บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทความ 20 หน้า แสดงจุดยืนรัฐบาลประชาธิปัตย์ เปรียบเทียบกับ จุดยืนของพันธมิตรฯ 20 ข้อ

“นายกฯ” เผยแพร่บทความ 20 หน้า แสดงจุดยืนรัฐบาลประชาธิปัตย์ เปรียบเทียบกับ จุดยืนของพันธมิตรฯ 20 ข้อ ยืนยันทำถูกต้องที่ยึดมั่นดำเนินการตามเอ็มโอยู 43


เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ใช้ช่องทางเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva เผยแพร่บทความ โดยมีการโพสต์ข้อความหัวข้อ “เปรียบเทียบจุดยืนกรณีเขตเเดนไทยกัมพูชา” มีความยาว 20 หน้า เปรียบเทียบจุดยืนกรณีเขตแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างรัฐบาลประชาธิปัตย์ กับจุดยืนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รายละเอียดติดตามได้ที่เฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva

สรุปโดยย่อจุดยืนของรัฐบาลประชาธิปัตย์ 20 ข้อ ดังนี้

1.รัฐบาลใช้บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นกลไกในการเจรจา โดยแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระวางดงรัก ไม่ใช่ผลงานของคณะ กรรมการปักปัน ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ ไม่มีน้ำหนักทางกฎหมาย และไม่สามารถนำไปถ่ายทอดลงในภูมิประเทศจริงได้


2.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 กำหนดให้จัดทำภาพถ่ายทางอากาศ และสำรวจภูมิประเทศร่วมกัน เมื่อใช้เทคโนโลยีปัจจุบันแล้วจะพบว่า ภูมิประเทศจริงไม่ได้เป็นไปตามแผนที่ระวางดงรัก จะยืนยันว่าแผนที่ดังกล่าวนำมาใช้ไม่ได้


3.แนวสันปันน้ำมีคำจำกัดความทางวิชาการเป็นสากล มีกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง มิใช่เป็นการสำรวจ และหาแนวสันปันน้ำใหม่


4.การมีบันทึกความเข้าใจ ปี 43 เพื่อป้องกันไม่ให้กัมพูชานำเรื่องการตีความคดีเขาพร
ะวิหารขึ้นศาลโลกได้อีก


5.รัฐบาลได้ทำหนังสือถึงกัมพูชา จะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ระวางดงรัก


6.หากไม่มีบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต่างฝ่ายต่างจะยึดถือเส้นเขตแดนธรรมชาติที่ตนเองเข้าใจ ก็จะเกิดความขัดแย้งนำไปสู่การสู้รบกัมพูชาได้ละเมิดบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ข้อ 5 ไทยทำหนังสือประท้วงไปหลายครั้ง และกัมพูชายอมที่จะย้ายชุมชน และตลาดออก จากพื้นที่ดังกล่าว


7.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นกลไกทวิภาคี ในการแก้ไขข้อพิพาทด้านเขตแดนอย่างสันติวิธี ไม่จำเป็นต้องพึ่งสหประชาชาติ หรือศาล โลกเข้ามาร่วมแก้ไขข้อพิพาท


8.ไทยไม่เคยสละหลักสันปันน้ำ และไม่ยอมรับแผนบริหารจัดการมรดกโลกของกัมพูชา ทำให้การประชุมมรดกโลกเลื่อนไปเป็นมิถุนายนปีหน้า


9.กัมพูชาไม่สามารถเสนอพื้นที่กันชนต่อมรดกโลก ต้องรอเจรจากับไทยตามบันทึกความเข้าใจ ปี 43


10.นายสุวิทย์ (คุณกิตติ) ไม่มีอำนาจลงนามประนีประนอม เนื่องจากไม่ได้เป็นกรรมการมรดกโลก แต่ลงนามเพื่อรับรองว่ามติการประชุมเป็นที่พึงพอใจของไทย และเอกสารที่กัมพูชามอบไว้ในการประชุมครั้งที่ 34 ยังมิใช่เอกสารอ้างอิงที่จะใช้ในการประชุมครั้งที่ 35 ในปีหน้า เพราะกัมพูชายังละเมิดบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต้องทำเอกสารใหม่ และไทยสงวนสิทธิ์ขอพิจารณาในรายละเอียด และเอกสารของกัมพูชาที่แนบท้ายแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน กัมพูชาทำมาแจกนอกรอบไม่ใช่เอกสารการประชุม ไทยไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และได้ท้วงติงการที่ยูเนสโกให้เงินกัมพูชา 5 หมื่นเหรียญเพื่อซ่อมแซมตลาด และพื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการเจรจาตามบันทึกความเข้าใจ ปี 43 และไทยยืนยันจะคัดค้านการตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ ปราสาทพระวิหาร เพราะเข้าข่ายล่วงละเมิดอธิปไตยไทย


11.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นตัวยืนยันว่ายังมีข้อพิพาทเขตแดนอยู่ ต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน


12.การยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ปี 43 จะทำให้ต่างฝ่ายต่างยึดแนวทางที่ตัวเองเชื่อ จะนำไปสู่การเผชิญหน้ากัน


13.ผลการประชุมเจบีซีไม่มีผลเสีย เพราะบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ยึดตามลักสันปันน้ำ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชานำมาใช้ไม่ได้ ที่ไม่คัดค้านในที่ประชุมเพราะเป็นสิทธิของกัมพูชาจะเข้าใจตามที่ตัวเอง เชื่อ แต่ตามกรอบเจบีซีแผนที่ดังกล่าวใช้ไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจะปรับท่าทีในการประชุมครั้งต่อไป และไทยจะไม่มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว


14.การตั้งกรรมาธิการศึกษาเรื่องเจบีซี ไม่ได้เป็นการถ่วงเวลา แต่ตั้งตามที่พันธมิตรฯ เสนอ


15.การแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เป็นความผิดพลาดทางเทคนิค ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล


16.การที่ 79 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรอบเจบีซี เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการอ้างอิงของรัฐสภา


17.รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวไทยเข้าไป เยี่ยมชม ปราสาทพระวิหาร กัมพูชาออกข่าวแต่เพียงฝ่ายเดียว ไทยไม่ถอนทหาร กัมพูชายอมถอนชุมชนและตลาด ต้องเจรจาตามกรอบบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต่อไป จึงยังไม่สามารถทำแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้


18.การไม่ถอนตัวจากภาคีมรดกโลกทำให้ไทยมีช่องทางต่อสู้มาก ขึ้น คณะกรรมการมรดกโลกต้องฟังไทย และชะลอการพิจารณาแผนบริหารจัดการไปปีหน้า และไม่ได้ทำให้เวลาในการแก้ปัญหาเหลือน้อยลง เนื่องจากการประขุมคณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้เดือนมิถุนายน 2554


19.หากเห็นว่าการเป็นภาคีมรดกโลกไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป เราก็ทิ้งหมากตัวนี้ได้ แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังเราเท่านั้น และการถอนตัวในภายหลังก็ไม่ได้ส่งผลเสียหายใดๆ


20.รัฐบาลยืนยันว่าการทำให้มีสงครามหรือปะทะกันมิได้ช่วยแก้ปัญหา หลังจากยุติการปะทะกันก็ต้องหันเข้ามาเจรจากันอยู่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง