บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เขมรกว่า 1,300 ซ้อมรบ “ฮุนมาเนต” โผล่อีกงาน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2554 00:49 น.


บุตร หัวแก้วหัวแหวนของ "สมเด็จฯ ดอกเตอร์" ปรากฏตัวในการฝึกซ้อมด้วย หน้าหมวกมีดาวทอง 2 ดวง หล่อที่สุดของกองทัพ ตามที่บิดาเคยนิยามเอาไว้ ฮุนมาเนตแสดงบทบาทโดดเด่นขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เลื่อนยศเป็นพลตรีด้วยอายุเพียง 33 เป็นนายพลตรีที่นายพลเอกทั้งกองทัพต้องยำเกรง.
      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ – ทหารกัมพูชากว่า 1,300 นาย ทำการซ้อมรบในวันพฤหัสบดี 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ใน จ.กัมปงสปือ (Kampong Speu) ทางตะวันตกกรุงพนมเปญ โดยการเป็นประธานของ พล.อ.เตียบัญ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สำนักข่าวกัมพูชารายงานโดยไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก
      
       ภาพที่แพร่ในวันศุกร์นี้ ปรากฏให้เห็น พล.ต.ฮุนมาเนต บุตรชายของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน ไปให้กำลังใจทหารที่กำลังซ้อมรบด้วย สำนักข่าวของทางการไม่ได้รายงานรายละเอียดว่า พล.ต.มาเนต ไปที่นั่นด้วยภารกิจอะไร
      
       นอกจาก พล.อ.เตียบัญแล้ว ในภาพยังมี พล.อ.พลสะเรือน ผู้บัญชาการกองทัพ กับ พล.อ.มาศ สุภา รองผู้บัญชาการอีกคนหนึ่ง
      
       บุตรชายของผู้นำ ซึ่งเรียนสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ สหรัฐฯ เป็นผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 70 กองกำลังติดอาวุธทันสมัยที่ของกองทัพ และ ยังเป็นผู้บัญชาการกองกำลังพิเศษป้องกันผู้นำซึ่งเป็นหน่วยรบระดับกองพลน้อย อีกแห่งหนึ่งด้วย ทั้งสองหน่วยตั้งอยู่ชานกรุงพนมเปญ
      
       บุตรชายของผู้นำได้รับเลื่อนชั้นยศเป็น “นายพลสองดาว” หรือนายพลตรี ในเดือน ม.ค.ปีนี้ ในเดือน ก.พ. ซึ่งเกิดการปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร พล.ต.มาเนต ไปปรากฏตัวที่สัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ประชุมวางแผนร่วมกับนายทาหรระดับผู้บัญชาการในสนามด้วย
      
       มีรายงานว่า พล.ต.มาเนต เป็นผู้สั่งการรบที่บริเวณชายแดนไทย มีข้าวเล่าลือในฝั่งไทยว่าได้รับบาดเจ็บด้วยซ้ำ แต่กัมพูชาปฏิเสธข่าวดังกล่าว
      
       ฮุนเซนกล่าวในกรุงพนมเปญเวลาต่อมาว่า บุตรชายกับหน่วยใต้บังคับบัญชาได้รับมอบภารกิจการป้องกันประเทศและดูแลชายแดนด้วยเช่นกัน
      
       ฮุนเซนยังกล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยมีเป้าหมายสังหารบุตรชายของตน ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ “ฮุนมาเนตนั่งในรถกันกระสุนตลอดเวลา”
      
       บุตรชายคนโตของครอบครัวผู้นำได้รับประดับดาวทองบนบ่าดวงแรกในเดือน ต.ค.2552 ขึ้นเป็นนายพลจัตวา และด้วยวัยเพียง 31 ปีขณะนั้น จึงเป็นนายพลอายุน้อยที่สุดในกองทัพ และตั้งแต่นั้นมาก็ได้เห็นบทบาทของบุตรชายผู้นำเพิ่มขึ้นเรื่อย
      
       กัมปงสะปือได้กลายเป็นเวลาทีซ้อมรบของกองกัมพูชามาหลายครั้ง รวมทั้งการซ้อมยิงจราดหมู่ BM-21 กว่า 400 ลูก ในเดือน มี.ค.2552 ขณะที่ความตึงเครียดที่ชายแดนพระวิหารกำลังเพิ่มทวี แต่ฮุนเซนกล่าวว่าการซ้อมยิงอยู่ห่างจากบายแดนหลายร้อนกิโลเมตร และ ไม่ได้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ชายแดนไทย
      
       อีกเหตุการณ์หนึ่งสัปดาห์นี้ก็ วันพฤหัสบดี 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา กัมพูชาส่งทหาร 47 นาย มายังประเทศไทย เพื่อร่วมฝึกซ้อมรักษาสันติภาพภายใต้ "อัยราการ์เดียน 2011" ระหว่างวันที่ 13 มิ.ย.- 1 ก.ค.ศกนี้ โดยมีทหารจากหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งจากอินโดนีเซียและสหรัฐฯ ภายใต้ความร่วมมือกับสหประชาชาติ
      
       นายปรัก สุคูน (Prak Sokhon) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประธานคณะกรรมการประสานความร่วมมือการปฏิบัติการรักษาสันติภาพร่วมกับสห ประชาชาติกล่าวว่า การซ้อมในประเทศไทยไม่ได้เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนแต่อย่างไร
      
       "การเข้าร่วมฝึกซ้อมระหว่างประเทศ ก็เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางทหารของเราให้ทันสมัยโดยการวัดประเมินกับทักษะ จากประเทศอื่นๆ" นายสุคูนกล่าวกับทหารทั้ง 47 นายก่อนออกเดินทางจากกรุงพนมเปญ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวซินหัว.
      
       
คึกคัก คึกคัก
โดยสำนักข่าวกัมพูชา


การ ซ้อมรบของทหารราว 1,300 นาย รัฐมนตรีกลาโหมไปเป็นประธาน ผู้บัญชาการกองทัพกับรอง แห่กันไปร่วมเป็นขบวน เป็นงานที่สำคัญเอาการทีเดียว.
       
2

       
3

       



PAD at UNESCO

PAD at UNESCO 17 June 2011 (Request for delisting of the Phrah Vihear temple from the Cultural Heritage sites)

โดย Annie Handicraft เมื่อ 18 มิถุนายน 2011 เวลา 10:14 น.
The Kingdom of Thailand Protection Committee (KTPC)
Baan Phra Arthit, Phra Arthit Rd.
Phra Nakorn District, Bangkok ,Thailand
                                                                                                               17 June 2011

Subject      : Request for delisting of the Phrah Vihear temple from the Cultural Heritage sites
Address to : Irina Bokova,Director General of UNESCO
                    (through Director of  UNESCO, Bangkok Office)

              The Kingdom of Thailand Protection Committee (KTPC) and the Thai People express grave concern towards the inscription of the Temple of Preah Vihear and the behaviour of the 21 States Parties World Heritage Committee (WHC) which triggered the conflict between Thailand and Cambodia. It contradicts the objectives of the World Heritage inscription stipulated by the World Heritage Centre and UNESCO, the organization under your supervision and you yourself have been continuously supporting the Preah Vihear inscription. The KTPC has considered the said act as an infringement of Thai Sovereignty and territorial integrity which Thailand, as a State member of the World Heritage Convention, will not tolerate. We, hereby, request you to take into account the following data and evidences provided by the Thai Civil Society and to present them at the 35th World Heritage Committee Meeting to be held in Paris, France during June 19-29, 2011. Please draw the meeting’s attention to the issue of delisting the Temple of Preah Vihear from the inscription of World Heritage List owing to the following reasons;

          1. Prior to the 31st World Heritage Committee Meeting in Christchurch, New Zealand, Thailand has vigourously objected the inscription of the Temple of Preah Vihear to the World Heritage List as proposed by Cambodia.

          2. At the same session, the World Heritage Committee resolved that Cambodia, as a State member to the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, should closely consult with Thailand towards the inscription of the Temple of Preah Vihear by suggesting that Thailand, also a State member to the Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage, to “seriously cooperate in the Temple of Preah Vihear inscription proposed solely by Cambodia.”

           3. A year later, UNESCO and WHC had showed support towards Cambodia’s sole attempt to inscribe the Temple of Preah Vihear by assigning Ms Françoise Rivière to Phnom Penh to discuss and to establish the National Authority for the Protection of Preah Vihear (ANPV) as an organization to manage the Preah Vihear Temple area in accordance with the ICOMOS principles.

          4. A few months before the 32nd WHC Meeting, Thailand and Cambodia had jointly issued the Joint Communiqué to specify the Management Plan which Cambodia had proposed to divide the Management zone into 3 areas. Following the Communiqué’, the People’s Alliance for Democracy (PAD) and the Organization Network for Monitoring the Situation on the case of Phra Viharn Temple, had requested the Royal Thai Government to revoke the Joint Communiqué which might have led to the  country’s lost of territory. The PAD then filed the case to the Thai Administrative Court to suspend the submission of the Joint Communiqué to be used as one of the supporting documents in the Preah Vihear Temple inscription by Cambodia alone since the surrounding areas of the Preah Vihear Temple is under Thailand’s sovereignty and that the Joint Communiqué was breaching the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 Article 190 (The brief detail of such Article is that “any document that is considered to be a Treaty must have the Parliament approval prior the signatory process.”).
            At the outset, the Thai Administrative Court had ruled the interim injunction prohibiting any Thai officials to support or to use the Joint Communiqué as one of the supporting documents in the Temple of Preah Vihear inscription and Thailand, as a State member, did not support the inscription of the Temple by Cambodia as appeared in the statement of the Minister of Foreign Affairs, H.E. Noppadol Pattama and the statement of Mr.Pongpol Adireksarn, Head of the Thai World Heritage Delegation. Those two statements were acknowledged by both WHC and UNESCO.

          5. However, at the 32nd WHC Meeting in Quebec, Canada, not only the meeting disregarded the said statements made by Thai Delegation, the Meeting had also approved the inscription of the Temple of Preah Vihear as a World Heritage for the Temple structure only quoted as “9. Notes that the property proposed for inscription is reduced and comprises only the Temple of Preah Vihear and not the wider promontory with its cliffs and caves;”  

          6. The 32nd WHC Meeting also contradicted the 31st WHC Meeting’s resolution on the issue that the Preah Vihear Temple inscription proposed by Cambodia must beforehand receive consent from Thailand who already expressed her total disagreement. The 32nd WHC Meeting then resolved to set up the International Coordinating Committee Preah Vihear and has included Thailand among one of the seven other appropriate international partners to sit in this Committee. Pursuant to the controversial resolution, Thailand has contested the appendix map in the Joint Communiqué and the newly revised map that Cambodia proposed to the WHC given the fact that the Joint Communiqué and all the supporting documents were under interim injunction by the Thai Administrative Court. Unfortunately, all the claims and requests made by Thailand not only were ignored, but the WHC also approved the Preah Vihear inscription against all odds. When the Thai ICOMOS sent in their letter of disagreement,   the WHC had instead asked the World Heritage Centre to help Cambodia by providing Indian experts to draw up the management plan for the surrounding areas of the Preah Vihear Temple.

          7. After the 32nd WHC Meeting, the Thai Civil Society expressed strong disagreement. The Thai Constitutional Court ruled that the surrounding areas of the Preah Vihear Temple are under Thai sovereignty and that the Joint Communiqué in the 31st WHC Meeting might have led to the country’s lost of territory since the Royal Thai Government (1962) gave up the rights to the Temple only, but did not mention about any land granting to Cambodia. Furthermore, the Royal Thai Government (1962) has submitted a letter claiming the property rights over the disputed area of the Temple of Preah Vihear to the United Nations with no expiry term.

          8. After the 32nd WHC resolution, the Cambodian armed troops were deployed in Thailand territory concurrently the Cambodian border community increasingly expanded into Thailand. This left Thailand no choice, but only to defend our national sovereignty. The violent incident between Thai and Cambodian soldiers caused several casualties among both troops.

           9. While the Head of Cambodia World Heritage Delegation sent in a paper to the World Heritage Centre, accusing Thailand as invader and using artillery to destroy the  Preah Vihear Temple ruins . That Cambodian paper was inserted in the agenda of the 33rd WHC Meeting.

          10. At the 33rd WHC Meeting in Sevilla, Spain, Cambodia solely presented the damage of the Temple supposedly caused by Thai troops especially the destruction of the Cambodian community market encroached upon Thai soil. Even if the actual fact was that after the Cambodian soldiers  and Community encroached the Thai territory,
when clashes occurred, Thai soldiers had to use force  to push the intruders  back into their territory to maintain the Thai  sovereignty.  Regrettably, the WHC Meeting not only, concurred with the Cambodia Delegation but  also approved a fund  for the reconstruction of the Cambodian community market  situated in Thai soil at the steps of the Temple. In addition, the Meeting granted extra fund for the completion of the Management Plan on a special privilege basis. France
 also stood out to defend Cambodia disregarding Thai  objection.  WHC resolved that Thai and other State parties must cooperate withCambodia in establishing the International Coordination Committee Preah Vihear.

           11. It can be said that relation between Thailand and Cambodia is worsened  by the 32nd WHC meeting resolution and more conflicts arose.Thailand  felt  that UNESCO  under the lead of Director General Mr.Koiichiro Matsuura and Ms Françoise Rivière, Director General for Culture  extended unusual support to Cambodia by assigning UNESCO representatives to survey the Temple’s damage. Thailand had to organize a security team to safeguard  them and to prove the sovereign rights over the surrounding areas of the Temple.

           12. UNESCO and the World Heritage Centre still support Cambodia with special  favours  and seemed like Cambodia was given special rights to submit any documents regarding the Management Plan or the military confrontation  when Cambodia invaded Thai  soil and reported otherwise particularly the road contruction to the Temple of Preah Vihear that vandalized the Thai national park area. As such, UNESCO and the World Heritage Centre overlooked to apply the Article of the Convention for the Protection of the World Cultural and Natural Heritage which states that in the case the World Heritage site became the cause of military confrontation with armed forces which lead to casualties of military personnel and civilians alike. The World Heritage Centre should put the the Temple of Preah Vihear in the “List of World Heritage in Danger” in accordance with the Convention and Procedures
from Articles 177 to 191.

           13. In the 34th WHC Meeting in Brasilia, Brasil , the WHC  attempted to compromise with Thailand by convening a special meeting and insisted that Thailand should accept the 32nd WHC resolution and help Cambodia by lobbying other State parties Committee to accept it too. Thailand accepted the compromised solution in good faith unaware
that it was the conspiracy plan of other State parties Committee. Afterwards the meeting resolution came out more in favour of Cambodia such as the contribution from Japan for the construction of an eco-global museum, the support of the new Management Plan that did not take Cambodia’s invasion into account, Thailand was forced to join the ICC Preah Vihear in the 35th WHC Meeting and Cambodia used the appendix map of the Joint Communiqué that UNESCO had promised not to use it in the consideration of the Management Plan and the World Heritage inscription, but instead let Cambodia use it as master plan to correct the original management  plan. Worst of all is that the WHC let Cambodia encroached Thai soil while disregarding Thailand’s objection.            

          14. The 34th WHC Meeting resolution in Brasilia, Brasil has raised grave concern among a large number of Thai people who came out to 24 hrs stay-over night-protest for 144 days and sent many protest letters to UNESCO Thailand including this time (17th June 2011 letter) requesting the Royal Thai Government to resign from being a State party of the World Heritage Convention and the WHC.

              Thailand, as a member of the United Nations, UNESCO, and a State party of the World Heritage Convention, has sovereign rights and territorial integrity. In the Preah Vihear case, Cambodia has always infringed Thailand sovereignty and territory that Thailand had to submitted protest letters several times. UNESCO is an organization
aiming to promote peace among the State parties, but its behavior in the Preah Vihear case was completely paradox with the organization essence.  Since UNESCO supports the World Heritage Centre and the WHC to approve the Preah Vihear inscription, violence, domestic and international conflicts, invasion against national territory to complete the
Management Plan have been all around. There have been military clashes until lately, in February Cambodian troops fired rockets and cannons at Thai civilian communities near the Preah Vihear area which  led to emergency evacuation twice of more than 100,000 Thais. Cambodian troops used the Temple as their military base/camp gathering weapons and troops (photographs attached herewith) which violates the Convention for the Protection of the World Cultural and
Natural Heritage Article 180 about “potential danger”. It turned out that UNESCO, the World Heritage Centre, and the WHC  turned a blind eye and still supported Cambodia to complete the Management Plan that
invades Thai territory while forcing Thailand to welcome the WHC’s resolution. The Thai Civil Society cannot accept these dishonest acts and sought  for UNESCO, the World Heritage Centre, and the WHC clarifications.

        Consequently, the Kingdom of Thailand Protection Committee and Thai people, hereby, request you to take the above mentioned reasons into account in the Preah Vihear Temple de-listing from the Cultural Heritage sites consideration. We further request you to set up an Investigating Committee to inspect the State party of Cambodia, the World Heritage Centre, and the WHC about the fraudulent 31st, 32nd, 33rd, and 34th WHC resolutions which lack of non-interference principles.  All resolutions have the sense of domestic interference against the State Party’s, Thailand, sovereignty and territory. We request you to put this in the emergent agenda prior the agenda for consideration concerning Preah Vihear during the 35th WHC Meeting to be held in Paris, France.

                                                                                                                     Yours sincerely,



 (Maj.Gen.Chamrong Srimuang)        (Mr.Parnthep Pourpongpan          (Mr.Thepmontri Limpaphayom)




                                        The Kingdom of Thailand Protection Committee                       
Reference http://www.facebook.com/notes/t-na-lertwanarin/pad-at-unesco-17-june-2011-request-for-delisting-of-the-phrah-vihear-temple-from/219515604736988

Note to
U.N. Acting Secretary-general
from
Minister of Foreign Affairs of Thailand
at 6 July 1962
Credit: Thepmontri Limpaphayom

หลัง จากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของ ปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะ กล่าวอ้าง

ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาท ที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ


จากhttp://th.wikipedia.org /wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2505
ภาพโดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
Thepmontri Limpaphayom:
แต่เดิมทหารไทยรักษาการณ์อยู่ฝั่งนี้.....ส่วนนอกประตูเหล็กทหารกัมพูชานั่งอยู่ เรายังครอบครองพื้นที่ปราสาทพระวิหารไปจนถึงเป้ยตาดี
นอกรั้วลวดหนามเป็นการกั้นอาณาบริเวณ ไม่ใช่พรมแดนตามที่เข้าใจกัน
พูดง่ายๆกัมพูชามีสิทธิในตัวปราสาทเฉพาะอำนาจอธิปไตย ซึ่งไทยสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนไว้แล้วครับ





หนังสือยื่นต่อ UNESCO(Thailand) ขอให้ลบชื่อ “ปราสาทพระวิหาร”ออกจากบัญชีรายชื่อของมรดกโลกทางวัฒนธรรม (ภาษาไทย)

โดย Annie Handicraft เมื่อ 18 มิถุนายน 2011 เวลา 9:34 น.
คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย
                                                                                                 บ้านพระอาทิตย์  ถนนพระอาทิตย์  
                                                                                                 เขตพระนคร     กรุงเทพมหานคร
                                                                                                 ประเทศไทย

                                                                       ๑๗  มิถุนายน  ๒๕๕๔

เรื่อง  ขอให้ลบชื่อ “ปราสาทพระวิหาร”ออกจากบัญชีรายชื่อของมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เรียน  ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การยูเนสโก  (ผ่านผู้อำนวยการยูเนสโกประจำประเทศไทย)

               คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ประเทศไทย และประชาชนทุกหมู่เหล่า มีความตระหนักและห่วงใยถึงปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและการกระทำของ คณะกรรมการมรดกโลก ๒๑ ประเทศ ซึ่งมีพฤติการณ์สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์การขึ้นทะเบียนมรดกโลก ของศูนย์กลางมรดกโลก(WHC) รวมไปถึงองค์การยูเนสโก(UNESCO)ที่อยู่ในการดูแลของท่านและตัวท่านเองยังได้ ให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกอย่างต่อเนื่อง การกระทำดังกล่าวข้างต้นนั้น   คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยได้พิจารณาแล้วว่าเป็นการรุกรานอธิปไตยและ ดินแดนของประเทศไทยอย่างชัดเจน  ซึ่งเราในฐานะเป็นประเทศภาคีสมาชิกตามอนุสัญญามรดกโลกยอมรับพฤติการณ์เช่น นี้ไม่ได้ จึงร้องขอให้ท่านได้พิจารณาข้อมูลหลักฐานของภาคประชาชนของประเทศไทยเพื่อนำ เรื่องและข้อมูลที่จะได้รับต่อไปนี้ ไปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๕ ณ กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ ๑๙-๒๙  มิถุนายน ๒๕๕๔  เพื่อขอให้มีการพิจารณาลบชื่อ “ปราสาทพระวิหาร”ออกจากบัญชีรายชื่อของมรดกโลกทางวัฒนธรรมด้วยเหตุผลดังนี้

1. ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ ณ เมืองไครส์ทเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศไทยได้ทำการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของ กัมพูชา  แต่ฝ่ายเดียวอย่างแข็งขัน

2. ในสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑  ณ เมืองไครส์ทเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ คณะกรรมการมรดกโลก ได้มีมติให้ประเทศกัมพูชาในฐานะภาคีสมาชิกภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ปรึกษาหารือกับประเทศไทยในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร  โดยเสนอให้ไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก “ให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยการนำเสนอของ ฝ่ายกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว”

3. เป็นเวลาเกือบ ๑ ปี ที่องค์การยูเนสโก(UNESCO) และศูนย์กลางมรดกโลก (WHC)  ได้สนับสนุนการขึ้นทะเบียนของฝ่ายกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวโดยการส่งนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ เดินทางมายังกรุงพนมเปญ เพื่อหารือและจัดตั้งองค์กร ANPV  ( The National Authority for the Protection of PreahVihear )  เพื่อให้เป็นองค์กรบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารตามหลักการ พิจารณาของหน่วยงาน ICOMOS  สากล

4. ในขณะเดียวกัน การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ เสร็จสิ้นไปเพียงไม่กี่เดือนประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ร่วมกันออก แถลงการณ์ร่วม ( JOINT COMMUNIQUE )  และได้กำหนดแผนที่ในการบริหารจัดการ  โดยฝ่ายประเทศกัมพูชาได้นำเสนอแผนที่ แบ่งโซนการบริหารจัดการออกเป็น ๓ โซน  หากแต่ภาคประชาชนของประเทศไทย ได้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนผู้ติดตามสถานการณ์ของปราสาทพระวิหาร ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยทำการยกเลิกแถลงการณ์ร่วมที่ทำให้ประเทศไทย อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางให้ วินิจฉัย มิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าว ไปใช้เป็นเอกสารประกอบในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชาแต่ ฝ่ายเดียว เพราะเห็นว่าดินแดนโดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของ ประเทศไทย และคำแถลงการณ์ร่วมขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๑๙๐ โดยมีเนื้อหาสรุปว่า  “หนังสือใดๆที่เข้าข่ายความเป็นสนธิสัญญาจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา”       
ในที่สุดศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาตัดสินให้มีการคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามเจ้าหน้าที่รัฐไทยไปให้การสนับสนุนและห้ามนำ คำแถลงการณ์ร่วมไปใช้เป็นเอกสารประกอบคำขอในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และรัฐภาคีสมาชิกอย่างประเทศไทยก็ไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ของประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว ดังปรากฏตามเอกสารคำแถลงการณ์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย  และคำแถลงการณ์ของนายปองพล  อดิเรกสาร  ประธานมรดกโลกฝ่ายไทย   และได้มีการรับทราบจากยูเนสโกและศูนย์การมรดกโลก

5. แต่ในสมัยการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก สมัยประชุมที่ ๓๒  ณ เมืองควิเบก  ประเทศแคนนาดา  กลับไม่สนใจคำแถลงการณ์ของประเทศไทย ซ้ำยังกลับอนุมัติให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะตัว ปราสาท ดังข้อความต่อไปนี้  “9. บันทึก ว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาท พระวิหารและไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่าง ๆ”

6. คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ ๓๒  ยังทำการฝ่าฝืนมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ ของตัวเอง ที่ระบุว่าไว้ว่าจะต้องได้รับการสนับสนุนเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารของกัมพูชา จากประเทศไทยเสียก่อน ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ให้ “การสนับสนุนอย่างแข็งขัน นอก จากนี้มติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๒ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ  ICC  พระวิหาร (International Coordination Committee Preah Vihear) และให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็น ๑ ใน ๗ ชาติสมาชิก ซึ่งผลของการออกมติในครั้งนี้ประเทศไทยได้โต้แย้งเกี่ยวกับแผนที่ที่แนบท้าย คำแถลงการณ์ร่วมและการปรับปรุงแผนที่ครั้งใหม่ของประเทศกัมพูชาที่นำเสนอต่อ ศูนย์กลางมรดกโลกที่ปารีสในข้อที่ว่าแผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมอยู่ภาย ใต้การคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับเมินเฉยคำร้องขอของฝ่ายไทย  ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไปอย่างผิดหลักวิชาการ ประกอบกับ ICOMOS  ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงต่อเรื่องนี้  แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับขอให้ศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) ทำการช่วยเหลือประเทศกัมพูชาโดยจัดการหาผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียมาทำแผน บริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร

7. ภายหลังจากการออกมติของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๒  ภาคประชาชนของประเทศไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง และศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้ทำการวินิจฉัยว่าพื้นที่โดยรอบปราสาทพระ วิหารนั้นเป็นของไทย และแผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาฉบับที่ได้พิจารณาในสมัยการ ประชุมมรดกโลกครั้งที่ ๓๒ เป็นฉบับที่อาจทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน เพราะรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ มีมติคณะรัฐมนตรีให้กัมพูชาใช้สิทธิ์อธิปไตยเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่มีการยกดินแดนให้กัมพูชาแต่อย่างใด นอกจากนี้รัฐบาลไทยในปี ๒๕๐๕ ยังทำหนังสือตั้งขอสงวนสิทธิ์ทวงคืนดินแดนปราสาทพระวิหารต่อองค์การสหประชา ชาติ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้แล้ว

8. หลังมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๒ ประเทศกัมพูชาได้ส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ามารุกล้ำดินแดนประเทศไทย และมีการขยายชุมชนของชาวกัมพูชาเข้ามาในดินแดนประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ไทยต้องทำการปกป้องดินแดนอันเป็นอธิปไตยของไทย การปะทะกันของทหารไทยและทหารกัมพูชา ได้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียของทั้งสองฝ่ายจากการที่กัมพูชาละเมิดอธิปไตยของ ประเทศไทย แต่ฝ่ายกัมพูชาโดยประธานคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาได้ทำเอกสารให้ร้ายต่อ ประเทศไปยังศูนย์กลางมรดกโลก(WHC)

9. โดยการกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้รุกรานและใช้อาวุธทำลายตัวซากปราสาทพระวิหาร  รายงานฉบับดังกล่าวของกัมพูชาเข้าไปสู่วาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๓

10. สมัยประชุมที่ ๓๓ ณ เมืองเซบิย่า  ประเทศสเปน  การประชุมครั้งนี้ฝ่ายกัมพูชาได้นำเสนอความเสียหายของตัวปราสาทจากการกระทำ ของฝ่ายไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะการทำลายตัวตลาดชุมชนชาวกัมพูชา   ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกองกำลังทหารและชุมชนกัมพูชาได้รุกล้ำเข้ามาอยู่ใน ดินแดนประเทศไทย เมี่อมีการปะทะ ทหารไทยได้ใช้กำลังเพื่อผลักดันชาวกัมพูชาเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตย  หากแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกกลับเห็นพ้องกับฝ่ายกัมพูชาและได้อนุมัติ เงินช่วยเหลือฝ่ายกัมพูชาในการมาฟื้นฟูตลาดของชุมชนชาวกัมพูชาที่อยู่ในดิน แดนประเทศไทย และบริเวณทางขึ้นตัวปราสาท  อีกทั้งยังได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมในการทำแผนบริหารจัดการให้สำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กัมพูชาเป็นกรณีพิเศษ  เฉพาะกรณีประเทศฝรั่งเศสได้ออกตัวมาปกป้องประเทศกัมพูชา โดยไม่ฟังเสียงทัดทานของฝ่ายไทย   ประกอบกับคณะกรรมการยังออกมติที่บีบบังคับฝ่ายไทยให้ความร่วมมือกับฝ่าย กัมพูชาและประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆในการจัดตั้ง ICC พระวิหาร (International Coordination Committee)

11. ภายหลังการออกมติ ฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชากลับมีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เพราะฝ่ายไทยมองเห็นว่าทั้งองค์กรยูเนสโกภายใต้การนำของนายทาเคชิ  มัสซึอุระ ผู้อำนวยการใหญ่  และนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ได้ให้การสนับสนุนกัมพูชาอย่างผิดปกติ   จัดผู้แทนยูเนสโกเข้ามาสำรวจความเสียหายของปราสาทพระวิหารจนฝ่ายไทยจำเป็น ต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้ามาอารักขาและแสดงสิทธิอำนาจอธิปไตยบริเวณพื้นที่โดย รอบปราสาทพระวิหาร

12. องค์การยูเนสโกและศูนย์กลางมรดกโลก ยังคงให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกัมพูชาอย่างพิเศษและดูเหมือนว่าจะให้สิทธิ ในการส่งเอกสารต่างๆลาช้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนบริหารการจัดการ  หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งทางด้านทหารที่ฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกรานดินแดน ประเทศไทยก่อน และโดยเฉพาะการตัดถนนเข้ามายังตัวปราสาทพระวิหารได้ทำลายพื้นที่อุทยานแห่ง ชาติเข้าพระวิหารของประเทศไทย  องค์การยูเนสโก  โดยศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) กลับละเลยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในข้อที่ว่า กรณีปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลกได้ก่อให้เกิดสถานการณ์การสู้รบทางการทหาร  มีกองกำลังติดอาวุธและมีการปะทะกันก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตทหารและ ประชาชน ศูนย์กลางมรดกโลกยังคงเพิกเฉยละเลยที่จะขึ้นบัญชีมรดกโลกอันตรายต่อปราสาท พระวิหารตามอนุสัญญาและขั้นตอนต่างๆตามข้อ ๑๗๗ ถึง ๑๙๑

13. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยประชุมครั้งที่ ๓๔ เมืองบาซิเลียน,ประเทศบราซิล คณะกรรมการมรดกโลกพยายามทำการประนีประนอมต่อประเทศไทย ด้วยการเรียกประชุมเป็นการเฉพาะและยังยืนยันที่จะให้ฝ่ายไทยรับมติคณะ กรรมการมรดกโลกย้อนหลัง   โดยการช่วยฝ่ายกัมพูชา ล๊อบบี้ประเทศภาคีอื่นๆที่มีฐานะเป็นคณะกรรมการ  ยังผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องลงนามประนีประนอมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  อันมาจากการสมรู้ร่วมคิดของประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆที่อยู่ในฐานะเป็นคณะ กรรมการ  ส่งผลให้มติของคณะกรรมการมรดกโลกที่อออกมากลับมีการสนับสนุนและช่วยเหลือ กัมพูชาเพิ่มเติมจากเดิม อาทิ ความช่วยเหลือของประเทศญี่ปุ่นในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์  การสนับสนุนแผนบริหารการจัดการฉบับใหม่ที่ไม่สนใจการรุกล้ำอธิปไตยของฝ่าย กัมพูชา และการบีบบังคับให้ไทยต้องเข้าร่วม ICC พระวิหาร ในสมัยประชุมครั้งที่ ๓๕ อีกทั้งยังนำเอาแผนที่แนบท้ายคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งองค์การยูเนสโกได้เคยยืน ยันแล้วว่าจะไม่นำมาใช้ในการพิจารณาแผนบริหารการจัดการและการขึ้นทะเบียน มรดกโลก โดยในครั้งนี้ฝ่ายกัมพูชามาใช้เป็นต้นแบบในการปรับแก้แผนบริหารจัดการ  ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือการที่คณะกรรมการมรดกโลกเปิดโอกาสให้กัมพูชาขยายขอบ เขตพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางโดยการรุกรานดินแดนและอธิปไตยของไทย โดยไม่สนใจข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยแต่อย่างใด

14. หลังออกมติการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๔ เมืองบาซิเลียน ประเทศบราซิล   ประชาชนชาวไทยได้รวมตัวกันมาประท้วงเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก แบบพักค้าง โดยมีผู้อยู่ในที่ชุมนุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง มาตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคา ๒๕๕๔ เป็นเวลากว่า ๑๔๔ วัน และได้ทำการยื่นหนังสือประท้วงต่อองค์การยูเนสโกประจำประเทศไทย (UNESCO) หลายครั้ง รวมถึงการมายื่นหนังสือวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ นี้ด้วย  โดยมีวัตถุประสงค์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก และถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก


ประเทศไทยเป็นประเทศ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติ,องค์การยูเนสโก(UNESCO)  และเป็นรัฐภาคีสมาชิกมรดกโลกฯ  มีอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของตนเองอย่างสมบูรณ์  การกระทำของประเทศกัมพูชาต่อกรณีปราสาทพระวิหารที่ผ่านมาเป็นการรุกล้ำ อธิปไตยและดินแดน จนฝ่ายไทยได้มีหนังสือประท้วงหลายต่อหลายครั้ง  องค์การยูเนสโกเป็นองค์กรที่มีปณิธานในการส่งเสริมสนับสนุนประเทศภาคีสมาชิก ในความร่วมมือให้มีสันติภาพ มีความสงบสุข  แต่พฤติการณ์และพฤติกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารให้เป็นมรดกโลกนั้น มีลักษณะขัดแย้งต่อปณิธานขององค์กรที่ตั้งไว้ เพราะเมื่อมีการสนับสนุนให้ศูนย์กลางมรดกโลก  คณะกรรมการมรดกโลกทำการอนุมัติการขึ้นทะเบียน ความขัดแย้งได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย มีการขัดแย้งของคนภายในประเทศ  มีการรุกรานดินแดนเพื่อให้แผนบริหารจัดการมีความสมบูรณ์ มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  และล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพกัมพูชาได้ระดมยิงจรวดและปืนใหญ่ถล่มบ้านเรือนของประชาชนคนไทยตรง บริเวณใกล้ปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร ประชาชนชาวไทยต้องอพยพหลบภัยจากอาวุธของกองทัพกัมพูชาถึง ๒ ครั้ง กว่า ๑ แสนคน   อนึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ใช้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นที่กำบัง เป็นที่สะสมอาวุธและกองกำลัง(ดังปรากฏตามภาพถ่ายที่ได้แนบมา)ซึ่งได้ละเมิด อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ข้อ ๑๘๐ ที่ว่าด้วยเรื่อง POTENTIAL DANGER แต่องค์การยูเนสโก ศูนย์กลางมรดกโลก  และคณะกรรมการมรดกโลกกลับนิ่งเฉย  และยังคงเข้าข้างฝ่ายกัมพูชาในการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการที่รุกล้ำดิน แดนประเทศไทย  อีกทั้งยังมีความพยายามบีบบังคับให้ประเทศไทยต้องรับมติคณะกรรมการมรดกโลก  การกระทำที่ฉ้อฉลเช่นนี้ ภาคประชาชนของประเทศไทย ยอมรับไม่ได้จึงขอชี้แจงการกระทำขององค์การยูเนสโก  ศูนย์กลางมรดกโลกและคณะกรรมการมรดกโลก
            
 ดังนั้นคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนคนไทย  จึงขอความอนุเคราะห์จากท่าน  นำเหตุผลข้างต้นไปประกอบการพิจารณา  ลบชื่อ ปราสาทพระวิหารออกจากบัญชีรายชื่อของมรดกโลกทางวัฒนธรรม และตั้งคณะกรรมการสอบสวนรัฐภาคีกัมพูชา,ศูนย์กลางมรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกที่ออกมติครั้งที่ ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔ อันเป็นฉ้อฉล  ขาดหลักการและเข้ามายุ่งเกี่ยวกับดินแดนประเทศไทยอันเป็นการรุกรานอธิปไตยและดินแดนของรัฐภาคีสมาชิก   โดยร้องขอให้ท่านได้บรรจุเป็นวาระการประชุมเร่งด่วน ก่อนการพิจารณาวาระปราสาทพระวิหารในสมัยประชุมครั้งที่ ๓๕  ณ กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส ต่อไป


                                                                                                                    ขอแสดงความนับถือ


(พลตรีจำลอง ศรีเมือง)                    (นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์)                   (นายเทพมนตรี ลิมปพยอม)
                                             คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย



อ้างอิง http://www.facebook.com/notes/t-nalertwanarin/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-unesco-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-17-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A2-2554-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88/219517024736846
ขอบคุณภาพจากคุณT-na Lertwanarin

ขอบคุณภาพจากคุณ
วรรณ์วีรนัย ราชนรรักษ์ (Vote No)
ขอบคุณภาพจากคุณ
วรรณ์วีรนัย ราชนรรักษ์ (Vote No)
ขอบคุณภาพจากคุณ
วรรณ์วีรนัย ราชนรรักษ์ (Vote No)

จับเท็จสายลับไทยอำพรางข้อมูล-ลุ้นเลื่อน-รับแผนกัมพูชา24มิ.ย.


3 ผู้ต้องหาคดีจารกรรมความมั่นคงประเทศไทย(แฟ้มภาพ 9 มิ.ย.54)

นาย สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยวานนี้(17 มิ.ย.) ได้ขอเข้าพบ นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก และในช่วงดึกจะเดินทางไปเจรจาขอเลื่อนแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบประสาทพระวิหารของกัมพูชา ในเวทีประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
 เขา กล่าวว่า นายอดุลได้ให้คำแนะนำหลายประเด็น แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาก็จะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดไม่ให้ประเทศไทยสูญเสียแม้ แต่ตารางนิ้วเดียว ทั้งนี้ เรามีข้อมูลชัดเจนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไม่ถูกต้อง และมีบางส่วนรุกล้ำเข้ามาในประเทศไทย 

เมื่อถามว่า หากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกยอม รับแผนบริหารจัดการของกัมพูชา จะวอล์กเอาท์จากที่ประชุมหรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวว่า ยังไม่มองถึงจุดนั้น เราไม่สามารถคาดคะเนอะไรจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเหตุการณ์ยังไม่เกิดก็ไม่สามารถจะตอบได้จะทำอย่างไร แต่ก็ได้เตรียมแผนไว้ในทุกกรณีแล้ว 
ต่อข้อถามถึงการล็อบบี้ที่ผ่านมามี เพียงส่วนน้อยสนับสนุนประเทศไทย ขณะนี้ได้เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ นายสุวิทย์ กล่าวว่า ความจริงทั้งสองประเทศคือไทยและกัมพูชา พยายามล็อบบี้กรรมการทั้ง 21 ชาติให้สนับสนุนแนวทางของตน แต่หลังจากเกิดความไม่สงบชายแดน หลายประเทศเริ่มเข้าใจประเด็นความขัดแย้งมากขึ้น โดยต้องเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องพรมแดน 2 ประเทศ 
ก่อนหน้านี้ นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่าการเดินทางไปในคืนที่ 17 มิ.ย. เพื่อร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ระหว่าง 19 - 29 มิ.ย. ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส และจะมี 187 ประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์ 
เธอกล่าวอีกว่า ที่กัมพูชาเสนอขึ้นบัญชีมรดกโลกปราสาท พระวิหาร ที่เมืองควิเบก แคนาดา ในการประชุมครั้งที่ 32 แต่ขาดแผนบริหารจัดการและพื้นที่กันชนในครั้งนั้น แล้วมาเสนอแผนบริหารฯ ในปีต่อ ๆ มา ส่วนไทยไม่เห็นด้วยเนื่องจากบริเวณพื้นที่มีปัญหากันอยู่จึงคัดค้านไว้ เพื่อให้สองประเทศแก้ปัญหาลุล่วงเสร็จก่อน 
"ตามระเบียบ มรดกโลกที่ มีปัญหาจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภาย 3 ปีจึงจะถอดออกจากวาระที่ 7 อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีพิจารณาเลื่อนออกไปปีต่อ ๆ ไป จนกว่าลุล่วงในทางที่ดีขึ้น"
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศทราบปัญหามาโดยตลอด ซึ่งคณะกรรมการฯ จะให้ประเทศสมาชิกโดยผู้แทนหรือหัวหน้าคณะของแต่ละฝ่ายชี้แจงในลำดับที่ 63 ของวาระที่ 7B คาดว่าเป็นวันที่ 23 หรือ 24 ตามเวลาท้องถิ่นจึงรู้ผลมติจะเลื่อนตามไทยร้องขอหรือรับแผนบริหารฯ ตามกัมพูชาเสนอ
เลขาทูตญวน อ้างผู้ต้องหาแค่มาเที่ยว
วัน เดียวกันนี้ ที่เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ นายฟาม มินห์ ตวน เลขานุการเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเวียดนาม ประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมนายเหวียง เติ้งยัง ผู้ต้องหาสายลับร่วมจารกรรมที่ตั้งทางทหารไทย ซึ่งถูกจับได้บริเวณถนนสายกันทรลักษ์-เขาพระวิหาร พร้อมกับอีก 2 คนในข้อหาร่วมกันกระทำการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ เสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่เรือนจำจัดสถานที่ให้เยี่ยม ทั้งหมดใช้เวลาหารือกันเป็นเวลาพอสมควร จึงเดินกลับออกมา

เลขานุการทูตเวียดนาม เปิดเผยว่า มาเยี่ยมนายเหวียงตามระเบียบปฏิบัติแล้ว พบว่าได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี มีสภาพความเป็นอยู่ดีพอสมควร ซึ่งนายเหวียงบอกว่าเข้าหมู่บ้านภูมิซรอลเพื่อมาท่องเที่ยวเท่านั้น และจะนำเรื่องนี้รายงานหน่วยเหนือทราบ เพื่อหาทางช่วยต่อไป
กงสุลกัมพูชาโวไทยไร้หลักฐาน 
ด้านสำนักข่าวซีอีเอ็น กัมพูชา รายงานว่า นายเนต เสรี กงสุลใหญ่กัมพูชาประจำจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่าเมื่อบ่ายวันที่ 16 มิ.ย. ทนายความได้เข้าไปเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเยี่ยมนายอึ้ง กิมไท ผู้ต้องหาชาวกัมพูชา เพื่อให้ลงนามเอกสารแต่งตั้งทนาย และได้สอบถามนำรายละเอียดไปสู้คดีในชั้นศาล 
กงสุลใหญ่กัมพูชา ยังอ้างด้วยว่า ไทยยังไม่มีหลักฐานจะตั้งข้อกล่าวหา อย่างไรก็ตาม ศาลไทยไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายอึ้ง กิมไท แต่กงสุลจะช่วยในช่องทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด และปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่ได้ทำจารกรรมตามข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นเพียงพลเมืองธรรมดา 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยได้สอบสวนนายสุชาติ มูฮำหมัด ผู้ต้องหาชาวไทย อย่างละเอียดเพิ่มเติม เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า คำให้การวกวน ปิดปังอำพรางความจริงบางอย่าง โดยได้นำเอาเครื่องจับเท็จมาทดสอบด้วย 
ขณะเดียวกัน พ.ต.ต.สังวร วันทะวี พงส.(สบ2) สภ.กันทรลักษ์ ได้สอบปากคำนายอึ้ง กิมไท และนายเหวียง เติ้งยัง เพิ่มเติม โดยมีล่ามชาวกัมพูชาและล่ามชาวเวียดนาม แปลภาษา

"เทพมนตรี" ซัด กต. เจตนาโพสรูปเก่าลงเว็บบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดเอื้อประโยชน์เขมร

"เทพมนตรี" ซัด กต. เจตนาโพสรูปเก่าลงเว็บบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดเอื้อประโยชน์เขมร ยันขัดกับเอกสารชันต้นที่เก็บอยู่ในกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เผยหากเชื่อกต.รั้วที่ล้อมจะกินพื้นที่เป็นพันไร่ และหลักเขตต้องปักด้วยเหล็กไม่ใช่ไม้ เตือนยกที่ดินให้เขมรฟรีๆ โทษประหารชีวิต ลบรูปออกให้ไวมันทุเรศ วอน"มาร์ค"อย่าเล่นเกมการเมือง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ด้วยการสั่งให้ "สุวิทย์" ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก - ผบ.ทบ.ยึดพื้นที่คืน
      
       วันที่ 17 มิ.ย. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เว็บไซน์ของกระทรวงการต่างประเทศ พยายามจูงใจให้คนเชื่อว่า เขตเขาวิหารอยู่ตรงบริเวณตีนบันไดทางขึ้นเขาวิหาร ด้วยการเอารูปเก่าในอดีตมาใช้ ทำให้คนเข้าใจว่าทำขึ้นเมื่อปี 2505 ด้านหลังมีป้ายเขียนเป็นภาษาอังกฤษ บอกว่าเป็นเขตปราสาทเขาวิหาร เป็นทางเข้าของรั้วลวดหนาม เจตนาให้เห็นเขตรั้วลวดหนามลงมาอยู่ตรงตีนบันไดสิงห์ ไม่ได้อยู่ห่างจากบันไดนาคราช 20 เมตร
      

       ตรงนี้ขอให้พี่น้องสังเกตเครื่องแต่งกายของข้าราชการ ที่อยู่ตรงกลางประตู เป็นเครื่องแต่งกายของข้าราชการช่วงประมาณปี 2518 - 2530 ซึ่งเวลานั้นเขาวิหารยังถูกปิดอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสู้รบภายในประเทศกัมพูชาเอง เขมรแดงเข้ายึดอำนาจ ทำให้ไทยจำเป็นต้องรักษาความปลอดภัย สำหรับคนที่จะเข้าชมเขาวิหาร ตนเข้าใจว่าป้ายนี้สร้างขึ้นเพื่อบอกว่า อย่าเดินเข้าไปในเขตนี้ เพราะอาจโดนกับระเบิดของเขมรแดง
      
       นายเทพมนตรี กล่าวต่อว่า การสื่อของกระทรวงการต่างประเทศ ขัดกับเอกสารชันต้นที่เก็บอยู่ในกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งเป็นไปไม่ได้รั้วลวดหนามจะมาขึงอยู่ด้านล่างนี้ เพราะบริเวณหน้าปราสาทเป็นพื้นที่กว่างมาก หากจะขึงรั้วตรงนี้จะกินบริเวณถึง 7,000 เมตร เกินกว่าหลักฐานที่บันทึกในประวัติศาสตร์ กินบริเวณกว้างขวางมากเกินคำตัดสินศาลโลก
       

       ภาพที่มีไม้ปักลงไปส่งเดชแล้วมีลวดหนามมาขึง ไม่ใช้รั่วตามมติครม.เมื่อปี 2505 อาจเป็นรั้วบ้านใครหลังหนึ่ง เพราะไม่มีบอกเลยว่าข้างหลังเป็นปราสาทเขาวิหาร หากเป็นรั้วตามมติ ครม.ปี 2505 จริง คงผุพังไม่อยู่มาถึงปัจจุบันเป็นแน่ อย่างไรก็ดีรั้วลวดหนามของจริงเขาปักด้วยเหล็ก ไม่ใช้ไม้ ดังนั้น ที่กระทรวงการต่างประเทศพยามยามชี้ให้เห็นว่ารั้วตรงนี้เป็นทางขึ้นอยู่ บริเวณด้านล่างเขาวิหาร จึงไม่เป็นความจริง ไม่เป็นไปตามมติครม. ปี 2505 ทั้งนี้หากขึ้งจริงก็ขึงขึ้นทีหลัง จากภาพที่ปรากฎเป็นหลักฐานของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ไปเห็นเหตุการณ์จริง เป็นคนละตำแหน่งกันกับกับที่กระทรวงการต่างประเทศเอามาแสดง ต้องถือว่ากระทรวงการต่างประเทศ เอารูปเก่ามาโพสเพื่อต้องการสร้างหลักฐานเท็จให้เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา
      
       นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่ คนเดินทางไปขึงรั่วลวดหนาม มีการกำหนดระยะหางจากสะพานนาคลงมา 20 เมตร ให้กั้นรัวทำทางเข้าเปิดปิดได้ ขึง100 เมตรจากทางทิศตะวันตกของตัวปราสาทไปจรดหน้าผา และยังมีหลักฐานชัดล้อมรั้วเพียง 50 ไร่ เพื่อไม่ให้กัมพูชาโมเมเอาพื้นที่เรา แต่ภาพที่กระทรวงการต่างประเทศเอามาแสดงให้เห็นมันเป็น 1,000 ไร่ นับว่าเป็นเรื่องประหลาดมาก ที่ผ่านมาข้าราชการกระทรวงการต่างเทศไม่เคยใช้เอกสารเหล่านี้ตอบโต้เพื่อ เป็นประโยชน์กับไทยเลย
      
       นายเทพมนตรี กล่าวว่า มีเอกสารต้นร่างได้มาจากกรมแผนที่ทหาร ถึงสมัย จอมพลประภาส จารุเสถียร เรียกประชุมกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงการต่างประเทศ มีเขียนกำกับ 20 เมตร 100 เมตร นอกจากนี้ยังมีรายงานปฎิบัติหน้าที่ขึ้นไปล้อมรั้ว วาดแผนผังลายเส้นอาณาบริเวรรั่วลวดหนาม เมื่อเป็ฯดังนี้แล้ว จะไปขึงรั้วลวดหนามตรงบันไดข้างล่างได้อย่างไร ขอเตือนกระทรวงการต่างประเทศ เอารูปไปแสดงเจตนายืนยันยกดินแดนให้เขมรฟรีๆ มีโทษประหารชีวิต หากกระทรวงการต่างประเทศฟังตนอยู่ ไปเอารูปเหล่านี้ออกเสีย มันทุเรศ
      
       นายเทพมนตรี กล่าวทิ้งท้ายถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า หากไปเลื่อนแผนบริหารจัดการเขาวิหารแสดงว่า ท่านกำลังเล่นเกมการเมืองเข้าข้างเขมร เพื่อยกดินแดนของในหลวงให้เขมร ทั้งนี้ เมื่อท่านเคยพูดว่า บริเวณโดยรอบเขาวิหารเป็นของไทย จะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 84 พรรษา ท่านต้องบอกให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก แล้วให้ ผบ.ทบ.ไปยึดเขาวิหารคืน อย่าลืมว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นอุทยานแห่งชาติลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ อย่าปัดความรับผิดชอบไปรัฐบาลหน้า ตนเชื่อท่านไม่ได้กลับมาเป็นนายกฯอีก แต่ยอมให้ท่านทำอย่างนี้ไม่ได้ ขอบอกเป็นบุญเมื่อไรที่ท่านลงจากเก้าอี้นายกฯ ป.ป.ช. จ้องเล่นงานท่านอยู่ กรณีที่ท่านพูดจาส่งเดชหลายเรื่อง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2554 23:54 น.

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง