บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไทยแจงศาลโลกยันไม่ได้รุกรานกัมพูชาก่อน

Pic_175356 'ชวนนท์' เผยไทยแจงศาลโลก ไม่เคยรุกรานกัมพูชาก่อน ยัน การปะทะ ไม่เกี่ยวกับพระวิหาร เพราะเกิดที่ตาเมือนและตาควาย ระบุ รออีก 3 สัปดาห์ ศาลตัดสินออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนทหารหรือไม่...
เมื่อ เวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 30 พ.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ กล่าวในรายการ ข่าว 3 มิติ และ สถานีโทรทัศน์​ทีเอ็นเอ็น ถึงการให้การต่อศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันนี้ ว่า ไทยเริ่มชี้แจง เมื่อเวลา ประมาณ ​16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ประมาณ 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลักๆ ดูก่อนว่าศาลมีขอบเขตอำนาจในการที่จะพิจารณาเรื่องการออกมาตรการชั่วคราว หรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่ทำ เราได้ยืนยันว่า คำตัดสินเมื่อปี ค.ศ.1962 หรือ ปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยได้ปฏิบัติไปหมดสิ้น เราไม่มีข้อขัดแย้งกันในเรื่องคำตัดสิน เพราะฉะนั้น สิ่งที่กัมพูชามาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่มากกว่าคำตัดสินในอดีตหรือไม่
อัน ที่สอง เรื่องที่กัมพูชาอ้างว่ามีการปะทะ ไทยบุกรุกเข้าไปโดยจุดต่างๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับพระวิหารหรือไม่ อย่างไร จริงๆ แล้ว มีการอ้างถึงการปะทะ ที่ปราสาทตาเมือน  และ ตาควาย ซึ่งห่างจากพระวิหาร เราได้ชี้แจงกับผู้พิพากษาว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกัน และ ความเสียหายเกิดขึ้นกับไทยด้วย มีรูปถ่าย ที่โรงเรียนภูมิซรอล ซึ่งไม่ใช่พื้นที่พระวิหาร กัมพูชาใช้อาวุธเข้ามาในฝั่งไทยก่อน ยืนยันว่าเราไม่มีแนวคิดจะรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยเป็นประเทศผู้ให้ช่วยเหลือมากมาย หลังศาลตัดสิน 2505 ดังนั้น สิ่งที่กัมพูชากล่าวอ้างไม่เป็นความจริง
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า ศาลได้รับฟังข้อมูลต่างๆ ที่ทางที่ปรึกษา 3 ท่านให้ข้อมูลไป ซึ่งท่านหนึ่งให้ข้อมูลขอบเขตอำนาจของศาล อีกท่านเป็นเรื่องขอบเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ท่านที่สาม เรื่องการออกมาตรการชั่วคราว  เรายืนยันว่าได้ทำตามคำตัดสินของศาลอย่างครบถ้วน กัมพูชาไม่จำเป็นต้องเรียกร้องใดๆ นอกจากนั้น เรื่องการปะทะ ไม่ได้เกิดจากฝ่ายไทยเริ่มต้น และ จุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่พระวิหาร แต่เกิดบริเวณตาควาย ตาเมือน แต่สิ่งที่เรียกร้องวันนี้เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากคำตัดสิน ส่วนในช่วงเช้า นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้พูดเรื่องที่เราได้คาดเดาไว้อยู่แล้ว ที่มีการฟ้องร้อง ทางที่ปรึกษาได้มีเวลา 3 ชั่วโมง ในการนำคำร้องกลับไปทบทวน และเพิ่มคำชี้แจงในวันนี้ ซึ่งเป็นการตอบคำถามที่ชัดเจนค่อนข้างครบถ้วน

นาย ชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ท่าทีของศาลโลก ตนบอกไม่ได้ แต่เราคิดว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูด ข้อมูลที่เตรียมมาครบถ้วนสมบูรณ์ หวังว่าคำตัดสินจะเป็นประโยชน์ต่อไทย โดย ต้องรออีก3สัปดาห์ กว่าศาลจะตัดสินว่าจะออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังในพื้นที่ ปราสาทพระวิหารโดยทันทีตามที่กัมพูชาร้องขอหรือไม่ ส่วนเรื่องคำขอจะต้องรอการทำคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจากไทยอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ส่วน ในวันพรุ่งนี้ กัมพูชาจะมีเวลา 1 ชั่วโมง ในการสรุุปคำชี้แจง ในเวลา 10.00 น. และ  ไทยมีเวลา 1 ชั่วโมงเช่นกัน  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กัมพูชาขยายความการตัดสิน แต่กัมพูชา พยายามแอบอ้างให้ลามไปถึงแผนที่ เชื่อว่าเราจะได้รับความเข้าใจและคำตัดสินที่ดีของประเทศไทย
ขณะที่ ทวิตเตอร์ของกระทรวงการต่างประเทศtwitter.com/#!/mfathai_pr_th ได้รายงานว่า คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยเริ่มแถลงต่อศาลโลกกรณีกัมพูชาขอมาตรการชั่วคราวสืบ เนื่องกับคดีปราสาทพระวิหารแล้ว โดย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวเป็นคนแรก  ลำดับการกล่าวคำแถลงของคณะไทย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวภาพรวมก่อน ตามด้วยที่ปรึกษา กม. คือ ศ.เปลเล่ต์ ศ. ครอว์ฟอร์ด และ ศ. แม็คเรย์ ออท. ณ กรุงเฮก แจงไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2505 แม้ผลตัดสินจะเป็นที่ถกเถียง ไทยชี้กัมพูชารับการตีความเส้นขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารตามมติ ครม. 2505 ไม่เคยท้วง แต่เพิ่งเปลี่ยนท่าทีเพราะจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ไทย ชี้กัมพูชายอมรับด้วยว่าสองฝ่ายยังต้องเจรจากำหนดเส้นเขตแดนโดยลงนาม บันทึกความเข้าใจปี 2543 เพื่อจัดทำหลักเขตตลอดแนวรวมบริเวณปราสาทพระวิหาร ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยปรารถนาจะอยู่ร่วมกับกัมพูชาอย่างสันติ พยายามพัฒนาความสัมพันธ์และร่วมมือ ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา ออท. ณ กรุงเฮกชี้ไทยยึดแนวสันติ แก้ไขข้อพิพาทด้วยวิถีทางการทูต มีบทบาทร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพใน 21 ประเทศ รวมถึงในกัมพูชาเมื่อปี 2534-2536 ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มโจมตีกับกัมพูชาเมื่อ ก.พ. และ เม.ย.- พ.ค. แต่เป็นฝ่ายถูกโจมตี จนต้องใช้สิทธิตอบโต้เพื่อปกป้องอธิปไตย ไทยแจงกัมพูชาต้องการดินแดนที่จะใช้สำหรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกสมบูรณ์ ซึ่งรุกล้ำเข้ามาในฝั่งไทย
1. ศ.อลัง เปลเล่ต์ ที่ปรึกษากฎหมายของไทยชี้แจงเหตุที่คำขอตีความและคำขอมาตรการชั่วคราวของ กัมพูชาอยู่นอกเขตอำนาจของศาลโลก 2. ศ.เปลเล่ต์: ประเด็นให้ไทยถอนทหารและคืนโบราณวัตถุนั้นเป็นการผูกพันครั้งเดียวไทยได้ ดำเนินการแล้ว 3. ศ.เปลเล่ต์: ไทยไม่ได้โต้แย้งอธิปไตยของ กพช เหนือปราสาทฯ ไม่มีความเห็นต่างในเรื่องนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจตีความและออกมาตรการชั่วคราว 4. ศ.เปลเล่ต์: การตีความเหตุผลของคำพิพากษาทำได้เมื่อจำเป็นต่อคำตัดสินเท่านั้น การพยายามเปลี่ยน คำพิพากษาเป็นกำหนดเส้นเขตแดนจึงไม่ถูกต้อง 5. ศ.เปลเล่ต์:การตีความต้องไม่แก้ไขสิ่งที่ศาลพิพากษาแล้ว เรื่องเขตแดนเป็นเหตุผลประกอบการตัดสินได้หากจำเป็นเท่านั้น

1.ศ.ครอว์ฟอร์ด: ศาลไม่มีเขตอำนาจออกมาตรการชั่วคราวคดีนี้เพราะมิใช่เขต อำนาจที่จะพิจารณาว่าคู่ความปฏิบัติตามคำตัดสินแล้ว? ซึ่งเป็นเรื่องของ UNSC 2.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำพิพากษาในคดีปราสาทฯเกี่ยวข้องกับปราสาทฯ เท่านั้น ศาลปฏิเสธเมื่อ 2505 ว่าคดีพิพากษาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทฯ ไม่ใช่เขตแดน 3.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำขอมาตรการชั่วคราวอ้างความจำเป็นฉุกเฉินจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นห่างจากปราสาทฯและเกิดภายหลังคำพิพากษา 2505 ศาลจึงไม่มีเขตอำนาจ
1. ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์นำเสนอข้อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ศาลไม่ควรมีคำสั่งออกมาตรการชั่ว คราว 3 ประการ (ต่อ) 2. ศ.แม็คเรย์: ไทย-กพช ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีเดิม มาตรการชั่วคราวไม่มีความสมดุล เพราะสั่งให้ไทยดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว 3.ศ.แม็คเรย์:คำขอของกพช.ไม่เข้าเงื่อนไขเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน หลักฐานที่กพช.อ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อยู่นอกบริเวณที่ศาลโลกพิพากษาปี 2505 4. ศ.แม็คเรย์: การขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวเท่ากับให้ศาลตัดสินในเบื้องต้นเกี่ยวกับความ ถูกต้องของแผนที่ ซึ่งขัดกับแนวปฏิบัติของศาล


ไทยรัฐออนไลน์ 


ความเห็น วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
 
ลองอ่านบันทึกคำแถลงของทั้งฝ่ายกัมพูชาและไทยแล้ว ยอมรับว่ายกแรกฝ่ายไทยชกสนุกกว่า.

ทนายฝ่ายไทยท่านหนึ่งกล่าวว่า กัมพูชาขอให้ไทยถอนทหารออกไปตามคำพิพากษา ทั้งๆที่ในวันที่พิพากษา ทหารไทยเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ!

---
อ่านบันทึกกระบวนพิจารณาวันแรก (30 พ.ค.) ได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=3&k=89&case=151&code=ct2&p3=2

ข้อความสรุปโดยรัฐบาลไทย
http://twitter.com/#!/MFAThai_PR_TH
www.icj-cij.org
‎30/05/2011: Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) - Public hearings – request for the indication of provisional measures

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง