วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เหตุผลและความจำเป็นที่ไทยต้องไปศาลโลกอีกครั้ง ของกระทรวงบัวแก้วเรยโดย Annie Handicraf
โดย Annie Handicraft เมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 เวลา 22:18 น.
ประเทศ (ศาลโลก) ในคดีปราสาทพระวิหาร (อีกครั้ง)" ระบุว่า ด้วยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตีความคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารพ.ศ.2505 ตามบทบัญญัติของข้อ 60 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และกัมพูชาได้ยื่นคำขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตามข้อ 41 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศด้วย เพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แก่สาธารณชนไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงขอเรียนชี้แจงเกี่ยวกับการมีคำขอให้ศาลฯตีความคำ พิพากษาและขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของกัมพูชาดังกล่าว ดังต่อไปนี้
- การยื่นคำขอของฝ่ายกัมพูชาให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษาฯ เป็นการใช้สิทธิตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งบัญญัติว่า"คำพิพากษาของศาลฯถือเป็นที่สุดและไม่สามารถอุทธรณ์ได้ ใน กรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาศาลฯจะต้องตีความ ตามคำขอของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" *( 1 ) การมีคำขอให้ศาลฯตีความในครั้งนี้ เป็นกรณีที่กัมพูชาอ้างว่า ไทย และกัมพูชามีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 กัมพูชาในฐานะคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในคดีดังกล่าว จึงใช้สิทธิตามข้อบทนี้ ขอให้ศาลฯตีความในส่วนที่เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาที่ศาลฯได้ เคยพิพากษาไว้แล้วว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา "
*( 2 ) ประเด็นที่กัมพูชาขอให้ศาลฯตีความ คือ กัมพูชาขอให้ศาลฯตัดสินว่า พันธกรณีของไทยที่จะต้อง "ถอนกำลังทหารหรือตำรวจ หรือผู้รักษาการณ์ หรือผู้ดูแลอื่นๆ ที่ประเทศไทยได้วางไว้ที่ปราสาท หรือในพื้นที่ใกล้เคียงในดินแดนของกัมพูชา" เป็นผลมาจากพันธกรณีทั่วไปของไทย ที่จะต้องเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนกัมพูชา ซึ่งดินแดนนั้นถูกกำหนดขอบเขตในบริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งศาลฯใช้เป็นพื้นฐานของคำตัดสินกระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า การมีคำขอให้ศาลฯตีความตามข้อบทนี้ มิใช่เป็นการฟ้องคดีข้อพิพาทคดีใหม่ ทั้งนี้ การขอให้ศาลฯตีความจะกระทำภายในระยะเวลาเท่าใดก็ได้ เพราะธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมิได้ระบุว่า คำขอตีความจะต้องกระทำภายในระยะเวลาเท่าใด
- อีกคำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคำขอของฝ่ายกัมพูชาในเรื่องนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยมิได้ยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว ประเทศไทยจะต้องไปต่อสู้คดีในเรื่องนี้อีกหรือไม่
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนชี้แจงว่า โดยที่คำขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษาเดิมตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลฯ *( 3 ) มิใช่เป็นการฟ้องคดีใหม่ แต่ เป็นคำขอที่อยู่ในกรอบของคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นคดีที่ไทยและกัมพูชาได้ยอมรับเขตอำนาจศาลฯในคดีดังกล่าวไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อกัมพูชายื่นคำขอต่อศาลฯขอตีความคำพิพากษาดังกล่าว ประเทศไทยจะปฏิเสธ ไม่ไปโต้แย้งคำขอของกัมพูชาที่ศาลฯก็สามารถทำได้ แต่จะเป็นผลให้ศาลฯสามารถพิจารณาบนพื้นฐานของคำขอ คำให้การ และเอกสารประกอบของฝ่ายกัมพูชาฝ่ายเดียวได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 53 ของธรรมนูญศาลฯ โดยศาลฯไม่มีโอกาสรับรู้ รับทราบและพิจารณาข้อโต้แย้งหลักฐานและเหตุผลต่างๆ ของฝ่ายไทย อันอาจเป็นผลให้คำวินิจฉัยตีความของศาลฯเป็นคุณแก่ฝ่ายกัมพูชาและส่งผลเสีย กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงว่า คำวินิจฉัยของศาลฯในเรื่องนี้จะมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามข้อ 59 ของธรรมนูญศาลฯ
กระทรวงการต่างประเทศขอย้ำว่า ในการที่ไทยจะไปต่อสู้คดีในศาลฯครั้งนี้ มิใช่การยอมรับเขตอำนาจศาลฯใหม่ แต่เป็นเรื่องของการตีความคำพิพากษาเก่าที่ผูกพันทั้งไทยและกัมพูชา การมีคำ ขอให้ศาลฯตีความในครั้งนี้ เป็นกรณีที่กัมพูชาอ้างว่า ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาท พระวิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 กัมพูชาในฐานะคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในคดีดังกล่าว จึงใช้สิทธิตามข้อบทนี้ ขอให้ศาลฯตีความในส่วนที่เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาที่ศาลฯได้ เคยพิพากษาไว้แล้วว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา"
(นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ:
เมื่อ พิจารณาคำร้องของกัมพูชา ที่ยื่นต่อศาลโลกครั้งนี้ ในส่วนของคำร้อง กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความว่า พื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารนั้นเป็นของใคร ทหารไทยต้องถอนหรือไม่ ถ้าศาลตัดสินออกมาอย่างไร *( 4 )ไทยก็ต้องเคารพหากมีการชี้พื้นที่ ในที่สุดศาลอาจจะไม่ได้ชี้ก็ได้ กัมพูชาต้องการให้มีความชัดเจนว่านอกจากตัวปราสาทพระวิหารแล้ว พื้นที่ข้างเคียว เนื่องจากไทยและเขมรมีการใช้แผนที่คนละฉบับ พื้นที่ที่ไทยถืออยู่ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นของไทย ทางกัมพูชาก็ถือว่าเป็นของกัมพูชาจากhttp://www.komchadluek.net/detail/20110521/98112/%E0%B8%81%E0%B8%95.%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3.html )
++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิพากษ์ประเด็น:
*( 1 ) การ มีคำขอให้ศาลฯตีความในครั้งนี้ เป็นกรณีที่กัมพูชาอ้างว่า ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาท พระวิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 กัมพูชาในฐานะคู่กรณีฝ่ายหนึ่งในคดีดังกล่าว จึงใช้สิทธิตามข้อบทนี้ ขอให้ศาลฯตีความในส่วนที่เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาที่ศาลฯได้ เคยพิพากษาไว้แล้วว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา "
1 จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ วินิจฉัยคดีนี้แค่เรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรือไทยเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.
ศาลจึงวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ดังนั้นไทยจึงต้องถอนกำลังออกจากปราสาทฯ หรือบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯบนอาณาเขตของกัมพูชา. ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย.
2 จากวิถีพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%
หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น.
ศาลโลกจะพิจารณาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน
4 คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
คำ ว่า “บริเวณใกล้เคียง” (Vicinity) สามารถตีความเทียบเคียงได้ กับ “precincts” หรือ “Temple area” ซึ่งย่อมส่งผลให้คำพิพากษาจำกัดพื้นที่ของกัมพูชาว่าได้แก่บริเวณที่ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวปราสาทฯเท่านั้น
Annie: จากความเห็นของ ศจ.ดร.สมปอง สุจริตกุล, คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ พร้อมหลักฐานประกอบคือ คำตัดสินของศาลโลก และหลักฐานบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับ บริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้างนั้น หลังจากไทยส่งบันทึกต่อศาลโลกแล้ว เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่เคยปรากฏว่ากัมพูชามีการคัดค้านบันทึกนี้แต่อย่างใด
จากสิ่งที่นำมากล่าวอ้างนี้ทั้งหมด ย่อมเป็นที่ปรากฎชัดว่า ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 นั้นสมบูรณ์แล้ว และนับ ตั้งแต่เวลานั้นจนมาถึงปัจจุบัน ไทยยึดเอาตามความหมายอย่างแคบคือตัวประสาทจริงๆและได้มีการสร้างรั้ว ล้อม แต่สิ่งที่เขมรต้องการคือตัวประสาทในความหมายอย่างกว้างคือรวมทางขึ้น และพท. 4.6ตร.กม.
ซึ่งถ้ารัฐบาลยอมรับอำนาจ ICJ ผลอย่างแรก คือ เรายอมสละสิทธิ์ที่ไทยเคยสงวนไว้เมื่อปีพศ. 2505 และยอมให้ICJ เข้ามาพิจารณาตีความซึ่งสุ่มเสี่ยงมาก
*( 2 ) ประเด็น ที่กัมพูชาขอให้ศาลฯตีความ คือ กัมพูชาขอให้ศาลฯตัดสินว่า พันธกรณีของไทยที่จะต้อง "ถอนกำลังทหารหรือตำรวจ หรือผู้รักษาการณ์ หรือผู้ดูแลอื่นๆ ที่ประเทศไทยได้วางไว้ที่ปราสาท หรือในพื้นที่ใกล้เคียงในดินแดนของกัมพูชา"
ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล: ศาลโลกไม่มีอำนาจ ศาลโลกอาจจะสั่งได้แต่ว่าไม่มีใครเขาทำตาม
*( 3 ) มิ ใช่เป็นการฟ้องคดีใหม่ แต่เป็นคำขอที่อยู่ในกรอบของคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นคดีที่ไทยและกัมพูชาได้ยอมรับเขตอำนาจศาลฯในคดีดังกล่าวไว้แล้ว
จากเหตุผลข้อ( 1 )จึงเห็นได้ว่าเป็นการฟ้องคดีใหม่
*( 4 ) ไทยก็ต้องเคารพ หากมีการชี้พื้นที่
ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล: ถึง ที่สุดแล้ว ถ้าเห็นว่าคำตัดสินของศาลโลกไม่เป็นธรรม ไทยไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกก็ได้ ศาลโลกไม่มีอำนาจอะไรนี่ ประเทศไทยมีเอกสิทธิ์เหนือดินแดนของเรา ตอนที่ศาลโลกตัดสินกรณีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 ไทยก็ชี้แจงไปแล้วว่าเราไม่รับคำตัดสิน เพราะศาลตัดสินผิด กลับไปดูจดหมายของท่านถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้นได้เลย ท่านคัดค้านคำตัดสินของศาลโลก และขอสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนประสาทพระวิหารจากกัมพูชา ที่ ผ่านมาบางประเทศก็ไม่ได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก อย่างกรณีที่ศาล โลกเคยสั่งว่าอเมริกาห้ามประหารชีวิตนักโทษคนหนึ่ง แต่อเมริกาก็ประหารชีวิตนักโทษคนนั้นทันทีเลย
ด้วย หลักฐานและเหตุผลที่แย้งมาทั้งหมดในการที่ไทยจะดึงดันไปขึ้นศาลโลก ดิฉันรู้สึกเต็มใจอย่างยิ่งที่จะเรียกชื่อกระทรวงการต่างประเทศว่า "กระทรวงบัวแก้วเรยา"
1) ท่าทีของไทยและการเตรียมการต่อสู้คดี โดยศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล
วันที่ ๕ พค.๒๕๕๔
สิ่ง แรกที่ไทยควรปฏิบัติคือศึกษาคำร้องของกัมพูชาอย่างละเอียด และเตรียมต่อสู้ในชั้นแรกโดยยืนยันว่าศาลฯ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในคดีปราสาทพระวิหาร ตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไทยต้องไม่ละเลยการคัดค้านอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่ง ไทยมิได้มีปฎิญญาประกาศรับอำนาจพิจารณามาเป็นเวลากว่าห้าศตวรรษ ไทยต้องยืนยันสถานภาพของตน ครั้งนี้ กัมพูชาต้องการรื้อฟื้นและขยายขอบเขตคำพิพากษาเดิมที่ไทยไม่เคยยอมรับ ไทยได้คัดค้านอำนาจศาลฯ มาโดยตลอด และได้ตั้งข้อสงวนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ ฉะนั้น หากมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ไทยก็อาจใช้เป็นเวทีขอให้ศาลฯ ยกเลิกคำพิพากษาเดิมเป็น Annulment Proceedings ในเมื่อกัมพูชาเป็นฝ่ายร้องขอเปิดคดีใหม่ ไทยควรใช้โอกาสนั้นขอให้ศาลฯ ยกเลิกหรือแก้ไขคำพิพากษาโดยยืนยันใหม่ว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดน ราชอาณาจักรไทยภายใต้อธิปไตยของไทยแต่ผู้เดียว
แต่วิธีการที่ แนบเนียนกว่าการต่อสู้ในสาระสำคัญคือการคัดค้านอำนาจศาลฯ ทั้งนี้ เพราะไทยมิได้เคยรับอำนาจมาช้านานแล้ว นอกจากนั้น กัมพูชายังยอมรับว่าคำร้องเป็นการริเริ่มคดีใหม่ ศาลฯ ยิ่งหมดอำนาจพิจารณาพิพากษา ฉะนั้น ในมุมมองนี้ ไทยจึงไม่ควรไปสู้คดีขั้นเนื้อหาอย่างรีบด่วน เพราะจะเป็นการยอมรับอำนาจศาลฯ โดยมิได้รับความยินยอมเห็นชอบจากรัฐสภา และโดยปราศจากประชามติ
อนึ่ง ไทยชอบที่จะยื่นคำคัดค้านอำนาจศาลฯ (Preliminary Objection to the Jurisdiction) อย่างชัดเจนและรีบด่วน
2) ข้อสังเกตคำร้องกัมพูชาให้ศาลฯ คุ้มครองชั่วคราว โดยศจ. ดร. สมปอง สุจริตกุล
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ก่อนดำเนินการใดๆ ศาลฯ จะต้องวินิจฉัยว่ามีอำนาจพิจารณาหรือออกคำสั่งตามคำขอของกัมพูชาหรือไม่
1. ใน Press release ของศาลฯ เลขที่ ๒๐๑๑/๑๔ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ศาลฯ ได้ยืนยันว่าเป็นการเปิดคดีใหม่ โดยที่ไทยมิได้ต่ออายุปฏิญญารับอำนาจศาลฯ โดยบังคับ (Compulsory jurisdiction) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นเวลากว่า ๕๐ ปีมาแล้ว ศาลฯ จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและไม่มีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของกัมพูชา
2. ในการแถลงด้วยวาจาในช่วงบ่ายวันที่ ๓๐ และ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ไทย ชอบที่จะขอให้ศาลฯ วินิจฉัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลฯ หรือเสนอข้อสงวนสิทธิ์ในประเด็นนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจย่อมไม่มีผล
3. ไทยควรยืนยันการไม่รับอำนาจศาลฯ และไม่ไปร่วมในการพิจารณาใดๆ นอกจากไปแถลงย้ำว่าศาลฯ ขาดอำนาจพิจารณา
หาก ศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่คดีใหม่ แต่เป็นการตีความดคีเก่าเมื่อ ๕๐ ปีมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากระทำได้ เนื่องจากคู่กรณีได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ อย่างครบถ้วนโดยไม่มีการโต้แย้ง หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความเห็นว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ฝ่ายนั้นต้องยื่นคำร้องต่อศาลฯ ภายใน ๖ เดือนหลังจากมีการละเมิด หรือไม่เกิน ๑๐ ปีหลังจากคำพิพากษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งบัดนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวมานานถึง ๔๐ ปี
อนึ่ง คำสั่งเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ศาลฯ ไม่อาจใช้กับคู่กรณีเฉพาะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตามที่กัมพูชาร้องขอ กัมพูชาเองก็ต้องอยู่ในข่ายบังคับของมาตรการดังกล่าวเช่นกัน
สิ่ง ที่ไทยต้องแถลงให้ศาลฯ รับทราบมิใช่เพียงคัดค้านอำนาจศาลฯ เท่านั้น แต่ต้องชี้ให้ศาลฯ ตระหนักในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรุกรานของกัมพูชา การเคลื่อนกองกำลังเข้าประชิดและบุกรุกเขตพระราชอาณาจักรของประเทศไทย รวมทั้งการยกกำลังโจมตีจนราษฎรไทยจำนวนเกือบห้าหมื่นคนต้องอพยพจากถิ่นฐาน บ้านช่อง ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในยามสันติและแม้แต่ยาม ที่มีการขัดแย้งทางอาวุธ การข่มเหงรังแกประชาชนคนไทยผู้บริสุทธิ์โดยเฉพาะผู้ชราและผู้เยาว์โดยกอง กำลังกัมพูชา เป็นการขัดต่อมนุษยธรรมอย่างร้ายแรง หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ไทยพึงเสนอต่อศาลฯ ไทยต่างหากที่น่าจะเป็นฝ่ายร้องขอให้ศาลฯ ใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อปกป้องประชาชนพลเรือนไทยในพื้นแผ่นดินไทย
จากhttp://www.15thmove.net/article/remarks-khmer-appeal-icj-sompong/
3 ) การมีข้อพิพาทเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำพิพากษา โดยคุณประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
นิติราษฏร์ ฉบับ ๒๐
เป็น ที่ยอมรับกันในแนวบรรทัดฐานคำตัดสินของศาลโลกตั้งแต่ศาลโลกเก่า (คือคดี Chorzow Factory) จนถึงศาลโลกใหม่ว่า ขณะที่มีการร้องขอให้ตีความคำพิพากษา จะต้องมีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจริง (the existence of a actual dispute) ระหว่างรัฐคู่ความเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำพิพากษา มิใช่เพียงแค่โอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดหรือมีข้อพิพาท (potential dispute) โดยคำว่า “ข้อพิพาท” (dispute) นี้เป็นถ้อยคำทางกฎหมายที่มีความหมายเฉพาะคือหมายถึงกรณีที่รัฐคู่พิพาทมี ความเห็นที่ไม่ตรงกันหรือต่างกัน (divergence of view) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงอาจเป็นประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จ จริงก็ได้ ฉะนั้น ข้อพิพาทจึงมิได้มีความหมายเพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าหรือเห็นว่า คำตัดสินของศาลนั้นไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือ ในคำร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดี Asylum นั้น ศาลโลกกล่าวว่า ข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็นกรณีที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนกันระหว่างรัฐคู่พิพาท ในประเด็นที่มีการกำหนดไว้ชัดเจนแน่นอน (A dispute requires a divergence of view between the parties on definite points.)
อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา หรือพูดง่ายๆก็คือ ต้องการตัดเขตอำนาจศาลโลกตั้งแต่แรก ก็จะต้องมีการคัดค้านในเบื้องต้นเสียทันทีว่า ไม่มีข้อพิพาทหรือความเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับขอบเขตหรือความหมายของคำ พิพากษาระหว่างรัฐคู่ความ ซึ่งหากขาดเงื่อนไขข้อนี้แล้ว ศาลโลกก็ไม่สามารถที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ เพราะว่าศาลโลกจะตีความได้ก็ต่อเมื่อมีประเด็น “ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจริง” (actual dispute) แล้วเท่านั้น เช่นกรณีคดี Chorzow Factory ที่โปแลนด์ต่อสู้ว่า ไม่มีข้อพิพาทหรือความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำ พิพากษาแต่อย่างใด
จาก http://www.enlightened-jurists.com/blog/33
ไทย-เขมรสู้ศึกบนศาลโลก สางคดีพระวิหารครึ่งศตวรรษ
ไทย-เขมรสู้ศึกบนศาลโลก สางคดีพระวิหารครึ่งศตวรรษ
สกู๊ปพิเศษ
วัน ที่ 30 พ.ค.นี้ ไทยและกัมพูชาต้องต่อสู้กันอีกครั้งแต่ไม่ใช่การใช้อาวุธ เป็นการต่อสู้บนเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประ เทศ หรือที่เรียกกันว่า ศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง เพราะเป็นการ ตีความคำพิพากษาที่ตัดสินไปเกือบ 50 ปีก่อน หรือเมื่อปีพ.ศ.2505 ซึ่งผลของการตัดสินครั้งนั้นทำให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ในส่วนของเส้นเขตแดน ศาลโลกไม่เคยแตะต้องแต่อย่างใด
ทำ ให้พื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระ วิหารซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนยังคงเป็นปัญหาคาราคาซังระหว่าง ไทยและกัมพูชากันมานานนับชั่วอายุคน
การปะทะกันตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หลังจากปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หากเปรียบเทียบกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ ไทยเป็นต่ออย่างเห็นได้ชัด กัมพูชาจึงพยายามดึงเรื่องพิพาท กับไทยให้เข้าสู่เวทีระดับโลกให้ได้เพราะคิดว่ายังมีไพ่ในมือเล่นอยู่
กัมพูชา เดินตามเกมที่วางไว้โดยยื่นคำขอให้ศาลโลกเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ตีความคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารในปี 2505 ในประเด็น "พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร" เพราะทำให้กัมพูชาเดินหน้าแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารไม่ได้
ขณะ เดียวกัน กัมพูชาขอให้ศาลโลกออกมาตรการชั่วคราว 3 ข้อ คือ ขอให้ไทยถอนกำลังทั้งหมดออกจากปราสาทพระวิหาร ห้ามไทยมีกิจกรรมทางทหารใดๆ ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และให้ไทยงดการกระทำหรือดำเนินกิจการใดๆ ที่กระทบกับสิทธิของกัมพูชาหรือเพิ่มความขัดแย้งในการตีความจนกว่าศาลโลกจะ ตี ความแล้วเสร็จ
แม้ไทยไม่ให้การยอมรับอำนาจศาลโลกหลังคดี ปราสาทพระ วิหาร แต่ไทยจะไปขึ้นศาลโลกอีกครั้ง เพราะการยื่นคำขอต่อศาลโลกครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีใหม่ แต่เป็นการตีความคดีที่ศาลตัดสินไปแล้วและคำพิพากษา มีผลผูกพันกับไทย
ใน วันดังกล่าว ศาลจะตีความ ในประเด็นที่เกี่ยว กับมาตรการชั่วคราวที่กัมพูชาร้องขอมาเท่านั้น โดยศาลกำหนดรูปแบบการให้การโดยวาจา (oral hearing) ในวันที่ 30-31 พ.ค. ซึ่งให้เวลาฝ่ายกัมพูชาให้การในช่วงเช้าและฝ่ายไทยในช่วงบ่ายของแต่ละวัน โดยรวมแล้วแต่ละฝ่ายจะมีเวลาให้การ 5 ชั่วโมง จากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์ จึงจะทราบผลการพิจารณาของศาล
คณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของ ไทย ประกอบด้วย เอก อัครราชทูตไทย ประจำเนเธอร์แลนด์เป็นตัวแทน (Agent) อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎ หมายเป็นรองตัว แทนที่ปรึกษาอื่นๆ เช่น รมว.ต่างประ เทศ รมว.กลาโหม รวมทั้งที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศส ออสเตรเลียและแคนาดา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศเพราะศาลโลกใช้สองภาษา คือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ประกอบกับคำร้องขอให้ตีความของกัมพูชาใช้ภาษาฝรั่งเศส
นอก จากนี้ ไทยและกัมพูชายังแต่งตั้ง ผู้พิพากษาเฉพาะกิจได้อีกฝ่ายละ 1 คน ซึ่งไทยทาบทามผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจของฝ่ายไทย เพราะเป็นนักกฎหมายที่ได้รับการยอมรับและมีแนวคิดไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาใน คดีปราสาทพระวิหารซึ่งสอด คล้องกับแนวคิดคณะที่ปรึกษากฎหมายของฝ่ายไทย อีกทั้งยังเข้าใจแนวคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศสและเคยเป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจมา หลายคดีแล้ว
แม้ผู้พิพากษาเฉพาะกิจไม่ใช่ผู้แทน ของประเทศที่ได้เลือก โดยจะปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระโดยได้รับเงินค่าจ้างจากศาลโลก แต่ในทางปฏิบัติ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจจะทำหน้าที่เป็นหลักประกันว่าผู้พิพากษาอื่นๆ 15 คน เข้าใจท่าทีของฝ่ายไทย
ส่วนผลเบื้องต้นจะออกมาเป็นอย่างไร คาดว่าจะใช้เวลาอีกราวสามสัปดาห์จากนั้น
กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- บทความนี้เกี่ยวกับคดีปัจจุบัน สำหรับคดีที่ตัดสินไปแล้ว ดูที่ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] การตั้งต้นคดี
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลฯ เพื่อขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 (คำพิพากษาเดิม) อันป็นคดีพิพาทเดิมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งศาลฯได้เคยตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2505 [1] และในวันเดียวกันกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลฯเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [2] โดยในคำร้องทั้งสองฉบับกัมพูชาได้กล่าวอ้างถึงความขัดแย้งไทย-กัมพูชาที่ยังคงเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบันต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ศาลฯได้แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า คำร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลฯตีความคำพิพากษาเดิมนั้นถือเป็นการเริ่มต้นคดี ใหม่ ส่วนคำร้องที่ขอให้ศาลฯระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้นถือเป็นกระบวน พิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับคดีใหม่ดังกล่าว [3] [4]
[แก้] คำร้องขอให้ตีความคำพิพากษา
[แก้] เนื้อหาคำร้องของกัมพูชา
กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสความยาว 17 หน้า[5] มีใจความสำคัญดังนี้กัมพูชาระบุว่าไทยมีข้อขัดแย้งต่อความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิมในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ประเด็นที่กัมพูชาเห็นว่าคำพิพากษาเดิมนั้นได้อาศัยเขตแดนระหว่างประเทศที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งไทยและกัมพูชาต่างให้การยอมรับ
2. ประเด็นที่กัมพูชาเห็นว่าเขตแดนดังกล่าวเป็นไปตามแผนที่ในภาคผนวก 1 ที่ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาซึ่งศาลฯได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษาเดิม ซึ่งศาลฯได้อาศัยแผนที่ฉบับนี้เพื่อวินิจฉัยว่าการที่กัมพูชามีอธิปไตยเหนือ ปราสาทพระวิหารนั้นเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นเองจากการที่กัมพูชามีอธิปไตย เหนือบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่
3. ประเด็นที่คำพิพากษาเดิมได้ตัดสินให้ไทยมีพันธกรณีต้องถอนกำลังทหารหรือ บุคคลากรอื่นออกจากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทที่ตั้งอยู่บนเขตแดนของกัมพูชา โดยกัมพูชาเห็นว่าพันธกรณีที่มีลักษณะทั่วไปและต่อเนื่องดังกล่าวย่อมเป็นไป ตามถ้อยคำในคำพิพากษาเดิมที่ศาลฯได้ยอมรับว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือบริเวณ ดังกล่าว
กัมพูชาอธิบายต่อว่า แม้ไทยจะไม่โต้แย้งว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อไทยโต้แย้งว่ากัมพูชาไม่มีอธิปไตยเหนือบริเวณโดยรอบและใกล้เคียง ปราสาทพระวิหาร ย่อมถือว่าไทยโต้แย้งว่าเส้นเขตแดนที่ศาลฯได้ยอมรับไว้ตามคำพิพากษาเดิมนั้น ไม่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งย่อมกระทบไปถึงบริเวณตัวปราสาทด้วยเช่นกัน
กัมพูชาจึงมีขอให้ศาลวินิจฉัยและสั่งว่า พันธกรณีที่ไทยต้องถอนกำลังทหารหรือกำลังตำรวจใดๆ หรือเจ้าหน้าที่ยามหรือผู้เฝ้าดูแลอื่นๆ ที่ไทยได้เคยให้ประจำอยู่ ณ ตัวปราสาทหรือบริเวณใกล้ตัวปราสาท (ตามบทปฏิบัติการข้อ 2 ของคำพิพากษาเมื่อ พ.ศ. 2505) เป็นผลโดยเฉพาะที่เกิดจากพันธกรณีอันทั่วไปและต่อเนื่องที่ไทยจะต้องเคารพ บูรณภาพอาณาเขตของกัมพูชา โดยที่บริเวณตัวปราสาทและบริเวณใกล้เคียงในอาณาเขตดังกล่าวได้มีการปักปัน โดยเส้นเขตแดนตามแผนที่ซึ่งศาลได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษาเดิมอันศาลได้อาศัยเป็นฐานในการพิพากษา
[แก้] ลักษณะการพิจารณาคดี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีที่รัฐร้องขอให้ศาลฯตีความคำ พิพากษาตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 60 ซึ่งไทยและกัมพูชาต่างเป็นภาคี ประกอบกับกฎของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 98 โดยศาลฯจะอาศัยเพียงคำร้องของกัมพูชาฝ่ายเดียวเพื่อรับคดีไว้พิจารณาก็ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อศาลฯได้รับคดีเข้าสู่สารบบความแล้ว ก่อนที่ศาลจะสามารถตีความคำพิพากษาเดิม ศาลฯจะต้องวินิจฉัยคำร้องของกัมพูชาเสียก่อนว่ามีเหตุแห่งคดีที่เข้า เงื่อนไขให้ตีความได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากแนววินิจฉัยในอดีตแล้ว [6] ศาลฯจะพิจารณาเงื่อนไขสองประการคือ1. คำร้องของกัมพูชาต้องมุ่งหมายให้ตีความคำพิพากษาเดิมอย่างแท้จริงเพื่อให้ ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิมชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยมิใช่เพื่อตอบคำถามใหม่ที่ไม่ได้ถูกพิพากษาตามคำพิพากษาเดิม
2. คำร้องของกัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาและไทยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาดังกล่าว
หากคำร้องไม่เข้าเงื่อนไขทั้งสอง ศาลฯก็จะพิพากษาว่าคำร้องดังกล่าวไม่สามารถนำไปสู่การตีความคำพิพากษาเดิม ได้ อย่างไรก็ดีหากคำร้องบางส่วนหรือทั้งหมดเข้าเงื่อนไขดังกล่าว ศาลฯก็จะพิจารณาคำร้องส่วนดังกล่าวเพื่อตีความคำพิพากษาเดิม โดยการตีความจะปรากฏในคำพิพากษาฉบับใหม่
[แก้] กระบวนพิจารณาคดีล่าสุด
กระทรวงการต่างประเทศคาด ว่าไทยจะต้องทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้ศาลฯภายในประมาณเดือนตุลาคม 2554 ซึ่ง คาดว่ากระบวนพิจารณาการตีความอาจจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2555 [7][แก้] คำร้องขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราว
[แก้] เนื้อหาคำร้องของกัมพูชา
กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสความยาว 3 หน้า [8] มีใจความสำคัญดังนี้กัมพูชากล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2554 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นบริเวณปราสาทพระวิหารและจุดอื่นๆ ตามเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและต้องเดินทางหนีภัย ซึ่งเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวได้ดำเนินมาจนกระทั่งเวลาที่กัมพูชาได้ยื่นคำ ร้องต่อศาลฯ โดยไทยเป็นฝ่ายที่ตั้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทั้งหมด ศาลฯจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองรักษาสิทธิของกัมพูชา และป้องกันมิให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น หากปราศจากมาตรการของศาลฯและไทยยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ก็จะทำให้ปราสาทพระวิหารเสียหาย รวมไปถึงทำให้ผู้คนล้มตายและทุกข์ทรมานจากการปะทะกันโดยอาวุธ ซึ่งจะร้ายแรงยิ่งขึ้น
กัมพูชาจึงขอให้ศาลฯระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังต่อไปนี้
1. ให้ไทยถอนกำลังจากจุดต่างๆ ในบริเวณประสาทพระวิหารอันเป็นดินแดนของกัมพูชาโดยทันทีและปราศจากเงื่อนไข
2. ห้ามมิให้ไทยดำเนินการทางทหารใดๆ ในบริเวณประสาทพระวิหาร
3. สั่งให้ไทยไม่กระทำการใดๆที่อาจแทรกแซงสิทธิของกัมพูชาหรือทำให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น
[แก้] ลักษณะการพิจารณาคดี
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตาม ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 41 ซึ่งไทยเป็นภาคี ประกอบกับกฎของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 73 ถึง 78 โดยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวถือเป็นส่วนหนึ่งของคดี ที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลฯตีความคำพิพากษาเดิมก่อนที่ศาลฯจะสามารถระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ศาลฯต้องวินิจฉัยคำร้องว่าได้ปรากฏเหตุที่เข้าเงื่อนไขให้สามารถระบุมาตรการ คุ้มครองชั่วคราวได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากแนววินิจฉัยในอดีตแล้ว [9] ศาลฯจะพิจารณาเงื่อนไขสามประการคือ
1. กัมพูชาต้องแสดงให้ศาลฯเห็นถึงมูลคดีในเบื้องต้นว่าการขอให้ตีความคำพิพากษา เดิมนั้นสามารถนำไปสู่การพิจารณาในเนื้อหาต่อไปได้ กล่าวคือศาลฯต้องพอใจในเบื้องต้นว่ากัมพูชามิได้ขอให้ตีความคำถามใหม่ที่ไม่ ได้ถูกพิพากษาตามคำพิพากษาเดิม และกัมพูชาและไทยต่างมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาดัง กล่าวอยู่จริง (อย่างไรก็ดี ไทยย่อมมีสิทธิต่อสู้หักล้างมูลคดีเบื้องต้นดังกล่าวในภายหลังได้)
2. กัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่ามาตรการคุ้มครองชั่วคราวจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของกัมพูชาจากความเสียหายที่ไม่สามารถเยียวยาได้ภายหลัง
3. กัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนเนื่องจากความเสียหายที่ไม่ สามารถเยียวยาได้ภายหลังอาจเกิดขึ้นก่อนที่ศาลฯจะได้พิจารณาคดีที่ขอให้ตี ความคำพิพากษาเดิมแล้วเสร็จ
[แก้] กระบวนพิจารณาคดีล่าสุด
กระทรวงการต่างประเทศคาด ว่าศาลฯจะนัดฟังการแถลงคดีด้วยวาจาโดยกัมพูชาและไทย ประมาณวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ตัวแทนแต่ละฝ่ายได้ชี้แจงข้อมูลต่อศาลฯเกี่ยวกับการขอให้มีมาตรการ คุ้มครองชั่วคราว โดยแต่ละฝ่ายจะมีเวลาแถลงคดีด้วยวาจาประมาณฝ่ายละ 4 ชั่วโมง [10][แก้] อ้างอิง
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16471.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16473.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16480.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16481.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16471.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/13/1935.pdf
- ^ http://www.mfa.go.th/web/3037.php?id=27269
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16473.pdf
- ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/140/14801.pdf
- ^ http://www.mfa.go.th/web/3037.php?id=2726
แหล่งข้อมูลอื่น
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงเพื่อให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากเนื้อหานำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ทำให้เกิดความเอนเอียงของข้อมูล คุณสามารถเพิ่มมุมมองอื่นพร้อมกับเพิ่มอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ หรือร่วมอภิปรายสรุปแนวทางแก้ปัญหา โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าการอภิปรายจะได้ข้อสรุป |
- แหล่งสำรองเอกสาร (กรณีเว็ปไซต์ศาลฯขัดข้อง) โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ดูที่ sites.google.com/site/verapat/temple
- ข่าวสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- สำเนาเอกสารแจ้งสื่อมวลชนโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
- เปิดคำร้องกัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีพระวิหาร โดย สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
- เขมร-ไทย กับศาลโลก : เขมรขอตีความคำพิพากษา พ.ศ.2505 ไม่ใช่พิจารณาคดีใหม่ (เจิมศักดิ์ขอคิดด้วยฅน) โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
- นิติราษฏร์ ฉบับ ๒๐ (ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช) ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร
- นัยของการยื่นศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 ของกัมพูชา โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
- พระวิหารกับศาลโลก ๒๕๕๔ โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)