ข่าวล่าสุดจากศูนย์ข่าวนครราชสีมา
วันนี้ (16 ก.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น.
กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
พล.ท.สุจิตร สิทธิประภา แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2)
ได้เรียกประชุมนายทหารระดับผู้บังคับการกองกำลังพลในสังกัด
โดยได้มีการสั่งการในที่ประชุมให้กำลังพลในสังกัดเตรียมพร้อม
รับสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะบริเวณแนวชายแดน
บริเวณมออีแดง ด้านเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
หลังได้รับรายงานจากหน่วยข่าวกรองว่ากองกำลังทหารกัมพูชา
มีการเพิ่มกำลังตามแนวชายแดนด้านนี้จำนวนมาก
สำหรับคนไทยทั้ง 3 คนที่ถูกเขมรกักตัวไว้
ขณะนี้ทางกองกำลังสุรนารีควบคุมตัวไว้สอบสวน
คงไม่มีปัญหาอะไร และจะรายงานให้ทราบต่อไป
เจ้าหน้าที่ตั้งด่านสกัด อยู่ที่บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียม
ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
ห้ามทุกคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวขึ้นไปยังเขาพระวิหารเด็ดขาดวันนี้ ( 16 ก.ค.)
นอกจากนี้แม่ทัพภาค 2 ได้ฝากชี้แจงมายังประชาชน
หรือกลุ่มวลชนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ว่าช่วงนี้มีการปฏิบัติงานของฝ่ายทหาร
ยังไม่อยากให้ขึ้นไปเชิงเขาพระวิหาร เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระ
ที่ทหารจะต้องมาพะวักพะวกในการดูแลประชาชนที่ขึ้นไปจำนวนมากๆ
อย่างไรก็ตาม ได้มีข่าวว่า พรุ่งนี้จะมีประชาชนจำนวนมาก
จากกรุงเทพ ขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง
นัดกันเดินทางไปที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษณ์
เพื่อร่วมชุมนุมแสดงเจตจำนงเรียกร้องสิทธิ์ในเขาพระวิหาร
การรวมตัวเพื่อต่อสู้ของกลุ่มประชาชนดังกล่าวนี้
คงจะเป็นการกดดันให้ทหารและรัฐบาล
ได้แสดงการตัดสินใจและแก้ไขสถานะการณ์ให้ชัดเจน
และทันท่วงทีมากขึ้น
คำพูดของนพดลเมื่อ 16 มิย..2551
"นพดล ยืนยันไทยไม่เสียดินแดน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมายืนยันอีกครั้ง
เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร
ไม่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตพื้นที่อธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ก็ไม่กังวลใจ หากเรื่องดังกล่าวจะเป็นประเด็นที่ทำให้ถูกโจมตี"
หลังจากผลสำเร็จการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาสำเร็จ
เหตุการณ์กลับกลายเป็นในลักษณะที่...
เขมรอ้างทันทีว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของเขมร
ขณะที่ทหารหรือรัฐบาลไทย ให้ข่าวว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน...
โอ้ละหนอ...my love... นพดล อยู่ไหน!!!!
ทั้งๆที่เดิมจากการตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505
ระบุว่าเขมรมีอำนาจเหนือตัวปราสาทเท่านั้น
จึงทำให้ประชาชนคนไทยได้ออกเดินหน้า
แสดงการประท้วงในสิทธิ์และศักดิ์ศรีเหนือแผ่นดินไทย
ก่อนที่ทหารจะออกมาแสดงบทบาทเสียอีก
ข่าวจากมติชนรายงานว่า
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า
สถานการณ์บริเวณชายแดนไทยกัมพูชาด้าน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
ยังอึมครึมและสับสนอย่างหนัก
โดยนายเขียว กันนะริด รัฐมนตรีข่าวสาร
ในฐานะโฆษกรัฐบาลกัมพูชากล่าวอ้างว่า
มีทหารไทย จำนวน 170 นาย รุกข้ามแดน
ในขณะที่ยังไม่มีความกระจ่างในกรณีที่ทางการกัมพูชาอ้างว่า
ได้ควบคุมตัวทหารไทยไว้ก่อนหน้านี้ 40 นายแต่อย่างใด
ซึ่งตรงกับคำกล่าวของนายเฮง โซธ
อธิบดีกรมอุทยานปราสาทพระวิหารที่อ้างว่า
กองกำลังของทั้งสองฝ่ายตรึงกำลังกันอยู่แบบเผชิญหน้า
แต่ยังไม่มีการลั่นกระสุนเข้าใส่กัน แต่ได้รับคำสั่งให้ตื่นตัวเตรียมพร้อม
แต่ต้องไม่ใช่เป็นฝ่ายที่ลั่นกระสุนเข้าใส่ก่อน
เอพีอ้างเขมรคุมไม่ให้ทหารไทยล้ำแดน
เวลา 13.00 น. เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติม
โดยอ้างการเปิดเผยของนายเฮง โซธ ระบุว่า
ทหารไทยเพิ่มกำลังขึ้นมากกว่า 200 นาย
ในขณะที่ทหารกัมพูชาเองก็มีอยู่จำนวนหลายร้อยนายเช่นเดียวกัน
'ทหารไทยอีกมากกว่า 200 นายมาถึงแล้ว และไม่ยอมกลับออกไป
การเผชิญหน้าอาจกลายเป็นเรื่องรุนแรงได้'
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมอุทยานปราสาทพระวิหารระบุว่า
เจ้าหน้าที่กำลังหารือถึงวิธีการ
ที่จะยุติการตรึงกำลังเผชิญหน้ากันอยู่ในเวลานี้
รายงานของเอเอฟพีระบุว่า
เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาอ้างว่ามีการควบคุมตัวทหารไทยจำนวนหนึ่งไว้
ที่เจดีย์แห่งหนึ่งบริเวณไหล่เขาทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
โดยกล่าวว่าจะปล่อยตัวทหารทั้งหมดเป็นอิสระ
หากยินยอมลงนามในเอกสารยอมรับว่า
ได้ข้ามแดนเข้ามายังในกัมพูชา
แต่ทางการไทยกลับเสริมกำลังเข้ามาเพิ่มเติม
ทั้งนี้ นายเขียว กันนะริด กล่าวว่า
หลังจากนั้นกัมพูชามีการเสริมกำลังบางส่วนเข้าไปเพิ่ม
ทำให้มีทหารประจำอยู่ในจุดเกิดเหตุ 380 นายแล้วในเวลานี้
เวลา 16.00 น. เอเอฟพีรายงานสถานการณ์เพิ่มเติมจากกรุงพนมเปญว่า
นายเขียว กันนะริด ออกมายืนยันอีกครั้งว่าทหารของทั้ง 2 ฝ่าย
ยังคงตรึงกำลังกันอยู่บริเวณใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหาร
แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จะถือเป็นการรุกล้ำดินแดนจากทางฝ่ายไทยหรือไม่
นายเขียวกล่าวตอบว่า 'คิดว่าน่าจะใช้คำว่ากรณีที่เกิดขึ้น
เป็นความเข้าใจผิดกันบางอย่างมากกว่า
ปฏิกิริยาของทหารทั้งสองฝ่ายในเวลานี้ยังคงเป็นไปโดยสงบ
เมื่อคืนต่างฝ่ายต่างค้างแรมอยู่ที่วัดเดียวกันอยู่เลย'
พร้อมกันนั้นก็ระบุว่าไม่มีการควบคุมตัวทหารไทยไว้ที่วัดดังกล่าวแต่อย่างใด
ทหารไทยสามารถกลับออกมาได้อย่างเสรี
และคาดหวังว่าคงจะถอนตัวกลับออกมาในเร็วๆ นี้
'ฮุนเซน'ขอสื่ออย่าสาดน้ำมันใส่ไฟ
ทางด้านเอพีรายงานว่า นายเขียวได้เปิดเผยด้วยว่า
มีนายทหารระดับสูงของไทยได้เสนอให้จัดการประชุมระดับสูงสุด
ระหว่างสองฝ่ายขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่นายเขียวย้ำว่าจุดยืนของกัมพูชาคือ
ต้องให้ทหารไทยถอนกำลังออกไปจากดินแดนของตนเองก่อน
หลังจากนั้น จึงจะมีการเจรจาปัญหาชายแดนกันได้
และยังระบุว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ได้ร้องขอต่อสื่อมวลชนในกัมพูชา
และประชาชนโดยรวมให้รักษาความสงบ
'อย่ากระพือให้สถานการณ์เลวร้ายมากยิ่งขึ้นหรือสาดน้ำมันลงกองไฟ
เราจะไม่ใช้กำลังอย่างแน่นอน ถ้าหากไม่ถูกโจมตีก่อน'
นายเขียวอ้างคำพูดของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาระบุ
เอพีระบุว่า พ.อ.เส็ง วุธิ นายทหารระดับผู้บังคับหมวดกองกำลังรักษาชายแดน
ของกัมพูชากล่าวเมื่อเช้าวันเดียวกันนี้ว่า
ตอนนี้นิ้วของทหารทั้งไทยและกัมพูชา
อยู่ตรงไกปืนกันตลอดเวลาแล้ว
ในขณะที่ชาวบ้านราว 900 คน
ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านละแวกใกล้เคียงกับจุดเกิดเหตุ
ต่างพากันหลบหนีออกจากบ้านพัก
ไปยังพื้นที่ปลอดภัยบริเวณตีนเขาแล้วทั้งหมด
ผบ.ทบ.เซ็นคำสั่งตรึงกำลังพร้อมรบ
แหล่งข่าวกล่าวว่า วันเดียวกัน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.
ได้ลงนามในคำสั่งให้มีการเคลื่อนกำลังประชิดชายแดน
โดยเฉพาะกำลังจากกองพลรบพิเศษที่ 1จังหวัดลพบุรี กรมทหารปืนใหญ่
และกองพลทหารราบที่ 3 โดยให้ พล.ท.สุจิตร แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้บัญชาการพื้นที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ กำลังทหารที่เคลื่อนที่เข้าไปประชิดชายแดน ขณะนี้
กำลังรวบรวมกำลังในพื้นที่รวมพล หากมีสถานการณ์รุนแรงให้สามารถใช้กำลังทหารได้ทันที
แหล่งข่าวกล่าว หลังจากที่มีการส่งกำลังเข้าตรึงในพื้นที่
ทางกัมพูชาแจ้งว่า ไม่ต้องการที่จะปะทะกับทหารไทย
แต่กล่าวเพียงว่าหากมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นอาจจะเกิดการปะทะกันในที่สุด
ขณะนี้ทางผู้บัญชาการทางทหารของทั้งสองประเทศไม่ต้องการให้เกิดการปะทะกันแต่อย่างใด
ทบ.ยันเขมรไม่มีสิทธิจับคนไทยในพื้นที่ทับซ้อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเข้าไปเจรจากับทางกัมพูชา
เพื่อขอให้ปล่อยตัว 3 คนไทยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ได้มีทหารจากกองกำลังสุรนารีกว่าร้อยนายเข้าไปใน
บริเวณพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรด้วย
จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ กำลังดังกล่าวยังไม่เดินทางกลับมา
จึงทำให้สำนักข่าวเอเอฟพี ในกรุงพนมเปญ ได้อ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลกัมพูชาว่า
ไม่พอใจที่ทหารนับร้อยคนของฝั่งไทยเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน
และระบุว่าการที่ทหารไทยลุกล้ำเขตแดนเข้ามาครั้งนี้
ทางเจ้าหน้าที่กัมพูชาได้ควบคุมตัวทหารไทยไว้หมดแล้ว
แหล่งข่าวจากกองทัพบก เปิดเผยว่า การดำเนินมาตรการของกองทัพภาคที่ 2
โดยกองกำลังสุรนารี ในการส่งกำลังทหารจำนวน 2 กองร้อย
ประมาณ 140 นาย เข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน
ไม่ได้เป็นการรุกล้ำอธิปไตยของกัมพูชาและทางการกัมพูชา
ไม่มีสิทธิที่จะจับกุมเจ้าหน้าที่ไทย
ดังนั้น ข่าวที่รัฐบาลกัมพูชานำเสนอในขณะนี้เป็นการหวังผลทางด้านจิตวิทยามากกว่า
เพราะมาตรการที่เราไม่ถอนกำลังทหารกลับเพื่อเป็นการกดดันให้เปิดเจรจา
ให้ถอนสิ่งปลูกสร้างที่เข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อน
ที่ยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องปักปันเขตแดน
แต่มีนโยบายชัดเจนว่าจะไม่มีการใช้กำลังใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงเด็ดขาด
'ทหารที่เข้าไปจะจัดตั้งเป็นฐานกองร้อยปฏิบัติการชั่วคราว
โดยจะเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่กัมพูชาเพื่อเจรจาในเบื้องต้น
และผลักดันให้นำปัญหาเข้าสู่คณะกรรมการทีบีซีอย่างเร่งด่วน
เพื่อที่จะได้ผลักดันชุมชนชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว
เพราะในเมื่อเขายังเอาคนเข้ามาอยู่ได้
เราก็สามารถให้คนของเราเข้าไปอยู่ได้เหมือนกัน'
แหล่งข่าวกล่าว
กระทรวงต่างประเทศเผยตกลงตั้งกก.2ฝ่ายแล้ว
ขณะที่ ทางกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
แจ้งความคืบหน้าของสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาว่า
ขณะนี้กองทัพไทยได้ประสานกับฝ่ายกัมพูชาและทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่า
จะเรียกประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC)
ซึ่งเป็นกลไกที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองฝ่าย
หรือผู้แทนเป็นประธานร่วมและมีการประชุมกันเป็นปกติ
ให้มาประชุมกันเป็นสมัยพิเศษ ในวันที่ 21 กรกฎาคม ที่จังหวัดสระแก้ว
เร็วขึ้นจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ในเดือนสิงหาคม 2551
เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้พูดคุยประเด็นต่างๆ กันฉันเพื่อนบ้านที่ดี
โดยระหว่างนี้กองทัพของทั้งสองฝ่ายมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด
17 กค.2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากทั่วประเทศ
นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางโดยรถบัส รถตู้ รถปิกอัพ
และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลหลาย 100 คัน พร้อมรถบรรทุก 6 ล้อ
ติดเครื่องขยายเสียงรวมกว่า 1,000 คน
มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา
เพื่อชุมนุมทวงคืนเขาพระวิหาร และให้กำลังใจทหารไทย
ที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวมถึงมวลชนชาวบ้านบางส่วน
สกัดกั้นไม่ให้ขึ้นไปยังอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
จนต้องแวะพักขบวนปักหลักอยู่ที่ภายในโรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย
อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ผ่านมานั้น
ล่าสุด ขณะนี้ เวลา 12.00 น.กลุ่มพันธมิตรฯ ดังกล่าว
ได้ตั้งเวทีปราศรัยอยู่ที่โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย
ซึ่งอยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประมาณ 5-10 กิโลเมตร
เพื่อชุมนุมเรียกร้องนำปราสาทพระวิหารกลับคืนสู่ประเทศไทย
พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหาร กองกำลังสุรนารี (กกล.สุรนารี)
ที่ระดมกำลังเข้าไปปกป้องแผ่นดินไทย
และผลักดันชาวกัมพูชาออกจากเขตแดนไทย
ซึ่งขณะนี้ได้เข้าไปตรึงกำลัง
ถึงบริเวณเชิงบันไดทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหารแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายวีระ สมความคิด
ได้ประชุมหารือกับบรรดาแกนนำ เพื่อร่วมกัน
กำหนดมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป
หลังจากถูกสกัดเส้นทางไม่ให้ขึ้นสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
โดยที่ประชุมแกนนำได้ข้อสรุปร่วมกันว่า
ในเวลา 13.00 น.จะตั้งตัวแทนพันธมิตรฯ ประมาณ 30 คน
ขึ้นไปยังผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ชายแดนฝั่งประเทศไทย
เพื่ออ่านแถลงการณ์ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหารไทยทุกนาย
ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการทวงคืนประเทศไทย
และเป็นตัวแทนประชาชนชาวไทยทุกคน
ในการขอบพระคุณทหารหาญที่หวงแหนประเทศไทย
คณะของนายวีระพร้อมตัวแทน 30 คนเดินทางจะขึ้นไปยังเขาพระวิหาร
ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางพร้อมกลุ่มชาวบ้าน
ที่เรียกตัวเองว่าคนรักศรีสะเกษ จำนวนประมาณ 30 คน
ตั้งเต็นท์ขวางถนนสกัดไว้ ไม่ยอมให้คณะของพันธมิตรฯ ผ่านไป
พร้อมมีการร้องตะโกนด่าทอพันธมิตรฯ ด้วยคำหยาบคาย
และอ้างว่าไม่ต้องการให้พันธมิตรฯ มาชุมนุม เพราะจะทำนาไม่ได้
จนกระทั่งคณะบางส่วนต้องยอมถอยและเดินทางกลับมาที่โรงเรียนบ้านภูมิสรอล
พร้อมเปิดเวทีปราศรัยสลับกับการแสดงดนตรี
โดยมีการถ่ายทอดสดทางเอเอสทีวี ตั้งแต่เวลา 14.30 น.ที่ผ่านมา
ส่วนนายวีระยังคงเจรจากับเจ้าหน้าที่
เพื่อขอขึ้นไปอ่านแถลงการณ์และให้กำลังใจทหารบนเขาพระวิหารให้ได้
ขณะที่สถานการณ์แนวชายแดนไทย-กัมพูชา
บริวเณเชิงเขาพระวิหารขณะนี้ กองกำลังสุรนารี
ยังคงตรึงกำลังทหารพรานจากกรมทหารพรานที่ 23
นำโดย พ.อ.ธัญญา เกียรติสาร ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 23
กับชุดลาดตระเวนระยะไกล ร้อย รลว.ไกล กองกำลังสุรนารี
กองทัพภาคที่ 2 อยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนชาวกัมพูชาที่ตั้งชุมชนร้านค้า
อยู่ที่บริเวณเชิงบันไดทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหารประมาณ 300-500 คน
ขณะนี้ได้เคลื่อนย้ายขึ้นไปอาศัยอยู่ที่บริเวณปราสาทโคปุระชั้นที่ 2
ของปราสาทพระวิหารแล้ว
ขณะที่ประชาชนชาวกัมพูชาส่วนหนึ่งก็ย้ายออกจากพื้นที่
ลงไปอยู่ที่บ้านโกมุย ด้านหลังเขาพระวิหาร ฝั่งประเทศกัมพูชา
แต่ก็ยังมีชาวกัมพูชาอีกจำนวนหนึ่งยังคงเฝ้าร้านค้า
อยู่ที่บริเวณเชิงบันไดทางขึ้นตัวปราสาทพระวิหาร
ที่ทหารไทยไว้วางกำลังอยู่ร่วมกับทหารกัมพูชา
ล่าสุดสถานการณ์บริเวณเชิงเขาพระวิหาร
ยังเป็นปกติแม้ว่าทางทหารกัมพูชาจะนำกำลังติดอาวุธขึ้นมาตรึงกำลัง
ที่ปราสาทพระวิหารจำนวนมากก็ตาม
โดยกำลังทหารไทยและทหารกัมพูชาไม่ได้เผชิญหน้ากันมากนัก
เพียงแต่วางกำลังตามแนวพื้นที่ของตัวเอง และรอการเจรจาจากระดับรัฐบาล
และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจและคลี่คลายปัญหาโดยเร็ว
พันธมิตรฯ ฝ่าด่านถึงบันไดพระวิหาร-อ่านประกาศทวงคืนแผ่นดินไทย
วี ระ"นำตัวแทนพันธมิตรฝ่าด่านม็อบจัดตั้งสำเร็จ เดินทางถึงบันไดทางขึ้นพระวิหารได้แล้ว พร้อมอ่านคำประกาศทวงคืนดินแดนและอธิปไตยของชาติไทยเหนือปราสาทพระวิหารและ พื้นที่โดยรอบ
เมื่อเวลาประมาณ 17.50 น.ที่ผ่านมา ตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้ฝ่าด่านการสกัดกั้นของม็อบจัดตั้งโดยนักการเมืองท้องถิ่นใน จ.ศรีสะเกษ จนสามารถเดินทางไปถึงบริเวณบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทพระวิหารได้แล้ว หลังจากนั้นนายวีระ ได้อ่านคำประกาศของประชาชนชาวไทย พิทักษ์รักษาทวงคืนดินแดนและอธิปไตยของชาติไทยเหนือปราสาทพระวิหารและ พื้นที่โดยรอบ ดังนี้
คำประกาศของประชาชนชาวไทย
พิทักษ์รักษาทวงคืนดินแดนและอธิปไตยของชาติไทย
เหนือปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
ณ บัดนี้ ข้าพเจ้านายวีระ สมความคิด ได้เดินทางมาพร้อมกับพี่น้องประชาชนชาวไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินทั่วทุกสาร ทิศ และมายืนอยู่ที่บริเวณหน้าปราสาทพระวิหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เราในฐานะประชาชนชาวไทยขอประกาศหน้าปราสาทพระวิหารว่า
1. ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร อยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย “ตามแนวเขตสันปันน้ำ” ซึ่งเป็นการปักปันเขตแดนเอาไว้ระหว่างคณะทำงานร่วมของประเทศฝรั่งเศสและสยาม ประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2447 (ค.ศ. 1904)
ดังนั้นเราในฐานะประชาชนชาวไทยจึงยังคงยึดถือแนวเขตปักปันสันปันน้ำดัง กล่าว ว่าเป็นการกำหนดพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชาตลอดมา โดยถือว่าปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบทั้งหมด “เป็นของราชอาณาจักรไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว” ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน ไม่มีพื้นที่กันชน ใดๆ ทั้งสิ้น แม้จะมีคำพิพากษาของศาลโลกอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ว่าตัวปราสาทพระวิหารเป็นของ ประเทศกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2505 ก็ตาม แต่สำหรับรัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่ได้เห็นชอบด้วยกับคำตัดสินดังกล่าว ตั้งแต่นั้นมา โดยรัฐบาลไทยได้ประกาศคัดค้านพร้อมสงวนสิทธิ์ที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารเอา ไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 จวบจนถึงปัจจุบัน
2. กรณีที่รัฐบาลหุ่นเชิดของไทยชุดปัจจุบันซึ่งได้อำนาจมาจากการโกงการเลือก ตั้ง ได้สมคบกับผู้นำบางคนในรัฐบาลกัมพูชา เพื่อให้ผู้นำของกัมพูชาใช้เป็นประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยยินยอมยกอธิปไตยของไทยบางส่วนให้ประเทศกัมพูชาได้สิทธิขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้เป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยมุ่งหวังแลกเปลี่ยนเอาผลประโยชน์ในสิทธิสัมปทานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใน อ่าวไทย รวมทั้งสิทธิสัมปทานอื่นๆ บนเกาะกงและพื้นที่อื่นๆ ในกัมพูชา ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้องนั้น ถือเป็นการกระทำที่น่าอัปยศอดสูอย่างยิ่งต่อทั้งประชาชนไทยและประชาชน กัมพูชา
การที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการยอมรับแผนที่แก้ไขเพิ่มเติมฝ่ายเดียวของ กัมพูชา และลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาซึ่งถือเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนและรัฐสภานั้น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตามคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ดังนั้นหนังสือสัญญาและแผนที่ใดๆที่รัฐบาลไทยได้ไปตกลงหรือลงนามในแถลงการณ์ ร่วมกับกัมพูชานั้น เราในฐานะประชาชนชาวไทยขอประกาศว่าเป็นโมฆะทั้งสิ้น
3. เราในฐานะประชาชนชาวไทยขอประกาศอย่างหนักแน่นว่า “เราคัดค้าน ไม่ยอมรับ และต่อต้านมติของคณะกรรมการมรดกโลก ที่เห็นชอบให้ประเทศกัมพูชาได้สิทธิ์ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่ โดยรอบปราสาทเป็นมรดกโลกโดยแต่เพียงฝ่ายเดียว”
พร้อมกันนั้น เราขอประณามมติคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าว ที่ได้ละเมิดอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย ยอมรับการบิดเบือนข้อมูลของประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ตลอดจนลงมติละเมิดระเบียบของคณะกรรมการมรดกโลกเสียเอง ว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีบรรทัดฐานที่ถูกต้องชอบธรรม ลำเอียงอย่างไร้จริยธรรม และไร้ยางอายเป็นอย่างยิ่ง
เราจึงขอประกาศต่อต้านการแทรกแซงทุกรูปแบบของประเทศใดก็ตาม ที่จะเข้ามาลิดรอนและละเมิดอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย เพื่อดำเนินการให้ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นดินแดนของราช อาณาจักรไทยให้ตกเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว
4. เราในฐานะประชาชนชาวไทยขอประกาศให้รัฐบาลกัมพูชา จงรีบนำประชาชนของท่าน ที่ได้รุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยให้ออกไปจากดินแดนไทยโดยทันที มิเช่นนั้นประชาชนชาวไทยจะอาศัยสิทธิและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ ของราชอาณาจักรไทย ในการปกป้องอธิปไตยของชาติไทยทุกรูปแบบ จนถึงที่สุด.
ประกาศ ณ วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม 2551
ประชาชนชาวไทย
... | เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า |
วันนี้ (18 กรกฎาคม 2551) กระทรวงการต่างประเทศ
ได้เชิญนายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย มาพบ
เพื่อมอบหนังสือที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
ได้ลงนามถึงสมเด็จอัคคมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
ตอบหนังสือที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชามีมาถึงฝ่ายไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2551
หนังสือของนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันความตั้งใจของรัฐบาลไทย
ที่จะแก้ไขสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่ที่ติดกับปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธีและเป็นธรรม
โดยมอบหมายให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นำคณะผู้แทนไทย
เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) สมัยพิเศษ
ที่จังหวัดสระแก้ว ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เพื่อหารืออย่างฉันมิตรกับฝ่ายกัมพูชา
และย้ำว่าทั้งสองประเทศควรใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม
นายกรัฐมนตรีไทยยืนยันว่าพื้นที่บริเวณวัดแก้วสิขเรศวร
ที่กล่าวถึงในหนังสือของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาอยู่ในดินแดนของไทย
การที่ได้มีชาวกัมพูชาขึ้นไปสร้างวัด สิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมทั้งที่อยู่อาศัย
กับทั้งมีทหารอยู่ในพื้นที่นั้น ถือว่าได้ละเมิดอธิปไตยและดินแดนของไทย
ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลไทยได้ทำการประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรมาแล้ว 4 ครั้ง
ตั้งแต่ปี 2547 2548 2550 และครั้งหลังสุดเมื่อเดือนเมษายน 2551
ฝ่ายไทยเห็นว่าการที่กัมพูชาเพิ่มกำลังทหารจาก 200 นายเป็นกว่า 1,000 นาย
ได้ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น
นายกรัฐมนตรีของไทยเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ
และควรเร่งรัดให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC)
หารือโดยเร็วเพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวระหว่างทั้งสองประเทศ
อันจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นอีก
และในระหว่างที่ JBC ดำเนินการอยู่
ฝ่ายไทยพร้อมที่จะเจรจาหารือถึงมาตรการชั่วคราวต่างๆ ที่จะใช้ไปก่อน
เพื่อหยุดยั้งปัญหาใดๆ ที่อาจจะมีขึ้นหลังการมอบหนังสือ
ให้เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูต
ของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศไทยอีก 8 ประเทศมาพบ
เพื่อแจ้งท่าทีไทยและมอบสำเนาหนังสือลงวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.2008
จากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงนายกรัฐมนตรีไทย
หนังสือลงวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ.2008
จากนายกรัฐมนตรีไทยถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
พร้อมด้วยเอกสารแนบคือสำเนาหนังสือประท้วง 4 ฉบับ
ตลอดจนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจ
และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา
ที่ทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2543
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เวียนเอกสารดังกล่าว
ให้แก่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศอื่นๆ ในประเทศไทยด้วย
นายธฤตฯ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การประท้วงทั้ง 4 ครั้งของไทยนั้น
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2543
ซึ่งข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่า
ระหว่างที่การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศยังไม่เสร็จสิ้น
ทั้งสองฝ่ายจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชายแดน บนพื้นฐานของข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจ
ฝ่ายไทยทำการประท้วงต่อกัมพูชา
- เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547
ประท้วงการขยายตัวของชุมชนกัมพูชาซึ่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่ชายแดนและก่อปัญหาขยะมูลฝอยและปัญหาน้ำเสีย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนไทยในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่า
รวมทั้งการก่อสร้างอาคารที่ทำการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกัมพูชาในพื้นที่ดังกล่าว
- ต่อมา วันที่ 8 มีนาคม 2548
ได้ยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชาเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของกัมพูชา
ในการก่อสร้างและปรับปรุงถนนจากบ้านโกมุย อำเภอจอมกสาน
จังหวัดพระวิหาร ถึงปราสาทพระวิหาร
- ต่อมา วันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ได้ยื่นหนังสือประท้วงคัดค้าน
เอกสารเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลกของกัมพูชา
และต่อการออกพระราชกฤษฎีกากัมพูชา
กำหนดเขตอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย
- และวันที่ 10 เมษายน 2551
ได้ยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชาที่ละเมิดอธิปไตย
และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยและละเมิดข้อ 5
ของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2543
โดยย้ำคำประท้วงที่ผ่านมาทั้งสามครั้ง
รวมทั้งขอให้ถอนกำลังทหารและตำรวจ
ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันของกัมพูชาและไทย ออกทันที
อย่างไรก็ดี กัมพูชาไม่เคยตอบสนองคำประท้วงของไทย
ขณะนี้ สถานการณ์ทั่วไปยังเป็นปกติ
เมื่อกัมพูชาได้ร้องต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ(ยูเอ็น)
ทางการกัมพูชาเชิญเจ้าหน้าที่สถานทูต 4 ประเทศ
ไปดูสถานการณ์ที่ปราสาทพระวิหารเมื่อวันเสาร์ (19 ก.ค.) นี้
ซึ่งล้วนเป็นมิตรประเทศใกล้ชิดที่สุด มีผลประโยชน์มากที่สุดในกัมพูชา
ทูตทหารเวียดนามประจำกัมพูชา พ.อ.เหวียนแองยวุ๋ง (Nguyen Anh Dung)
กับทูตทหารจีนประจำกัมพูชา พ.อ.หวังซิงผิง (Wang Xing Ping)
กับ พ.ต.คริสโตเฟอร์ มิลส์ (Christopher Mills)ทูตทหารบกสหรัฐฯ ๆ
ได้รับเชิญไปที่ประสาทพระวิหารเมื่อวันเสาร์ (19 ก.ค.) นี้
รวมทั้งสถานทูตฝรั่งเศสได้รับเชิญให้ร่วมเดินทางครั้งนี้ด้วย (ภาพ: AFP)
เจ้าหน้าที่ทั้งหมดซึ่งเป็นทูตทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลาโหม
จากสถานทูตสหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศสและเวียดนาม
เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์จากกรุงพนมเปญ ถึงปราสาทพระวิหารในตอนสาย
และ ใช้เวลานานนับชั่วโมงในการเยี่ยมชมบริเวณปราสาท
รวมทั้งเขตวัดที่ทหารไทยกับทหารกัมพูชาอยู่ที่นั่น
เจ้าหน้าที่สถานทูตของทั้ง 4 ชาติ
ได้รับฟังบรรยายสรุปจากเจ้าหน้าที่ทางการกัมพูชา
รวมทั้งแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว
โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนตามหลีกสากล
สหรัฐฯ จีนและฝรั่งเศส เป็นประเทศสมาชิกถาวร
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(UN Security Council) ขณะที่เวียดนามซึ่งเป็นสมาชิกประเภทหมุนเวียน
และกำลังเป็นประเทศประธานของ UNSC ในเดือนนี้
ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่เอกอัครราชทูต
ผู้แทนถาวรกัมพูชาประจำองค์การสหประชาชาติ
ได้ร้องขอให้องค์การระหว่างประเทศแห่งนี้
เข้าแทรกแซงความขัดแย้งกับประเทศไทยเกี่ยวกับพรมแดนด้านเขาพระวิหาร
จากข้อมูลที่คุณเอ็นจอยฯ นำเสนอแล้ว
รัฐบาลกัมพูชาได้นำเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างกัมพูชาและไทยที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
แจ้งเวียนต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ(ยูเอ็น)
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ตามเวลาในนครนิวยอร์ก หรือวันที่ 19 กรกฎาคมตามเวลาในไทย
ผู้แทนกัมพูชาประจำยูเอ็นได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า
ไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่ในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
ในปี 1904 ที่เก็บไว้ ณ ศาลโลก
พร้อมกับระบุว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ได้ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นในสังคมไทย
ทำให้ทหารไทยบุกขึ้นไปยึดพื้นที่ของกัมพูชาในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ดีการแจ้งเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งเวียนเพื่อทราบ
โดยไม่ได้ร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นดำเนินการใดๆ
เอเอฟพีรายงานว่า กัมพูชานำผู้แทนจากสถานทูตสหรัฐ จีน ฝรั่งเศส และเวียดนาม
ในกรุงพนมเปญบินออกจากเมืองหลวงของกัมพูชามายังพื้นที่ทับซ้อนใกล้กับปราสาทพระวิหาร
ซึ่งกำลังมีการเผชิญหน้ากันระหว่างทหารกัมพูชาและทหารไทยโดยเฮลิคอปเตอร์
เพื่อสำรวจพื้นที่และถ่ายภาพโดยรอบแต่ไม่มีการพูดคุยกับทั้งสองฝ่าย
รวมทั้งปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
โดยสถานทูตจีนและเวียดนามส่งทูตทหารมาร่วมการสำรวจพื้นที่
ส่วนฝรั่งเศสและสหรัฐเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตเท่านั้น
อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าทั้งไทยและกัมพูชายังคงเสริมกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
พ.อ.เสา โสกา ผู้บังคับการสารวัตรทหารกัมพูชาระบุว่า
คณะเจ้าหน้าที่จากสถานทูตต่างๆ เดินทางมาเพราะไม่ต้องการเห็นการเผชิญหน้า
ระหว่างทหารของทั้งสองประเทศ เพราะเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่ายหากเกิดการปะทะกันขึ้น
พ.อ.เสรย ดิค ผู้บัญชาการกองกำลังกัมพูชาซึ่งรับผิดชอบการปฎิบัติการในพื้นที่ระบุว่า
ได้รับคำสั่งจากระดับสูงว่าให้ทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการยิงต่อสู้
ซึ่งตนได้คุยกับทหารไทยและบอกว่ากองกำลังในแนวหน้าควรจะเก็บอาวุธเอาไว้
ทหารกัมพูชายังถูกสั่งห้ามไม่ให้ดื่มของมึนเมาเพื่อหลีกเลี่ยงการยิงปืนใดๆ โดยรอบบริเวณวัด
พร้อมกันนี้เขาย้ำว่า กัมพูชาเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านี้อย่างแท้จริง
รวมถึงตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี 1904
ขณะที่รอยเตอร์ระบุว่า ไทยและกัมพูชาต่างเสริมกำลังทหารและอาวุธหนักเข้าไปในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
โดยมีผู้เห็นรถบรรทุกของกองทัพไทยกว่า 8 คันขนทหารนับหลายร้อยคน
พร้อมอาวุธครบมือทั้งปืนเอ็ม-16 มุ่งหนัาไปยังชายแดน
ขณะที่ขบวนรถอีกขบวนหนึ่งขนปืนใหญ่ไปยังชายแดนเช่นกัน
ด้านพล.ท.สุจิตร สิทธิประภา แม่ทัพภาคที่ 2 ระบุว่า
ได้เพิ่มกำลังทหารหลังทราบว่ากัมพูชาระดมกำลังเพิ่มเติม
เพราะหากสถานการณ์บานปลายเราจะได้สามารถใช้กำลังทหารได้ในทันที
ทั้งนี้ทางการไทยประเมินว่ากัมพูชาตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,200 นาย
ส่วนกัมพูชาระบุว่ามีทหารไทยในพื้นที่ราว 400 นาย
เอพีรายงานว่า รัฐบาลกัมพูชาพยายามควบคุมความตึงเครียดไม่ให้บานปลาย
โดยกระทรวงมหาดไทยกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์แนะนำเจ้าหน้าที่
ในจังหวัดทุกจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับไทยให้ยังคงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและความรุนแรงใดๆ กับคู่เจรจาฝ่ายไทย
ก่อนหน้านี้สถานทูตสหรัฐได้ออกประกาศเตือนคนอเมริกันให้ชะลอการเดินทาง
ไปยังบริเวณดังกล่าวจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
(ข้อมูลข่าวจาก มติชนและ ผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2551 )*******************
เรื่องราวของปราสาทพระวิหารและอื่นๆที่เกี่ยวพันกันนี้
ที่จะน่าวิตกในฐานะประชาชนชาวไทยก็คือ
เราไม่ต้องการมีเรื่องพิพาท หรือการสู้รบกับเพื่อนบ้าน
แต่ขณะเดียวกัน เราก็ไม่ต้องการเสียสิทธิ์ในอธิปไตย
บนแผ่นดินของไทย
แม้จะยุ่งยากอย่างไร เราก็ต้องการความชัดเจน ความถูกต้อง
เพราะเป็นศักดิ์ศรี เป็นสมบัติของชาติ
มองดูแล้วเรามีจุดด้อยกว่ากัมพูชา ตรงที่
ความเห็นของคนในชาติคล้ายจะไม่ประสานไปในทางเดียวกัน
เหตุการณ์ที่ผ่านมาการกระทำของรัฐบาลไทย
ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจ ว่ามีความจริงใจ
หรือผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงอยู่ หรือไม่
หากขจัดเสียซึ่งปัญหา 2 ข้อนี้แล้ว
ปัญหาไม่ว่าจะยากหรือง่าย
จะเกิดกับกัมพูชา หรือประเทศเพื่อนบ้านอื่นใดก็ตาม
ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าหวาดหวั่น
ศัตรูนอกบ้าน ไม่น่ากลัว เท่าศัตรู (ปัญหา)ในบ้านของเราเอง
จากรายการ "สนทนาประสาสมัคร เช้าวันอาทิตย์ที่ 20 กค. 2551"
ในตอนที่พูดถึงการยินยอมให้เขมรจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร
"ท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของประเทศคงแลเห็นนะครับ
ว่าไอ้ที่ดำเนินการกันไป ในที่สุด มันก็ไปลุกปรึ๊บๆๆ อย่างที่ว่า
นี่ถ้าหากว่าเป็นไปตามปกติ ตามปกตินะครับ เมื่อเวลาที่เราเคยเสียเขาไป
เมื่อตอนนั้นรัฐบาลตอนนั้นก็เก่งครับ ขีดเส้นปั๊บๆๆ ลงไปทำปริมณฑลตรงนั้นให้
เอาไปเท่านี้ เท่านี้ก็เท่านี้ เขาก็อยู่ของเขาเท่านั้น
วันหนึ่งเขาอยากจะขอขึ้น เอ้า เจรจาแล้วบอกว่าต้องขึ้นร่วมกัน
เขาบอกเขาจะขึ้นคนเดียว เถียงกันไปเถียงกันมา ไปเจรจา
เขาเตรียมการตั้ง 2 ปี เขาจะขึ้น แปลว่าก่อนรัฐบาลนี้เกิด 2 ปี
เขาเตรียมการจะขึ้น แล้วเมื่อปีกลายเขาประชุม
คือมรดกโลเขาประชุมปีละหน เขาประชุมที่ไครซ์เจิร์ช (***) ที่นิวซีแลนด์
เขาตกลงไป เถียงกันว่าจะขึ้นคนเดียว
นี่ก็บอกว่าต้องขึ้นด้วยกัน ถ้าเผื่อว่ามีพื้นที่เราบอกจะต้องขึ้นด้วยกัน
เขาก็บอกว่างั้นไปเถียงกันใหม่ ไปเถียงกันต่อวันที่ 2 กรกฎาคม ปี 51 คือปีนี้ล่ะครับ
ไปเถียงกันต่อที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เพราะเป็นการประชุมครั้งที่ 32
ก็ต่อมาก็มาเลยไง ก็มา ก็มีรัฐมนตรีต่างประเทศ ก็บริหารอยู่ ดำเนินการอยู่
ตกมาถึงรัฐบาลนี้ก็มีรัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ดำเนินกิจการธรรมดา
ผมเป็นนายกฯ ไปเยี่ยมทางเขา เขาก็บอกว่า เออ เรื่องนี้ เขาจะขอขึ้น
เราก็บอกเราไม่เห็นด้วยหรอก ถ้าขึ้นก็ขึ้นด้วยกัน
ไปเยี่ยมเขาเนี่ยนะ ก็นั่งหันหน้ากันน่ะ บอกเรื่องนี้ๆ ต้องขอขึ้นด้วยกัน
บอกเขาให้ขึ้นด้วยกัน
เอ้า อีกเดือนนึงไปประชุม เจอกัน ที่ประชุม
เขาก็ขอเจรจาบอกความว่าเขาติดต่อแล้วเขาจะขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาท
บอกว่าถ้างั้นก็ลองไปเจรจากันดู ถ้าจะขึ้นเฉพาะตัวปราสาท
ถ้ามรดกโลกเขายอมทำอย่างนั้นให้ก็หมดเรื่อง หมดปัญหา
เฉพาะตัวปราสาท เพราะตัวปราสาทเป็นของเขา ก็ตกลงกันอย่างนั้น
เขาก็ไปเจรจา กระทรวงต่างประเทศเขาเป็นเจ้าของเรื่อง รัฐมนตรีเขาก็ไป
เพราะว่าไม่ได้ไปเจรจากันเอง มรดกโลกเขามานั่งด้วย
เจรจาความตกลงกัน บอกตกลงเอานะขึ้นเฉพาะปราสาท
ที่แล้วมา ถ้าใครนึกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วครึ่งหนึ่งของสามเหลี่ยมน่ะ ก็ของเขา
กำลังนี้ก็เอาเฉพาะปราสาท ก็ยังไม่ต้องไปยุ่งตรงนั้นอีก ก็เท่านั้นเอง
ไปถึงขึ้น เราก็คิดว่ายังไงก็ขึ้นไม่ได้ เพราะมี 3 ข้อ
ต้องอย่างนี้ๆๆ เอ้า ปรากฏว่าเล่นเกมกัน ก็ประเทศใหญ่ๆ ก็ไม่ได้ปิดบัง
คุณปองพลก็เล่าให้ฟังว่า เขาเตรียมการกัน
แล้วเขาเห็นว่าประเทศเราเป็นอย่างนี้ เขาก็เลยเฮละโลไปช่วยอย่างนั้น
ก็เรื่องมรดกโลก ตกลงไปก็ขึ้น ข้อเดียว
เขาบอกข้อเดียวขึ้นได้เลย เนื้อหาสวยงาม ฝีมือดี ขึ้นเลย
คุณปองพลยังบ่นเลย บอกอะไรกัน เคยต้องใช้ 3 ข้อ
ต้องอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่มีข้อแม้ ขึ้นเลย
ก็แปลว่าทางโน้นก็เล่นอะไรไม่ค่อยชอบมา แต่เราก็บอก เอ้า ก็ตามใจ
ก็จบกันแค่นั้น
ก็ที่มันไม่จบอย่างนี้ เพราะว่าก่อนจะถึงงานนั้น ก็เอ้า
ลากเอาเรื่องนี้ไปเล่นกันในสภา มีเหตุมั้ยครับ มีครับ
ที่จะปรับทุกข์วันนี้ ก็เหตุยังไม่ถึงตรงนี้......"
"ได้คุณปองพล มาแทนอาจารย์อดุล
เขาก็ยกคณะไปทำหน้าที่ แล้วทำหน้าที่ดี เรียบร้อยดี เจรจาความ
ก็ได้รู้เลยว่า อ๋อ มรดกโลกเล่น ไม่ค่อยตรงไปตรงมา
ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะของเขา เขาขอขึ้นของเขา แป๊บเดียวขึ้นได้
ก็เท่านั้นก็จบ มันควรจะจบเท่านี้ ไม่จบครับ อ้างกันอีก จะเอาอีก
จะเอา ตะกุยตะกายเอาให้ได้ เอาให้เป็นเหตุให้ได้
แล้วทำยังไงครับ แล้วสุดท้ายก็ต้องเกิดเหตุจนได้
เพราะไอ้ตรงเนี้ย ที่เราเรียกกันว่าโนมส์แลนด์ (***) แน่นอนครับ
เขาขยับมาตรงนั้น ก็ต้องเจรจากันได้ ก็จะพูดจากัน ค่อยๆ พูดจากัน
ก็กำลังจะค่อยๆ พูดจากัน ก็เล่นกันกลางจั่วเข้าไปตรงนั้น
โผล่เข้าไปตรงนั้นเขาก็อ้างว่าของเขา เราก็อ้างว่าของเรา
เราก็ส่งทหารเข้าไป เอาตัวกลับมา เอาตัวกลับมา เขาก็มาบอกเลย
บอกว่าคุณเอาทหารออก เราก็บอกที่ของผม เอ๊ะ ทำไมเคี้ยให้เราออก
แล้วก็บอกว่าที่ของผมได้ยังไง เห็นมั้ยครับ เท่านั้นล่ะครับ
ไทยกับไทยฟัดกันเองก่อน ........."
(คลิปจาก http://www.mcotcm.com/voice_pri/#)
เราคนไทยพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม
จากคำพูดของนายสมัคร
เท่ากับยอมรับว่าเรา(นายสมัครและรัฐบาล)
ถูกเขมรหลอก เชื่อคำพูดเขมร
นายปองพลและคณะที่เข้าไปทำหน้าที่
(ซึงนายสมัครให้คำชมว่า " ได้คุณปองพล มาแทนอาจารย์อดุล
เขาก็ยกคณะไปทำหน้าที่ แล้วทำหน้าที่ดี เรียบร้อยดี เจรจาความ ")
ก็ไม่ได้มีบทบาทเป็นปากเสียงแก้ไขอะไรให้ฝ่ายไทยได้เลย
ก่อนหน้านั้นประชาชนชาวไทยจำนวนครึ่งค่อนประเทศ
นักวิชาการจำนวนไม่น้อย ทักท้วง ติติง
ก็ยัง "ดันทุรัง" งุบงิบตกลงเซ็นสัญญาให้เขมรนำปราสาทพระวิหาร
ไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว
ผืนแผ่นดินไทย ไม่ใช่สมบัติหรือที่นาที่สวนส่วนตัวของนายสมัคร
นายนพดลหรือคณะรัฐบาลคนใดคนหนึ่งที่จะนำไปให้ต่างชาติเช่นเขมร
"ลอง" นำไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
อย่างน้อย ตามที่ตกลงกัน จากคำตัดสินของศาลโลก
คือเฉพาะตัวปราสาท
หากจะร่วมมือกับเขาจริง
เราก็ต้องไปยื่นจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกัน
จะต้ทำอะไรที่รัดกุมกว่านี้
ไม่ใช่ว่าพลาดไปแล้วจะอ้างแค่
"เราก็คิดว่ายังไงก็ขึ้นไม่ได้ เพราะมี 3 ข้อ
ต้องอย่างนี้ๆๆ เอ้า ปรากฏว่าเล่นเกมกัน ก็ประเทศใหญ่ๆ ก็ไม่ได้ปิดบัง
คุณปองพลก็เล่าให้ฟังว่า เขาเตรียมการกัน"
"คุณปองพลยังบ่นเลย บอกอะไรกัน เคยต้องใช้ 3 ข้อ
ต้องอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่มีข้อแม้ ขึ้นเลย
ก็แปลว่าทางโน้นก็เล่นอะไรไม่ค่อยชอบมา แต่เราก็บอก เอ้า ก็ตามใจ
ก็จบกันแค่นั้น "
ความเสี่ยงในสิทธิ์ของแผ่นดินไทย
ไม่ใช่เรื่องที่จะ แค่ "ลองดู"
หรือเพียง "คิดว่า" หรือแค่กลับมา "บ่นให้ฟัง"
ครั้นพลาดไปแล้วกว่าจะทำการแก้ไข
ก็ต้องถูกกดดันจากประชาชนอย่างมากมาย
แต่กระนั้นนายสมัครก็ยังก่นด่าประชาชนผู้รักชาติจนได้
สำหรับท่านที่มีใจเป็นกลางสามารถย้อนกลับไปฟังคำพูดที่ผ่านมา
ที่บอกว่า เขมรขึ้น “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลกแล้ว
ไทยไม่เสียดินแดน ของผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง
นายนพดล ปัทมะ แถลงข่าวยืนยันประเทศไทย
ไม่สูญเสียดินแดนกรณีกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2551
นายสมัคร สุนทรเวช จาก รายการ "สนทนาประสาสมัคร" 22 มิถุนายน 2551
รายการ ถามจริง-ตอบตรง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที
วันที่ 23 มิถุนายน 2551
- นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.
- นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
เมื่อ 12 กค.2551
และคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
นายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
พล.ท.แดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร
นายเพ็ญศักดิ์ ชลารักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
... | เจาะเบื้องลึกการเจรจา "คว้าน้ำเหลว" คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (จีบีซี) สมัยวิสามัญ (นัดพิเศษ) ที่จัดขึ้นที่ รร.อินโดจีน จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม |
จะว่านัดแรก “ล้มเหลว” เพราะผลการประชุม
แทบจะไม่มีอะไรออกมาใหม่หรือเป็นรูปธรรม ก็ดูจะไม่เกินไปนัก
หากย้อนกลับไปดู “ทิศทาง” ของกัมพูชา คือการเดิน “เกม”
เพื่อชิงความได้เปรียบรัฐบาลไทย ทั้งเรื่องการ “ฟ้อง” สหประชาชาติ
เวทีอาเซียน หรือแม้แต่ “ศาลโลก” รัฐบาลกัมพูชาก็ทำมาแล้ว
การประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม
แม้ว่า พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ได้หอบ “มติ” ของ นายกฯ ฮุน เซน มายื่นเพื่อให้กองกำลังทหารไทย
ถอนกำลังออกนอกพื้นที่ให้กับปราสาทพระวิหาร เพื่อลดอุณหภูมิความตึงเครียดระหว่างไทย-กัมพูชา
8 ชั่วโมงของการต่อรองของ พล.อ.เตีย บัน จึงวนเวียนอยู่ที่ประเด็นนี้...
ขอให้ทหารไทยถอนกำลังออกจากวัดพระวิหาร
แต่สิ่งที่รับกลับมา คือการถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง
ฝ่ายไทย ที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่เป็นหัวหอกคนสำคัญ
พล.อ.เตีย บัน ถึงกับอึ้ง พูดอะไรไม่ออก
เพราะในขณะที่ พล.อ.เตีย บัน มุ่งมั่นให้ไทยถอนกำลังทหาร
เพราะถือว่าดินแดนบริเวณนั้นตามแผนที่ที่ฝรั่งเศสเขียนเป็นของกัมพูชา
แต่ฝ่ายไทยก็ยืนยันว่าตรงจุดนั้นเป็นอธิปไตยของไทย
การเจรจาจึงเหมือนกับเป็นการพูดคนละภาษา
เพราะต่างฝ่ายต่างก็ถือแผนที่คนละฉบับ และยืนยันความถูกต้องของแผนที่
ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าแผนที่ของตนเป็นแผนที่ที่ทำขึ้นตามที่ศาลโลกตัดสิน
ขณะที่ฝ่ายไทยยืนกรานว่า แผนที่ที่ถือนั้นเป็นไปตามหลักสากลที่ถือแนวเส้นสันปันน้ำ
ผลการประชุมที่ออกมาระบุว่า "ติดขัดในข้อกฎหมาย"
จึงเป็นเหตุผลที่คิดค้นมาเพื่อรักษาหน้าของทุกฝ่าย
และเพื่อไม่ให้ขยายความหมางเมิงไปมากกว่าที่เป็นอยู่
ผลการประชุมจึงยอมรับกันได้เพียง 3 ข้อ
1.ห้ามยิงปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารทั้งสองฝ่าย
2.ห้ามเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารทั้งสองฝ่ายเพิ่มเติมเข้าไปในพื้นที่
3.ห้ามนำผลการประชุม “โฟร์ อาย” ไปเป็นประเด็นทางการเมือง
........... พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ | พล.อ.เตีย บันห์ |
ระหว่าง พล.อ.บุญสร้าง กับ พล.อ.เตีย บัน
โดยที่ทางฝ่าย พล.อ.เตีย บัน ได้เสนอให้ไทยถอนกำลังทหารไทยออกนอกพื้นที่
โดยเฉพาะบริเวณวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
แต่ พล.อ.บุญสร้าง ไม่ยอม
เพราะรู้ว่าทางกัมพูชาก็ส่งกำลังทหารมาประจำการบริเวณใกล้เตียงเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ละครฉากใหญ่ที่กัมพูชาคิดค้นเพื่อ “ตบตา” ไทยก็คือ
การนิมนต์พระขึ้นไปให้กำลังใจแก่ทหารและชาวกัมพูชา
โดยมีกองกำลังทหารกัมพูชาคุ้มกันเข้มแข็ง
แต่เมื่อพระกลับ ทหารที่มาส่งกลับไม่ได้ลงเขาไปส่ง
นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ฝ่ายไทยยังคงตรึงกำลังในบริเวณที่เป็นข้อพิพาท
ส่วนเรื่องพื้นที่ “ทับซ้อน” บริเวณปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร
ที่ไทยได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปหลายครั้ง
เพื่อต้องการให้ “ชาวกัมพูชา” ที่มาปักหลักอยู่บริเวณดังกล่าวเกือบ 1,000 คน
ย้ายออกนอกพื้นที่ แต่ฝ่ายกัมพูชายังคงอิดออดที่จะให้คนของตนกลับออกไป
อ้างหน้าตาเฉยว่า รอให้เลือกตั้งกัมพูชาวันที่ 27 กรกฎาคม
ผ่านพ้นไปและได้รัฐบาลใหม่เสียก่อน !
ไม่แปลกที่การประชุมครั้งนี้ต้องยุติลงโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่บรรลุเป้าหมาย
และยังไม่รู้ว่า การเจรจารอบใหม่จะเริ่มขึ้นเมื่อใด
ข่าวจากสื่ออันได้แก่ข่าวทางโทรทัศน์
โพสท์ทูเดย์ และผู้จัดการออนไลน์ วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 นี้
เสนอข่าวการแถลงเรื่องปราสาทพระวิหาร ของ หลาย ฝ่าย อันได้แก่
นายกฯไทย นายสมัคร สุนทรเวช
นายสิน บินเทิน โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา
เลอเลืองมินห์ ทูตเวียดนามประจำยูเอ็น
และนายจอร์จ เหยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
ในฐานะประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ดังนี้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี อ้างว่า
ได้โทรศัพท์ คุยกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เรื่องปัญหาข้อพิพาทในพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร
โดยตกลงกันว่า วันที่ 28 ก.ค.นี้ จะมีการประชุม รมว.ต่างประเทศ
ของทั้ง 2 ชาติ ที่เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
“สมเด็จฮุนเซนรับปากว่าจะถอนเรื่องปัญหา
จากกรณีปราสาทพระวิหารที่ส่งไปที่นิวยอร์ก"
(กรณีฟ้องไทยต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี)
ขณะที่นายสิน บินเทิน โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่า
นายฮอร์ นัมหง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา จะเดินทางไปยังนครนิวยอร์กในวันนี้
เพื่อบรรยายสรุปเป็นการส่วนตัวกับยูเอ็นเอสซีเกี่ยวกับข้อพิพาทกับไทย
ด้านเลอเลืองมินห์ ทูตเวียดนามประจำยูเอ็น
ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ในเดือนนี้ กล่าวว่า
ได้รับจดหมายจากคณะผู้แทนของกัมพูชาประจำยูเอ็น
ขอให้ยูเอ็นเอสซีเลื่อนการประชุมเร่งด่วนในประเด็นข้อพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างกัมพูชาและไทยออกไปก่อน
เนื่องจากต้องการรอผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของสองประเทศ
ที่เมืองเสียมเรียบในวันจันทร์หน้า (28)
และเอพี/เอเอฟพี รายงานเมื่อวันที่ 24 ก.ค.
อ้าง จอร์จ เหยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
ในฐานะประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ว่า
ข้อพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชานั้น
ไม่ควรกลายมาเป็นประเด็นปัญหา
และไม่จำเป็นเลยที่ต้องยื่นกรณีนี้ขึ้นสู่คณะมนตรีความมั่นคง
แห่งสหประชาชาติตามเสียงเรียกร้องให้กัมพูชา
เหยียว กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่
กัมพูชาจะส่งเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อคณะมนตรีความมั่นคง
โดยไทยและกัมพูชาควรจะเน้นไปที่การเจรจาทวิภาคี
และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่า
“เรื่องนี้ไม่ควรจะไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วก็ยังไม่ได้เป็นปัญหาอะไร
แต่ตอนนี้จู่ๆ ก็เป็นปัญหาขึ้นมา” เหยียว กล่าว
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ในคณะมนตรีความมั่นคง 15 ชาตินั้น
ปรากฏว่ามีสมาชิกอาเซียน 2 ประเทศที่ร่วมอยู่ด้วย
คือ เวียดนาม ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงในปีนี้
และอินโดนีเซีย สมาชิกหมุนเวียน
พร้อมกันนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ยังย้ำถึงเสียงเรียกร้อง
จากเวทีการประชุมความมั่นคงอาเซียน (เออาร์เอฟ)
ให้ทั้งสองประเทศอดทนอดกลั้นมากขึ้น โดยที่อาเซียนจะจับตาดูอยู่
“ทั้งสองประเทศควรจะส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน
และนั่นเป็นสิ่งที่เราควรจะส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า
ในฐานะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม
ไม่ใช่จะมาทำให้กลายเป็นประเด็นปัญหาของสองประเทศ”
วันเดียวกัน คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ
ซึ่ง ร่วมการประชุมเออาร์เอฟ ที่สิงคโปร์ กล่าวว่า
ปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างสันติ
โดยที่ประชุมเออาร์เอฟ ซึ่งมีรัฐมนตรีของอาเซียน
และชาติคู่เจรจารวม 27 ชาติ ต่างรู้สึกกังวล
ต่อสถานการณ์ที่ทั้งสองประเทศต่างระดมกำลังเข้าตรึงในพื้นที่ดังกล่าว
“เป็นเรื่องที่ต้องมาคุยกัน เรากังวลต่อเรื่องนี้ และจำเป็นต้องแก้ไขอย่างสันติ”
ไรซ์ กล่าว และว่า สหรัฐจะปรึกษาแนวทางของปัญหานี้
ผ่านมุมมองของประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่อไปด้วย
เปลว สีเงิน จากไทยโพสท์ฉบับวันที่ 30 กค.2551
ได้สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับ กรณีปราสาทพระวิหาร ล่าสุด
ไว้อย่างน่าสนใจ และจุดประกายความหวังเรืองรอง
ขึ้นในใจของคนไทยเราได้ไม่น้อยเลย
ความคืบหน้าของการเจรจาความเมือง
เรื่องพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร
รายงานบรรยากาศรวมที่เสียมเรียบ การพูดคุยระหว่าง
นายเตช บุนนาค ฝ่ายไทย กับนายฮอร์ นัมฮง ฝ่ายกัมพูชา
นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ นำคณะผู้แทนไทยหารือทวิภาคี
กับ นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศกัมพูชา
กรณีพิพาทพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร
ที่ โรงแรมดิอังกอร์พาเลซสปาแอนด์รีสอร์ท เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
บรรยากาศมิตรภาพ "ทางการทูต" ชื่นมื่น!
แต่ฝ่ายปฏิบัติการ ระดับเจ้าหน้าที่ผู้ต้อง "ลงรายละเอียด" ทั้งสองฝ่าย
บรรยากาศระอุอ้าว เขม็ง-ตึงเครียด คุยกันตั้งแต่เช้ายันค่ำยังไม่จบ
ในความเห็นผม นี่คือสัญญาณที่ดี
แสดงว่าช่องทางเริ่มเปิด "คุยกันไปได้เรื่อยๆ"
แต่ถ้าจบเร็วโดย "ไม่มีอะไร" นี่ซี
แสดงว่า "ตีบตัน" ในการเจรจาทุกขั้นตอน!
อันที่จริงเรื่องอย่างนี้ ระดับชาวบ้านเราๆ ท่านๆ ทำลืมๆ เงียบๆ กันไปซะบ้าง
ปล่อยให้ฝ่ายคุย เขาคุยกันโดยไม่มี "ความกดดัน" จากประชาชน
ที่ตั้งแง่ "เงาก็ไม่ยอมให้ทับกัน"
ผมคิดว่า ทั้งสองฝ่ายจะทำงานกันง่ายขึ้น!
เท่าที่ผมสังเกตตอนนี้ ฝ่ายเรา "ผนึกกำลัง"
เป็นฝ่ายรุกบนเวทีประชาคมโลกบ้างแล้วนะครับ
เป็นเรื่องน่าปลื้มใจมาก เมื่อวาน ผมเห็น
"ศ.เสน่ห์ จามริก" ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ท่านทำจดหมายเปิดผนึกส่งถึงยูเอ็น
ส่งถึงยูเนสโก เตือนสติ-ให้ไต่สวนทวนทบ ในสิ่งที่ทำลงไปกรณี
"ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก"
เพราะการที่ทำแบบเร่งรีบ-รวบรัด ขัดกฎข้อบังคับองค์กรตัวเองดังเช่นที่ทำไป
เป็นชนวนให้เกิดความร้านฉานระหว่างไทย-กัมพูชา
ส่งผลกระทบต่อวิถี-ความคิด-ชีวิต-สังคม ของประชาชนทั้งสองประเทศอย่างรุนแรง
ในฐานะที่ยูเอ็น และยูเนสโก เป็นองค์กรนำมาตรฐานของโลก
ควรทบทวนต่อสิ่งที่ทำไปแล้ว และที่กำลังทำอยู่เสียใหม่ ว่า
นั่นคือการทำที่ส่งเสริมสันติภาพ สันติสุข และสามัคคี
ระหว่างประชาชาติไทย-ประชาชาติกัมพูชา ใช่หรือไม่?!
และในขณะที่ระดับรัฐมนตรีเจรจากันอยู่ที่เสียมเรียบ
ฝ่ายไทย-โดยเจ้ากรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
"พล.ท.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์"
ก็นำคณะผู้ช่วยทูตทหาร ๑๒ ประเทศ
มี สหรัฐ ฝรั่งเศส แคนาดา เยอรมนี อินโดนีเซีย พม่า
สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น
ไปดูพื้นที่จริงถึงเขาพระวิหาร ศรีสะเกษ
ว่าไทยรุกราน รุกล้ำ หรือมีปฏิบัติการทางทหารที่เหี้ยนกระหือรือ
อย่างที่กัมพูชาป่าวประกาศต่อชาวโลก และร้องต่อยูเอ็น
และคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติหรือไม่?
ครับ..นี่คือการแยกกันเดิน แต่รวมกันตีเพื่อชาติ
ยังไงๆ ถ้าสามัคคี ตั้งหลักได้เมื่อไหร่ "ไทยไม่เป็นรองใครในโลก" หรอกครับ
ผมยังไม่ได้คุยถึงประเด็น "ปฏิวัติ-ยุบสภา" เลย เอาเป็นว่า "ไม่มีปฏิวัติ" ก็แล้วกัน
แต่เมืองไทยจะมีโฉมหน้าอย่างไรต่อไป เอาไว้หลังวันที่ ๘ สิงหาคมเราค่อยมาพูดกัน.
“นางบุน รานี ฮุนเซน” ภริยานายกฯ กัมพูชา นำคณะสงฆ์พร้อมทหาร ตำรวจ และชาวกัมพูชา จำนวนมาก ลุยประกอบพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทำบุญประเทศเสริมดวงเมืองบนเขาพระวิหาร ขณะที่ ครู-นักเรียนศรีสะเกษ เข้าได้แค่ประตูทางขึ้นอุทยานฯ นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคส่งมอบเป็นขวัญกำลังใจแก่ทหารไทย ที่ตรึงกำลังรักษาแดนดินและอธิปไตยบนเขาพระวิหาร วันนี้ (1 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. ที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นางบุน รานี ฮุนเซน ภริยาของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมด้วยคณะนายทหารและภริยานักการเมืองระดับสูงของประเทศกัมพูชา ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์จากกรุงพนมเปญ มาลงที่บ้านโกมุย ด้านหลังเขาพระวิหาร ฝั่งกัมพูชา ห่างจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ประมาณ 5 กิโลเมตร จากนั้นได้เดินทางโดยรถยนต์แลนด์ครุยเซอร์ สีทอง หมายเลขทะเบียน 9999 ขึ้นไปยังบนปราสาทพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อประกอบพิธีสักการะบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพระวิหาร บริเวณโคปุระชั้นที่ 4-5 และ บริเวณเป้ยตาดี ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดของเขาพระวิหาร
สำหรับวัตถุประสงค์การทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนี้ ถือเป็นการทำบุญประเทศหรือเสริมดวงเมืองในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปี 2008 ซึ่งเป็นวันสำคัญที่เหมาะแก่การประกอบพิธีของชาวกัมพูชาที่เชื่อถือมาแต่โบราณ จึงได้จัดทำพิธีอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้เกิดความสงบสุขรุ่งเรืองแก่ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นบนประสาทพระวิหาร และเป็นการทำบุญเนื่องในโอกาสที่พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของ นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.เข้ามาจำนวนมากอีกด้วย นอกจากนี้ นางบุนรานี ฮุนเซน และคณะยังได้มอบสิ่งของเครื่องใช้ ข้าวสาร อาหารแห้ง ให้กับทหารกัมพูชาที่ตรึงกำลังอยู่บนเขาพระวิหารเพื่อเป็นขวัญกำลังใจอีกด้วย ในการทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนประสาทพระวิหารของกัมพูชา วันนี้ (1 ส.ค.) ทางฝ่ายทหารไทยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนทุกแขนง ขึ้นไปทำข่าวภายในบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนแต่อย่างใด โดยอ้างว่าไม่มีคำสั่งอนุญาตมาจากหน่วยเหนือ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ (1 ส.ค.) ที่บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ คณะครู-นักเรียน โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ได้นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้งและน้ำดื่ม ที่ได้ร่วมกันบริจาคและได้รับบริจาคจากบรรดาผู้ปกครอง ขึ้นรถบรรทุกมาส่งมอบเป็นขวัญกำลังให้กับทหารไทย ที่ตรึงกำลังปกป้องรักษาเขตแดนและอธิปไตยของไทย ที่บริเวณเขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา อยู่ในขณะนี้ โดยมีนายทหารของกองกำลังสุรนารี เป็นแทนผู้รับมอบ จากนั้นคณะครู นักเรียนโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ได้ เข้ารับฟังบรรยายสรุป เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปราสาทเขาพระวิหาร จากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ซึ่งเรียกความสนใจให้กับนักเรียนที่เป็นตัวแทน นำสิ่งของไปมอบให้ทหารไทยในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนที่จะนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคอีกส่วนหนึ่งไปส่งมอบให้กับทหารไทย ที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณด่านผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ต่อไป |
---------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น