บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กต."พร้อมสู้"ศึกศาลโลก"ไทย-เขมร"


คมชัดลึก : เตรียมการมาเป็นปีแล้ว สำหรับกรณีการที่กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา เมื่อปี 2505 เป็นกระบวนการซึ่งได้เริ่มแล้ว เป็นสิทธิของกัมพูชาที่จะยื่นได้ เพียงแต่ไทยไม่รู้ว่ากัมพูชาจะใช้สิทธิเมื่อไร หากยื่นคำร้องแล้ว ประเด็นที่อยากให้ประชาชนเข้าใจชัดเจนคือ คำร้องของกัมพูชามี 2 คำร้อง


 คำร้องแรก คือขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราว
 คำร้องที่สอง คือขอให้ศาลโลกตีความในเรื่องคำตัดสิน โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุเขตบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหาร ขอให้ทหารไทย ตำรวจไทย และเจ้าหน้าที่ไทย ถอนกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทและพื้นที่ข้างเคียง
  ในประเด็นนี้กัมพูชาขอให้ศาลโลกตัดสินตามระเบียบของศาลโลก คู่กรณีสามารถที่จะร้องขอได้ ในส่วนของไทย ในฐานะที่ป็นคู่กรณีของคดีนี้ ได้เข้าไปร่วมเพื่อจะให้ข้อมูลในส่วนของไทยให้ทางศาลโลกได้พิจารณาด้วย เพื่อศาลจะไม่ได้ฟังความข้างเดียว
 ในส่วนของอาเซียน ใน 4 ปีข้างหน้า อาเซียนกำหนดให้ 10 ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเป็นชุมชนเดียว ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นหนึ่งในบททดสอบที่สำคัญว่า สมาชิกในกลุ่มอาเซียนจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว ได้หรือไม่ เมื่อรวมตัวกันอยู่ในกรอบของอาเซียน ความเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนที่มีผลประโยชน์ต่างๆ ร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ในที่สุด คิดว่าจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี
 เมื่อพิจารณาคำร้องของกัมพูชา ที่ยื่นต่อศาลโลกครั้งนี้ ในส่วนของคำร้อง กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความว่า พื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารนั้นเป็นของใคร ทหารไทยต้องถอนหรือไม่ ถ้าศาลตัดสินออกมาอย่างไร ไทยก็ต้องเคารพ หากมีการชี้พื้นที่ ในที่สุดศาลอาจจะไม่ได้ชี้ก็ได้ กัมพูชาต้องการให้มีความชัดเจนว่านอกจากตัวปราสาทพระวิหารแล้ว พื้นที่ข้างเคียว เนื่องจากไทยและเขมรมีการใช้แผนที่คนละฉบับ พื้นที่ที่ไทยถืออยู่ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นของไทย ทางกัมพูชาก็ถือว่าเป็นของกัมพูชา
 คำร้องนี้ อยู่ในรอบ 4.6 ไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมดของ 4.6 ด้วยซ้ำไป การที่จะเสนอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ตามกฎหมายแล้ว ต้องทำภายใน 10 ปี ตั้งแต่เมื่อมีคำตัดสินออกมา หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหลักฐานใหม่ เป็นหลักฐานซึ่งมีความสำคัญ มีผลต่อคำตัดสินใจ แต่เลยเวลาไปแล้ว ในกรณีนี้ไม่ใช่การร้องใหม่ เป็นเรื่องของการให้ตีความคำตัดสินเดิมให้มีความชัดเจนขึ้น ในกรณีนี้ดูว่าพื้นที่ที่ศาลจะชี้มีแค่ไหนอย่างไร ศาลอาจจะพิจารณาคำร้องของเขมร นอกเหนือจากคำตัดสิน และศาลอาจจะไม่พิจารณาเพิ่มเติมก็ได้
 ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชานี้  ในที่สุดแล้วปัญหาต่างๆ จะจบอย่างถาวรด้วยการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ไม่ใช่ที่ศาลโลก
 นโยบายไทยมีความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งต้องพิจารณาดูปัจจัยของฝ่ายกัมพูชา ไม่ว่าการเมือง ผลประโยชน์ ต้องการจะรื้อฟื้นขึ้นมาในกรณีนี้เพื่ออะไร อย่างไร สิทธิในการปกป้อง แต่ไทยไม่เป็นฝ่ายรุก ตามนโยบายต่างประเทศ ได้พยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ความเกี่ยวโยงวัฒนธรรม ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นเรื่องของผู้นำในเมืองหลวง ไม่ใช่ประชาชนกัมพูชา
 ประชาชนทั้งสองฝั่งที่อยู่ชายแดนนั้น มีความสัมพันธ์กันดี ค้าขายกัน แลกเปลี่ยนสินค้ากัน แต่พื้นที่กัมพูชา ประชาชนไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรเลย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับส่วนกลาง อยากให้เข้าใจว่า ทุกอย่างที่ทำ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างเต็มที่ อยากให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ต้องมีความคิด แนวทาง ไปในทางสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การที่จะทะเลาะเบาะแว้งในเรื่องปัญหาภายในประเทศ ตามสังคมประชาธิปไตยก็ดำเนินไป
  ในช่วงที่มีกรณีอยู่ที่ศาลโลก โดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เป้าหมายในที่สุดของประเทศไทยต้องปรับความสัมพันธ์ให้ได้ จะเห็นว่า ไทยเปิดทุกประตู ปัญหาชายแดน ปัญหาเขตแดนเป็นปัญหาต่างหาก จะไม่เอามากระทบความสัมพันธ์ในมิติอื่นๆ คนไทยในกัมพูชาก็ยังอยู่ ให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
 ส่วนเรื่องมรดกโลกนั้น ท่าทีโดยพื้นฐาน กระทรวงต่างประเทศไทย ขอให้ระงับการพิจารณาใดๆ ที่จะพัฒนาพื้นที่ในเขตใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหารไว้ก่อน ควรจะรอให้ประเด็นในเรื่องปัญหาเขตแดนให้บรรลุ หาทางออกโดยสันติวิธี หากยังดำเนินการต่อไป อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ขณะนี้รุนแรงมากขึ้นก็ได้
 ในที่ประชุมมรดกโลกนั้น  กัมพูชาได้รับการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่มีปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงถึงกับปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ ด้วยกำลังทหารนั้น คือพื้นที่ขัดแย้งรอบๆ ปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังตกลงกันไม่ได้ คงต้องรอให้ศาลโลกตัดสินก่อน เพราะสองฝ่ายถือแผนที่คนละฉบับ
 ประเด็นความขัดแย้งของสองฝ่ายอยู่ที่กัมพูชาต้องเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ รอบๆ 4.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนฝ่ายไทยก็ยังอ้างสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ด้วย
 หากพื้นที่นี้ไม่สามารถตกลงกันได้ การรบก็ยังมีวันปะทุอีก
เจษฎา กตเวทิน
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง