บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่ ?โดย Chayut Ratanapong

เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000

เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude   14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร

ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร

การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร

ผมใช้เวลาหลายวันในการตรวจสอบแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 เปรียบเทียบกับ Google Maps Viewer และ Google Earth ด้วยโปรแกรมจัดการแผนที่ OziExplorer และพบความบกพร่องที่น่าจะเกิดจากความไม่สุจริตในการทำแผนที่ ดังนี้

1. หลังจากจัดทำภาพแสดงกรอบระวางโขง-ดงรัก ค.ศ. 1904 และกรอบระวางดงรัก ค.ศ. 1908 พบว่า: ฝรั่งเศสระบุค่าเส้นแวง (Longitude) ผิดทั้ง 4 เส้น โดยน้อยกว่าค่าจริงถึง 2 องศา 20 ลิปดา
 ภาพแสดง: กรอบระวางโขง-ดงรัก ค.ศ. 1904 และกรอบระวางดงรัก ค.ศ. 1908

ผมถอดพิกัดด้วย Datum: Indian Thailand มาตีกรอบทับแผนที่ Google
กรอบดำ: ระวางโขง ตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904
กรอบน้ำเงิน: ระวางดงรัก ตามอนุสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904
กรอบแดง: ระวางดงรัก ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว ค.ศ. 1908
หมายเหตุ: แผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 (ที่ฝรั่งเศสทำเองฝ่ายเดียว) มีเส้นแวง (Longitude) 4 เส้น แต่ระบุค่าผิดทุกเส้น โดยระบุน้อยกว่าค่าจริงถึง 2 องศา 20 ลิปดา
ฝรั่งเศสระบุผิดเป็น: 101 20', 101 40', 102 00', 102 20'
ค่า Longitude จริง: 103 40' 104 00' 104 20' 104 40'
2. หลังจากวางแนวหน้าผาต่างระดับของเทือกเขาพนมดงรักลงในแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 โดยเทียบกับเส้นรุ้งเส้นแวง  พบว่า: แนวเส้นชั้นความสูงที่แสดงรูปร่างหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรักนั้น มีความคลาดเคลื่อนจากภูมิประเทศจริงซึ่งแสดงด้วยเส้นสีแดง ซึ่งเป็นแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 … โดยหน้าผา "เป้ยตาดี" ถูกเขียนให้ล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร และฝรั่งเศสยังเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยามอีก 2.51 กิโลเมตร รวมเป็น 2 เด้ง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 (ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว) จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร



ภาพแสดง: เส้นแนวขอบหน้าผาต่างระดับ
 (เส้นสีแดง) ที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000
… เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า "เส้นชั้นความสูง" ที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร

… ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดน โดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร ล้ำจุดเป้ยตาดี (ในแผนที่) เข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร

… การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรู้งเส้นแวง

… ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำหน้าผาเป้ยตาดี (ในภูมิประเทศจริง) เข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร
ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของเขาพระวิหาร ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N)
เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก (E)
เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน
เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km
เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km
รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km
ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของ หน้าผาเทือกเขาพนมดงรัก ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นแดง คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับที่ฝรั่งเศสจงใจเขียนให้คลาดเคลื่อน

ในเมื่อแนวเทือกเขาพนมดงรักในแผนที่ฝรั่งเศส ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 คลาดเคลื่อนตั้งหลายกิโลเมตรเช่นนี้
… ช่วยวิเคราะห์กันดูเถิดว่า ถ้ายังปล่อยให้กัมพูชาเลือกนำมาใช้เฉพาะจุดที่เขาได้เปรียบแล้ว จะปักปันเขตแดนกันได้ตลอดรอดฝั่ง หรือว่าจะพิพาทกันไม่รู้จบ
… แล้วที่ฝรั่งเศสเขียนแนวหน้าผาล้ำเข้าไปในดินแดนกัมพูชาหล่ะ จะยอมให้ไทยปักปันเขตแดนตามแผนที่ฝรั่งเศสด้วยไหม ?
ภาพแสดง: เส้นเขตแดนที่เขียนไม่ครบในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นแดง คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับที่ฝรั่งเศสจงใจเขียนให้กระดกขึ้นทางตะวันออก (ด้านเขาพระวิหาร) ส่งผลให้กระดกลงทางตะวันตก (ช่องสะงำ-ช่องโอสะมัค)
เส้นม่วง คือ เส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสเขียนล้ำดินแดนไทยเพื่อเอาเขาพระวิหาร

… แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 นั้น มีข้อพิรุธที่สำคัญมาก คือ มีการเขียนเส้นชั้นความสูงเป็นรูปแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรักจนเต็มแผ่นระวางดงรัก (เส้นเขียว) แต่เขียนเส้นเขตแดน (เส้นม่วง) ไว้เพียงแค่ 2 ใน 3 เท่านั้น โดยเว้นไว้ในส่วนที่เขียนเทือกเขาพนมดงรักถอยลงไปอยู่ในดินแดนกัมพูชา (ต่ำกว่าเส้นแดงซึ่งเป็นแนวขอบหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก)
… คล้ายกับว่าในตอนทำต้นฉบับแผนที่แผ่นระวางดงรักนี้ ได้มีการเลื่อนกระดาษไขด้านขวา (ทิศตะวันออก) ให้เส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำขึ้นไปในดินแดนสยาม
… แต่พอเส้นเขตแดนด้านซ้าย (ทิศตะวันตก) จะกระดกลงต่ำกว่าแนวจริงของขอบหน้าผา (เส้นแดง) ซึ่งอยู่ลึกลงไปในดินแดนกัมพูชาประมาณ 4 กิโลเมตร ฝรั่งเศสก็เว้นการเขียนเส้นเขตแดนอย่างไม่น่าเกิดขึ้นสำหรับการทำแผนที่บริเวณพรมแดน
… ทั้งๆ ที่ได้มีการปักปันหลักเขตแดนตั้งแต่ช่องสะงำ ผ่านช่องโอสะมัคไปทางบุรีรัมย์ จนสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด แล้วเสร็จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง