2010


สาระสำคัญของมติที่ได้ออกมานั้นมีดังต่อไปนี้

ประการแรก คณะกรรมการมรดกโลกได้รับแผนบริหารจัดการและรายงานจากรัฐภาคีแล้ว รายงานทั้งสองฉบับได้ยื่นเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกตั้งแต่เดือนมกราคม 2010

ประการที่สอง คณะกรรมการมรดกโลกได้อ้างอิงถึงข้อมติที่ได้ออกมาในสมัยประชุมที่ 31, 32 และ 33

ประการที่สาม มติคณะกรรมการฯ ในสมัยประชุมที่ 34 ได้ให้การยอมรับรายงานซึ่งจัดทำโดยศูนย์มรดกโลก ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเลขาให้กับคณะกรรมการมรดกโลก โดยคณะกรรมการได้ให้การต้อนรับการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการมรดกโลกของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งแผนการดังกล่าว ได้รับการประเมินโดยศูนย์มรดกโลก ผู้เชี่ยวชาญจาก ICOMOS และองค์กรที่ปรึกษาอื่นๆซึ่งได้แนะนำให้ดำเนินงานตามแผนการนั้นได้ สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน คือ พวกเขาพิจารณาเห็นว่าแผนการดังกล่าวได้ให้วิสัยทัศน์ที่ดีในการอนุรักษ์มรดกโลก และองค์การคุ้มครองพระวิหารแห่งชาติก็ได้ออกนโยบายที่ดีในการดำเนินงาน

ประการที่สี่ รัฐบาลกัมพูชาได้รับการชื่นชมยินดีจากหน่วยงานต่างๆ ต่อมาตรการที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีที่แล้ว เช่นการขยายพื้นที่และปรับปรุงพื้นที่กันชน การย้ายหมู่บ้าน และการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ระดับโลก

ประการที่ห้า คณะกรรมการมรดกโลกได้ยินดีและสนับสนุนมาตรการต่างๆของรัฐบาลกัมพูชาในการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร

ประการที่หก คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาขยายเวลาเพิ่มเติมเพื่อให้มีการพิจารณา วิพากษ์วิจารณ์เอกสารในการประชุมสมัยหน้า แต่การตัดสินใจเช่นว่านั้นไม่ได้ทำให้การดำเนินงานตามแผนมีความล่าช้าแต่อย่างใด

สำหรับแผนการบริหารจัดการปราสาทพระวิหารมรดกโลกดังกล่าวนั้น คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ แต่คณะกรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณาทบทวนแผนการดังกล่าวเพื่อให้ความเห็นเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้นกัมพูชามีอำนาจเต็มที่ในการดำเนินงานตามแผน และยินดีรับฟังความเห็นจากทั้งระดับชาติและนานาชาติในอันที่จะอนุรักษ์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ขอบเขตของมรดกโลกพระวิหาร
ความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการประชุมสมัยที่ 34 นั้นเป็นการทดสอบต่อการนำอันชาญฉลาดของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาและ ท่าน ซก อัน รองนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะผู้แทน ที่ได้นำเกียรติภูมิแห่งชาติไปสู่เวทีสากลอีกครั้งหนึ่

เพื่อตอกย้ำถึงความล้มเหลวของรัฐบาลไทย จะต้องเน้นย้ำเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชนและสากลว่า มันไม่ใช่อย่างที่รัฐบาลไทยประกาศว่าประสบความสำเร็จในการเลื่อนแผนบริหารจัดการไปเป็นปีหน้า แต่คณะกรรมการมรดกโลกนั้น ไม่เคย ได้ใช้คำว่า เลื่อน ล่าช้า ระงับ แผนการนั้นแต่อย่างใด แต่คณะกรรมการมรดกโลกเลือกใช้คำว่า “พิจารณา” ซึ่งหมายถึงเอกสารที่ทางการกัมพูชาเป็นผู้เสนอไป ซึ่งหมายถึงรายงานความคืบหน้าในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกโลกและแผนในการบริหารจัดการ ที่ได้มีการส่งไปแล้ว แต่จะพิจารณากันในปีหน้า



จาก
นายกฯและนายสุวิทย์จะแก้ตัวแบบไหน
by Thepmontri Limpaphayom on Thursday, December 16, 2010 at 8:27pm
http://www.facebook.com/note.php?note_id=168317846536964

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง