บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เปิดรายงานลับ ย้อนรอยเขาพระวิหาร

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานล่าสุดลงวันที่ 25 มกราคม 2551สรุปถึงความก้าวหน้าในการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ของประเทศไทย - กัมพูชา ที่นำเสนอต่อนายอดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญยาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาเป็นทั้งหมดของเรื่องนี้ รวมถึงความพยายามของไทยที่ขอเจรจากับกัมพูชาหลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ
เรื่องเดิม
            เมื่อ 25 มีนาคม 2547 เวลา 15.11 น. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ประชุมร่วมกับนาย ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยประชุมกันที่กรุงเทพฯ เรื่อง การร่วมพัฒนาปราสาทพระวิหาร พร้อมแถลงข่าวร่วม ภายหลังการประชุมโดย นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่าที่ประชุมมีข้อสรุป ดังนี้
            1.จะดำเนินโครงการให้เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพไทย-กัมพูชา โดยร่วมมือและอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน

            2.อนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ให้เป็นมรดกโลกของมนุษย์ชาติ โดยจะร่วมกับ UNESCO พัฒนา หลังจากจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
            3.จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทันที โดยฝ่ายกัมพูชาจะตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ เหมือนกับไทย และจำมีการประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการไทย-กัมพูชา ต่อไป เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น การตั้งร้านค้าที่มีระเบียบ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเก็บกู้ทุ่นระเบิด
            4.จะดำเนินโครงการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหารให้เข้ากับโครงการในกรอบอื่นๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS)
            5.ไทยและกัมพูชายินดีให้ประเทศที่ 3 องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชนมาพัฒนาร่วมกัน
            6.การพัฒนาปราสาทพระวิหารจะไม่กระทบกับการปักปันเขตแดน
            7.กำหนดแผนปฏิบัติการให้เป็นขั้นตอน โดยจะมีการสำรวจรายละเอียดเพื่อหายอดงบประมาณในการดำเนินการโครงการทั้งหมด ว่าจะใช้จำนวนเท่าไร อย่างไรก็ตาม หาก UNESCO รับจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะไม่เป็นเรื่องยากที่จะมีการบูรณะและพัฒนา
        ความร่วมมือตามมติที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา เรื่องการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหาร 
       คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร (ฝ่ายไทย) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน  ตามที่ได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีร่วมฯ ได้เริ่มดำเนินงานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546 โดยในส่วนของกัมพูชา ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหาร โดยมี นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธาน
       ฝ่าย ไทย ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุดได้แก่ คณะอนุกรรมการวางแผนการพัฒนาร่วเขาพระวิหาร โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์) เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีนายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศในฐานะนักประวัติศาสตร์เป็นประธาน
       คณะ กรรมการร่วมเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร ไทยและกัมพูชา ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธานการประชุมร่วมกันเมื่อ 25 มีนาคม 2547 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาร่วมเขาพระ วิหาร ทั้งนี้ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหารจะเริ่มดำเนินการภายหลังจากที่ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
        การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีไทย
            เมื่อ 15 ตุลาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสำคัญผลการเยือนได้ดังนี้
            นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในประเทศไทย เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับกัมพูชาในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและเป็นมิตรประเทศที่ สำคัญของไทย
            โดยนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ทราบว่า ความผูกพันที่รัฐบาลไทยได้มีกับกัมพูชาที่ผ่านมา ทั้งในกรอบความร่วมมือแบบทวิภาคี และความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประเทศไทยจะคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงประเด็นความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชาอย่างต่อเนื่องและ ใกล้ชิด


           อย่างไรก็ดี ฝ่ายกัมพูชา ได้แสดงความวิตกกังวลต่อการให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างเส้นทางคมนาคมของไทย ได้แก่ การสร้างถนนหมายเลข 48 (เกาะกง-สแรอัมเปิล) ถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ) ถนนหมายเลข 68 (โอเสม็ด-สำโรง-กรอลัน)
            นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับไปพิจารณาและดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป อย่าง ไรก็ตามฝ่ายไทยจะให้การช่วยเหลือในการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนหมายเลข 48 กับ 67 ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างถนนหมายเลข 68 ต่อไป
           นอกจากนี้ ได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน โดยฝ่ายกัมพูชาได้หยิบยกขึ้นมาระหว่างการหารือ ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า การตัดสินใจของรัฐบาลจะอยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งต่อประชาชนชาวไทยและกัมพูชาอย่างแน่นอน
            ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้มีการพบปะระหว่าง ไทย ลาว และกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมมรกตต่อไป สำหรับการเปิดช่องทางที่บริเวณช่องตาเฒ่า เขาพระวิหาร นั้น ไทย พร้อมที่จะร่วมพัฒนาเขาพระวิหารกับกัมพูชา และยินดีที่กัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
        ผลการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา
            เรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา นาย ฮอร์ นำ ฮง รองนายกรัฐมนตรี.และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้หารือข้อราชการกับรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ในประเด็นเรื่องความพยายามของทางการกัมพูชาในการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในการประชุมสมัย ที่ 31 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ นครไครสท์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ในปลายมิถุนายน 2550
            การหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในระหว่างการเยือนครั้งนี้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทีและความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็น เนื่องจากมีประเด็นด้านกฎหมาย เขตแดนและอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งการเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทยของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาครั้งนี้กระชั้นกับช่วงเวลาประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกมาก
             แม้ว่าก่อนหน้า นี้ฝ่ายไทยได้พยายามขอพบฝ่ายกัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ ยังผลให้การหารือระหว่างไทย-กัมพูชา ในครั้งนี้ไม่อาจกระทำได้ในรายละเอียดซึ่งมีความละเอียดอ่อนได้อย่างครบถ้วน
            รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยจึงได้มอบหมายให้ ดร.มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชาที่จะเข้าร่วม ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่นครไครสท์เชิร์ส เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง