บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์ 'JBC 3 ฉบับ': ไทยมัดตัวเอง เสี่ยง ! เสียดินแดน

วิเคราะห์ 'JBC 3 ฉบับ': ไทยมัดตัวเอง เสี่ยง ! เสียดินแดน
บทวิเคราะห์ ชี้กฎหมายไทย 3 ฉบับ กรณีปราสาทพระวิหารและดินแดน บังคับห้ามแต่คนไทย ไม่เคยใช้กับคนเขมรที่รุกล้ำ
วิเคราะห์ บันทึกการประชุมเจบีซี เทพมนตรี ลิมปพยอม และคณะ ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายหนังสือยื่น นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ ดังนี้

๑.บันทึกการประชุมJBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราษฎ์ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๓.บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒

๑. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราษฎร์ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ บันทึกการประชุมฉบับนี้มีข้อน่าสังเกตว่า การดำเนินการของ JBC พยายามจะไปรองรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ซึ่งภายหลังจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒ สัปดาห์ และการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยมีคำสั่งให้ชุดสำรวจร่วม JST ระงับภารกิจประจำทันทีแล้วย้ายไปยังพื้นที่ตอนที่ ๖ ซึ่งอยู่อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและเป็นพื้นที่เป้าหมายของกัมพูชาในการที่นำไปจะผนวกเพื่อให้การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทมีความสมบูรณ์สอดรับกับมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ และต่อมาครั้งที่ ๓๒ และ ๓๓ รวมทั้งยังได้พิจารณาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับแรก (หน้าที่ ๒๑) ที่ต่อมามีพัฒนาการมาอีก ๒ ครั้งตามบันทึกการประชุม นอกจากนี้ ยังมี คำปราศรัย (หน้า ๒๕) โดย ฯพณฯนายวศิน ธีรเวชญาณ ซึ่งมีข้อน่าสังเกตดังนี้ การปราศรัยของนายวศินได้ทำการเสนอแผนการทำงานของ JBC ในสองประเด็นประเด็นแรก ได้ทำการเร่งรัดประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ประเด็นที่สอง นายวศิน พยายามพูดถึงข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะทำให้ JBC มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเตรียมพื้นที่รอบปราสาทให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจร่วม ในตอนท้ายของคำปราศรัย มีถ้อยคำที่สุ่มเสี่ยงต่อความเข้าใจในเรื่องการปักปันเขตแดนที่ปักปันเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งทำให้มองเห็นว่าการปราศรัยใหม่อีกครั้งหนึ่งในนามประธาน JBC โดยมีความหมายและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าถ้าร่างข้อตกลงนี้แล้วเสร็จ เขาจะมีอำนาจตัดสินใจในการเตรียมพื้นที่

อนึ่ง บริเวณปราสาทพระวิหารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓ หน่วยงาน คือ ๑.กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ประกาศกฎอัยการศึก ๒.กรมศิลปากร มี พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุฯ เพราะขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว ยังไม่มีการถอนทะเบียน ๓. อุทยานแห่งชาติ ที่ถือ พ.ร.บ.อุทยานฯ และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่ ๓ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยเฉพาะไม่เคยนำไปใช้กับชาวกัมพูชา แต่ใช้กับประชาชนคนไทยได้ เพราะมี JBC อยู่ตาม TOR๔๖ และตาม MOU43

๒. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๔ ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑.ให้ชุดสำรวจร่วมที่มีอยู่ปฏิบัติงานจากหลักเขตแดนที่ ๑ ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาสัตตะโสม/พนมเสทิสม หรือบริเวณปราสาทพระวิหารและให้จัดตั้งชุดสำรวจอีกชุดหนึ่งเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๑ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตแดนที่ ๒๓ (หน้า๕๔) ข้อสังเกต พยายามเร่งรัดดำเนินการจนเป็นที่ผิดสังเกต การประชุม ๒ ครั้งเน้นไปที่พื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นความต้องการของฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราวกันต่อ ๒.คำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณในครั้งนี้ย้ำเรื่องที่ต้องการเร่งงานเดิมที่ค้างอยู่ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่สำหรับคำปราศรัยของวาร์ คิม ฮง มีถ้อยคำที่ไม่ควรยอมรับให้มีการบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยทหารไทยในพื้นที่ดงรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน ปราสาทตากราเบ็ย ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ที่ประเด็นยังคงค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังยึดมั่นที่จะอดกลั้นที่สุดเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี(หน้า๖๕) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นวาร์ คิม ฮง ต้องการบันทึกถ้อยคำของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เป็นหลักฐานโดยการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดน ที่น่าสังเกตคือ ฯพณฯวศิน กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในท้ายคำปราศรัยของวาร์คิม ฮง ยังเน้นให้เคารพบันทึกความเข้าใจฯ MOU๔๓ซึ่งต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกล้ำดินแดนไทยและละเมิดข้อตกลง มาตรา ๕ นอกจากนี้ยังเริ่มที่จะเน้น TOR ๔๖

๓. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ กรุงพนมเปญ วันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ ในหน้า ๘๓-๘๕ เป็นคำกล่าวปราศรัยของฯพณฯวาร์ คิม ฮง ซึ่งเป็นภาษาเขมร บันทึกการประชุมฉบับนี้ถือว่าเป็นบันทึกการประชุมที่สำคัญที่สุด อาจถือได้ว่าเป็นบทสรุปของการประชุมที่แล้วมา ๒ ครั้งก็เป็นได้ วาระการประชุมคราวนี้มีเรื่องที่จะต้องพิจารณา นั่นก็คือ หารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราว มีข้อน่าสังเกตที่ควรจดจำไว้ดังนี้ ในข้อที่ ๗ (หน้า๙๒) มีถ้อยคำในบันทึกการประชุมครั้งนี้ว่า ทั้งสองฝ่ายได้ยุติในข้อบทของบันทึกการประชุม และได้รับการลงนามแล้ว โดยต้องได้รับการยืนยันผ่านทางช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้สำหรับการมีผลบังคับใช้บันทึกการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าJBC ทั้งสองประเทศพยายามรวบรัด ในการที่จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่จะต้องตระหนักถึงปัญหาการยอมรับว่าทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลไม่แต่จะทำให้บันทึกรายงานการประชุมเป็นคุณเฉพาะกัมพูชาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่กัมพูชากล่าวหาฝ่ายไทยก็เป็นจริงตามนั้นด้วยโดยที่ไทยมิได้ปฏิเสธ หรือมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ซึ่งกล่าวถึงการที่มีการปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา จนในที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกโดยการแทรกแซงของฝรั่งเศสได้สนับสนุนงบประมาณซ้อมแซมสถานที่ที่ถูกทหารไทยยิงถล่มไป เช่นตลาด และบ้านเรือนทหารซึ่งแท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทยข้อที่ ๑๕ (หน้า๙๓) ว่าด้วยเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตอนที่ ๕และ๖ มีการเร่งรัดให้ดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ภายหลัง ฝ่ายไทยเห็นชอบที่กัมพูชาจะเร่งรัดในการดำเนินงานและกำหนดว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ ตรงจุดนี้ก็เพื่อจะได้ทันต่อการนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการมรดกโลกสำหรับเรื่องการกล่าวคำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณ มีถ้อยคำที่มีข้อน่าสังเกตอย่างมาก ความว่า การจัดการประชุมในวันนี้มีขึ้นหลังจากการประชุมครั้งก่อนพียง ๒ เดือน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร และเราจะได้สรุปร่างข้อตกลงชั่วคราวในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร เมื่อสำเร็จแล้วจะได้มีการลงนามบันทึกการประชุมทั้งสองครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐและกรุงเทพฯซึ่งจำให้เราดำเนินการตามสิ่งต่างๆที่เราได้เห็นชอบร่วมกัน

แต่ทั้งนี้ ประธาน JBC ไม่พูดถึงเรื่องการรุกล้ำของทหารไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชากล่าวหา และรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของเรา และการผลักดันเขมรออกจากพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร ในการปราศรัยตอนท้ายๆของการประชุม (หน้า๑๐๐)ฯพณฯวศิน ยังแสดงทีท่าว่าการดำรงไว้ซึ่ง สันติระหว่างประเทศและเพื่อที่จะให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาได้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว

ซึ่งท่าทีเช่นนี้มีความหมายว่า ฝ่ายไทยจะไม่ใช้กำลังกับฝ่ายกัมพูชา(หน้า ๑๐๐)ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าร่างข้อตกลงฉบับนี้กับบันทึกการประชุมผ่านรัฐสภาเราจะสูญเสียอำนาจทางการปกครองอธิปไตย และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง