ไทยกู้เกียรติศักดิ์ เป็นหนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวิชิตสมรรถการ(รัตน์ ยมะสมิต) วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๘๔
ซึ่งในคำปรารภที่เขียนให้โดย พล.ต. ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้นว่า หนังสือเล่มนี้เป็นตำนานเดี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างประเทศเรากับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นก็ยังมีกรณีพิพาทกันยังไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อใด….
พลิกอ่านในหนังสือนี้ มีเรื่องประวัติการเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสที่ได้รวบรวบไว้
โดยระบุว่า การเสียดินแดนของไทย ให้แก่ฝรั่งเศส โดยการเสียเขมร เริ่มในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๐๖ โดยพระนโรดมพระเจ้าแผ่นดินของเขมร ได้ทำสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาฝรั่งเศส โดยทางฝรั่งเศสโฆษณาว่า การที่พระนโรดมทำเช่นนั้นด้วยความสมัครใจและเพราะอยู่ใต้อารักขาไทยไม่ผาสุก
พิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓
ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับกับฝรั่งเศส ๒๔๘๓
แต่เอกสารที่มีในประเทศไทยลายพระหัตถ์สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี มีมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ. ๒๔๐๓ สามปีก่อนตกอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส และ ในปี ๒๔๐๖ หลังเข้าอยู่ใต้อารักขาฝรั่งเศส มีข้อความขัดแย้งกัน
แผนที่แนบท้ายหนังสือประวัติการเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศศ
แนบท้ายหนังสือไทยกู้เกียรติศักดิ์
หนังสือเล่มที่๒ เป็นหนังสือสัญญา กรุงสยามกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๒๒ นำมาให้ชมกันค่ะ
เนื้อหา หนังสือสัญญา กรุงสยามกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๒๒
ต่อมาอีก ๔ ปี ฝรั่งเศสได้บังคับให้ไทยทำสัญญารับรองอารักขาของฝรั่งเศสในแดนเขมร ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ นั่นคือการเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสครั้งที่๑
ในครั้งที่๒ เสียแคว้นสิบสองจุไทย ที่เกิดเรื่องราวปราบฮ่อ แคว้นสิบสองจุไทยก็กลายเป็นของฝรั่งเศส ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๓๑
ไทยเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสถึง๕ครั้งโดยครั้งที่๕ เสียพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณ โดยสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙
ต่อมาก็มีการเจรจาขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศส โดยเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๘๒
ฝ่ายฝรั่งเศสได้ขอทาบทามมายังไทย ให้มีการเจรจาปรับปรุงเขตแดนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ครั้นเมื่อเกิดสงครามยุโรป ฝรั่งเศสขอเจรจาสงบศึกเยอรมันและมีการปักปันเขตกันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ไทยเราเป็นประเทศเล็ก การเจรจาอย่างไรโดยสันติวิธีก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝรั่งเศสมีการรุกรานเขตแดนไทย ความผันผวนของเหตุการณ์ทวีความคับขันจนเกิดเป็ฯกรณีพิพาท
เราเสียดินแดนให้ประเทศล่าอาณานิคมมาแล้วแต่ในอดีตหลายครั้ง คนไทยเราทุกคน คงไม่อยากให้มีการสูญเสียอีก
ข้อเท็จจริงกรณีเขาพระวิหารเป็นอย่างไรกรณีพิพาทที่ยืดเยื้อ และเกี่ยวเนื่องจากเกร็ดประวัติศาสตร์ข้างต้น จนเกิด การยื่นฟ้องต่อศาลโลก เมื่อปี ๒๕๐๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น