บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทีมสู้คดีปราสาทพระวิหารเตรียมให้การทางวาจาต่อศาลโลก


โดย Annie Handicraft



ใน เวลาประมาณ 21.00 น.วันนี้ ตามเวลาประเทศไทย นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ จะนำคณะทนายความของไทยเดินทางไปชี้แจงกับ ICJ หรือ ศาลโลก เพื่อต่อสู้คดี หลังรัฐบาลกัมพูชาทำเรื่องร้องเรียนไปยังศาลโลกเมื่อปลายเดือนเมษายน ให้มีการตีความคำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี 2505 ที่ตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา ...... แต่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา บริเวณรอบข้างตัวปราสาท .นอกจากข้อร้องเรียนในเรื่องการตีความ กัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่....... ศาลโลกจึงนัดฟังคำชี้แจงจากฝ่ายไทยและกัมพูชาในวันพรุ่งนี้

นาย วีรชัย กล่าวว่า การเข้าชี้แจงกับศาลโลกวันพรุ่งนี้ จัดขึ้นที่บริเวณอาคารปราสาทสันติภาพ ภายในศาลโลก โดยจะเป็นการชี้แจงเพื่อต่อสู้ต่อคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราว ส่วนวันอังคารจะเป็นการไต่สวน

ขณะที่การกล่าวสรุปจากฝ่ายไทยจะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น.ที่กรุงเฮก ซึ่งตรงกับเวลา 22.00 น.ของวันอังคาร ตามเวลาประเทศไทย

นอกจากนายวีรชัย ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทนายความฝ่ายไทยแล้ว รัฐบาลไทยได้จ้างทนายความต่างชาติจากฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย ช่วยว่าความในคดีนี้ด้วย โดยศาลโลกได้นัดตัวแทนฝ่ายกัมพูชาเข้าให้คำชี้แจงเป็นปากแรกในเวลา 10.00 น.วันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับเวลา 15.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย

จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065577
....................................................................

คำแย้งคำฟ้องกัมพูชา (ไม่ใช่จากรบ.):
- เรื่องความไม่ชัดเจนในเรื่องพื้นที่ตามที่กพช.อ้าง
1 จากรูปหลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง

ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
จากวิถีพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%

2. จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปีพศ.๒๕๐๕ วินิจฉัยคดีนี้แค่เรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรือไทยเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.

ศาลจึงวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ดังนั้นไทยจึงต้องถอนกำลังออกจากปราสาทฯ หรือบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯบนอาณาเขตของกัมพูชา. ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย

3 ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล
ศาลโลกจะพิจารณาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน

4 คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
คำ ว่า “บริเวณใกล้เคียง” (Vicinity) สามารถตีความเทียบเคียงได้กับ “precincts” หรือ “Temple area” ซึ่งย่อมส่งผลให้คำพิพากษาจำกัดพื้นที่ของกัมพูชาว่าได้แก่บริเวณที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวปราสาทฯเท่านั้น

Annie: จากความเห็นของ ศจ.ดร.สมปอง สุจริตกุล, คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ พร้อมหลักฐานประกอบคือ คำตัดสินของศาลโลก และหลักฐานบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้างนั้น หลังจากไทยส่งบันทึกต่อศาลโลกแล้ว เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่เคยปรากฏว่ากัมพูชามีการคัดค้านบันทึกนี้แต่อย่างใด

จากสิ่งที่นำมากล่าวอ้างนี้ทั้งหมด ย่อมเป็นที่ปรากฎชัดว่า ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 นั้นสมบูรณ์แล้ว และนับตั้งแต่เวลานั้นจนมาถึงปัจจุบัน ไทยยึดเอาตามความหมายอย่างแคบคือตัวประสาทจริงๆและได้มีการสร้างรั้วล้อม แต่สิ่งที่เขมรต้องการคือตัวประสาทในความหมายอย่างกว้างคือรวมทางขึ้นและพท. 4.6ตร.กม.

ซึ่งถ้ารัฐบาลยอมรับอำนาจ ICJ ผลอย่างแรก คือ เรายอมสละสิทธิ์ที่ไทยเคยสงวนไว้เมื่อปีพศ. 2505 และยอมให้ICJ เข้ามาพิจารณาตีความซึ่งสุ่มเสี่ยงมาก

- เรื่องกัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่
ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล: ศาลโลกไม่มีอำนาจ ศาลโลกอาจจะสั่งได้แต่ว่าไม่มีใครเขาทำตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง