บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 5





คำปราศรัยของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ตามข้อความดังนี้
พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหลาย


ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ศาลโลก”
ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา
และทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบมาตามลำดับแล้วนั้น
โดยที่รัฐบาลของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโดยเฉพาะตัวข้าพเจ้า
ถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวกับผลได้ผลเสียอย่างสำคัญของชาติ
เป็นเรื่องของแผ่นดินไทยซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้
และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา จึงสมควรที่เราทุกคนจะได้เอาใจใส่
และสนใจร่วมรู้ร่วมเห็นก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ลงไปเกี่ยวกับผืนแผ่นดินนี้


ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของตัวข้าพเจ้าเอง
ที่ต้องชี้แจงให้พี่น้องร่วมชาติทั้งหลายได้ทราบถึงการที่รัฐบาลนี้ต้องตัดสินใจในกรณีปราสาทพระวิหารต่อไป


แต่เนื่องในการกล่าวคำปราศรับนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลายอยู่มาก
ข้าพเจ้าจึงจำต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า


ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกที่สุดของหัวใจแล้ว คนไทยผู้รักชาติทุกคน
มีความเศร้าสลดและขมขื่นใจเพียงใด  การแสดงออกของประชาชน
ในการเดินขบวนทั่วประเทศเพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกในสัปดาห์ที่แล้วมา
เป็นสิ่งที่เห็นกันอย่างแน่ชัดอยู่แล้ว


แต่ก็จะทำอย่างไรได้  เราต้องถือเป็นคราวเคราะห์ร้ายของเราที่ต้องมาประสบกับชตากรรมเช่นนี้
เราจะไม่โทษใครเป็นอันขาด เพราะการที่ไปโทษคนที่พ้นหน้าที่ไปนั้นย่อมเป็นการไม่สมควร
แต่ทั้งนี้ก็มิใช่เราจะพากันนิ่งเฉยท้อแท้ใจ
ชาติไทยจะยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้
เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง
ถ้าบรรพบุรุษของเราของเรายอมท้อแท้  เราจะเอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันจนถึงทุกวันนี้


เราจะต้องหาวิธีต่อสู้ต่อไป
ส่วนเราจะต่อสู้อย่างไรนั้น นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะในการต่อสู้กรณีเช่นนี้ เราอาจทำได้หลายวิธี
และแต่ละวิธีก็มีผลดีผลเสียแตกต่างกัน

เราจะต้องได้พิจารณาให้สุขุมรอบคอบ
ต้องใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ และด้วยสายตามองการณ์ไกล
แล้วเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด  ละเมียดละไมและให้คุณประโยชน์มากที่สุด
ทั้งในเวลานี้และในอนาคต
ชาติเราจึงจะสามารถธำรงเอกราชและอธิปไตยอยู่ได้
และอยู่ในฐานะที่กล่าวได้ว่า “เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ”

ขอให้พี่น้องผู้รักชาติทั้งหลายโปรดอย่าได้ใช้อารมณ์หุนหันพลันแล่น
หรือคิดมุทลุจะหักหาญด้วยกำลังแต่เพียงอย่างเดียว



สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ในฐานะที่มีชีวิตเป็นทหารมาแต่เล็กแต่น้อย
และได้เคยผ่านสงครามทำการสู้รบมาแล้วหลายครั้ง
ข้าพเจ้าจึงมิได้มีความเกรงกลัวการสู้รบแต่ประการใด
แต่ตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ  ยังไม่เป็นเรื่องที่ควรรบกัน



สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น
ข้าพเจ้าขอทบทวนความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลายว่า
รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกทั้งในข้อเท็จ จริง
ในทางกฎหมายระหว่างประเทศและในหลักความยุติธรรม ตามเหตุผลที่รัฐบาลได้แถลงไปแล้ว


แต่เราก็ตระหนักดีว่าคำพิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้
ยิ่งกว่านั้น มาตรา ๔๔ บ่งไว้ว่า


“ข้อ ๑ สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นผู้แพ้


ข้อ ๒ ถ้าผู้แพ้ในคดีใดไม่ปฏิบัติ ข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตามคำวินิจฉัยของศาล
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง
ซึ่งถ้าเป็นเป็นความจำเป็น ก็อาจทำตามคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตรการ
ที่จะดำเนินเพื่อยังผลให้เกิดแก่คำพิพากษานั้นได้”


เมื่อเป็นดังนี้ แม้ว่ารัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะได้มีความรู้สึกสลดใจและขมขื่นเพียงใด  
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ
กล่าวคือ จำต้องยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพระวิหารนั้นตามพันธกรณีแห่งสหประชาชาติ
แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วงและขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้
เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนิน การทางกฎหมายที่จำเป็นซึ่งอาจมีขึ้นในภายหน้าให้ได้สิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันควร


พี่น้องชาวไทยที่รัก ข้าพเจ้าก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียว กับพี่น้องทั้งหลาย
และถ้าพูดถึงความรักชาติบ้านเมือง ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าข้าพเจ้ามีความรักชาติ
ไม่น้อยกว่าพี่น้องคนไทยทั้งหลาย


แต่ที่รัฐบาลจำต้องโอนอ่อนปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ
ก็โดยคำนึงถึงเกียรติภูมิของประเทศไทยที่เราสร้างสมไว้เป็นเวลานับเป็นร้อยๆ ปี
ยิ่งกว่าปราสาทพระวิหาร


ทั้งนี้ มิใช่เกิดเพราะความกลัวหรือความขี้ขลาดแต่ประการใดเลย
แต่พี่น้องชาวไทยทั้งหลายต้องมองการณ์ไกล เวลานี้เราอยู่ในสังคมของโลก
สมัยนี้ไม่มีชาติใดที่จะอยู่โดยโดดเดี่ยวได้
ประเทศไทยของเราได้รับความนิยมนับถือจากสังคมนานาชาติเพียงใด
พี่น้องทั้งหลายคงจะทราบดีอยู่แล้ว ถ้าชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไป
เนื่องจากปราสาทพระวิหารคราวนี้แล้ว


อีกกี่สิบกี่ร้อยปีเราจึงจะสามารถสร้างเกียรติภูมิที่สูญเสียไปคราวนี้กลับคืนมาได้
ข้าพเจ้าทราบดีว่าการสูญเสียปราสาทพระวิหารคราวนี้เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจคนไทยทั้งชาติ
ฉะนั้น แม้ว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทพระวิหารนี้ไป ก็คงได้แต่ซากสลักหักพัง
และแผ่นดินที่รองรับพระวิหารนี้เท่านั้น
แต่วิญญาณของปราสาทพระวิหารยังอยู่กับไทยตลอดไป


ประชาชนชาวไทยจะรำลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไป
ด้วยอุปเท่ห์เล่ห์กลของคนที่ไม่รักเกียรติและไม่รักความชอบธรรม
เมื่อประเทศไทยประพฤติปฏิบัติตนดีในสังคมโลก เป็นประเทศที่มีศีลมีสัตย์
ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทพระวิหารจะต้องกลับคืนมาอยู่ในดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติครั้งนี้
คงจะทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น


เหตุการณ์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารครั้งนี้จะสลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน
และจะเป็นรอยจารึกอยู่ในประว้ติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไปเสมือนหนึ่งเป็นแผลในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ
แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังอยู่เสมอว่า ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะทีหลังย่อมหัวเราะดังและนานกว่า


อนึ่ง ในเรื่องนี้รัฐบาลรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระประมุขที่เคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยที่ได้พระราชทานคติและพระบรมราโชวาท
แก่รัฐบาลด้วยความที่ทรงห่วงใยในสวัสดิภาพของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง


ขอให้พี่น้องร่วมชาติจงได้วางใจเถิดว่า รัฐบาลที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้
จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวไปสู่อนาคตอันสุกใสได้
ในที่สุด ข้าพเจ้าขอรับรองต่อท่านทั้งหลายว่า เมื่อคราวที่ชาติเข้าที่คับขันแล้ว
ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทย
เอาเลือดทาแผ่นดินโดยไม่เสียดายชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว  แต่ราจะทำอย่างไรได้
ข้าพเจ้าเองก็มีความเจ็บช้ำน้ำใจมิได้น้อยกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย  


การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ในวันนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า
ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย
ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิตทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย
ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญานด้วยสัจวาจานี้ไว้  พี่น้องที่รัก
น้ำตามิได้ช่วยให้คนฉลาดขึ้นและได้อะไรคืนมา
นอกจากความพยายาม ความสามัคคี ความสุขุมรอบคอบ
ความอดกลั้นที่จะกล้าเผชิญกับความสูญเสีย
พร้อมทั้งรวมกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด
เพื่อให้ชาติที่รักของเราแข็งแกร่งมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น
ในขั้นสุดท้ายชาติไทยต้องประสบกับชัยชนะเสมอ


เราต้องกล้าสู้  ต้องยิ้มรับต่อภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา
ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมเสมอมา  ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่าชาติเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด
เรื่องนี้เป็นแต่เพียงเรื่องหนึ่งในเรื่องใหญ่ทั้งหลายซึ่งมีความสำคัญกว่านี้มากนัก
ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาตามวิถีทางที่ดีอยู่แล้วทุกทาง
เหตุนี้มิใช่เหตุแห่งความอับจน


เราจงระวังและทำในเรื่องของชาติที่สำคัญกว่านี้
ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าชาติไทยของเราจะมีอนาคตอันแจ่มใส
และรุ่งโรจน์ประเทศหนึ่งอย่างแม่นมั่นในอนาคตอันใกล้นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเรา


พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหาร
กลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้...    สวัสดี...




การแถลงจุดยืนของไทย


ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึง ฯพณฯ อู ถั่น
รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ประกาศจุดยืนและท่าทีของไทยว่าไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านคำพิพากษาซึ่งขัดต่อสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส
ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗


นอกจากนั้นยังขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่จะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
นอกจากนั้น ไทยยังได้ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับสิทธิที่มีอยู่
และจะพึงมีในการครอบครองปราสาทพระวิหารในอนาคตตามกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง ข้อสงวนดังกล่าวมีผลตลอดไปโดยไม่จำกัดเวลา


ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๐๕
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยยังได้มอบหมายให้
นายสมปอง สุจริตกุล ผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่ ๖ (กฎหมาย)

เป็นผู้แถลงย้ำให้ผู้แทนประเทศสมาชิกสหประชาชาติในคณะกรรมการกฎหมาย
ได้ทราบถึงจุดยืนของประเทศไทยตลอดจนเหตุผลทางกฎหมายในการคัดค้านคำพิพากษาโดยละเอียด
ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้แทนประเทศอื่นรวมทั้งกัมพูชาได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งแต่ประการใด


คำแปลหนังสือจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ*
(*แปลโดย ศ. ดร.สมปอง สุจริตกุล)



เลขที่ (๐๖๐๑) ๒๒๒๓๙/๒๕๐๕
กระทรวงการต่างประเทศ
กรุงเทพฯ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ.๑๙๖๒)


เรียน ฯพณฯ อู ถั่น
รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ
นิวยอร์ค


ข้าพเจ้าขออ้างถึงคดีปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๙  [พ.ศ. ๒๕๐๒]
และศาลฯ ได้พิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕]
ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร


ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕]
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าไทย
ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า
รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวขัดอย่างชัดแจ้ง
ต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ. ๑๙๐๗
ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฏหมายและหลักความยุติธรรม  
ถึงกระนั้นก็ตาม  ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษา
ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อ ๙๔ ของกฏบัตรสหประชาชาติ


ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่าการตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษา
ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรารถนาจะตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจน
เพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร
โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต
และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา


ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งเวียนหนังสือฉบับนี้
ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ


ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(ลงนาม) ถนัด คอมันตร์
(ถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย




ปฏิบัติการของไทย


แม้ศาลยุติธรมระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจบังคับคดี
แต่เพื่อแสดงความเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ
ไทยได้ดำเนินการถอนบุคลากรจากปราสาทพระวิหาร
และได้ล้อมรั้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย  
และได้ย้ายเสาธงไทยออกจากบริเวณปราสาทโดยไม่มีการลดธง
ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งบุคลากรเข้าไปในบริเวณปราสาท
โดยไทยมิได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่
หรือยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาแต่อย่างใด


บริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทจึงเป็นพื้นที่เดียวซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่ทับซ้อน”


ปฏิกิริยาของกัมพูชา


หลังจากไทยได้ถอนบุคลากรจากประสาทพระวิหารตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
กัมพูชาก็ยอมรับสภาพโดยดี และมิได้โต้แย้งในการที่ไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา
และตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจน กัมพูชานิ่งเฉยตลอดระยะเวลา ๕ ทศวรรษโดยมิได้เรียกร้องอะไรอื่นอีก


กัมพูชาเริ่มมีปฏิกิริยาเมื่อประมาณ ๕-๖ ปีมานี้
โดยแสดงเจตน์จำนงที่จะขยายอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของประเทศไทย
เริ่มจากรื้อรั้วที่ไทยสร้างไว้รอบปราสาท
นอกจากนั้น คนชาติกัมพูชายังลอบเข้ามาตั้งถิ่นฐานในวนอุทยานเขาพระวิหาร
ในเขตแดนไทยรวมทั้งตั้งร้านค้าและแผงลอยซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเพื่อขายสินค้าให้นักทัศนาจร




พื้นที่ทับซ้อน


การกล่าวถึง “พื้นที่ทับซ้อน” ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น
กัมพูชาได้พยายามขยายขอบเขตคำพิพากษาของศาลฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕
โดยแอบอ้างว่าศาลให้ความเห็นชอบแผนที่ผนวก ๑
ซึ่งปราศจากมูลความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากในคำพิพากษานั้นเอง


ศาลฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าแผนที่ผนวก ๑
ท้ายคำฟ้องของกัมพูชามีข้อผิดพลาดตามที่ปรากฏในรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกัมพูชาไม่อาจหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า
“เส้นสันปันน้ำ” บนขอบหน้าผาคือเส้นเขตแดนที่แท้จริงระหว่างไทยกับกัมพูชา
เส้นเขตแดนดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย





อายุความฟ้องร้อง


ปัญหาเรื่องอายุความฟ้องร้องไม่เป็นประเด็นในกฏหมายระหว่างประเทศ
นอกจากในกรณีที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใด
ที่มีอำนาจพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
หากจะกล่าวถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน อายุความ ๑๐ ปีมีอยู่กรณีเดียว
กล่าวคือการร้องขอให้ทบทวนคำพิพากษาตามข้อ ๖๑ วรรค ๕ แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม


ในกรณีปราสาทพระวิหาร การกล่าวถึงอายุความ ๑๐ ปีนั้น
ใช้เฉพาะสิทธิของคู่คดีซึ่งได้แก่ไทยหรือกัมพูชา
ที่จะร้องเรียนให้ศาลทบทวนคำพิพากษาเดิมเท่านั้น


ฉะนั้น หากไทยหรือกัมพูชาดำริให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ทบทวนคำพิพากษาปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ก็จะเป็นการสายเกินไป
ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำริที่จะกระทำเช่นนั้น


ส่วนกรณีอื่นๆ เช่นการเพิกถอนหรือตีความคำพิพากษา
การฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ หรือระงับกรณีพิพาทโดยอาศัยกลไกอื่น
อาทิ ศาลอนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ซึ่งไทยหรือกัมพูชามิได้กระทำการแต่อย่างไร
ปัญหาเรื่องอายุความจึงยังไม่เป็นประเด็น


อายุความข้อสงวน


ข้อสงวนของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร
ซึ่งไทยได้แจ้งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
พร้อมทั้งส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบทั่วกัน
โดยไม่ปรากฏว่ามีประเทศหนึ่งประเทศใดโต้แย้ง ทักท้วง
หรือค้ดค้านแต่ประการใดนั้น  เป็นข้อสงวนที่ปลอดอายุความ
มีผลตลอดกาลตราบใดที่ยังอยู่ใต้บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ

การที่ข้อสงวนดังกล่าวมิใช่เป็นการทบทวนคดีเก่า
ซึ่งต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่จำกัดไว้ จึงยังมีผลบังคับจนทุกวันนี้
ยกเว้นจะถูกเพิกถอนหรือยกเลิกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย



ศาสตราจารย์ ดร. สมปองสุจริตกุล*
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

............................

* B.A., B.C.L., M.A., D.Phil., and D.C.L. (Oxon)
  Dipl?m? d’Etudes Sup?rieures de Droit International Public, Docteur en Droit (Paris)
  LL.M. (Harvard)
  of the Middle Temple, Barrister-at-law (United Kingdom)
  Dipl?m? de l’Acad?mie de Droit International de La Haye (Nederland)

- คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ศาสตราจารย์กิตติคุณกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายเปรียบเทียบ
  มหาวิทยาลัยกฎหมายโกลเดนเกท  ซานฟรานซิสโก  สหรัฐอเมริกา
- สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการองค์การกฏหมายเอเซีย-แอฟริกา ณ กรุงไคโร และกัวลาลัมเปอร์
- อนุญาโตตุลาการอิสระ
- อดีตเลขาธิการอาเซียน (ประเทศไทย)
- อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ญี่ปุ่น
  ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี กรีก อิสราเอล และองค์การตลาดร่วมยุโรป
- อดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และ FAO
- อดีตสมาชิกศูนย์ระงับข้อพิพาทการลงทุนศาลอนุญาโตตุลาการธนาคารโลก  ICSID World Bank
- อดีตกรรมาธิการสหประชาชาติเพื่อพิจารณาค่าชดเชยความเสียหายในประเทศคูเวต (UNCC)
- และทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร
  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕








ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร (ยุคใหม่)
ได้ก่อให้เกิดความสับสนในสังคมมาตั้งแต่ปี 2551
อันเนื่องมาจากชุดความคิดและหลักฐานข้อมูลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับผู้ใช้สิทธิในการตรวจสอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

ถึงวันนี้ความขัดแย้งดังกล่าวได้พัฒนาจนใกล้สุกงอม
ขณะที่ฝ่ายหนึ่งยืนกรานว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่อีกฝ่ายเตือนว่าเรื่องนี้มีอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติเป็นเดิมพัน

ติดตามอ่านเพิ่มเติมจากกระทู้
บทความเรื่อง "ปราสาทพระวิหาร" ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปองสุจริตกุล 






วันนี้(29 ก.ย.) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก
คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. แถลงว่า

... ที่ ประชุม ป.ป.ช. มีมติ 6 ต่อ 3
ชี้มูลความผิดกรณีเขาพระวิหาร
ต่อนายสมัคร สุนทรเวช และนายนพดล ปัทมะ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
และให้ถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากจงใจก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่ออาณาเขต
และความมั่นคงต่อประเทศ

ต่อการออกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย - กัมพูชา
ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก




ส่วนรัฐมนตรีที่เหลือ รวมทั้งข้าราชการอีก 6 คน ที่ถูกกล่าวหาด้วย
ที่ประชุมเห็นว่าไม่มีความผิด เนื่องจากไม่รู้เห็นและมีเจตนาตามคนทั้งสอง.





บทบาทของยูเนสโกที่อยู่เบื้องหลังการขึ้น ทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชามีการพูดถึงน้อยมาก เมื่อจะพูดถึงก็คงหลีกเลี่ยงไม่เอ่ยถึงมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก (UN’s World Heritage Centre—Paris) ไม่ได้

ในรายงานการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 31 (นิวซีแลนด์ 22-30 มิถุนายน 2550)
Decision: 31 COM 8B.24
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=39429  มาดามฟรังซัวส์ต้องรับผิดชอบที่ระบุว่าผู้แทนไทยในรัฐบาลสุรยุทธ์ให้การสนับ สนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลก เนื่องจากข้อเท็จจริงมีว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่อาจตัดสินกรณีของกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนกัมพูชา ฝ่ายไทยยังเห็นด้วยตามรายงานของ ICOMOS ที่ระบุว่า The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear ตามข้อเสนอขึ้นทะเบียนของกัมพูชานั้น เป็นมรดกโลกได้ แต่นั่นหมายถึงต้องควบรวมสิ่งปรักหักพังที่อยู่ในฝั่งไทย ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกก็เห็นด้วย ดังนั้น หากไทยสนับสนุนกัมพูชา ก็เท่ากับว่ายอมให้กัมพูชาเฉือนดินแดนไทยไปโดยปริยาย ถ้าจะสนับสนุนก็ต้องขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วยกัน หรือไม่ก็ต้องเลิกรากันไปเหมือนทุกรัฐบาลไทยก่อนหน้านั้นที่ไม่เอาด้วย แต่กัมพูชาก็ไม่ยอม ยังขอเป็นเจ้าของมรดกโลกตามลำพัง จึงต้องเลื่อนไปพิจารณาในปีถัดไป

ในระหว่างที่รอการพิจารณา มาดามฟรังซัวส์แนะนำให้นายซกอาน มีการจ้างบริษัทรับเหมาซ่อมโบราณสถานในยุโรปชื่อ ANPV (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) มาประเมินซ้ำ ICOMOS  เพื่อหวังอำพรางรัฐบาลไทย (ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเก่าหรือใหม่) ว่าไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว เพราะกัมพูชาจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท และตัวปราสาทเท่านั้นก็เป็นมรดกโลกได้ และเมื่อแผนนี้ทำให้ฝ่ายไทยสนับสนุนโดยมีการทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา(วัน ที่ 18 มิถุนายน 2551) แล้ว คณะกรรมการมรดกโลกก็ย่อมต้องยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ซึ่งถ้า เป็นไปอย่างโปร่งใส มรดกโลกแห่งนี้จะมีพื้นที่เฉพาะเพียงตัวปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) แต่ในแถลงการณ์ร่วมได้หมกเม็ด และปิดปากไทยไม่ให้แก้ไขตั้งแต่มีบันทึกช่วยจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 แล้ว

ANPV เข้ามาในเดือนกันยายน 2550 ก่อนจะแผลงมาเป็น “ไอซีซี” (ICC: International Coordinating Committee) ที่มีบทบาทสูงมากตามที่ระบุให้อำนาจหน้าที่ไว้ในแถลงการณ์ร่วม เพราะสามารถจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่กันชนได้โดยไม่ต้องรอข้อตกลงปักปันเขตแดนที่ปกติมีคณะกรรมาธิการร่วม ไทยกัมพูชา หรือ “จีบีซี” (Joint Boundary Commission) เห็นชอบ

นาย นภดลมารับบทเชื่อมอำนาจเก่าของไทยเข้ากับข้อเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของ รัฐบาลกัมพูชาอย่างแนบเนียน เมื่อฝ่ายไทยในเดือนมกราคม 2551 มีรัฐบาล “นอมินี”
 กัมพูชามั่นใจมากถึงกับลงนามในสัญญาวันที่ 15 มกราคม 2551 ให้กับบริษัทเซี่ยงไฮ้กรุ๊ปรับเหมาสร้างถนนจากจังหวัดพระวิหารในกัมพูชามา ถึงวัดแก้วฯที่บริเวณพื้นที่ทับซ้อน (บัดนี้กลายเป็นถนนยุทธศาสตร์ลำเลียงอาวุธมาตรึงกำลังถึงชายขอบหน้าผามออี แดง)

บันทึกช่วยจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ระบุให้นายนภดลยอมมอบภารกิจการร่างแถลงการณ์ร่วมและวาด “แผนที่ใหม่” ให้กับกัมพูชาไปบรรเลงโดยเอกเทศที่พนมเปญ ก่อนส่งแถลงการณ์ร่วมมาให้ลงนามดังกล่าว

คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่คานาดา (2-7 กรกฎาคม 2551) ไม่มีทางเลือกเมื่อกัมพูชาแสดงหลักฐานการสนับสนุนจากไทยตามแถลงการณ์ร่วมที่ ลงนาม 2 สัปดาห์ก่อนวันเปิดประชุม แต่ที่ผิดปกติมากที่สุดคือการยอมรับเกณฑ์ (Criteria) ความเป็นมรดกโลกที่ลดมาตรฐานจาก 3 เป็น 1 ทั้งๆที่ข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาลงวันที่ 30 มกราคม 2549 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการขึ้นทะเบียน “The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” มาเป็น ”The Temple of Preah Vihear” แต่ประการใด ผิดระเบียบ กฎ และขั้นตอนของยูเนสโกเอง

หลังจากคณะกรรมการมรดกโลกให้กัมพูชา เป็นเจ้าของมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎคม 2551 มาดามตอบว่า “เป็นการตัดสินใจทางการเมืองระหว่างไทยกับกัมพูชาเอง”

ในแถลงการณ์ ร่วม เอ่ยถึงบทบาท “กรรมการ 7 ชาติ” (หรือ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee)  ในฐานะองค์กรสาธารณะที่กำกับแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลก แต่ที่แท้ก็คือเอกชน ANPV ที่รับจ้างกัมพูชาสำรวจปราสาทพระวิหารอย่างมีวาระซ่อนเร้นนั่นเอง

มา ถึงการประชุมครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552)  ผลการบังคับใช้ (de facto)  ของ แถลงการณ์ร่วมอัปยศผ่าน  “ไอซีซี” นำไปสู่การรับรองแผนอนุรักษ์มรดกโลกที่ผนวกดินแดนของไทยเข้าไว้จากที่ประชุม ครั้งนั้น ดังนี้
Temple of Preah Vihear
Description Maps
Documents Threats Assistance 
Cambodia 

Date of Inscription: 2008 
Criteria: (i) 
Property : 154.7000 ha 
Buffer zone: 2642.5000 ha 
N14 23 18 E104 41 2 
Ref: 1224rev
(ดู http://whc.unesco.org/en/list/1224


ไทย เสียพื้นที่ไปแล้ว  27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่)  เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์  “เขตอนุรักษ์”  154.7 เฮกดาร์ ตามรายงานของ “ไอซีซี” ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552

ยังจะต้องมี “พื้นที่บริหารจัดการ” อีกนับล้านไร่ที่ต้องดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมในขั้นตอนสุดท้ายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553  ก่อนที่ประชุมมรดกโลกจะรับรองในกลางปี 2553
พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย?









--------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง