บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 1





ต้องกราบ ขอโทษป้า เสลา ที่ไม่ได้ขออนุญาติ เอามาเผยแพร่ต่อนะครับ ขอเอาข้อมูลของป้ามาให้คนที่ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน ให้ได้ข้อมูลในอดีต จากผู้ที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอดนะครับ ขอบคุณครับ


เมื่อ 46 ปีก่อน
ป้าเสลาเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น
จำได้ว่าทางโรงเรียนมีการเรี่ยไรเงินเด็กนักเรียน
เพื่อสมทบทุนในการต่อสู้กรณีพิพาท
เรื่องเขาพระวิหารกับเขมร ที่ศาลโลก
แม้คำตัดสินออกมาเราจะแพ้
โดยคำตัดสินคือ

"ไทยต้องเสียปราสาทเขาพระวิหารไปเป็นของประเทศกัมพูชา
แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียเขาพระวิหารทั้งลูก
เนื่องจากบันไดหินทางขึ้นเขาพระวิหารขั้นที่ 162 ลงมา
เป็นดินแดนของประเทศไทย"


เวลาผ่านไป 46 ปี
ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องวิตกกังวลอีก
ว่าเราจะต้องเสียดินแดนให้เขมรเพิ่มอีกหรืออย่างไร...??



เรื่อง"เขาพระวิหาร" เคยเป็นเรื่องสะเทือนใจคนไทย
เมื่อ 46 ปีมาแล้ว
คนไทยครึ่งค่อนประเทศ รวมทั้งป้าเสลา
ในสมัยนั้นเคยเสียน้ำตามาแล้ว เมื่อเราแพ้คดี
จากกรณีพิพาทกับเขมร

เมื่อมีข่าวที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ
พื้นที่เขาพระวิหารขึ้นมาอีก
จึงเป็นที่สนใจ จดจ่อรอฟังด้วยความกังวล เป็นห่วง





จากข่าวล่าสุด
(มติชน 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551)


นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ที่สำนักงาน สมช.
การประชุมนัดนี้มีวาระสำคัญคือ กระทรวงการต่างประเทศ
เสนอเรื่องการจัดทำแผนที่ใหม่เพื่อการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร
เป็นมรดกโลกให้ สมช.พิจารณา

สำหรับแผนที่ใหม่นี้ จากการรายงานข่าวของสื่อหลายสื่อ
ระบุว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายจัดทำขึ้น
เช่นจากข่าวของ www.nationchannel.com  6 มิถุนายน 2551
รายงานว่า
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ  ได้ส่งเจ้าหน้าที่
ไปรับแผนที่เขาพระวิหาร ฉบับใหม่ที่เมืองเสียมเรียบ
ซึ่งเป็นฉบับที่ไทย-กัมพูชา ได้ร่วมตกลงกันในวันที่ 22-23 พ.ค.ที่กรุงปารีส
และเพื่อความรอบคอบจะมีตรวจวัดพื้นที่จริงอีกครั้ง


แต่ขณะเดียวกันข่าวจากสื่อ
เช่น www.tnewsonline.net วันที่ 2008-06-09
ก็รายงานว่า รมว.ตปท. รอคำตอบจากกัมพูชา เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
จึงยุติการให้ดูแผนที่ก่อน


     นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
หลังจากที่ฝ่ายกัมพูชายื่นแผนที่ฉบับใหม่ให้ไทยพิจารณา ว่า
คิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน หลังจากนี้จะให้คำตอบกับกัมพูชาได้ทราบโดยเร็วที่สุด
ตนเข้าใจความปรารถนาของคนไทยที่ต้องการจะดูแผนที่ดังกล่าว
เพราะอยากให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติจึงต้องขอเวลาดูแผนที่ให้เรียบร้อยก่อน
อย่างไรก็มีโอกาสที่จะเปิดเผยเอกสารให้ดูได้
หลังจากสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้แล้ว



(ภาพจาก www.oknation.net/blog/print.php?id=90117)

ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แถลงผลการประชุม สมช.ว่า
สมช.ได้ให้ความเห็นชอบแผนที่เขาพระวิหารซึ่งทางกัมพูชาได้จัดทำขึ้น
และร่างการแถลงการณ์ร่วม
โดยกัมพูชาจะจำกัดการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทเท่านั้น
ไม่มีพื้นที่พัฒนาหรือพื้นที่อนุรักษ์ล้ำเข้ามาในพื้นที่
ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อน 4.6 กิโลเมตร
ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา
ทางกัมพูชาได้ส่งแผนที่ให้ไทยและกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ขอให้ทางเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหารมาตรวจสอบแล้ว

"ที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวางแต่ก็เห็นชอบ
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ในวันที่ 17 มิถุนายน
หาก ครม.เห็นชอบก็จะได้รับมอบอำนาจให้ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม
จากนั้นจะมีการแจ้งให้ทางกัมพูชาได้รับทราบ
เพื่อให้กัมพูชาส่งแผนที่ดังกล่าวไปให้คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ
เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา"
นายนพดลกล่าว

สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า
ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสั่งไม่ให้ทหารให้ความเห็น
นายนพดลกล่าวว่า ไม่เคยสั่งทหารโดยใช้ถ้อยคำว่าหุบปากหรืออะไร
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่อาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์
และอยากให้พูดในแนวเดียวกัน

ซึ่งในที่ประชุม สมช. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)
และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม
ได้แสดงความคิดเห็นขอบคุณ
และชื่นชมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งการเลือกตั้งของกัมพูชาในปลายเดือนกรกฎาคม
หากไปปลุกเร้าหรือสัมภาษณ์ที่ผิดพลาดไป
อาจจะมีผลกระทบต่อการเมืองภายในของกัมพูชา

เมื่อถามว่า เป็นห่วงว่าจะมีการเอาผลประโยชน์ของชาติ
แลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ส่วนบุคคล
นายนพดลกล่าวว่า ความกลัวเป็นสิ่งที่ดี
แต่อย่ามีมากและต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง
เพราะกระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถไปทำอะไร
ที่จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากเป็นการเจรจาบนโต๊ะ

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ทั้งนักวิชาการและฝ่ายความมั่นคง
ขอให้เปิดเผยแผนที่ ทำไมไม่เปิดเผย

นายนพดลกล่าวว่า คนที่รู้เรื่องแผนที่ดีที่สุดในประเทศไทย
คือ กรมแผนที่ทหาร
กระทรวงการต่างประเทศไม่เชี่ยวชาญ
และจะสามารถเปิดได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร
แต่ตอนนี้ยังเป็นความลับทางราชการอยู่

"ไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะตัวปราสาทนั้นเป็นของกัมพูชา
ตามคำวินิจฉัยของศาลโลก ซึ่งในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี
ได้มีมติ ครม.คืนปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาตามแผนที่ แอล 7017
และท้ายที่สุดการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทจะไม่กระทบต่อการปักปันเขตแดนใดๆ
ซึ่งได้เขียนไว้เป็นข้อตกลงร่วมกัน" นายนพดลกล่าว

และว่า ส่วนเรื่องการก่อสร้างบ้านเรือนและร้านค้าของชาวกัมพูชา
รุกล้ำเข้ามาในเขตประเทศไทยนั้น จะต้องไปเจรจา
บริหารจัดการและวางแผนร่วมกัน ซึ่งจุดยืนของไทยคือ ต้องอนุรักษ์ตัวปราสาท


ทั้งนี้ ก่อนการประชุม สมช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ให้สัมภาษณ์ กรณีสร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
ของชาวกัมพูชาว่า ต้องหารือกับกัมพูชา
เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนนี้ร่วมกัน จะได้ไม่เกิดปัญหา
เรื่องสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ทับซ้อนขอให้ประชาชนใจเย็นๆ
 เพราะเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว ถ้าไม่เห็นด้วยก็ควรหยิบยกมาพูดกันก่อนหน้านี้มานานแล้ว
ไม่อยากให้มีการกระพือข่าวช่วงนี้
เพราะจะทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างประชาชน 2 ประเทศ
โดยเฉพาะช่วงที่จะมีการเลือกตั้งของกัมพูชาในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้
หากมีนักการเมืองหยิบประเด็นเรื่องชาตินิยมไปหาเสียงในกัมพูชา
อาจมีปัญหาเหมือนเรื่องเผาสถานทูตไทยในกัมพูชาก็ได้
และขอยืนยันว่า บริเวณพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร
ไม่ใช่แหล่งพลังงานด้านน้ำมันแน่นอน
เพราะแหล่งพลังงานที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ในทะเล
มีพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร



จุดสำคัญที่ทำให้คนไทยทั้งหลาย
หายใจไม่ค่อยทั่วท้องก็คือ

"ก่อนหน้านี้ทั้งนักวิชาการและฝ่ายความมั่นคง
ขอให้เปิดเผยแผนที่ ทำไมไม่เปิดเผย "



และการแถลงยืนยันของ นายนพดล  ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
ว่า
แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติจึงต้องขอเวลาดูแผนที่ให้เรียบร้อยก่อน
อย่างไรก็มีโอกาสที่จะเปิดเผยเอกสารให้ดูได้
หลังจากสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้แล้ว





ซึ่งคนไทยทั้งประเทศก็คงต้องทำใจ
ฝากความเชื่อมั่นไว้กับคำแถลงรับรองของนายนพดล  ปัทมะ
รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
ที่อ้างว่า "ทางกัมพูชาได้ส่งแผนที่ให้ไทย
และกระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้
ทางเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหารมาตรวจสอบแล้ว "


กับให้ฟังเหตุผลที่กระทรวงการต่างประเทศสั่งไม่ให้ทหารให้ความเห็น
โดยให้ความสำคัญว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ที่อาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์





 


สิ่งที่รบกวนจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่ในกรณีนี้ก็คือ

ทางกระทรวงการต่างประเทศ โดย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการฯ
ยืนยันที่จะเปิดเผยแผนที่-แถลงการณ์ร่วม หลังขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

โดยอ้างเหตุผลที่ยังไม่ยอมเปิดเผยในตอนนี้ว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เกรงกระทบความมั่นคงภายในของกัมพูชา 



เขาพระวิหารเคยถูกปิดไม่ให้ขึ้นเยี่ยมชมนาน ระยะหนึ่ง
ต่อมาราวปี พ.ศ. 2542 หรือ 2543 ได้มีการเปิดให้ขึ้นชมได้อีก
ป้าเสลาได้จังหวะดี มีโอกาสไปเที่ยว





โดยต้องเริ่มตั้งต้นเดินด้วยเท้าจากเขตที่เขาอนุญาตให้รถยนต์ไปถึงได้
ดูเหมือนจะเดินด้วยระยะทางกว่า 1 กิโล แต่ไม่ใช่เดินบนที่ราบ
เป็นทางชันขึ้นเขา กว่าจะไปถึงส่วนที่เป็นบันได


ความรู้สึกที่ได้เห็น
ลักษณะ ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหาร
รู้สึกว่าทำใจยอมรับไม่ได้ว่า ประสาทเป็นของเขมร
เพราะทางเดินขึ้นไปจากบ้านเราแท้ๆ









ได้ทราบรายละเอียดเพิ่มเติมถึงข้อตกลงที่ นพดล
ตกลงทำกับเขมรไปแล้ว เจ็บปวดใจจริงๆ

หวังว่าเราคงจะหาทางออก สามารถแก้ไขกลับคืนมาจนได้

...



























จากการแถลงของ ม.ล.วัลย์วิภาวันที่ 18 มิ.ย. เมื่อเวลา 12.30 น.
ที่ชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บางตอน ระบุว่า



....ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา นั้น
ทางฝ่ายกัมพูชาพยายามรักษาอธิปไตยของตนเอง
โดยมีการสร้างชุมชน ตลาด และวัด เข้ามาในดินแดนฝั่งไทย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดถือหลักเขตแดนของไทย
ตามมติ ครม.เมื่อปี 2505 ของไทย
โดยที่รัฐบาลของไทยไม่ได้มีความพยายามดำเนินการใดๆ
และเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่กัมพูชากับไทยได้เจรจาร่วมกันมา
ทางกัมพูชาได้ยื่นข้อเสนอขอเปิดจุดผ่านแดนช่องตาเฒ่า
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางกัมพูชาเตรียมไว้สำหรับเปิดศูนย์การค้า
แหล่งบันเทิง และ กาสิโน

และเมื่อตนย้อนกลับไปดูการจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางทะเล
ที่ลากจากหลักกิโลเมตรที่ 73 จ.ตราด
ได้พบแผนที่ของกัมพูชา ที่มีการเขียนหลักเขตแดนทางทะเลผ่านเกาะกรูด ของไทย
และกินพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA
ซึ่งเป็นจุดที่มีทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่
และเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่แตกต่างจากเส้นเขตแดนของไทย
โดยกินพื้นที่ของไทยเข้ามาด้วย

ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เรื่อง เรียกร้องขอให้ทหารหาญของชาติแสดงจุดยืนปกป้องผลประโยชน์ชาติ
กรณีเร่งรัดแบ่งเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2549

...











สีแดงคือเกาะกูดของไทย
เส้นประเข้มคือแนวเส้นเขตแดนของไทย
ส่วนแนวเส้นประไข่ปลา
เป็นแนวขีดเส้นเขตแดนของกัมพูชา
ที่กินเกาะกูดไปครึ่งหนึ่งและกินพื้นที่ JDA
ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งใหญ่
     
       “เส้นเขตแดนทางทะเลมีเส้นเขตแดนเดิมตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส
ที่เกาะกูด จะต้องเป็นของไทย
และในปี 2544 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ได้บรรลุข้อตกลงกับทางกัมพูชา ด้วยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน
ซึ่งน่าสงสัยว่า ทำไมการปักปันเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
และเป็นอธิปไตยของชาติ เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในวงกว้าง
หรือผ่านกระบวนการรับรองการเปลี่ยนเส้นเขตแดน
ที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารรับรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้น จึงเชื่อว่า เขาพระวิหารเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดน
และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพื้นที่ JDA ด้วย”
















ในวันอังคารที่ 24 มิถุนายน ที่จะถึงนี้
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ในนามของประชาชนคนไทย
ใช้สิทธิ์ร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน
ระงับการลงนามในแถลงการณ์ร่วมขายชาติยกปราสาทเขาพระวิหารให้เขมร

ในกรณีที่นายนพดล ปัทมะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในแถลงการณ์ร่วม
ยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
     
       เนื่องจาก กระบวนการทางกฎหมายที่รัฐบาลดำเนินการเอาไว้ยังไม่เรียบร้อย
เพราะยังต้องผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอนดังนั้นจึงยังไม่มีผล



พวกเราในฐานะประชาชนคนไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย
คงจะยังพอมีความหวังกับช่องทางทางกฏหมายที่ยังมีอยู่
และช่วยกันภาวนาขอให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
                            









































































พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550





รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต
ซึ่ง ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา
หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ

เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ
หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน
หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา
กับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
ตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล
และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และต้อง ชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น

ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา
เพื่อขอความเห็นชอบด้วย


เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว
ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน
คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น
และในกรณีที่การปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญาดังกล่าว
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยา
ผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว
เหมาะสม และเป็นธรรม


ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา
ที่มีผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ
รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติ
ตาม หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม
ระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป

ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง
ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด
โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑)
มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม






อ้างอิง :อ่าน รัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 9 









จากบทความที่น่าสนใจ
ของ คุณ บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)





เป็นที่สงสัยกันว่า ทำไมวิปรัฐบาลถึงมีมติ
เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา  ๑๙๐ ด้วย

ทั้งที่ดูเหมือนว่าเป็นมาตราที่ไม่เข้าพวกกับมาตราอื่นๆ อีก ๔ มาตรา
ซึ่งเป็นเหตุผลเกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมืองเป็นหลัก


ทำไมต้องมีมาตรา ๑๙๐ ?

เนื้อหาในมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเจรจาและจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
เป็นมาตราที่ปรับปรุงพัฒนามาจากมาตรา ๒๒๔ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐
เนื่องจากในทางปฏิบัติ พบปัญหาอยู่มากทั้งจากเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒๔
ปัญหาการพยายามหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
และ ปัญหาจากช่องโหว่ในมาตรา ๒๒๔ เอง

ความขัดแย้ง ข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเจรจา
และจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีของไทยที่ผ่านมากับประเทศต่างๆ
ทั้งในกรณีความตกลงเร่งลดอัตราภาษีผักผลไม้ไทย-จีน 
ความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย 
ความตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่น การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐ
มีปัญหาส่วนหนึ่งที่เกี่ยวพันกับข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒๔
และกลายเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่มีการอภิปรายทั้งในรัฐสภา
ในเวทีการชุมนุมคัดค้านรัฐบาล เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
ความไม่โปร่งใสของการเจรจา เรื่องการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย ฯลฯ


ดังนั้น ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐
เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ
จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญอย่างมาก
ในช่วงการรับฟังความคิดเห็นได้มีข้อเสนอแนะปรับปรุงมาจากหลายฝ่าย
ให้มีการปรับแก้ไขมาตรา ๒๒๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
ให้รองรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก
สภาวะทางการเมืองและสังคมของไทย

เช่น ข้อเสนอจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 
จากกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ฯลฯ
ตรงนี้จึงเป็นที่มาของมาตรา ๑๙๐ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐

หลักการสำคัญในมาตรา ๑๙๐ คือ
การสร้างกระบวนการและกลไกในการรับมือกับ “โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ”
ให้เกิดความรอบคอบ มีธรรมาภิบาลมากขึ้น
และให้การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศเกิดผลประโยชน์ต่อสังคม
และประเทศชาติโดยส่วนรวม
ไม่ตกอยู่กับกลุ่มธุรกิจการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเหมือนที่ผ่านมา

โดย
(หนึ่ง) สร้างการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ
และกับภาคประชาสังคม
(สอง) เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคณะเจรจาของไทย
(สาม) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจามากขึ้น

อันที่จริง ความตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา ๑๙๐
ไม่ได้มีความหมายเฉพาะการจัดทำความตกลง FTA เพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึงความตกลงระหว่างประเทศด้านอื่นๆ ด้วย
เช่น ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ

แต่จากปัญหาการเจรจา FTA ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา
โดยเฉพาะจากกรณี FTA ไทย-ญี่ปุ่น
เวลาที่มีการกล่าวถึงความตกลงระหว่างประเทศ
จึงมักอ้างอิง ยกตัวอย่างปัญหาจากความตกลง FTA กันเป็นหลัก
จนทำให้เข้าใจกันไปว่ามาตรา ๑๙๐ เป็นเรื่องความตกลง FTA เท่านั้น

ความตกลงใดที่ต้องให้รัฐสภาพิจารณา ?

ตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง
ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) มีอำนาจในการเจรจาและลงนามความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ
ยกเว้น ความตกลงที่เข้าข่ายเงื่อนไข ๕ ประการตามที่ระบุไว้
คือ (หนึ่ง) มีการเปลี่ยนอาณาเขตดินแดนของประเทศ
(สอง) มีการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขต
     ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย
หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(ส่วนใหญ่เป็นเขตพื้นที่ในทะเล)
(สาม) ต้องออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
(สี่) มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
     หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
(ห้า) มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ 

หากความตกลงระหว่างประเทศใดเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งใน ๕ ข้อดังกล่าว
รัฐบาลต้องนำความตกลงนั้นมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
โดยกำหนดไว้ด้วยว่า รัฐสภาต้องพิจารณาในเสร็จภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับเรื่องที่รัฐบาลเสนอมา
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ความตกลงที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
มี ๓ เงื่อนไข และมิได้กำหนดเวลาในการพิจารณาของรัฐสภาเอาไว้

ข้อบัญญัติใน ม.๑๙๐ วรรคสองนี้
อยู่บนพื้นฐานหลักการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
ในการทำความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญๆ
เข้าข่ายตามเงื่อนไข ๕ ประการที่ระบุไว้เท่านั้น
หากไม่เข้าเงื่อนไข รัฐบาลมีอำนาจดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา



การเปิดเผย “กรอบเจรจา” ทำให้เสียเปรียบหรือไม่ ?

ในวรรคสามของ ม.๑๙๐ กำหนดว่า
ก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา
คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และให้เสนอ “กรอบเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย

วิปรัฐบาล และนักการเมืองให้เหตุผล (อ้าง) ว่า การต้องเสนอ “กรอบเจรจา”
เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ การเปิดเผย “กรอบเจรจา” คู่เจรจาจะรู้สิ่งที่เราต้องการ
ทำให้เราเสียเปรียบในการเจรจา จึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ด้วย

นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๐
ได้มีการเสนอ “กรอบเจรจา” ความตกลงระหว่างประเทศ
เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เช่น กรณีความตกลง FTA อาเซียน-สหภาพยุโรป
ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่  ๑๐ มกราคม ๒๕๕๐

ขณะนี้การเจรจา FTA อาเซียน-สหภาพยุโรปก็กำลังดำเนินการอยู่
แสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติตาม ม.๑๙๐ ได้โดยมิได้มีปัญหาต่อการเจรจาแต่อย่างใด

การเสนอกรอบเจรจาให้รัฐสภาอนุมัติก่อนไปเจรจานั้น
เป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคณะเจรจาอย่างมาก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประเด็นนี้ คือ การเจรจา FTA ของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐมีข้อบัญญัติตามกฎหมายให้ผู้แทนเจรจาของสหรัฐ (USTR)
เสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
ก่อนไปเจรจา FTA กับประเทศอื่นๆ
ในตอนที่สหรัฐมาเจรจา FTA กับไทย
เมื่อฝ่ายไทยขอเจรจาต่อรองเนื้อหาข้อเรียกร้องในเรื่องสิ่งแวดล้อม
หรือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

USTR จะอ้างเพียงอย่างเดียวว่าไม่สามารถแก้ไขเนื้อหาข้อเรียกร้องได้
เนื่องจากเป็นกรอบเจรจาที่ทางรัฐสภาสหรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว

กรอบเจรจาที่ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณานั้น
มิได้หมายความว่าต้องแจกแจงรายละเอียดถึงขั้นว่าประเทศไทยต้องการเจรจา
เรื่องข้าว ไก่ กุ้ง น้ำตาล จะเอาสินค้านี้ไปแลกกับสินค้านั้น ฯลฯ
 “กรอบเจรจา” เป็นเพียง “เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์” ของการเจรจาในแต่ละเรื่อง

เช่น ในหัวข้อเรื่องการค้าสินค้า
กรอบเจรจา คือ ให้ลดภาษีในสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก
โดยให้มีความสมดุลระหว่างสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
หรือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

กรอบเจรจา คือ ส่งเสริมการใช้ความยืดหยุ่น ข้อยกเว้น
และข้อจำกัดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสมดุล
ระหว่างเจ้าของสิทธิ ผู้บริโภค และสาธารณชนโดยรวม

กรอบเจรจาที่ยกตัวอย่างมานี้
คือ กรอบเจรจาของไทยในการเจรจา FTA อาเซียน-สหภาพยุโรป
ที่ทางคณะเจรจาของไทยเสนอผ่านความเห็นชอบ
จากรัฐสภาแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค. ๒๕๕๐
คณะเจรจาฝ่ายไทยสามารถใช้กรอบเจรจานี้เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง
ในการเจรจาได้เป็นอย่างมาก
รวมทั้งเป็นการป้องกันมิให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง ล้วงลูก
ในประเด็นข้อเจรจาที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจการเมือง
เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในการเจรจา FTA ของไทยที่ผ่านมา


การรับฟังความเห็นของประชาชน
ก็เป็นกลไกอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้การเจรจาเป็นไปด้วยความรอบคอบรอบด้าน
และยังเป็นเหตุผลที่นำไปเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาได้เช่นกัน
เหมือนดังเช่นที่คู่เจรจา FTA ของไทย เช่น สหรัฐ
ได้นำข้ออ้างเรื่องความต้องการของภาคประชาชนในสหรัฐ
เรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมาเป็นใช้ข้อเรียกร้องกับไทย

นอกจากนี้ ในมาตรา ๑๙๐ มิได้มีข้อกำหนดใดๆ ว่า
คณะเจรจาต้องเจรจาให้ได้ทุกอย่างตามที่ระบุใน “กรอบเจรจา” 
หรือ หากเนื้อหาความตกลงไม่ได้เป็นไปตามกรอบเจรจาที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ
รัฐสภาจะไม่ให้ความเห็นชอบต่อความตกลงระหว่างประเทศ
หรือหนังสือสัญญาที่เจรจาเสร็จสิ้นแล้ว
นั่นหมายความว่า หากผลการเจรจาไม่เป็นไปตามกรอบเจรจา

แต่ถ้าคณะเจรจาหรือรัฐบาลสามารถอธิบายชี้แจงเหตุผลได้
รัฐสภาก็สามารถให้ความเห็นชอบความตกลงที่เสนอให้รัฐสภาพิจารณาผูกพันได้

ข้ออ้างของวิปรัฐบาลที่ต้องการแก้ไข ม.๑๙๐
ในประเด็นข้อเสียเปรียบหรือปัญหาในทางปฏิบัติต่างๆ
จากการที่ต้องเสนอ “กรอบเจรจา” ตาม ม.๑๙๐ วรรคสามนั้น
จึงเป็นเหตุผลที่เลื่อนลอยอย่างยิ่ง
นอกเสียจากมีเหตุผลแอบแฝงว่า ต้องการกลับไปใช้กระบวนการเจรจาแบบเดิมๆ
ที่ทำในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่สามารถปกปิดข้อมูลการเจรจา
แทรกแซงการเจรจา และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบถ่วงดุล
ของฝ่ายนิติบัญญัติและภาคประชาสังคม
เพื่อให้ผลการเจรจาเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายธุรกิจการเมืองต่อไป


บทบัญญัติในมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
ไม่ได้ห้ามรัฐบาลที่จะไปเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ
แต่ต้องการให้มีกติการ่วมกันของสังคมในกระบวนการเจรจา
และตัดสินใจลงนามความตกลงระหว่างประเทศที่มีธรรมาภิบาล
เป็นไปอย่างมีส่วนร่วม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และอธิบายได้
มิใช่เป็นการเร่งรัดเจรจาและลงนามไป แล้วพูดแบบแผ่นเสียงตกร่องว่า
“การเจรจา ต้องมีได้ มีเสีย” โดยที่ไม่เคยอธิบายได้เลยว่า
ใครได้ประโยชน์? ใครเสียประโยชน์?
และทำไมผู้ได้ประโยชน์ และผู้ที่แบกรับผลกระทบ
ต้องเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ทุกครั้งไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง