กต.แจงคำให้การไทยต่อศาลโลก
(1มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 08.30 น.กระทรวงการต่างประเทศ ทวิตข้อความ ผ่านเว็บไซต์ www.twitter.com ภายใต้ชื่อ @MFAThai_PR_TH เพื่อชี้แจงการเข้าให้ข้อมูลต่อศาลโลกของไทยว่า "วานนี้ 31 พ.ค. 17.00-18.00 น. เวลากรุงเฮก คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยชี้แจงศาลโลกตอบโต้คำขอกัมพูชาให้มีมาตรการชั่วคราว บริเวณปราสาทฯ เป็นวันที่สอง 1.ออท. วีรชัย (พลาศรัย) ย้ำท่าทีของไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไทยยอมรับและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีปราสาทฯ 2505 อย่างครบถ้วนแล้วซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ 2. ไทยย้ำศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและต้องเจรจาต่อไป โดยมีกลไกในกรอบทวิภาคีดำเนินการ 3. การขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกต้องมีพื้นที่บริหารจัดการอยู่ในไทย การที่ กพช. ปฏิเสธขึ้นทะเบียนร่วมเป็นที่มาของการยื่นคำร้องต่อศาลของ กพช."
"4.ออท. ณ กรุงเฮกยืนยันไทยจริงใจในการดำเนิน คสพ.กับกัมพูชาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ไม่ได้เป็นการรังแกโดยประเทศใหญ่ตามที่กัมพูชาพยายามสร้างภาพ 5.ไทยไม่ประสงค์ให้ปราสาทพระวิหารเสีย หาย แต่การใช้กำลังเป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง ย้ำกพช.ใช้ปราสาทเป็นฐานโจมตีไทย ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮกปี 1954 6. ออท. ณ กรุงเฮกตอบโต้กัมพูชาว่าไทยเป็นประชาธิปไตย การเมืองภายในของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลัง พิจารณา 7. ไทยชี้ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่งอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง"
"8. ไทยย้ำความขัดแย้งเสี่ยงจะทวีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็น ฝ่ายเริ่มโจมตีและขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทฯ ไปยังพื้นที่อื่น 9. ออท. ณ กรุงเฮก เน้นการที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่นไม่เป็นเหตุให้ศาลต้อง พิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร10. ไทยไม่ได้ปิดประตูต่อบทบาทสนับสนุนของฝ่ายที่สามในการแก้ไขปัญหา โดยได้ให้ข้อมูลแก่คณะมนตรีความมั่นคงฯ และร่วมประชุมแข็งขันในกรอบอาเซียน 11.ออท. ณ กรุงเฮก ชี้ไทยกับกัมพูชาไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับคำพิพากษา2505 คำขอตีความของกัมพูชาเป็นการขอให้ศาลตัดสินประเด็นที่ไม่ได้ตัดสินไว้ เดิม12. ออท. ณ กรุงเฮก กล่าวสรุปคำขอของไทยต่อศาลโลก คือ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ (จบ)"
กษิตทวงบุญคุณเขมรที่ไทยหนุนเอกราช
คมชัดลึก : "กษิต"
เปิดโต๊ะแถลงหลังกลับจากชี้แจงศาลโลก
ยันไทยไม่ใช่ประเทศใหญ่รังแกประเทศเล็ก
ทวงบุญคุณเป็นประเทศแรกที่รับรองเอกราชให้ แถมยังหนุนให้ร่วมอาเซียน
(2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่่างประเทศ แถลงข่าวภายหลังการเดินทางกลับจากกรุงเฮกแประเทศเนเธอร์แลนด์ว่าเพื่อชี้แจงต่อศาลโลกกรณี ที่กัมพูชาร้องขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเสวณพื้นที่ปราสาทพระ วิหาร ว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทยที่ไปในครั้งนี้มีแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญด้าน กฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ กองทัพบก ซึ่งเราได้ประเมินเป้าประสงค์ของกัมพูชาว่า ต้องการใช้อำนาจศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระหาร ซึ่ง รวมถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร นั่นหมายถึงว่า พื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และเป็นการเปิดทางให้กัมพูชาอ้างต่อกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกว่าบัดนี้ พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้ตกเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้นแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารก็จะดำเนินการต่อไปได้
นายกษิต กล่าวต่อว่าในการให้การโต้แย้งในศาล เรายืนยันชัดเจนว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 แล้ว โดยเราได้ยกปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาและถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งทำแนวรั้ว ซึ่งเท่ากับว่าเราบอกต่อประชาคนโลกและกัมพูชาว่าส่วนที่เหลือเป็นของประเทศ ไทย ฉะนั้นการที่ศาลจะพูดอะไรโดยใช้แผนที่ 1:200,000 ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีก
"หากมีการพิจารณาและยกดินแดนให้กับกัมพูชาในครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการใช้ประตูหลัง" นายกษิตกล่าว
นายกษิตกล่าวต่อว่า ไทยเห็นว่าไม่มีความเร่งด่วนและมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ไม่อยู่ในภาวะที่ จะแก้ปัญหาต่างๆได้ เนื่องจากเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย ที่อยู่ห่างปราสาทพระวิหารราว 50 กิโลเมตร อีกทั้งประเด็นความขัดแย้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร ดังนั้นจะเอาเรื่องปราสาทตาเมือนกับตาควายมาเกี่ยวโยงกับปราสาทพระวิหารจึง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ยืนยันว่ากลไกทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนสามารถเดิน หน้าต่อไปได้ อีกทั้งขณะนี้ก็ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เตรียมกำหนดการประชุม จีบีซีที่ จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ
นายกษิต กล่าวถึงการดำเนินการตามแพ็คเกจเพื่อส่งคณะผู้สังเกตุการณ์ชาวอินโดนีเซียลง พื้นที่ว่า ทางไทยก็มีความพร้อม ดังนั้นการที่กัมพูชากล่าวหาว่ากลไกต่างๆชะงักงันก็ไม่เป็นความจริง พร้อมกันนั้นไทยขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าไม่ได้เป็นประเทศใหญ่ที่รังแกกัมพูชา แต่ตลอดเวลาเราได้ช่วยเหลือกัมพูชา และไทย เป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองกัมพูชาจาการได้รับเอกราชจากฝรั่งเศศ และยังสนับสนุนให้กัมพูชาเข้ามามีส่วนในกลุ่มความร่วมมืออาเซียน
นายกษิตกล่าวต่อว่า ภายหลังจากการชี้แจงเสร็จสิ้นผู้พิพากษาชาวบราซิลก็ได้ถามถึงข้อมูลจาก เหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนว่ามีชาวบ้านพักอาศัยเท่าไหร่และมีผู้อพยพออกจาก พื้นที่และมีความเสียหายเท่าไหร่ ต่อมา ประธานศาลโลกที่เป็นชาวญี่ปุ่นก็ได้แจ้งว่าขอให้ทั้งสองฝั่งจัดทำเอกสารข้อมูล ส่งให้ศาลโลกภาย ใน 7 มิ.ย. ซึ่งศาลก็จะมอบึคำชี้แจงของแต่ละประเทศให้อีกฝั่งเพื่อทำข้อมูลแย้งและส่ง คืนในวันที่ 14 มิ.ย. จากนั้น 3 สัปดาห์ก็จะมีคำตัดสินว่าจะรับหรือไม่รับการขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่ว คราว ซึ่งหากรับก็ต้องมาดูว่ามาตรการจะมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามไทยก็มีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับคำตัดสินของศ่าลก็ได้ เพราะศาลโลกไม่มีหน้าที่บังคับแต่ หากมีคำตัดสิน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC จะเป็นผู้บังคับให้ใช้อำนาจนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า พอใจในการชี้แจงต่อศาลหรือไม่นายกษิตกล่าวว่า เราได้เตรียมการมาเกือบ 2 ปี อย่างไรก็ตามเราก็ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปเพื่อที่จะมาสนับสนุนข้อโต้แย้งกรณี ที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมในปี 2505 ซึ่งต้องส่งให้ศาลภายในเดือน ก.ย. จากนั้นศาลจะใช้เวลา 4 - 5 เดือนในการพิจารณา
(2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่่างประเทศ แถลงข่าวภายหลังการเดินทางกลับจากกรุงเฮกแประเทศเนเธอร์แลนด์ว่าเพื่อชี้แจงต่อศาลโลกกรณี ที่กัมพูชาร้องขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเสวณพื้นที่ปราสาทพระ วิหาร ว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทยที่ไปในครั้งนี้มีแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญด้าน กฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ กองทัพบก ซึ่งเราได้ประเมินเป้าประสงค์ของกัมพูชาว่า ต้องการใช้อำนาจศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระหาร ซึ่ง รวมถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร นั่นหมายถึงว่า พื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และเป็นการเปิดทางให้กัมพูชาอ้างต่อกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกว่าบัดนี้ พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้ตกเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้นแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารก็จะดำเนินการต่อไปได้
นายกษิต กล่าวต่อว่าในการให้การโต้แย้งในศาล เรายืนยันชัดเจนว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 แล้ว โดยเราได้ยกปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาและถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งทำแนวรั้ว ซึ่งเท่ากับว่าเราบอกต่อประชาคนโลกและกัมพูชาว่าส่วนที่เหลือเป็นของประเทศ ไทย ฉะนั้นการที่ศาลจะพูดอะไรโดยใช้แผนที่ 1:200,000 ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีก
"หากมีการพิจารณาและยกดินแดนให้กับกัมพูชาในครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการใช้ประตูหลัง" นายกษิตกล่าว
นายกษิตกล่าวต่อว่า ไทยเห็นว่าไม่มีความเร่งด่วนและมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ไม่อยู่ในภาวะที่ จะแก้ปัญหาต่างๆได้ เนื่องจากเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย ที่อยู่ห่างปราสาทพระวิหารราว 50 กิโลเมตร อีกทั้งประเด็นความขัดแย้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร ดังนั้นจะเอาเรื่องปราสาทตาเมือนกับตาควายมาเกี่ยวโยงกับปราสาทพระวิหารจึง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ยืนยันว่ากลไกทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนสามารถเดิน หน้าต่อไปได้ อีกทั้งขณะนี้ก็ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เตรียมกำหนดการประชุม จีบีซีที่ จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ
นายกษิต กล่าวถึงการดำเนินการตามแพ็คเกจเพื่อส่งคณะผู้สังเกตุการณ์ชาวอินโดนีเซียลง พื้นที่ว่า ทางไทยก็มีความพร้อม ดังนั้นการที่กัมพูชากล่าวหาว่ากลไกต่างๆชะงักงันก็ไม่เป็นความจริง พร้อมกันนั้นไทยขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าไม่ได้เป็นประเทศใหญ่ที่รังแกกัมพูชา แต่ตลอดเวลาเราได้ช่วยเหลือกัมพูชา และไทย เป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองกัมพูชาจาการได้รับเอกราชจากฝรั่งเศศ และยังสนับสนุนให้กัมพูชาเข้ามามีส่วนในกลุ่มความร่วมมืออาเซียน
นายกษิตกล่าวต่อว่า ภายหลังจากการชี้แจงเสร็จสิ้นผู้พิพากษาชาวบราซิลก็ได้ถามถึงข้อมูลจาก เหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนว่ามีชาวบ้านพักอาศัยเท่าไหร่และมีผู้อพยพออกจาก พื้นที่และมีความเสียหายเท่าไหร่ ต่อมา ประธานศาลโลกที่เป็นชาวญี่ปุ่นก็ได้แจ้งว่าขอให้ทั้งสองฝั่งจัดทำเอกสารข้อมูล ส่งให้ศาลโลกภาย ใน 7 มิ.ย. ซึ่งศาลก็จะมอบึคำชี้แจงของแต่ละประเทศให้อีกฝั่งเพื่อทำข้อมูลแย้งและส่ง คืนในวันที่ 14 มิ.ย. จากนั้น 3 สัปดาห์ก็จะมีคำตัดสินว่าจะรับหรือไม่รับการขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่ว คราว ซึ่งหากรับก็ต้องมาดูว่ามาตรการจะมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามไทยก็มีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับคำตัดสินของศ่าลก็ได้ เพราะศาลโลกไม่มีหน้าที่บังคับแต่ หากมีคำตัดสิน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC จะเป็นผู้บังคับให้ใช้อำนาจนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า พอใจในการชี้แจงต่อศาลหรือไม่นายกษิตกล่าวว่า เราได้เตรียมการมาเกือบ 2 ปี อย่างไรก็ตามเราก็ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปเพื่อที่จะมาสนับสนุนข้อโต้แย้งกรณี ที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมในปี 2505 ซึ่งต้องส่งให้ศาลภายในเดือน ก.ย. จากนั้นศาลจะใช้เวลา 4 - 5 เดือนในการพิจารณา
คมชัดลึก :"ฮอร์ นัมฮง"โวได้เปรียบไทยหลายขุมในการสู้คดีที่ศาลโลก ลั่นเขมรไม่เสียหายไม่ว่าคำตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานในวันนี้ (2มิ.ย.) ว่า นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาให้สัมภาษณ์หลังเดินทางกลับถึงสนามบินใน กรุงพนมเปญจากการนำทีมไปเบิกความในคดีที่ยื่นต่อศาลโลกเป็น เวลาสองวันว่า กัมพูชามีความได้เปรียบมากกว่าฝ่ายไทย เนื่องจากมีเอกสารและแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ สนับสนุนการสู้คดีปราสาทพระวิหารในครั้งนี้ แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะผู้พิพากษา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ณ นครเฮก ของเนเธอร์แลนด์ ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาและไทยเข้าชี้แจงเมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคมกรณีกัมพูชาร้องขอให้ศาลให้ความคุ้มครองพื้นที่เขาพระวิหาร และออกคำสั่งให้ไทยถอนทหารในพื้นที่พิพาท และตีความคำตัดสินเมื่อปี 2505 ใหม่ และหลังจากสองฝ่ายเบิกความเสร็จสิ้นแล้ว อาจจะมีคำตัดสินในอีก 40-45 วันข้างหน้า
นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวด้วยว่า ไม่ว่าคำตัดสินของศาลโลกจะออกมาอย่างไร กัมพูชาก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องไปเอง และปราสาทพระวิหารก็ยังคงเป็นของกัมพูชาอยู่ดี
ก่อนหน้านี้ศาลโลกเคยตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา แต่ไทยยืนยันอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่โดยรอบ 4.6 ตารางกิโลเมตร
เผยไทยมีสิทธิ์รับ-ไม่รับคำตัดสินศาลโลก
(2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีหากศาลโลกมีคำสั่งออกมาทางใดทางหนึ่งออกมา ว่า ศาลโลกจะ ตัดสินเรื่องคำขอของกัมพูชาที่จะให้ศาลออกมาตรการชั่วคราวว่าจะรับหรือไม่ รับ และถ้ารับจะมีคำสั่งมากน้อยแค่ไหนอย่างไร แต่ก็ไม่แน่ว่าศาลอาจมีคำพิพากษาก่อนก็เป็นได้ เพราะได้มีการส่งเอกสารและข้อมูลประกอบต่างๆไปให้ศาลพิจารณาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ดีทั้งหมดเป็นเพียงการคาดเดา
"เรื่องนี้ต้องปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาล โดยจะมีการแจ้งวันผ่านตัวแทนรัฐบาลไทยเพื่อให้ส่งทีมไปนั่งฟังคำตัดสิน ซึ่งหากเป็นภายในปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคมผมจะเดินทางไปด้วยตัวเอง"นายกษิตกล่าวและว่า
หากไทยไม่ปฎิบัติตามคำตัดสิน เรื่องทั้งหมดจะไม่กลับมาที่ศาลโลก เพราะศาลไม่มีอำนาจบังคับ แต่เรื่องการบังคับให้เป็นไปตามมติของศาลโลกเป็น อำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของประชาคมโลก ในหลักการเราต้องรับผลบังคับในฐานะของสมาชิกที่ดีของยูเอ็น และถ้าเราไม่ทำก็ต้องไปยูเอ็นเอสซี
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความมั่นใจแค่ไหนหลังการชี้แจง และคาดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า เรื่องนี้เหมือนทีมฟุตบอล อยู่ที่การฝึกซ้อมก่อนลงแข่ง เราเตรียมการล่วงหน้ามา 2 ปี ทำงานกับทีมทนายที่ปรึกษามาตลอด มีการค้นคว้าเอกสารจากหอจดหมายเหตุในประเทศต่างๆเพื่อป้อนเป็นข้อมูลเป็นพัน เป็นหมื่นฉบับ และยังจะทำต่อไปอย่างไม่ลดละ จากถ้อยแถลงของทั้ง 4 ท่านได้ขึ้นกล่าวต่อศาล ได้มีการแบ่งงานออกมาอย่างดี มีความสอดคล้องและตอบรับกัน เชื่อว่าสิ่งที่ได้พูดตอบทุกประเด็นปัญหาที่ฝ่ายกัมพูชายกขึ้น ด้วยเหตุด้วยผลทางกฎหมาย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เราเจอ แต่ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินว่าสำเร็จหรือไม่ เป็นหน้าที่ของสื่อและนักวิชาการ แต่จากที่อ่านผ่านสื่อคิดว่าเราได้รับการตอบรับในทางบวก
นายกษิต กล่าวยืนยันด้วยว่า การไปขึ้นศาลโลกไม่ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการส่งคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามายังชายแดน ไทย-กัมพูชา เพราะเรื่องดังกล่าวก็มีความคืบหน้าไปตามขั้นตอนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะถูกเรื่องอื่นกลบไป ไทยพร้อมและรอให้อินโดนีเซียส่งคณะเข้ามาสำรวจพื้นที่พร้อมกับรอให้กัมพูชา ตอบรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป(จีบีซี)อยู่ ขณะนี้ภาระไม่ได้อยู่ที่ประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น