ร่วมรับรู้กับปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่ร่วมบริจาคคนละ 1 บาท เพื่อต่อสู้คดี
ในสมัยที่ยังเป็นเด็กนักเรียน
จนกระทั่งมาถึงบัดนี้ เครียดและมึนตึ้บกับเรื่องราวปัญหาที่ถูกผูกโยงเป็นเงื่อนปม
รอการแก้ แต่ก็ไม่มีการแก้
สรุปว่าปัญหามาจากยูเนสโกเป็นส่วนใหญ่
ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการของที่ประชุมมรดกโลก มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย ดังนี้
1. บิดเบือนมติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2550 Decision: 31 COM 8B.24
ข้อ เท็จจริงที่ 1 ฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียน แหล่งโบราณคดีประสาทพระวิหาร (“The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” ลงวันที่ 30 มกราคม 2549) ของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่กลับรายงานความจริงครึ่งเดียวว่าไทยให้การสนับสนุน (“active support”) กัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตัดออก (ดูข้อเท็จจริงที่ 2)
ข้อ เท็จจริงที่ 2 ฝ่ายไทยประนีประนอมขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันตามข้อเสนอเดิมของกัมพูชา ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชายินยอม คณะกรรมการมรดกโลกสามารถตัดสินในการประชุมครั้งที่ 31 ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ทันที (ทุกฝ่ายอยู่พร้อมหน้า เอกสาร ICOMOS รับรองมาตรฐานความเป็นมรดกโลกพร้อม เพียงกัมพูชาเอ่ยว่าคำยินดี) แต่สาระสำคัญที่ไทยเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันกลับปกปิด ไม่มีบันทึกในรายงานประชุม
ข้อ เท็จจริงที่ 3 เมื่อกัมพูชาไม่อาจขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เพราะฝ่ายไทยที่ไม่สนับสนุน แต่กลับใช้ช่องที่ฝ่ายไทยยินยอมขึ้นทะเบียนร่วม ไปอ้างในรายงานการประชุมว่าเป็น “จะมีการปรับปรุงข้อเสนอเดิม” (”in-progress”) ซึ่งเป็นการอำพรางในฐานะที่ดู เหมือนมิใช่สาระสำคัญ แทนที่จะระบุให้ชัดว่า ข้อเสนอเดิมตกไป แต่สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้ หากกัมพูชามีแหล่งโบราณคดีอื่น
ใน กรณีที่เป็นการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท (The Temple of Preah Vihear) ก็อาจทำได้ตามสิทธิ์ และขั้นตอนปกติที่ต้องมีการประเมินคุณค่าทางศิลปะ (หรือไม่ก็ยินยอมให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน ตามนัยยะข้อเท็จจริงที่ 2) แต่หากทำเช่นนั้น ก็ต้องดูความเป็นไปได้ตามหลักการ เหตุผลและข้อเท็จจริง เกิดเป็นประเด็นว่า เฉพาะตัวปราสาทไม่สามารถเป็นมรดกโลกอยู่แล้วตามรายงานของ ICOMOS การฝืนเสนอขึ้นทะเบียนให้สำเร็จย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องมีมีวาระซ่อนเร้นและไม่โปร่งใส
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การแทรกแซงการตัดสินจากพฤติการณ์ “สองมาตรฐาน"
2.1 ระหว่าง เดือนกันยายน 2550 - มกราคม 2551 นายซกอาน รองนายกฯกัมพูชาว่าจ้างบริษัทรับเหมาเอกชนในยุโรปแห่งหนึ่งชื่อ ANPV [Autorite Nationale pour la Protection et le Developpement du site culturel et naturel de Preah Vihear ประกอบด้วย เบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย + (3) จีน ญี่ปุ่น และที่น่าแปลกคือมีไทยด้วย รวม 7 ชาติ] มาทำการสำรวจและประเมินแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหารซ้ำ โดยการแนะนำและร่วมรับรู้ของมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ว่า เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร”(ไม่ต้องควบรวมสิ่งปรักพังอื่นในบริเวณใกล้ตัว ปราสาท) ก็มีคุณค่าทางศิลปะตามเกณฑ์ (Criterion) I เป็นมรดกโลกได้ อ้างว่าไทยและกัมพูชาเห็นชอบร่วมกัน หักล้างมาตรฐานเชิงศิลปะและจิตวิญญาณ ในความพยายามตัดสินคุณค่ามรดกโลกโดยอาศัยเหตุผลทางการเมืองที่ไม่เคยปรากฏมา ก่อน
2.2 วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานมรดกโลก กรุงปารีส มาดามฟรังซัวส์จัดทำบันทึกช่วยจำ ระบุว่าฝ่ายไทย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะนั้นยินยอมให้กัมพูชาฝ่ายเดียวจัดทำ “แผนที่ใหม่” แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าเป็นการขึ้นทะเบียนที่เปลี่ยนมาเป็นเฉพาะตัว ปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) กำหนดแผนและขั้นตอนในการจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกทางทิศ ตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
2.3 จากนั้นมาดามฟรังซัวส์ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการที่ประชุมมรดกโลกนำแถลงการณ์ “ปิดปาก” เข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการมรดกโลกจำนนต่อแถลงการณ์ร่วมจำยอมให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนมรดก โลกเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2551
2.3.1 นายนพดล ปัทมะ ให้สัมภาษณ์สื่อไทยทันทีที่กลับมาถึงกรุงเทพฯปลายเดือนพฤษภาคมนั้นว่า กัมพูชา “ยอม” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่แตะต้อง “พื้นที่ทับซ้อน" และไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริง’
2.3.2 เมื่อตัวแถลงการณ์ร่วมฉบับที่ใช้ลงนาม มาถึงกรุงเทพฯพร้อม “แผนที่ใหม่” (วันที่ 8 มิถุนายน 2551) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ ระบุว่าไม่ต้องผ่านข้อตกลงร่วมกันของคณะกรรมาธิการร่วมปักปันเขตแดน “เจบีซี” (JBC: Joint Boundary Commission) ไทย-กัมพูชา นายนภดลไม่นำพาที่จะขอคำปรึกษาจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กลาย เป็นว่าฝ่ายไทยได้สนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวเมื่อ ครม.รับทราบ (17 มิถุนายน 2551) ส่งผลให้ไทยเสียพื้นที่ 27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่) เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์ “เขตอนุรักษ์” 154.7 เฮกดาร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552) รับรองรายงานตามแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกของ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee) ไปแล้ว
พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย แต่มีคำถามที่ยูเนสโกต้องตอบ คือ
1. ยูเนสโก และกัมพูชารับรองเอกชน ANPV (non-accredited institution) ให้มีสถานะเป็น “Public Institution” (ICC) ได้อย่างไร?
2. แถลงการณ์ ร่วม (Joint Communique) 2551 มีสถานะเป็นข้อเสนอ (Nomination File) ใหม่ที่ขอขึ้นทะเบียน The Temple of Preah Vihear แทนข้อเสนอเดิม The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear ปี 2549 ได้หรือ?
3. มาตรฐาน เดิมที่ ICOMOS ระบุไว้ ในข้อเสนอเดิม ย่อมไม่อาจทำให้ The Temple of Preah Vihear เป็นมรดกโลก ใช่หรือไม่ ? และที่สำคัญ...
4. “เหตุผลทางการเมือง” (“political decision”) ที่มาดามฟรังซัวส์โยนให้คณะกรรมการมรดกโลก และ 2 ประเทศคู่กรณี (ไทย-กัมพูชา) รับผิดชอบ ทั้งๆที่ตนเองอยู่เบื้องหลังนั้น ยูเนสโกเองยอมรับหรือไม่ว่า นี่คือมรดกโลกที่ทำลายมาตรฐานของยูเนสโกเอง?
หลังจากคุณปองพล อดิเรกสาร ลาออกจากประธานคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติไทยแบบไม่ร่ำลากัน (แต่งตั้ง 24 มิถุนายน 2551 เดินทางไปประชุมมรดกโลกวันที่ 2 กรกฏาคม 2551 ได้พูดตามที่เจ้าหน้าที่ กต. เตรียมให้ นาทีสุดท้ายของการประชุมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 หลังจากคณะกรรมการลงมติให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว) คณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติก็เหมือนจะแพแตก
งงๆว่าย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษามาอยู่กระทรวงวัฒนธรรม หรืออาจกำลังหาห้องทำงานอยู่ ผมไม่แน่ใจครับ ตกข่าวไปเลย
ท่านใดทราบโปรดแจ้งร่วมด้วยช่วยกันด่วน ยังไงๆ "ยูเนสโก" ถ้าไม่อยู่กับกระทรวงศึกษาก็น่าจะเป็นกระทรวงวิทยาศาตร์
หรือพอมีเรื่องปราสาทมืด เอ๊ย พระวิหาร เลยวิ่งไปกระทรวงวัฒนธรรม ยังไงก็แล้วแต่ครับ ใครเป็นเจ้าภาพเรื่องมรดกโลกวันนี้???
ถ้า หลักลอย จะหลงทางไปที่ "จีบีซี" ลูกเดียวจะเสียท่า แล้วยิ่ง กต. กำลังเร่งจัดทำสนธิสัญญาไทย-กัมพูชาเพื่อรับรองผลการปักปัน จะไปกันใหญ่
คือ มั่วอ่ะ! อย่าลืมว่าเราเป๋มาตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 31 กลางปี 2550 ที่มาดามแกหลับตาบรรเลงว่าไทยสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว!!
ผม คิดว่าเรายังไม่ถึงกับเจอทางตัน วันสุดท้ายของที่ประชุมมรดกโลกที่สเปน 30 มิถุนายน 2552 ยูเนสโกได้ประธานคณะกรรมการมรดกโลกคนใหม่เพื่อทำหน้าที่ในการประชุมครั้งที่ 34 กลางปี 2553 เป็นชาวบราซิล ส่วนรองประธานอีกสามคนมาจากออสเตรเลีย อียิปต์และสวีเดน ก่อนจะมีการประชุมมรดกโลกที่บราซิลกลางปีหน้า และก่อนถึงงวดสุดท้ายที่ไทยต้องปันดินแดนให้เขมร 1 กุมภาพันธ์ 2553 รัฐบาลไทยต้องเร่งหาทางออกให้พ้นจากมนต์ดำเขมร ก่อนจะกู่ไม่กลับ
ผม แอบไปอ่านประวัติของท่านประธานมรดกโลกคนใหม่ จบด้านสังคมวิทยาจากซอบอน ไม่ใช่นักเรียนทุนจาก ริโอเดอจาเนโร ครับ ที่ไปเรียนถึงฝรั่งเศสเพราะช่วงวัยรุ่นจนหนุ่มใหญ่เป็นนักกิจกรรมการเมือง ตัวยงจนชาติต้องการ (หมายจับ) ต้องลี้ภัยไปหลายประเทศ
ไม่งั้นคงต้องอยู่ โรงเรียนกินนอนบ้านเมตตากรุณาประมาณนั้น ท่านเป็นประธานนักเรียนทั่วประเทศตั้งแต่อยู่ไฺฮสคูลที่บราซิล เป็นวัยรุ่นแซมบ้าน่ารักคนหนึ่งวันวาน และวันนี้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลบราซิลปัจจุบันครับ
:
ผมอยากให้รัฐบาลไทยส่งเจ้าภาพมรดกโลกจากไทย (ถ้ามี) ไปคุยนอกรอบกับประธานมรดกโลกคนใหม่ด่วนที่สุด
ผมขอเสนอเป้าหมายข้อเดียว หากรัฐบาลคิดจะแก้ปัญหานี้ให้เป็นเรื่องเป็นราว
H. E. Juca Ferreira
ทบทวนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (WHC Nomination File January 30, 2006 http://www.nationmultimedia.com/pdf/Pre ... nglish.pdf) เพื่อพิจารณายกเลิก พร้อมแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาวันที่ 18 มิถุนายน 2551(http://www.nationmultimedia.com/pdf/jointcommunique.pdf) ผ่านการเจรจา 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และยูเนสโก สถานที่อาจเป็น ศูนย์มรดกโลกที่เกิดเหตุ ณ กรุงปารีส ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553
เหตุผล จุดยืนของไทย และปัญหาที่สมควรเรียนให้ท่านประธานคณะกรรมการมรดกโลกรับทราบ 2 ข้อ:
1. รัฐบาลไทยถือเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ไม่สนับสนุนความพยายามของกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2534 ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหาร หากยังติดใจปัญหาเรื่องพรมแดนธรรมชาติ (demarcation) ที่ยากจะกำหนดเพราะบริเวณนั้นไม่มีแม่น้ำ คลอง ลำธารเป็นที่หมาย ให้ใช้เกณฑ์สันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1904 เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศรับรองให้ใช้เป็นเกณฑ์เส้นแบ่งเขตแดน (delimitation) ได้ แต่ทั้งหลายทั้งปวง ก่อนจะปักปันเขตแดนกันในจุดใดที่ยังเหลืออยู่ ต้องยุติเรื่องขึ้นทะเบียนมรดกโลกไว้ก่อน เพราะพูดตอนนี้ไม่รู้เรื่อง มันมั่วมาตั้งแต่...
2. ศูนย์มรดกโลก (Unesco's World Heritage Centre: WHC) บรรจุข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนฯ (Nomination File) ลงวันที่ 30 มกราคม 2549 ของกัมพูชาเข้าสู่ในวาระพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2550 ที่เมืองไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ (http://whc.unesco.org/archive/2007/whc07-31com-24e.pdf คำแปล: http://whc.unesco.org/archive/2007/whc07-31com-24e.pdf) โดยปราศจากหลักฐานที่แสดงว่าไทยในฐานะ "รัฐคู่กรณีพิพาท" ให้การสนับสนุน ("ลักไก่")
ยัง ไม่ต้องพูดว่า หลังจากนั้น ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการมรดกโลกที่ปารีสยังเพิ่มปัญหาให้ความสัมพันธ์ ประเทศทั้งสองทวีความตึงเครียดเป็นลำดับ เหมือนไม่ตระหนักในปรัชญาของยูเนสโกที่ต้องการสันติภาพในมนุษยชาติผ่านการมี มรดกโลกร่วมกัน
เรื่องราวของปราสาทพระวิหาร
ยังคาดเดาทางออกของประเทศไม่ได้เลย...
แม้จะเต็มไปด้วยข้อมูล รายละเอียดที่เป็นเหตุผลและหลักฐาน
ข้อมูลที่ได้ติดตามรวบรวมมาไว้ที่ตรงนี้ ...
หวังอย่างยิ่งว่า...จะเป็นประโยชน์ให้ประชาชนชาวไทยได้เข้าใจ
ในความเป็นมา ที่ต่อเนื่อง
กระทรวงการต่างประเทศ จะสามารถกระตุ้นเตือนรัฐบาล (นายกฯ)
มากน้อย อย่างไรบ้าง...นะคุณอารยา
ทุกวันนี้ บทบาทการเคลื่อนไหวเพื่อหาทางแก้เงื่อนปม
ดูจะหนักไปทางกลุ่มนักวิชาการและประชาชน เสียมากกว่า
ดร. สมปอง ท่านว่าฝรั่งเศสวาดแผนที่ โดยลำพังเสร็จ 11 ระวางเมื่อปี 1908 ไม่ได้ใช้หลักสันปันน้ำตามที่ตกลงในอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 1904 (เมื่อกัมพูชาแนบระวางที่ใช้มาตราส่วน 1:200,000 ที่เรียกว่า “Annex one” ไปพร้อมกับคำฟ้องไทยกรณี “เขาพระวิหาร” ต่อศาลโลกปี 2505 ทางไทยถือว่าเป็นหลักฐานประกอบคำฟ้องปกติ ไม่จำเป็นต้องไปแย้งให้เป็นประเด็นอะไร ) การที่แพ้คดีครั้งนั้น ศาลโลกมีคำวินิจฉัย 37 หน้า มิได้ให้ความสำคัญความขัดแย้งระหว่างอนุสัญญา 1904 กับแผนที่ 1908 ดูเผินๆก็เสมือนศาลโลกไม่มห้ความสำคัญกับแผนที่ แต่ดูลึกอีกนิดก็แปลว่าศาลไม่ให้ความสำคัญหับอนุสัญญา 1904 ด้วย และนั่นทำให้ไทยแพ้คดีผ่านการใช้ “หลักกฎหมายปิดปาก” โดยนำเอาประเด็นต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ไทยนิ่งเฉยมาอ้างพาดพิงกับจุด 2 มิลลิเมตรที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ฝรั่งเศสว่า จุดนั้นคือตำแหน่งที่ตั้งของตัวปราสาทพระวิหารที่อยู่ในเขตของกัมพูชา เป็นคำตัดสินที่เลือกประเด็นและหลักฐานที่ให้ประโยชน์แก่โจทก์อย่างจงใจของ ผู้พิพากษา 6 คน อีก 3 คนที่ไม่เห็นด้วยถือว่าเป็นคำตัดสินที่ผิดปกติที่สุดในประวัติศาสตร์การ ตัดสินความของศาลโลก เพราะเป็นการยกอธิปไตยของประเทศหนึ่งให้กับอีกประเทศหนึ่งโดยขาดหลักฐานสนับ สนุนที่ฟังได้ โดยเฉพาะกรณีนี้เห็นชัดว่าทีแรกก็เลือกหลักกฎหมายละติน (มาปิดปากไทย) แล้วทำเป็นมองข้ามแผนที่ฝรั่งเศส แต่พอหมดมุกก็กลับไปเปิดแผนที่เส็งเคร็งนั้นมาเอาเรื่องจนได้ ท่าน ดร. สมปองท่านตั้งข้อสังเกตว่านอกจากเป็นแผนที่เขียนโดยขาดหลักสากล ไม่เป็นไปตามที่ตกลงแล้ว ตรงจุด 2 มิลลิเมตรนั้นมีรอยพับที่เลือนรางจนแทบมองไม่เห็นด้วยซ้ำ
1ใน 3 ของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยเขียนคำแย้งข้อวินิจฉัยของศาลโลก 40 หน้า ซึ่งวันนี้อารยาคิดว่ากระทรวงการต่างประเทศต้องเอามาทบทวนเพื่อตั้งสติกัน ใหม่ จำเลยวันนี้มิใช่แค่ยูเนสโกที่ตัดสินเอนเอียงเรื่องมรดกโลก (ที่เอาแน่ยังไม่ได้เลยว่า ตกลงยก The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear หรือ The Temple of Preah Vihear ให้กัมพูชากันแน่) แต่ต้องสาวไปถึงศาลโลกด้วยว่า ประการแรกมาตรวัดฐานความผิดของไทยที่ใช้หลักกฎหมายปิดปากนั้น ฟังได้หรือไม่ อีกประการคือ เหตุไรจึงขาดความคงเส้นคงวาในการใช้แผนที่ประกอบการวินิจฉัย เพราะทีแรกไม่ให้ความสำคัญกับปผนที่ฝรั่งเศส แต่พอจะยกอธิปไตยให้กัมพูชาก็กลับมาใช้
กลับมาดูทางไทยในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศไทยเห็นความกะล่อนของทั้งกัมพูชาและพฤติกรรมที่ไม่เป็น ธรรมของศาลโลกมาเกือบ 40 ปี ก็เลยสับสนไปกับหลากหลายมาตรฐาน พลอยเบลอถึงกับเขียนใน MOU 2543 ว่าไทยร่วมจัดทำด้วยกับฝรั่งเศส นั่นเป็นจุดอ่อนที่กัมพูชาเองยังประหลาดใจว่าเจ้าหน้าที่และ/หรือรัฐมนตรี ไทยอ่อนซ้อมถึงกับถอดใจกับคำขู่ว่าถ้าไม่อ้างแผนที่ฝรั่งเศสจะไปฟ้องศาลโลก และนั่นคือที่มาของบันทึกช่วยจำ 2543 ดังกล่าว และต่อมาใน TOR 2546 ตกลงทั้งรัฐบาล ปชป.และ ทรท. โดนเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศให้คำปรึกษาไร้สติ จนวันนี้กลายเป็นถือทิฐิจนทางพนมเปญคงนั่งหัวเราะท้องขัดท้องแข็งแล้วเป็น แน่
วันนี้ กต. ก็ยังยืนยันความเข้าใจผิดของตนตลอด 10 ปีที่เกิดจากไปงัดเอาแผนที่ฝรั่งเศสมาอ้างจนฮุนเซนได้ใจสุดๆ ถึงกับปลายเดือนที่แล้วลั่นว่ายังไงๆต้องถือแผนที่ฝรั่งเศส แต่ก่อน 40 กว่าปีกล้าพูดไหมครับ วลีอย่างนี้ เพราะจะถูกสวนกลับว่างี่เง่า แต่เมื่อเรางี่เง่าเสียเอง มันก็กล้าสิ เพราะมีแต่จะได้การสนับสนุนจากไทยว่า เออ พูดถูกว่ะ หารู้ไม่ว่า นี่คือการเดินหลงทางไปสู่การเสียดินแดนซ้ำซาก
เรื่อง กัมพูชาจะฟ้องศาลโลกอีกรอบนั้น ถ้าไทยจะไม่รับหมายศาลโลก ก็ทำได้ กระทรวงต่างประเทศน่าจะเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่ต้องตกใจมากมาย หลังจากเต้นตามเกมเขมรมากว่า 40 ปี ดร. สมปองท่านบอกแล้วว่า การจะนำปัญหาในกรอบทวิภาคี (ไทย-กัมพูชาล้วนๆกรณีมรดกโลก) ไปทำเป็นปัญหาพหุภาคี (ขึ้นศาล) มันทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งเป็นหลักง่ายๆ เขมรมันชอบขู่ เดี๋ยวจะเอาเข้าอาเซียน หรือคณะมนตรีความมั่นคง ยูเอ็น เอาเข้าจริงๆก็แหย เออ ถ้ามีสงครามรบพุ่งกันก่อนสิไม่ว่า ขี้คร้านกองกำลังสหประชาชาติจะแส่เข้ามาแทรกไม่เกินสองอาทิตย์ ลองดูก็ได้ เอาไหม
ประเด็นคือไปกลัวคำขู่กัมพูชาทำไม พูดหยาบๆ ไปคิดเหมือนคนที่เคยเป็นขี้ข้าเขามาก่อนทำไม
รัฐ มนตรีกษิตอย่าอ้างว่าอ่านเอกสารหมดแล้ว บางครั้งการกลับมาทบทวนอีกครั้งในขณะสวมบทบาทต่างจากก่อนเกษียณราชการ ความคิดความอ่านมีโอกาสเห็นต่างไปจากเดิม อาจได้มิติใหม่ทางปัญญา และพบประเด็นที่ไม่เคยพบมาก่อนได้ เช่น อาจต้องถามตัวเองว่าคิดดีแล้วหรือที่จะหาเรื่องเอาข้อตกลงชั่วคราวก่อนทำ “สนธิสัญญาไทย-กัมพูชา” ไปให้สภาพิจารณา(ตามมาตรา 190 ใน รธน.) ????
ดร. สมปอง ท่านกล่าวไว้เมื่อสามวันก่อน อารยาฟังชัดหูว่า สภาต้องไม่ผ่าน มิฉะนั้น ผามออีแดง ศรีสะเกษ จะถูกเขมรกินเรียบ และอยากให้ กต. ฟังเสียงของประชาชนและนักวิชาการ แทนที่จะคิดแบบข้าราชการ และเตือนทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับอธิปไตยของชาติ ไทยเป็นชาติรักสงบ "ต้องการสันติภาพ แต่เตรียมทำสงครามด้วย"
วันนี้ประชาชนโชคดีที่มี รธน. มาตรา 190 ที่ทำให้เรารู้ว่า รัฐบาลกำลังจะทำอะไรผิดซ้ำซาก แต่ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่สบายใจคงเป็นทัศนคติเดิมๆของรัฐบาลที่ไม่เปลี้ย น ยังคงมองว่าไม่มีใครรู้ดีเท่าตน โดยเฉพาะที่เห็นค่อนข้างชัดในพฤติกรรมของกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในระดับรัฐมนตรีหรืออธิบดีบางคน
มาตรา 190 ในรัฐธรรมนูญ 2550
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก
และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือ สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต
ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ
หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดัง กล่าว
ก่อน การดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง
คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น
ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อ ลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนจะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน
คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น
และในการที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
หรือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
ให้ มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา
ที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ
รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา ดังกล่าว
โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผล กระทบ
จากการปฏิวัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตาม วรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด
โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 154(1) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
มติคณะกรรมการมรดกโลก เลื่อนพิจารณาแผนพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารไปปีหน้า
คณะกรรมการมรดกโลก มีมติให้เลื่อนพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหารไปปีหน้า
เนื่องจากกัมพูชาเสนอแผนพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ในระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป
และมีรายละเอียดที่ต้องไปถกเถียงกันอีก
จึงให้เลื่อนวาระนี้ไปไม่พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ที่ประเทศบาห์เรน
ทำให้มีช่วงเวลาที่ไทยและกัมพูชา จะเจรจากันเรื่องปักปันเขตแดน เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
และทำให้ความตึงเครียดบริเวณแนวชายแดน โดยเฉพาะเขาพระวิหารคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
รายละเอียดจากในที่ประชุม หลังมีการแจกเอกสารให้กับผู้เข้าร่วมประชุม และกำลังจะเริ่มมีการหารือกันขึ้น
ทางคณะผู้แทนกัมพูชา ได้ขอเลื่อนวาระการประชุมออกไปอีก
เพื่อเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของมติบางอย่าง พร้อมมีการใช้เทคนิคในการยืนขอแก้ไขถอยความรับรองที่ประชุมจากเดิม
ที่มีการระบุว่า "รับทราบการส่งเอกสาร" (Take Note of Submittion of Document)
ไปเป็น "รับทราบเอกสาร" (Take Note of document)
ซึ่งหมายถึง รับทราบรายละเอียดเอกสารทั้งหมด
จนทำให้ไทย ต้องยื่นค้านไม่รับรอง และระบุว่า ยังไม่รับทราบเอกสารดังกล่าว
ซึ่งถึงวินาทีสุดท้าย ก็ยังไม่เห็นแผนการของกัมพูชาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
ตามกำหนดเดิมจะมีขึ้นในวันที่ 28 ก.ค.ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งตรงกับเช้ามืดวันที่ 29 ก.ค.ตามเวลาในไทย
แต่ประธานคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งเป็นชาวบราซิลเห็นว่าไทยมีท่าทีคัดค้านแผนดังกล่าว
จึงให้ไทยและกัมพูชาหารือกันก่อน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ จึงมีการเลื่อนวาระมาเป็นช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค
.ซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 20.00 น.ตามเวลาในไทย
แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยฝ่ายไทยมีท่าทีที่แข็งกร้่าวมากขึ้น
ด้วยการประกาศจะเดินออกจากที่ประชุมหากมีการพิจารณาแผนดังกล่าว
รวมทั้งจะลาออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลก
ที่ประุชุมจึงต้องเลื่อนการพิจารณามาเป็นช่วงบ่ายของวันที่ 29
ซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 30 ก.ค.ตามเวลาในไทย
แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้อีก จึงต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปีหน้าในที่สุด
การชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อยืนหนังสือคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราทพระวิหารต่อยูเนสโก
ส่งผลทีสำคัญยิ่งอีกเรื่องหนึ่งคือ ทำให้ผู้อำนวยการยูเนสโก ที่สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ต้องออกมาให้สัมภาษณ์ ที่มีนัยเป็นการกระตุกให้ คณะกรรมการมรดกโลก
ต้องตรึกตรองให้หนักว่า เจตนารมณ์ของ การเป็นมรดกโลกคืออะไร
(ภาพจาก AP)
ไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลังการชุมนุมของกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามปัญหา ปราสาทเขาพระวิหาร
กลุ่มสันติอโศก และพันธมิตรภาคใต้ 16 จังหวัด ที่นำโดยพลตรี จำลอง ศรีเมือง
และการพบกับตัวแทนพันธมิตรที่บ้านพิษณุโลก ในบ่ายวันเดียวกัน (27 กค.)
ท่าทีของนายอภิสิทธิ์ ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แข็งกร้าวขึ้นมาอย่างกะทันหัน
ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ประเทศไทยจะคัดค้าน แผนการบริหารจัดการพื้นที่ 4.6ตารางกิโลเมตร ของกัมพูชา
ที่สอดไส้เอาแผนที่ที่รุกล้ำดินแดนของไทยเข้ามาด้วย
ถึงกับ ออกเป็นมติ ครม. ให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแสดล้อม
วอลก์เอาท์ ออกจากที่ประชุม หากยูเนสโกยืนยันจะพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
และให้ประกาศถอนตัวจากภาคีสมาชิกมรดกโลก เพื่อประท้วงคณะกรรมการมรดกโลก
นอกจากชาวไทยทั่วประเทศที่จะยินดีแล้ว...กลุ่มคนไทยรักแผ่นดิน นำโดยนายชัยวัฒน์ สินสุวงศ์
ได้ชุมนุมกันหน้าสำนักงานยูเนสโก เอกมัย
ตั้งแต่ช่วงเย็นเมื่อวานที่ผ่านมา (29 กค.) เมื่อได้รับทราบข่าวว่าคณะกรรมการมรดกโลก
ได้เลื่อนพิจารณาวาระดังกล่าวออกไป ก็ได้โห่ร้อง แสดงความดีใจ
และทางกลุ่มคนไทยรักแผ่นดิน ที่ชุมนุมกันต่อเนื่องถึงวันนี้
เตรียมเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป
ข้อมูลจากโพสต์ทูเดย์และแมเนเจอร์ออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2553
เหตุการณ์ระว่าง เขมร กับไทย ยืดเยื้อ มาเนินนาน
ถึงตอนนี้ยังถือว่าสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยังร้อนระอุและวางใจไม่ได้ดีนัก
หลังเกิดเหตุปะทะกันของทหารไทยกับทหารกัมพูชา 2 ครั้ง
เมื่อช่วงสายวันศุกร์ที่ 4 ก.พ. และช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา
-----------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น