ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ฝรั่งเศสทำแผนที่ระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 คลาดเคลื่อนจากภูมิประเทศจริง กัมพูชาจะทำใจยอมรับได้ไหม ยิ่งถ้าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการตรวจสอบความถูกต้องของภูมิประเทศในแผนที่ ก็จะทราบอย่างง่ายดายว่า จากช่องสะงำไปทางตะวันออกจนถึงเขาพระวิหาร ตรงตำแหน่งหน้าผาเป้ยตาดีนั้น ฝรั่งเศสเลื่อนภูมิประเทศที่เป็นแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย 1.98 km แถมยังเขียนเส้นเขตแดนในแผนที่ ล้ำตำแหน่งหน้าผาเป้ยตาดี (จริง) เข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 km
เส้นแดง คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับที่ฝรั่งเศสจงใจเขียนให้กระดกขึ้นทางตะวันออก (ด้านเขาพระวิหาร)
ส่งผลให้กระดกลงทางตะวันตก (ช่องสะงำ-ช่องโอสะมัค)
เส้นม่วง คือ เส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสเขียนล้ำดินแดนไทยเพื่อเอาเขาพระวิหาร
คลิกปุ่มลูกศรซ้าย = ภาพ Google Maps แสดงแนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
(สังเกต: เส้นแดงของทั้ง 2 ภาพ ทับกันพอดี)
ดูให้ดีแล้วจะเห็นว่า ฝรั่งเศสขี้โกงโดยใช้ช่องสะงำเป็นจุดหมุน ดังนี้คือ เส้นเขียว (แนวขอบหน้าผาที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน) ที่กระดกขึ้นทางตะวันออกของช่องสะงำนั้น คือ เส้นที่ฝรั่งเศสวาดตำแหน่งเขาพระวิหาร (เป้ยตาดี) ล้ำขึ้นมาในดินแดนไทย 1.98 ...km ซึ่งส่งผลให้เส้นเขียวทางตะวันตกของช่องสะงำ (จุดหมุน) กระดกลงต่ำกว่า เส้นแดง (แนวขอบหน้าผาตามภูมิประเทศจริง) ล้ำลงไปในดินแดนกัมพูชา 2.43 km … ความฉลาดแกมโกงของคนฝรั่งเศสที่วาดแผนที่ระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 เขาจึงเขียนเส้นเขตแดนในแผนที่ขาดตอนไว้เพียง จากช่องสะงำไปทางตะวันออกถึงเขาพระวิหาร แต่จากช่องสะงำไปทางตะวันตก (ถึงช่องโอสะมัค) กลับเว้นว่างไว้ ทั้งนี้เพราะ ถ้ามีการเขียนเส้นเขตแดนไปทางตะวันตกของช่องสะงำ (จุดหมุนในกระดาษไข) เส้นเขตแดนก็ต้องกระดกลงต่ำกว่า เส้นแดง (แนวขอบหน้าผาตามภูมิประเทศจริง) ล้ำลงไปในดินแดนกัมพูชาแน่ๆ
ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของเขาพระวิหาร ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว
เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N)
เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก (E)
เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน
เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km
เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km
รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 kmด้วย
ท่านใดที่เคยใช้กระดาษไขในการวาดภาพ เขียนแบบ หรือทำแผนที่ ก็ลองนึกภาพดูสิครับว่า จุดที่ช่างแผนที่ฝรั่งเศสใช้เป็นจุดหมุน เพื่อเลื่อนแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก ในขั้นตอนการทำแผนที่ขี้โกงฉบับระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 นั้น น่าจะใช่ ช่องสะงำ หรือไม่ ?
เอาคืนมา
ตอบลบ