บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 4



กระทรวงต่างประเทศ แจ้ง “เขมร”
ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหารแล้ว!!!!!!!!!



... กรมสารนิเทศ ก.ต่างประเทศ เผยแพร่ข่าว
ระบุ เตช บุนนาค มีหนังสือถึง ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี
และ รมว.ต่างประเทศกัมพูชา
ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สิ้นผลตั้งแต่ 25 ส.ค.
     
       วันนี้ (19 ก.ย.) เว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศ
ได้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาของแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา
เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบให้มรดกโลก
ที่เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551




ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาด้วยมติ 9:0
ว่าแถลงการณ์ร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา นั้น เป็นหนังสือสนธิสัญญา
และมีมติ 8:1 ว่าแถลงการณ์ดังกล่าวที่ไม่ผ่านความเห็นชอบต่อรัฐสภานั้น
ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190

     
      กระทรวงต่างประเทศ ระบุว่า เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา (นายฮอร์ นัมฮง)
อ้างอิงถึงการสนทนาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2551
ในโอกาสการพบปะหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และ กัมพูชา
เพื่อแก้ไขปัญหาความตึงเครียดเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารครั้งที่ 1
ที่เมืองเสียมราฐ
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กัมพูชา
ได้กล่าวแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค)
และคณะผู้แทนไทย ว่า
คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551
ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ

     
       ซึ่งในหนังสือฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ดังกล่าว
ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่กัมพูชาเข้าใจว่าไม่มีความจำเป็น
ที่จะต้องปฏิบัติตามความในคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
และแสดงความเห็นที่ตรงกันว่า
สภาวการณ์ภายหลังการลงนาม
และข้อจำกัดที่เป็นผลตามมา
ทำให้คำแถลงการณ์ร่วมเองนั้นเป็นเอกสารที่สิ้นผลแล้ว

โดยรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้
     
     
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

     
       ที่ 0803/636
     
กระทรวงการต่างประเทศ
        ถนนศรีอยุธยา
        กรุงเทพฯ 10400

        25 สิงหาคม 2551
     
       ฯพณฯ,
     
        ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคำกล่าวของท่าน
ระหว่างการประชุมระหว่างมื้ออาหารเที่ยงของเรา
ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย-กัมพูชา ครั้งแรก
ที่เมืองเสียมราฐ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ว่า
ราชอาณาจักรกัมพูชาไม่ถือว่าคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
     
        ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณสำหรับความเข้าใจของท่าน ว่า
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความในคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นเดียวกันว่า สภาวการณ์หลังการลงนาม
และข้อจำกัดที่เป็นผลตามมา ทำให้คำแถลงการณ์ร่วมเองนั้นเป็นเอกสารที่สิ้นผลแล้ว
     
        ข้าพเจ้าขอย้ำความยึดมั่นของประเทศไทย
ที่จะทำงานร่วมกับราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างใกล้ชิด
เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง
        ขอแสดงความนับถือ
     
       ลงนาม
        (นายเตช บุนนาค)
        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย
     
       ฯพณฯ
       นายฮอร์ นัมฮง
       รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
       และความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
        กรุงพนมเปญ

       





สำหรับเอกสาร แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique)
ที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ลงนามกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโกลงนามเป็นพยาน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 (ค.ศ.2008)
อันเป็นผลมาจากการประชุมหารือเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551
ดังนี้












ฮุนเซ็น ยื่นคำขาด....
ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่รอบเขาพระวิหาร ในเที่ยงวันนี้



ผู้สื่อข่าวรายงานถึง สถานการณ์แนวชายแดน โดยรอบเขาพระวิหาร
ภายหลังจากที่ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เดินทางไปเยือนกัมพูชาเมื่อวานนี้ว่า
กัมพูชา ได้ขอให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร

แต่ก็ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ จากทางการไทยในเรื่องการถอนทหาร
เนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นพื้นที่ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ นายสมพงษ์ เดินทางกลับประเทศไทย
สมเด็จ ฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า
ได้เรียกร้องให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหาร
ภายในเที่ยงวันนี้

ล่าสุด มีรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
ได้เรียกประชุมด่วนฝ่ายเสนาธิการ
ที่กองบัญชาการทหารบกแล้ว ในช่วงเช้าวันนี้

ขณะนี้ บรรยากาศที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ค่อนข้างตึงเครียด
เนื่องจาก ได้มีกำลังทหารกัมพูชาจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยอาวุธปืนครบมือ
เข้ามาตรึงกำลังที่บริเวณปราสาทกัมพูชา บริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
ซึ่งทหารเหล่านี้ส่วนมากแล้ว เป็นอดีตทหารเขมรแดง
ที่เคยประจำการอยู่ที่บริเวณเขาพระวิหารมานานแล้ว
และมีความเคยชินกับสภาพพื้นที่บริเวณแห่งนี้เป็นอย่างมาก
ทำให้ ทหารไทย ต้องจัดกำลังทหาร เข้าไปตรึงกำลังบริเวณประตูเหล็ก
ใกล้กับตลาดกัมพูชาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะเดียวกัน ฝ่ายกำลังทหารของไทย ก็ได้มีการตรึงกำลังเข้ม รอบเขาพระวิหาร
โดยแต่ละจุดห่างกันประมาณ 30 เมตรเท่านั้น
แต่ว่า ทหารไทย ยังไม่ได้มีการเสริมกำลังเพิ่มเติมแต่อย่างใด 





เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นกรณีที่เห็นชัดเจนมาก

จริงอยู่ แม้เมื่อ 46 ปีที่ผ่านมา 
"ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา"
แต่คนไทยก็ยังมีสิทธิ์ที่จะเดินขึ้น-ลง ปราสาทพระวิหาร

ตามคำพิพากษาของศาลโลก
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505
ไทยต้องเสียปราสาทเขาพระวิหารไปเป็นของประเทศกัมพูชา
แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียเขาพระวิหารทั้งลูก
เนื่องจากบันไดหินทางขึ้นเขาพระวิหารขั้นที่ 162 ลงมา
เป็นดินแดนของประเทศไทย


และปราสาทอื่นๆ ในพื้นที่ประเทศไทย
เราก็ดูแล ทำนุบำรุง ด้วยความมั่นใจในความเป็นเจ้าของ


แต่หลังจากที่ อดีตรมต.ต่างประเทศ นพดล  ปัทมะ
ภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐบาล รีบรุกรี้รุกลน
ไปเซ็นรับรองให้กับเขมร เพื่อให้เขมรยื่นขอให้ปราสาทพระวิหาร
เป็นมรดกโลก ฝ่ายเดียว
โดยในการเซ็นรับรอง มีแผนที่ที่ฝ่ายเขมรทำขึ้นมา ให้รับรองด้วย

แผนที่ดังกล่าว นายนพดล  ปัทมะ ไม่ยอมเปิดเผยก่อนเซ็น

"ที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวางแต่ก็เห็นชอบ
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำเข้าสู่การพิจารณา
ของ ครม. ในวันที่ 17 มิถุนายน
หาก ครม.เห็นชอบก็จะได้รับมอบอำนาจให้ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม
จากนั้นจะมีการแจ้งให้ทางกัมพูชาได้รับทราบ
เพื่อให้กัมพูชาส่งแผนที่ดังกล่าวไปให้คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ
เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา"
นายนพดลกล่าว "


"เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ทั้งนักวิชาการและฝ่ายความมั่นคง
ขอให้เปิดเผยแผนที่ ทำไมไม่เปิดเผย

นายนพดลกล่าวว่า คนที่รู้เรื่องแผนที่ดีที่สุดในประเทศไทย
คือ กรมแผนที่ทหาร
กระทรวงการต่างประเทศไม่เชี่ยวชาญ
และจะสามารถเปิดได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร
แต่ตอนนี้ยังเป็นความลับทางราชการอยู่ "



"ทางกระทรวงการต่างประเทศ โดย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการฯ
ยืนยันที่จะเปิดเผยแผนที่-แถลงการณ์ร่วม หลังขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

โดยอ้างเหตุผลที่ยังไม่ยอมเปิดเผยในตอนนี้ว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เกรงกระทบความมั่นคงภายในของกัมพูชา "


หลังจากการเขมรประสบความสำเร็จในการขอยื่น
ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกแล้ว

ก็จะเห็นได้ว่าเขมรซึ่งนำโดยนายกฮุนเซ็น
ก็เริ่มรุกล้ำ อ้างสิทธิ์ในเขตแดนบริเวณรอบๆปราสาทพระวิหารด้วย
ดังที่ได้เห็นข่าวทุกวันนี้

ทางด้านรัฐบาล แม้นายนพดล ปัทมะ ซึ่งเคยยืนยันก่อนหน้านี้ว่า
"ทุกอย่างทำอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ไทยเสียดินแดน"
ก็ได้ลาออกไปแล้ว

รับบาลก็ไม่ได้กระตือรือล้นที่จะแก้ไขอะไร
แม้จะมีคำสั่งศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราวพระวิหาร

ซึ่งคำสั่งระบุห้ามผู้ถูกฟ้องทั้งสองนำมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51
ที่เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
ซึ่ง ครม.เห็นชอบให้นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ
ไปลงนามในวันที่ 18 มิ.ย.51 นั้น
ไปใช้ในแถลงการณ์ร่วม
และห้ามดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วม ฯ
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น


คณะรัฐบาลก็ไม่ได้กระตือรือล้นที่จะปฏิบัติตาม
เพื่อหาช่องทางแก้ไขให้กับประเทศชาติ

ท่านที่สนใจโปรดย้อนอ่านข้อมูลซึ่งรายละเอียดมากมาย
ตั้งแต่เริ่มต้นกระทู้นี้

เหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชาวไทยที่รักชาติ
รู้สึกไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลที่นำโดยอดีตนายฯ สมัคร
และต่อเนื่องมาถึงนายกฯคนปัจจุบัน





ปราสาทพระวิหาร
ก่อน นพดลลงนามแถลงการณ์ร่วม






รายงานสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา
 
เกาะติดสถานการณ์ความไม่สงบ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
กับ สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น


07.47 น. ชาวเขมร ยังข้ามชายแดนไทย - กัมพูชา ช่วง จ.สระแก้ว
              เข้ามาค้าขายตามปกติ แม้สองฝ่ายยกทหารประจัญหน้า
              จากความตึงเครียด กรณีพื้นที่พิพาท

07.54 น. ทหารไทย เสริมกำลังทหารและปืนใหญ่
              ประชิดพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ตลอดคืนที่ผ่านมา
              ขณะที่ชาวศรีสะเกษ หวาดภัยสงคราม
              ไม่กล้าออกทำบุญช่วงวันออกพรรษา

08.45 น. ทหารไทย เสริมกำลังทหารและปืนใหญ่
              ประชิดพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ตลอดคืนที่ผ่านมา

... ภาพถ่ายวันที่ 15 ต.ค.2551
ทหารไทยที่ฝ่ายกัมพูชา
อ้างว่าได้ยอมจำนน
กำลังนั่งในบริเวณวัดสิขาคีรีสวรักษ์
บนทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
แม่ทัพภาค 2 ของไทย
ได้ออกปฏิเสธเรื่องนี้ทันควัน
ทหารไทยเหล่านี้เป็นหนึ่งในไม่กี่สิบคน
ที่ยังคงประจำอยู่ในบริเวณวัดแห่งนั้น
มาตั้งแต่เดือน ส.ค.ตามข้อตกลง
ของทั้งสองฝ่าย (ภาพ: Reuters)




09.57 น. กองกำลังทางทหารทั้ง 2 ประเทศ ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
              ใน จ.จันทบุรี ไม่มีความเคลื่อนไหว
              ขณะที่ ปชช.ยังเดินทางเข้าออกตามปกติ

12.06 น. ผบ.กกล.สุรนารี รับ เลื่อนการประชุมกับกัมพูชา กรณีข้อพิพาทพระวิหาร

12.51 น. เหตุพิพาท ไทย - กัมพูชา ทำให้การค้าขายชายแดน ช่วง จ.จันทบุรี
              กระทบการส่งออก หลังเกิดกระแสข่าวลือว่าจะมีการปิดด่าน



ภาพทหารเขมรแดงใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร
เมื่อ 15 ตค.2008 (ภาพจาก Reurers)


15.01 น. แม่ทัพภาค 2 ยัน เหตุปะทะแค่ ทหารกัมพูชา ยิงปืน ค.
              ตกใกล้ที่ตั้งทหารไทย ในพื้นที่ทับซ้อน


ทหารเขมรแดงใกล้บริเวณปราสาทพระวิหารเมื่อ 14 ตค.2008
(ภาพจาก Reurers)

15.07 น. ทหารไทย ยิงปะทะเดือดทหารกัมพูชา ที่ บริเวณภูมะเขือ
              ห่างเขาพระวิหารไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร
              เบื้องต้น ยังไม่มีรายงานคนเจ็บ ล่าสุด ทหารไทย ยกพลไปจุดเกิดเหตุแล้ว

15.45 น. นักพนันชาวไทยนับพัน ตื่นข่าวทหารไทย - เขมร เปิดศึกยิงปะทะ
              วิ่งหนีขึ้นรถกลับประเทศกันอย่างตื่นตระหนก

15.50 น. ชาวกัมพูชา ในตลาดโรงเกลือพร้อมใจปิดร้าน กลับประเทศ แล้ว
              หลังเกิดเหตุยิงปะทะระหว่างทหารไทยและเขมร
              ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ตรึงกำลังเข้มแนวชายแดน

15.53 น. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แนะ ใช้วิธีเจรจาทวิภาคี
              แก้ปัญหาชายแดนไทย-เขมร พร้อมเตือนรัฐบาล
              ดูแลความสงบ กรณี นปช. จัดงานความจริงวันนี้

15.58 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พร้อมลาออก
              หากพิสูจน์ได้ว่า เหตุปะทะ ชายแดนไทย-กัมพูชา
              เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อกลบข่าวภายในประเทศ


16.07 น. กรมทหารราบที่ 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
              ยังสแตนบายในที่ตั้ง พร้อมสนุบสนุน กำลังพลหากปานปลาย

16.11 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะทหารกัมพูชา
              ขณะตรึงกำลังบริเวณเขาพระวิหาร ศรีสะเกษ
              ล่าสุด เจ้าหน้าที่ผู้บาดเจ็บ ถูกนำส่งโรงพยาบาลและพ้นขีดอันตรายแล้ว

16.21 น. สื่อนอกประโคมข่าวไทยปะทะเขมรกรณีเขาพระวิหาร

16.30 น. รักษาการนายอำเภอกันทรลักษ์ ยืนยัน ชาวบ้านยังคงดำรงชีวิตปกติ
              เพราะเกิน 50% เป็นญาติพี่น้องกันระหว่างไทย-กัมพูชา

16.34 น. เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ เผย
              ประสานนักท่องเที่ยวไทยให้เดินทางกลับประเทศแล้ว
              ขณะที่คาดว่าการปะทะอาจไม่ยืดเยื้อเร่งประสานกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา

16.53 น. โฆษก ทบ.ยันกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน เชื่อเป็นการเตือน
              พร้อมเตรียมเชิญผู้ช่วยทูตทหารรับทราบคำประท้วง

16.54 น. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4 สั่งรักษาความปลอดภัย
              สถานทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทยเข้ม
              หวั่นมือดีป่วนสร้างสถานการณ์
              หลังมีการปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จ.ศรีสะเกษ

17.11 น. กองทัพอากาศเตรียมพร้อมรับคนไทยในเขมรกลับทันที
              หากมีคำสั่งจากหน่วยเหนือ และเตรียมประสานสายการบินพาณิชย์
              หากกัมพูชาไม่อนุญาตให้เครื่องบินทหารเข้าน่านฟ้า

17.24 น. นายกรัฐมนตรีเตรียมเชิญทูตกัมพูชารับทราบคำประท้วง หลังเกิดเหตุปะทะ
              ทั้งที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายโทรศัพท์เจรจากันแล้ว

17.31 น. อาการบาดเจ็บเจ้าหน้าที่ทหารที่ปะทะทหารกัมพูชา สาหัส 1 นาย
              เจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลใน จ.อุบลราชธานี

17.46 น. แม่ทัพภาค 2 ลั่น เตรียมกำลัง-อาวุธ พร้อมรักษาแผ่นดินตลอด 24 ชั่วโมง
              ยัน ทหารเขมร ยิงซัดฝ่ายไทยก่อน เชื่อหากไม่เจรจากันสองฝ่าย ปัญหาไม่จบ

17.59 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะกับทหารกัมพูชา บริเวณภูมะเขือ จ.ศรีสะเกษ
              ล่าสุดเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ รวมเป็น 4 รายถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว
              ขณะที่ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี สั่งตรึงกำลังเจ้าหน้าที่อีก

18.20 น. โฆษก ทบ.เผย ผบ.ทบ. กำชับทหารไทยควบคุมการปะทะให้อยู่ในวงจำกัด
              ยันไม่แจงประชาคมโลก
              หลังกัมพูชาอ้างไทยเปิดฉากยิงก่อน ชี้อนุมานได้ใครเริ่มก่อนกันแน่

18.22 น. สาธารณสุข สั่งเตรียมพร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล
              เวชภัณฑ์ คลังเลือด เตียง ห้องผ่าตัด
              ใน 7 จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา หลังทหารสองฝ่ายปะทะกัน

19.34 น. จ.บุรีรัมย์ หวั่นเหตุทหารปะทะกันบานปลาย สั่งปิดจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ชั่วคราว

19.47 น. ประธานสภาหอการค้า ปราจีนบุรี เผย
               นักพนันไทยยังข้ามฝั่งเล่นพนันตามปกติ เชื่อ เหตุทหารยิงปะทะ จ.ศรีสะเกษ
               ไม่ส่งผลกระทบการค้าชายแดนด้วย


20.02 น. แม่ทัพภาค 1 สั่งเจ้าหน้าที่เตรียมกำลังคุมเข้มแนวชายแดน
              และพร้อมสนับสนุน กองทัพภาค 2 ตลอดเวลา
              หลังทหารไทยยิงปะทะกับกัมพูชาจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

20.27 น. กระทรวงต่างประเทศ ยื่นบันทึกช่วยจำประท้วงแก่อุปทูตกัมพูชาแล้ว
              พร้อมเตรียมแจงประชาคมโลก
              หลังกัมพูชากล่าวหาไทยเป็นฝ่ายเปิดฉากยิงก่อน

20.45 น. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แฉ ฮุนเซน เคย ขู่ฟ้อง UN และศาลโลก
              หากไทยไม่ถอนทหารและยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศส

21.02 น. แม่ทัพภาค 2 ยืนยัน ทางการพม่าไม่ได้มีการจับกุมทหารไทยตามกระแสข่าว
              โดยทหาร 10 นาย เป็นชุดประสานงานที่ตั้งขึ้นระหว่างสองฝ่าย

... ทหารกัมพูชาที่เสียชีวิต
จากการปะทะกับทหารไทย
เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ตอนบ่ายวันพุธ (15 ต.ค.) ที่ผ่านมา
ที่ชายแดนภูมะเขือ (Phnpm Troap)
ด้าน จ.พระวิหาร กับ จ.ศรีสะเกษ
ของไทย
(ภาพ: AFP)




21.48 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะทหาร ที่ภูมะเขือ
              เชิงปราสาทพระวิหาร ศรีสะเกษ ล่าสุด
              พบ ทหารบาดเจ็บเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 6 ราย
              ขณะนี้ถูกนำส่ง รพ. อุบลราชธานีแล้วโดยเฮลิค็อปเตอร์ 
 

(ข้อมูลจาก www.innnews.co.th 15 ตค.2008)






ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่า
"เหตุปะทะ ชายแดนไทย-กัมพูชา
เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อกลบข่าวภายในประเทศ " หรือไม่

หรือจะเป็นด้วยเหตุผลอื่น...
เนื่องจาก กำลังทหารและอาวุธของกัมพูชา
ด้อยกว่าไทยมาก
แต่ทำไมจึงเหิมเกริม ขนาดประกาศขู่..ยื่นคำขาดกับประเทศไทย

ลองพิจารณา..
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นาน
ไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นมาก
และกัมพูชาอยู่ในฐานะที่รับความช่วยเหลือจากไทย
มีหลักฐานด้วยภาพถ่ายประกอบที่ทำให้เห็นว่า

ผู้นำของกัมพูชามีความสนิทสนมกับผู้นำไทย
ตั้งแต่ คนก่อนมาจนถึงปัจจุบัน






ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/641/7641/



นายสมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไทย
ไปเยือนกัมพูชาเมื่อ 3 มีนาคม 2008






นายนพดล ปัทมะ รมต.กระทรวงต่างประเทศจับมือกับนาย Sok An
รมต.กัมพูชาที่ สำนักงานใหญ่ UNESCO ที่ ปารีส เมื่อ 22 พค.2008




นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ กับ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เมื่อ 14 พค.2008 ในโอกาสที่ไปร่วมพิธี ตัดริบบิ้น
เปิด National Highway - ถนนสาย 48
(Koh Kong-Sre Ambel) ที่เกาะกง
ซึ่งไทยให้เงินสร้างส่วนหนึ่ง
และอีกส่วนหนึ่งให้กู้โดยเสียดอกเบี้ยต่ำ


จากข้อมูลข่าว http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTIyNjg4Jm50eXBlPXRleHQ=

“สมบัติ ตรงกมลธรรม” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย
ซึ่งติดตามทำข่าวนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2551 รายงานว่า
เวลา 18.15 น. วันนี้ (3 มี.ค.)
นายสมัครแถลงผลการหารือทวิภาคีกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เกี่ยวกับการช่วยเหลือของไทยให้กับกัมพูชา
ในการการลงทุนก่อสร้างถนนสาย 68 วงเงิน 1,400 ล้านบาท
จากช่องจอม จ.สุรินทร์ ไปยัง จ.เสียมเรียบ ของกัมพูชา
และถนนสาย 48 เกาะกง-สะแรอัมเปิล และไทยยังพร้อมเพิ่มวงเงินกู้ให้
โดยอ้างว่าไทยจะมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว





ย้อนข้อพิพาทไทย-กัมพูชา จาก"สมัคร"ถึง"สมชาย"

      


8 กรกฎาคม 2551 ยูเนสโกประกาศรับรอง
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา เป็นมรดกโลก
ในสมัย นายนพดล ปัทมะ เป็น รมว.การต่างประเทศ

15 กรกฎาคม 2551 กัมพูชาจับตัว 3 คนไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายธรรมยาตรา
ที่ปีนเข้าไปนั่งสมาธิในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 กิโลเมตร ใกล้ปราสาทพระวิหาร
หลังฝ่ายทหารเข้าเจรจา สุดท้ายมีการปล่อยตัว ภายใต้ภาวะตึงเครียดที่เริ่มปะทุ

21 กรกฎาคม 2551 ไทยและกัมพูชาประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
ไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เพื่อเปิดการเจรจารอบแรก ที่โรงแรมอินโดจีน จังหวัดสระแก้ว
โดยมี รมว.การต่างประเทศและผู้นำทางการทหารทั้งสองฝ่ายร่วมเจรจา
ผลไม่คืบหน้ามากนัก

30 กรกฎาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศไทย
ทำหนังสือชี้แจงสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถึงกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น

9 สิงหาคม 2551 ทหารกัมพูชา พระ และชาวบ้านกัมพูชา
บุกรุกเข้าพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์

19 สิงหาคม 2551 ไทยและกัมพูชาเจรจารอบที่ 2
ที่โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่มีความชัดเจน
เรื่องการปักปันเขตแดน นอกจากท่าทีที่ตรงกัน
เรื่องการเน้นการเจรจาภายใต้กรอบทวิภาคี

21 สิงหาคม 2551 ไทยและกัมพูชาตกลงร่วมกัน
ในการปรับลดกำลัง ด้วยการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาททั้งสองฝ่าย
โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ทับซ้อน

13 กันยายน 2551 ทหารกัมพูชาบุกรุกปราสาทตาควาย จังหวัดสุรินทร์ อีกครั้ง
โดยฝ่ายกัมพูชาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่

3 ตุลาคม 2551 ทหารกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย และปะทะกับทหารไทย
บริเวณภูมะเขือ จังหวัดศรีสะเกษ

6 ตุลาคม 2551 ทหารพรานไทย เหยียบกับระเบิดขาขาด 2 นาย
บริเวณภูมะเขือ จังหวัดศรีสะเกษ ในภารกิจเก็บกู้กับระเบิด
เพื่อสันติภาพตามอนุสัญญาออโตวา โดยยูเอ็น
ที่มีการห้ามวางกับดักระเบิดในเส้นทางที่มีการลาดตระเวน
ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว

13 ตุลาคม 2551 ไทยและกัมพูชาเปิดการเจรจา
ที่กรุงพนมเปญ ของกัมพูชา โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกฯ
และ รมว.การต่างประเทศของไทย เป็นตัวแทน แต่ล้มเหลว
เพราะสมเด็จฯฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ประกาศให้ไทยถอนทหาร 80 นาย
ซึ่งเข้าปฏิบัติภารกิจเก็บกู้กับระเบิดตามอนุสัญญาออโตวา
ออกจากพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีข้อพิพาท ก่อนเวลา 12.00 น.
ของวันที่ 14 ตุลาคม 2551

14 ตุลาคม 2551 ฝ่ายไทย โดย รมว.การต่างประเทศ
รวมถึงกองทัพไทย ยืนยันพื้นที่ทับซ้อนเป็นเขตอธิปไตยของไทย
และไม่ยอมถอนกำลังทหารออกตามคำขาดของ สมเด็จฯฮุน เซน
และมีการเพิ่มกำลังจาก 3 เหล่าทัพ เตรียมความพร้อม
รักษาอธิปไตยไทย ตามแนวชายแดน

15 ตุลาคม 2551 เกิดการยิงปะทะกันระหว่างทหารกัมพูชา
กับทหารไทย ส่งผลให้ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย
บาดเจ็บ 3 นาย ส่วนฝ่ายไทยบาดเจ็บ 5 นาย...







ทหารมาปักป้ายเป้นพื้นที่อันตรายในป่าเฉลิมพระเกียรติ 


แฉ! ชายแดนฝั่งอรัญฯของไทยโดนเขมรรุกล้ำทำกินกว่า 17 ตร.กม.-ชาวบ้านชี้ทหารรู้เห็นและมีผลประโยชน์จนเสียอธิปไตย





บ้านตวลปราสาท ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของไทย แต่ชาวเขมร ได้เข้ามายึดพื้นที่ไปแล้ว





ทหารมาปักป้ายว่าเป็นพื้นที่อันตราย




ศูนย์ ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านอรัญประเทศแฉชายแดนริมกัมพูชา กว่า 17 ตร.กม.กินพื้นที่รวมกว่า 10,000 ไร่ ถูกชาวกัมพูชารุกล้ำยาวนานร่วม 30 ปี ทำชาวบ้านกว่า 3,700 รายต้องอพยพออกจากพื้นที่ ทั้งที่เป็นแผ่นดินไทย ชี้ทหารกองกำลังบูรพาและทหารพรานจัดฉากพื้นที่เป็นแนวเขตแดนอันตรายและ พื้นที่มีวัตถุ ระเบิด แต่ยังมีกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในหลวงหน้าตาเฉย พร้อมชี้แจงกับชาวบ้านว่าอยู่ในขั้นตอนปักปันเขตแดน แต่มีการแอบปิดเส้นทางเพื่อขนส่งและลักลอบนำเข้าของหนีภาษี ชาวบ้านเชื่อเป็นพื้นที่นำเข้ายาเสพติดรายใหญ่สุดของประเทศวอนรัฐบาลใหม่ แก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่ออธิปไตยของไทย ด้านเครือข่าย พธม.สระแก้วชี้เป็นงานที่ต้องสานต่อเพื่อคนไทยทั้งชาติ
     
       นายชัยชนะ หมายงาน ชาวบ้าน ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ให้ข้อมูลกับ "ASTV- ผู้จัดการออนไลน์" ว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ที่มีเกิดเหตุโศกนาฏกรรมสงครามเขมรแดงจนคนไทยต้องสังเวยชีวิตไป 30 กว่าศพ ทำให้ชาวบ้านในขณะนั้นต้องถอยร่นออกมาจากพื้นที่เพื่อให้ภาครัฐเข้าไปจัดการ ซึ่งสมัยนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปกำกับดูแล แต่ทว่าปัจจุบันชาวบ้านกว่า 3,700 รายยังไม่มีที่ทำกิน แม้กระทั่งในขณะนี้
     
       อย่างไรก็ตามตนในฐานะเจ้าของที่ดินคนหนึ่งได้มีการยื่นหนังสือร้องขอความ เป็นธรรมและต่อสู้เรื่องดังกล่าวเรื่อยมา แต่ยังไม่พบว่าภาครัฐจะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างไร และในขณะนี้พบว่าพื้นที่บริเวณ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว หลัก กม.ที่ 1-6 รวม 17 ตร.กม.หรือประมาณ 10,000 กว่าไร่ ดูเหมือนว่าจะสูญเสียให้ชาวกัมพูชาไปแล้ว เพราะตอนนี้มีการรุกล้ำเข้ามาทำกินกันอย่างหน้าตาเฉย ประกอบกับมีการรุกล้ำจนมีการดำเนินการก่อสร้างต่างๆ ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมแล้วเช่นกัน
     
       นายชัยชนะ ระบุด้วยว่า พื้นที่ 3 แห่งประกอบด้วยบ้านหนองดอ บ้านกกค้อ และบ้านน้อยป่าไร่ ปัจจุบันมีชาวกัมพูชาเข้าไปยึดเป็นที่ทำกินอย่างชัดเจนจนโดยมีการก่อสร้าง บ้าน โรงเรียนและวัดมีการตั้งชื่อใหม่ว่าบ้านตวลปราสาท โดยยึดว่า ตั้งอยู่ ต.ปอยเปต อ.โอโจรว จ.บันเตียเมียนเจย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ทางทหารทั้งในส่วนของทหารพรานและกองกำลังบูรพายังได้ออกมาชี้แจง กับประชาชนว่าบริเวณดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของการปักปันดินแดน และมีการก่อสร้างป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเชื่อเหลือเกินว่าการไม่ออกมาดำเนินการเช่นนี้เพราะมีการรู้เห็น และมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
     
       นอกจากนี้ทางทหารได้ออกมากล่าวอ้างในเรื่องของความมั่นคง รวมถึงเป็นพื้นที่มีอันตรายและมีวัตถุระเบิด โดยห้ามประชาชนเข้าไปทำกิน แต่เป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้านละแวกใกล้เคียงว่ามีการลักลอบขนถ่ายสินค้าหนี ภาษี และเชื่อว่าเป็นพื้นที่สำคัญที่ยาเสพติดทะลักเข้ามามากที่สุดในประเทศ ซึ่งทหารได้มีการกั้นลวดหนาวไว้ไม่ให้คนไทยเข้าไปแต่พบว่ามีชาวกันพูชา เข้า-ออกกันอย่างง่ายดาย จึงอยากเรียกร้องให้ชาวบ้านที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนั้นออกมาต่อสู้เพื่อ อธิปไตยของชาติ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามากำกับดูแลและช่วยเหลือเรื่องดังกล่าวอย่าง ชัดเจนด้วยเพราะชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
     
       ด้านนายอัมรินทร์ ยี่เฮง เลขาธิการองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชนเมืองสระแก้ว ในฐานะหนึ่งในเครือข่ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เผยว่า ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวจากการร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯที่สะพานมัฆวาน รังสรรค์ และได้มีการศึกษาพร้อมกับลงพื้นที่พบปะชาวบ้านพบว่าเรื่องดังกล่าวเป็น เรื่องจริงที่สังคมไม่รับรู้ จนขณะนี้กัมพูชาได้เข้ามารุกล้ำอย่างน่าหวั่นเกรง
     
       ทั้งนี้จะได้ทำหน้าที่ยามเฝ้าแผ่นดินและดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วย เหลือชาวบ้านซึ่งเป็นคนไทยตามจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลพร้อมกับถ่ายภาพบันทึกประจำวัน รวมถึงประสานงานกับผู้สื่อข่าวที่พึ่งพาได้และเป็นทีวีของประชาชนอย่างแท้ จริงอย่าง ASTV ลงพื้นที่จริงแล้ว และอยากฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้ออกมาตอบคำถามกับประชาชนอย่าง ตรงไปตรงมา อย่างโดยกลองให้กันโดยไม่แสดงคามรับผิดชอบ เพราะปัจจุบันชาวบ้านและประชาชนมีความคิดความอ่านมากกว่าเก่าแล้ว
      


ติดตามเรื่องราว ที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารมาโดยตลอด
เมื่อวานนี้ก็เฝ้าดูข่าวพี่น้องคนไทยจากทั่วประเทศ
รวมกำลังกันไปยังพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อเรียกร้องกดดันรัฐบาล
ให้เร่งแก้ไขปัญหา

และเกิดการกระทบกระทั่ง กับกลุ่มที่อ้างว่าเป็นชาวบ้านในพื้นที่
หน้า“บ้านภูมิซรอล” จนบาดเจ็บระนาว ต้องเข้า รพ.5 ราย
รถยนต์เสียหายหลายคัน


******************





จากบทความในบล็อก ของ คณะทำงานสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน
วันที่ 02/09/2552
พูดถึงเรื่องปราสาทพระวิหารไว้ดังนี้


ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร (ยุคใหม่)
ได้ก่อให้เกิดความสับสนในสังคมมาตั้งแต่ปี 2551
อันเนื่องมาจากชุดความคิดและหลักฐานข้อมูลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับผู้ใช้สิทธิในการตรวจสอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

ถึงวันนี้ความขัดแย้งดังกล่าวได้พัฒนาจนใกล้สุกงอม
ขณะที่ฝ่ายหนึ่งยืนกรานว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่อีกฝ่ายเตือนว่าเรื่องนี้มีอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติเป็นเดิมพัน

เช่นนี้แล้วจึงจำเป็นต้องยุติความขัดแย้งดังกล่าว
ด้วยการทำความจริงให้ปรากฏในหลายๆ ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงสาธารณะ อาทิ 

- เขาพระวิหารไม่มีพื้นที่ทับซ้อนจริงหรือ?
- เราเสียอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารเกือบ 3,000 ไร่ (4.6 ตร.กม.) โดยพฤตินัยแล้วจริงหรือ?
- รัฐบาลปัจจุบันยังคงสืบทอดนโยบายขายชาติจริงหรือ?


ที่เราต้องการคำตอบก็คือ

 “ทำไมเราต้องคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา”

หรือว่าเป็นเพียงแต่

“กลุ่มคนคลั่งชาติร่วมกับสื่อบางสำนักพยายามสร้างกระแสเรื่องการเสียดินแดน”!?



ในกระทู้นี้ ได้พยายามรวบรวมข่าว และบทความที่เป็นข้อมูล
เกี่ยวกับกรณีพิพาทของปราสาทพระวิหารมามากพอสมควรและคณะทำงานสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน
ได้แนะนำ บทความเรื่อง
"ปราสาทพระวิหาร" ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปองสุจริตกุล
ไว้ว่า ...บทความชิ้นนี้น่าจะตอบคำถามต่างๆ ดังกล่าวได้อย่างกระจ่างชัด
ในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในคดีปราสาทพระวิหาร
 





เงื่อนปมคดีปราสาทพระวิหาร: บทความล่าสุดจาก ศ.ดร.สมปอง
(คนไทยควรอ่านหลายๆ รอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน)








ปราสาทพระวิหาร


ข้อขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารเป็นปัญหาเก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษ
บัดนี้ได้มีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวมาถกเถียงกันอีกและมีการเขียนบทความต่างๆ มากมาย
รวมทั้งข้อเขียนของข้าพเจ้าเรื่องคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ซึ่งตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
รวมทั้งคำคัดค้านของไทยและข้อสงวนซึ่งไทยตั้งไว้ 


ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 
แต่กระนั้น ข้อเขียนของข้าพเจ้ายังถูกตีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผู้อ่านมิได้อ่านอย่างละเอียด
ละเลย หรือหลงลืมบางข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ข้าพเจ้าจึงขอสรุปอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้






คดีปราสาทพระวิหาร


ไทย – กัมพูชา  พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒  กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อฟ้องไทยเป็นจำเลย 
ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า พื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาดังนี้


(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓  ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจ
     หรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา


(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕  วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึง
     ในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗




ปัญหาเรื่องเขตแดน


ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ 
แม้เสียงข้างมากจะตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 
แต่ยังมีผู้พิพากษาอีกหลายท่านที่เขียนคำพิพากษาแย้งไว้ว่าประสาทพระวิหารยังคงอยู่
ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทยตามหลักสันปันน้ำที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔


พื้นที่ทับซ้อนในปัจจุบันของไทยกับกัมพูชานั้นได้แก่ตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น 
แม้ในแผนที่อีกหลายฉบับลากเส้นเขตแดนไทยไม่ตรงกัน
กัมพูชาถือว่าอยู่ในเขตของกัมพูชาโดยอ้างคำพิากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ไทยก็ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นเขตในอำนาจอธิปไตยของไทยโดยยึดสันปันน้ำ
เป็นเส้นแบ่งเขตตามสนธิสัญญาทวิภาคีกับฝรั่งเศสลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒  มีใจความดังต่อไปนี้


ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ให้เป็นไปตามยอดภูเขาปันน้ำระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสน
แลดินแดนน้ำตกแม่โขงฝ่ายหนึ่ง กับดินแดนน้ำตกน้ำมูลอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง
แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไป
แม่โขงเป็นเขตแดนของกรุงสยาม ตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหญ่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒


จึงสรุปได้ว่า ในบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขาบันทัดหรือเขาดงรัก เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา
อยู่ที่สันปันน้ำซึ่งเป็นพรมแดนธรรมขาติตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ 
และสนธิสัญญาข้างต้นโดยกัมพูชาเป็นผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศส




การปักปันเขตแดน


การปักปันดินแดนระหว่างสองประเทศแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน 
ขั้นแรกได้แก่บทนิยาม (definition)
ขั้นที่สองคือการลากเส้นบนแผนที่ตามบทนิยาม (delimitation)
และขั้นสุดท้าย (demarcation) ในกรณีที่เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ
อาทิ แม่น้ำ ให้ถือร่องน้ำลึกหรือฝั่งแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต 
หากเป็นภูเขาก็ต้องเป็นไปตามยอดเขาหรือเส้นสันปันน้ำ ในกรณีที่ไม่มีพรมแดนทางธรรมชาติ 
คณะกรรมการผสมของทั้งสองประเทศจะเป็นผู้ปักหลักเขตแดนร่วมกันด้วยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย




แผนที่


เป็นที่น่าสังเกตุว่าปัจจุบันมีการอ้างถึงแผนที่มากมายหลายฉบับในวาระต่างๆ 
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าแผนที่ฉบับเดียวที่อยู่ในประเด็นปัญหาได้แก่แผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องกัมพูชา 
แผนที่ดังกล่าวคือแผนที่ที่ทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝรั่งเศสฝ่ายเดียวเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๗
โดยไทยไม่มีโอกาสทดสอบความถูกต้องเนื่องจากไทยยังไม่ได้ก่อตั้งกรมแผนที่ทหารบก
ไทยค้นพบภายหลังว่าแผนที่ดังกล่าวผิดพลาด
เพราะการลากเส้นเขตแดนมิได้เป็นไปตามสันปันน้ำแต่คลาดเคลื่อนไปหลายกิโลเมตร 
ทำให้ปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ในเขตไทยไปปรากฏในเขตแดนฝรั่งเศส



ฉะนั้น การที่ผู้หนึ่งผู้ใดอ้างว่าแผนที่ผนวกคำฟ้องของกัมพูชาเป็นแผนที่แสดงเขตแดนจึงผิดพลาดจากความเป็นจริง 


สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะวินิจฉัยเฉพาะประเด็นคำฟ้องแรกเท่านั้น
จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในเรื่อง


(๑) สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือ


(๒) เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท


ดังนั้น ศาลฯ จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑
ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ทั้งฉบับ 
หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ ไม่ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา




อำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


โดยที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีมาตรการบังคับคดี 
จึงสุดแต่ความสมัครใจของคู่คดีที่จะพิจารณาดำเนินการ
หากคู่กรณีไม่เห็นด้วยและไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา  ศาลฯ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแต่ประการใด


ฉะนั้น ถึงแม้คำพิพากษาของศาลฯจะถึงที่สุด แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีผลในการระงับกรณีพิพาท 
หากคู่กรณีโต้แย้ง คัดค้านและไม่ยอมรับคำพิพากษาเพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม 
กรณีพิพาทนั้นๆก็ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการพิจารณาใหม่หรือจนกว่าจะระงับไปโดยสันติวิธีอื่นๆ
อาทิ โดยการเจรจา การประชุมปรึกษาหารือ หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน  ไกล่เกลี่ย
กรรมการประนอม หรืออนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ตามข้อ ๓๓ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ



คำพิพากษาของศาลฯ และทางปฏิบัติของรัฐคู่กรณี
ผลผูกพันของคำพิพากษา ข้อ ๕๙ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า


“คำพิพากษาของศาลฯไม่มีผลผูกพันผู้ใดนอกจากคู่กรณีและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น”
ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลฯ จึงผูกพันเฉพาะไทยและกัมพูชา ใช้อ้างยันกับผู้อื่นมิได้
และไม่ผูกพันประเทศที่ ๓ หรือองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลก
และไม่มีผลเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่อย่างใด
เนื่องจากการขึ้นทะเบียนมิใช่ข้อพิพาทในคดีที่ศาลฯ ตัดสิน


อนึ่ง ข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า


“คำพิพากษาของศาลนั้นถึงที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์
ในกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา
ศาลฯจะเป็นผู้ตีความเมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ”
จุดยืนและท่าทีของประเทศไทย


ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่า ศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบ
และได้ตัดสินคดีโดยขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบทั่วกันว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ 
แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ 
จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ 
ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจนว่า
ไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเนินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี


ดังนั้น รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจุดยืนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ และในวันรุ่งขึ้น
จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แจ้งให้ประชาชนทราบทั่วกัน



                                                            ตอนที่ 1 


----------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง