ผู้แทนฝายไทย
รับคำพิพากษาพระวิหาร2505 ไม่ละเอียด
เรื่องใหญ่"มาตการชั่วคราว"คาดสั่งใน1-2เดือน
เผยเขมร,ไทยต่างตั้งผู้พิพากษาสมทบเป็นฝรั่งเศส
นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์ ในฐานะผู้แทนไทยชี้แจงศาลโลก กรณีกัมพูชายื่นร้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
โดยเขาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เตรียมข้อมูลจะชี้แจงอธิบายต่อศาลโลก ต้องยอมรับอำนาจคดีเก่าที่กัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษา ซึ่งอยู่ในอำนาจคดีเดิม หากประเทศไทยไม่ไปชี้แจงข้อมูล ศาลโลกก็
จะตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลของกัมพูชาไปได้
ส่วนแนวทางการต่อสู้คดีขอยังไม่เปิดเผย เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามจะล่วงรู้
งปล่อยให้กัมพูชาทายไป เหมือนกับไทยประเมินท่าทีกัมพูชาเช่นกัน
นายวีระชัย กล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลก โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขอให้ตีความคำพิพากษาเพิ่มเติมกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีมาตรการชั่วคราว ในส่วนตีความเพิ่มเติมคำพิพากษานั้น เป็นส่วนต่อเนื่องจากคดีเดิม
"คง
พูดลำบากว่าใครจะแพ้หรือชนะ เพราะผลเมื่อปี 2505 ศาลไม่ได้เขียนละเอียด
โดยประเด็นที่ต้องดู คือ ศาลสั่งให้เราถอนทหารออกจากปราสาท
กว้างขวางขนาดไหน แต่ไทยได้ถอนทหารแล้ว
และเชื่อว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว"
นายวีระชัย กล่าวอีกว่า ในองค์คณะผู้พิพากษาประจำที่ศาลโลกมี
15 คน ประธานเป็นชาวญี่ปุ่น และเป็นอดีตนักการทูต
กัมพูชาและไทยตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นคนฝรั่งเศสข้างละ 1 คน รวมเป็น 17
คน ซึ่งศาลโลกได้
นัดให้ประเทศไทยเข้าให้ข้อมูลทางวาจา ในวันที่ 30-31 พฤษภาคมที่จะถึง
เป็นการพิจารณาออกมาตรการชั่วคราวเพียงอย่างเดียว
โดยจะดูว่าสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร
มีความจำเป็นเร่งด่วนในการออกมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนหรือไม่
ผู้
แทนฝ่ายไทยกล่าวด้วยว่า ขณะที่กัมพูชาต้องการให้เราถอนทหารออกไป
โดยยึดแผนที่ฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทยไม่ได้ยึดแผนที่นั้น และเราก็เห็นว่า
ไทยไม่ได้ล้ำแต่อย่างใด เมื่อกัมพูชาขอให้ไทยถอนออก แต่ไทยถอนออกไม่ได้
เพราะไทยยังเห็นว่า ตรงนั้นเป็นแผ่นดินไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม
มาตรการชั่วคราวคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นาน เชื่อว่าน่าจะ 1-2 เดือน
ส่วนการขอให้ศาลโลกตี
ความคำพิพากษาเพิ่มเติมนั้น ตนเห็นว่าน่าจะมีขึ้นในเดือน ก.พ. 2555
ส่วนที่จะมีการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา 5 คน ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารของศาล
ถ้าไม่เร่งให้เร็วในปีนี้เลย ก็คงต้องรอหลังเดือน ก.พ.
ส่วนการอุทธรณ์เมื่อตัดสินแล้วทำไม่ได้สำหรับศาลโลก ว่าอย่างไรก็อย่างนั้นเลย
"กลไก
ทวิภาคีเพื่อแก้ไขข้อพิพาทไทยกับกัมพูชา
และในกรอบของอาเซียนยังไม่ถึงทางตัน
ส่วนกลไกทวิภาคีจากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ให้เดินต่อไป
ส่วนทางอาเซียนก็ยังไม่ตัน เพียงแต่ว่าฝ่ายไทยตั้งเงื่อนไข
แต่ฝ่ายกัมพูชารับไม่ได้ เรื่องการขอตีความในศาลโลกเป็นสิทธิของกัมพูชาในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ มองว่าคงต้องเน้นสันติภาพเป็นหลัก ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ" นายวีระชัย กล่าวในที่สุด
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20110524/392246/ทูตวีระชัยเผยไทย,เขมรตั้งผู้พิพากษาศาลโลกสมทบคนฝรั่งเศส.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น