บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“ชวนนท์” บี้รัฐบาลขอดูแผนจัดการปราสาทพระวิหารของเขมรกินพื้นที่ไทยหรือไม่

อดีตเลขาฯ รมว.ต่างประเทศ เตือนรัฐบาลต้องระวังอย่าให้เรื่องการถอนทหารทำไทยเสียเปรียบกัมพูชา ขณะเดียวกันต้องขอแผนบริหารจัดการการขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกของเขมรมาตรวจดูว่าใช้แผนที่ระวาง 1 ต่อ 200,000 ที่กินพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาจำนวนมากหรือไม่




13 ส.ค.54 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ว่าที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการ รมว.ต่างประเทศ แถลงถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)ในรัฐบาลชุดใหม่ว่า ภาระหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีมากมาย หวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะทำงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ขณะนี้ยังค้างอยู่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถึงแม้จะมีการสั่งให้ถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการดำเนินการของทั้งสองฝ่าย รัฐบาลควรมีความระมัดระวังในการเจรจาเรื่องใดๆ กับทางกัมพูชา อย่าให้เรื่องการถอนทหารทำให้ไทยเสียเปรียบ โดยให้ดำเนินการปรึกษากับฝ่ายความมั่นคงเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ

นายชวนนท์กล่าวว่า การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา แม้ขณะนี้ประเทศไทยได้ถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลกแล้ว แต่ขั้นตอนที่มีความสมบูรณ์ประเทศไทยต้องส่งจดหมายไปยังยูเนสโก จึงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งตัดสินใจดำเนินการ เพราะมีกระแสระบุว่ารัฐบาลมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา และจะมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ

“ขอให้รัฐบาลไปขอแผนบริหารจัดการของกัมพูชาที่ได้ส่งไปถึงยูเนสโก จากนั้นให้เปิดเผยต่อประชาชนให้เห็นแผนที่ฉบับนั้น ว่าจะเป็นแผนที่ที่ใช้ระวาง 1 ต่อ 2 แสน และกินพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาเป็นจำนวนมากใช่หรือไม่ เพราะสิ่งนี้คือกุญแจดอกสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของไทยและกัมพูชา” นายชวนนท์กล่าว

ฮุน เซน หวัง ปู ตกลงแบ่งแก๊สฯ-น้ำมัน 80:20


โดย  ทรงฤทธิ์ โพนเงิน
 
หลัง จากที่ได้แสดงความดีใจจนออกนอกหน้าต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วนั้น ฮุน เซน ก็ได้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยโอกาสที่จะได้แสดงความยินดีอย่าง เป็นทางการกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรัก) อย่างใจจดใจจ่อ เนื่องเพราะมั่นใจว่าการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของน้องสาวเพื่อนรัก นั้นจะทำให้ความขัดแย้งว่าด้วยเรื่องพื้นที่พิพาทและการเผชิญหน้าทางทหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ดำเนินมาถึง 3 ปีแล้วนั้นจะได้ข้อยุติหรือจบสิ้นกันไปเสียที
โดยความมั่นใจดังกล่าวนี้ของ ฮุน เซน ยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อปรากฏว่าทั้ง ทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ได้ประสานเสียงกันตามประสาพี่น้องที่ “โคลนนิ่ง” กันมานั้นว่าปัญหาการต่างประเทศที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วนที่สุดเป็นอย่างแรก ของรัฐบาล “โคลนนิ่ง” ทักษิณ นั้น ก็คือการปรับปรุงและก็เสริมสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชานั่นเอง
ครั้นเมื่อเห็นว่า ทักษิณ เพื่อนรักและน้องสาวได้ออกมาแสดงท่าทีเช่นนี้ ฮุน เซน ก็มิได้นิ่งดูดาย แต่ได้ออกมาเสริมในเรื่องเดียวกันนี้ว่าตนเองนั้นยินดีและพร้อมที่จะพบและ เจรจากับน้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรักทุกเวลา ทุกสถานที่ และในทุกๆเรื่องราวที่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสอง ประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับท่าทีที่ ฮุน เซน ได้แสดงต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นับตั้ง แต่วันแรกที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย
แน่นอนว่าการแสดงท่าทีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ของ ฮุน เซน ในด้านหนึ่งนั้นย่อมต้องการที่จะตอกย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ มีอยู่กับ ทักษิณ เพื่อนรัก แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีในบรรดาผู้ที่มีสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับ ฮุน เซน ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ฮุน เซน ได้ทำดีกับใคร ก็ตาม ต่างก็ล้วนแล้วแต่ต้องการสิ่งตอบแทนทั้งสิ้น” โดยไม่มีการยกเว้นแม้แต่ ทักษิณ เพื่อนรัก
ครั้นแล้วความต้องการของ ฮุน เซน ก็ถูกเปิดเผย เมื่อเวบไซต์เจ้าปัญหาอย่าง Wiki-leak นั้นได้ปล่อยข้อมูลลับออกมาว่า “ฮุน เซน กับ ทักษิณ นั้นเคยตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่อยู่ใน พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างกันในสัดส่วน 80 ต่อ 20”
ซึ่งหากจะว่าไปแล้วกรณีดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ได้หลุดปากออกมาในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษา จากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดให้เวลากับกลุ่ม Chevron ยักษ์ ใหญ่ในวงการน้ำมันของสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินการขุดค้น-นำเอาน้ำมันและแก๊สฯที่อยู่ในเขตน่านน้ำทางทะเลของ กัมพูชาในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินการถอนสัมปทานทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กัมพูชานั้น ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่น น้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวนี้ในกัมพูชาในระยะต่อไป
ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้ จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาจะผ่านการเห็นชอบในทุกวาระ ของทุกการประชุมได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบ
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สฯและน้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนตร บุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
ทางด้าน Chevron Corp ก็ยังได้ร่วมทุนกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่นและกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตน่านน้ำของ กัมพูชานับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาแล้วนั้น และถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้สรุปผลการสำรวจอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ Chevron Corp ก็ได้ให้การตอบสนองต่อเป้าหมายของ ฮุน เซน เป็นอย่างดีตลอดมา
โดยกลุ่ม Chevron Corp พร้อมด้วยกลุ่ม Mitsui และ กลุ่ม GS Caltex ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ และได้ทำการขุดเจาะและสำรวจหาน้ำมันในเขตสัมปทาน A ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลด้านจังหวัดสีหนุวิลล์ในภาคใต้ของกัมพูชา ประมาณ 150 กิโลเมตรนั้นพบว่า 4 ใน 15 หลุมที่ได้ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า 10 รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในเขตอ่าวไทยในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนนั้นแล้ว โดยในที่นี้ยังรวมถึงบริษัทในเครือของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและยักษ์ ใหญ่ด้านพลังงานจากจีนด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นยังได้แสดงการเชื่อมั่นต่อที่ประชุมสมัชชาว่าด้วยการลงทุนขุดค้นน้ำมัน และแก๊สฯในภูมิภาคเอเชียในช่วงก่อนหน้านี้ว่าน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัมพูชากับไทยนั้น มีปริมาณน้ำมันสำรองที่มากถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และมีปริมาณแก๊สฯสำรองอีกมากกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
พร้อมกันนั้น IMF ก็ยังได้ประมาณการด้วยว่า หากมีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯขึ้นมาใช้ประโยชน์ก็จะทำให้รัฐบาลกัมพูชามีราย รับมากกว่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีแรกของการขุดค้นและก็จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือเมื่อโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของกัมพูชาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จและได้ ทำการกลั่นน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนขุดค้นของกลุ่มบริษัท ต่างๆ ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ ก็คือการที่ทางการไทยและกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในส่วนที่เกี่ยว กับการแบ่งปันผลประโยชน์และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันที่เป็นบริเวณกว้าง กว่า 27,000 ตารางกิโลเมตร
แต่ถึงกระนั้น ทางการไทยกับกัมพูชา ก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้ตกลงที่จะแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางก็ให้แบ่งผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯ ร่วมกันในสัดส่วน 50 ต่อ 50
ส่วนเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลของไทยนั้นก็ได้ตกลงให้แบ่งผล ประโยชน์ให้กับฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งทะเลของกัมพูชา ก็ให้แบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับสัดส่วนของการแบ่งผลประโยชน์ กล่าวก็คือฝ่ายไทยเสนอให้แบ่งเป็น 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชานั้นกลับต้องการให้แบ่งเป็น 90 ต่อ 10 เพราะเชื่อว่าเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีน้ำมันและแก๊สฯมากกว่า ในเขตที่อยู่ใกล้ฝั่งไทยนั่นเอง
แต่นับจากที่ไทยและกัมพูชามีปัญหาพิพาทกันในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ในเขตปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงขั้นที่ต้องยิงปะทะกันด้วยอาวุธมาแล้วนั้นก็ได้ทำให้ไม่มีการ เจรจากันเกี่ยวกับผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สฯระหว่างกันเกิดขึ้นอีก เลย
ครั้นเมื่อ ฮุน เซน ก็ได้มองไปถึงผลประโยชน์ก้อนโตที่จะได้จากน้ำมันและแก๊สฯ (ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี) แล้วนั้น ทั้งยังหวังว่าผลประโยชน์ที่ว่านี้จะทำให้มีชัยอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้ง สภาบริหารชุมชนท้องถิ่น (Commune Council) ทั่วประเทศในต้นปี 2012 อันจะเป็นการวางฐานคะแนนเสียงไว้เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ (National Assembly) ในกลางปี 2013 ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน นั้นยิ่งจะต้องเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับไทยให้บังเกิดผลให้เร็ว ที่สุด และเพื่อเป็นการทำให้ได้ผลตามที่ต้องการดังกล่าว ฮุน เซน ก็ยอมปรับเปลี่ยนผลประโยชน์ในส่วน 90 ต่อ 10 นั้นมาเป็นสัดส่วนที่ ฮุน เซน เชื่อว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นน่าจะยอมรับได้ ก็คือ 80 ต่อ 20 และส่วนที่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันนั้นก็ให้ คงไว้ที่ 50 ต่อ 50 ต่อไป!!!
 

เผยศาลนัดไต่สวนสายลับเขมร ๑๕ ส.ค. ย้ำให้ปล่อยตัว

นายเนต เซรี กงสุลใหญ่กัมพูชาประจำประเทศไทย ฟิฟทีนมูฟ – กงสุลเขมรประจำประเทศไทยเผย ศาลฯ นัดไต่สวนคดีสายลับเขมรจารกรรม ๑๕ ส.ค. ที่จะถึง ระบุหารือทนายเตรียมยื่นเรื่องขอปล่อยตัวในวันพิจารณาคดี บอกญาติอย่าเป็นห่วงกงสุลฯ จะทำการแทนเพราะคดีนี้เป็นคดีพิเศษ ย้ำเจ้าหน้าที่ไทยไม่มีหลักฐานมัดตัว ศาลฯ ต้องปล่อยตัวกลับบ้าน
สำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า ในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ศาลจังหวัดศรีสะเกษจะเปิดไต่สวนคดีสายลับชาวกัมพูชาเป็นครั้งที่สอง หลังเจ้าหน้าที่ไทยนำตัวสายลับสามคน ซึ่งประกอบด้วยชายชาวกัมพูชา ชื่อนายอึ้ง กิมไท1 ร่วมกับชาวเวียตนามและชาวไทย ขึ้นฟ้องศาลฯ ในข้อทำการจารกรรมข้อมูลที่ตั้งทางทหาร หลังถูกจับกุมเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นการเลื่อนมาจากกำหนดครั้งก่อนหน้า คือ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไทยยังไม่มีหลักฐานครบถ้วนในการมัดตัวผู้ต้องสงสัยทั้ง สาม โดยเฉพาะกับชายชาวกัมพูชาคนดังกล่าว

นายเนต เซรี2 กงสุลใหญ่กัมพูชาประจำประเทศไทย กล่าวว่า ศาลจังหวัดศรีสะเกษจะเปิดไต่สวนคดีกับผู้ต้องหาชาวกัมพูชาและผู้ต้องหาร่วม อีก ๒ คน โดยศาลฯ ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ไทยส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่ศาลในขณะทำการไต่สวน โดยก่อนการไต่สวนตนจะหารือกับคณะทนายของนายอึ้ง กิมไท โดยฝ่ายกัมพูชารักษาจุดยืนเดิม คือ ร้องขอให้ศาลฯ ปล่อยตัวชายชาวเขมร เนื่องจาก นายอึ้ง กิมไท ไม่ได้กระทำการจารกรรมในดินแดนไทย ตามที่รัฐบาลก่อนของไทยได้ตั้งข้อกล่าวหา เป็นเพียงคนทำมาหากินและเป็นชาวเขมรที่ซื่อตรง เดินทางเข้าประเทศไทยโดยถูกกฎหมาย นอกจากนี้ ทนายความจะยื่นเอกสารต่อศาลฯ ขอให้ปล่อยตัว ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
นายเนต เซรี กล่าวว่า สุขภาพของนายอึ้ง กิมไท แข็งแรงเป็นปกติดี พร้อมระบุว่า กรณีผู้ต้องหาอึ้ง กิมไท เป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น ขอให้ครอบครัวอย่าได้กังวล กงสุลกัมพูชาประจำประเทศไทยจะเป็นผู้ทำหน้าที่แทนในการสู้คดีในศาลไทย เพรา

จัดประชุมทหารเขมรด้านพระวิหารแจ้งข่าวจุดยืนใหม่ฮวยเซง

กัมพูชาจัดประชุมทหารประจำการชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อแจ้งข่าวจุดยืนใหม่ของรัฐบาลกัมพูชา ๑๓ ส.ค. ๕๔ฟิฟทีนมูฟ — เขมรจัดประชุมผู้บัญชาการด้านพระวิหารที่ช่องตาเฒ่า แจ้งข่าวจุดยืนใหม่ของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการสานต่อความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยหลังรัฐบาลรัฐไทยใหม่ของ ทักษิณ ขึ้นครองอำนาจ ย้ำคำกล่าวฮุน เซน ที่ระบุเป็นศักราชใหม่ในความสัมพันธ์ไทย-เขมร
ผู้บัญชาการทหารระดับสูงของกัมพูชาจัดประชุมทหารที่ประจำการในสมรภูมิชาย แดนไทย-กัมพูชา เพื่อแจ้งข่าวจุดยืนทางนโยบายใหม่ของหัวหน้ารัฐบาลกัมพูชา คือการสานต่อความสัมพันธ์อีกครั้งระหว่างกัมพูชาและไทย โดยจัดขึ้นในพื้นที่ช่องตาเฒ่า1 ต.กันต๊วต2 อ.จวมกสาน3 จ.พระวิหาร เมื่อช่วงเช้า (๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔) ตามรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา

พล.อ.กุน กีม รองผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติกัมพูชา4 และเป็นผู้บัญชาการประจำพื้นที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย ประธานในการประชุมแจ้งข่าวแก่ผู้บัญชาการหน่วยและนายทหารประจำพื้นที่ กล่าวว่า ด้วยการนำอันชาญฉลาดของ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ทำให้กัมพูชาประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ๔ ด้าน คือ นโยบาย การทหาร การทูต และในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการหาหนทางแก้ปัญหาพรมแดนกับประเทศไทยอย่างสันติวิธี พร้อมแจ้ง ที่กล่าวระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยทรัพยากรมนุษย์ ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม และยกคำประกาศที่ว่า “ ในความร่วมมือระหว่างรัฐบาลพระราชอาณาจักรกัมพูชา กับรัฐบาลพระราชาอาณาจักรไทยที่นำโดยพรรคเพื่อไทย” ขึ้นแจ้งในที่ประชุม
ในการจัดประชุมดังกล่าวมีนายทหารกัมพูชาด้านปราสาทพระวิหารเข้าร่วมเป็น จำนวนมาก อาทิ เช่น พล.อ.เจีย ดารา รองผู้บัญชาการในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา เป็นที่สังเกตว่าการจัดประชุมครั้งนี้ นายทหารกัมพูชาเข้าร่วมในชุดลำลอง ไม่ได้แต่งเครื่องแบบทหารแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีการแจ้งผลการประชุมสันนิบาตคณะกรรมการกลาง พรรคประชาชนกัมพูชา ครั้งที่ ๓๖ สมัยที่ ๕ ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ด้วยเช่นกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง