บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เปิดจม.เสนีย์ มติครม.2505 ชี้ชัด ปราสาทพระวิหารของ'เขมร' อยู่บนแผ่นดิน 'ไทย'



เปิดมติคณะรัฐมนตรีพ.ศ.2505 พร้อมจดหมายโต้ตอบ และการแสดงข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายหลังศาลโลกตัดสิน ให้ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' ตกเป็นของกัมพูชานัยยะชี้ชัด ไทยยอมรับคำตัดสิน แต่ยืนยันหนักแน่นตัวปราสาทอยู่ในดินแดนไทยมาแต่ดั้งเดิม   เช่นนั้น มติครม.

ทั้งหมด เป็นเอกสารทางราชการ จากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  'เขาพระวิหาร' รวมทั้งจดหมายของ ม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช มีถึงจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยืนยันว่าคำพิพากษาของศาลโลก ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเป็นธรรม

1.ลับที่สุด ด่วนที่สุด
ที่ ๕๔๙/๒๕๐๕

๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕

เรื่อง คำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อ้างถึง โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 39/2505 และโทรเลขของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ที่ 40/2505


สิ่งที่ส่งมาด้วยสำเนารูปถ่ายบันทึกแสดงความเห็นในชั้นต้นของศาสตราจารย์อัง รีโรแลง ตามโทรเลขของกระทรวงฯ ที่อ้างถึงข้างต้น ขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯส่งสำเนาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดี เขาพระวิหารให้ทนายของเราทุกคนและให้รายงานความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลงถ้าหากมีเกี่ยวกับคำพิพากษาฯ ให้กระทรวงฯ ทราบความแจ้งอยู่แล้ว นั้น

ขอเรียนว่า สำหรับเรื่องการส่งคำพิพากษาของศาลฯ ไปให้ทนายนั้นสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการแล้วโดยชั้นต้นได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาสตราจารย์โรแลง, เซอร์แฟรงค์ ซอสคิสและนายเจมส์ เนวิน ไฮด์ คนละ 1 เล่มเมื่อวันที่ 18 เดือนนี้ทั้งนี้เพราะคำพิพากษาที่ศาลฯ พิมพ์สำหรับใช้ชั้นแรกมีจำนวนจำกัดสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รีบติดต่อกับสำนักจ่าศาลฯขอคำพิพากษาเพิ่มเติมเพิ่งได้วันนี้อีก 3 ชุด และจะได้รีบจัดการส่งให้นายเจ.จี. เลอเคนส์, นายเดวิด ดาวส์น และนายมาร์เซล สลูสนีโดยด่วนที่สุดในวันนี้

สำหรับเรื่องต่อมาคือเรื่องความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลง เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลฯ นั้น ทันทีที่ได้รับโทรเลขกระทรวงฯข้าพเจ้าได้โทรศัพท์นัดหมายและได้เดินทางไปพบ ศาสตราจารย์โรแลง ณกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 20 เดือนนี้ศาสตราจารย์โรแลงได้ให้ความเห็นชั้นต้นโดยย่อดังปรากฏในสำเนาบันทึก ที่ได้แนบมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบ ณ ที่นี้เรื่องนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานให้กระทรวงฯ ทราบแล้วโดยทางโทรเลขที่อ้างถึงข้างต้นจึงขอเรียนมาเพื่อเป็นการยืนยันอีก ครั้งหนึ่ง
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้รายงานเพิ่มเติมด้วยว่าในระหว่างการสนทนาข้าพเจ้าได้ สอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลงในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

1.ความถูกต้องยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฯ
ข้าพเจ้าได้ถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่าโดยที่ในปัจจุบันมีผู้พิพากษา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอย่างน้อย 2 คนที่เป็นคนสัญชาติของประเทศคอมมิวนิสต์โดยแท้จริง คือ นาย ปี.วินิอาสกี้(โปแลนด์) ซึ่งเป็นประธานของศาลฯ และนาย วี. เอม.คอเรทสกี้ (สหภาพโซเวียต)ฉะนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลเหล่านี้จะเอนเอียงเข้าข้าง กัมพูชาทั้งนี้เพราะกัมพูชาอ้างว่าเป็นกลางแต่เป็นที่ทราบกันว่ามีความ ฝักใฝ่กับคอมมิวนิสต์มากส่วนประเทศไทยนั้นดำเนินนโยบายสนับสนุนประเทศฝ่ายตะวันตกอย่างชัดแจ้ง

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่าจากประสบการณ์ที่เคยว่าความในศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศมาช้านานมีความรู้สึกอยู่ประการหนึ่งว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็น องค์กรระหว่างประเทศที่คอมมิวนิสต์แผ่อิทธิพลเข้าไปได้ยากแห่งหนึ่งเพราะ เหตุผลประการแรกคือ ผู้พิพากษาจากประเทศคอมมิวนิสต์มีจำนวนน้อยและประการต่อมา ลักษณะงานของศาลฯ หนักไปในทางวิชาการอยู่มาก

อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า สำหรับคดีเขาพระวิหารนี้ผู้พิพากษาบางคน เช่น นายบาเดวังห์ (สัญชาติฝรั่งเศส) และนายคอเรทสกี้(สหภาพโซเวียต) อาจมีความเอนเอียงเข้าข้างกัมพูชาก็เป็นได้แต่ส่วนนายวินิอาสกี้ (โปแลนด์) นั้น เท่าที่รู้จักกันมาศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า จะเป็นคอมมิวนิสต์ในนามมากกว่าเพราะมีท่าทีเป็นคนโปแลนด์สมัยก่อน คอมมิวนิสต์อยู่มากเป็นนักกฎหมายและอายุมากแล้วเข้าใจว่าจะไม่สนใจกับลัทธิ คอมมิวนิสต์ในการปฏิบัติหน้าที่มากนัก

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งต่อไปว่าคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารได้เขียนขึ้นด้วยความระมัดระวังเป็น พิเศษอาจกล่าวได้ว่ามากกว่าคำพิพากษาคดีอื่นๆส่วนมากถ้อยคำที่เขียนไม่แสดง ให้เห็นร่องรอยของความลำเอียงหรือความไม่ยุติธรรมนอกจากนั้น ศาสตราจารย์โรแลงมีความเห็นว่าผู้พิพากษาบางคน อาทิ เช่นเซอร์เจอรัลล์ ฟิตสมอริซ (สัญชาติอังกฤษ) เป็นต้นมีท่าทีอยากจะช่วยประเทศไทยอยู่มาก แต่คงไม่อาจทำได้ดังจะเห็นได้จากความเห็นเอกเทศแนบท้ายคำพิพากษาในคดีนี้

2.การดำเนินการขั้นต่อไปในด้านคดีความ
ข้าพเจ้าได้สอบถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่าประเทศไทยจะควรดำเนินใน อย่างใดต่อไปในด้านคดีความกล่าวคือจะสมควรฟ้องร้องขอให้ศาลฯ พิจารณาเกี่ยวกับแนวเขตในส่วนอื่นๆในบริเวณเทือกเขาดงรักซึ่งยังไม่ชัดแจ้งในขณะนี้หรือไม่?หรือจะควรดำเนินการอย่างอื่นใด?

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่า สำหรับเรื่องเขาพระวิหารนั้นเป็นอันหมดปัญหาเพราะ ศาลฯ ได้วินิจฉัยแล้วแต่ก็เป็นการดีอย่างหนึ่งที่ผู้พิพากษาหลายคนเห็นว่า เอกสารแนบท้ายหมายเลข1ของกัมพูชาไม่สมบูรณ์ในขณะที่ทำซึ่งนับว่าผู้พิพากษา เหล่านี้เชื่อหลักฐานและข้อพิสูจน์ของฝ่ายไทยนอกจากนั้นในคำพิพากษาของศาลฯ ศาลฯก็มิได้วินิจฉัยให้ประโยชน์แก่ฝ่ายกัมพูชาตามข้อเสนอสุดท้ายของฝ่ายนั้น ในข้อ1 และ 2 สำหรับปัญหาเรื่องการจะฟ้องร้องขอให้ศาลฯวินิจฉัยแนวเส้นเขตแดนโดยทั่วไป นั้นคิดว่าถ้ารอดูให้เรื่องคลี่คลายอีกสักเล็กน้อย จึงค่อยพิจารณาจะเหมาะสมกว่า

ศาสตราจารย์โรแลงได้แจ้งด้วยว่า ขณะนี้กำลังศึกษคำพิพากษาอย่างละเอียดและจะได้ทำบันทึกความเห็นเป็นลาย ลักษณ์อักษรส่งมายังข้าพเจ้าโดยด่วนต่อไป


จึงขอเรียนรายงานมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบและพิจารณา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ลงพระนาม  วงษ์มหิป
(หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร)




2.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๑๕๗๖/ ๒๕๐๕      กระทรวงการต่างประเทศ
๒๗ มิถุนายน  ๒๕๐๕

เรื่อง การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 21136/2505 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2505


อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงข้างต้นกราบเรียนเรื่องบันทึก ความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง พร้อมด้วยคำแปลภาษาไทยและสำเนาหนังสือรายงานของเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น

บัดนี้กระทรวงการต่างประเทศขอประทานเสนอแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำ พิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหารเพื่อประกอบการพิจารณาของ ฯพณฯ ดังต่อไปนี้

1.ในคดีปราสาทพระวิหารกัมพูชาและประเทศไทยได้รับพันธะที่จะปฏิบัติตามคำ พิพากษาของศาลแต่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับวีธีปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลนั้นกฎบัตร สหประชาชาติก็ดี ธรรมนูญศาลและข้อบังคับของศาลก็ดีมิได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นเรื่องของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

ในคดีที่พิพาทเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาและชี้ขาดในส่วนที่จะต้องปฏิบัติไว้ว่าก.อำนาจอธิปไตย เหนือซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

ข.ให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจ คนเฝ้าหรือยามรักษาการที่ได้ส่งไปประจำ ณ ปราสาทพระวิหาร ออกจากปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นดินแดนของกัมพูชา

2.สำหรับ ข้อ ก. คำพิพากษามิได้กำหนดหน้าที่ให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติแต่มีหน้าที่จะต้องงด เว้นการปฏิบัติ กล่าวคือไทยจะไม่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณซากปราสาทพระวิหารซึ่งศาลได้พิพากษา ให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาซึ่งถ้าหากมีการกระทำเช่นนั้นกัมพูชาก็ อาจจะอ้างได้ว่าเป็นละเมิดต่ออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากปราสาทพระวิหาร

3.สำหรับ ข้อ ข. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจคนเฝ้าหรือยามรักษาการ จากซากปราสาทพระวิหารซึ่งในคำพิพากษาของศาลก็มิได้มีการห้ามมิให้ประเทศไทย มีกำลังทหารหรือตำรวจ อยู่นอกบริเวณซากพระวิหารซึ่งเป็นอาณาเขตของไทยแต่เรื่องที่ยากแก่การ ปฏิบัติก็คือคำพิพากษามิได้ชี้ขาดอย่างชัดแจ้งว่าซากพระวิหารมีอาณาเขตกว้าง ขวางเพียงใด ดังนั้นอาจจะมีปัญหาเรื่องการปักหลักเขตแดนใหม่ซึ่งตามคำพิพากษาของศาลก็มิ ได้ถือตามแผนที่ภาคผนวก แต่อาจถือตามสันปันน้ำเว้นแต่บริเวณซากปราสาทเท่านั้น

4.สำหรับ ข้อ ค. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องคืนวัตถุจำนวน 1 ชิ้นที่นักเรียนจากกรมศิลปากร ได้นำเอามาจากปราสาทพระวิหารวัตถุชิ้นนี้เป็นศิลามีคำจารึกที่อ่านไม่ออกแผ่นศิลาชิ้นนี้กัมพูชาอ้างว่าได้โยกย้ายมาจากปราสาทพระวิหารโดยอ้างหนังสือของกรมศิลปากรเป็นพยานหลักฐานในคดี

5.การปฏิบัติตาม ข้อ ข. นี้ ไทยอาจปฏิบัติได้เองในบางส่วนแต่การปักหลักเขตแดนเพื่อให้เป็นไปตามคำ พิพากษาเกี่ยวกับบริเวณพระวิหารนั้นน่าจะได้กระทำเมื่อกัมพูชาขอมา และด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

เรื่องนี้ ปรากฏในบันทึกความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง ฉบับลงวันที่ 21มิถุนายน 2505 ซึ่งให้ความเห็นว่าถ้ารัฐบาลไทย เห็นชอบและเห็นเป็นโอกาสอันควรศาสตราจารย์ โรแลงก็จะรับเป็นผู้ไปทาบทามนาย ปินโต และนาย เรอแตร์ ทนายความของกัมพูชาอย่างไม่เป็นทางการให้

6.ส่วนการปฏิบัติตาม ข้อ ค. นั้นจะต้องคืนให้แก่ผู้มีอำนาจรับมอบแทนรัฐบาลกัมพูชาและควรจะรอไว้ให้ กัมพูชาขอมาเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ที่มีอำนาจรับมอบ

ฉะนั้น จึงขอกราบเรียนมาเพื่อพิจารณา ณ ที่นี้
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย




3.ที่ กต. ๗๖๗๘/๒๕๐๕     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๕
เรื่อง ความเห็นของทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อ้างถึงหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 30613/2505 ลงวันที่ 21มิถุนายน 2505 และที่ สร. (0601) 20687/2505 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2505

ตามที่ได้รายงานความเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลง เซอร์ แฟรงก์ ซอสคิสและนาย เจ. จี. เลอเลนส์ทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใน คดีเขาพระวิหารไปเพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบ ความแจ้งอยู่แล้วนั้น
ได้นำเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบแล้วด้วยความขอบคุณ
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี


กองนิติธรรม


4.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๒๗๐๙๘/๒๕๐๕    กระทรวงการต่างประเทศ
๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
เรื่อง นำส่งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง

1. หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร.(020***) 21771/2505 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2505 และ
2. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ กต.7964/2505 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2505
สิ่งที่ส่งมาด้วย บันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2505 รวม 30 ชุด

อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงนำเสนอบันทึกข้อสังเกตเกี่ยว กับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 27มิถุนายน 2505 ไปเพื่อ ฯพณฯ พิจารณาและหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่อ้างถึงแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2505 อนุมัติให้พิมพ์บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวแล้วได้ นั้น

ขอกราบเรียนว่า ก่อนที่จะเปิดเผยบันทึกฉบับนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ให้นักกฎหมาย ของกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกดังกล่าวแล้วอีกครั้ง หนึ่งดังบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 16สิงหาคม 2505 ที่ขอประทานเสนอมาพร้อมกับหนังสือนี้ รวม 30 ชุด

ขอแสดงความนับถือ

(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


5.ส่วนตัว      สำนักงานทนายความ
เสนีย์ ปราโมช
๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๕

เรียน ท่านนายกรัฐมนตรี ที่นับถือ


ตามที่รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นเพื่อตรวจพิจารณาและทำคำติชมคำพิพากษา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหารนั้น กรรมการได้ตรวจพิจารณาทำคำวิจารณ์เสร็จแล้วผมจึงได้ส่งวิจารณ์ไปยัง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามทางการปัญหาที่กรรมการได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณามีว่า ถ้ารัฐบาลเห็นชอบด้วยกับวิจารณ์คำพิพากษาของกรรมการแล้วจะเป็นการสมควรหือ ไม่ที่รัฐบาลจะเผยแพร่วิจารณ์ออกไปในเวลานี้กรรมการได้เสนอเหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับข้อนี้มาในบันทึกประกอบวิจารณ์

ถ้ารัฐบาลเห็นว่า เป็นการสมควรที่จะเผยแพร่วิจารณ์พิพากษาในเวลานี้ผมมีความยินดีจะช่วยเผยแพร่ในทางแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษาและผู้สนใจในเรื่องนี้ทั่วไปเพราะตั้งแต่ได้ข่าวว่าศาลตัดสินให้ไทยแพ้คดีนักศึกษามหาวิทยาลัยรวมทั้งประชาชนผู้สนใจได้มารบเร้าให้ผมไปชี้แจงแสดงความจริงในเรื่องนี้เสนอมา

เมื่อได้อ่านวิจารณ์คำพิพากษาแล้ว จะปรากฏในตอนท้าย ว่ามีหลักวิชาการแผนที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเป็นส่วนสำคัญซึ่งกรรมการได้เรียน คำวิจารณ์ไปตามแนวความคิดเห็นของ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดาผู้เชี่ยวชาญที่ท่านนายกฯ ได้กรุณาอนุมัติให้มาช่วยงานนี้แต่เท่าที่ได้พยายามเขียนออกมาเป็นคำพูดจะ ฟังได้สนิทเพียงไรยังเป็นปัญหาอยู่วิจารณ์ส่วนนี้จะเร้าใจได้ดีเมื่อมีผู้ เชี่ยวชาญนำแผนที่มาแสดงให้ดูเช่นที่กล่าวถึงการปูเส้นกระด้างเป็นเส้นเขต แดนซึ่งจะทำให้เขตแดนเคลื่อนที่จากความจริงปั่นป่วนกันไปขนาดนั้น เมื่อพ.ท.พูนพล อาสนะจินดา นำแผนที่มาแสดงให้ดู กรรมการจึงเห็นความจริง

******วิชาได้อย่างชัดแจ้ง กรรมการจึงได้ปรารภกันว่าถ้ารัฐบาลเห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการเผยแพร่ วิจารณ์คำพิพากษาแล้วหากจะอนุมัติให้มีการแสดงทางโทรทัศน์โดยให้ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดานำแผนที่ไปแสดงให้เห็นเป็นจริงเป็นจังตามหลักวิชาการด้วย อาจได้ผลดีและเมื่อปรารภกันดังนี้แล้วกรรมการจึงได้มอบหมายให้ผมพิจารณาหา ทางเรียนมาให้ท่านนายกฯ ทราบ

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวิจารณ์คำพิพากษานี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้รัฐบาล แสดงความชอบธรรมของไทยและจะแสดงให้คนทั้งหลายได้ทราบว่าศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศตัดสินคดีนี้ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายตลอดจนความเป็นธรรม สมดังที่รัฐบาลได้วิจารณ์ไว้แต่เบื้องต้น

     ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
    
       (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช)

6.ที่ ๑๗๖๓๔/๒๕๐๕    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

๑๓ กันยายน ๒๕๐๕

เรื่อง บันทึกวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร
เรียน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประธานคณะกรรมการพิจารณาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีเขาพระวิหาร
อ้างถึง หนังสือที่ 368/2505 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505 และหนังสือลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505

ตามที่ได้ส่งบันทึกของคณะกรรมการฯเกี่ยวกับคำวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหารและขอเผยแพร่คำวิจารณ์ไปเพื่อพิจารณา นั้น
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาด่วน
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่11 กันยายน 2505 ลงมติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไว้ประกอบการพิจารณาเมื่อมีเรื่องที่จะต้อง ดำเนินการต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง